เมื่อพูดคำว่า “กัญชา” สิ่งที่แต่ละคนนึกถึงอาจจะแตกต่างกันไปบ้างคิดถึงการหัวเราะเฮฮาไม่ยอมหยุด บ้างคิดถึงภาพของ “บ็อบ มาร์เลย์” นักร้องชื่อดัง ไอดอลของผู้ใช้กัญชาทั่วโลก บ้างคิดถึงยาเสพติดอันตรายน่ากลัว บ้างนึกถึงประโยชน์ทางการแพทย์ แล้วเรารู้อะไรเกี่ยวกับกัญชาบ้าง?
POT Culture
กัญชาอยู่คู่กับผู้คนมาหลายร้อยปีผ่านพิธีกรรมของศาสนาต่างๆ แต่กัญชาได้รับความนิยมสูงสุดจากวัฒนธรรมฮิปปี้ ในช่วงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวัยรุ่นอเมริกันกลุ่มหนึ่งต้องการหลีกหนีสงคราม ต่อต้านค่านิยมทางสังคมและการเมือง มองหาความสงบสุข และมุ่งสู่ธรรมชาติ กัญชาจึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่วัยรุ่นยุคนั้นยึดถือ จนกลายเป็นวัฒนธรรมการเสพกัญชา (Cannabis Culture) ในที่สุด กลิ่นควันจากยุคบุปผาชนฟุ้งกระจายไปทั่วโลกแทรกซึมไปกับงานศิลปะและหนังปุ๊น (Stoner Film)
ผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Psychiatry เมื่อปี 2016 พบว่า ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ชาวอเมริกันใช้กัญชาเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจาก 21.2 ล้านคนในปี 2002 เป็น 31.9 ล้านคนในปี 2014 สาเหตุหลักมาจากกระแสการเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกัญชา ทำให้กัญชากลายเป็นที่พูดถึงมากขึ้น ผลสำรวจของ JWT Intelligence จัดให้วัฒนธรรมการเสพกัญชา เป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์เทรนด์และการเปลี่ยนแปลงของโลกที่น่าสนใจในปี 2016 ผลสำรวจยังพบว่า ชาวอเมริกันกว่าร้อยละ 74 เชื่อว่า กัญชาจะกลายเป็นที่ยอมรับในสังคมทัดเทียมกับแอลกอฮอล์ภายใน 10 ปี
ปุ๊นไหมน้อง?
แม้ทางกฎหมายบ้านเราจะระบุว่ากัญชาเป็นสารเสพติดและผิดกฎหมาย แต่ผู้ใช้กัญชาอย่าง ป้อ เฟย และ ต๋า (นามสมมติ) นักศึกษาปีสอง เห็นตรงกันว่ากัญชาไม่ใช่สารเสพติดเพราะไม่ทำให้เกิดอาการอยากยาเมื่อหยุดใช้
“ผมไม่เคยคิดว่าเป็นสารเสพติดมาตั้งแต่แรกแล้วครับ มีเพื่อนที่เสพยาอย่างอื่น ผลมันไม่เหมือนกัน อย่างอาการที่อยากยา หรือต้องการใช้ ถ้าให้เลิก ก็เลิกได้” ป้อกล่าว
ทั้งสามเล่าว่า เมื่อจะเสพกัญชาก็จะม้วนกัญชาแทนไส้บุหรี่ เพราะสะดวก ส่วนวิธีที่นิยมอีกอย่างก็คือการผสมในขนมบราวนี่ ซึ่งจะออกฤทธิ์ช้ากว่าการใช้ผ่านบุหรี่หรือบ้อง
ป้อและเฟยยังมองว่าด้วยตัวกฎหมายและการปิดกั้นความรู้เกี่ยวกับกัญชา ทำให้คนเสพกัญชามีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในสังคมไทย เฟยจึงอยากให้มีการพูดคุยถึงการใช้งานทางการแพทย์มากขึ้น
กัญชาคือยา
ในสายตาคนทั่วไป กัญชาอาจจะหมายถึงยาเสพติด ทว่าในสายตาของนักวิจัย กัญชา คือพืชชนิดหนึ่งที่น่าสนใจมาก งานวิจัยหลากหลายชิ้นทั่วโลก พบว่ากัญชามีคุณสมบัติรอบด้าน เว็บไซต์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Cancer Institute: NCI) รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกัญชาและการใช้กัญชาในทางการแพทย์ โดยระบุว่าการทานยาเม็ดที่มีส่วนผสมสารสกัดจากกัญชาสามารถลดอาการคลื่นไส้และอาเจียนได้ดีกว่ายาตัวเก่าที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) รับรองไว้ด้วยซ้ำ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นความอยากอาหารให้กับผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับผลข้างเคียงจากการรักษา นอกจากนั้นยังช่วยบรรเทาความเจ็บและความเครียดได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชิ้นเป็นเพียงการศึกษาขนาดเล็กที่ยังไม่สามารถนำมาใช้รักษาได้จริง ทว่าผลลัพธ์ก็บ่งบอกถึงศักยภาพในการรักษาโรคของพืชชนิดนี้
ส่วนประเด็นเรื่องกัญชารักษามะเร็งที่ถกเถียงกันมายาวนาน เว็บไซต์ NCI ก็ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า ยังไม่มีงานวิจัยระดับทดลองในคนเกิดขึ้น ทำให้การรักษามะเร็งด้วยกัญชายังไม่ได้รับอนุญาตในหลายรัฐ แต่งานวิจัยในสัตว์หลากหลายชิ้นก็แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งโดยไม่กระทบกับเซลล์ทั่วไป ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งตับ, มะเร็งเต้านม อีกทั้ง ยังช่วยบรรเทาอาการข้างเคียงจากการรักษามะเร็ง อย่างอาการคลื่นไส้อาเจียนหรือความเครียดได้
ปลูกได้ไหม นักวิจัยขอ
เมื่อกัญชายังถือเป็นยาเสพติดอยู่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับวงการเภสัชศาสตร์ในไทยย่อมตามมา มุมมองจากเภสัชกรอย่าง ผศ. ภญ. ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า“อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) จะบอกตลอดเวลาว่าเขาไม่ได้ห้าม มาขออนุญาตสิ แต่สิ่งที่เรารู้สึกคือ เขาไม่พร้อมที่จะสนับสนุน การจะวิจัยกัญชาคือเราต้องปลูก เพราะมันมีพันธุ์เฉพาะ หรือถ้าไม่ปลูกก็ต้องไปเก็บมา แล้วพอไปเก็บก็จะโดนตำรวจจับ เพราะถือว่าครอบครองและขนย้าย หรือเราจะบอกว่าเราได้รับอนุญาตวิจัย แต่กับคนที่ปลูกเขาไม่ได้ด้วย ถ้าจะเก็บก็ต้องหลบเลี่ยง หรือแม้แต่คนจะวิจัยก็ยุ่งยากในการขอ เพราะบ้านเราไม่มีศูนย์กลางในการอนุมัติโปรโตคอล (ระเบียบการ) ถ้าเกี่ยวกับกัญชาคุณต้องผ่านปปส. (สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด)”
ผศ.ดร.ภญ.นิยดาเสริมว่า “ถ้าเทียบความร้ายแรงกับเฮโรอีน กัญชาจะอยู่ตรงไหน ถ้าสามารถบอกได้ก็จะสามารถจัดการข้อกฎหมายด้วยความแรงที่ต่างกันได้ แต่ตอนนี้มันถูกเหมารวม โทษมันหนัก มีอะไรเข้มงวดเยอะ มันควรจะจัดระบบใหม่” อาจารย์ย้ำว่า การเรียกร้องให้กัญชาถูกกฎหมายในที่นี้นั้นไม่จำเป็นต้องเปิดให้ซื้อ-ขายหรือบริโภคอย่างอิสระ เพียงแต่เปิดกว้างและสนับสนุนการวิจัยอย่างที่ทำกันในหลายประเทศ เช่น แคนาดา, โปรตุเกส, สหรัฐอเมริกา (25 รัฐ) เป็นต้น
To free or not to free
จากการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลก (United Nation General Assembly Special Session – UNGASS 2016) เมื่อวันที่ 19-21 เม.ย. ที่ผ่านมา ตัวแทนจาก 193 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมได้ประกาศเปลี่ยนนโยบายจาก สังคมปลอดยาเสพติด (Drug-Free Society) เป็น “สังคมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเสพติดในทางที่ผิด (A society free of drug abuse)” นั่นก็เพราะหลายประเทศทั่วโลกตระหนักแล้วว่าการประกาศสงครามกับยาเสพติดที่ผ่านมานั้นล้มเหลว การเปลี่ยนจากกำจัดเป็นจัดการให้อยู่ในการดูแลของรัฐ ดูจะเป็นทางออกที่ได้ผลมากกว่า อย่างไรก็ตาม ตัวแทนจากประเทศไทย พล. อ. ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงในที่ประชุมว่าประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับการให้ยาเสพติดถูกกฎหมาย
เหล่าประเทศที่ลองปรับเปลี่ยนกฎหมายยาเสพติด ต่างมีมาตรการที่แตกต่างกันไป แต่หลักๆ คือผู้เกี่ยวข้องต้องมีใบอนุญาตจากรัฐ และมีอายุในเกณฑ์ที่เหมาะสม เช่น เนเธอร์แลนด์เปิดให้ซื้อขายหรือมี Social Club (สถานที่ที่จัดไว้สำหรับเสพกัญชา) วิธีดังกล่าวส่งผลให้รัฐมีรายได้จากภาษีกัญชาอีกทางหนึ่ง ส่วนรัฐโคโลราโดในสหรัฐอเมริกาก็ใช้วิธีใกล้เคียงกัน ผลคือ แม้จะมีผู้เสพขาจรเพิ่มขึ้น แต่ผู้เสพติดลดลง และการเข้าถึงของเยาวชนก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
ในประเทศไทย รัฐพล แสนรักษ์ ผู้จัดการกลุ่มกัญชาชนและมีเดีย กลุ่มผู้เคลื่อนไหวเพื่อเสรีกัญชาในประเทศไทย พูดถึงความเข้าใจผิดของคนหมู่มากกับคำว่าเสรีกัญชา ในรายการชั่วโมงที่ 26 ช่อง NOW26 เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2558 ว่า “คำว่าเสรีกัญชาถูกเข้าใจว่าเป็นการใช้และปลูกอย่างเสรี แต่ที่จริงแล้ว เสรีกัญชาหรือกัญชาถูกกฎหมาย คือวิธีการแก้ปัญหากัญชาในตลาดมืด การเข้าถึงของเยาวชน อันตรายจากผู้ใช้”
การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเสรีกัญชายังเป็นที่พูดถึงในโลกออนไลน์อยู่เสมอ จากสถิติของเว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) เว็บไซต์ที่ให้ชาวโซเชียลได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมต่างๆ พบว่ามีผู้สนใจเรื่องกัญชาถูกกฎหมายมากเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับเรื่องอื่นๆ ด้วยคะแนนเสียง8,300 เสียง โตมร ศุขปรีชา คอลัมน์นิสต์จากนิตยสาร GM ให้ความเห็นไว้ในบทสัมภาษณ์ของ iLaw เรื่อง สิทธิขาดพลัง ในสังคมที่ ‘อำนาจนิยม’ เป็นใหญ่ ว่า “อาจเป็นเพราะเรื่องกัญชามีจุดร่วมทางชนชั้น เพราะไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านหรือคนที่มีฐานะร่ำรวยต่างก็พึ่งพากัญชาด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะนำมาใช้ประกอบอาหาร หรือใช้เสพเพื่อความบันเทิง”
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทั่วโลกกำลังเปิดให้กัญชาโผล่ขึ้นมารับแสงแดดบนดินมากกว่าแต่ก่อน แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้เติบโตได้ นอกจากไม้บรรทัดของบ้านเมืองแล้ว ก็คงเป็นไม้บรรทัดในใจเราด้วยว่าจะเลือกวัดคุณค่าของกัญชาจากบริบทไหน
Like this:
Like Loading...
เมื่อพูดคำว่า “กัญชา” สิ่งที่แต่ละคนนึกถึงอาจจะแตกต่างกันไปบ้างคิดถึงการหัวเราะเฮฮาไม่ยอมหยุด บ้างคิดถึงภาพของ “บ็อบ มาร์เลย์” นักร้องชื่อดัง ไอดอลของผู้ใช้กัญชาทั่วโลก บ้างคิดถึงยาเสพติดอันตรายน่ากลัว บ้างนึกถึงประโยชน์ทางการแพทย์ แล้วเรารู้อะไรเกี่ยวกับกัญชาบ้าง?
POT Culture
กัญชาอยู่คู่กับผู้คนมาหลายร้อยปีผ่านพิธีกรรมของศาสนาต่างๆ แต่กัญชาได้รับความนิยมสูงสุดจากวัฒนธรรมฮิปปี้ ในช่วงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวัยรุ่นอเมริกันกลุ่มหนึ่งต้องการหลีกหนีสงคราม ต่อต้านค่านิยมทางสังคมและการเมือง มองหาความสงบสุข และมุ่งสู่ธรรมชาติ กัญชาจึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่วัยรุ่นยุคนั้นยึดถือ จนกลายเป็นวัฒนธรรมการเสพกัญชา (Cannabis Culture) ในที่สุด กลิ่นควันจากยุคบุปผาชนฟุ้งกระจายไปทั่วโลกแทรกซึมไปกับงานศิลปะและหนังปุ๊น (Stoner Film)
ผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Psychiatry เมื่อปี 2016 พบว่า ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ชาวอเมริกันใช้กัญชาเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจาก 21.2 ล้านคนในปี 2002 เป็น 31.9 ล้านคนในปี 2014 สาเหตุหลักมาจากกระแสการเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกัญชา ทำให้กัญชากลายเป็นที่พูดถึงมากขึ้น ผลสำรวจของ JWT Intelligence จัดให้วัฒนธรรมการเสพกัญชา เป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์เทรนด์และการเปลี่ยนแปลงของโลกที่น่าสนใจในปี 2016 ผลสำรวจยังพบว่า ชาวอเมริกันกว่าร้อยละ 74 เชื่อว่า กัญชาจะกลายเป็นที่ยอมรับในสังคมทัดเทียมกับแอลกอฮอล์ภายใน 10 ปี
ปุ๊นไหมน้อง?
แม้ทางกฎหมายบ้านเราจะระบุว่ากัญชาเป็นสารเสพติดและผิดกฎหมาย แต่ผู้ใช้กัญชาอย่าง ป้อ เฟย และ ต๋า (นามสมมติ) นักศึกษาปีสอง เห็นตรงกันว่ากัญชาไม่ใช่สารเสพติดเพราะไม่ทำให้เกิดอาการอยากยาเมื่อหยุดใช้
“ผมไม่เคยคิดว่าเป็นสารเสพติดมาตั้งแต่แรกแล้วครับ มีเพื่อนที่เสพยาอย่างอื่น ผลมันไม่เหมือนกัน อย่างอาการที่อยากยา หรือต้องการใช้ ถ้าให้เลิก ก็เลิกได้” ป้อกล่าว
ทั้งสามเล่าว่า เมื่อจะเสพกัญชาก็จะม้วนกัญชาแทนไส้บุหรี่ เพราะสะดวก ส่วนวิธีที่นิยมอีกอย่างก็คือการผสมในขนมบราวนี่ ซึ่งจะออกฤทธิ์ช้ากว่าการใช้ผ่านบุหรี่หรือบ้อง
ป้อและเฟยยังมองว่าด้วยตัวกฎหมายและการปิดกั้นความรู้เกี่ยวกับกัญชา ทำให้คนเสพกัญชามีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในสังคมไทย เฟยจึงอยากให้มีการพูดคุยถึงการใช้งานทางการแพทย์มากขึ้น
กัญชาคือยา
ในสายตาคนทั่วไป กัญชาอาจจะหมายถึงยาเสพติด ทว่าในสายตาของนักวิจัย กัญชา คือพืชชนิดหนึ่งที่น่าสนใจมาก งานวิจัยหลากหลายชิ้นทั่วโลก พบว่ากัญชามีคุณสมบัติรอบด้าน เว็บไซต์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Cancer Institute: NCI) รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกัญชาและการใช้กัญชาในทางการแพทย์ โดยระบุว่าการทานยาเม็ดที่มีส่วนผสมสารสกัดจากกัญชาสามารถลดอาการคลื่นไส้และอาเจียนได้ดีกว่ายาตัวเก่าที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) รับรองไว้ด้วยซ้ำ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นความอยากอาหารให้กับผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับผลข้างเคียงจากการรักษา นอกจากนั้นยังช่วยบรรเทาความเจ็บและความเครียดได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชิ้นเป็นเพียงการศึกษาขนาดเล็กที่ยังไม่สามารถนำมาใช้รักษาได้จริง ทว่าผลลัพธ์ก็บ่งบอกถึงศักยภาพในการรักษาโรคของพืชชนิดนี้
ส่วนประเด็นเรื่องกัญชารักษามะเร็งที่ถกเถียงกันมายาวนาน เว็บไซต์ NCI ก็ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า ยังไม่มีงานวิจัยระดับทดลองในคนเกิดขึ้น ทำให้การรักษามะเร็งด้วยกัญชายังไม่ได้รับอนุญาตในหลายรัฐ แต่งานวิจัยในสัตว์หลากหลายชิ้นก็แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งโดยไม่กระทบกับเซลล์ทั่วไป ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งตับ, มะเร็งเต้านม อีกทั้ง ยังช่วยบรรเทาอาการข้างเคียงจากการรักษามะเร็ง อย่างอาการคลื่นไส้อาเจียนหรือความเครียดได้
ปลูกได้ไหม นักวิจัยขอ
เมื่อกัญชายังถือเป็นยาเสพติดอยู่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับวงการเภสัชศาสตร์ในไทยย่อมตามมา มุมมองจากเภสัชกรอย่าง ผศ. ภญ. ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า“อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) จะบอกตลอดเวลาว่าเขาไม่ได้ห้าม มาขออนุญาตสิ แต่สิ่งที่เรารู้สึกคือ เขาไม่พร้อมที่จะสนับสนุน การจะวิจัยกัญชาคือเราต้องปลูก เพราะมันมีพันธุ์เฉพาะ หรือถ้าไม่ปลูกก็ต้องไปเก็บมา แล้วพอไปเก็บก็จะโดนตำรวจจับ เพราะถือว่าครอบครองและขนย้าย หรือเราจะบอกว่าเราได้รับอนุญาตวิจัย แต่กับคนที่ปลูกเขาไม่ได้ด้วย ถ้าจะเก็บก็ต้องหลบเลี่ยง หรือแม้แต่คนจะวิจัยก็ยุ่งยากในการขอ เพราะบ้านเราไม่มีศูนย์กลางในการอนุมัติโปรโตคอล (ระเบียบการ) ถ้าเกี่ยวกับกัญชาคุณต้องผ่านปปส. (สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด)”
ผศ.ดร.ภญ.นิยดาเสริมว่า “ถ้าเทียบความร้ายแรงกับเฮโรอีน กัญชาจะอยู่ตรงไหน ถ้าสามารถบอกได้ก็จะสามารถจัดการข้อกฎหมายด้วยความแรงที่ต่างกันได้ แต่ตอนนี้มันถูกเหมารวม โทษมันหนัก มีอะไรเข้มงวดเยอะ มันควรจะจัดระบบใหม่” อาจารย์ย้ำว่า การเรียกร้องให้กัญชาถูกกฎหมายในที่นี้นั้นไม่จำเป็นต้องเปิดให้ซื้อ-ขายหรือบริโภคอย่างอิสระ เพียงแต่เปิดกว้างและสนับสนุนการวิจัยอย่างที่ทำกันในหลายประเทศ เช่น แคนาดา, โปรตุเกส, สหรัฐอเมริกา (25 รัฐ) เป็นต้น
To free or not to free
จากการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลก (United Nation General Assembly Special Session – UNGASS 2016) เมื่อวันที่ 19-21 เม.ย. ที่ผ่านมา ตัวแทนจาก 193 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมได้ประกาศเปลี่ยนนโยบายจาก สังคมปลอดยาเสพติด (Drug-Free Society) เป็น “สังคมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเสพติดในทางที่ผิด (A society free of drug abuse)” นั่นก็เพราะหลายประเทศทั่วโลกตระหนักแล้วว่าการประกาศสงครามกับยาเสพติดที่ผ่านมานั้นล้มเหลว การเปลี่ยนจากกำจัดเป็นจัดการให้อยู่ในการดูแลของรัฐ ดูจะเป็นทางออกที่ได้ผลมากกว่า อย่างไรก็ตาม ตัวแทนจากประเทศไทย พล. อ. ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงในที่ประชุมว่าประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับการให้ยาเสพติดถูกกฎหมาย
เหล่าประเทศที่ลองปรับเปลี่ยนกฎหมายยาเสพติด ต่างมีมาตรการที่แตกต่างกันไป แต่หลักๆ คือผู้เกี่ยวข้องต้องมีใบอนุญาตจากรัฐ และมีอายุในเกณฑ์ที่เหมาะสม เช่น เนเธอร์แลนด์เปิดให้ซื้อขายหรือมี Social Club (สถานที่ที่จัดไว้สำหรับเสพกัญชา) วิธีดังกล่าวส่งผลให้รัฐมีรายได้จากภาษีกัญชาอีกทางหนึ่ง ส่วนรัฐโคโลราโดในสหรัฐอเมริกาก็ใช้วิธีใกล้เคียงกัน ผลคือ แม้จะมีผู้เสพขาจรเพิ่มขึ้น แต่ผู้เสพติดลดลง และการเข้าถึงของเยาวชนก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
ในประเทศไทย รัฐพล แสนรักษ์ ผู้จัดการกลุ่มกัญชาชนและมีเดีย กลุ่มผู้เคลื่อนไหวเพื่อเสรีกัญชาในประเทศไทย พูดถึงความเข้าใจผิดของคนหมู่มากกับคำว่าเสรีกัญชา ในรายการชั่วโมงที่ 26 ช่อง NOW26 เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2558 ว่า “คำว่าเสรีกัญชาถูกเข้าใจว่าเป็นการใช้และปลูกอย่างเสรี แต่ที่จริงแล้ว เสรีกัญชาหรือกัญชาถูกกฎหมาย คือวิธีการแก้ปัญหากัญชาในตลาดมืด การเข้าถึงของเยาวชน อันตรายจากผู้ใช้”
การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเสรีกัญชายังเป็นที่พูดถึงในโลกออนไลน์อยู่เสมอ จากสถิติของเว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) เว็บไซต์ที่ให้ชาวโซเชียลได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมต่างๆ พบว่ามีผู้สนใจเรื่องกัญชาถูกกฎหมายมากเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับเรื่องอื่นๆ ด้วยคะแนนเสียง8,300 เสียง โตมร ศุขปรีชา คอลัมน์นิสต์จากนิตยสาร GM ให้ความเห็นไว้ในบทสัมภาษณ์ของ iLaw เรื่อง สิทธิขาดพลัง ในสังคมที่ ‘อำนาจนิยม’ เป็นใหญ่ ว่า “อาจเป็นเพราะเรื่องกัญชามีจุดร่วมทางชนชั้น เพราะไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านหรือคนที่มีฐานะร่ำรวยต่างก็พึ่งพากัญชาด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะนำมาใช้ประกอบอาหาร หรือใช้เสพเพื่อความบันเทิง”
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทั่วโลกกำลังเปิดให้กัญชาโผล่ขึ้นมารับแสงแดดบนดินมากกว่าแต่ก่อน แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้เติบโตได้ นอกจากไม้บรรทัดของบ้านเมืองแล้ว ก็คงเป็นไม้บรรทัดในใจเราด้วยว่าจะเลือกวัดคุณค่าของกัญชาจากบริบทไหน
Share this:
Like this: