เรื่อง-ภาพ ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร
โรงเรียนบ้านโคกเมือง (ธรรมโมลีคณานุสรณ์) ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา เป็นโรงเรียนประถมขนาดเล็กที่สอนระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โดยปีการศึกษา 2562 มีนักเรียน 50 คน ก่อนหน้านี้ โรงเรียนเกือบต้องถูกปิดตามคำสั่งยุบรวมสถานศึกษา เหตุเพราะมีจำนวนนักเรียนน้อย แต่ด้วยพลังของชาวบ้าน ครู และศิษย์เก่า ทำให้โรงเรียนประจำชุมชนที่ก่อตั้งมากว่า 80 ปีแห่งนี้ ยังสามารถเปิดทำการเรียนการสอนต่อได้
นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกเมืองกำลังสวดมนต์หลังเคารพธงชาติ
ชมัยพร ทองรอด อายุ 31 ปี ครูโรงเรียนบ้านโคกเมือง เล่าให้ฟังว่า ปัจจัยที่ทำให้จำนวนนักเรียนเคยลดลงเหลือเพียง 30 คน จนโรงเรียนเกือบปิดตัวในปีการศึกษา 2560 คือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ส่งผลให้ผู้ปกครองตัดสินใจส่งบุตรหลานไปเรียนที่อื่น
“เมื่อก่อนคนมีลูกเยอะ การเดินทางยังไม่สะดวกเลยมีโรงเรียนในชุมชนเยอะ เด็กๆ จะได้เรียนใกล้บ้าน แต่พอเวลาเปลี่ยน คนมีลูกน้อยลง มีเทคโนโลยีเข้ามา ผู้ปกครองเข้าถึงข้อมูลโรงเรียนหลายๆ ที่เอามาเปรียบเทียบกัน มีทางเลือกเพิ่มขึ้นก็อยากส่งลูกๆ ไปเรียนโรงเรียนใหญ่ๆ ที่มีครูครบ มีห้องเรียนพิเศษ ไกลบ้านกว่าเดิมหน่อยแต่ก็ส่งลูกหลานไปได้เพราะการเดินทางไม่ลำบากแบบเดิม บางโรงเรียนมีรถมารับถึงหน้าบ้านก็มี” ครูชมัยพรกล่าว
ครูชมัยพร ทองรอด แห่งโรงเรียนบ้านโคกเมือง
พ่ออุดม ฮิ่นเซ่ง ผู้ใหญ่บ้านโคกเมืองบอกว่าเสียดายหากโรงเรียนต้องปิดตัว เพราะอยากให้เด็กได้เรียนรู้วิถีชุมชนจากโรงเรียน
“ไม่อยากให้โรงเรียนถูกยุบเพราะเสียดาย เปิดมา 80 ปี โรงเรียนถึงจะเล็ก แต่เด็กที่นี่ก็มีทักษะเอาตัวรอด จับปลาก็ได้ เลี้ยงสัตว์ก็ได้ เพราะอยู่ในชุมชนได้เห็นและซึมซับวิถีชีวิตที่ไม่มีในตำราเรียน ก็เลยอยากให้โรงเรียนยังอยู่ เด็กโคกเมืองจะได้เรียนที่โคกเมืองต่อไป” พ่ออุดมกล่าว
วิกฤตในครั้งนั้นทำให้เกิดความร่วมมือของ “บวร” หรือ บ้าน วัด โรงเรียน ด้วยสถานที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ติดวัดและมีชุมชนล้อมรอบ ครู ผู้ปกครอง และชาวบ้านจึงร่วมมือกันจัดกิจกรรมต่างๆ ทำให้โรงเรียนสามารถเปิดสอนได้ถึงปัจจุบัน “จุดเด่นของที่นี่คือชุมชนเข้มแข็ง มีการทอดกฐิน ระดมทุนจากชาวบ้าน ศิษย์เก่ามาจ้างครูเพิ่มให้เพียงพอ มีไปสื่อสารตามบ้านให้ผู้ปกครองส่งลูกหลานมาเรียนที่นี่ ทำกิจกรรมร่วมกับวัดในวันพระใหญ่” ครูชมัยพรอธิบาย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ยกมือตอบคำถามคุณครูประจำชั้น
สอดคล้องกับคำพูดพ่อผู้ใหญ่ที่ว่า การข้ามผ่านวิกฤตเป็นเพราะความร่วมมือจากคนที่มีความรักและผูกพันธ์กับโรงเรียน “ชาวบ้าน ศิษย์เก่า ก็ช่วยกัน อย่างครูที่เกษียณที่นี่ก็อาสามาช่วยสอนด้วยใจ”
ครูชมัยพรแห่งโรงเรียนบ้านโคกเมืองปิดท้ายว่า ในปีการศึกษาต่อๆ ไป โรงเรียนจะเพิ่มชั่วโมงกิจกรรมให้ชาวบ้านที่มีความรู้ด้านต่างๆ มาสอนนักเรียน “อนาคตจะมีกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพิ่มขึ้น เช่น เรียนรู้บ้านตู้เย็น ทำขนม กลองยาว นักเรียนจะได้ทั้งวิชาการจากครูและวิชาชีพจากวิทยากรในชุมชน ให้เกิดความภูมิใจที่ได้เรียนที่นี่”
Like this:
Like Loading...
เรื่อง-ภาพ ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร
โรงเรียนบ้านโคกเมือง (ธรรมโมลีคณานุสรณ์) ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา เป็นโรงเรียนประถมขนาดเล็กที่สอนระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โดยปีการศึกษา 2562 มีนักเรียน 50 คน ก่อนหน้านี้ โรงเรียนเกือบต้องถูกปิดตามคำสั่งยุบรวมสถานศึกษา เหตุเพราะมีจำนวนนักเรียนน้อย แต่ด้วยพลังของชาวบ้าน ครู และศิษย์เก่า ทำให้โรงเรียนประจำชุมชนที่ก่อตั้งมากว่า 80 ปีแห่งนี้ ยังสามารถเปิดทำการเรียนการสอนต่อได้
ชมัยพร ทองรอด อายุ 31 ปี ครูโรงเรียนบ้านโคกเมือง เล่าให้ฟังว่า ปัจจัยที่ทำให้จำนวนนักเรียนเคยลดลงเหลือเพียง 30 คน จนโรงเรียนเกือบปิดตัวในปีการศึกษา 2560 คือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ส่งผลให้ผู้ปกครองตัดสินใจส่งบุตรหลานไปเรียนที่อื่น
“เมื่อก่อนคนมีลูกเยอะ การเดินทางยังไม่สะดวกเลยมีโรงเรียนในชุมชนเยอะ เด็กๆ จะได้เรียนใกล้บ้าน แต่พอเวลาเปลี่ยน คนมีลูกน้อยลง มีเทคโนโลยีเข้ามา ผู้ปกครองเข้าถึงข้อมูลโรงเรียนหลายๆ ที่เอามาเปรียบเทียบกัน มีทางเลือกเพิ่มขึ้นก็อยากส่งลูกๆ ไปเรียนโรงเรียนใหญ่ๆ ที่มีครูครบ มีห้องเรียนพิเศษ ไกลบ้านกว่าเดิมหน่อยแต่ก็ส่งลูกหลานไปได้เพราะการเดินทางไม่ลำบากแบบเดิม บางโรงเรียนมีรถมารับถึงหน้าบ้านก็มี” ครูชมัยพรกล่าว
พ่ออุดม ฮิ่นเซ่ง ผู้ใหญ่บ้านโคกเมืองบอกว่าเสียดายหากโรงเรียนต้องปิดตัว เพราะอยากให้เด็กได้เรียนรู้วิถีชุมชนจากโรงเรียน
วิกฤตในครั้งนั้นทำให้เกิดความร่วมมือของ “บวร” หรือ บ้าน วัด โรงเรียน ด้วยสถานที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ติดวัดและมีชุมชนล้อมรอบ ครู ผู้ปกครอง และชาวบ้านจึงร่วมมือกันจัดกิจกรรมต่างๆ ทำให้โรงเรียนสามารถเปิดสอนได้ถึงปัจจุบัน “จุดเด่นของที่นี่คือชุมชนเข้มแข็ง มีการทอดกฐิน ระดมทุนจากชาวบ้าน ศิษย์เก่ามาจ้างครูเพิ่มให้เพียงพอ มีไปสื่อสารตามบ้านให้ผู้ปกครองส่งลูกหลานมาเรียนที่นี่ ทำกิจกรรมร่วมกับวัดในวันพระใหญ่” ครูชมัยพรอธิบาย
สอดคล้องกับคำพูดพ่อผู้ใหญ่ที่ว่า การข้ามผ่านวิกฤตเป็นเพราะความร่วมมือจากคนที่มีความรักและผูกพันธ์กับโรงเรียน “ชาวบ้าน ศิษย์เก่า ก็ช่วยกัน อย่างครูที่เกษียณที่นี่ก็อาสามาช่วยสอนด้วยใจ”
ครูชมัยพรแห่งโรงเรียนบ้านโคกเมืองปิดท้ายว่า ในปีการศึกษาต่อๆ ไป โรงเรียนจะเพิ่มชั่วโมงกิจกรรมให้ชาวบ้านที่มีความรู้ด้านต่างๆ มาสอนนักเรียน “อนาคตจะมีกิจกรรมร่วมกับชุมชนเพิ่มขึ้น เช่น เรียนรู้บ้านตู้เย็น ทำขนม กลองยาว นักเรียนจะได้ทั้งวิชาการจากครูและวิชาชีพจากวิทยากรในชุมชน ให้เกิดความภูมิใจที่ได้เรียนที่นี่”
Share this:
Like this: