เรื่อง: สุชานาถ กิตติสุรินทร์ อสมาภรณ์ พิริยะโภคานนท์
ภาพ: อสมาภรณ์ พิริยะโภคานนท์ เปมิกา จิระนารักษ์ แทนคุณ เวชมะโน
เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจสำหรับสังคมไทยที่ในที่สุดกระแสรักษ์โลกก็กลับมามีบทบาทอีกครั้ง เห็นได้จากมาตรการที่เพิ่มความเข้มงวดขึ้นจากที่ผ่านมา เช่น การร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกรายใหญ่ให้เลิกการแจกถุงพลาสติก โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป หรือการที่กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตั้งเป้ายกเลิกการใช้พลาสติกประเภทครั้งเดียวทิ้ง 4 ชนิดได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว หลอดพลาสติก แก้วพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง และกล่องโฟม ให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี 2564-2565
รวมไปถึงภาคประชาชนที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ภาพคนสะพายกระเป๋าผ้าและถือกระบอกน้ำพลาสติกจึงกลายเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชินตา
อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์รักษ์โลกที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าจะมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในระยะยาว เนื่องจากส่วนใหญ่ยังเป็นการขอความร่วมมือจากภาคเอกชนเสียทั้งหมด ขณะที่รัฐบาลไทยยังไม่มีการออกกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nation Environment Programme : UNEP) เผยผลสำรวจปี 2561 ในปีนี้ว่า จาก 192 ประเทศที่ได้สำรวจ มี 127 ประเทศที่ประกาศใช้กฎหมายหรือข้อบังคับเพื่อลดปริมาณถุงพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในจำนวนนั้น ไม่มีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย
ร้านขายน้ำแห่งหนึ่งในตลาดคลองเตย แขวนถุงน้ำไว้เพื่อรอลูกค้ามาเลือกซื้อ
กระแสที่ (ต้อง) มาพร้อมการสูญเสีย
หลังจากข่าวร้ายของลูกพะยูนสองตัวปรากฏขึ้นในหน้าสื่อและเป็นกระแสอย่างมากบนโลกออนไลน์ ประชาชนก็เริ่มหันมาตื่นตัวและตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกในท้องทะเลมากยิ่งขึ้น ปรากฏการณ์นี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักจะถูกสนใจก็ต่อเมื่อมีการสูญเสียเกิดขึ้น
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2533 เสียงปืนที่จบชีวิตของ สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และนักวิชาการป่าไม้ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี คือเสียงเดียวกันที่สะท้อนดังเข้าไปในจิตใจของผู้คน ก่อเกิดเป็นคลื่นความสนใจสิ่งแวดล้อมลูกแรกที่ซัดเข้ามาในประเทศไทย
สิ้นเสียงปืนของสืบได้หนึ่งปี บริษัทเพลงยักษ์ใหญ่อย่างแกรมมี่ ก็ออกอัลบั้มรวมศิลปินชื่อว่า โลกสวยด้วยมือเรา ชุด 1 โดยมีเพลงไตเติ้ลคือ โลกสวยด้วยมือเรา ที่คุ้นหูกันเป็นอย่างดี ร่วมด้วยเพลงจากศิลปินยอดนิยม อาทิ เบิร์ด ธงไชย ใหม่ เจริญปุระ นูโว และอีกมากมาย
“ตัวชี้วัดก็คือว่า สมัยช่วงนั้น หน้าหนังสือพิมพ์มันมีหน้าสิ่งแวดล้อม มีนักข่าวสายสิ่งแวดล้อม มีโต๊ะสิ่งแวดล้อม ทุกฉบับเลย” วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ นักเขียนสารคดี นักวิจารณ์ประเด็นสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เล่าถึงความเฟื่องฟูของกระแสอนุรักษ์ในตอนนั้น
ทว่า เส้นทางสู่การเป็นประเทศอนุรักษ์กลับสิ้นสุดเร็วกว่าที่คิด เมื่อฟองสบู่ที่เคยสวยงามได้แตกกระจายในปี 2540 ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจพังทลาย ระบบธนาคารไม่ทำงาน ภาคการผลิตหยุดชะงัก บริษัทต่างๆ เลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก พิษเศรษฐกิจดังกล่าวได้แพร่กระจายไปทั่วโลกในชื่อที่คุ้นหูกันดีว่า วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง
วันชัยเสริมต่อว่า ในตอนนั้นอุตสาหกรรมสื่ออย่างหนังสือพิมพ์ก็โดนกระทบเช่นเดียวกัน โต๊ะสิ่งแวดล้อมถูกยุบเป็นโต๊ะแรก เพราะในขณะนั้นทุกคนยังมองว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัว และไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในกระแสหลักที่ผู้คนจะให้ความสนใจ
“ถ้าตัดโต๊ะบันเทิง ใครจะซื้อหนังสือพิมพ์” วันชัยสรุป
แผงค้าขายย่านตลาดคลองเตยใช้ถุงพลาสติกแขวนไว้กับราว เพื่อเก็บของใช้สอยส่วนตัว
ขยะคือเรื่องการเมือง
หลังฝ่าฟันวิกฤตการณ์เศรษฐกิจมาได้อย่างยากลำบาก รัฐบาลทุกยุคสมัยจึงตั้งธงเรื่องปัญหาปากท้องเป็นเป้าหมายหลักของประเทศที่ต้องเร่งแก้ไข เรื่องสิ่งแวดล้อมค่อยๆ ถูกหลงลืมมาจวบจนถึงปัจจุบัน
คำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา กล่าวถึงการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมว่า รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 118,700.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.7 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรและการรักษาสิ่งแวดล้อม และการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม วันชัยมองว่างบประมาณที่ถูกจัดสรรไว้อย่างจำกัดสะท้อนว่ารัฐไม่ให้ความสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม “งบประมาณที่เพิ่งผ่านรัฐสภาไปมีสัดส่วนของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมน้อยมาก แสดงว่าเจตจำนงของทุกยุคที่ผ่านมา เขาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้บ้างหรือเปล่า ไม่มีเลย ไปดูในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไม่เคยมีเรื่องเหล่านี้ Zero Waste ภายใน 20 ปี ไม่มีเลย”
วันชัยให้ความเห็นเพิ่มเติมกับรูปการณ์การเมืองที่ผ่านมาว่า ไม่ว่าจะในยุคไหน นักการเมืองก็ต้องการสร้างผลงาน การพูดเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นเอามาใช้หาเสียงไม่ได้ เนื่องจากไม่เป็นรูปธรรมพอให้ประชาชนรู้สึกว่าบุคคลนี้มีผลงาน
เขาอธิบายให้เห็นภาพว่า ถ้าหากรัฐบาลสร้างเขื่อน นั่นนับเป็นผลงาน แต่ถ้าหากรัฐเพียงรณรงค์เรื่องทำให้สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นหรือทำให้หมอกควันพิษมันหายไปได้ สิ่งนั้นกลับไม่สามารถช่วยเป็นตัวชูโรงหาเสียง เพราะไม่มีผลลัพธ์ที่จับต้องได้
สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทยให้ข้อมูลว่า รัฐบาลไทยเองก็ได้พยายามรณรงค์สร้างจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด แต่ปริมาณขยะกลับเพิ่มขึ้นทุกปี ในขณะนี้ประเทศไทยมีขยะพลาสติกมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลก และมีขยะที่ทิ้งในทะเลเป็นอันดับที่ 7 ของโลก ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
“ของเราไม่มีอะไรเลย รณรงค์จัดอีเวนท์ ชูป้ายวิ่งไปตามตลาดขอให้ประชาชนช่วย ผ่านไปเกือบ 27 ปี ก็ยังรณรงค์อยู่อย่างนั้น แสดงว่าที่ผ่านมาทำงานไม่ได้ผลสิ รัฐบาลไม่ได้ช่วยอะไรเลย” สนธิเสริม
นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมยังชี้ให้เห็นปัจจัยที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ว่าเป็นเพราะพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 18 ได้บัญญัติไว้ว่า “การกําจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตราชการส่วนท้องถิ่นใด ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น” ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลกลางจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องขยะของชุมชน
“สุดท้ายเทศบาลก็ไม่กล้าไปออกกฎหมาย เพราะมาจากการเลือกตั้ง คุณไปออกกฎหมายบังคับ ชาวบ้านเขาก็ไม่เลือกคุณ มันเกี่ยวพันกับการเมืองไปหมด ไปขึ้นค่าเก็บขยะ ค่ากำจัดขยะ เขาก็ไม่เลือกคุณ เรื่องขยะคือเรื่องการเมืองด้วยซ้ำไป” สนธิวิเคราะห์
ถังขยะบริเวณป้ายรถเมล์เกาะราชวิถี อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ในเวลากลางคืนมักจะมีผู้นำขยะมากองสุมไว้เพื่อรอการจัดการ ส่วนในเวลากลางวัน บริเวณนี้จะถูกใช้เพื่อตั้งรถขายอาหาร
การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของคนมีวิสัยทัศน์
ในหลายๆ ประเทศ พรรคอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือ พรรคกรีน (Green Party) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งพรรคการเมืองทางเลือกที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการตระหนักรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญอยู่ พรรคกรีนจะออกนโยบายที่ให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ อาทิ ปัญหาขยะ มลภาวะทางอากาศ พื้นที่สีเขียว การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน
“การจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นตัวชี้วัดสติปัญญาของรัฐบาล คือรัฐบาลต้องมีสติปัญญาถึงจะทำสิ่งเหล่านี้ได้ ถ้ารัฐบาลไม่มีคุณภาพ ก็จะมองว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของเด็กเล่น”
วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
ความนิยมของพรรคกรีนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามกระแสสังคมโลก อย่างการเลือกตั้งครั้งล่าสุดของสวิตเซอร์แลนด์ในปีนี้ พรรคกรีนได้รับคะแนนเสียงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และได้เก้าอี้ในสภามากถึง 28 ที่นั่งในส่วนคณะมนตรีแห่งชาติ ซึ่งมากขึ้นกว่าเดิม 11 ที่นั่ง คิดเป็นร้อยละ 13.2 เรกูลา ริตซ์ ประธานพรรคกรีนของสวิตเซอร์แลนด์บอกว่า นี่เป็นผลคะแนนที่มากเป็นประวัติการณ์สำหรับพรรค ซึ่งริตซ์มองว่าเป็นเพราะผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องวิกฤตโลกร้อนกันมากขึ้น
พรรคกรีนในหลายๆ ประเทศได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม จนสามารถออกเป็นประกาศระดับทางการได้ เช่น ในประเทศเยอรมนี มีการออกประกาศยกเลิกการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้สำเร็จ ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการเสนอนโยบายของฝ่ายค้านซึ่งมีพรรคกรีนร่วมอยู่ด้วย
วันชัยกล่าวว่า การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของคนมีวิสัยทัศน์ การแก้ปัญหาย่อมเกิดจากการที่ประชาชนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศนั้น ส่งผลต่อทั้งโลก การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจะส่งผลต่อมนุษย์ ขยะพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ คนเหล่านี้ไม่ได้มองแค่ประเทศ แต่พวกเขามองทั้งโลก มองว่าถ้าโลกอยู่ไม่ได้ คนก็อยู่ไม่ได้
อย่างไรก็ดี วันชัยเสนอว่าหากจะให้การแก้ปัญหาขยะได้ผล จะต้องมีการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ใช่เพียงขอความร่วมมือ เนื่องจากการขอความร่วมมือช่วยได้เพียงระดับหนึ่ง แต่ไม่มีทางตามทันปัญหาความเสื่อมโทรม “ทุกวันนี้ภาวะโลกร้อนมันเป็นชะตากรรมของมนุษย์ทั่วทั้งโลกแล้ว ถ้ามีเจตจำนงแน่วแน่ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมมันสำคัญ ก็ต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจว่าทำไมถึงต้องทำอย่างนี้ แม้ว่าจะโดนด่าก็ต้องยอม” เขากล่าว
จากกระแสสู่ความยั่งยืน
“มันไม่ไหวแล้ว ถ้าไม่ทำอะไร ตายหมู่” วันชัยมองว่าปัญหาเรื่องสภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นชะตากรรมร่วมกันของมนุษยชาติ ซึ่งเขาเชื่อว่ากระแสอนุรักษ์ที่มีอยู่ตอนนี้จะไม่หายไปจากสังคมแน่นอน เพราะวิกฤตการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนี้เลวร้ายกว่าครั้งไหนๆ ที่เคยผ่านมา
แม้ว่าหนทางการไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ดีจะดูเลือนรางและเต็มไปด้วยขวากหนาม ทว่า ในขณะเดียวกันก็มีเมล็ดพันธุ์ต้นใหม่อีกเป็นจำนวนมากที่พร้อมจะเข้ามาเป็นความหวังให้กับโลกใบนี้
จรินทร์พร จุนเกียรติ นักแสดงและผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาประเทศไทย (Environment Education Center : EEC Thailand) ได้แสดงความเห็นในฐานะภาคเอกชนที่มีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมว่า การเปลี่ยนแปลงคงยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะนี้ทั้งหมด เพราะสิ่งใดที่ถูกทำลายไปแล้วก็ถูกทำลายไปแล้ว สิ่งที่สังคมจะร่วมกันทำได้ในตอนนี้คือย่นระยะเวลาที่จะทำให้การถูกทำลายช้าลงได้บ้าง
“แต่มันยังไม่ใช่ตอนนี้” นักแสดงและนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมชี้แจง “คนสมัยนี้ใจร้อน อยากให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปเลย อยากให้มันดีตอนนี้ มันเป็นไปไม่ได้ มันขาดความอดทน”
เธอยังเสริมว่า ความ “กรีน” มีหลากหลายมิติ ดังนั้น สังคมจึงไม่สามารถตัดสินคนที่ยังใช้พลาสติกอยู่ได้ เพราะสุดท้ายแล้วพลาสติกก็ถูกสร้างมาเพื่อใช้ประโยชน์ ดังนั้น สิ่งที่เธอคาดหวังและอยากทำให้สำเร็จจึงเป็นการร่วมกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในการลด ละ เลิก การบริโภคจากภายใน
ในฐานะคนรุ่นใหม่ จรินทร์พรมองแนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมว่าควรเริ่มที่การปลูกจิตสำนึกให้เด็กๆ โตขึ้นพร้อมกับมีความเป็นนักอนุรักษ์อยู่ในใจ เพราะในอนาคตเด็กเหล่านี้ก็จะโตขึ้นไปเป็นฟันเฟืองสำคัญของประเทศ
“เพราะฉะนั้นการที่เราปลูกฝังเขาตั้งแต่ตอนเด็กๆ มันทำให้ตอนเขาโตขึ้นไป ไม่ว่าเขาจะทำอะไรก็ตาม มันจะมีเรื่องของสิ่งแวดล้อมในใจเขา” จรินทร์พรกล่าวด้วยความหวัง
Like this:
Like Loading...
เรื่อง: สุชานาถ กิตติสุรินทร์ อสมาภรณ์ พิริยะโภคานนท์
ภาพ: อสมาภรณ์ พิริยะโภคานนท์ เปมิกา จิระนารักษ์ แทนคุณ เวชมะโน
เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจสำหรับสังคมไทยที่ในที่สุดกระแสรักษ์โลกก็กลับมามีบทบาทอีกครั้ง เห็นได้จากมาตรการที่เพิ่มความเข้มงวดขึ้นจากที่ผ่านมา เช่น การร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกรายใหญ่ให้เลิกการแจกถุงพลาสติก โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป หรือการที่กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตั้งเป้ายกเลิกการใช้พลาสติกประเภทครั้งเดียวทิ้ง 4 ชนิดได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว หลอดพลาสติก แก้วพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง และกล่องโฟม ให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี 2564-2565
รวมไปถึงภาคประชาชนที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ภาพคนสะพายกระเป๋าผ้าและถือกระบอกน้ำพลาสติกจึงกลายเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชินตา
อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์รักษ์โลกที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าจะมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในระยะยาว เนื่องจากส่วนใหญ่ยังเป็นการขอความร่วมมือจากภาคเอกชนเสียทั้งหมด ขณะที่รัฐบาลไทยยังไม่มีการออกกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nation Environment Programme : UNEP) เผยผลสำรวจปี 2561 ในปีนี้ว่า จาก 192 ประเทศที่ได้สำรวจ มี 127 ประเทศที่ประกาศใช้กฎหมายหรือข้อบังคับเพื่อลดปริมาณถุงพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในจำนวนนั้น ไม่มีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย
กระแสที่ (ต้อง) มาพร้อมการสูญเสีย
หลังจากข่าวร้ายของลูกพะยูนสองตัวปรากฏขึ้นในหน้าสื่อและเป็นกระแสอย่างมากบนโลกออนไลน์ ประชาชนก็เริ่มหันมาตื่นตัวและตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกในท้องทะเลมากยิ่งขึ้น ปรากฏการณ์นี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักจะถูกสนใจก็ต่อเมื่อมีการสูญเสียเกิดขึ้น
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2533 เสียงปืนที่จบชีวิตของ สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และนักวิชาการป่าไม้ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี คือเสียงเดียวกันที่สะท้อนดังเข้าไปในจิตใจของผู้คน ก่อเกิดเป็นคลื่นความสนใจสิ่งแวดล้อมลูกแรกที่ซัดเข้ามาในประเทศไทย
สิ้นเสียงปืนของสืบได้หนึ่งปี บริษัทเพลงยักษ์ใหญ่อย่างแกรมมี่ ก็ออกอัลบั้มรวมศิลปินชื่อว่า โลกสวยด้วยมือเรา ชุด 1 โดยมีเพลงไตเติ้ลคือ โลกสวยด้วยมือเรา ที่คุ้นหูกันเป็นอย่างดี ร่วมด้วยเพลงจากศิลปินยอดนิยม อาทิ เบิร์ด ธงไชย ใหม่ เจริญปุระ นูโว และอีกมากมาย
“ตัวชี้วัดก็คือว่า สมัยช่วงนั้น หน้าหนังสือพิมพ์มันมีหน้าสิ่งแวดล้อม มีนักข่าวสายสิ่งแวดล้อม มีโต๊ะสิ่งแวดล้อม ทุกฉบับเลย” วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ นักเขียนสารคดี นักวิจารณ์ประเด็นสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เล่าถึงความเฟื่องฟูของกระแสอนุรักษ์ในตอนนั้น
ทว่า เส้นทางสู่การเป็นประเทศอนุรักษ์กลับสิ้นสุดเร็วกว่าที่คิด เมื่อฟองสบู่ที่เคยสวยงามได้แตกกระจายในปี 2540 ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจพังทลาย ระบบธนาคารไม่ทำงาน ภาคการผลิตหยุดชะงัก บริษัทต่างๆ เลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก พิษเศรษฐกิจดังกล่าวได้แพร่กระจายไปทั่วโลกในชื่อที่คุ้นหูกันดีว่า วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง
วันชัยเสริมต่อว่า ในตอนนั้นอุตสาหกรรมสื่ออย่างหนังสือพิมพ์ก็โดนกระทบเช่นเดียวกัน โต๊ะสิ่งแวดล้อมถูกยุบเป็นโต๊ะแรก เพราะในขณะนั้นทุกคนยังมองว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัว และไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในกระแสหลักที่ผู้คนจะให้ความสนใจ
“ถ้าตัดโต๊ะบันเทิง ใครจะซื้อหนังสือพิมพ์” วันชัยสรุป
ขยะคือเรื่องการเมือง
หลังฝ่าฟันวิกฤตการณ์เศรษฐกิจมาได้อย่างยากลำบาก รัฐบาลทุกยุคสมัยจึงตั้งธงเรื่องปัญหาปากท้องเป็นเป้าหมายหลักของประเทศที่ต้องเร่งแก้ไข เรื่องสิ่งแวดล้อมค่อยๆ ถูกหลงลืมมาจวบจนถึงปัจจุบัน
คำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา กล่าวถึงการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมว่า รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 118,700.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.7 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรและการรักษาสิ่งแวดล้อม และการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม วันชัยมองว่างบประมาณที่ถูกจัดสรรไว้อย่างจำกัดสะท้อนว่ารัฐไม่ให้ความสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม “งบประมาณที่เพิ่งผ่านรัฐสภาไปมีสัดส่วนของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมน้อยมาก แสดงว่าเจตจำนงของทุกยุคที่ผ่านมา เขาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้บ้างหรือเปล่า ไม่มีเลย ไปดูในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไม่เคยมีเรื่องเหล่านี้ Zero Waste ภายใน 20 ปี ไม่มีเลย”
วันชัยให้ความเห็นเพิ่มเติมกับรูปการณ์การเมืองที่ผ่านมาว่า ไม่ว่าจะในยุคไหน นักการเมืองก็ต้องการสร้างผลงาน การพูดเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นเอามาใช้หาเสียงไม่ได้ เนื่องจากไม่เป็นรูปธรรมพอให้ประชาชนรู้สึกว่าบุคคลนี้มีผลงาน
เขาอธิบายให้เห็นภาพว่า ถ้าหากรัฐบาลสร้างเขื่อน นั่นนับเป็นผลงาน แต่ถ้าหากรัฐเพียงรณรงค์เรื่องทำให้สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นหรือทำให้หมอกควันพิษมันหายไปได้ สิ่งนั้นกลับไม่สามารถช่วยเป็นตัวชูโรงหาเสียง เพราะไม่มีผลลัพธ์ที่จับต้องได้
สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทยให้ข้อมูลว่า รัฐบาลไทยเองก็ได้พยายามรณรงค์สร้างจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด แต่ปริมาณขยะกลับเพิ่มขึ้นทุกปี ในขณะนี้ประเทศไทยมีขยะพลาสติกมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลก และมีขยะที่ทิ้งในทะเลเป็นอันดับที่ 7 ของโลก ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
“ของเราไม่มีอะไรเลย รณรงค์จัดอีเวนท์ ชูป้ายวิ่งไปตามตลาดขอให้ประชาชนช่วย ผ่านไปเกือบ 27 ปี ก็ยังรณรงค์อยู่อย่างนั้น แสดงว่าที่ผ่านมาทำงานไม่ได้ผลสิ รัฐบาลไม่ได้ช่วยอะไรเลย” สนธิเสริม
นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมยังชี้ให้เห็นปัจจัยที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ว่าเป็นเพราะพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 18 ได้บัญญัติไว้ว่า “การกําจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตราชการส่วนท้องถิ่นใด ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น” ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลกลางจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องขยะของชุมชน
“สุดท้ายเทศบาลก็ไม่กล้าไปออกกฎหมาย เพราะมาจากการเลือกตั้ง คุณไปออกกฎหมายบังคับ ชาวบ้านเขาก็ไม่เลือกคุณ มันเกี่ยวพันกับการเมืองไปหมด ไปขึ้นค่าเก็บขยะ ค่ากำจัดขยะ เขาก็ไม่เลือกคุณ เรื่องขยะคือเรื่องการเมืองด้วยซ้ำไป” สนธิวิเคราะห์
การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของคนมีวิสัยทัศน์
ในหลายๆ ประเทศ พรรคอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือ พรรคกรีน (Green Party) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งพรรคการเมืองทางเลือกที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการตระหนักรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญอยู่ พรรคกรีนจะออกนโยบายที่ให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ อาทิ ปัญหาขยะ มลภาวะทางอากาศ พื้นที่สีเขียว การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน
ความนิยมของพรรคกรีนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามกระแสสังคมโลก อย่างการเลือกตั้งครั้งล่าสุดของสวิตเซอร์แลนด์ในปีนี้ พรรคกรีนได้รับคะแนนเสียงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และได้เก้าอี้ในสภามากถึง 28 ที่นั่งในส่วนคณะมนตรีแห่งชาติ ซึ่งมากขึ้นกว่าเดิม 11 ที่นั่ง คิดเป็นร้อยละ 13.2 เรกูลา ริตซ์ ประธานพรรคกรีนของสวิตเซอร์แลนด์บอกว่า นี่เป็นผลคะแนนที่มากเป็นประวัติการณ์สำหรับพรรค ซึ่งริตซ์มองว่าเป็นเพราะผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องวิกฤตโลกร้อนกันมากขึ้น
พรรคกรีนในหลายๆ ประเทศได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม จนสามารถออกเป็นประกาศระดับทางการได้ เช่น ในประเทศเยอรมนี มีการออกประกาศยกเลิกการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้สำเร็จ ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการเสนอนโยบายของฝ่ายค้านซึ่งมีพรรคกรีนร่วมอยู่ด้วย
วันชัยกล่าวว่า การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของคนมีวิสัยทัศน์ การแก้ปัญหาย่อมเกิดจากการที่ประชาชนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศนั้น ส่งผลต่อทั้งโลก การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจะส่งผลต่อมนุษย์ ขยะพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ คนเหล่านี้ไม่ได้มองแค่ประเทศ แต่พวกเขามองทั้งโลก มองว่าถ้าโลกอยู่ไม่ได้ คนก็อยู่ไม่ได้
อย่างไรก็ดี วันชัยเสนอว่าหากจะให้การแก้ปัญหาขยะได้ผล จะต้องมีการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ใช่เพียงขอความร่วมมือ เนื่องจากการขอความร่วมมือช่วยได้เพียงระดับหนึ่ง แต่ไม่มีทางตามทันปัญหาความเสื่อมโทรม “ทุกวันนี้ภาวะโลกร้อนมันเป็นชะตากรรมของมนุษย์ทั่วทั้งโลกแล้ว ถ้ามีเจตจำนงแน่วแน่ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมมันสำคัญ ก็ต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจว่าทำไมถึงต้องทำอย่างนี้ แม้ว่าจะโดนด่าก็ต้องยอม” เขากล่าว
จากกระแสสู่ความยั่งยืน
“มันไม่ไหวแล้ว ถ้าไม่ทำอะไร ตายหมู่” วันชัยมองว่าปัญหาเรื่องสภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นชะตากรรมร่วมกันของมนุษยชาติ ซึ่งเขาเชื่อว่ากระแสอนุรักษ์ที่มีอยู่ตอนนี้จะไม่หายไปจากสังคมแน่นอน เพราะวิกฤตการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนี้เลวร้ายกว่าครั้งไหนๆ ที่เคยผ่านมา
แม้ว่าหนทางการไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ดีจะดูเลือนรางและเต็มไปด้วยขวากหนาม ทว่า ในขณะเดียวกันก็มีเมล็ดพันธุ์ต้นใหม่อีกเป็นจำนวนมากที่พร้อมจะเข้ามาเป็นความหวังให้กับโลกใบนี้
จรินทร์พร จุนเกียรติ นักแสดงและผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาประเทศไทย (Environment Education Center : EEC Thailand) ได้แสดงความเห็นในฐานะภาคเอกชนที่มีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมว่า การเปลี่ยนแปลงคงยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะนี้ทั้งหมด เพราะสิ่งใดที่ถูกทำลายไปแล้วก็ถูกทำลายไปแล้ว สิ่งที่สังคมจะร่วมกันทำได้ในตอนนี้คือย่นระยะเวลาที่จะทำให้การถูกทำลายช้าลงได้บ้าง
“แต่มันยังไม่ใช่ตอนนี้” นักแสดงและนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมชี้แจง “คนสมัยนี้ใจร้อน อยากให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปเลย อยากให้มันดีตอนนี้ มันเป็นไปไม่ได้ มันขาดความอดทน”
เธอยังเสริมว่า ความ “กรีน” มีหลากหลายมิติ ดังนั้น สังคมจึงไม่สามารถตัดสินคนที่ยังใช้พลาสติกอยู่ได้ เพราะสุดท้ายแล้วพลาสติกก็ถูกสร้างมาเพื่อใช้ประโยชน์ ดังนั้น สิ่งที่เธอคาดหวังและอยากทำให้สำเร็จจึงเป็นการร่วมกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในการลด ละ เลิก การบริโภคจากภายใน
ในฐานะคนรุ่นใหม่ จรินทร์พรมองแนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมว่าควรเริ่มที่การปลูกจิตสำนึกให้เด็กๆ โตขึ้นพร้อมกับมีความเป็นนักอนุรักษ์อยู่ในใจ เพราะในอนาคตเด็กเหล่านี้ก็จะโตขึ้นไปเป็นฟันเฟืองสำคัญของประเทศ
“เพราะฉะนั้นการที่เราปลูกฝังเขาตั้งแต่ตอนเด็กๆ มันทำให้ตอนเขาโตขึ้นไป ไม่ว่าเขาจะทำอะไรก็ตาม มันจะมีเรื่องของสิ่งแวดล้อมในใจเขา” จรินทร์พรกล่าวด้วยความหวัง
Share this:
Like this: