โพลชี้นิสิตจุฬาฯ ส่วนใหญ่เจอผู้สอนบกพร่อง-หวั่นประเมินการสอนไร้ผล พบบางคณะไม่นำไปใช้ประเมินการทำงานของอาจารย์ ด้านนักวิจัยแนะมหาวิทยาลัยต้องฟังความเห็นนิสิตเพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ผู้สื่อข่าวสำรวจความคิดเห็นนิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่าจุฬาฯ ทางออนไลน์ จำนวน 717 คน พบว่านิสิตร้อยละ 92 พบปัญหาอาจารย์บกพร่องในหน้าที่การสอน เช่น ไม่เข้าสอนบ่อยครั้ง เข้าสอนสาย ตัดเกรดไม่เป็นธรรม สอนไม่ดีทำให้ไม่ได้ความรู้ ฯลฯ
นายไก่ (นามสมมติ) บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เคยเรียนกับอาจารย์หลายท่านที่ตนรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น มีอคติต่อนิสิตบางคน หรือไม่ให้ตรวจสอบวิธีการให้คะแนน นายไก่ยังกล่าวอีกว่า เขาประเมินผลการเรียนการสอนผ่านช่องทางออนไลน์ หรือระบบ CU-CAS ทุกครั้ง แต่ก็ไม่เคยเห็นการเปลี่ยนแปลงในประเด็นที่ท้วงติงไป
“เราก็ประเมินตามจริงเสมอ สอนไม่โอเคก็ให้ 1 ให้น้อยๆ ไป แต่ก็ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงอะไรกับการที่เราให้คะแนนอยู่แล้ว” นายไก่กล่าว
ขณะที่ ผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เห็นว่าหากให้การประเมินการสอนจากนิสิตมีผลต่อการประเมินอาจารย์มากเกินไป เช่น นำมาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการทำงาน หรือมีผลในการต่อสัญญา ก็อาจจะเป็นการสร้างผู้เรียนที่เอาแต่ใจตัวเอง
“การเอาผลการประเมินการสอนจากนิสิตมาใช้คือเรื่องดี แต่ไม่ใช่เอามาให้น้ำหนักในการตัดสินอาจารย์ ไม่งั้นระบบการศึกษาจะมีปัญหา เพราะอาจารย์จะสปอยล์นิสิตเพื่อไม่ให้นิสิตเกลียด” ผศ.พิจิตรากล่าว
การสำรวจเบื้องต้นของผู้สื่อข่าว พบว่าแต่ละคณะนำผลประเมินการสอนไปใช้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการจัดการและดุลพินิจของผู้บริหาร บางคณะนำผลประเมินการสอนของนิสิตมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการประเมินผลงานประจำปีของอาจารย์ แต่บางคณะ ผลประเมินการสอนก็เป็นเพียงข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรหรือขอตำแหน่งทางวิชาการเท่านั้น
อ.วศิน บุญพัฒนาภรณ์ จากภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าที่ภาควิชา ผลประเมินการสอนของนิสิตมีผลต่อการประเมินการทำงานประจำปีของอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นเพราะอาจารย์ก็ไม่ได้มีเพียงภาระการสอน แต่ยังมีภาระด้านอื่นด้วย เช่น การบริหาร หรือ การผลิตงานวิชาการ เป็นต้น
“การสอนเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกประเมิน และการประเมินการสอนส่วนหนึ่งก็เอามาจาก CU-CAS เพราะฉะนั้นหากนิสิตเจออาจารย์ที่สอนไม่ดีและจะประเมินให้ออกไปเลย ทางปฏิบัติผมว่าทำไม่ได้” อ.วศินกล่าว
ทั้งนี้ ข้อบังคับจุฬาฯ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2557 ระบุว่า หากพนักงานมหาวิทยาลัยผู้ใดมีผลการประเมินการปฏิบัติงานประจำปีอยู่ในระดับต้องปรับปรุงติดกันสองปีจะถูกยกเลิกสัญญา หรือมีผลประเมินอยู่ในระดับปานกลางติดต่อกันสามปีก็จะถูกยกเลิกสัญญา
ด้าน ผศ.ดร.เปรมทิพย์ ทวีรติธรรม รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและกิจการนิสิต คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่าผลประเมินการสอนของนิสิตเป็นข้อมูลในการเอามาปรับปรุงหลักสูตร แต่ไม่ได้นำมาใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของอาจารย์ เนื่องจากระบบการประเมินการสอนไม่บังคับให้นิสิตเข้ามาประเมิน ทำให้ความเห็นของนิสิตที่ประเมินเป็นเพียงเสียงของคนบางส่วน ซึ่งไม่สามารถแทนความเห็นของนิสิตทั้งหมดได้
ส่วน นางเนาวรัตน์ จงสืบสุข ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาวิชาการ สำนักงานบริหารวิชาการ หน่วยงานผู้รับผิดชอบระบบประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ กล่าวว่า คณะหรือภาควิชาจะนำผลประเมินการสอนไปใช้ในการประเมินหลักสูตร ส่วนอาจารย์จะนำไปใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ แต่หากอาจารย์ไม่ได้ขอตำแหน่งทางวิชาการ ก็คาดหวังให้นำผลที่ได้รับไปพัฒนาการสอนในภาคการศึกษาถัดไป
ผู้สื่อข่าวยังพบว่า รายงานการประชุมคณบดี ครั้งที่ 19/2555 ระบุว่าสามารถใช้วิธีการอื่นนอกเหนือจากผลประเมินการสอน ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการและการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาได้
ด้าน ดร.ประทีป ฉัตรสุภางค์ ผู้วิจัยเรื่องจริยธรรมในวิชาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย เสนอแนะว่า มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดแนวทางปฏิบัติเรื่องการเรียนการสอนที่ชัดเจนและแจ้งให้อาจารย์ทราบ และต้องมีความเข้มงวดเอาจริงเอาจังในการกำกับดูแลอาจารย์ อีกทั้งควรมีช่องทางการประเมินจากนิสิตที่ชัดเจนและเห็นผลได้จริง เพื่อให้ความคิดเห็นของผู้เรียนได้นำไปใช้ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการศึกษา
Like this:
Like Loading...
โพลชี้นิสิตจุฬาฯ ส่วนใหญ่เจอผู้สอนบกพร่อง-หวั่นประเมินการสอนไร้ผล พบบางคณะไม่นำไปใช้ประเมินการทำงานของอาจารย์ ด้านนักวิจัยแนะมหาวิทยาลัยต้องฟังความเห็นนิสิตเพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ผู้สื่อข่าวสำรวจความคิดเห็นนิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่าจุฬาฯ ทางออนไลน์ จำนวน 717 คน พบว่านิสิตร้อยละ 92 พบปัญหาอาจารย์บกพร่องในหน้าที่การสอน เช่น ไม่เข้าสอนบ่อยครั้ง เข้าสอนสาย ตัดเกรดไม่เป็นธรรม สอนไม่ดีทำให้ไม่ได้ความรู้ ฯลฯ
นายไก่ (นามสมมติ) บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เคยเรียนกับอาจารย์หลายท่านที่ตนรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น มีอคติต่อนิสิตบางคน หรือไม่ให้ตรวจสอบวิธีการให้คะแนน นายไก่ยังกล่าวอีกว่า เขาประเมินผลการเรียนการสอนผ่านช่องทางออนไลน์ หรือระบบ CU-CAS ทุกครั้ง แต่ก็ไม่เคยเห็นการเปลี่ยนแปลงในประเด็นที่ท้วงติงไป
“เราก็ประเมินตามจริงเสมอ สอนไม่โอเคก็ให้ 1 ให้น้อยๆ ไป แต่ก็ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงอะไรกับการที่เราให้คะแนนอยู่แล้ว” นายไก่กล่าว
ขณะที่ ผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เห็นว่าหากให้การประเมินการสอนจากนิสิตมีผลต่อการประเมินอาจารย์มากเกินไป เช่น นำมาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการทำงาน หรือมีผลในการต่อสัญญา ก็อาจจะเป็นการสร้างผู้เรียนที่เอาแต่ใจตัวเอง
“การเอาผลการประเมินการสอนจากนิสิตมาใช้คือเรื่องดี แต่ไม่ใช่เอามาให้น้ำหนักในการตัดสินอาจารย์ ไม่งั้นระบบการศึกษาจะมีปัญหา เพราะอาจารย์จะสปอยล์นิสิตเพื่อไม่ให้นิสิตเกลียด” ผศ.พิจิตรากล่าว
การสำรวจเบื้องต้นของผู้สื่อข่าว พบว่าแต่ละคณะนำผลประเมินการสอนไปใช้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการจัดการและดุลพินิจของผู้บริหาร บางคณะนำผลประเมินการสอนของนิสิตมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการประเมินผลงานประจำปีของอาจารย์ แต่บางคณะ ผลประเมินการสอนก็เป็นเพียงข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรหรือขอตำแหน่งทางวิชาการเท่านั้น
อ.วศิน บุญพัฒนาภรณ์ จากภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าที่ภาควิชา ผลประเมินการสอนของนิสิตมีผลต่อการประเมินการทำงานประจำปีของอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นเพราะอาจารย์ก็ไม่ได้มีเพียงภาระการสอน แต่ยังมีภาระด้านอื่นด้วย เช่น การบริหาร หรือ การผลิตงานวิชาการ เป็นต้น
“การสอนเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกประเมิน และการประเมินการสอนส่วนหนึ่งก็เอามาจาก CU-CAS เพราะฉะนั้นหากนิสิตเจออาจารย์ที่สอนไม่ดีและจะประเมินให้ออกไปเลย ทางปฏิบัติผมว่าทำไม่ได้” อ.วศินกล่าว
ทั้งนี้ ข้อบังคับจุฬาฯ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2557 ระบุว่า หากพนักงานมหาวิทยาลัยผู้ใดมีผลการประเมินการปฏิบัติงานประจำปีอยู่ในระดับต้องปรับปรุงติดกันสองปีจะถูกยกเลิกสัญญา หรือมีผลประเมินอยู่ในระดับปานกลางติดต่อกันสามปีก็จะถูกยกเลิกสัญญา
ด้าน ผศ.ดร.เปรมทิพย์ ทวีรติธรรม รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและกิจการนิสิต คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่าผลประเมินการสอนของนิสิตเป็นข้อมูลในการเอามาปรับปรุงหลักสูตร แต่ไม่ได้นำมาใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของอาจารย์ เนื่องจากระบบการประเมินการสอนไม่บังคับให้นิสิตเข้ามาประเมิน ทำให้ความเห็นของนิสิตที่ประเมินเป็นเพียงเสียงของคนบางส่วน ซึ่งไม่สามารถแทนความเห็นของนิสิตทั้งหมดได้
ส่วน นางเนาวรัตน์ จงสืบสุข ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาวิชาการ สำนักงานบริหารวิชาการ หน่วยงานผู้รับผิดชอบระบบประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ กล่าวว่า คณะหรือภาควิชาจะนำผลประเมินการสอนไปใช้ในการประเมินหลักสูตร ส่วนอาจารย์จะนำไปใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ แต่หากอาจารย์ไม่ได้ขอตำแหน่งทางวิชาการ ก็คาดหวังให้นำผลที่ได้รับไปพัฒนาการสอนในภาคการศึกษาถัดไป
ผู้สื่อข่าวยังพบว่า รายงานการประชุมคณบดี ครั้งที่ 19/2555 ระบุว่าสามารถใช้วิธีการอื่นนอกเหนือจากผลประเมินการสอน ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการและการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาได้
ด้าน ดร.ประทีป ฉัตรสุภางค์ ผู้วิจัยเรื่องจริยธรรมในวิชาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย เสนอแนะว่า มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดแนวทางปฏิบัติเรื่องการเรียนการสอนที่ชัดเจนและแจ้งให้อาจารย์ทราบ และต้องมีความเข้มงวดเอาจริงเอาจังในการกำกับดูแลอาจารย์ อีกทั้งควรมีช่องทางการประเมินจากนิสิตที่ชัดเจนและเห็นผลได้จริง เพื่อให้ความคิดเห็นของผู้เรียนได้นำไปใช้ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการศึกษา
Share this:
Like this: