เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ยื่นเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติวันที่ 27 ก.ย. ซึ่งเป็นวันท่องเที่ยวโลกให้เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้มีวันหยุดยาวตั้งแต่วันที่ 24-27 ก.ย. 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวที่ซบเซาลงหลังเกิดเหตุระเบิดหลายจุดในพื้นที่ภาคใต้ แต่เมื่อเรื่องดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป กลับเกิดกระแสคัดค้านในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง เรื่องดังกล่าวไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในที่สุด
แม้โครงการวันหยุดยาวครั้งนี้จะไม่ได้รับการอนุมัติ แต่ในปี 2559 รัฐบาลก็ได้ประกาศ “วันหยุดยาว” มาแล้วหลายครั้ง โดยมีการประกาศชดเชยวันหยุดราชการเพิ่ม หรือที่เรียกกันว่า “วันหยุดฟันหลอ” ทำให้มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ได้แก่ วันหยุดยาวสี่วันในเดือนพฤษภาคมเนื่องในวันฉัตรมงคล และวันหยุดยาวห้าวันในวันอาสาฬหบูชาต่อเนื่องวันเข้าพรรษาในเดือนกรกฎาคม โดยเหตุผลหนึ่งของการประกาศ “วันหยุดยาว” คือเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในประเทศที่คาดว่าจะมีเงินสะพัดกว่าพันล้าน
แต่ความตั้งใจของคณะรัฐมนตรีดูจะสวนทางกับแนวโน้มการจับจ่ายของประชาชนในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา อันเป็นเวลาเดียวกับการเปิดเทอมของนักเรียนประถมฯ และมัธยมฯ ตลาดสินค้าอุปกรณ์การเรียนที่ควรจะคึกคักก็กลับนิ่งสนิทซ้ำยังดูจะซบเซาลง เนื่องจากเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองทำให้กลุ่มผู้ปกครองจำกัดการซื้อเท่าที่จำเป็นมาเป็นเวลา 2-3 ปีแล้ว นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากผลวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทย เรื่องตลาดคนไทยเที่ยวต่างประเทศ ในปี 2559 พบว่า คนไทยมีแนวโน้มเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้นจริง แต่เป็นการไปเที่ยวต่างประเทศเสียส่วนใหญ่ โดยอาศัยช่วงเวลาวันหยุดยาวที่เพิ่มขึ้นในการเดินทางไกลที่ใช้เวลาเดินทางมากกว่าในประเทศ
นโยบายที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับรัฐบาลไทยเท่าไหร่นัก หากมองย้อนกลับไปยังนโยบายที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเปิด-ปิดภาคเรียนในระดับอุดมศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม หรือนโยบายจำนำข้าวที่ไม่มีแผนรองรับข้าวที่ล้นตลาด โครงการวันหยุดยาวที่หมายจะกระตุ้นเศรษฐกิจ กลับกลายเป็นโครงการที่ถูกอกถูกใจแค่เหล่าเด็กๆ ที่ไม่ต้องการไปโรงเรียนแต่ไม่ใช่สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงานอย่างกลุ่มผู้ใช้แรงงานหรือลูกจ้างที่ได้ค่าเหนื่อยเป็นรายวัน เพราะเมื่อมีวันหยุดมากขึ้น คนกลุ่มนี้ก็จะต้องเสียรายได้ไปจำนวนหนึ่งโดยที่มีรายจ่ายเท่าเดิม
ภาคธุรกิจก็อาจได้รับผลกระทบจากวันหยุดที่ยาวนานเกือบสัปดาห์ งานที่จำเป็นต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการจะไม่สามารถดำเนินการได้ในวันหยุดราชการ ทำให้เวลาติดต่องานเหลือน้อยลง รวมถึงงานที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศ เพราะส่วนมากบริษัทใหญ่ๆ มักจะวางแผนงานกันเป็นรายปี ขณะที่การประกาศวันหยุดราชการมักทำในเวลาที่กระชั้นชิดเพียงหนึ่งหรือสองเดือนก่อนถึงวันนั้นๆ หากวันที่วางแผนไว้ตรงกับวันดังกล่าวพอดีก็จะทำให้งานไม่เป็นไปตามแผนและมีแนวโน้มจะเสียหายหนัก เพราะเวลาการทำงานที่หายไป ทำให้พนักงานต้องเร่งทำงานในระยะเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด และอาจส่งผลให้คุณภาพของงานด้อยลงได้
ดังนั้นก่อนการออกนโยบายใดๆ รัฐบาลควรปรึกษาหารือกับนักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความเกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงพูดคุยกับกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากนโยบาย เพื่อให้นโยบายบรรลุวัตถุประสงค์ และสามารถใช้ได้จริง การแก้ปัญหาเป็นส่วนย่อยๆ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อภาพรวมและผลระยะยาวเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดแล้วยังอาจก่อปัญหาใหม่เพิ่มขึ้น
ประหนึ่งการพยายามตะบี้ตะบันเล่นเกมซูโดกุไปทีละช่องโดยไม่หันมองตารางทั้งหมด ทำให้ต้องแก้แล้วแก้อีกอยู่เรื่อยไป กว่าจะได้คำตอบที่ถูกต้อง ก็เสียยางลบไปแล้วหลายก้อน ดีไม่ดีกระดาษก็อาจจะขาดรุ่ยจนใช้การไม่ได้อีก
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “นิสิตนักศึกษา” ฉบับที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2559
Like this:
Like Loading...
เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ยื่นเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติวันที่ 27 ก.ย. ซึ่งเป็นวันท่องเที่ยวโลกให้เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้มีวันหยุดยาวตั้งแต่วันที่ 24-27 ก.ย. 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวที่ซบเซาลงหลังเกิดเหตุระเบิดหลายจุดในพื้นที่ภาคใต้ แต่เมื่อเรื่องดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป กลับเกิดกระแสคัดค้านในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง เรื่องดังกล่าวไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในที่สุด
แม้โครงการวันหยุดยาวครั้งนี้จะไม่ได้รับการอนุมัติ แต่ในปี 2559 รัฐบาลก็ได้ประกาศ “วันหยุดยาว” มาแล้วหลายครั้ง โดยมีการประกาศชดเชยวันหยุดราชการเพิ่ม หรือที่เรียกกันว่า “วันหยุดฟันหลอ” ทำให้มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ได้แก่ วันหยุดยาวสี่วันในเดือนพฤษภาคมเนื่องในวันฉัตรมงคล และวันหยุดยาวห้าวันในวันอาสาฬหบูชาต่อเนื่องวันเข้าพรรษาในเดือนกรกฎาคม โดยเหตุผลหนึ่งของการประกาศ “วันหยุดยาว” คือเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในประเทศที่คาดว่าจะมีเงินสะพัดกว่าพันล้าน
แต่ความตั้งใจของคณะรัฐมนตรีดูจะสวนทางกับแนวโน้มการจับจ่ายของประชาชนในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา อันเป็นเวลาเดียวกับการเปิดเทอมของนักเรียนประถมฯ และมัธยมฯ ตลาดสินค้าอุปกรณ์การเรียนที่ควรจะคึกคักก็กลับนิ่งสนิทซ้ำยังดูจะซบเซาลง เนื่องจากเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองทำให้กลุ่มผู้ปกครองจำกัดการซื้อเท่าที่จำเป็นมาเป็นเวลา 2-3 ปีแล้ว นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากผลวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทย เรื่องตลาดคนไทยเที่ยวต่างประเทศ ในปี 2559 พบว่า คนไทยมีแนวโน้มเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้นจริง แต่เป็นการไปเที่ยวต่างประเทศเสียส่วนใหญ่ โดยอาศัยช่วงเวลาวันหยุดยาวที่เพิ่มขึ้นในการเดินทางไกลที่ใช้เวลาเดินทางมากกว่าในประเทศ
นโยบายที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับรัฐบาลไทยเท่าไหร่นัก หากมองย้อนกลับไปยังนโยบายที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเปิด-ปิดภาคเรียนในระดับอุดมศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม หรือนโยบายจำนำข้าวที่ไม่มีแผนรองรับข้าวที่ล้นตลาด โครงการวันหยุดยาวที่หมายจะกระตุ้นเศรษฐกิจ กลับกลายเป็นโครงการที่ถูกอกถูกใจแค่เหล่าเด็กๆ ที่ไม่ต้องการไปโรงเรียนแต่ไม่ใช่สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงานอย่างกลุ่มผู้ใช้แรงงานหรือลูกจ้างที่ได้ค่าเหนื่อยเป็นรายวัน เพราะเมื่อมีวันหยุดมากขึ้น คนกลุ่มนี้ก็จะต้องเสียรายได้ไปจำนวนหนึ่งโดยที่มีรายจ่ายเท่าเดิม
ภาคธุรกิจก็อาจได้รับผลกระทบจากวันหยุดที่ยาวนานเกือบสัปดาห์ งานที่จำเป็นต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการจะไม่สามารถดำเนินการได้ในวันหยุดราชการ ทำให้เวลาติดต่องานเหลือน้อยลง รวมถึงงานที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศ เพราะส่วนมากบริษัทใหญ่ๆ มักจะวางแผนงานกันเป็นรายปี ขณะที่การประกาศวันหยุดราชการมักทำในเวลาที่กระชั้นชิดเพียงหนึ่งหรือสองเดือนก่อนถึงวันนั้นๆ หากวันที่วางแผนไว้ตรงกับวันดังกล่าวพอดีก็จะทำให้งานไม่เป็นไปตามแผนและมีแนวโน้มจะเสียหายหนัก เพราะเวลาการทำงานที่หายไป ทำให้พนักงานต้องเร่งทำงานในระยะเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด และอาจส่งผลให้คุณภาพของงานด้อยลงได้
ดังนั้นก่อนการออกนโยบายใดๆ รัฐบาลควรปรึกษาหารือกับนักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความเกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงพูดคุยกับกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากนโยบาย เพื่อให้นโยบายบรรลุวัตถุประสงค์ และสามารถใช้ได้จริง การแก้ปัญหาเป็นส่วนย่อยๆ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อภาพรวมและผลระยะยาวเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดแล้วยังอาจก่อปัญหาใหม่เพิ่มขึ้น
ประหนึ่งการพยายามตะบี้ตะบันเล่นเกมซูโดกุไปทีละช่องโดยไม่หันมองตารางทั้งหมด ทำให้ต้องแก้แล้วแก้อีกอยู่เรื่อยไป กว่าจะได้คำตอบที่ถูกต้อง ก็เสียยางลบไปแล้วหลายก้อน ดีไม่ดีกระดาษก็อาจจะขาดรุ่ยจนใช้การไม่ได้อีก
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “นิสิตนักศึกษา” ฉบับที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2559
Share this:
Like this: