การเดินทางในปัจจุบันมีความสะดวกสบายขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯที่มีระบบขนส่งมวลชนสมัยใหม่ทั้งรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินเข้ามารองรับคนในสังคมได้อย่างดี
ทว่าสำหรับคนสมัยเก่าอย่างผู้สูงอายุแล้ว พวกเขาอาจต้องปรับตัวกับระบบเหล่านี้อีกไม่น้อย ถึงแม้ว่าระบบขนส่งสมัยใหม่จะมีสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างบันไดเลื่อนหรือลิฟต์ แต่ในมุมของผู้สูงอายุส่วนมากกลับไม่ได้รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้สะดวกเท่าที่ควร โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)
จากข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ในปี 2557 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 15.3 ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าอีกราว 20 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29ของประชากรทั้งหมด ดังนั้น เพื่อรองรับสังคมที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น การตระหนักถึงความต้องการของพวกเขาจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ผู้สูงอายุส่วนมากรู้สึกเป็นปัญหาเมื่อต้องเดินขึ้นบันได นายบุญชัย ปัญจรัตนากร ผู้โดยสารวัย 58 ปี กล่าวว่า “วัยอย่างเราไม่กล้าเดินขึ้นบันไดโดยไม่จับราวแล้ว เพราะกลัวจะพลาดตกลงมา” พร้อมเสริมว่า แม้ตนจะเป็นผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็ยังไม่วางใจถ้าต้องเดินขึ้นบันได อีกทั้งพื้นที่ไม่ราบเรียบในบางสถานี ยิ่งทำให้มีโอกาสพลาดล้มสูง
“คนสูงวัยที่มีปัญหาขาก็ต้องค่อยๆ เดินขึ้นบันไดเองโดยไม่มีพนักงานคอยช่วย” นางศรีสมร คเชนทร์ทอง ผู้โดยสารวัย 72 ปี ให้ความเห็นว่า แม้บนสถานีจะมีพนักงานคอยบริการ แต่บริเวณบันไดเดินขึ้นจากระดับพื้นกลับไม่มีใครคอยช่วย ซึ่งจะเป็นปัญหามากสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ
ปัญหาถัดมา คือ บริเวณจุดแตะบัตรเข้าสถานีที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่กังวลว่า ประตูกั้นปิดเร็วเกินไปจนอาจทำให้เกิดอันตรายได้หากเดินไม่เร็วพอ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่ได้มีความคล่องตัวสูงเท่าวัยรุ่น ผู้สูงอายุบางรายเคยมีประสบการณ์ถูกประตูกั้นแข็งๆ ชนเข้ากับตัวเองด้วย
นายบุญชัยเล่าว่า “คนมีอายุอย่างเรา โดนชนเข้าไปก็สาหัส สะโพกยอกไปหลายวัน เข้าใจว่าระบบมีไว้ป้องกันไม่ให้คนเข้าเกินหนึ่งคน แต่ก็ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือเพื่อลดปัญหานี้” เนื่องจากในบางสถานีที่มีผู้โดยสารไม่มากนัก จะไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำบริเวณจุดแตะบัตรเลยในบางเวลา
นอกจากนี้ ผู้สูงอายุบางส่วนยังกล่าวถึงปัญหาเรื่องเส้นทางภายในสถานี และระบบจ่ายบัตรอัตโนมัติ นางลำดวน สมอุน ผู้โดยสารวัย 60 ปี เล่าว่า “ช่วงแรกเราสับสนไม่รู้จะไปทางไหน ไม่รู้วิธีใช้ตู้ซื้อบัตรด้วย อ่านป้ายก็ไม่เข้าใจ แล้วก็ไม่ค่อยมีพนักงานช่วยแนะนำ ถ้าคนไม่ค่อยรู้เรื่องคงขึ้นไม่ได้เลย” อย่างไรก็ตาม นางลำดวนเห็นว่านี่เป็นความสับสนซึ่งท้ายที่สุดต้องอาศัยความเคยชิน จึงคลายความกังวลส่วนนี้ไปได้
หลากหลายปัญหาการใช้บริการจากมุมมองผู้สูงอายุ สะท้อนถึงความพยายามในการออกแบบของระบบขนส่งสมัยใหม่ที่ยังตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนสมัยเก่าได้ไม่เต็มที่ เพื่อรองรับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในสังคมไทย แนวคิดการออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อที่พวกเขาจะใช้บริการระบบขนส่งสมัยใหม่ได้อย่างเท่าเทียมกับคนทุกกลุ่มในสังคม
แนวคิด Universal Design เป็นที่รู้จักมานานโดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กล่าวว่า ในปี 2558 ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวที่มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 30 ของประชากร นับเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงอายุเป็นประเทศแรกๆ ของโลกและกลายเป็นที่จับตามองว่าญี่ปุ่นจะมีการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุอย่างไร
ผู้ที่เคยใช้รถไฟฟ้าในญี่ปุ่นเล่าว่า แต่ละสถานีจะมีบันไดเลื่อนอย่างทั่วถึง บางแห่งมีลิฟต์เพื่อผ่อนแรง ส่วนบันไดปกติจะใช้ขั้นบันไดที่มีความสูงน้อยเพื่อลดความเสี่ยงที่จะพลาดตกลงมา ที่น่าสนใจคือ ประตูกั้นบริเวณช่องตรวจตั๋วที่มีลักษณะคล้ายเบาะนิ่มไม่ก่อให้เกิดอันตราย นอกจากนี้ ทางสถานียังมีการบอกพื้นที่ในสถานีด้วยแผนผังที่มีปุ่มกดรับข้อมูลโดยตรง เพื่อลดปัญหาความสับสนเรื่องทิศทาง และป้ายบอกทางที่มีแสงสว่างบนพื้นป้ายสีเข้ม เพื่อให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งกลางวันและกลางคืน ที่สำคัญ คือสถานีใดที่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างทั่วถึง จะมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ประจำสถานีอย่างถูกวิธี ทั้งการให้บริการและการใช้อุปกรณ์ เช่น ทางลาดสำหรับผู้ใช้รถเข็น โดยจะฝึกอบรมอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง
แนวคิดการออกแบบในประเทศญี่ปุ่นนับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ และเป็นหนึ่งในแบบอย่างที่ดีของการออกแบบระบบขนส่งสมัยใหม่ที่ประเทศไทยควรศึกษา ควบคู่ไปกับการรับฟังความคิดเห็นจากคนทุกกลุ่มในสังคมโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อให้ระบบขนส่งสมัยใหม่สามารถตอบสนองความต้องการของทุกคนในสังคมได้ และเพื่อเตรียมรับมือกับสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “นิสิตนักศึกษา” ฉบับที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2559
Like this:
Like Loading...
การเดินทางในปัจจุบันมีความสะดวกสบายขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯที่มีระบบขนส่งมวลชนสมัยใหม่ทั้งรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินเข้ามารองรับคนในสังคมได้อย่างดี
ทว่าสำหรับคนสมัยเก่าอย่างผู้สูงอายุแล้ว พวกเขาอาจต้องปรับตัวกับระบบเหล่านี้อีกไม่น้อย ถึงแม้ว่าระบบขนส่งสมัยใหม่จะมีสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างบันไดเลื่อนหรือลิฟต์ แต่ในมุมของผู้สูงอายุส่วนมากกลับไม่ได้รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้สะดวกเท่าที่ควร โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)
จากข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ในปี 2557 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 15.3 ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าอีกราว 20 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29ของประชากรทั้งหมด ดังนั้น เพื่อรองรับสังคมที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น การตระหนักถึงความต้องการของพวกเขาจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ผู้สูงอายุส่วนมากรู้สึกเป็นปัญหาเมื่อต้องเดินขึ้นบันได นายบุญชัย ปัญจรัตนากร ผู้โดยสารวัย 58 ปี กล่าวว่า “วัยอย่างเราไม่กล้าเดินขึ้นบันไดโดยไม่จับราวแล้ว เพราะกลัวจะพลาดตกลงมา” พร้อมเสริมว่า แม้ตนจะเป็นผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็ยังไม่วางใจถ้าต้องเดินขึ้นบันได อีกทั้งพื้นที่ไม่ราบเรียบในบางสถานี ยิ่งทำให้มีโอกาสพลาดล้มสูง
“คนสูงวัยที่มีปัญหาขาก็ต้องค่อยๆ เดินขึ้นบันไดเองโดยไม่มีพนักงานคอยช่วย” นางศรีสมร คเชนทร์ทอง ผู้โดยสารวัย 72 ปี ให้ความเห็นว่า แม้บนสถานีจะมีพนักงานคอยบริการ แต่บริเวณบันไดเดินขึ้นจากระดับพื้นกลับไม่มีใครคอยช่วย ซึ่งจะเป็นปัญหามากสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ
ปัญหาถัดมา คือ บริเวณจุดแตะบัตรเข้าสถานีที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่กังวลว่า ประตูกั้นปิดเร็วเกินไปจนอาจทำให้เกิดอันตรายได้หากเดินไม่เร็วพอ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่ได้มีความคล่องตัวสูงเท่าวัยรุ่น ผู้สูงอายุบางรายเคยมีประสบการณ์ถูกประตูกั้นแข็งๆ ชนเข้ากับตัวเองด้วย
นายบุญชัยเล่าว่า “คนมีอายุอย่างเรา โดนชนเข้าไปก็สาหัส สะโพกยอกไปหลายวัน เข้าใจว่าระบบมีไว้ป้องกันไม่ให้คนเข้าเกินหนึ่งคน แต่ก็ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือเพื่อลดปัญหานี้” เนื่องจากในบางสถานีที่มีผู้โดยสารไม่มากนัก จะไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำบริเวณจุดแตะบัตรเลยในบางเวลา
นอกจากนี้ ผู้สูงอายุบางส่วนยังกล่าวถึงปัญหาเรื่องเส้นทางภายในสถานี และระบบจ่ายบัตรอัตโนมัติ นางลำดวน สมอุน ผู้โดยสารวัย 60 ปี เล่าว่า “ช่วงแรกเราสับสนไม่รู้จะไปทางไหน ไม่รู้วิธีใช้ตู้ซื้อบัตรด้วย อ่านป้ายก็ไม่เข้าใจ แล้วก็ไม่ค่อยมีพนักงานช่วยแนะนำ ถ้าคนไม่ค่อยรู้เรื่องคงขึ้นไม่ได้เลย” อย่างไรก็ตาม นางลำดวนเห็นว่านี่เป็นความสับสนซึ่งท้ายที่สุดต้องอาศัยความเคยชิน จึงคลายความกังวลส่วนนี้ไปได้
หลากหลายปัญหาการใช้บริการจากมุมมองผู้สูงอายุ สะท้อนถึงความพยายามในการออกแบบของระบบขนส่งสมัยใหม่ที่ยังตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนสมัยเก่าได้ไม่เต็มที่ เพื่อรองรับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในสังคมไทย แนวคิดการออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อที่พวกเขาจะใช้บริการระบบขนส่งสมัยใหม่ได้อย่างเท่าเทียมกับคนทุกกลุ่มในสังคม
แนวคิด Universal Design เป็นที่รู้จักมานานโดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กล่าวว่า ในปี 2558 ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวที่มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 30 ของประชากร นับเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงอายุเป็นประเทศแรกๆ ของโลกและกลายเป็นที่จับตามองว่าญี่ปุ่นจะมีการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุอย่างไร
ผู้ที่เคยใช้รถไฟฟ้าในญี่ปุ่นเล่าว่า แต่ละสถานีจะมีบันไดเลื่อนอย่างทั่วถึง บางแห่งมีลิฟต์เพื่อผ่อนแรง ส่วนบันไดปกติจะใช้ขั้นบันไดที่มีความสูงน้อยเพื่อลดความเสี่ยงที่จะพลาดตกลงมา ที่น่าสนใจคือ ประตูกั้นบริเวณช่องตรวจตั๋วที่มีลักษณะคล้ายเบาะนิ่มไม่ก่อให้เกิดอันตราย นอกจากนี้ ทางสถานียังมีการบอกพื้นที่ในสถานีด้วยแผนผังที่มีปุ่มกดรับข้อมูลโดยตรง เพื่อลดปัญหาความสับสนเรื่องทิศทาง และป้ายบอกทางที่มีแสงสว่างบนพื้นป้ายสีเข้ม เพื่อให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งกลางวันและกลางคืน ที่สำคัญ คือสถานีใดที่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างทั่วถึง จะมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ประจำสถานีอย่างถูกวิธี ทั้งการให้บริการและการใช้อุปกรณ์ เช่น ทางลาดสำหรับผู้ใช้รถเข็น โดยจะฝึกอบรมอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง
แนวคิดการออกแบบในประเทศญี่ปุ่นนับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ และเป็นหนึ่งในแบบอย่างที่ดีของการออกแบบระบบขนส่งสมัยใหม่ที่ประเทศไทยควรศึกษา ควบคู่ไปกับการรับฟังความคิดเห็นจากคนทุกกลุ่มในสังคมโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อให้ระบบขนส่งสมัยใหม่สามารถตอบสนองความต้องการของทุกคนในสังคมได้ และเพื่อเตรียมรับมือกับสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “นิสิตนักศึกษา” ฉบับที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2559
Share this:
Like this: