Education

นักวิชาการชี้ บัณฑิตใหม่หยุดพักก่อนทำงานมากขึ้น ส่งผลกระทบตลาดแรงงาน

อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองแนวโน้มที่บัณฑิตหยุดพักก่อนทำงานเพิ่มขึ้นว่าเป็นผลจากแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่รักอิสระ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต

อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองแนวโน้มที่บัณฑิตหยุดพักก่อนทำงานเพิ่มขึ้นว่าเป็นผลจากแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่รักอิสระ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต

สถิติแนวโน้มการทำงานและการศึกษาต่อของบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 ถึง​ 2557 จัดทำโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว อัตราการเข้าทำงานและการเข้าศึกษาต่อของบัณฑิตมีจำนวนลดลง ในขณะที่บัณฑิตที่ยังไม่ทำงานมีจำนวนเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 10.9 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 24.5 ในปี 2557 สถิติแนวโน้มการทำงานและการศึกษาต่อของบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 ถึง​ 2557 จัดทำโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว อัตราการเข้าทำงานและการเข้าศึกษาต่อของบัณฑิตมีจำนวนลดลง ในขณะที่บัณฑิตที่ยังไม่ทำงานมีจำนวนเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 10.9 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 24.5 ในปี 2557

จากการสำรวจความต้องการหลังสำเร็จของศึกษาของบัณฑิตในปีการศึกษา 2558 จำนวน 148 คน ทางแบบสอบถามออนไลน์ โดย “นิสิตนักศึกษา” พบว่า บัณฑิตจำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 เลือกที่จะไม่หางานทันที แต่จะใช้ช่วงเวลาหลังสำเร็จการศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์อื่น อาทิ เพื่อพัฒนาทักษะเสริมต่างๆ เพื่อไปทำงานพิเศษและท่องเที่ยวในต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งหยุดเพื่อพักผ่อนหลังจากเรียนมาอย่างต่อเนื่องกว่า 16 ปี

เหตุผลของการมีช่วงพักหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตบางส่วน คือเพื่อสำรวจความต้องการของตนเอง เนื่องจากยังไม่ค้นพบอัตลักษณ์ของตนและอาชีพที่ต้องการในอนาคต ในขณะที่บัณฑิตอีกจำนวนหนึ่งตอบว่า การศึกษาตลอดเวลากว่า 16 ปีที่ผ่านมานั้น เป็นการทำตามความต้องการของผู้ปกครอง แต่ไม่ได้เรียนในสิ่งที่ตนเองชอบ จึงอยากใช้ช่วงเวลาพักเพื่อทำในสิ่งที่ตนเองต้องการก่อนจะหางานทำต่อไปในอนาคต โดยบัณฑิตส่วนใหญ่มีช่วงระยะเวลาพักประมาณหกเดือน

อ. ดร.วรประภา นาควัชระ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หากแนวโน้มที่บัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยลงยังคงเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ อาจส่งผลเสียต่อตลาดแรงงานในอนาคตได้

“ต้องรอดูต่อไปว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดขึ้นแค่ปีสองปีแล้วจะไม่เป็นอีก หรือว่าจะเกิดไปเรื่อยๆ เพราะประเทศเรากำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย คือกำลังแรงงานจะมีอัตราน้อยลง ประชากรก็ลดลง เพราะฉะนั้น ถ้าบัณฑิตเลือกที่จะไม่เข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น ก็จะทำให้ปัญหากำลังแรงงานน้อยลงทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น”

อ. ดร.วรประภา ยังให้ความเห็นเพิ่มว่า บัณฑิตในปัจจุบันเป็นกลุ่มวัยที่อยู่ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนรุ่น ซึ่งจะมีลักษณะรักอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ชอบการถูกบังคับหรือตั้งเงื่อนไข จึงเป็นไปได้ว่า เมื่อบัณฑิตกลุ่มนี้ยุติการมีช่วงพักหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว อาจไม่ได้ต้องการเข้าสู่ตลาดแรงงาน แต่จะผันตัวไปรับงานอิสระ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวแทน

%d bloggers like this: