‘ประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำ ประวัติศาสตร์จะต้องเปลี่ยน เปลี่ยนไปเป็นฉันและเธอเท่าเทียมกัน’
“ตุ๊ด” ตัวละครที่สามารถสร้างเสียงหัวเราะให้ผู้ชมได้ตั้งแต่เดินเข้าฉากมา ไม่ว่าจะเป็นท่าทางและน้ำเสียงที่เลียนแบบผู้หญิง ท่าทีอ้อยอิ่งเมื่อเจอพระเอก หรือการโปรยเสน่ห์ใส่หนุ่มหล่อ ล้วนแต่เป็นลักษณะของตุ๊ด หรือตัวละครเพศทางเลือกที่มักจะถูกออกแบบให้เป็นเช่นนี้เสมอมา
จนกระทั่งมีคนๆ หนึ่งลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ ผู้พลิกโฉมให้กับตัวละครเหล่านี้ไม่ใช่ใครอื่นนอกจาก เติ้ล – ปิยะชาติ ทองอ่วม คนเขียนบทผู้ประกาศตนเป็น LGBT (Lesbian Gay Bisexual Transgender) ในวงการบันเทิงกับประสบการณ์การเขียนบทกว่า 9 ปี ในบริษัทผลิตภาพยนตร์และละคร GTH เจ้าของผลงาน เนื้อคู่ประตูถัดไป และเนื้อคู่อยากรู้ว่าใคร เขาคือผู้กำกับและคนเขียนบทคนแรกที่มีโอกาสนำเสนอเรื่องราวของเพศทางเลือกในมุมที่แตกต่าง อย่าง ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ เดอะ ซีรีส์
“พอเราดูละครบ่อยๆ เราก็จะเห็นว่าตัวละครพวกนี้ออกมาแล้วต้องตลก ก็จะมีภาพจำว่าต้องเป็นแบบนี้ คนที่เคยดูละครที่มีตุ๊ด เกย์ ทอม ดี้ ก่อนหน้าก็จะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องตลก เพราะว่าเขาเห็นแค่นั้นไง” เติ้ลอธิบาย

เติ้ลเล่าว่าเนื้อเรื่องของไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ เดอะ ซีรีส์นั้น ได้รับการดัดแปลงมาจากเพจเฟซบุ๊ก“บันทึกของตุ๊ด” ที่มีคนติดตามกว่าหนึ่งล้านคน เรื่องราวในเพจไม่ได้มีเพียงความตลกของเจ้าของเพจและเพื่อนเท่านั้น แต่เป็นการจดบันทึกชีวิตของกลุ่มเพื่อนเพศทางเลือกในหลากหลายแง่มุม เติ้ลจึงสนใจที่จะหยิบยกเรื่องราวเหล่านี้มานำเสนอให้สังคมได้เห็นแง่มุมที่แตกต่างจากภาพลักษณ์เดิมๆ ของกลุ่มคนเพศทางเลือก เมื่อเรื่องราวจากชีวิตจริงกลายมาเป็นบทละครโทรทัศน์ เนื้อเรื่องไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ เดอะ ซีรีส์ จึงมีความสมจริงและครบรส แม้ว่าชีวิตของตัวละครทั้งสี่จะดูสนุกสนานและมีสีสัน แต่ชีวิตของพวกเขาก็ไม่ได้มีแต่เสียงหัวเราะเสมอไป เมื่อต้องพบเจอเรื่องราวที่ไม่ได้ตลกอย่างที่คิด อาทิ ตัวละครป่วยเป็นโรคเอดส์ การปิดบังเรื่องเพศวิถีจากครอบครัว หรือการแก้ปัญหา เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศทางเลือกที่ซับซ้อนกว่าความสัมพันธ์หญิงชาย มิตรภาพของตัวละครหลักทั้งสี่ก็ทำให้เรื่องราวแต่ละตอนผ่านไปได้ด้วยดี นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่สำหรับละครโทรทัศน์ไทย ที่ผู้ชมจะได้เห็นเบื้องลึกของชีวิตตัวละครเพศทางเลือกมากขึ้น
ทว่าการเปิดพื้นที่สำหรับเล่าเรื่องแบบใหม่ก็ต้องมาพร้อมกับการใส่ใจรายละเอียดต่อตัวบทมากขึ้น เนื่องจากผู้เขียนต้องคำนึงถึงทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อตัวละครจากการรับชมละครที่มีเพศทางเลือกเป็นตัวเดินเรื่อง เติ้ลจึงต้องปรึกษากับบุคคลต้นเรื่อง และขอความเห็นก่อนที่จะนำบทไปถ่ายทำจริง
“เราอยู่ในเมืองไทย มันไม่มีทางนำเสนออะไรได้ 100 เปอร์เซนต์ หรือนำเสนอโดยที่ไม่แคร์ศีลธรรม จริยธรรม สังคม และเราไม่อยากเอาแต่สนุกอย่างเดียว ทุกอย่างมันต้องอยู่บนความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ต้องไม่นำเสนอด้านมืดของตัวละครที่เด็กและเยาวชนไม่ควรรู้ ” เติ้ลกล่าว
ทุกวันนี้ละครโทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อหลักที่มอบรอยยิ้มและความบันเทิงให้กับผู้ชมชาวไทย ในฐานะคนเขียนบทผู้ถ่ายทอดเรื่องราวของตัวละคร เติ้ลอยากให้ผู้ชมไม่ได้เพียงความสนุก แต่ยังได้แง่คิดและได้ทำความเข้าใจตัวละครเหล่านี้ให้ลึกซึ้งขึ้น แม้ว่าเพศทางเลือกจะถูกจดจำว่าเป็นสีสันของวงการบันเทิง แต่ในความเป็นจริง ชีวิตของเพศทางเลือกในทุกสายอาชีพต่างก็มีความหลากหลายไม่แพ้หญิงชายเลย
“มันจะทำให้เขาเห็นว่า เพศทางเลือกก็มีชีวิตเหมือนคนปกติคนหนึ่ง มีความหลากหลายทางมนุษย์ มีคนดี คนเลว คนเตี้ย คนสูง คนสวยคนไม่สวย เขาก็เป็นหนึ่งในลักษณะทางชีวภาพ ” เติ้ลทิ้งท้าย
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “นิสิตนักศึกษา” ฉบับที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2559
Like this:
Like Loading...
‘ประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำ ประวัติศาสตร์จะต้องเปลี่ยน เปลี่ยนไปเป็นฉันและเธอเท่าเทียมกัน’
“ตุ๊ด” ตัวละครที่สามารถสร้างเสียงหัวเราะให้ผู้ชมได้ตั้งแต่เดินเข้าฉากมา ไม่ว่าจะเป็นท่าทางและน้ำเสียงที่เลียนแบบผู้หญิง ท่าทีอ้อยอิ่งเมื่อเจอพระเอก หรือการโปรยเสน่ห์ใส่หนุ่มหล่อ ล้วนแต่เป็นลักษณะของตุ๊ด หรือตัวละครเพศทางเลือกที่มักจะถูกออกแบบให้เป็นเช่นนี้เสมอมา
จนกระทั่งมีคนๆ หนึ่งลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ ผู้พลิกโฉมให้กับตัวละครเหล่านี้ไม่ใช่ใครอื่นนอกจาก เติ้ล – ปิยะชาติ ทองอ่วม คนเขียนบทผู้ประกาศตนเป็น LGBT (Lesbian Gay Bisexual Transgender) ในวงการบันเทิงกับประสบการณ์การเขียนบทกว่า 9 ปี ในบริษัทผลิตภาพยนตร์และละคร GTH เจ้าของผลงาน เนื้อคู่ประตูถัดไป และเนื้อคู่อยากรู้ว่าใคร เขาคือผู้กำกับและคนเขียนบทคนแรกที่มีโอกาสนำเสนอเรื่องราวของเพศทางเลือกในมุมที่แตกต่าง อย่าง ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ เดอะ ซีรีส์
“พอเราดูละครบ่อยๆ เราก็จะเห็นว่าตัวละครพวกนี้ออกมาแล้วต้องตลก ก็จะมีภาพจำว่าต้องเป็นแบบนี้ คนที่เคยดูละครที่มีตุ๊ด เกย์ ทอม ดี้ ก่อนหน้าก็จะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องตลก เพราะว่าเขาเห็นแค่นั้นไง” เติ้ลอธิบาย
เติ้ลเล่าว่าเนื้อเรื่องของไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ เดอะ ซีรีส์นั้น ได้รับการดัดแปลงมาจากเพจเฟซบุ๊ก“บันทึกของตุ๊ด” ที่มีคนติดตามกว่าหนึ่งล้านคน เรื่องราวในเพจไม่ได้มีเพียงความตลกของเจ้าของเพจและเพื่อนเท่านั้น แต่เป็นการจดบันทึกชีวิตของกลุ่มเพื่อนเพศทางเลือกในหลากหลายแง่มุม เติ้ลจึงสนใจที่จะหยิบยกเรื่องราวเหล่านี้มานำเสนอให้สังคมได้เห็นแง่มุมที่แตกต่างจากภาพลักษณ์เดิมๆ ของกลุ่มคนเพศทางเลือก เมื่อเรื่องราวจากชีวิตจริงกลายมาเป็นบทละครโทรทัศน์ เนื้อเรื่องไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ เดอะ ซีรีส์ จึงมีความสมจริงและครบรส แม้ว่าชีวิตของตัวละครทั้งสี่จะดูสนุกสนานและมีสีสัน แต่ชีวิตของพวกเขาก็ไม่ได้มีแต่เสียงหัวเราะเสมอไป เมื่อต้องพบเจอเรื่องราวที่ไม่ได้ตลกอย่างที่คิด อาทิ ตัวละครป่วยเป็นโรคเอดส์ การปิดบังเรื่องเพศวิถีจากครอบครัว หรือการแก้ปัญหา เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศทางเลือกที่ซับซ้อนกว่าความสัมพันธ์หญิงชาย มิตรภาพของตัวละครหลักทั้งสี่ก็ทำให้เรื่องราวแต่ละตอนผ่านไปได้ด้วยดี นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่สำหรับละครโทรทัศน์ไทย ที่ผู้ชมจะได้เห็นเบื้องลึกของชีวิตตัวละครเพศทางเลือกมากขึ้น
ทว่าการเปิดพื้นที่สำหรับเล่าเรื่องแบบใหม่ก็ต้องมาพร้อมกับการใส่ใจรายละเอียดต่อตัวบทมากขึ้น เนื่องจากผู้เขียนต้องคำนึงถึงทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อตัวละครจากการรับชมละครที่มีเพศทางเลือกเป็นตัวเดินเรื่อง เติ้ลจึงต้องปรึกษากับบุคคลต้นเรื่อง และขอความเห็นก่อนที่จะนำบทไปถ่ายทำจริง
“เราอยู่ในเมืองไทย มันไม่มีทางนำเสนออะไรได้ 100 เปอร์เซนต์ หรือนำเสนอโดยที่ไม่แคร์ศีลธรรม จริยธรรม สังคม และเราไม่อยากเอาแต่สนุกอย่างเดียว ทุกอย่างมันต้องอยู่บนความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ต้องไม่นำเสนอด้านมืดของตัวละครที่เด็กและเยาวชนไม่ควรรู้ ” เติ้ลกล่าว
ทุกวันนี้ละครโทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อหลักที่มอบรอยยิ้มและความบันเทิงให้กับผู้ชมชาวไทย ในฐานะคนเขียนบทผู้ถ่ายทอดเรื่องราวของตัวละคร เติ้ลอยากให้ผู้ชมไม่ได้เพียงความสนุก แต่ยังได้แง่คิดและได้ทำความเข้าใจตัวละครเหล่านี้ให้ลึกซึ้งขึ้น แม้ว่าเพศทางเลือกจะถูกจดจำว่าเป็นสีสันของวงการบันเทิง แต่ในความเป็นจริง ชีวิตของเพศทางเลือกในทุกสายอาชีพต่างก็มีความหลากหลายไม่แพ้หญิงชายเลย
“มันจะทำให้เขาเห็นว่า เพศทางเลือกก็มีชีวิตเหมือนคนปกติคนหนึ่ง มีความหลากหลายทางมนุษย์ มีคนดี คนเลว คนเตี้ย คนสูง คนสวยคนไม่สวย เขาก็เป็นหนึ่งในลักษณะทางชีวภาพ ” เติ้ลทิ้งท้าย
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “นิสิตนักศึกษา” ฉบับที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2559
Share this:
Like this: