ถ้าสิ่งที่เรากำลังเรียนอยู่ ไม่ใช่สิ่งที่เราชอบ ยิ่งเรียนยิ่งเข้าใจตนเองว่าอยากประกอบอาชีพอื่น เราจะทำอย่างไร?
ลุยสองปริญญา เพื่อเรียนสิ่งที่ชอบ
ด้วยความหลงใหลในวิชาประวัติศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก ต้นคูน-ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์ จึงตัดสินใจสมัครเรียนหลักสูตร Pre-degree คณะมนุษยศาสตร์ สาขาประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตั้งแต่ชั้นมัธยมปลาย การเรียนปริญญาตรีกับมัธยมไปพร้อมๆ กัน ทำให้เขาต้องอ่านหนังสือหนักขึ้น แต่ต้นคูนกลับรู้สึกสนุก เพราะได้เรียนสิ่งที่สนใจจริงๆ
จากตอนแรกที่คิดไว้ว่าจะเรียนต่อคณะนิเทศศาสตร์ แต่เมื่อคุณย่ามีปัญหาสุขภาพกะทันหัน ต้นคูณจึงเปลี่ยนใจเลือกเรียนคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แทน การต้องเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบ ส่งผลต่อจิตใจของเขามากกว่าที่คิด “ไม่มีวันไหนไม่อยากลาออก สอบทีไรร้องไห้ทุกที พอเราไม่ชอบความพยายามเราก็ไม่มา”
ความสุขในการเรียนมหาวิทยาลัยของต้นคูน คือการได้เรียนปริญญาโทที่ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นอกจากนี้ การได้เป็นครูสอนพิเศษวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษาควบคู่ไปด้วยในเวลานั้น ทำให้ต้นคูนค้นพบอีกหนึ่งงานที่เขารัก นั่นคือการเป็นครู
ต้นคูนวางแผนจะเป็นครูคู่กับงานดูแลโรงงานผลิตยาของครอบครัวในอนาคต “เรามีความสุขกับทั้งสองอย่าง งานหนึ่งเรามีความสุขในแง่รายได้และครอบครัว แต่อีกงานก็มีความสุขในผลลัพธ์และจิตใจ เรารู้สึกว่ามันสร้างประโยชน์ได้ ครูเป็นอาชีพที่ทำกำไรไม่ได้นะ เราไม่มีลูกค้า มีแต่นักเรียน เราอยากเป็นครูไปเรื่อยๆ การทำงานกับเด็กเป็นการเติมพลังดีๆ ให้เราเยอะมาก”
เริ่มต้นใหม่ อย่าเสียดายเวลา
หลังจากสำเร็จการศึกษาสาขาวิชาประชาสัมพันธ์ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กะแพร-ศิรภัสสร อินนันชัย ก็เริ่มชีวิตวัยทำงานด้วยงานหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ประชาสัมพันธ์ ไปถึงการตลาด จนเมื่อมาทำฟรีแลนซ์ เธอจึงมีเวลาทบทวนสิ่งที่เธออยากทำแต่ไม่เคยกล้าลอง นั่นคือการเรียนออกแบบภายใน หลังจากไม่มั่นใจในฝีมือตัวเองมานาน กะแพรก็ตัดสินใจสมัครเรียน หลักสูตรออกแบบภายในและผลิตภัณฑ์ จากโรงเรียนชนาพัฒน์ สถานที่ที่เรียกความมั่นใจในตัวเธอกลับคืนมา เพราะสองปีที่นี่ ทำให้เธอเข้าใจศาสตร์ของวิชาออกแบบที่ว่า ไม่มีอะไรถูกผิด และงานออกแบบทุกชิ้นล้วนมีคุณค่าในตัวเอง
เมื่อเรียนจบหลักสูตรดังกล่าว กะแพรได้ทุนเรียนต่อด้านการออกแบบภายในที่ประเทศอิตาลีอีกหนึ่งปี ปัจจัยทางภาษาและวัฒนธรรมทำให้กะแพรต้องพยายามหนักขึ้นกว่าเพื่อน แต่เธอก็ยังยืนยันว่า เมื่อกลับไทย เธอจะเป็นนักออกแบบให้ได้
“พรสวรรค์มันทำให้คุณไปได้เร็ว แต่ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่มีแล้วคุณจะทำมันไม่ได้ ไม่มีทางที่เราจะกลายเป็นสถาปนิกชื่อดังในปีสองปี เรากดดันตัวเองมากไปรึเปล่า อย่ากังวล ลองทำไปก่อน ให้เวลาตัวเองทำสิ่งที่อยากทำ สุดท้ายมันอาจจะไม่ใช่ แต่ก็ทำให้เราได้รู้จักตัวเองเพิ่มขึ้น”
มีเหตุผลมากมายที่รั้งเราไว้ให้อยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ แต่ถ้านั่นทำให้เราได้แต่มองสิ่งที่เรารักอยู่ห่างๆ ลองรวบรวมแรงฮึดแล้วเปลี่ยนแปลงเส้นทางชีวิตสักครั้ง ก็คงคุ้มค่าไม่แพ้กัน
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “นิสิตนักศึกษา” ฉบับที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2559
Like this:
Like Loading...
ถ้าสิ่งที่เรากำลังเรียนอยู่ ไม่ใช่สิ่งที่เราชอบ ยิ่งเรียนยิ่งเข้าใจตนเองว่าอยากประกอบอาชีพอื่น เราจะทำอย่างไร?
ด้วยความหลงใหลในวิชาประวัติศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก ต้นคูน-ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์ จึงตัดสินใจสมัครเรียนหลักสูตร Pre-degree คณะมนุษยศาสตร์ สาขาประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตั้งแต่ชั้นมัธยมปลาย การเรียนปริญญาตรีกับมัธยมไปพร้อมๆ กัน ทำให้เขาต้องอ่านหนังสือหนักขึ้น แต่ต้นคูนกลับรู้สึกสนุก เพราะได้เรียนสิ่งที่สนใจจริงๆ
จากตอนแรกที่คิดไว้ว่าจะเรียนต่อคณะนิเทศศาสตร์ แต่เมื่อคุณย่ามีปัญหาสุขภาพกะทันหัน ต้นคูณจึงเปลี่ยนใจเลือกเรียนคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แทน การต้องเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบ ส่งผลต่อจิตใจของเขามากกว่าที่คิด “ไม่มีวันไหนไม่อยากลาออก สอบทีไรร้องไห้ทุกที พอเราไม่ชอบความพยายามเราก็ไม่มา”
ความสุขในการเรียนมหาวิทยาลัยของต้นคูน คือการได้เรียนปริญญาโทที่ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นอกจากนี้ การได้เป็นครูสอนพิเศษวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษาควบคู่ไปด้วยในเวลานั้น ทำให้ต้นคูนค้นพบอีกหนึ่งงานที่เขารัก นั่นคือการเป็นครู
ต้นคูนวางแผนจะเป็นครูคู่กับงานดูแลโรงงานผลิตยาของครอบครัวในอนาคต “เรามีความสุขกับทั้งสองอย่าง งานหนึ่งเรามีความสุขในแง่รายได้และครอบครัว แต่อีกงานก็มีความสุขในผลลัพธ์และจิตใจ เรารู้สึกว่ามันสร้างประโยชน์ได้ ครูเป็นอาชีพที่ทำกำไรไม่ได้นะ เราไม่มีลูกค้า มีแต่นักเรียน เราอยากเป็นครูไปเรื่อยๆ การทำงานกับเด็กเป็นการเติมพลังดีๆ ให้เราเยอะมาก”
หลังจากสำเร็จการศึกษาสาขาวิชาประชาสัมพันธ์ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กะแพร-ศิรภัสสร อินนันชัย ก็เริ่มชีวิตวัยทำงานด้วยงานหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ประชาสัมพันธ์ ไปถึงการตลาด จนเมื่อมาทำฟรีแลนซ์ เธอจึงมีเวลาทบทวนสิ่งที่เธออยากทำแต่ไม่เคยกล้าลอง นั่นคือการเรียนออกแบบภายใน หลังจากไม่มั่นใจในฝีมือตัวเองมานาน กะแพรก็ตัดสินใจสมัครเรียน หลักสูตรออกแบบภายในและผลิตภัณฑ์ จากโรงเรียนชนาพัฒน์ สถานที่ที่เรียกความมั่นใจในตัวเธอกลับคืนมา เพราะสองปีที่นี่ ทำให้เธอเข้าใจศาสตร์ของวิชาออกแบบที่ว่า ไม่มีอะไรถูกผิด และงานออกแบบทุกชิ้นล้วนมีคุณค่าในตัวเอง
เมื่อเรียนจบหลักสูตรดังกล่าว กะแพรได้ทุนเรียนต่อด้านการออกแบบภายในที่ประเทศอิตาลีอีกหนึ่งปี ปัจจัยทางภาษาและวัฒนธรรมทำให้กะแพรต้องพยายามหนักขึ้นกว่าเพื่อน แต่เธอก็ยังยืนยันว่า เมื่อกลับไทย เธอจะเป็นนักออกแบบให้ได้
“พรสวรรค์มันทำให้คุณไปได้เร็ว แต่ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่มีแล้วคุณจะทำมันไม่ได้ ไม่มีทางที่เราจะกลายเป็นสถาปนิกชื่อดังในปีสองปี เรากดดันตัวเองมากไปรึเปล่า อย่ากังวล ลองทำไปก่อน ให้เวลาตัวเองทำสิ่งที่อยากทำ สุดท้ายมันอาจจะไม่ใช่ แต่ก็ทำให้เราได้รู้จักตัวเองเพิ่มขึ้น”
มีเหตุผลมากมายที่รั้งเราไว้ให้อยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ แต่ถ้านั่นทำให้เราได้แต่มองสิ่งที่เรารักอยู่ห่างๆ ลองรวบรวมแรงฮึดแล้วเปลี่ยนแปลงเส้นทางชีวิตสักครั้ง ก็คงคุ้มค่าไม่แพ้กัน
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “นิสิตนักศึกษา” ฉบับที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2559
Share this:
Like this: