“รถตู้จ้า…ขึ้นทางนี้เลยจ้า …”
เสียงที่เคยจอแจบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเบาบางลงมาก หลังรถตู้เส้นทางกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัดทั้งหมดที่เคยจอดรับ-ส่งผู้โดยสารบริเวณดังกล่าวมาเป็นเวลานาน ได้ย้ายไปประจำตามสถานีขนส่ง(บขส.) ต่างๆ เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ที่ผ่านมา ตามแผนการจัดระเบียบที่วางไว้ คือรถตู้ที่วิ่งในเส้นทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ไปอยู่ที่ “หมอชิต 2” รถตู้ที่วิ่งในเส้นทางภาคใต้และภาคตะวันตกให้ไปประจำการที่ “สายใต้ปิ่นเกล้า” ส่วนรถตู้ที่วิ่งในเส้นทางตะวันออกให้ประจำการที่ “เอกมัย”
“ถ้ารถตู้ย้ายออกจากอนุสาวรีย์ชัยฯ คงลองไปใช้บริการรถไฟแทน เพราะถูกกว่า แล้วเวลาที่ใช้ในการเดินทางก็ไม่ต่างกันมากนักแล้ว”
นางสาวธัญธรณ์ ธนันชัยวลี นักศึกษามหาวิทยาลัยวัย 21 ปี เป็นหนึ่งในผู้ใช้รถตู้ที่คิดว่าการย้ายครั้งนี้ทำให้การเดินทางยุ่งยาก ใช้เวลามากขึ้น และไม่สามารถกะเวลาเดินทางที่แน่นอนได้ ทั้งยังเกรงว่าวินมอเตอร์ไซค์บริเวณนั้นจะถือโอกาสขึ้นค่าโดยสารในช่วงเวลาเร่งด่วน
ทางฝั่งกลุ่มผู้ประกอบการอย่าง นายสุรพจน์ ตั้งเจริญ พนักงานขับรถตู้วัย 65 ปี และพนักงานคนอื่นๆ ก็ประสบปัญหาเรื่องที่จอดรถ เพราะก่อนการจัดระเบียบ กลุ่มรถตู้เส้นทางต่างๆ ล้วนมีที่จอดรถใต้ทางด่วนบริเวณรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิที่มีการแบ่งไว้เป็นสัดส่วน และอยู่ในที่ร่ม ต่างจากที่จอดรถแห่งใหม่ที่มีไม่เพียงพอต่อจำนวนรถตู้ จนบางส่วนต้องจอดไว้กลางแจ้ง นอกจากนี้ กลุ่มผู้ประกอบการยังกังวลว่าจำนวนผู้โดยสารอาจจะลดลงเพราะการเดินทางที่ยุ่งยากมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการและคนขับรถก็จำต้องย้ายตามระเบียบของบขส. มิเช่นนั้นก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถตู้โดยสาร
“อย่างไรก็ต้องย้ายออกอยู่ดี เพราะรูปแบบการประกอบการและลักษณะของรถตู้ไม่เหมาะที่จะเป็นรถโดยสารสาธารณะ”
ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวถึงประเด็นการย้ายรถตู้ที่เป็นปัญหาคับข้องใจอยู่ในขณะนี้
ดร.สุเมธ เล่าว่า ธุรกิจรถตู้เกิดขึ้นมาอย่างผิดกฏหมาย ที่ผ่านมารัฐบาลหลายชุดมีความพยายามในการจัดระเบียบรถตู้หลายครั้งเพื่อให้มีความปลอดภัยและตรวจสอบได้ เนื่องจากในระยะแรกคนขับรถตู้มีรายได้ค่อนข้างดี ทำให้หลายคนหันมาประกอบอาชีพนี้มากขึ้นจนเกิดการแข่งขันกันเอง คนขับรถจึงเร่งทำรอบเพื่อให้ได้เงินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ด้วยเหตุนี้ บขส.จึงเข้ามาดูแลกิจการรถตู้ โดยจัดเป็นรถโดยสารร่วมบริการเพื่อควบคุมเรื่องความปลอดภัย และอาจจะเปลี่ยนไปใช้รถมินิบัสแทนในอนาคต
ความคิดที่จะนำรถมินิบัสมาใช้เป็นหนึ่งในข้อเสนอแนะจากโครงการศึกษาความปลอดภัยในการใช้รถตู้โดยสารประจำทางปี 2559 ซึ่งจัดทำโดยสถาบันขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่าลักษณะของรถมินิบัสมีความปลอดภัยและคุ้มค่ามากกว่ารถตู้ เพราะสามารถบรรทุกคนได้มากกว่า และวิ่งด้วยความเร็วระดับที่ปลอดภัย นอกจากนี้ สถาบันขนส่ง จุฬาฯ ยังได้สำรวจความคิดเห็นของผู้โดยสารจำนวน 500 คน ผลปรากฏว่า หากค่าโดยสารเท่ากัน ผู้ใช้บริการจะเลือกใช้มินิบัสมากกว่ารถตู้ และเมื่อศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของการใช้งาน พบว่า กว่าร้อยละ 90 ของรถตู้หมวด 2 สามารถเปลี่ยนมาใช้มินิบัสแทนได้ ซึ่งหมายความว่าในอนาคตรถตู้โดยสารเหล่านี้อาจจะมีจำนวนลดลง และหมดไปในที่สุด
แน่นอนว่าผู้โดยสารหลายคนคงมีคำถามและความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต ทั้งในเรื่องความสะดวก ความปลอดภัย และผลกระทบที่ยังไม่สามารถประเมินในเวลาอันสั้นได้ สำหรับประเด็นนี้ ดร.สุเมธ จาก TDRI ยอมรับว่า ยังไม่มีนโยบายหรือแนวทางจัดการปัญหาที่แน่นอน และยังจำเป็นต้องมีการพูดคุยกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก่อน แต่ตนกำลังศึกษาผลกระทบและแนวทางจัดการรถตู้ในอนาคต แม้จะมีเสียงคัดค้านจากผู้ใช้และผู้ให้บริการ ที่มองว่าการจัดระเบียบครั้งนี้เป็นเรื่องที่ไร้ประโยชน์ แต่ตนก็ยังยืนยันว่าการจัดระเบียบรถตู้ครั้งนี้เป็นสิ่งที่ควรทำในระยะยาว เพราะการให้บขส. เข้ามาควบคุมดูแลรถตู้จะช่วยพัฒนาคุณภาพของการบริการให้ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
“จุดประสงค์หลักก็เพื่อสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนและเพื่อควบคุมการประกอบการให้ได้มาตรฐานทั้งคุณภาพและราคาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้ใช้ท้องถนนให้ได้มากที่สุด” ดร.สุเมธย้ำ
เป้าหมายหลักของการจัดระเบียบรถตู้ครั้งนี้ แม้ขณะนี้จะยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการจัดระเบียบครั้งนี้จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างไร แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คงจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพราะปัญหารถตู้โดยสาร เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน การแก้ไขจึงไม่น่าจะทำได้ในครั้งเดียว และเพื่อให้บริการขนส่งมวลชนสามารถตอบสนองความต้องการ และคุณภาพชีวิตของผู้โดยสารได้ทุกฝ่าย จึงจำเป็นต้องอาศัยการพูดคุยและความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจนกว่าจะได้บทสรุปที่เหมาะสม
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “นิสิตนักศึกษา” ฉบับที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2559
Like this:
Like Loading...
“รถตู้จ้า…ขึ้นทางนี้เลยจ้า …”
เสียงที่เคยจอแจบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเบาบางลงมาก หลังรถตู้เส้นทางกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัดทั้งหมดที่เคยจอดรับ-ส่งผู้โดยสารบริเวณดังกล่าวมาเป็นเวลานาน ได้ย้ายไปประจำตามสถานีขนส่ง(บขส.) ต่างๆ เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ที่ผ่านมา ตามแผนการจัดระเบียบที่วางไว้ คือรถตู้ที่วิ่งในเส้นทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ไปอยู่ที่ “หมอชิต 2” รถตู้ที่วิ่งในเส้นทางภาคใต้และภาคตะวันตกให้ไปประจำการที่ “สายใต้ปิ่นเกล้า” ส่วนรถตู้ที่วิ่งในเส้นทางตะวันออกให้ประจำการที่ “เอกมัย”
“ถ้ารถตู้ย้ายออกจากอนุสาวรีย์ชัยฯ คงลองไปใช้บริการรถไฟแทน เพราะถูกกว่า แล้วเวลาที่ใช้ในการเดินทางก็ไม่ต่างกันมากนักแล้ว”
นางสาวธัญธรณ์ ธนันชัยวลี นักศึกษามหาวิทยาลัยวัย 21 ปี เป็นหนึ่งในผู้ใช้รถตู้ที่คิดว่าการย้ายครั้งนี้ทำให้การเดินทางยุ่งยาก ใช้เวลามากขึ้น และไม่สามารถกะเวลาเดินทางที่แน่นอนได้ ทั้งยังเกรงว่าวินมอเตอร์ไซค์บริเวณนั้นจะถือโอกาสขึ้นค่าโดยสารในช่วงเวลาเร่งด่วน
ทางฝั่งกลุ่มผู้ประกอบการอย่าง นายสุรพจน์ ตั้งเจริญ พนักงานขับรถตู้วัย 65 ปี และพนักงานคนอื่นๆ ก็ประสบปัญหาเรื่องที่จอดรถ เพราะก่อนการจัดระเบียบ กลุ่มรถตู้เส้นทางต่างๆ ล้วนมีที่จอดรถใต้ทางด่วนบริเวณรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิที่มีการแบ่งไว้เป็นสัดส่วน และอยู่ในที่ร่ม ต่างจากที่จอดรถแห่งใหม่ที่มีไม่เพียงพอต่อจำนวนรถตู้ จนบางส่วนต้องจอดไว้กลางแจ้ง นอกจากนี้ กลุ่มผู้ประกอบการยังกังวลว่าจำนวนผู้โดยสารอาจจะลดลงเพราะการเดินทางที่ยุ่งยากมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการและคนขับรถก็จำต้องย้ายตามระเบียบของบขส. มิเช่นนั้นก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถตู้โดยสาร
ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวถึงประเด็นการย้ายรถตู้ที่เป็นปัญหาคับข้องใจอยู่ในขณะนี้
ดร.สุเมธ เล่าว่า ธุรกิจรถตู้เกิดขึ้นมาอย่างผิดกฏหมาย ที่ผ่านมารัฐบาลหลายชุดมีความพยายามในการจัดระเบียบรถตู้หลายครั้งเพื่อให้มีความปลอดภัยและตรวจสอบได้ เนื่องจากในระยะแรกคนขับรถตู้มีรายได้ค่อนข้างดี ทำให้หลายคนหันมาประกอบอาชีพนี้มากขึ้นจนเกิดการแข่งขันกันเอง คนขับรถจึงเร่งทำรอบเพื่อให้ได้เงินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ด้วยเหตุนี้ บขส.จึงเข้ามาดูแลกิจการรถตู้ โดยจัดเป็นรถโดยสารร่วมบริการเพื่อควบคุมเรื่องความปลอดภัย และอาจจะเปลี่ยนไปใช้รถมินิบัสแทนในอนาคต
ความคิดที่จะนำรถมินิบัสมาใช้เป็นหนึ่งในข้อเสนอแนะจากโครงการศึกษาความปลอดภัยในการใช้รถตู้โดยสารประจำทางปี 2559 ซึ่งจัดทำโดยสถาบันขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มองว่าลักษณะของรถมินิบัสมีความปลอดภัยและคุ้มค่ามากกว่ารถตู้ เพราะสามารถบรรทุกคนได้มากกว่า และวิ่งด้วยความเร็วระดับที่ปลอดภัย นอกจากนี้ สถาบันขนส่ง จุฬาฯ ยังได้สำรวจความคิดเห็นของผู้โดยสารจำนวน 500 คน ผลปรากฏว่า หากค่าโดยสารเท่ากัน ผู้ใช้บริการจะเลือกใช้มินิบัสมากกว่ารถตู้ และเมื่อศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของการใช้งาน พบว่า กว่าร้อยละ 90 ของรถตู้หมวด 2 สามารถเปลี่ยนมาใช้มินิบัสแทนได้ ซึ่งหมายความว่าในอนาคตรถตู้โดยสารเหล่านี้อาจจะมีจำนวนลดลง และหมดไปในที่สุด
แน่นอนว่าผู้โดยสารหลายคนคงมีคำถามและความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต ทั้งในเรื่องความสะดวก ความปลอดภัย และผลกระทบที่ยังไม่สามารถประเมินในเวลาอันสั้นได้ สำหรับประเด็นนี้ ดร.สุเมธ จาก TDRI ยอมรับว่า ยังไม่มีนโยบายหรือแนวทางจัดการปัญหาที่แน่นอน และยังจำเป็นต้องมีการพูดคุยกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก่อน แต่ตนกำลังศึกษาผลกระทบและแนวทางจัดการรถตู้ในอนาคต แม้จะมีเสียงคัดค้านจากผู้ใช้และผู้ให้บริการ ที่มองว่าการจัดระเบียบครั้งนี้เป็นเรื่องที่ไร้ประโยชน์ แต่ตนก็ยังยืนยันว่าการจัดระเบียบรถตู้ครั้งนี้เป็นสิ่งที่ควรทำในระยะยาว เพราะการให้บขส. เข้ามาควบคุมดูแลรถตู้จะช่วยพัฒนาคุณภาพของการบริการให้ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
“จุดประสงค์หลักก็เพื่อสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนและเพื่อควบคุมการประกอบการให้ได้มาตรฐานทั้งคุณภาพและราคาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้ใช้ท้องถนนให้ได้มากที่สุด” ดร.สุเมธย้ำ
เป้าหมายหลักของการจัดระเบียบรถตู้ครั้งนี้ แม้ขณะนี้จะยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการจัดระเบียบครั้งนี้จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างไร แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คงจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพราะปัญหารถตู้โดยสาร เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน การแก้ไขจึงไม่น่าจะทำได้ในครั้งเดียว และเพื่อให้บริการขนส่งมวลชนสามารถตอบสนองความต้องการ และคุณภาพชีวิตของผู้โดยสารได้ทุกฝ่าย จึงจำเป็นต้องอาศัยการพูดคุยและความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจนกว่าจะได้บทสรุปที่เหมาะสม
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “นิสิตนักศึกษา” ฉบับที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2559
Share this:
Like this: