เมื่อพูดถึงภาพยนตร์สยองขวัญ แน่นอนว่าสิ่งที่มาพร้อมกับภาพยนตร์ประเภทนี้ก็คงหนีไม่พ้นตัวละคร “ผี” ที่ไม่ว่าจะปรากฏตัวออกมาเมื่อไหร่ ด้วยแอร์ไทม์ที่มากน้อยเพียงใด หรือมีท่าทางขณะหลอกหลอนแบบไหน ก็สามารถทำให้คนดูสะดุ้งโหยงกันแทบทุกครั้ง สำหรับภาพยนตร์ไทย “ผีนางรำ” มักเป็นผีที่คนไทยคุ้นตา เพราะว่าผีสาวประเภทนี้มาโลดแล่นอยู่ในจอแก้วและจอเงินบ้านเราแทบจะทุกปี

เมื่อมีการนำนาฏศิลป์มาประยุกต์หรือดัดแปลงให้เป็นภาพของความสยองขวัญ ก็มักเกิดข้อถกเถียงในสังคมว่า การทำเช่นนี้จะทำให้ภาพลักษณ์ของศิลปะแขนงนี้เป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัวจนผู้คนไม่กล้าเข้ามาศึกษาหรือไม่? หลังจากได้รับรู้มุมมองจากเหล่าผู้ผลิตสื่อแล้ว ประวิทย์ แต่งอักษร นักวิจารณ์ภาพยนตร์ผู้คร่ำหวอดในแวดวงภาพยนตร์มามากกว่า 20 ปี ก็มาร่วมให้มุมมองต่อประเด็นการดัดแปลงวัฒนธรรมไทยในการเล่าเรื่องผีๆ กับ ‘นิสิตนักศึกษา’ เช่นกัน

มีการใช้ “ผีนางรำ” ในภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวน 10 เรื่อง (ปีพ.ศ.2544 – 2559) อาจารย์มองว่าทำไมถึงต้องเป็น “ผีนางรำ”?
ประวิทย์: ประเด็นไม่ได้อยู่ที่คอนเทนต์นะ ประเด็นไม่ได้อยู่ที่อะไรน่ากลัว เพราะผมว่าทุกอย่างทำให้น่ากลัวได้หมดในแง่ของความเป็นภาพยนตร์ ผีนางรำก็เป็นแค่ผีตัวหนึ่งหรือคอนเทนต์หนึ่งที่ถูกนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสไตล์ของหนังสยองขวัญ ซึ่งความเป็นตะวันออกก็จะเชื่อมโยงกับเรื่องของจิตวิญญาณ เรื่องเหนือธรรมชาติ ส่วนตะวันตกจะมีลักษณะที่เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ได้ มีเหตุผล ส่วนตะวันออกจะเป็นเรื่องของความเชื่อ เรื่องของวิญญาณ ดังนั้น ก็สอดคล้องได้เวลาเอาผีนางรำมานำเสนอในแง่ของความเป็นหนังสยองขวัญ
เมื่อมีผีนางรำในภาพยนตร์เป็นจำนวนไม่น้อย เลยอยากทราบว่าการใช้ผีนางรำได้กลาย “ขนบ” หรือ “สูตรสำเร็จ” สำหรับหนังผีไทยไปแล้วหรือเปล่า?
ประวิทย์: หนังที่คุณยกมามันเริ่มต้นที่ปี 2544 (ผีสามบาท) ถ้าพูดในเชิงประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์ไทยช่วงปี 2544 มันคือยุคเริ่มต้นของเหตุการณ์ปัจจุบัน คือยุคร่วมสมัย ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยมีช่วงหนึ่งที่มันดรอปมากๆ คือช่วง 2530 ปลายๆ จนถึง 2540 เรียกได้ว่าหนังไทยปี 2540 เป็นต้นมามีลักษณะอย่างหนึ่งคือ มันออกไปฉายเมืองนอก มันเป็นหนังที่ไม่ได้ฉายในเฉพาะเมืองไทยอีกต่อไปแล้ว
ปี 2540 มันก็เป็นช่วงโลกาภิวัตน์ การสื่อสารระหว่างต่างประเทศในทางวัฒนธรรมมันเกิดขึ้น มีการจัดเทศกาลหนังมากขึ้น หนังไทยถูกเชิญไปฉายต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งถ้ามองย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นสัก 2520-2530 มันเป็นเรื่องที่แทบจะไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่ 2540 เป็นต้นมามันเป็นช่วงของการที่ตลาดหนังไทยเปิดไปสู่เมืองนอก เพราะฉะนั้น มันก็เลยนำไปสู่การนำเสนอคอนเทนต์ที่เมืองนอกจะสนใจ
งั้นมันก็ลงล็อกพอดีเลย คือเรารู้ว่าวัฒนธรรมไทยหรือว่านาฏศิลป์แบบไทยก็จะเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของชาวต่างชาติ เพราะมันมีลักษณะที่เป็นเฉพาะของเมืองไทย และมีลักษณะที่เป็น Exotic ก็คือความแปลกประหลาดที่มันไม่คุ้นเคยในสายตาต่างชาติ แปลกประหลาดแม้กระทั่งกับคนเอเชียด้วยกัน เขาก็มองนาฏศิลป์ไทยเป็นของที่ห่างไกลจากวัฒนธรรมของเขา เลยทำให้คอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะดึงดูดความสนใจของคนต่างชาติมันมีมากขึ้น มันเป็นการดึงดูดความสนใจของชาวต่างชาติมากกว่าในความเห็นของผม และการที่ผู้กำกับบอกว่าต้องการขายความเป็นวัฒนธรรมนี่ใช่เลยครับ กับช่วงเวลาที่หนังไทยเปิดตัวเองไปสู่การรับรู้ของคนต่างชาติ ซึ่งมันก็โยงกับเวลาที่ฝรั่งมา สิ่งที่เราจะต้อนรับเขาก็ต้องเป็นนาฏศิลป์ไทย ศิลปะการร่ายรำแบบไทย หรือแม้กระทั่งพระพรหม คนที่ไปไหว้พระพรม เวลาคนไปบน เขาก็แก้ด้วยการใช้นางรำ
“ถ้าหากแยกแยะไม่ออก ก็ต้องบอกว่าสังคมมีปัญหาแล้ว มันไม่ได้เป็นปัญหาเรื่องหนังอย่างเดียว เป็นปัญหาของการที่เรางมงายอยู่กับความเชื่ออะไรบางอย่างจนเกินไป แล้วนำทุกสิ่งทุกอย่างมาปะปนกัน ความเชื่อจะเป็นการยับยั้งการเติบโตของงานศิลปะ ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น”
เมื่อเป็นเรื่องการดัดแปลงวัฒนธรรม ก็มักเกิดข้อถกเถียงว่าการนำนาฏศิลป์มาใช้ในภาพยนตร์สยองขวัญจะทำให้ภาพลักษณ์ของนาฏศิลป์เป็นสิ่งที่น่าเกรงขามมากกว่าน่าจับต้องหรือเปล่า? อาจารย์มีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร?
ประวิทย์: เป็นความคิดที่ตื้นเขิน มันเรื่องของวิจารณญาณน่ะครับ แล้วการนำเอาโขนหรือว่าของที่มีการนับถือหรือเคารพบูชามาทำนั้นเป็นกิมมิคอย่างหนึ่งที่สามารถทำได้ มันไม่ได้แปลว่าโขนของไทยแตะต้องไม่ได้ เพราะผมเข้าใจว่าหนังสยองขวัญเรื่องอื่นที่เอาวัฒนธรรมคล้ายๆ กันมาใช้ประโยชน์มันก็ทำได้ ดังนั้น การที่ไปตั้งแง่แบบนี้ก็เป็นวิธีคิดที่ไม่อนุญาตให้ศิลปะมันงอกเงย อย่างกรณีเศียรสยอง ผมไม่ได้ดูนะ แต่ผมว่าถ้าคนทำหนังมีสติพอ คงไม่เอาสิ่งเหล่านี้มาลบหลู่ในลักษณะที่เป็นการดูถูกเหยีดหยาม เพียงแต่ทำให้มันมีเรื่องราวของมันตามจินตนาการของคนทำ ผมว่าคนดูก็น่าจะมีวิจารณญาณเพียงพอในการแยกแยะได้ว่าสิ่งที่หนังเล่ามันเป็นเพียงแค่เรื่องที่อยู่ในหนัง ไม่ได้เป็นเรื่องที่ติดตัวมากับวัฒนธรรมโขน มันเป็นแค่จินตนาการ
ผมไม่ได้มองในฐานะคนทำหนัง ผมมองในฐานะคนที่ควรจะมีปัญญาในการแยกแยะได้ ผมว่าเป็นการที่คิดน้อยไปหน่อยในการมองว่าการนำเสนออะไรก็ตามผ่านสื่อมันเป็นข้อเท็จจริง ในแง่ของภาพยนตร์มันก็เป็นแค่การตีความ การนำเสนอบางสิ่งบางอย่าง และความคิดเห็นของคนทำหนัง ซึ่งไม่ได้แปลว่าเป็นความจริง เขาอาจจะใช้ศิลปะในการนำเสนอหรือโน้มน้าวชักจูงได้เก่งมากจนทำให้คนดูเกิดความฝังใจอะไรบางอย่าง อันนั้นก็ต้องให้เครดิตชื่นชมความสามารถในการทำให้คนดูเกิดภาวะที่แยกไม่ออก
ถ้าหากคุณแยกเรื่องแค่นี้ไม่ออก ผมว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวหนังแล้ว แต่อยู่ที่คน เป็นเรื่องที่สังคมต้องเรียนรู้ แล้วก็ต้องแยกแยะบ้าง แต่ก็ต้องยอมรับว่าภาพยนตร์มันเป็นสื่อที่ทรงพลัง แล้วหลายๆ ครั้งภาพยนตร์ก็ถือวิสาสะในการใช้กลวิธีของตัวเองครอบงำความคิดคน ก็เป็นไปได้ที่คนดูจะรู้สึกว่าภาพยนตร์ผีสร้างความเสื่อมเสียให้กับนาฏศิลป์ เป็นไปได้ที่จะคิด เพราะมันทรงพลัง แต่ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแค่ความคิดความเชื่อชั่วครูชั่วยาม และของเฉพาะบุคคล ไม่ใช่ข้อเท็จจริง คนที่เขาต่อต้านก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ต่อต้านได้ แสดงออกในทางใดทางหนึ่งได้ แต่การคาดหวังว่าจะต้องไปเรียกร้องให้คนเห็นพ้องว่านี่คือสิ่งที่เป็นการทำลายหรือเสื่อมเสีย ผมว่ามันคิดกันแบบผิดวัตถุประสงค์ คิดไม่ถี่ถ้วน หรือเอาความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปตัดสินมากเกินไป
“การพูดว่าเอาศิลปะไปทำอะไรก็ได้ บางทีมันประยุกต์ไม่ได้กับสังคมไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ เช่น ง่ายที่สุดตอนมีเรื่องเที่ยวไทยมีเฮ เราในฐานะของคนดูทั่วไปก็รู้สึกว่าศิลปะมันต้องมีวิวัฒนาการ ไม่งั้นมันตาย ย่ำอยู่กับที่ ไม่งั้นคนก็จะดูอยู่อย่างนั้นซ้ำๆ มันไม่มีการงอกเงย มันก็จะเหมือนสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีการพัฒนา มันก็จะหยุดนิ่ง แล้วมันก็จะจบบทบาทของมันไป”
อาจารย์มองว่านาฏศิลป์เป็นสิ่งสาธารณะที่ใครก็สามารถนำมาดัดแปลงได้หรือเปล่า?
ประวิทย์: ในโลกทั่วไป ศิลปะมันเป็นของทุกคน ทุกคนสามารถใช้ศิลปะเป็นการถ่ายทอดสิ่งต่างๆ ได้ แต่ปัญหาคือ สังคมไทยมีลักษณะเฉพาะ สังคมไทยเป็นสังคมที่ศิลปะมีเรื่องของชนชั้นเข้ามาเกี่ยวข้อง มีความคิดในเชิงอนุรักษ์นิยมมาเกี่ยวข้อง การพูดว่าเอาศิลปะไปทำอะไรก็ได้ บางทีมันประยุกต์ไม่ได้กับสังคมไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ เช่น ง่ายที่สุดตอนมีเรื่องเที่ยวไทยมีเฮ เราในฐานะของคนดูทั่วไปก็รู้สึกว่าศิลปะมันต้องมีวิวัฒนาการ ไม่งั้นมันตาย ย่ำอยู่กับที่ ไม่งั้นคนก็จะดูอยู่อย่างนั้นซ้ำๆ มันไม่มีการงอกเงย มันก็จะเหมือนสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีการพัฒนา มันก็จะหยุดนิ่ง แล้วมันก็จะจบบทบาทของมันไป
การที่อ๊อด (บัณฑิต ทองดี ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอ “เที่ยวไทยมีเฮ”) ทำอย่างนั้น ผมว่ามันก็ไม่ได้จาบจ้วงอะไรเลย เขาแค่เอาโขนออกมาจากโรงละครแล้วเอามาอยู่ในสถานที่ต่างๆ เท่านั้น พยายามจะใช้โขนเพื่อโปรโมตการท่องเที่ยว ซึ่งผลพวงจากการต่อต้านในครั้งนั้นก็ทำให้เราเข้าใจสังคมไทยมากขึ้นว่า ศิลปะไทยมันไม่ได้เอาไปใช้ทำอะไรก็ได้ เพราะว่ามันต้องเผชิญกับแรงกดดัน แรงเสียดทาน
แต่ถ้าถามผมในเชิงอุดมการณ์ ผมเชื่อว่าทำได้และควรทำ คุณคิดหรือว่าสมมติโขนเอาไปเล่นในดิสโก้เทค ซึ่งมีคนทำนะ หรือเอานาฏศิลป์ไปเต้นประกอบกับแร็ปแล้วมันจะทำให้นาฏศิลป์พังพินาศ มันแค่ผสมพันธุ์กันเท่านั้น สุดท้ายมันต้องกลับมาหาคุณค่าเดิมๆ หรืออย่างน้อยถ้าคุณจะผสมพันธุ์คุณก็ต้องรู้ก่อนว่าพันธุ์แท้มันคืออะไร เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าบางทีความอนุรักษ์นิยมก็ขัดขวางการเติบโต ผมมองจากมุมคนที่เสพงานศิลปะน่ะ แล้วก็เห็นว่างานศิลปะมันจำเป็นต้องวิวัฒนาการ
การที่ผู้ผลิตบอกว่าหนังคือความบันเทิงอย่างหนึ่ง ดูเอาบันเทิงก็พอ เป็นการกระทำที่แสดงถึงความไม่รับผิดชอบต่อสังคมหรือเปล่า?
ประวิทย์: ผมว่านั่นแหละเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมอย่างหนึ่ง คือคุณทำให้คนมีความบันเทิงน่ะ คุณต้องการอะไร สังคมที่เครียด ทุกคนคิดแต่เรื่องสาระอย่างนี้ใช่ไหม แล้วเราดูหนังเราต้องการอะไรล่ะ การหาความหมายของชีวิตหรือ มันไม่มีหรอก ดูหนัง ดูละคร ฟังเพลงเขาต้องการการผ่อนคลายทั้งนั้น แล้วจุดประสงค์ของหนังสยองขวัญคืออะไร คือความน่ากลัว ตอบสนองได้ในเบื้องต้นก็ถือว่าประสบความสำเร็จ มันคือความรับผิดชอบของคนทำในสิ่งที่เขาทำ ให้คนดูได้รับในสิ่งที่เขาต้องการจะนำเสนอ ซึ่งก็คือความบันเทิง ภาพยนตร์ถูกใช้ในฐานะเป็นความบันเทิง เป็นฟังก์ชันอย่างหนึ่งของภาพยนตร์
ทุกอย่างมีดาบสองคมอยู่แล้ว มันขึ้นอยู่กับว่าสังคมมีสติปัญญาแค่ไหน มีวิจารณญาณแค่ไหนในการแยกแยะ ถ้าเราเกิดอยู่ในภาวะที่คนขาดความคิดอย่างรอบด้าน มันก็เกิดภาวะที่เกิดการชี้นำได้ ถ้าเกิดว่าพอมันเป็นดาบสองคมอย่างที่ว่า แล้วมีคนไปชี้ด้านที่มันเป็นด้านลบเนี่ย สังคมที่ไม่รู้จักใช้วิจารณญาณก็จะเกิดการต่อต้าน และก็อาจจะทำร้ายศิลปะนั้นได้ ถามว่าคนทำหนังควรรับผิดชอบอะไรบ้างไหมในการทำหนังสยองขวัญของเขา ในฐานะนักสื่อสารมวลชน หนังก็เป็นสื่อสารมวลชน คนทำหนังก็เป็นนักสื่อสารมวลชน แน่นอนก็ต้องรู้ว่าสิ่งที่ตัวเองสื่อสารคืออะไร ทำให้คนดูเอ็นจอยกับหนังที่ตัวเองดู
ในเชิงของความรับผิดชอบกับความคิดของคนดู ความรับผิดชอบกับการนำเสนอเนื้อหาสาระ ก็เป็นเรื่องที่ผมว่าคนทำหนังก็ต้องมีอยู่เป็นจริยธรรมอย่างหนึ่งของคนทำงานสื่อสารมวลชน เช่น คุณทำหนังสยองขวัญแล้วคนร้ายลอยนวล มันก็อาจมองได้สองรูปแบบคือ ถ้าคุณนำเสนอลอยนวล ก็แสดงว่า บางทีสังคมเราความชั่วร้ายมันไม่หมดไปนะ หรือถ้ามองอีกแง่หนึ่ง ไม่รับผิดชอบคือ คุณทำได้ยังไง ไม่ทำให้คนดูรู้สึกว่าความถูกต้องมันเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้น ความรับผิดชอบมันมองได้หลายแบบ ถามว่าต้องมีไหม ก็ควรจะมี อย่างน้อยก็ต้องรับผิดชอบในระดับที่คนในสังคมเห็นประโยชน์ของความสงบสุขของการอยู่ร่วมกัน
Like this:
Like Loading...
เมื่อพูดถึงภาพยนตร์สยองขวัญ แน่นอนว่าสิ่งที่มาพร้อมกับภาพยนตร์ประเภทนี้ก็คงหนีไม่พ้นตัวละคร “ผี” ที่ไม่ว่าจะปรากฏตัวออกมาเมื่อไหร่ ด้วยแอร์ไทม์ที่มากน้อยเพียงใด หรือมีท่าทางขณะหลอกหลอนแบบไหน ก็สามารถทำให้คนดูสะดุ้งโหยงกันแทบทุกครั้ง สำหรับภาพยนตร์ไทย “ผีนางรำ” มักเป็นผีที่คนไทยคุ้นตา เพราะว่าผีสาวประเภทนี้มาโลดแล่นอยู่ในจอแก้วและจอเงินบ้านเราแทบจะทุกปี
เมื่อมีการนำนาฏศิลป์มาประยุกต์หรือดัดแปลงให้เป็นภาพของความสยองขวัญ ก็มักเกิดข้อถกเถียงในสังคมว่า การทำเช่นนี้จะทำให้ภาพลักษณ์ของศิลปะแขนงนี้เป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัวจนผู้คนไม่กล้าเข้ามาศึกษาหรือไม่? หลังจากได้รับรู้มุมมองจากเหล่าผู้ผลิตสื่อแล้ว ประวิทย์ แต่งอักษร นักวิจารณ์ภาพยนตร์ผู้คร่ำหวอดในแวดวงภาพยนตร์มามากกว่า 20 ปี ก็มาร่วมให้มุมมองต่อประเด็นการดัดแปลงวัฒนธรรมไทยในการเล่าเรื่องผีๆ กับ ‘นิสิตนักศึกษา’ เช่นกัน
มีการใช้ “ผีนางรำ” ในภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวน 10 เรื่อง (ปีพ.ศ.2544 – 2559) อาจารย์มองว่าทำไมถึงต้องเป็น “ผีนางรำ”?
ประวิทย์: ประเด็นไม่ได้อยู่ที่คอนเทนต์นะ ประเด็นไม่ได้อยู่ที่อะไรน่ากลัว เพราะผมว่าทุกอย่างทำให้น่ากลัวได้หมดในแง่ของความเป็นภาพยนตร์ ผีนางรำก็เป็นแค่ผีตัวหนึ่งหรือคอนเทนต์หนึ่งที่ถูกนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสไตล์ของหนังสยองขวัญ ซึ่งความเป็นตะวันออกก็จะเชื่อมโยงกับเรื่องของจิตวิญญาณ เรื่องเหนือธรรมชาติ ส่วนตะวันตกจะมีลักษณะที่เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ได้ มีเหตุผล ส่วนตะวันออกจะเป็นเรื่องของความเชื่อ เรื่องของวิญญาณ ดังนั้น ก็สอดคล้องได้เวลาเอาผีนางรำมานำเสนอในแง่ของความเป็นหนังสยองขวัญ
เมื่อมีผีนางรำในภาพยนตร์เป็นจำนวนไม่น้อย เลยอยากทราบว่าการใช้ผีนางรำได้กลาย “ขนบ” หรือ “สูตรสำเร็จ” สำหรับหนังผีไทยไปแล้วหรือเปล่า?
ประวิทย์: หนังที่คุณยกมามันเริ่มต้นที่ปี 2544 (ผีสามบาท) ถ้าพูดในเชิงประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์ไทยช่วงปี 2544 มันคือยุคเริ่มต้นของเหตุการณ์ปัจจุบัน คือยุคร่วมสมัย ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยมีช่วงหนึ่งที่มันดรอปมากๆ คือช่วง 2530 ปลายๆ จนถึง 2540 เรียกได้ว่าหนังไทยปี 2540 เป็นต้นมามีลักษณะอย่างหนึ่งคือ มันออกไปฉายเมืองนอก มันเป็นหนังที่ไม่ได้ฉายในเฉพาะเมืองไทยอีกต่อไปแล้ว
ปี 2540 มันก็เป็นช่วงโลกาภิวัตน์ การสื่อสารระหว่างต่างประเทศในทางวัฒนธรรมมันเกิดขึ้น มีการจัดเทศกาลหนังมากขึ้น หนังไทยถูกเชิญไปฉายต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งถ้ามองย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นสัก 2520-2530 มันเป็นเรื่องที่แทบจะไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่ 2540 เป็นต้นมามันเป็นช่วงของการที่ตลาดหนังไทยเปิดไปสู่เมืองนอก เพราะฉะนั้น มันก็เลยนำไปสู่การนำเสนอคอนเทนต์ที่เมืองนอกจะสนใจ
งั้นมันก็ลงล็อกพอดีเลย คือเรารู้ว่าวัฒนธรรมไทยหรือว่านาฏศิลป์แบบไทยก็จะเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของชาวต่างชาติ เพราะมันมีลักษณะที่เป็นเฉพาะของเมืองไทย และมีลักษณะที่เป็น Exotic ก็คือความแปลกประหลาดที่มันไม่คุ้นเคยในสายตาต่างชาติ แปลกประหลาดแม้กระทั่งกับคนเอเชียด้วยกัน เขาก็มองนาฏศิลป์ไทยเป็นของที่ห่างไกลจากวัฒนธรรมของเขา เลยทำให้คอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะดึงดูดความสนใจของคนต่างชาติมันมีมากขึ้น มันเป็นการดึงดูดความสนใจของชาวต่างชาติมากกว่าในความเห็นของผม และการที่ผู้กำกับบอกว่าต้องการขายความเป็นวัฒนธรรมนี่ใช่เลยครับ กับช่วงเวลาที่หนังไทยเปิดตัวเองไปสู่การรับรู้ของคนต่างชาติ ซึ่งมันก็โยงกับเวลาที่ฝรั่งมา สิ่งที่เราจะต้อนรับเขาก็ต้องเป็นนาฏศิลป์ไทย ศิลปะการร่ายรำแบบไทย หรือแม้กระทั่งพระพรหม คนที่ไปไหว้พระพรม เวลาคนไปบน เขาก็แก้ด้วยการใช้นางรำ
“ถ้าหากแยกแยะไม่ออก ก็ต้องบอกว่าสังคมมีปัญหาแล้ว มันไม่ได้เป็นปัญหาเรื่องหนังอย่างเดียว เป็นปัญหาของการที่เรางมงายอยู่กับความเชื่ออะไรบางอย่างจนเกินไป แล้วนำทุกสิ่งทุกอย่างมาปะปนกัน ความเชื่อจะเป็นการยับยั้งการเติบโตของงานศิลปะ ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น”
เมื่อเป็นเรื่องการดัดแปลงวัฒนธรรม ก็มักเกิดข้อถกเถียงว่าการนำนาฏศิลป์มาใช้ในภาพยนตร์สยองขวัญจะทำให้ภาพลักษณ์ของนาฏศิลป์เป็นสิ่งที่น่าเกรงขามมากกว่าน่าจับต้องหรือเปล่า? อาจารย์มีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร?
ประวิทย์: เป็นความคิดที่ตื้นเขิน มันเรื่องของวิจารณญาณน่ะครับ แล้วการนำเอาโขนหรือว่าของที่มีการนับถือหรือเคารพบูชามาทำนั้นเป็นกิมมิคอย่างหนึ่งที่สามารถทำได้ มันไม่ได้แปลว่าโขนของไทยแตะต้องไม่ได้ เพราะผมเข้าใจว่าหนังสยองขวัญเรื่องอื่นที่เอาวัฒนธรรมคล้ายๆ กันมาใช้ประโยชน์มันก็ทำได้ ดังนั้น การที่ไปตั้งแง่แบบนี้ก็เป็นวิธีคิดที่ไม่อนุญาตให้ศิลปะมันงอกเงย อย่างกรณีเศียรสยอง ผมไม่ได้ดูนะ แต่ผมว่าถ้าคนทำหนังมีสติพอ คงไม่เอาสิ่งเหล่านี้มาลบหลู่ในลักษณะที่เป็นการดูถูกเหยีดหยาม เพียงแต่ทำให้มันมีเรื่องราวของมันตามจินตนาการของคนทำ ผมว่าคนดูก็น่าจะมีวิจารณญาณเพียงพอในการแยกแยะได้ว่าสิ่งที่หนังเล่ามันเป็นเพียงแค่เรื่องที่อยู่ในหนัง ไม่ได้เป็นเรื่องที่ติดตัวมากับวัฒนธรรมโขน มันเป็นแค่จินตนาการ
ผมไม่ได้มองในฐานะคนทำหนัง ผมมองในฐานะคนที่ควรจะมีปัญญาในการแยกแยะได้ ผมว่าเป็นการที่คิดน้อยไปหน่อยในการมองว่าการนำเสนออะไรก็ตามผ่านสื่อมันเป็นข้อเท็จจริง ในแง่ของภาพยนตร์มันก็เป็นแค่การตีความ การนำเสนอบางสิ่งบางอย่าง และความคิดเห็นของคนทำหนัง ซึ่งไม่ได้แปลว่าเป็นความจริง เขาอาจจะใช้ศิลปะในการนำเสนอหรือโน้มน้าวชักจูงได้เก่งมากจนทำให้คนดูเกิดความฝังใจอะไรบางอย่าง อันนั้นก็ต้องให้เครดิตชื่นชมความสามารถในการทำให้คนดูเกิดภาวะที่แยกไม่ออก
ถ้าหากคุณแยกเรื่องแค่นี้ไม่ออก ผมว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวหนังแล้ว แต่อยู่ที่คน เป็นเรื่องที่สังคมต้องเรียนรู้ แล้วก็ต้องแยกแยะบ้าง แต่ก็ต้องยอมรับว่าภาพยนตร์มันเป็นสื่อที่ทรงพลัง แล้วหลายๆ ครั้งภาพยนตร์ก็ถือวิสาสะในการใช้กลวิธีของตัวเองครอบงำความคิดคน ก็เป็นไปได้ที่คนดูจะรู้สึกว่าภาพยนตร์ผีสร้างความเสื่อมเสียให้กับนาฏศิลป์ เป็นไปได้ที่จะคิด เพราะมันทรงพลัง แต่ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแค่ความคิดความเชื่อชั่วครูชั่วยาม และของเฉพาะบุคคล ไม่ใช่ข้อเท็จจริง คนที่เขาต่อต้านก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ต่อต้านได้ แสดงออกในทางใดทางหนึ่งได้ แต่การคาดหวังว่าจะต้องไปเรียกร้องให้คนเห็นพ้องว่านี่คือสิ่งที่เป็นการทำลายหรือเสื่อมเสีย ผมว่ามันคิดกันแบบผิดวัตถุประสงค์ คิดไม่ถี่ถ้วน หรือเอาความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปตัดสินมากเกินไป
“การพูดว่าเอาศิลปะไปทำอะไรก็ได้ บางทีมันประยุกต์ไม่ได้กับสังคมไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ เช่น ง่ายที่สุดตอนมีเรื่องเที่ยวไทยมีเฮ เราในฐานะของคนดูทั่วไปก็รู้สึกว่าศิลปะมันต้องมีวิวัฒนาการ ไม่งั้นมันตาย ย่ำอยู่กับที่ ไม่งั้นคนก็จะดูอยู่อย่างนั้นซ้ำๆ มันไม่มีการงอกเงย มันก็จะเหมือนสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีการพัฒนา มันก็จะหยุดนิ่ง แล้วมันก็จะจบบทบาทของมันไป”
อาจารย์มองว่านาฏศิลป์เป็นสิ่งสาธารณะที่ใครก็สามารถนำมาดัดแปลงได้หรือเปล่า?
ประวิทย์: ในโลกทั่วไป ศิลปะมันเป็นของทุกคน ทุกคนสามารถใช้ศิลปะเป็นการถ่ายทอดสิ่งต่างๆ ได้ แต่ปัญหาคือ สังคมไทยมีลักษณะเฉพาะ สังคมไทยเป็นสังคมที่ศิลปะมีเรื่องของชนชั้นเข้ามาเกี่ยวข้อง มีความคิดในเชิงอนุรักษ์นิยมมาเกี่ยวข้อง การพูดว่าเอาศิลปะไปทำอะไรก็ได้ บางทีมันประยุกต์ไม่ได้กับสังคมไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ เช่น ง่ายที่สุดตอนมีเรื่องเที่ยวไทยมีเฮ เราในฐานะของคนดูทั่วไปก็รู้สึกว่าศิลปะมันต้องมีวิวัฒนาการ ไม่งั้นมันตาย ย่ำอยู่กับที่ ไม่งั้นคนก็จะดูอยู่อย่างนั้นซ้ำๆ มันไม่มีการงอกเงย มันก็จะเหมือนสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีการพัฒนา มันก็จะหยุดนิ่ง แล้วมันก็จะจบบทบาทของมันไป
การที่อ๊อด (บัณฑิต ทองดี ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอ “เที่ยวไทยมีเฮ”) ทำอย่างนั้น ผมว่ามันก็ไม่ได้จาบจ้วงอะไรเลย เขาแค่เอาโขนออกมาจากโรงละครแล้วเอามาอยู่ในสถานที่ต่างๆ เท่านั้น พยายามจะใช้โขนเพื่อโปรโมตการท่องเที่ยว ซึ่งผลพวงจากการต่อต้านในครั้งนั้นก็ทำให้เราเข้าใจสังคมไทยมากขึ้นว่า ศิลปะไทยมันไม่ได้เอาไปใช้ทำอะไรก็ได้ เพราะว่ามันต้องเผชิญกับแรงกดดัน แรงเสียดทาน
แต่ถ้าถามผมในเชิงอุดมการณ์ ผมเชื่อว่าทำได้และควรทำ คุณคิดหรือว่าสมมติโขนเอาไปเล่นในดิสโก้เทค ซึ่งมีคนทำนะ หรือเอานาฏศิลป์ไปเต้นประกอบกับแร็ปแล้วมันจะทำให้นาฏศิลป์พังพินาศ มันแค่ผสมพันธุ์กันเท่านั้น สุดท้ายมันต้องกลับมาหาคุณค่าเดิมๆ หรืออย่างน้อยถ้าคุณจะผสมพันธุ์คุณก็ต้องรู้ก่อนว่าพันธุ์แท้มันคืออะไร เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าบางทีความอนุรักษ์นิยมก็ขัดขวางการเติบโต ผมมองจากมุมคนที่เสพงานศิลปะน่ะ แล้วก็เห็นว่างานศิลปะมันจำเป็นต้องวิวัฒนาการ
การที่ผู้ผลิตบอกว่าหนังคือความบันเทิงอย่างหนึ่ง ดูเอาบันเทิงก็พอ เป็นการกระทำที่แสดงถึงความไม่รับผิดชอบต่อสังคมหรือเปล่า?
ประวิทย์: ผมว่านั่นแหละเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมอย่างหนึ่ง คือคุณทำให้คนมีความบันเทิงน่ะ คุณต้องการอะไร สังคมที่เครียด ทุกคนคิดแต่เรื่องสาระอย่างนี้ใช่ไหม แล้วเราดูหนังเราต้องการอะไรล่ะ การหาความหมายของชีวิตหรือ มันไม่มีหรอก ดูหนัง ดูละคร ฟังเพลงเขาต้องการการผ่อนคลายทั้งนั้น แล้วจุดประสงค์ของหนังสยองขวัญคืออะไร คือความน่ากลัว ตอบสนองได้ในเบื้องต้นก็ถือว่าประสบความสำเร็จ มันคือความรับผิดชอบของคนทำในสิ่งที่เขาทำ ให้คนดูได้รับในสิ่งที่เขาต้องการจะนำเสนอ ซึ่งก็คือความบันเทิง ภาพยนตร์ถูกใช้ในฐานะเป็นความบันเทิง เป็นฟังก์ชันอย่างหนึ่งของภาพยนตร์
ทุกอย่างมีดาบสองคมอยู่แล้ว มันขึ้นอยู่กับว่าสังคมมีสติปัญญาแค่ไหน มีวิจารณญาณแค่ไหนในการแยกแยะ ถ้าเราเกิดอยู่ในภาวะที่คนขาดความคิดอย่างรอบด้าน มันก็เกิดภาวะที่เกิดการชี้นำได้ ถ้าเกิดว่าพอมันเป็นดาบสองคมอย่างที่ว่า แล้วมีคนไปชี้ด้านที่มันเป็นด้านลบเนี่ย สังคมที่ไม่รู้จักใช้วิจารณญาณก็จะเกิดการต่อต้าน และก็อาจจะทำร้ายศิลปะนั้นได้ ถามว่าคนทำหนังควรรับผิดชอบอะไรบ้างไหมในการทำหนังสยองขวัญของเขา ในฐานะนักสื่อสารมวลชน หนังก็เป็นสื่อสารมวลชน คนทำหนังก็เป็นนักสื่อสารมวลชน แน่นอนก็ต้องรู้ว่าสิ่งที่ตัวเองสื่อสารคืออะไร ทำให้คนดูเอ็นจอยกับหนังที่ตัวเองดู
ในเชิงของความรับผิดชอบกับความคิดของคนดู ความรับผิดชอบกับการนำเสนอเนื้อหาสาระ ก็เป็นเรื่องที่ผมว่าคนทำหนังก็ต้องมีอยู่เป็นจริยธรรมอย่างหนึ่งของคนทำงานสื่อสารมวลชน เช่น คุณทำหนังสยองขวัญแล้วคนร้ายลอยนวล มันก็อาจมองได้สองรูปแบบคือ ถ้าคุณนำเสนอลอยนวล ก็แสดงว่า บางทีสังคมเราความชั่วร้ายมันไม่หมดไปนะ หรือถ้ามองอีกแง่หนึ่ง ไม่รับผิดชอบคือ คุณทำได้ยังไง ไม่ทำให้คนดูรู้สึกว่าความถูกต้องมันเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้น ความรับผิดชอบมันมองได้หลายแบบ ถามว่าต้องมีไหม ก็ควรจะมี อย่างน้อยก็ต้องรับผิดชอบในระดับที่คนในสังคมเห็นประโยชน์ของความสงบสุขของการอยู่ร่วมกัน
Share this:
Like this: