วัยรุ่นบางคนอาจประสบปัญหาการเข้ากับคนอื่น จนทำให้เพื่อนไม่ชอบหน้าหรือแม้กระทั่งถูกรังแก สาเหตุอาจมาจากภาวะที่เรียกว่า “แอสเพอร์เกอร์” ดังที่อาร์ต (นามสมมติ) นักศึกษามหาวิทยาลัยวัย 20 ปี เคยประสบมา เขาทราบว่าตนมีภาวะแอสเพอร์เกอร์เมื่อแรกเข้ามหาวิทยาลัย และขณะนี้กำลังรักษาอาการอยู่
อาร์ตเล่าว่า ช่วงที่อยู่โรงเรียนและมหาวิทยาลัย เขาเข้ากับคนไม่ค่อยได้ และหากลุ่มเพื่อนที่จะร่วมทำงานด้วยลำบาก คนรอบข้างมองว่าเขาเป็นคนแปลกแยก เพื่อนไม่อยากคุยด้วย ส่วนเขาเองก็ไม่รู้ว่าจะคุยกับเพื่อนอย่างไร บางครั้งกลัวผิดกาลเทศะ บางครั้งกลัวเพื่อนเข้าใจคำพูดผิด
ย้อนไปเมื่อสมัยมัธยม อาร์ตพบว่าผู้อื่นมักไม่เข้าใจสิ่งที่เขาต้องการจะบอก โดยยกตัวอย่างเรื่องการทำงานกลุ่มกับเพื่อน เมื่อเขาเสนอความคิดไปแล้ว แต่เพื่อนไม่เห็นด้วย เขาไม่รู้จะทำอย่างไรต่อจึงเงียบ แต่การเงียบของเขาก็ทำให้เพื่อนคิดว่าเขาไม่ช่วยงาน
“เพื่อนถามเราทำไมไม่ช่วยงานกลุ่ม เราก็ตอบกลับไปว่าเพราะเพื่อนไม่เห็นด้วยกับความคิดเรา ถ้าเราเสนอต่อก็กลัวเพื่อนโกรธ” อาร์ตกล่าว
อาร์ตเล่าต่อว่า เมื่อเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย เขาก็ยังประสบปัญหาเพื่อนไม่เข้าใจ เช่น เมื่อไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ตนไม่ชอบอย่างห้องเชียร์ เขาก็มักถูกเพื่อนรังแก โดนนินทา กระแนะกระแหน ทำให้เป็นคนแปลกแยกจนรู้สึกว่าอยู่ตัวคนเดียว
“เราพูดตรงๆ ไปเลยว่าไม่อยากเข้ากิจกรรม เป็นคนชัดเจนในจุดยืน มีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งคนไม่เห็นด้วยจะกลั่นแกล้งเราต่างๆ เช่น ครั้งหนึ่งเราไปเข้ากิจกรรมที่อยากเข้า คนๆ นั้นที่ไม่เห็นด้วยก็ลบชื่อเราออกจากกิจกรรมนั้น เขาขีดฆ่าเราออกเลย
“เราพยายามทำความเข้าใจคนหลายคน ทำไมเขาไม่พยายามสื่อสารว่าทำไมทำกับเราแบบนี้ ไม่ใช่ว่ามโนเอาเอง ว่าเป็นแบบนี้ มันไม่ใช่” อาร์ตกล่าว
เขาเล่าต่อว่า “หลังจากนั้นเราก็โกรธนะ พยายามปรับตัว พยายามทำตามคำที่หมอสอน ทำยังไงให้สถานการณ์ดีขึ้น ถ้าอะไรเงียบได้ก็ควรจะเงียบ หลังๆ เงียบไม่พูดไรมาก ก่อนหน้านั้นพูดไปเยอะแล้ว เช่น เพื่อนเหม็นขี้หน้า เราต้องให้เวลาคอยเยียวยาเราและเพื่อนไปก่อน”
อาร์ตบอกว่า การพบแพทย์เพื่อปรับสภาพจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ เพราะในบางครั้งสภาพจิตใจไม่พร้อม รู้สึกโดนกลั่นแกล้ง โกรธโลกใบนี้ โกรธคนรอบข้าง ทำให้รู้สึกแปลกแยกไม่อยากเข้าสังคม แพทย์จะช่วยปรับสภาพจิตใจให้เป็นกลาง และสามารถเข้าสังคมได้ง่ายขึ้น
อาร์ตเชื่อว่าเขามีพัฒนาการเข้าสังคมมากขึ้นหลังจากการได้ไปพบแพทย์ โดยแพทย์สอนทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับผู้ที่มีอาการแอสเพอร์เกอร์ ทั้งการเข้าหาคนและสังคมด้วยการเผชิญโลกภายนอก แพทย์อธิบายว่าจะตอบสนองอย่างไร หากทำถูกต้อง ก็จะให้รางวัลและชื่นชม
“เราก็ต้องผ่านอะไรมาเยอะมาก ตั้งแต่การบำบัด และการลองผิดลองถูกในสังคม ลงพื้นที่จริงในการแก้ปัญหา เรามองโลกใบนี้เป็นจิ๊กซอว์ เราต้องใส่ให้ถูกที่ ถ้าเราใส่ไม่ถูกที่ภาพไม่สมบูรณ์ เหมือนสถานการณ์สังคมที่เจอ ถ้าเราทำไม่ถูก เขาตอบสนองมาไม่ดี” อาร์ตกล่าว
นอกจากนี้อาร์ตยังบอกว่า เขามีความสนใจในธุรกิจ และจิตวิทยาเป็นพิเศษ จึงสามารถนำความรู้จากตำรามาประยุกต์ใช้กับทักษะสังคมของตนเองได้มากขึ้น

ส่วนศุภวัฒน์ แซ่โจว ซึ่งมีเพื่อนที่มีอาการแอสเพอร์เกอร์กล่าวว่า ช่วงมัธยมปลาย เขาพบผู้ที่มีอาการแอสเพอร์เกอร์ และรู้สึกว่าคนๆ นั้นประหลาด เป็นคนเก็บตัว เพื่อนจะชอบแกล้งไปคุยแต่เขาไม่รู้ตัว และไม่ทราบว่าเขามีอาการแอสเพอร์เกอร์อยู่
ศุภวัฒน์กล่าวต่ออีกว่า เมื่อรู้ว่าเพื่อนเป็นแอสเพอร์เกอร์ เขาจึงไม่สุงสิงกับเพื่อนคนนั้น เพื่อให้มีปัญหาน้อยลง เพราะคิดว่าด้วยความเป็นคนใจร้อน จึงเกรงว่าเพื่อนอาจไม่เข้าใจสิ่งที่ตนสื่อ นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อเพื่อนส่วนใหญ่รู้ว่าเพื่อนคนนั้นมีอาการแอสเพอร์เกอร์ ก็จะเข้าไปแกล้ง พอบางครั้งตนชวนเพื่อนคุย เขาก็จะถามคำตอบคำ และไม่ทักทายคนอื่นก่อน
ด้านเรือโทหญิงเปรมวดี เด่นศิริอักษร แพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันราชานุกูล อธิบายว่า อาการแอสเพอร์เกอร์เป็นส่วนหนึ่งกลุ่มอาการออทิสติก หรือ Autism Spectrum Disorder (ASD) โดยใน 1,000 คน จะมีคนเป็นแอสเพอร์เกอร์หนึ่งคน ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ผู้มีอาการแอสเพอร์เกอร์มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับทักษะทางสังคมและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการแอสเพอร์เกอร์จะมีระดับอาการแตกต่างกันไป
แพทย์หญิงยังระบุว่า แอสเพอร์เกอร์มีอาการย้ำคิดย้ำทำเหมือนกับออทิสติก แต่ผู้มีอาการออทิสติกจะแสดงอาการ “ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว” และมีข้อจำกัดทางการสื่อสาร ขณะที่ผู้มีอาการแอสเพอร์เกอร์ แม้ไม่มีความล่าช้าทางภาษา แต่ก็ไม่เข้าใจความหมายที่ซับซ้อนของภาษาซึ่งแสดงออกทางน้ำเสียงท่าทางอารมณ์ความรู้สึก
เรือโทหญิงเปรมวดียกตัวอย่างว่า ถ้าผู้ที่มีอาการแอสเพอร์เกอร์ส่งงานครูช้า แล้วครูพูดด้วยน้ำเสียงประชดประชันว่า “แหม เก่งจริงนะ” ผู้มีอาการแอสเพอร์เกอร์จะเข้าใจว่าครูชมเขาอยู่
ด้านวิธีการรักษา เรือโทหญิงเปรมวดีกล่าวว่า ทางการแพทย์ไม่ได้มียารักษาอาการแอสเพอร์เกอร์ แต่มีวิธีการเหมือนกับออทิสติกซึ่งเป็นอาการบกพร่องทางด้านพัฒนาการ กล่าวคือบกพร่องด้านไหนก็ฟื้นฟูสมรรถภาพด้านนั้นเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ โดยเน้นการช่วยเหลือตนเอง และสอนทักษะทางสังคม
“จริงๆ แล้วไม่จำเป็นต้องบุคลากรทางการแพทย์ อย่างเพื่อน พ่อแม่ สามารถสอนเขาได้ การสอนเน้นในการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะมีปัญหาหรือเกิดขึ้นมา หากพ่อแม่เห็นว่า ลูกมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ถูกต้องก็สอนในเวลานั้น อธิบายให้เขาเข้าใจได้” เรือโทหญิงเปรมวดี กล่าว
แพทย์หญิงกล่าวว่า ปัจจุบันสังคมมีความเข้าใจ และมีทัศนคติทางบวกต่อคนกลุ่มนี้มากขึ้น เมื่อเห็นเขามีปัญหา คนก็พร้อมช่วยเหลือพวกเขา แม้ตอนแรกคนในสังคมอาจรู้สึกไม่พอใจพวกเขา แต่ถ้าผู้มีอาการแอสเพอร์เกอร์ได้รับการบำบัดรักษาก็สามารถดำรงชีวิตได้ไม่แตกต่างจากคนปกติ
ส่วนอาร์ต ผู้มีอาการแอสเพอร์เกอร์ บอกว่า แอสเพอร์เกอร์ไม่ใช่โรค เป็นเพียงกลุ่มอาการกลุ่มหนึ่งที่เป็นถาวร เป็นคนปกติที่มีความแตกต่าง ถ้าพยายามเข้าใจคนอื่นมากขึ้น เอาใจเขามาใส่ใจเราให้มากขึ้นและเข้าใจสังคมให้มากขึ้นๆ แล้วคนรอบข้างจะมองประหลาดน้อยลง โดยพยายามกลืนไปกับคนอื่นๆ เขาจะไม่แกล้งเรา ถึงภายในไม่ใช่ แต่การแสดงเหมือนคนปกติ
“โรคนี้ไม่มีวันหาย แต่สามารถทำให้ชีวิตดีขึ้นได้ พยายามเข้าสังคม ปรับตัวเราไปเรื่อยๆ ฟังคำพูดหมอ คนรอบข้าง แล้วคนอื่นๆ ก็จะเข้าใจเราเอง” อาร์ตกล่าว
FYI
- ความเป็นมาของแอสเพอร์เกอร์
แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม (Asperger’s Syndrome) เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มอาการที่ระบบประสาทผิดปกติ จัดอยู่ในกลุ่มออทิสติก นพ.ฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger) กุมารแพทย์ชาวออสเตรียรายงานโรคนี้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2483 พบว่าคนไข้ของเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชายมีความเฉลียวฉลาด สติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่มีปัญหาทักษะการเข้าสังคม พฤติกรรมหมกมุ่น และชอบทำอะไรซ้ำๆ ไม่รู้จะอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างไร ทั้งที่เขาสามารถพูดคุยสื่อสารกับคนทั่วไปได้ปกติ
อ้างอิง: https://health.kapook.com/view52954.html |
- Checklist : จะสังเกตภาวะแอสเพอร์เกอร์ได้อย่างไร?
คู่มือการวินิจฉัยโรค DSM-IV โดยสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (1994) มีหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคแอสเพอร์เกอร์ ดังนี้
1. ปฏิสัมพันธ์ไม่ปกติ อย่างน้อย 2 ข้อ
1.1. การใช้ท่าทางไม่ปกติ เช่น ไม่ค่อยสบตา แสดงอารมณ์ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
1.2. ไม่สร้างสัมพันธ์กับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
1.3. ไม่แสดงท่าทีอยากเข้าร่วมทำสิ่งที่สนใจ
1.4. ไม่แสดงอารมณ์ตอบสนองกับสังคม
2. มีพฤติกรรม/ความสนใจซ้ำๆ เป็นแบบแผน อย่างน้อย 1 ข้อ
2.1. หมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำๆ ที่ไม่มีความหมายตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไป เช่น สะบัดมือ โยกตัว
2.2. สนใจหมกมุ่นกับบางส่วนของวัตถุ เช่น เล่นเฉพาะล้อรถของเล่น
*ข้อแตกต่างระหว่างออทิสติกและแอสเพอร์เกอร์
3. มีพัฒนาการภาษาและความคิด ตามวัย*
4.สามารถช่วยเหลือตนเองได้มีพฤติกรรมปรับตัวและอยากรู้อยากเห็นในสิ่งรอบตัว*
อ้างอิง: https://health.kapook.com/view52954.html |
- แนวทางการสอนการเข้าสังคมให้เด็กที่มีอาการแอสเพอร์เกอร์
1. สอนทักษะการเข้าหาผู้อื่น เช่น ขอเล่นด้วยคนได้ไหม
2. สอนการสบตาและการสังเกตพฤติกรรมผู้อื่นเพื่อเรียนรู้จากการจดจำและเลียนแบบ
3. สอนการพูดด้วยวลีปลอดภัยให้รอดจากสถานการณ์ที่สับสนไม่มั่นใจ เช่น
“ฉันไม่แน่ใจ ควรทำอะไรขณะนี้” “ฉันไม่แน่ใจ ความหมายที่ทีคุณพูด” เป็นต้น
4. เรียนรู้อารมณ์และความคิดเบื้องหลังของผู้อื่น
อ้างอิง: บทความ “8 Tips for Parents of Kids with Asperger’s Syndrome” จาก MedicineNet https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=150695 |
Like this:
Like Loading...
วัยรุ่นบางคนอาจประสบปัญหาการเข้ากับคนอื่น จนทำให้เพื่อนไม่ชอบหน้าหรือแม้กระทั่งถูกรังแก สาเหตุอาจมาจากภาวะที่เรียกว่า “แอสเพอร์เกอร์” ดังที่อาร์ต (นามสมมติ) นักศึกษามหาวิทยาลัยวัย 20 ปี เคยประสบมา เขาทราบว่าตนมีภาวะแอสเพอร์เกอร์เมื่อแรกเข้ามหาวิทยาลัย และขณะนี้กำลังรักษาอาการอยู่
อาร์ตเล่าว่า ช่วงที่อยู่โรงเรียนและมหาวิทยาลัย เขาเข้ากับคนไม่ค่อยได้ และหากลุ่มเพื่อนที่จะร่วมทำงานด้วยลำบาก คนรอบข้างมองว่าเขาเป็นคนแปลกแยก เพื่อนไม่อยากคุยด้วย ส่วนเขาเองก็ไม่รู้ว่าจะคุยกับเพื่อนอย่างไร บางครั้งกลัวผิดกาลเทศะ บางครั้งกลัวเพื่อนเข้าใจคำพูดผิด
ย้อนไปเมื่อสมัยมัธยม อาร์ตพบว่าผู้อื่นมักไม่เข้าใจสิ่งที่เขาต้องการจะบอก โดยยกตัวอย่างเรื่องการทำงานกลุ่มกับเพื่อน เมื่อเขาเสนอความคิดไปแล้ว แต่เพื่อนไม่เห็นด้วย เขาไม่รู้จะทำอย่างไรต่อจึงเงียบ แต่การเงียบของเขาก็ทำให้เพื่อนคิดว่าเขาไม่ช่วยงาน
“เพื่อนถามเราทำไมไม่ช่วยงานกลุ่ม เราก็ตอบกลับไปว่าเพราะเพื่อนไม่เห็นด้วยกับความคิดเรา ถ้าเราเสนอต่อก็กลัวเพื่อนโกรธ” อาร์ตกล่าว
อาร์ตเล่าต่อว่า เมื่อเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย เขาก็ยังประสบปัญหาเพื่อนไม่เข้าใจ เช่น เมื่อไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ตนไม่ชอบอย่างห้องเชียร์ เขาก็มักถูกเพื่อนรังแก โดนนินทา กระแนะกระแหน ทำให้เป็นคนแปลกแยกจนรู้สึกว่าอยู่ตัวคนเดียว
“เราพูดตรงๆ ไปเลยว่าไม่อยากเข้ากิจกรรม เป็นคนชัดเจนในจุดยืน มีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งคนไม่เห็นด้วยจะกลั่นแกล้งเราต่างๆ เช่น ครั้งหนึ่งเราไปเข้ากิจกรรมที่อยากเข้า คนๆ นั้นที่ไม่เห็นด้วยก็ลบชื่อเราออกจากกิจกรรมนั้น เขาขีดฆ่าเราออกเลย
“เราพยายามทำความเข้าใจคนหลายคน ทำไมเขาไม่พยายามสื่อสารว่าทำไมทำกับเราแบบนี้ ไม่ใช่ว่ามโนเอาเอง ว่าเป็นแบบนี้ มันไม่ใช่” อาร์ตกล่าว
เขาเล่าต่อว่า “หลังจากนั้นเราก็โกรธนะ พยายามปรับตัว พยายามทำตามคำที่หมอสอน ทำยังไงให้สถานการณ์ดีขึ้น ถ้าอะไรเงียบได้ก็ควรจะเงียบ หลังๆ เงียบไม่พูดไรมาก ก่อนหน้านั้นพูดไปเยอะแล้ว เช่น เพื่อนเหม็นขี้หน้า เราต้องให้เวลาคอยเยียวยาเราและเพื่อนไปก่อน”
อาร์ตบอกว่า การพบแพทย์เพื่อปรับสภาพจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ เพราะในบางครั้งสภาพจิตใจไม่พร้อม รู้สึกโดนกลั่นแกล้ง โกรธโลกใบนี้ โกรธคนรอบข้าง ทำให้รู้สึกแปลกแยกไม่อยากเข้าสังคม แพทย์จะช่วยปรับสภาพจิตใจให้เป็นกลาง และสามารถเข้าสังคมได้ง่ายขึ้น
อาร์ตเชื่อว่าเขามีพัฒนาการเข้าสังคมมากขึ้นหลังจากการได้ไปพบแพทย์ โดยแพทย์สอนทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับผู้ที่มีอาการแอสเพอร์เกอร์ ทั้งการเข้าหาคนและสังคมด้วยการเผชิญโลกภายนอก แพทย์อธิบายว่าจะตอบสนองอย่างไร หากทำถูกต้อง ก็จะให้รางวัลและชื่นชม
“เราก็ต้องผ่านอะไรมาเยอะมาก ตั้งแต่การบำบัด และการลองผิดลองถูกในสังคม ลงพื้นที่จริงในการแก้ปัญหา เรามองโลกใบนี้เป็นจิ๊กซอว์ เราต้องใส่ให้ถูกที่ ถ้าเราใส่ไม่ถูกที่ภาพไม่สมบูรณ์ เหมือนสถานการณ์สังคมที่เจอ ถ้าเราทำไม่ถูก เขาตอบสนองมาไม่ดี” อาร์ตกล่าว
นอกจากนี้อาร์ตยังบอกว่า เขามีความสนใจในธุรกิจ และจิตวิทยาเป็นพิเศษ จึงสามารถนำความรู้จากตำรามาประยุกต์ใช้กับทักษะสังคมของตนเองได้มากขึ้น
ส่วนศุภวัฒน์ แซ่โจว ซึ่งมีเพื่อนที่มีอาการแอสเพอร์เกอร์กล่าวว่า ช่วงมัธยมปลาย เขาพบผู้ที่มีอาการแอสเพอร์เกอร์ และรู้สึกว่าคนๆ นั้นประหลาด เป็นคนเก็บตัว เพื่อนจะชอบแกล้งไปคุยแต่เขาไม่รู้ตัว และไม่ทราบว่าเขามีอาการแอสเพอร์เกอร์อยู่
ศุภวัฒน์กล่าวต่ออีกว่า เมื่อรู้ว่าเพื่อนเป็นแอสเพอร์เกอร์ เขาจึงไม่สุงสิงกับเพื่อนคนนั้น เพื่อให้มีปัญหาน้อยลง เพราะคิดว่าด้วยความเป็นคนใจร้อน จึงเกรงว่าเพื่อนอาจไม่เข้าใจสิ่งที่ตนสื่อ นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อเพื่อนส่วนใหญ่รู้ว่าเพื่อนคนนั้นมีอาการแอสเพอร์เกอร์ ก็จะเข้าไปแกล้ง พอบางครั้งตนชวนเพื่อนคุย เขาก็จะถามคำตอบคำ และไม่ทักทายคนอื่นก่อน
ด้านเรือโทหญิงเปรมวดี เด่นศิริอักษร แพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันราชานุกูล อธิบายว่า อาการแอสเพอร์เกอร์เป็นส่วนหนึ่งกลุ่มอาการออทิสติก หรือ Autism Spectrum Disorder (ASD) โดยใน 1,000 คน จะมีคนเป็นแอสเพอร์เกอร์หนึ่งคน ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ผู้มีอาการแอสเพอร์เกอร์มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับทักษะทางสังคมและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการแอสเพอร์เกอร์จะมีระดับอาการแตกต่างกันไป
แพทย์หญิงยังระบุว่า แอสเพอร์เกอร์มีอาการย้ำคิดย้ำทำเหมือนกับออทิสติก แต่ผู้มีอาการออทิสติกจะแสดงอาการ “ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว” และมีข้อจำกัดทางการสื่อสาร ขณะที่ผู้มีอาการแอสเพอร์เกอร์ แม้ไม่มีความล่าช้าทางภาษา แต่ก็ไม่เข้าใจความหมายที่ซับซ้อนของภาษาซึ่งแสดงออกทางน้ำเสียงท่าทางอารมณ์ความรู้สึก
เรือโทหญิงเปรมวดียกตัวอย่างว่า ถ้าผู้ที่มีอาการแอสเพอร์เกอร์ส่งงานครูช้า แล้วครูพูดด้วยน้ำเสียงประชดประชันว่า “แหม เก่งจริงนะ” ผู้มีอาการแอสเพอร์เกอร์จะเข้าใจว่าครูชมเขาอยู่
ด้านวิธีการรักษา เรือโทหญิงเปรมวดีกล่าวว่า ทางการแพทย์ไม่ได้มียารักษาอาการแอสเพอร์เกอร์ แต่มีวิธีการเหมือนกับออทิสติกซึ่งเป็นอาการบกพร่องทางด้านพัฒนาการ กล่าวคือบกพร่องด้านไหนก็ฟื้นฟูสมรรถภาพด้านนั้นเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ โดยเน้นการช่วยเหลือตนเอง และสอนทักษะทางสังคม
“จริงๆ แล้วไม่จำเป็นต้องบุคลากรทางการแพทย์ อย่างเพื่อน พ่อแม่ สามารถสอนเขาได้ การสอนเน้นในการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะมีปัญหาหรือเกิดขึ้นมา หากพ่อแม่เห็นว่า ลูกมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ถูกต้องก็สอนในเวลานั้น อธิบายให้เขาเข้าใจได้” เรือโทหญิงเปรมวดี กล่าว
แพทย์หญิงกล่าวว่า ปัจจุบันสังคมมีความเข้าใจ และมีทัศนคติทางบวกต่อคนกลุ่มนี้มากขึ้น เมื่อเห็นเขามีปัญหา คนก็พร้อมช่วยเหลือพวกเขา แม้ตอนแรกคนในสังคมอาจรู้สึกไม่พอใจพวกเขา แต่ถ้าผู้มีอาการแอสเพอร์เกอร์ได้รับการบำบัดรักษาก็สามารถดำรงชีวิตได้ไม่แตกต่างจากคนปกติ
ส่วนอาร์ต ผู้มีอาการแอสเพอร์เกอร์ บอกว่า แอสเพอร์เกอร์ไม่ใช่โรค เป็นเพียงกลุ่มอาการกลุ่มหนึ่งที่เป็นถาวร เป็นคนปกติที่มีความแตกต่าง ถ้าพยายามเข้าใจคนอื่นมากขึ้น เอาใจเขามาใส่ใจเราให้มากขึ้นและเข้าใจสังคมให้มากขึ้นๆ แล้วคนรอบข้างจะมองประหลาดน้อยลง โดยพยายามกลืนไปกับคนอื่นๆ เขาจะไม่แกล้งเรา ถึงภายในไม่ใช่ แต่การแสดงเหมือนคนปกติ
“โรคนี้ไม่มีวันหาย แต่สามารถทำให้ชีวิตดีขึ้นได้ พยายามเข้าสังคม ปรับตัวเราไปเรื่อยๆ ฟังคำพูดหมอ คนรอบข้าง แล้วคนอื่นๆ ก็จะเข้าใจเราเอง” อาร์ตกล่าว
FYI
แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม (Asperger’s Syndrome) เป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มอาการที่ระบบประสาทผิดปกติ จัดอยู่ในกลุ่มออทิสติก นพ.ฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger) กุมารแพทย์ชาวออสเตรียรายงานโรคนี้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2483 พบว่าคนไข้ของเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชายมีความเฉลียวฉลาด สติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่มีปัญหาทักษะการเข้าสังคม พฤติกรรมหมกมุ่น และชอบทำอะไรซ้ำๆ ไม่รู้จะอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างไร ทั้งที่เขาสามารถพูดคุยสื่อสารกับคนทั่วไปได้ปกติ
อ้างอิง: https://health.kapook.com/view52954.html
คู่มือการวินิจฉัยโรค DSM-IV โดยสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (1994) มีหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคแอสเพอร์เกอร์ ดังนี้
1. ปฏิสัมพันธ์ไม่ปกติ อย่างน้อย 2 ข้อ
1.1. การใช้ท่าทางไม่ปกติ เช่น ไม่ค่อยสบตา แสดงอารมณ์ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
1.2. ไม่สร้างสัมพันธ์กับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
1.3. ไม่แสดงท่าทีอยากเข้าร่วมทำสิ่งที่สนใจ
1.4. ไม่แสดงอารมณ์ตอบสนองกับสังคม
2. มีพฤติกรรม/ความสนใจซ้ำๆ เป็นแบบแผน อย่างน้อย 1 ข้อ
2.1. หมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำๆ ที่ไม่มีความหมายตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไป เช่น สะบัดมือ โยกตัว
2.2. สนใจหมกมุ่นกับบางส่วนของวัตถุ เช่น เล่นเฉพาะล้อรถของเล่น
*ข้อแตกต่างระหว่างออทิสติกและแอสเพอร์เกอร์
3. มีพัฒนาการภาษาและความคิด ตามวัย*
4.สามารถช่วยเหลือตนเองได้มีพฤติกรรมปรับตัวและอยากรู้อยากเห็นในสิ่งรอบตัว*
อ้างอิง: https://health.kapook.com/view52954.html
1. สอนทักษะการเข้าหาผู้อื่น เช่น ขอเล่นด้วยคนได้ไหม
2. สอนการสบตาและการสังเกตพฤติกรรมผู้อื่นเพื่อเรียนรู้จากการจดจำและเลียนแบบ
3. สอนการพูดด้วยวลีปลอดภัยให้รอดจากสถานการณ์ที่สับสนไม่มั่นใจ เช่น
“ฉันไม่แน่ใจ ควรทำอะไรขณะนี้” “ฉันไม่แน่ใจ ความหมายที่ทีคุณพูด” เป็นต้น
4. เรียนรู้อารมณ์และความคิดเบื้องหลังของผู้อื่น
อ้างอิง: บทความ “8 Tips for Parents of Kids with Asperger’s Syndrome” จาก MedicineNet https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=150695
Share this:
Like this: