กุมารเเพทย์เผยการโพสต์ภาพเด็กในสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อสภาพจิตของเด็กระยะยาว ด้านนักวิชาการชี้ ไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิเด็กมากพอ แนะควรชี้ให้ผู้ปกครองเห็นผลกระทบ
เมื่อปี 2543 สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ตของเด็ก หรือ (The Children’s Online Privacy Protection Act – COPPA) โดยห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการออนไลน์เก็บข้อมูลหรือเปิดเผยข้อมูลของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ส่งผลให้สื่อออนไลน์ต่างๆ ทั้งเฟซบุ๊ก ยูทูป อินสตาเเกรม ไม่อนุญาตให้เด็กมีบัญชีเป็นของตัวเอง
เเต่จากการสำรวจของผู้สื่อข่าวพบว่ายังมีการโพสต์รูปเด็กลงสื่อสังคมออนไลน์อย่างเเพร่หลาย ใน 20 อันดับบัญชีอินสตาเเกรมที่มีคนติดตามมากที่สุดในไทย พบว่ามีบัญชีที่มักลงรูปเด็กหรือบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี 7 จาก 20 บัญชี คิดเป็นจำนวนผู้ติดตามรวมกันกว่า 37.8 ล้านคน
ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวสำรวจคลิปวิดีโอที่เป็นภาพของเด็กและมียอดชมสูงในปี 2559 ทางยูทูป พบว่ามีคลิปเด็กที่มีผู้ชมเเละถูกส่งต่อกันจนเป็นไวรัลทางอินเทอร์เน็ตมาก อาทิ คลิป “เราขอโทษนะเพื่อนบุ๋ม” ที่นักเรียนชั้นอนุบาลสาม 2 คนทะเลาะกันเเล้วคืนดีกันพร้อมประกบปากเพื่อน เเละคลิป “เรื่องนี้ไม่จบง่ายๆ แน่” ของเด็กชายอายุ 5 ปี ที่ต่อมาเกิดเป็นเเฮชเเท็ก #ถ้าป้าทำน้องเค้าป้าทำผมดีกว่าเพราะน้องเค้าเป็นผู้หญิงเพศที่อ่อนแอ รวมสองคลิปมีผู้รับชมรวมกันกว่า 10 ล้านวิว
พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เจ้าของเฟซบุ๊กเพจ “เลี้ยงลูกนอกบ้าน” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่าสี่แสนคน ระบุว่าการโพสต์ภาพเด็กลงในสังคมออนไลน์นั้นเป็นบันทึกความทรงจำไว้เเละช่วยให้การสื่อสารง่ายขึ้นกว่าเเต่ก่อน เเต่บางทีผู้ใหญ่ก็ไม่ได้เห็นถึงโทษที่ตามมา อันดับแรกคือเรื่องความปลอดภัยต่อสวัสดิภาพของเด็ก เนื่องจากข้อมูลส่วนตัวของเด็ก อาทิ ที่อยู่โรงเรียน ชื่อเด็ก เป็นข้อมูลที่อาจทำให้ผู้มีอาการทางจิตบางกลุ่มติดตามตัวเด็กได้
ประการต่อมาคือ ไม่ใช่เด็กทุกคนอยากเป็นที่รู้จัก การโพสต์ภาพของเด็กทางสื่อสังคมออนไลน์อาจจะสร้างความอึดอัดใจในการที่จะเติบโตไปโดยมีคนจ้องมองตลอดเวลา จนทำให้เด็กไม่มีความเป็นส่วนตัวเเละส่งผลต่อความมั่นใจของเด็กได้
สุดท้ายคือ การโพสต์ภาพเด็กบ่อยๆ นั้นทำให้ผู้ปกครองก่อความคาดหวังในตัวลูกโดยไม่รู้ตัวว่าอยากให้ลูกน่ารักเหมือนภาพที่ตนสร้างไว้ ฉะนั้น เวลาลูกงอเเงเอาเเต่ใจ พ่อเเม่จะไม่ได้รับมือเเบบพ่อเเม่ปกติ เเต่จะเข้าหาลูกเเบบพ่อเเม่ที่มีความคาดหวังสูง เเละพยายามเลี้ยงลูกตามฉบับที่สังคมคาดหวังให้เป็น ส่งผลกระทบสภาพจิตในระยะยาวได้
“การจะโพสต์รูปลูกเเต่ละครั้งนั้นพ่อเเม่ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างผลดีเเละผลเสีย ต้องรู้เท่าทันสื่อ เเละเลือกสิ่งต่างๆ ให้ลูกเสมือนเลือกให้ตัวเอง” พญ.จิราภรณ์ กล่าว
นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิเด็ก มีความเห็นเรื่องการโพสต์ภาพเด็กทางสื่อสังคมออนไลน์ว่ากฏหมายเกี่ยวกับสิทธิเด็กของไทยนั้นค่อนข้างครอบคลุม อาทิ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 22 ที่กล่าวถึงการคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก และมาตรา 23 ที่ระบุถึงบทบาทของผู้ดูแลเด็กในการพัฒนาและการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ
เเต่โดยรวมเเล้วสังคมไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิเด็กเท่าที่ควร เนื่องจากการทำงานของภาครัฐเเก้ปัญหาไม่ตรงจุดเเละองค์กรสื่อยังไม่ออกมาเเสดงบทบาทมากพอ อีกทั้งยังขาดการให้ความรู้เเละปลูกจิตสำนึกประชาชนในวงกว้าง แม้ว่าการพัฒนาสถาบันครอบครัวเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืนที่สุดก็ตาม
“ในระยะยาวควรใช้มาตรการทางสังคม การศึกษา ปลูกจิตสำนึกให้เห็นถึงความสำคัญของสิทธิเด็กในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของพ่อเเม่” นายสรรพสิทธิ์ กล่าว
ด้าน ผศ. มรรยาท อัครจันทโชติ นักวิชาการด้านสื่อเด็กเเละอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอธิบายว่า เเท้จริงเเล้วลักษณะการโพสต์รูปเด็กลงสื่อสังคมอออนไลน์มาจากกระบวนทัศน์ที่ต่างกันของเเต่ละสังคม โดยสังคมไทยยังมีกระบวนณทัศน์ที่มองว่าลูกเป็นสมบัติของพ่อเเม่ และลูกยังตัดสินใจอะไรไม่ได้ ดังนั้นพ่อเเม่จึงต้องเป็นคนที่ตัดสินใจให้
“เคยมีคนพูดว่าจริงๆ จะทำอะไรต้องถามเด็กก่อนด้วยว่าเขาเห็นด้วยเเละยินยอมไหม เเต่หากมาพูดในสังคมไทยจะถูกมองว่าพวกนี้เรื่องมาก จะให้ต้องมานั่งคอยถามลูกตลอดก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เเละเราไม่ค่อยมองว่าการที่โพสต์รูปลูกลงไปนั้นมันมีอันตรายยังไง การบอกคนที่มาเตือนว่าคิดมากเกินไป มันเป็นเพราะว่าคนที่โพสต์นั้นเองคิดน้อยเกินไปต่างหาก เเล้วพอคิดน้อยเกินไปเราก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมา” ผศ.มรรยาท กล่าว
นอกจากนี้ผศ.มรรยาท ยังยกตัวอย่างว่า การเผยเเพร่ภาพเด็กๆ อาบน้ำอาจนำไปสู่ผู้มีอาการทางจิตเข้าถึงภาพเหล่านี้ และอาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้ หรือภาพของลูกดาราดังอาจทำให้เด็กสูญเสียความเป็นส่วนตัวตั้งเเต่เกิด ทั้งบางรายยังส่งผลต่อสภาพจิตของเด็กตอนโต เด็กบางคนคิดว่าตนเป็นคนดังก็อาจเป็นการให้ท้ายเด็กได้
มากกว่านั้นคือ กรณีเคสตัวตลกที่จะมากับคลิปต่างๆ โดยถูกมองเป็นเเค่เรื่องขำขันๆ อาทิ คลิปเด็กยืนหลับในห้อง หรือเด็กที่ถูกพ่อเเม่หลอกให้ร้องไห้หรือเด็กบางคนพูดไม่ชัด พูดออกมาเเล้วกลายเป็นคำหยาบ โดยที่เด็กไม่ได้ตั้งใจ
“การที่พ่อเเม่หรือครูถ่ายเป็นคลิปเเล้วเอามาเเชร์กันนั้นส่งผลต่อความรู้สึกเด็ก เวลาที่ทุกคนเปิดดูคลิป ขำเเล้วก็จบไป เเต่สังคมไม่รู้ว่า ‘ความเป็นตัวตลก’ มันคงอยู่กับเด็กคนนั้นไปอีกนาน
“ผู้ใหญ่บางคนก็ไม่ได้เห็นผลกระทบ เพราะบางทีเด็กก็ไม่ได้บอกออกไปตรงๆ โดยบางทีที่เด็กหลายคนเจอ cyberbullying (การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์) เเล้วปัญหามันไปไกล เพราะเขาพูดกับผู้ใหญ่ไม่ได้” นักวิชาการด้านสื่อเด็กเสริม
ผศ.มรรยาท ยังระบุว่า สิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงได้จริงๆ คือ การต้องเห็นผลกระทบ หากยังไม่เห็นผลกระทบ เมื่อมีคนเตือนก็จะมีเเต่คนบอกว่าคิดมากเกินไป เพราะไม่เห็นว่ามันจะนำไปสู่ผลเสียอะไร แต่ถ้าผลเสียชัดเจนว่าเคยมีปัญหาต่างๆ ตามมา จะทำให้พ่อเเม่เเละคนทั่วไปฉุกคิดก่อนจะโพสต์หรือเเชร์มากขึ้น ทั้งนี้นักวิชาการด้านสื่อเด็กเสริมว่า เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนรักเเละหวังดีต่อเด็ก เเต่บางทีทำไปเพียงเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์
Like this:
Like Loading...
กุมารเเพทย์เผยการโพสต์ภาพเด็กในสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อสภาพจิตของเด็กระยะยาว ด้านนักวิชาการชี้ ไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิเด็กมากพอ แนะควรชี้ให้ผู้ปกครองเห็นผลกระทบ
เมื่อปี 2543 สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ตของเด็ก หรือ (The Children’s Online Privacy Protection Act – COPPA) โดยห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการออนไลน์เก็บข้อมูลหรือเปิดเผยข้อมูลของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ส่งผลให้สื่อออนไลน์ต่างๆ ทั้งเฟซบุ๊ก ยูทูป อินสตาเเกรม ไม่อนุญาตให้เด็กมีบัญชีเป็นของตัวเอง
เเต่จากการสำรวจของผู้สื่อข่าวพบว่ายังมีการโพสต์รูปเด็กลงสื่อสังคมออนไลน์อย่างเเพร่หลาย ใน 20 อันดับบัญชีอินสตาเเกรมที่มีคนติดตามมากที่สุดในไทย พบว่ามีบัญชีที่มักลงรูปเด็กหรือบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี 7 จาก 20 บัญชี คิดเป็นจำนวนผู้ติดตามรวมกันกว่า 37.8 ล้านคน
ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวสำรวจคลิปวิดีโอที่เป็นภาพของเด็กและมียอดชมสูงในปี 2559 ทางยูทูป พบว่ามีคลิปเด็กที่มีผู้ชมเเละถูกส่งต่อกันจนเป็นไวรัลทางอินเทอร์เน็ตมาก อาทิ คลิป “เราขอโทษนะเพื่อนบุ๋ม” ที่นักเรียนชั้นอนุบาลสาม 2 คนทะเลาะกันเเล้วคืนดีกันพร้อมประกบปากเพื่อน เเละคลิป “เรื่องนี้ไม่จบง่ายๆ แน่” ของเด็กชายอายุ 5 ปี ที่ต่อมาเกิดเป็นเเฮชเเท็ก #ถ้าป้าทำน้องเค้าป้าทำผมดีกว่าเพราะน้องเค้าเป็นผู้หญิงเพศที่อ่อนแอ รวมสองคลิปมีผู้รับชมรวมกันกว่า 10 ล้านวิว
พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เจ้าของเฟซบุ๊กเพจ “เลี้ยงลูกนอกบ้าน” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่าสี่แสนคน ระบุว่าการโพสต์ภาพเด็กลงในสังคมออนไลน์นั้นเป็นบันทึกความทรงจำไว้เเละช่วยให้การสื่อสารง่ายขึ้นกว่าเเต่ก่อน เเต่บางทีผู้ใหญ่ก็ไม่ได้เห็นถึงโทษที่ตามมา อันดับแรกคือเรื่องความปลอดภัยต่อสวัสดิภาพของเด็ก เนื่องจากข้อมูลส่วนตัวของเด็ก อาทิ ที่อยู่โรงเรียน ชื่อเด็ก เป็นข้อมูลที่อาจทำให้ผู้มีอาการทางจิตบางกลุ่มติดตามตัวเด็กได้
ประการต่อมาคือ ไม่ใช่เด็กทุกคนอยากเป็นที่รู้จัก การโพสต์ภาพของเด็กทางสื่อสังคมออนไลน์อาจจะสร้างความอึดอัดใจในการที่จะเติบโตไปโดยมีคนจ้องมองตลอดเวลา จนทำให้เด็กไม่มีความเป็นส่วนตัวเเละส่งผลต่อความมั่นใจของเด็กได้
สุดท้ายคือ การโพสต์ภาพเด็กบ่อยๆ นั้นทำให้ผู้ปกครองก่อความคาดหวังในตัวลูกโดยไม่รู้ตัวว่าอยากให้ลูกน่ารักเหมือนภาพที่ตนสร้างไว้ ฉะนั้น เวลาลูกงอเเงเอาเเต่ใจ พ่อเเม่จะไม่ได้รับมือเเบบพ่อเเม่ปกติ เเต่จะเข้าหาลูกเเบบพ่อเเม่ที่มีความคาดหวังสูง เเละพยายามเลี้ยงลูกตามฉบับที่สังคมคาดหวังให้เป็น ส่งผลกระทบสภาพจิตในระยะยาวได้
“การจะโพสต์รูปลูกเเต่ละครั้งนั้นพ่อเเม่ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างผลดีเเละผลเสีย ต้องรู้เท่าทันสื่อ เเละเลือกสิ่งต่างๆ ให้ลูกเสมือนเลือกให้ตัวเอง” พญ.จิราภรณ์ กล่าว
นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิเด็ก มีความเห็นเรื่องการโพสต์ภาพเด็กทางสื่อสังคมออนไลน์ว่ากฏหมายเกี่ยวกับสิทธิเด็กของไทยนั้นค่อนข้างครอบคลุม อาทิ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 22 ที่กล่าวถึงการคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก และมาตรา 23 ที่ระบุถึงบทบาทของผู้ดูแลเด็กในการพัฒนาและการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ
เเต่โดยรวมเเล้วสังคมไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิเด็กเท่าที่ควร เนื่องจากการทำงานของภาครัฐเเก้ปัญหาไม่ตรงจุดเเละองค์กรสื่อยังไม่ออกมาเเสดงบทบาทมากพอ อีกทั้งยังขาดการให้ความรู้เเละปลูกจิตสำนึกประชาชนในวงกว้าง แม้ว่าการพัฒนาสถาบันครอบครัวเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืนที่สุดก็ตาม
“ในระยะยาวควรใช้มาตรการทางสังคม การศึกษา ปลูกจิตสำนึกให้เห็นถึงความสำคัญของสิทธิเด็กในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ใช่ทรัพย์สมบัติของพ่อเเม่” นายสรรพสิทธิ์ กล่าว
ด้าน ผศ. มรรยาท อัครจันทโชติ นักวิชาการด้านสื่อเด็กเเละอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอธิบายว่า เเท้จริงเเล้วลักษณะการโพสต์รูปเด็กลงสื่อสังคมอออนไลน์มาจากกระบวนทัศน์ที่ต่างกันของเเต่ละสังคม โดยสังคมไทยยังมีกระบวนณทัศน์ที่มองว่าลูกเป็นสมบัติของพ่อเเม่ และลูกยังตัดสินใจอะไรไม่ได้ ดังนั้นพ่อเเม่จึงต้องเป็นคนที่ตัดสินใจให้
“เคยมีคนพูดว่าจริงๆ จะทำอะไรต้องถามเด็กก่อนด้วยว่าเขาเห็นด้วยเเละยินยอมไหม เเต่หากมาพูดในสังคมไทยจะถูกมองว่าพวกนี้เรื่องมาก จะให้ต้องมานั่งคอยถามลูกตลอดก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เเละเราไม่ค่อยมองว่าการที่โพสต์รูปลูกลงไปนั้นมันมีอันตรายยังไง การบอกคนที่มาเตือนว่าคิดมากเกินไป มันเป็นเพราะว่าคนที่โพสต์นั้นเองคิดน้อยเกินไปต่างหาก เเล้วพอคิดน้อยเกินไปเราก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมา” ผศ.มรรยาท กล่าว
นอกจากนี้ผศ.มรรยาท ยังยกตัวอย่างว่า การเผยเเพร่ภาพเด็กๆ อาบน้ำอาจนำไปสู่ผู้มีอาการทางจิตเข้าถึงภาพเหล่านี้ และอาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้ หรือภาพของลูกดาราดังอาจทำให้เด็กสูญเสียความเป็นส่วนตัวตั้งเเต่เกิด ทั้งบางรายยังส่งผลต่อสภาพจิตของเด็กตอนโต เด็กบางคนคิดว่าตนเป็นคนดังก็อาจเป็นการให้ท้ายเด็กได้
มากกว่านั้นคือ กรณีเคสตัวตลกที่จะมากับคลิปต่างๆ โดยถูกมองเป็นเเค่เรื่องขำขันๆ อาทิ คลิปเด็กยืนหลับในห้อง หรือเด็กที่ถูกพ่อเเม่หลอกให้ร้องไห้หรือเด็กบางคนพูดไม่ชัด พูดออกมาเเล้วกลายเป็นคำหยาบ โดยที่เด็กไม่ได้ตั้งใจ
“การที่พ่อเเม่หรือครูถ่ายเป็นคลิปเเล้วเอามาเเชร์กันนั้นส่งผลต่อความรู้สึกเด็ก เวลาที่ทุกคนเปิดดูคลิป ขำเเล้วก็จบไป เเต่สังคมไม่รู้ว่า ‘ความเป็นตัวตลก’ มันคงอยู่กับเด็กคนนั้นไปอีกนาน
“ผู้ใหญ่บางคนก็ไม่ได้เห็นผลกระทบ เพราะบางทีเด็กก็ไม่ได้บอกออกไปตรงๆ โดยบางทีที่เด็กหลายคนเจอ cyberbullying (การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์) เเล้วปัญหามันไปไกล เพราะเขาพูดกับผู้ใหญ่ไม่ได้” นักวิชาการด้านสื่อเด็กเสริม
ผศ.มรรยาท ยังระบุว่า สิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงได้จริงๆ คือ การต้องเห็นผลกระทบ หากยังไม่เห็นผลกระทบ เมื่อมีคนเตือนก็จะมีเเต่คนบอกว่าคิดมากเกินไป เพราะไม่เห็นว่ามันจะนำไปสู่ผลเสียอะไร แต่ถ้าผลเสียชัดเจนว่าเคยมีปัญหาต่างๆ ตามมา จะทำให้พ่อเเม่เเละคนทั่วไปฉุกคิดก่อนจะโพสต์หรือเเชร์มากขึ้น ทั้งนี้นักวิชาการด้านสื่อเด็กเสริมว่า เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนรักเเละหวังดีต่อเด็ก เเต่บางทีทำไปเพียงเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์
Share this:
Like this: