ปัจจุบันมนุษย์มีเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันแทบทุกย่างก้าว ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีทำให้การดำเนินชีวิตสะดวกและรวดเร็วขึ้นจริงๆ แต่ก็ยังมีคนบางส่วนที่ต้องการหาบางอย่างมาช่วยปรับสมดุลชีวิตไม่ให้ก้าวกระโดดเร็วเกินไป ตัวอย่างคือ การกลับมาของกล้องฟิล์ม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบตัวกล้องแบบดั้งเดิม กล้องที่ผสมการทำงานของระบบดิจิทัลเข้าไปด้วย และแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ
เมื่อไม่นานมานี้ Eastman Kodak Company ร่วมมือกับ C+A Global เปิดตัว Kodak Printomatic กล้องโพลารอยด์ที่มีช่องใส่การ์ดความจำเพื่อบันทึกภาพ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทกล้องของญี่ปุ่นอย่าง Yashica ที่ได้ผลิตดิจิฟิล์ม (digiFilm) ซึ่งเป็นเพียงตัวควบคุมการตั้งค่าของกล้อง แต่ไม่ต้องนำฟิล์มไปล้าง เพราะรูปจะถูกบันทึกลงการ์ดความจำ และไม่มีปุ่มลบรูป
ด้านแอปพลิเคชันถ่ายภาพก็มีอยู่หลายตัวที่นำฟิลเตอร์ (filter) ของกล้องฟิล์มมาใช้ เช่น RNI Films, Filmborn, CALLA, Huji Cam แต่ยังมีอีกแอปพลิเคชันหนึ่งที่ไม่ได้ยกแค่ฟิลเตอร์ของกล้องฟิล์มมา แต่ยกการทำงานในส่วนอื่นๆ มาด้วย นั่นก็คือแอปพลิเคชันจากประเทศเกาหลีใต้ชื่อ Gudak Cam รูปร่างหน้าตาของแอปถูกออกแบบให้เหมือนด้านหลังของกล้องฟิล์ม ซึ่งมีช่องมองภาพเล็กๆ สามารถถ่ายภาพได้ 24 รูปต่อฟิล์มหนึ่งม้วน หลังจากถ่ายรูปครบม้วนแล้วต้องรออีกสามวันจึงจะสามารถเห็นรูปที่ล้างออกมาได้ โดยที่รูปจะถูกสุ่มออกมาให้มีความแตกต่างกันไป
คำว่า Gudak นั้นมาจากคำว่า “กูดักดาลิ (구닥다리)” ที่แปลว่าล้าสมัย เว็บไซต์ของผู้ผลิตอธิบายไว้ว่า ในยุคปัจจุบันที่การลบหรือแก้ไขนั้นทำได้ง่าย ประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นจากการเลือกเก็บความทรงจำอันมีค่าต่างๆ รวมถึงเสน่ห์ของการรอคอยนั้นเริ่มหายไป
ภาพถ่ายจากแอป Gudak โดย @gracepns
คังซังฮุน ประธานบริษัท Screw Bar ซึ่งเป็นผู้ผลิตแอปพลิเคชันนี้ขยายความว่า การที่คนในยุคปัจจุบันมีตัวเลือกมากเกินไปมักจะทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายกับตัวเลือกเหล่านี้ แต่ Gudak นั้นเป็นสิ่งที่ใช้ได้ง่ายและทำให้ทุกคนจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำได้มากกว่า ส่วนการที่ต้องรอรูปภาพถึงสามวันนั้น เพราะเป็นช่วงที่ความจำระยะสั้นจะกลายเป็นความจำระยะยาว แม้กล้องดิจิทัลจะสามารถถ่ายได้เป็นพันรูปต่อวัน แต่ผู้ใช้มักไม่ได้กลับเข้าไปดูรูปพวกนั้นสักเท่าไร เขาหวังว่ารูปที่ได้จากการรอคอยจะกลายเป็นความทรงจำที่มีค่าสำหรับผู้ใช้
แนวคิดของคังซังฮุนสอดคล้องกับทฤษฎี Zeigarnik Effect ของ บลูม่า ไซร์การ์นิค (Bluma Zeigarnik) นักจิตวิทยาชาวรัสเซียที่คิดค้นขึ้นในปี 2470 จากการสังเกตว่า พนักงานเสิร์ฟมักจะจำรายการอาหารที่ลูกค้าสั่งในตอนแรกได้มากกว่าตอนลูกค้าจ่ายเงินค่าอาหารแล้ว เมื่อลองทำการทดลองจึงสรุปได้ว่า คนเรามักจะจำสิ่งที่ยังไม่เสร็จหรือถูกเว้นช่วงไปได้ดีกว่าสิ่งที่ทำสำเร็จรวดเดียวเลย ฉะนั้น หากลองคิดตามทฤษฎีนี้ดูแล้ว ภาพจากฟิล์มที่เมื่อถ่ายแล้วยังไม่เห็นในทันทีย่อมอยู่ในห้วงคำนึงของผู้ถ่ายรูปนั้นๆ มากกว่ารูปที่ถ่ายปุ๊บได้ปั๊บอย่างแน่นอน
อาจารย์พรรณพิมล นาคนาวา อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นในเชิงสังคมวิทยาต่อปรากฏการณ์นี้ว่า การเปลี่ยนผ่านจากกล้องฟิล์มซึ่งเป็นตัวแทนของยุคแอนะล็อก มาเป็นกล้องดิจิทัลหรือแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เป็นตัวแทนของเทคโนโลยี ทำให้การควบคุมการกระทำของมนุษย์นั้นเปลี่ยนไปด้วย ในการใช้กล้องฟิล์ม ผู้ถ่ายภาพทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ (active) กล่าวคือพวกเขาได้เลือกตั้งแต่รุ่นของกล้อง ชนิดของฟิล์มที่จะใช้ การตั้งค่าต่างๆ ในกล้อง และการนำฟิล์มไปล้างที่ร้านหรือล้างด้วยตนเอง ดังนั้นอำนาจในการควบคุมยังคงอยู่ในมือของคน หากแต่ระบบดิจิทัลนั้นมักเชื่อมอยู่กับคำว่าอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ระบบจัดการให้ผู้ใช้เอง อย่างเช่น การสุ่มฟิลเตอร์ใส่รูป อาจทำให้รู้สึกว่าการตัดสินใจไม่ได้เป็นของคนโดยสมบูรณ์อีกต่อไป ผู้ใช้กลายเป็นผู้รับการกระทำ (passive) โดยปริยาย ดังนั้นอาการโหยหาอดีต (Nostalgia) ในช่วงที่มนุษย์ยังคงเป็นผู้ควบคุมสิ่งต่างๆ นั้นย่อมเกิดขึ้นได้
ภาพถ่ายจากแอป Gudak โดย @gracepns
Nostalgia แปลว่า ความโหยหา ความคิดถึง หรือความอาลัยอาวรณ์ ในทางจิตวิทยาจะนับเป็นอาการอย่างหนึ่งที่ลักษณะของอาการคือการนึกถึงอดีต
จอห์น เทียร์นี่ (John Tierney) ได้เขียนบทความ “การโหยหาอดีตมีประโยชน์อะไรหรือไม่ งานวิจัยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ส่วนหนึ่ง (What Is Nostalgia Good For? Quite a Bit, Research Shows)” ในเว็บไซต์ของนิตยสารนิวยอร์กไทมส์ เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2556 ว่า การอธิบายความโหยหาอดีตนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละสมัย ในช่วงแรกๆ อาการนี้มักจะถูกเชื่อมโยงกับโรคซึมเศร้า แต่ในปัจจุบันมีผลวิจัยใหม่ๆ บอกว่าการโหยหาอดีตเป็นสิ่งที่ช่วยต้านทานความเหงา ความเบื่อหน่ายและความกังวลได้ แถมยังช่วยให้คนมีภูมิคุ้มกันต่อโลกภายนอกมากขึ้นอีกด้วย อารมณ์นี้ยังเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ไม่เว้นแม้แต่เด็ก บางคนก็นึกถึงอดีตที่หอมหวานเพื่อปลอบประโลมตัวเองในปัจจุบัน หรือบางคนก็นึกถึงอดีตเพื่อหาความหมายที่มีค่าจากสิ่งที่ผ่านมาแล้ว
เชาว์ฤทธิ์ สังสมศักดิ์ เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก A FILM เพจแนะนำและขายฟิล์มประเภทต่างๆ กล่าวถึงประสบการณ์ในการใช้กล้องฟิล์มของเขาว่า เขาโตขึ้นมาในช่วงที่เป็นรอยต่อของยุคดิจิทัลและแอนะล็อก จึงกลายเป็นผู้ใช้กล้องทั้งสองแบบ เขาเพิ่งกลับมาใช้กล้องฟิล์มอย่างจริงจังเมื่อประมาณสามปีที่แล้ว จากการที่ภรรยาหันมาสนใจของวินเทจ เขาบอกอีกว่าการที่ต้องรอลุ้นว่าจะได้ภาพออกมาแบบไหนเป็นความรู้สึกที่สนุกดี
“เรารู้เลยว่าตลอดมาเราถ่ายภาพเน้นสวย เน้นจำนวนภาพให้เยอะๆ เข้าไว้ โดยใช้กล้องดิจิทัล พอมาใช้กล้องฟิล์ม เราได้มีเวลาดูเรื่องรอบตัวมากขึ้น ไม่ใช่เอาแต่ถ่ายรูป” เชาวฤทธิ์บอก
ผู้ใช้แอปพลิเคชัน Gudak อย่าง ชมพวรรณ พันธุ์สนิท บอกว่าที่เลือกซื้อแอปพลิเคชันเพราะชอบฟิลเตอร์และลักษณะของหน้าแอปพลิเคชันที่รูปร่างเหมือนกำลังถือกล้องฟิล์มขนาดพกพา แต่ตนเองและเพื่อนอีกส่วนหนึ่งไม่ได้เลือกที่จะรอรับภาพหลังจากผ่านไปแล้วสามวัน การตั้งค่าวันที่ในโทรศัพท์ช่วยให้พวกเธอได้ภาพที่ถ่ายหมดม้วนแล้วทันที บางครั้งที่รู้สึกอยากได้ภาพที่ถ่ายแล้วแต่ยังใช้ฟิล์มในแอปไม่หมดม้วน ก็จะกดถ่ายภาพสุ่มๆ ให้ครบ 24 ภาพ แล้วโกงเวลาให้ได้ภาพตอนนั้นเลย ถึงอย่างนั้นก็ยังมีเพื่อนบางคนที่รอตามเวลาปกติ
ชมพวรรณเสริมว่า รูปที่ได้จากแอปพลิเคชันกับรูปที่ถ่ายจากกล้องดิจิทัลหรือโทรศัพท์นั้นไม่ต่างกันนัก ต่างกันแค่โทนสีหรือลูกเล่นของรูปภาพเท่านั้น อีกทั้งในตอนนี้ก็เริ่มมีแอปพลิเคชันคล้ายๆ กันปรากฏขึ้นมาใหม่อีกมาก แถมยังไม่ต้องเสียเงินซื้อด้วย จึงมีคนบางส่วนเริ่มเบนไปใช้แอปพลิเคชันอื่นๆ บ้างแล้ว
ทางผู้ผลิตอาจคิดว่า การนำการทำงานของกล้องฟิล์มเข้ามาใส่ในแอปพลิเคชันจะช่วยเยียวยาการโหยหาอดีตที่มนุษย์ยังมีอำนาจในการตัดสินใจเบ็ดเสร็จได้ แต่หากลองมองดูอีกที ช่องทางที่ผู้ผลิตเลือกใช้นั้นก็อยู่ในระบบดิจิทัล ซึ่งก็ยังเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าเป็นผู้รอรับผลเฉยๆ อยู่ดี แอปพลิเคชันจึงอาจไม่ใช่คำตอบในการเยียวยาการโหยหาอดีต เห็นได้จากการแสดงออกของผู้ใช้แอปพลิเคชัน Gudak บางคนที่สุดท้ายก็หาทางปรับเวลาเพื่อให้ได้รูปทันที
ภาพถ่ายจากแอป Gudak โดย @gracepns
อ้างอิง: The Psychology Book โดย Nigel C. Benson และคณะ (2555)
Like this:
Like Loading...
ปัจจุบันมนุษย์มีเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันแทบทุกย่างก้าว ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีทำให้การดำเนินชีวิตสะดวกและรวดเร็วขึ้นจริงๆ แต่ก็ยังมีคนบางส่วนที่ต้องการหาบางอย่างมาช่วยปรับสมดุลชีวิตไม่ให้ก้าวกระโดดเร็วเกินไป ตัวอย่างคือ การกลับมาของกล้องฟิล์ม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบตัวกล้องแบบดั้งเดิม กล้องที่ผสมการทำงานของระบบดิจิทัลเข้าไปด้วย และแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ
เมื่อไม่นานมานี้ Eastman Kodak Company ร่วมมือกับ C+A Global เปิดตัว Kodak Printomatic กล้องโพลารอยด์ที่มีช่องใส่การ์ดความจำเพื่อบันทึกภาพ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทกล้องของญี่ปุ่นอย่าง Yashica ที่ได้ผลิตดิจิฟิล์ม (digiFilm) ซึ่งเป็นเพียงตัวควบคุมการตั้งค่าของกล้อง แต่ไม่ต้องนำฟิล์มไปล้าง เพราะรูปจะถูกบันทึกลงการ์ดความจำ และไม่มีปุ่มลบรูป
ด้านแอปพลิเคชันถ่ายภาพก็มีอยู่หลายตัวที่นำฟิลเตอร์ (filter) ของกล้องฟิล์มมาใช้ เช่น RNI Films, Filmborn, CALLA, Huji Cam แต่ยังมีอีกแอปพลิเคชันหนึ่งที่ไม่ได้ยกแค่ฟิลเตอร์ของกล้องฟิล์มมา แต่ยกการทำงานในส่วนอื่นๆ มาด้วย นั่นก็คือแอปพลิเคชันจากประเทศเกาหลีใต้ชื่อ Gudak Cam รูปร่างหน้าตาของแอปถูกออกแบบให้เหมือนด้านหลังของกล้องฟิล์ม ซึ่งมีช่องมองภาพเล็กๆ สามารถถ่ายภาพได้ 24 รูปต่อฟิล์มหนึ่งม้วน หลังจากถ่ายรูปครบม้วนแล้วต้องรออีกสามวันจึงจะสามารถเห็นรูปที่ล้างออกมาได้ โดยที่รูปจะถูกสุ่มออกมาให้มีความแตกต่างกันไป
คำว่า Gudak นั้นมาจากคำว่า “กูดักดาลิ (구닥다리)” ที่แปลว่าล้าสมัย เว็บไซต์ของผู้ผลิตอธิบายไว้ว่า ในยุคปัจจุบันที่การลบหรือแก้ไขนั้นทำได้ง่าย ประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นจากการเลือกเก็บความทรงจำอันมีค่าต่างๆ รวมถึงเสน่ห์ของการรอคอยนั้นเริ่มหายไป
คังซังฮุน ประธานบริษัท Screw Bar ซึ่งเป็นผู้ผลิตแอปพลิเคชันนี้ขยายความว่า การที่คนในยุคปัจจุบันมีตัวเลือกมากเกินไปมักจะทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายกับตัวเลือกเหล่านี้ แต่ Gudak นั้นเป็นสิ่งที่ใช้ได้ง่ายและทำให้ทุกคนจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำได้มากกว่า ส่วนการที่ต้องรอรูปภาพถึงสามวันนั้น เพราะเป็นช่วงที่ความจำระยะสั้นจะกลายเป็นความจำระยะยาว แม้กล้องดิจิทัลจะสามารถถ่ายได้เป็นพันรูปต่อวัน แต่ผู้ใช้มักไม่ได้กลับเข้าไปดูรูปพวกนั้นสักเท่าไร เขาหวังว่ารูปที่ได้จากการรอคอยจะกลายเป็นความทรงจำที่มีค่าสำหรับผู้ใช้
แนวคิดของคังซังฮุนสอดคล้องกับทฤษฎี Zeigarnik Effect ของ บลูม่า ไซร์การ์นิค (Bluma Zeigarnik) นักจิตวิทยาชาวรัสเซียที่คิดค้นขึ้นในปี 2470 จากการสังเกตว่า พนักงานเสิร์ฟมักจะจำรายการอาหารที่ลูกค้าสั่งในตอนแรกได้มากกว่าตอนลูกค้าจ่ายเงินค่าอาหารแล้ว เมื่อลองทำการทดลองจึงสรุปได้ว่า คนเรามักจะจำสิ่งที่ยังไม่เสร็จหรือถูกเว้นช่วงไปได้ดีกว่าสิ่งที่ทำสำเร็จรวดเดียวเลย ฉะนั้น หากลองคิดตามทฤษฎีนี้ดูแล้ว ภาพจากฟิล์มที่เมื่อถ่ายแล้วยังไม่เห็นในทันทีย่อมอยู่ในห้วงคำนึงของผู้ถ่ายรูปนั้นๆ มากกว่ารูปที่ถ่ายปุ๊บได้ปั๊บอย่างแน่นอน
อาจารย์พรรณพิมล นาคนาวา อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นในเชิงสังคมวิทยาต่อปรากฏการณ์นี้ว่า การเปลี่ยนผ่านจากกล้องฟิล์มซึ่งเป็นตัวแทนของยุคแอนะล็อก มาเป็นกล้องดิจิทัลหรือแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เป็นตัวแทนของเทคโนโลยี ทำให้การควบคุมการกระทำของมนุษย์นั้นเปลี่ยนไปด้วย ในการใช้กล้องฟิล์ม ผู้ถ่ายภาพทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ (active) กล่าวคือพวกเขาได้เลือกตั้งแต่รุ่นของกล้อง ชนิดของฟิล์มที่จะใช้ การตั้งค่าต่างๆ ในกล้อง และการนำฟิล์มไปล้างที่ร้านหรือล้างด้วยตนเอง ดังนั้นอำนาจในการควบคุมยังคงอยู่ในมือของคน หากแต่ระบบดิจิทัลนั้นมักเชื่อมอยู่กับคำว่าอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ระบบจัดการให้ผู้ใช้เอง อย่างเช่น การสุ่มฟิลเตอร์ใส่รูป อาจทำให้รู้สึกว่าการตัดสินใจไม่ได้เป็นของคนโดยสมบูรณ์อีกต่อไป ผู้ใช้กลายเป็นผู้รับการกระทำ (passive) โดยปริยาย ดังนั้นอาการโหยหาอดีต (Nostalgia) ในช่วงที่มนุษย์ยังคงเป็นผู้ควบคุมสิ่งต่างๆ นั้นย่อมเกิดขึ้นได้
Nostalgia แปลว่า ความโหยหา ความคิดถึง หรือความอาลัยอาวรณ์ ในทางจิตวิทยาจะนับเป็นอาการอย่างหนึ่งที่ลักษณะของอาการคือการนึกถึงอดีต
จอห์น เทียร์นี่ (John Tierney) ได้เขียนบทความ “การโหยหาอดีตมีประโยชน์อะไรหรือไม่ งานวิจัยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ส่วนหนึ่ง (What Is Nostalgia Good For? Quite a Bit, Research Shows)” ในเว็บไซต์ของนิตยสารนิวยอร์กไทมส์ เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2556 ว่า การอธิบายความโหยหาอดีตนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละสมัย ในช่วงแรกๆ อาการนี้มักจะถูกเชื่อมโยงกับโรคซึมเศร้า แต่ในปัจจุบันมีผลวิจัยใหม่ๆ บอกว่าการโหยหาอดีตเป็นสิ่งที่ช่วยต้านทานความเหงา ความเบื่อหน่ายและความกังวลได้ แถมยังช่วยให้คนมีภูมิคุ้มกันต่อโลกภายนอกมากขึ้นอีกด้วย อารมณ์นี้ยังเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ไม่เว้นแม้แต่เด็ก บางคนก็นึกถึงอดีตที่หอมหวานเพื่อปลอบประโลมตัวเองในปัจจุบัน หรือบางคนก็นึกถึงอดีตเพื่อหาความหมายที่มีค่าจากสิ่งที่ผ่านมาแล้ว
เชาว์ฤทธิ์ สังสมศักดิ์ เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก A FILM เพจแนะนำและขายฟิล์มประเภทต่างๆ กล่าวถึงประสบการณ์ในการใช้กล้องฟิล์มของเขาว่า เขาโตขึ้นมาในช่วงที่เป็นรอยต่อของยุคดิจิทัลและแอนะล็อก จึงกลายเป็นผู้ใช้กล้องทั้งสองแบบ เขาเพิ่งกลับมาใช้กล้องฟิล์มอย่างจริงจังเมื่อประมาณสามปีที่แล้ว จากการที่ภรรยาหันมาสนใจของวินเทจ เขาบอกอีกว่าการที่ต้องรอลุ้นว่าจะได้ภาพออกมาแบบไหนเป็นความรู้สึกที่สนุกดี
“เรารู้เลยว่าตลอดมาเราถ่ายภาพเน้นสวย เน้นจำนวนภาพให้เยอะๆ เข้าไว้ โดยใช้กล้องดิจิทัล พอมาใช้กล้องฟิล์ม เราได้มีเวลาดูเรื่องรอบตัวมากขึ้น ไม่ใช่เอาแต่ถ่ายรูป” เชาวฤทธิ์บอก
ผู้ใช้แอปพลิเคชัน Gudak อย่าง ชมพวรรณ พันธุ์สนิท บอกว่าที่เลือกซื้อแอปพลิเคชันเพราะชอบฟิลเตอร์และลักษณะของหน้าแอปพลิเคชันที่รูปร่างเหมือนกำลังถือกล้องฟิล์มขนาดพกพา แต่ตนเองและเพื่อนอีกส่วนหนึ่งไม่ได้เลือกที่จะรอรับภาพหลังจากผ่านไปแล้วสามวัน การตั้งค่าวันที่ในโทรศัพท์ช่วยให้พวกเธอได้ภาพที่ถ่ายหมดม้วนแล้วทันที บางครั้งที่รู้สึกอยากได้ภาพที่ถ่ายแล้วแต่ยังใช้ฟิล์มในแอปไม่หมดม้วน ก็จะกดถ่ายภาพสุ่มๆ ให้ครบ 24 ภาพ แล้วโกงเวลาให้ได้ภาพตอนนั้นเลย ถึงอย่างนั้นก็ยังมีเพื่อนบางคนที่รอตามเวลาปกติ
ชมพวรรณเสริมว่า รูปที่ได้จากแอปพลิเคชันกับรูปที่ถ่ายจากกล้องดิจิทัลหรือโทรศัพท์นั้นไม่ต่างกันนัก ต่างกันแค่โทนสีหรือลูกเล่นของรูปภาพเท่านั้น อีกทั้งในตอนนี้ก็เริ่มมีแอปพลิเคชันคล้ายๆ กันปรากฏขึ้นมาใหม่อีกมาก แถมยังไม่ต้องเสียเงินซื้อด้วย จึงมีคนบางส่วนเริ่มเบนไปใช้แอปพลิเคชันอื่นๆ บ้างแล้ว
ทางผู้ผลิตอาจคิดว่า การนำการทำงานของกล้องฟิล์มเข้ามาใส่ในแอปพลิเคชันจะช่วยเยียวยาการโหยหาอดีตที่มนุษย์ยังมีอำนาจในการตัดสินใจเบ็ดเสร็จได้ แต่หากลองมองดูอีกที ช่องทางที่ผู้ผลิตเลือกใช้นั้นก็อยู่ในระบบดิจิทัล ซึ่งก็ยังเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าเป็นผู้รอรับผลเฉยๆ อยู่ดี แอปพลิเคชันจึงอาจไม่ใช่คำตอบในการเยียวยาการโหยหาอดีต เห็นได้จากการแสดงออกของผู้ใช้แอปพลิเคชัน Gudak บางคนที่สุดท้ายก็หาทางปรับเวลาเพื่อให้ได้รูปทันที
อ้างอิง: The Psychology Book โดย Nigel C. Benson และคณะ (2555)
Share this:
Like this: