ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ สายลมที่อ่อนโยนพัดพลิ้วพาเศษใบไม้ใบหญ้าปลิวข้ามทางเดินที่เป็นดั่งลู่วิ่งให้ผู้คนออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างมีรอยยิ้มที่อิ่มเอมอันเกิดจากการมาทำกิจกรรมร่วมกันในสวน บ้างก็กระโดดเชือก บ้างก็ตีแบดมินตัน หรือแม้แต่ปั่นกังหันน้ำพลังงานมนุษย์กันอย่างสนุกสนาน เสียงคลอของน้ำพุที่ดังอย่างต่อเนื่องประกอบกับเสียงใบไม้ไหวประสานกับแสงไฟในยามพลบค่ำเป็นเส้นโค้งทอดยาวตามแนวสะพานข้ามแอ่งรองรับน้ำตามธรรมชาติ เกิดฉากที่มีชีวิตชีวาบนพื้นผิวน้ำที่สะท้อนผ่านเบื้องบนดั่งกระจกวิเศษที่งดงาม
โครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2560 ด้วยพื้นที่สีเขียวกว่า 29 ไร่ ประกอบด้วยอาคารเอนกประสงค์สำหรับจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ พร้อมที่จอดรถกว่า 200 คัน พื้นที่ของโครงการยังรายล้อมไปด้วยต้นไม้ท้องถิ่นที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ต้นจามจุรี ต้นมะค่า ต้นตะเคียน อีกทั้งยังมีห้องเรียนกลางแจ้งแปดแห่งทั่วอุทยาน เช่น Earth Room ที่รวบรวมดินหลากชนิดจากทั่วประเทศ Herb Room ที่รวบรวมสมุนไพรนานาชนิด หรือ Sand Room ลานสนามเด็กเล่นของเด็กๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ทำกิจกรรมที่รองรับผู้คนตั้งแต่กลุ่มเล็กไม่เกิน 50 คน ไปจนถึงเต็มสนามที่จุได้เกือบ 10,000 คน พื้นที่ลาดเอียงของสวนยังทำให้น้ำฝนไหลมารวมกันที่สระรับน้ำตามธรรมชาติบริเวณด้านหน้าและด้านข้างของอุทยาน เพื่อกักเก็บน้ำและหมุนเวียนน้ำไว้ใช้หล่อเลี้ยงต้นไม้บริเวณสวนทั้งหมดผ่านระบบบำบัดน้ำเสียตามธรรมชาติจากรากต้นไม้ได้ตลอดทั้งปี
ญานิศา สิทธารถ นิสิตชั้นปีที่สอง คณะครุศาสตร์ บอกว่า ชอบที่อุทยานแห่งนี้เป็นที่พักผ่อนและผ่อนคลายให้กับทุกคนได้ ส่วน ศุภเสกข์ คาดการณ์ไกล นิสิตชั้นปีที่หนึ่ง คณะวิทยาศาสตร์ บอกว่าอุทยานจุฬาฯ ดูร่มรื่น ต่างจากบริเวณพื้นที่รอบข้างที่เต็มไปด้วยตึก อีกทั้งยังอยากให้นิสิตนักศึกษา เด็กและผู้ใหญ่ได้มาวิ่งเล่น ทำกิจกรรม เล่นกีฬากัน
อุทยานช่วยเชื่อมชุมชุน-เมืองเข้าด้วยกัน

สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบุว่า พื้นที่โครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ หรือ CU Smart City ซึ่งเป็นโครงการตามแผนแม่บทเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณสวนหลวง-สามย่าน ขนาด 291 ไร่ ซึ่งมีความหนาแน่นของประชากรและมีการบริโภคทรัพยากรสูงใจกลางเมือง และเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร แต่เดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งค้าอะไหล่รถเก่า สินค้ากีฬา สำนักงาน ร้านค้า ร้านอาหาร มากว่า 40 ปี และมีสิ่งปลูกสร้างที่ทรุดโทรมเพราะถูกใช้งานมายาวนาน ปัญหาของโครงการมีตั้งแต่ขนาดของพื้นที่ซึ่งต้องใช้เวลานานในการพัฒนา อีกทั้งยังขาดพื้นที่สีเขียว และการเชื่อมต่อโดยตรงกับรถไฟฟ้าซึ่งอยู่ไกลระยะเดินเท้า ผู้พัฒนาโครงการจึงสร้างกระบวนการร่วมหารือกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประชาคมจุฬาฯ กลุ่มผู้เช่า องค์กรที่มีบทบาทสำคัญทางนโยบาย ภาคีภาครัฐ เอกชน และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ไขปัญหาและหาทางออกร่วมกัน
ผลจากการหารือร่วมกันหลายฝ่ายจึงได้เกิดแนวคิดหลักของโครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่สามส่วน ได้แก่ พื้นที่ต้นแบบเมืองสุขภาวะที่ผู้คนจะสามารถใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติได้อย่างมีสุขภาพที่ดี พื้นที่ต้นแบบทางธุรกิจ-สังคมเมืองใหม่ที่จะเป็นจุดนัดพบระหว่างผลผลิตทางวิชาการกับประชาคมกลุ่มธุรกิจต่างๆ และพื้นที่ต้นแบบเมืองอัจฉริยะที่จะนำเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบต่างๆ มาปรับใช้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อผู้อยู่อาศัยในเมือง
นอกจากนี้ยังออกแบบให้มีพื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับการทำกิจกรรม สันทนาการต่างๆ ที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์รูปแบบวิถีชีวิตของคนเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียวเชิงนิเวศที่ผู้คนสามารถเดินเชื่อมต่อกันได้อย่างสะดวกสบายและต่อเนื่องตลอดทั้งโครงการ รวมทั้งยังมีเทคโนโลยีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบทำความเย็นครบวงจร ระบบพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนร้อยละ 10 ของพื้นที่ พร้อมทั้งพื้นที่จอดรถรวมกว่า 15,000 คัน และรถไฟฟ้าล้อยางเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความสะดวกและคล่องตัวในการสัญจรภายในโครงการ

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC) องค์กรความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าพื้นที่โครงการเมืองอัจฉริยะแบ่งออกเป็น 5 โซน แต่ละโซนจะประกอบไปด้วยพื้นที่พาณิชยกรรม พื้นที่สำนักงาน ศูนย์สร้างสรรค์และนวัตกรรม ศูนย์ประชุมและการจัดแสดงกิจกรรม นิทรรศการต่างๆ และโรงแรม รวมทั้งมีพื้นที่สีเขียวทั้งภายในอาคารและนอกอาคารเพื่อเติมเต็มพื้นที่สีเขียวและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ จะเรียกการแบ่งโซนต่างๆ ว่า หมอน โดยแต่ละหมอนก็จะถูกพัฒนาไปตามแนวคิดการแบ่งโซนที่ถูกวางเอาไว้
ชนม์นิภา ชาวอบทม นิสิตชั้นปีที่สี่ คณะนิติศาสตร์ มองว่าอยากสนับสนุนให้โครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะเกิดขึ้นโดยเร็ว หากสามารถตอบสนองสังคมผู้สูงอายุได้ เนื่องจากการพัฒนาเมืองในปัจจุบันยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงวัยตามหลักการออกแบบสากล ซึ่งทุกคนควรสามารถเข้าถึงและใช้งานได้จริง
โอวิทย์ ถนอม ผู้จัดการร้านอาหารแห่งหนึ่งในโครงการ เล่าว่าโครงการบางส่วนยังคงเงียบเหงาเนื่องจากการเข้าถึงพื้นที่ที่ไม่อำนวย ต่างจากฝั่งสยามสแควร์ที่มีรถไฟฟ้าเข้าถึงได้สะดวก “ลูกค้าของร้านส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำที่รู้จักร้านมาก่อน และนิสิตจุฬาฯ ที่อยู่ไม่ไกล” และยังได้เล่าว่าพื้นที่จอดรถที่อยู่ติดกับร้านสามารถดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการได้
แนวคิด Smart City ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สถาบันอาคารเขียวไทย หน่วยงานอิสระจากการรวมกลุ่มอาสาสมัครของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งให้การรับรองอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ระบุในเว็บไซต์ว่า Smart City คือเมืองที่ได้รับการออกแบบโดยมุ่งส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานทดแทน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรของเมืองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ระบบบริหารจัดการเครือข่ายพลังงานอัจฉริยะ ระบบมิเตอร์อัตโนมัติ ระบบควบคุมการจราจรและอาคารอัจฉริยะ และระบบตรวจวัดมลภาวะ เป็นต้น เกณฑ์ประเมิน Smart City ประกอบด้วยตัวชี้วัด 7 ส่วนได้แก่
- พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) คือการผลิตพลังงานทดแทนและสะสมพลังงาน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้า
- การสัญจรอัจฉริยะ (Smart Mobility) คือการวางผังโครงสร้างของระบบพลังงาน ระบบการจ่ายน้ำ ระบบการขนส่ง ระบบโดยสารสาธารณะ การบริหารที่จอดรถ การส่งเสริมการเดิน การใช้จักรยาน การจัดเตรียมสถานพยาบาล ระบบฉุกเฉิน ระบบความปลอดภัย รวมถึงการบริหารจัดการขยะและน้ำเสีย
- ชุมชนอัจฉริยะ (Smart Community) คือการส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี ด้านความปลอดภัย สวัสดิภาพ สุขภาพ การศึกษา การป้องกันภัยพิบัติ การดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ
- สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) คือการรักษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ การส่งเสริมการเกษตรและแหล่งผลิตอาหาร พื้นที่สีเขียว การบริหารจัดการมลภาวะทางน้ำและอากาศ
- เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) คือโมเดลทางธุรกิจและนวัตกรรม เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน การมีส่วนร่วมและเป็นหุ้นส่วน การบริหารรายได้และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเมืองที่ยั่งยืน
- อาคารอัจฉริยะ (Smart Building) คือการพัฒนาอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ เช่น ระบบอาคารหรือบ้านอัจฉริยะ
- การปกครองอัจฉริยะ (Smart Governance) คือการนำหลักการเมืองอัจฉริยะมาบริหารจัดการภาวะความเป็นผู้นำ ยุทธศาสตร์ โครงสร้าง และการวัดผลสำเร็จ
นอกจากนี้โครงการวิจัยเชิงนโยบายเพื่อเสนอแนะแนวทางการยกระดับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้กรอบ Internet of Things และ Smart City ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ยังระบุว่า Smart City คือเมืองที่ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำให้คุณภาพชีวิตในเมืองนั้นๆ ดีขึ้น รวมถึงลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานของเมืองลงอย่างยั่งยืน การสร้าง Smart City ต้องประกอบด้วย 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ Efficient การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด Sustainable มีความยั่งยืนทั้งในแง่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต้นทุน และ Liveable คุณภาพชีวิตของคนอยู่อาศัยต้องดี

ผศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าสำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ พยายายามก้าวไปสู่การสร้างเมืองอัจฉริยะโดยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ส่งเสริมการพัฒนาร่วมกับแผนแม่บท
ผศ.ดร.จิตติศักดิ์อธิบายว่า แต่เดิมอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ไม่ได้ถูกวางให้เป็นพื้นที่ริเริ่มโครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ เพียงแต่เป็นองค์ประกอบหนึ่ง เนื่องจากเป็นโครงการที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ผู้บริหารชุดก่อนในวาระครบรอบ 100 ปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวแก่ชุมชนโดยรอบ และตอบแทนสังคมในฐานะบทบาทมหาวิทยาลัยสีเขียว
ด้านปัญหาการเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ ภายในโครงการ ผศ.ดร.จิตติศักดิ์กล่าวว่า ระบบการขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของ Smart City ที่จะสร้างเมืองให้เติบโต สำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ จึงมีแผนให้บริการรถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รถปอพ.) ที่จะเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติและสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสามย่าน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกและดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาในพื้นที่ได้มากขึ้น หากในอนาคตพื้นที่เมืองเจริญขึ้น จำนวนประชากรและความถี่ของกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น สำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ คาดว่าจะนำรถรางมาให้บริการแทนรถโดยสารภายในจุฬาฯ เนื่องจากสามารถขนส่งผู้คนได้จำนวนมาก ส่วนรถไฟรางเดี่ยวหรือโมโนเรลนั้นเคยมีการศึกษา แต่พบว่าค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาและดำเนินการไม่คุ้มค่ากับปริมาณผู้ใช้งาน
ผศ.ดร.จิตติศักดิ์กล่าวว่า สำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ จะพยายามพัฒนาโครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะให้ดี เพราะโครงการไม่ได้เพียงตอบโจทย์เฉพาะคนในจุฬาฯ แต่ยังสร้างประโยชน์ให้กับชุุมชนและสังคมด้วย
“โครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะจะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ชุมชนยั่งยืน และสร้างการเชื่อมต่อด้วยระบบขนส่งสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี” ผศ.ดร.จิตติศักดิ์ กล่าว
FYI : Smart City คืออะไร?
Smart City เป็นคำเรียกเมืองที่มีระบบสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้คุณภาพในการใช้ชีวิตใน เมืองนั้นดีขึ้น ลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และลดการใช้พลังงานของเมืองลง นอกจากนี้ยังมีคำนิยามอื่นๆ อีก เช่น
- Smart City คือ เมืองที่มีเทคโนโลยีดิจิตอลที่ฝังอยู่ในทุกฟังก์ชันของเมือง
- Smart City คือ เมืองที่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายของโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ โครงสร้าง พื้นฐานด้าน IT โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจ เพื่อทำให้เกิดการยกระดับความอัจฉริยะของเมือง
- Smart City คือ เมืองที่เป็นการรวมกันระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และโครงสร้างการ วางแผน และออกแบบเพื่อที่จะทำให้เป็นรูปร่างและเพิ่มความเร็วในกระบวนการของระบบราชการ และสื่อถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาการจัดการความซับซ้อนของเมือง เพื่อความน่าอยู่และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ เป็นรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิตอล หรือข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร (ICT) ในการเพิ่มประสิทธิและคุณภาพของบริการชุมชน เพื่อช่วยในการลดต้นทุน และลดการบริโภคของประชากร โดยยังคงเพิ่มประสิทธิภาพให้ ประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
จากคำจำกัดความของ Smart City รูปแบบของเมืองอัจฉริยะจึงควรเป็น “เมืองที่มีระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ ที่ทำให้คุณภาพในการใช้ชีวิตในเมืองๆ นั้นดีขึ้น ลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และลดการใช้ พลังงานของเมืองลงอย่างยั่งยืน”
ที่มา : โครงการวิจัยเชิงนโยบายเพื่อเสนอแนะแนวทางการยกระดับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้กรอบของ Internet of Things และ Smart City ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
Like this:
Like Loading...
ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ สายลมที่อ่อนโยนพัดพลิ้วพาเศษใบไม้ใบหญ้าปลิวข้ามทางเดินที่เป็นดั่งลู่วิ่งให้ผู้คนออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างมีรอยยิ้มที่อิ่มเอมอันเกิดจากการมาทำกิจกรรมร่วมกันในสวน บ้างก็กระโดดเชือก บ้างก็ตีแบดมินตัน หรือแม้แต่ปั่นกังหันน้ำพลังงานมนุษย์กันอย่างสนุกสนาน เสียงคลอของน้ำพุที่ดังอย่างต่อเนื่องประกอบกับเสียงใบไม้ไหวประสานกับแสงไฟในยามพลบค่ำเป็นเส้นโค้งทอดยาวตามแนวสะพานข้ามแอ่งรองรับน้ำตามธรรมชาติ เกิดฉากที่มีชีวิตชีวาบนพื้นผิวน้ำที่สะท้อนผ่านเบื้องบนดั่งกระจกวิเศษที่งดงาม
โครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2560 ด้วยพื้นที่สีเขียวกว่า 29 ไร่ ประกอบด้วยอาคารเอนกประสงค์สำหรับจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ พร้อมที่จอดรถกว่า 200 คัน พื้นที่ของโครงการยังรายล้อมไปด้วยต้นไม้ท้องถิ่นที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ต้นจามจุรี ต้นมะค่า ต้นตะเคียน อีกทั้งยังมีห้องเรียนกลางแจ้งแปดแห่งทั่วอุทยาน เช่น Earth Room ที่รวบรวมดินหลากชนิดจากทั่วประเทศ Herb Room ที่รวบรวมสมุนไพรนานาชนิด หรือ Sand Room ลานสนามเด็กเล่นของเด็กๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ทำกิจกรรมที่รองรับผู้คนตั้งแต่กลุ่มเล็กไม่เกิน 50 คน ไปจนถึงเต็มสนามที่จุได้เกือบ 10,000 คน พื้นที่ลาดเอียงของสวนยังทำให้น้ำฝนไหลมารวมกันที่สระรับน้ำตามธรรมชาติบริเวณด้านหน้าและด้านข้างของอุทยาน เพื่อกักเก็บน้ำและหมุนเวียนน้ำไว้ใช้หล่อเลี้ยงต้นไม้บริเวณสวนทั้งหมดผ่านระบบบำบัดน้ำเสียตามธรรมชาติจากรากต้นไม้ได้ตลอดทั้งปี
ญานิศา สิทธารถ นิสิตชั้นปีที่สอง คณะครุศาสตร์ บอกว่า ชอบที่อุทยานแห่งนี้เป็นที่พักผ่อนและผ่อนคลายให้กับทุกคนได้ ส่วน ศุภเสกข์ คาดการณ์ไกล นิสิตชั้นปีที่หนึ่ง คณะวิทยาศาสตร์ บอกว่าอุทยานจุฬาฯ ดูร่มรื่น ต่างจากบริเวณพื้นที่รอบข้างที่เต็มไปด้วยตึก อีกทั้งยังอยากให้นิสิตนักศึกษา เด็กและผู้ใหญ่ได้มาวิ่งเล่น ทำกิจกรรม เล่นกีฬากัน
อุทยานช่วยเชื่อมชุมชุน-เมืองเข้าด้วยกัน
สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบุว่า พื้นที่โครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ หรือ CU Smart City ซึ่งเป็นโครงการตามแผนแม่บทเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณสวนหลวง-สามย่าน ขนาด 291 ไร่ ซึ่งมีความหนาแน่นของประชากรและมีการบริโภคทรัพยากรสูงใจกลางเมือง และเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร แต่เดิมพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งค้าอะไหล่รถเก่า สินค้ากีฬา สำนักงาน ร้านค้า ร้านอาหาร มากว่า 40 ปี และมีสิ่งปลูกสร้างที่ทรุดโทรมเพราะถูกใช้งานมายาวนาน ปัญหาของโครงการมีตั้งแต่ขนาดของพื้นที่ซึ่งต้องใช้เวลานานในการพัฒนา อีกทั้งยังขาดพื้นที่สีเขียว และการเชื่อมต่อโดยตรงกับรถไฟฟ้าซึ่งอยู่ไกลระยะเดินเท้า ผู้พัฒนาโครงการจึงสร้างกระบวนการร่วมหารือกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประชาคมจุฬาฯ กลุ่มผู้เช่า องค์กรที่มีบทบาทสำคัญทางนโยบาย ภาคีภาครัฐ เอกชน และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ไขปัญหาและหาทางออกร่วมกัน
ผลจากการหารือร่วมกันหลายฝ่ายจึงได้เกิดแนวคิดหลักของโครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่สามส่วน ได้แก่ พื้นที่ต้นแบบเมืองสุขภาวะที่ผู้คนจะสามารถใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติได้อย่างมีสุขภาพที่ดี พื้นที่ต้นแบบทางธุรกิจ-สังคมเมืองใหม่ที่จะเป็นจุดนัดพบระหว่างผลผลิตทางวิชาการกับประชาคมกลุ่มธุรกิจต่างๆ และพื้นที่ต้นแบบเมืองอัจฉริยะที่จะนำเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบต่างๆ มาปรับใช้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อผู้อยู่อาศัยในเมือง
นอกจากนี้ยังออกแบบให้มีพื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับการทำกิจกรรม สันทนาการต่างๆ ที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์รูปแบบวิถีชีวิตของคนเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียวเชิงนิเวศที่ผู้คนสามารถเดินเชื่อมต่อกันได้อย่างสะดวกสบายและต่อเนื่องตลอดทั้งโครงการ รวมทั้งยังมีเทคโนโลยีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบทำความเย็นครบวงจร ระบบพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนร้อยละ 10 ของพื้นที่ พร้อมทั้งพื้นที่จอดรถรวมกว่า 15,000 คัน และรถไฟฟ้าล้อยางเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความสะดวกและคล่องตัวในการสัญจรภายในโครงการ
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC) องค์กรความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าพื้นที่โครงการเมืองอัจฉริยะแบ่งออกเป็น 5 โซน แต่ละโซนจะประกอบไปด้วยพื้นที่พาณิชยกรรม พื้นที่สำนักงาน ศูนย์สร้างสรรค์และนวัตกรรม ศูนย์ประชุมและการจัดแสดงกิจกรรม นิทรรศการต่างๆ และโรงแรม รวมทั้งมีพื้นที่สีเขียวทั้งภายในอาคารและนอกอาคารเพื่อเติมเต็มพื้นที่สีเขียวและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ จะเรียกการแบ่งโซนต่างๆ ว่า หมอน โดยแต่ละหมอนก็จะถูกพัฒนาไปตามแนวคิดการแบ่งโซนที่ถูกวางเอาไว้
ชนม์นิภา ชาวอบทม นิสิตชั้นปีที่สี่ คณะนิติศาสตร์ มองว่าอยากสนับสนุนให้โครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะเกิดขึ้นโดยเร็ว หากสามารถตอบสนองสังคมผู้สูงอายุได้ เนื่องจากการพัฒนาเมืองในปัจจุบันยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงวัยตามหลักการออกแบบสากล ซึ่งทุกคนควรสามารถเข้าถึงและใช้งานได้จริง
โอวิทย์ ถนอม ผู้จัดการร้านอาหารแห่งหนึ่งในโครงการ เล่าว่าโครงการบางส่วนยังคงเงียบเหงาเนื่องจากการเข้าถึงพื้นที่ที่ไม่อำนวย ต่างจากฝั่งสยามสแควร์ที่มีรถไฟฟ้าเข้าถึงได้สะดวก “ลูกค้าของร้านส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำที่รู้จักร้านมาก่อน และนิสิตจุฬาฯ ที่อยู่ไม่ไกล” และยังได้เล่าว่าพื้นที่จอดรถที่อยู่ติดกับร้านสามารถดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการได้
แนวคิด Smart City ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สถาบันอาคารเขียวไทย หน่วยงานอิสระจากการรวมกลุ่มอาสาสมัครของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งให้การรับรองอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ระบุในเว็บไซต์ว่า Smart City คือเมืองที่ได้รับการออกแบบโดยมุ่งส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานทดแทน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรของเมืองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ระบบบริหารจัดการเครือข่ายพลังงานอัจฉริยะ ระบบมิเตอร์อัตโนมัติ ระบบควบคุมการจราจรและอาคารอัจฉริยะ และระบบตรวจวัดมลภาวะ เป็นต้น เกณฑ์ประเมิน Smart City ประกอบด้วยตัวชี้วัด 7 ส่วนได้แก่
นอกจากนี้โครงการวิจัยเชิงนโยบายเพื่อเสนอแนะแนวทางการยกระดับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้กรอบ Internet of Things และ Smart City ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ยังระบุว่า Smart City คือเมืองที่ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำให้คุณภาพชีวิตในเมืองนั้นๆ ดีขึ้น รวมถึงลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานของเมืองลงอย่างยั่งยืน การสร้าง Smart City ต้องประกอบด้วย 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ Efficient การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด Sustainable มีความยั่งยืนทั้งในแง่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต้นทุน และ Liveable คุณภาพชีวิตของคนอยู่อาศัยต้องดี
ผศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าสำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ พยายายามก้าวไปสู่การสร้างเมืองอัจฉริยะโดยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ส่งเสริมการพัฒนาร่วมกับแผนแม่บท
ผศ.ดร.จิตติศักดิ์อธิบายว่า แต่เดิมอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ไม่ได้ถูกวางให้เป็นพื้นที่ริเริ่มโครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ เพียงแต่เป็นองค์ประกอบหนึ่ง เนื่องจากเป็นโครงการที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ผู้บริหารชุดก่อนในวาระครบรอบ 100 ปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวแก่ชุมชนโดยรอบ และตอบแทนสังคมในฐานะบทบาทมหาวิทยาลัยสีเขียว
ด้านปัญหาการเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ ภายในโครงการ ผศ.ดร.จิตติศักดิ์กล่าวว่า ระบบการขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของ Smart City ที่จะสร้างเมืองให้เติบโต สำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ จึงมีแผนให้บริการรถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รถปอพ.) ที่จะเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติและสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสามย่าน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกและดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาในพื้นที่ได้มากขึ้น หากในอนาคตพื้นที่เมืองเจริญขึ้น จำนวนประชากรและความถี่ของกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น สำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ คาดว่าจะนำรถรางมาให้บริการแทนรถโดยสารภายในจุฬาฯ เนื่องจากสามารถขนส่งผู้คนได้จำนวนมาก ส่วนรถไฟรางเดี่ยวหรือโมโนเรลนั้นเคยมีการศึกษา แต่พบว่าค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาและดำเนินการไม่คุ้มค่ากับปริมาณผู้ใช้งาน
ผศ.ดร.จิตติศักดิ์กล่าวว่า สำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ จะพยายามพัฒนาโครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะให้ดี เพราะโครงการไม่ได้เพียงตอบโจทย์เฉพาะคนในจุฬาฯ แต่ยังสร้างประโยชน์ให้กับชุุมชนและสังคมด้วย
“โครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะจะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ชุมชนยั่งยืน และสร้างการเชื่อมต่อด้วยระบบขนส่งสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี” ผศ.ดร.จิตติศักดิ์ กล่าว
FYI : Smart City คืออะไร?
Smart City เป็นคำเรียกเมืองที่มีระบบสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้คุณภาพในการใช้ชีวิตใน เมืองนั้นดีขึ้น ลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และลดการใช้พลังงานของเมืองลง นอกจากนี้ยังมีคำนิยามอื่นๆ อีก เช่น
จากคำจำกัดความของ Smart City รูปแบบของเมืองอัจฉริยะจึงควรเป็น “เมืองที่มีระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ ที่ทำให้คุณภาพในการใช้ชีวิตในเมืองๆ นั้นดีขึ้น ลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และลดการใช้ พลังงานของเมืองลงอย่างยั่งยืน”
ที่มา : โครงการวิจัยเชิงนโยบายเพื่อเสนอแนะแนวทางการยกระดับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้กรอบของ Internet of Things และ Smart City ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
Share this:
Like this: