คนทั่วไปอาจจะเข้าใจว่า บอร์ดเกม คือเกมเศรษฐีหรือเกมกระดานยุคเก่าๆ และมองว่าคนที่เล่นบอร์ดเกมมักจะไม่ชอบเข้าสังคมและไม่ทันเทคโนโลยี แต่ในสมัยนี้ มีบอร์ดเกมรูปแบบต่างๆ ให้เล่นมากขึ้น นอกจากผู้เล่นจะได้รับความสนุกจากการเล่นแล้ว ยังได้ฝึกทักษะการเรียนรู้คนอื่นและการเข้าสังคมได้อีกด้วย
บอร์ดเกมเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เห็นได้จากร้านบอร์ดเกมมากมายตามย่านต่างๆ ในกรุงเทพ ด้วยราคาเล่นราว 30-50 บาทต่อชั่วโมง แถมยังมีอาหารขายภายในร้าน ทำให้สามารถนั่งเล่นได้หลายชั่วโมง หรือเล่นได้ทั้งวันถ้าร่างกายไหว
แต่การเล่นบอร์ดเกมมักจะเหมาะสำหรับกลุ่มเพื่อนหลายๆ คน แล้วถ้าคุณมาคนเดียว หรือไม่มีเพื่อนที่ชอบเล่นบอร์ดเกมเหมือนกัน จะทำอย่างไร จะลองขอไปเล่นกับคนที่ไม่รู้จักดูได้ไหม แล้วผลจะเป็นอย่างไร
การเล่นบอร์ดเกมของคนที่เจอกันครั้งแรก
ผู้เขียนทดลองเชิญนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยห้าคนจากสามคณะที่ไม่รู้จักกันมาก่อนมาเล่นบอร์ดเกมด้วยกันสามเกม ได้แก่ Crossfire, Anomia และ Kakerlaken-Poker ซึ่งแต่ละเกมมีลักษณะการเล่นที่แตกต่างกันไป เกม Crossfire ต้องใช้การสนทนาเพื่อหาเป้าหมายของตัวเองในการทำภารกิจ เกม Anomia อาศัยความรวดเร็วและความรู้ในการตอบคำถาม และเกม Kakerlaken-Poker ใช้ทักษะการโกหกและทำหน้านิ่งเพื่อไม่ให้ถูกจับได้
กติกาเกม Crossfire

- ผู้เล่นจะสุ่มไพ่บทบาทคนละใบที่จะมีหน้าที่และเงื่อนไขชนะที่ต่างกันตามรูปด้านล่าง โดยแบ่งเป็นทีมน้ำเงิน ทีมแดง และ Bystander แต่คนเล่นจะไม่รู้ว่าใครอยู่ฝั่งเดียวกัน ต้องหาจากการคาดเดาผ่านการสนทนาในกลุ่ม
- เมื่อผู้เล่นรู้บทบาทของตนแล้ว จะมีเวลาสามนาทีให้พูดคุยกันและบลัฟกันอย่างเต็มที่ เพื่อหาเป้าหมายของตนเองคือ Assassin หรือ VIP เพื่อเตรียมสังหารหลังหมดเวลา
- เมื่อหมดเวลา ให้ทุกคนชี้ไปยังเป้าหมายที่จะยิง แต่คนที่มีปืน คือ Agent กับ Assassin เท่านั้นที่จะยิงสังหารได้ โดย Agent จะยิงก่อน ถ้ายิงโดน Assassin เขาจะตายและยิงสวนไม่ได้ แต่ถ้ายิงไม่โดน Assassin จะเป็นฝ่ายยิงต่อ ถ้ายิงโดน VIP ถือว่าทีมแดงชนะ ถ้ายิงไม่โดนถือว่าทีมน้ำเงินชนะ นอกจากนี้อาจมีเงื่อนไขแพ้ชนะอื่นๆ ตามบทบาทของ Blue/Red Decoy และ Bystander อีกด้วย
ผู้เขียนสังเกตการเล่นของทั้งห้าคนแล้วพบว่า ผู้เล่นก็จะทำทีเล่นทีจริงในการคาดคั้นคำตอบจากอีกฝ่าย เช่นถามว่า “คุณเป็น Assassin หรือไม่” และดูคำตอบ หรือดูอวัจนภาษาว่าเขาพูดจริงหรือไม่ ผู้เล่นมีการเกทับบลัฟแหลก สับขาหลอกไม่ให้อีกฝ่ายคาดเดาบทบาทของตนเองได้ หรือการเปิดเผยตำแหน่งตัวเองเพื่อหาเพื่อนร่วมทีม หรือบางครั้งอาจมีพูดหลอกจนอีกฝ่ายยิงผิดเป้าหมาย เช่น Agent ชักปืนยิง VIP ที่เป็นฝั่งตัวเองจนแพ้ทั้งคู่
บทบาทต่างๆ ก็ส่งผลให้ผู้เล่นมีลักษณะการพูดที่ไม่เหมือนกัน เช่น คนที่มีปืนคือ Agent กับ Assassin จะพูดมาก ถามมาก เพื่อหาเป้าหมายของตัวเอง ขณะที่ VIP มักจะอยู่เงียบๆ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเป้าหมาย ส่วน Decoy ทั้งสองฝั่งจะพูดยั่วยุให้ตัวเองถูกยิงให้ได้ เพราะถ้าถูกยิงจากทีมสีตรงข้ามแล้วตัวเองจะชนะเกม
กติกาเกม Anomia

- บนไพ่จะมีสัญลักษณ์และหมวดหมู่ของสิ่งต่างๆ ระบุไว้บนไพ่ โดยจะแจกไพ่วนไปเรื่อยๆ ถ้าวนถึงคนเดิมแล้ว ให้นำไพ่ใบใหม่ทับใบเก่า โดยผู้เล่นยังไม่ต้องทำอะไร
- เมื่อมีผู้เล่นสองคนที่มีไพ่สัญลักษณ์เดียวกันหงายอยู่บนโต๊ะ ทั้งสองคนต้องแย่งตอบสิ่งของตามหมวดหมู่บนไพ่อีกฝ่ายให้ได้ คนที่ตอบเร็วกว่าและถูกต้องจะได้ไพ่อีกฝ่ายไป เมื่อตอบคำถามจนไม่มีไพ่ที่จับคู่ได้อีก คนที่มีไพ่ในมือมากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ
เนื่องจากเป็นเกมที่ต้องใช้ความไวและความรู้รอบตัวเป็นหลัก ไม่เน้นบลัฟ หรือหลอก ผู้เล่นแต่ละคนจะมองไปที่ไพ่เพื่อสังเกตว่ามีไพ่ที่เหมือนกับของตัวเองหรือไม่เพื่อแย่งตอบ รวมถึงการทักท้วงหากอีกฝ่ายตอบผิดหรือตอบมั่ว หรือในบางทีอาจมีแอบด่าคนระหว่างเล่นเกม เช่น การตอบ “ควาย” ดังๆ ในหมวดหมู่สัตว์ เรียกเสียงหัวเราะในกลุ่มได้ คนที่ได้หมวดหมู่ยากๆ เช่น สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มักจะดีใจ เพราะต้องให้เพื่อนตอบ ซึ่งมักจะตอบไม่ได้ หรือตอบช้าเพราะเสียเวลาคิดนาน
กติกาเกม Kakerlaken-Poker

- ผู้เล่นทุกคนจะได้รับการแจกไพ่จนหมดสำรับ บนไพ่จะเป็นรูปสัตว์ชนิตต่างๆ เช่น แมลงวัน แมลงสาบ แมงป่อง หนู
- เลือกผู้เล่นหนึ่งคน ส่งไพ่หนึ่งใบให้ใครก็ได้ พร้อมบอกว่าไพ่ใบนี้คือสัตว์อะไร ซึ่งอาจตรงหรือไม่ตรงกับในไพ่ในมือก็ได้ คนที่ได้รับไพ่มีสิทธิเลือกว่าจะทาย หรือจะส่งไพ่ต่อ
2.1 ถ้าเลือกที่จะทาย ต้องทายว่าอีกฝ่ายพูดจริงหรือโกหก ถ้าทายถูกคืนไพ่ให้กับคนส่ง ถ้าทายผิดให้เก็บไพ่ไว้ที่ตัวเอง
2.2 ถ้าเลือกที่จะส่ง คนนั้นจะมีสิทธิดูภาพในไพ่ แล้วส่งไพ่ให้คนอื่น จากนั้นทำแบบข้อ 2 คือบอกว่าเป็นสัตว์อะไร อาจจะพูดเหมือนหรือต่างจากคนก่อนหน้าก็ได้ แล้วให้อีกฝ่ายเลือกว่าจะทายเลย หรือส่งไพ่ต่อไปเรื่อยๆ
- คนที่แพ้การทายจะเป็นฝ่ายลงไพ่เล่นต่อ โดยคนที่มีการ์ดแมลงเดียวกันครบ 4 ใบ หรือไพ่ในมือหมดก่อนเป็นฝ่ายแพ้เพียงคนเดียว
ลักษณะของเกมนี้ เนื่องจากเป็นเกมที่ต้องโกหกให้แนบเนียน จะทำให้เห็นว่าเพื่อนคนไหนโกหกเก่งหรือไม่เก่ง และคนไหนจับโกหกเก่งหรือไม่เก่ง คนที่โกหกเก่งมักจะเอาตัวรอดได้โดยพูดจริงสลับโกหก จนเพื่อนคาดเดาไม่ได้ ส่วนคนที่โกหกไม่เก่งจะแสดงออกผ่านอวัจนภาษา คือ น้ำเสียงและท่าทางที่ไม่มั่นใจตอนพูดโกหก และมักถูกระดมแกล้งจากเพื่อนร่วมวงทันที เพราะคนแพ้จะได้ลงไพ่ต่อไปเรื่อยๆ จนไพ่หมดมือและแพ้ในที่สุด เราจะได้เห็นการทำ Poker face หรือหน้านิ่งๆ เพื่อไม่ให้เพื่อให้คนที่ทายไพ่จับได้ว่าคิดอะไรอยู่ บางคนมีการถามย้ำเพื่อสังเกตความผิดปกติของคนส่งไพ่ เพราะถ้าโกหกจะมีท่าทางที่แปลกไป เป็นต้น
จากที่ผู้เขียนสังเกตการเล่นบอร์ดเกมทั้งหมดแล้ว พบว่าช่วงที่เล่นเกมด้วยกันแรกๆ ทั้งห้าคนจะยังไม่ค่อยพูดด้วยกันเท่าไหร่ด้วยความที่ยังไม่รู้จักกันดี แต่เมื่อเล่นไปแล้วความคุ้นเคยเริ่มมีมากขึ้น เนื่องจากบทสนทนาในเกม ก็อาจมีพูดแซวกันบ้าง มีการพูดบลัฟ พูดขู่ พูดแซวที่หนักขึ้นเอาจริงเอาจังมากขึ้น มีความเกรงใจน้อยลงตามอารมณ์ของเกม แต่เมื่อจบเกมแล้วก็จบด้วยเสียงหัวเราะเฮฮา บางคนมีชวนว่า “ถ้าว่างอีกก็ชวนมาเล่นได้”

เกียรติยศ กิระวงศ์เกษม หรือโฟล์ค นิสิตชั้นปีสี่ คณะนิเทศศาสตร์ เล่าประสบการณ์การเล่นบอร์ดเกมกับเพื่อนหน้าใหม่ที่ไม่รู้จักกันว่า “จากการเล่นครั้งแรก จะพบว่าในวงจะมีคนเหมือนเป็นผู้ดำเนินเกม คือคอยตั้งหัวข้อสนทนาให้คนอื่นพูดต่อ ไม่ให้เกิดความเงียบ แต่บางคนก็เงียบไม่ค่อยพูด อาจจะเป็นเพราะเขาพูดไม่เก่ง บางคนพูดไปก่อนแล้วมาเฉลยทีหลังว่าไม่ใช่ก็มี แต่จากการเล่นเราไม่สามารถอนุมานนิสัยที่แท้จริงของพวกเขาผ่านบอร์ดเกมได้”
เช่นเดียวกับศุภลักษณ์ บำรุงกิจ หรือเสก นิสิตชั้นปีสี่ คณะเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า “เกมทั้งหมดที่เล่นในวันนี้ทำให้รู้จักการป้องกันตัว ไม่ให้โดนคนอื่นหลอก รวมถึงการเลือกที่จะพูดจริง หรือพูดหลอกเพื่อรักษาผลประโยชน์บางอย่าง ซึ่งทักษะนี้เราสามารถนำไปใช้ในการพูดต่อรองกับคนอื่นในชีวิตจริงได้ แต่ก็แอบหงุดหงิดเพราะเดาบทบาทอีกฝ่ายได้ยาก และคนที่พูดไม่เก่งอาจมีปัญหากับเกมเหล่านี้ได้”
ขณะที่รณภูมิ ไชยตระการกิจ หรือมิก นิสิตชั้นปีสี่ คณะวิทยาศาสตร์ เล่าหลังเล่นเสร็จแล้วว่า “รู้สึกสนุกดี และพบว่าบอร์ดเกมทำให้เขาสนิทกับเพื่อนที่เจอกันเป็นครั้งแรกได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งสิ่งที่เพื่อนพูด และแสดงพฤติกรรมในเกมออกมา ในชีวิตจริงเขาไม่ได้มีนิสัยแบบนั้นเสมอไป”
มิกยังเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการเล่นบอร์ดเกมเพิ่มเติมอีกว่า ตนเคยเล่นกับคนที่ไม่รู้จักภายในร้าน หรือที่เรียกว่า Walk-in โดยเขาไปร้านบอร์ดเกมกับรุ่นน้องอีกคน แต่เนื่องจากบอร์ดเกมที่เล่นสองคนแล้วสนุกมีไม่มากนัก เขาจึงขอให้เกมมาสเตอร์ (Game Master) หรือคนอธิบายกติกาการเล่นบอร์ดเกมและอำนวยความสะดวกด้านอื่นในร้าน ให้ช่วยหากลุ่มที่ทั้งคู่จะเข้าไปร่วมเล่นได้ สุดท้ายทั้งสองคนได้เล่นร่วมกับกลุ่มผู้ใหญ่วัยประมาณ 30 ปี ที่มีทั้งพนักงานบริษัทและอาจารย์มหาวิทยาลัย รวมเป็นห้าคน
เกมที่เล่นด้วยกันคือเกม The Godfather ที่ผู้เล่นต้องสวมบทบาทเป็นมาเฟียคอยแผ่อิทธิพลในเมือง แข่งกับมาเฟียตระกูลอื่น ซึ่งบางครั้งต้องมีการร่วมมือกันระหว่างผู้เล่นเพื่อทำภารกิจให้ได้ตามเป้าหมาย บางครั้งก็ต้องหักหลังอีกฝ่ายเพื่อชัยชนะของตัวเอง
มิกได้เล่าเหตุการณ์ระหว่างเล่นเกม ที่ตอนแรกตนร่วมมือทำบางอย่างกับฝั่งผู้ใหญ่ แต่ต่อมาก็หักหลังเพื่อชัยชนะของตัวเอง จนอีกฝ่ายถึงกับบ่นมิกว่า “น้องโกหกพี่นี่นิหว่า” หรืออีกเหตุการณ์หนึ่งที่อาจารย์มหาวิทยาลัยได้ตัวละครที่มีความสามารถเก่งมากๆ ทำให้ทั้งสี่คนที่เหลือต่างรุมเขาคนเดียวเพื่อไม่ให้เขาชนะได้
หลังจากการเล่นกับคนแปลกหน้าพวกเขากว่าหกชั่วโมง ทำให้มิกสังเกตเห็นพฤติกรรมของผู้เล่นที่ในหลากหลายแบบ “บางคนคิดน้อย คิดไม่รอบคอบ บางคนไม่ยอมเสียอะไรเลย และบางคนทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวเอง”
นอกจากบอร์ดเกมจะช่วยคนที่ไม่รู้จักกันให้สนิทกันมากขึ้นแล้ว ยังทำให้คนที่เป็นเพื่อนกันแล้วสังเกตนิสัยของกันและกันได้มากขึ้นจากการแสดงออกผ่านการเล่นบอร์ดเกม รวมถึงความสามารถต่างๆ ของแต่ละคนในการเล่นด้วย
มุมมองของ “เกมมาสเตอร์” ผู้คลุกคลีกับบอร์ดเกมหลากประเภท
พิชชาภา หวังประเสริฐกุล หรือน้ำอุ่น นิสิตชั้นปีที่หนึ่ง 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเคยทำงานเป็นเกมมาสเตอร์ประจำร้าน More Than a Game Cafe เล่าว่า เมื่อมีเวลาว่างจากงานในร้าน เธอก็จะเล่นเกมกับเพื่อนร่วมงานภายในร้าน และจากการเล่นบอร์ดเกมมากมายหลากประเภท ทำให้เธอเข้าใจกติกาของบอร์ดเกมหลายเกม
น้ำอุ่นเล่าถึงประสบการณ์จากการเล่นบอร์ดเกมว่า ในแต่ละเกมจะมีภารกิจให้บรรลุตามเป้าหมายตามบทบาทของตัวเอง บางคนก็คอยช่วยเหลือคนอื่นเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน บางคนบอกจะช่วยแต่สุดท้ายไม่ช่วยเพราะถ้าช่วยแล้วตัวเองอาจแพ้ได้ บางคนเล่นเก่งมากจนมองจุดมุ่งหมายของอีกฝ่ายออกว่าทำแบบนี้เพื่ออะไร

น้ำอุ่นนำทักษะจากการเล่นบอร์ดเกมบางอย่างมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ทักษะเจรจาจากเกม I’m the boss ซึ่งเป็นเกมที่มีเงื่อนไขการแบ่งเงินในรูปแบบต่างๆ เช่นจำกัดจำนวนคนที่จะได้รับเงิน ทำให้ต้องต่อรองกันเพื่อให้ทุกคนได้รับผลประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังมีการขัดขวางคนอื่นไม่ให้ได้รับเงินก้อนนั้นด้วย ถือเป็นเกมที่ต้องชิงไหวชิงพริบและใช้ทักษะการพูดโน้มน้าว เพราะในที่สุดตอนจบเกมคนที่ได้เงินเยอะที่สุดเป็นชนะ ทักษะจากเกมนี้สามารถเอาไปประยุกต์ในการเจรจาด้านต่างๆ เช่น การทำงาน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
“หากเห็นเพื่อนแสดงพฤติกรรม หรือพูดอะไรออกมา จะดูออกว่าเพื่อนต้องการสื่อสารอะไร รวมถึงเกมที่ต้องใช้ทักษะการโกหก ก็ทำให้รู้ทันเล่ห์เหลี่ยมคน และไม่ถูกหลอกในชีวิตจริงได้” น้ำอุ่นกล่าว
น้ำอุ่นเสริมว่า นอกจากบอร์ดเกมจะช่วยคนที่ไม่รู้จักกันให้สนิทกันมากขึ้นแล้ว ยังทำให้คนที่เป็นเพื่อนกันแล้วสังเกตนิสัยของกันและกันได้มากขึ้น จากการแสดงออกผ่านการเล่นบอร์ดเกม รวมถึงความสามารถต่างๆ ของแต่ละคนในการเล่นด้วย เช่น คนนี้จำเก่ง คนนี้มองนิสัยคนเก่ง คนนี้ไหวพริบดี ซึ่งเราสามารถนำความสามารถของเพื่อนที่มีในด้านต่างๆ มาช่วยเหลือกันในการทำงาน เพื่อให้ประสบผลสำเร็จดังคำกล่าวที่ว่า “Put the right man to the right job”
ใช้หลักจิตวิทยาสานสัมพันธ์ในบอร์ดเกม
นพสิทธิ์ สิริจรูญชัย นักจิตวิทยา หน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นคนที่ชอบเล่นบอร์ดเกม พูดถึงจิตวิทยาของคนที่มีต่อการเล่นบอร์ดเกมว่า ที่คนอยากจะเล่นบอร์ดเกมมีแรงจูงใจต่อการเล่นต่างกัน บางคนอยากหนีจากความเบื่อหน่ายในชีวิต บางคนอยากได้ความสนุกสนานคลายเครียด บางคนอยากมีส่วนร่วมกับคนอื่นๆ บางคนรู้สึกอยากมีคุณค่าต่อเพื่อนภายในกลุ่ม บางคนอยากเล่นเพื่อเอาชนะคนอื่นๆ ปัจจัยเหล่านี้ก็ส่งผลต่อลักษณะการเล่นและบุคลิกในระหว่างเกมด้วยจากแรงจูงใจข้างต้น
นพสิทธิ์ยกตัวอย่างเกม Werewolf ที่จะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ฝ่ายชาวบ้านกับฝ่ายหมาป่า ซึ่งแต่ละฝ่ายจะไม่รู้ว่าใครมีบทบาทใด แต่ฝ่ายชาวบ้านต้องหาคนที่เป็นหมาป่ามาฆ่าผ่านการโหวต ขณะที่ฝ่ายหมาป่าต้องกินชาวบ้าน และฝ่ายที่เหลือรอดเป็นคนสุดท้ายได้เป็นผู้ชนะ
บทบาทที่ผู้เล่นแต่ละคนได้รับในเกมก็จะส่งผลต่อพฤติกรรมที่แตกต่างกันตามเป้าหมายของแต่ละคน เช่น Werewolf (หมาป่า) คนที่เล่นบทบาทนี้ต้องอาศัยความแนบเนียนในการไม่แสดงพิรุธ ทำท่าทางให้เหมือนชาวบ้าน เพื่อให้ถูกสงสัยน้อยที่สุด และเลือกฆ่าตำแหน่งสำคัญๆ ของฝ่ายชาวบ้านเช่น Seer ที่มีพลังเห็นหมาป่าได้ หมาป่าต้องสังเกตและรวบรวมข้อมูล ระหว่างพูดโหวตในตอนกลางวันเพื่อตัดสินใจในการเลือกฆ่าฝ่ายชาวบ้านตอนกลางคืน รวมถึงการทำงานเป็นทีมเพื่อเทคะแนนโหวตฆ่าฝ่ายชาวบ้านตอนกลางวันด้วย
Seer (โหร) อยู่ฝ่ายชาวบ้าน และมีพลังเห็นหมาป่า คนที่ได้รับบทบาทนี้จะเก็บข้อมูลจากแนวโน้มพฤติกรรมคนที่น่าสงสัย เช่น การพูดหรือพฤติกรรมตอนโหวตฆ่า ว่าคนนี้มีแนวโน้มเป็นหมาป่าหรือไม่ ก่อนจะเช็คอีกรอบเพื่อความแน่ใจกับผู้ควบคุมเกมในตอนกลางคืน นอกจากนี้ต้องโน้มน้าวชาวบ้านแบบอ้อมๆ ว่าใครคือหมาป่า เพื่อให้ทุกคนโหวตฆ่าหมาป่าตอนกลางวัน
Bodyguard อยู่ฝ่ายชาวบ้าน มีหน้าที่เลือกปกป้องผู้เล่นหนึ่งคนในเวลากลางคืน โดยไม่ทราบว่าจะถูกหมาป่าฆ่าหรือไม่ ต้องสังเกตว่าหมาป่ามีแนวโน้มจะฆ่าใครมากที่สุด
หรือแม้แต่คนที่เล่น Villager (ชาวบ้าน) ที่ไม่มีพลังอะไรเลยอาจยอมสละชีวิตตัวเอง เพื่อให้เพื่อนที่มีความสามารถดีกว่าอยู่รอดต่อไปได้ เพื่อหลอกฝ่ายหมาป่าให้ฆ่าผิดเป้าหมาย แทนที่จะไปฆ่าคนที่มีพลังพิเศษที่เป็นอันตรายต่อฝ่ายหมาป่าได้
“โดยหลักของเกม Werewolf เป็นการสังเกต รวบรวม และตีความข้อมูลผ่านคำพูด และอวัจนภาษาของผู้เล่น รวมถึงการใช้การโน้มน้าวใจให้ทุกคนเลือกโหวตฆ่าคนที่ตัวเองต้องการ และการทำงานเป็นทีมทั้งฝ่ายชาวบ้านและหมาป่าเพื่อคว้าชัยชนะในแต่ละเกมให้ได้” นพสิทธิ์กล่าว

ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นพสิทธิ์อธิบายว่า “บอร์ดเกมใช้หลักจิตวิทยา โดยส่งเสริมให้คนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้ ผ่อนคลายจากความตึงเครียด เป็นความบันเทิงพักผ่อน และในระยะยาวช่วยให้สนิทกับเพื่อนในชีวิตจริงมากขึ้นด้วย ส่งผลดีกับสัมพันธภาพ ขณะที่คนที่ไม่รู้จักกัน บอร์ดเกมเป็นสถานการณ์ที่ทำให้คนมีโอกาสได้สื่อสารกัน ได้เห็นทัศนคติ การตัดสินใจ เห็นการแก้ปัญหาของคนอื่น”
“อธิบายในทางจิตวิทยาคือ เรามีชุดข้อมูลของพฤติกรรมอีกฝ่าย ในครั้งต่อไปเรานำชุดข้อมูลนั้นเป็นความคุ้นเคย และทำให้สนิทมากขึ้น ในครั้งต่อไปเราคาดเดาว่าอีกฝ่ายจะทำตัวอย่างไร อย่างไรก็ตามสิ่งที่รู้จากการเล่นบอร์ดเกม ก็ไม่การันตีได้ว่าคนนั้นจะมีนิสัยจริงแบบตอนเล่นบอร์ดเกม หรือแม้แต่การเล่นครั้งต่อไป ก็ไม่แน่ว่าเขาจะเล่นในแบบเดิม เนื่องจากสภาพจิตใจของแต่ละคนที่อาจเปลี่ยนไปในแต่ละวัน” นักจิตวิทยากล่าว
Like this:
Like Loading...
คนทั่วไปอาจจะเข้าใจว่า บอร์ดเกม คือเกมเศรษฐีหรือเกมกระดานยุคเก่าๆ และมองว่าคนที่เล่นบอร์ดเกมมักจะไม่ชอบเข้าสังคมและไม่ทันเทคโนโลยี แต่ในสมัยนี้ มีบอร์ดเกมรูปแบบต่างๆ ให้เล่นมากขึ้น นอกจากผู้เล่นจะได้รับความสนุกจากการเล่นแล้ว ยังได้ฝึกทักษะการเรียนรู้คนอื่นและการเข้าสังคมได้อีกด้วย
บอร์ดเกมเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เห็นได้จากร้านบอร์ดเกมมากมายตามย่านต่างๆ ในกรุงเทพ ด้วยราคาเล่นราว 30-50 บาทต่อชั่วโมง แถมยังมีอาหารขายภายในร้าน ทำให้สามารถนั่งเล่นได้หลายชั่วโมง หรือเล่นได้ทั้งวันถ้าร่างกายไหว
แต่การเล่นบอร์ดเกมมักจะเหมาะสำหรับกลุ่มเพื่อนหลายๆ คน แล้วถ้าคุณมาคนเดียว หรือไม่มีเพื่อนที่ชอบเล่นบอร์ดเกมเหมือนกัน จะทำอย่างไร จะลองขอไปเล่นกับคนที่ไม่รู้จักดูได้ไหม แล้วผลจะเป็นอย่างไร
การเล่นบอร์ดเกมของคนที่เจอกันครั้งแรก
ผู้เขียนทดลองเชิญนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยห้าคนจากสามคณะที่ไม่รู้จักกันมาก่อนมาเล่นบอร์ดเกมด้วยกันสามเกม ได้แก่ Crossfire, Anomia และ Kakerlaken-Poker ซึ่งแต่ละเกมมีลักษณะการเล่นที่แตกต่างกันไป เกม Crossfire ต้องใช้การสนทนาเพื่อหาเป้าหมายของตัวเองในการทำภารกิจ เกม Anomia อาศัยความรวดเร็วและความรู้ในการตอบคำถาม และเกม Kakerlaken-Poker ใช้ทักษะการโกหกและทำหน้านิ่งเพื่อไม่ให้ถูกจับได้
กติกาเกม Crossfire
ผู้เขียนสังเกตการเล่นของทั้งห้าคนแล้วพบว่า ผู้เล่นก็จะทำทีเล่นทีจริงในการคาดคั้นคำตอบจากอีกฝ่าย เช่นถามว่า “คุณเป็น Assassin หรือไม่” และดูคำตอบ หรือดูอวัจนภาษาว่าเขาพูดจริงหรือไม่ ผู้เล่นมีการเกทับบลัฟแหลก สับขาหลอกไม่ให้อีกฝ่ายคาดเดาบทบาทของตนเองได้ หรือการเปิดเผยตำแหน่งตัวเองเพื่อหาเพื่อนร่วมทีม หรือบางครั้งอาจมีพูดหลอกจนอีกฝ่ายยิงผิดเป้าหมาย เช่น Agent ชักปืนยิง VIP ที่เป็นฝั่งตัวเองจนแพ้ทั้งคู่
บทบาทต่างๆ ก็ส่งผลให้ผู้เล่นมีลักษณะการพูดที่ไม่เหมือนกัน เช่น คนที่มีปืนคือ Agent กับ Assassin จะพูดมาก ถามมาก เพื่อหาเป้าหมายของตัวเอง ขณะที่ VIP มักจะอยู่เงียบๆ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเป้าหมาย ส่วน Decoy ทั้งสองฝั่งจะพูดยั่วยุให้ตัวเองถูกยิงให้ได้ เพราะถ้าถูกยิงจากทีมสีตรงข้ามแล้วตัวเองจะชนะเกม
กติกาเกม Anomia
เนื่องจากเป็นเกมที่ต้องใช้ความไวและความรู้รอบตัวเป็นหลัก ไม่เน้นบลัฟ หรือหลอก ผู้เล่นแต่ละคนจะมองไปที่ไพ่เพื่อสังเกตว่ามีไพ่ที่เหมือนกับของตัวเองหรือไม่เพื่อแย่งตอบ รวมถึงการทักท้วงหากอีกฝ่ายตอบผิดหรือตอบมั่ว หรือในบางทีอาจมีแอบด่าคนระหว่างเล่นเกม เช่น การตอบ “ควาย” ดังๆ ในหมวดหมู่สัตว์ เรียกเสียงหัวเราะในกลุ่มได้ คนที่ได้หมวดหมู่ยากๆ เช่น สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มักจะดีใจ เพราะต้องให้เพื่อนตอบ ซึ่งมักจะตอบไม่ได้ หรือตอบช้าเพราะเสียเวลาคิดนาน
กติกาเกม Kakerlaken-Poker
2.1 ถ้าเลือกที่จะทาย ต้องทายว่าอีกฝ่ายพูดจริงหรือโกหก ถ้าทายถูกคืนไพ่ให้กับคนส่ง ถ้าทายผิดให้เก็บไพ่ไว้ที่ตัวเอง
2.2 ถ้าเลือกที่จะส่ง คนนั้นจะมีสิทธิดูภาพในไพ่ แล้วส่งไพ่ให้คนอื่น จากนั้นทำแบบข้อ 2 คือบอกว่าเป็นสัตว์อะไร อาจจะพูดเหมือนหรือต่างจากคนก่อนหน้าก็ได้ แล้วให้อีกฝ่ายเลือกว่าจะทายเลย หรือส่งไพ่ต่อไปเรื่อยๆ
ลักษณะของเกมนี้ เนื่องจากเป็นเกมที่ต้องโกหกให้แนบเนียน จะทำให้เห็นว่าเพื่อนคนไหนโกหกเก่งหรือไม่เก่ง และคนไหนจับโกหกเก่งหรือไม่เก่ง คนที่โกหกเก่งมักจะเอาตัวรอดได้โดยพูดจริงสลับโกหก จนเพื่อนคาดเดาไม่ได้ ส่วนคนที่โกหกไม่เก่งจะแสดงออกผ่านอวัจนภาษา คือ น้ำเสียงและท่าทางที่ไม่มั่นใจตอนพูดโกหก และมักถูกระดมแกล้งจากเพื่อนร่วมวงทันที เพราะคนแพ้จะได้ลงไพ่ต่อไปเรื่อยๆ จนไพ่หมดมือและแพ้ในที่สุด เราจะได้เห็นการทำ Poker face หรือหน้านิ่งๆ เพื่อไม่ให้เพื่อให้คนที่ทายไพ่จับได้ว่าคิดอะไรอยู่ บางคนมีการถามย้ำเพื่อสังเกตความผิดปกติของคนส่งไพ่ เพราะถ้าโกหกจะมีท่าทางที่แปลกไป เป็นต้น
จากที่ผู้เขียนสังเกตการเล่นบอร์ดเกมทั้งหมดแล้ว พบว่าช่วงที่เล่นเกมด้วยกันแรกๆ ทั้งห้าคนจะยังไม่ค่อยพูดด้วยกันเท่าไหร่ด้วยความที่ยังไม่รู้จักกันดี แต่เมื่อเล่นไปแล้วความคุ้นเคยเริ่มมีมากขึ้น เนื่องจากบทสนทนาในเกม ก็อาจมีพูดแซวกันบ้าง มีการพูดบลัฟ พูดขู่ พูดแซวที่หนักขึ้นเอาจริงเอาจังมากขึ้น มีความเกรงใจน้อยลงตามอารมณ์ของเกม แต่เมื่อจบเกมแล้วก็จบด้วยเสียงหัวเราะเฮฮา บางคนมีชวนว่า “ถ้าว่างอีกก็ชวนมาเล่นได้”
เกียรติยศ กิระวงศ์เกษม หรือโฟล์ค นิสิตชั้นปีสี่ คณะนิเทศศาสตร์ เล่าประสบการณ์การเล่นบอร์ดเกมกับเพื่อนหน้าใหม่ที่ไม่รู้จักกันว่า “จากการเล่นครั้งแรก จะพบว่าในวงจะมีคนเหมือนเป็นผู้ดำเนินเกม คือคอยตั้งหัวข้อสนทนาให้คนอื่นพูดต่อ ไม่ให้เกิดความเงียบ แต่บางคนก็เงียบไม่ค่อยพูด อาจจะเป็นเพราะเขาพูดไม่เก่ง บางคนพูดไปก่อนแล้วมาเฉลยทีหลังว่าไม่ใช่ก็มี แต่จากการเล่นเราไม่สามารถอนุมานนิสัยที่แท้จริงของพวกเขาผ่านบอร์ดเกมได้”
เช่นเดียวกับศุภลักษณ์ บำรุงกิจ หรือเสก นิสิตชั้นปีสี่ คณะเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า “เกมทั้งหมดที่เล่นในวันนี้ทำให้รู้จักการป้องกันตัว ไม่ให้โดนคนอื่นหลอก รวมถึงการเลือกที่จะพูดจริง หรือพูดหลอกเพื่อรักษาผลประโยชน์บางอย่าง ซึ่งทักษะนี้เราสามารถนำไปใช้ในการพูดต่อรองกับคนอื่นในชีวิตจริงได้ แต่ก็แอบหงุดหงิดเพราะเดาบทบาทอีกฝ่ายได้ยาก และคนที่พูดไม่เก่งอาจมีปัญหากับเกมเหล่านี้ได้”
ขณะที่รณภูมิ ไชยตระการกิจ หรือมิก นิสิตชั้นปีสี่ คณะวิทยาศาสตร์ เล่าหลังเล่นเสร็จแล้วว่า “รู้สึกสนุกดี และพบว่าบอร์ดเกมทำให้เขาสนิทกับเพื่อนที่เจอกันเป็นครั้งแรกได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งสิ่งที่เพื่อนพูด และแสดงพฤติกรรมในเกมออกมา ในชีวิตจริงเขาไม่ได้มีนิสัยแบบนั้นเสมอไป”
มิกยังเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการเล่นบอร์ดเกมเพิ่มเติมอีกว่า ตนเคยเล่นกับคนที่ไม่รู้จักภายในร้าน หรือที่เรียกว่า Walk-in โดยเขาไปร้านบอร์ดเกมกับรุ่นน้องอีกคน แต่เนื่องจากบอร์ดเกมที่เล่นสองคนแล้วสนุกมีไม่มากนัก เขาจึงขอให้เกมมาสเตอร์ (Game Master) หรือคนอธิบายกติกาการเล่นบอร์ดเกมและอำนวยความสะดวกด้านอื่นในร้าน ให้ช่วยหากลุ่มที่ทั้งคู่จะเข้าไปร่วมเล่นได้ สุดท้ายทั้งสองคนได้เล่นร่วมกับกลุ่มผู้ใหญ่วัยประมาณ 30 ปี ที่มีทั้งพนักงานบริษัทและอาจารย์มหาวิทยาลัย รวมเป็นห้าคน
เกมที่เล่นด้วยกันคือเกม The Godfather ที่ผู้เล่นต้องสวมบทบาทเป็นมาเฟียคอยแผ่อิทธิพลในเมือง แข่งกับมาเฟียตระกูลอื่น ซึ่งบางครั้งต้องมีการร่วมมือกันระหว่างผู้เล่นเพื่อทำภารกิจให้ได้ตามเป้าหมาย บางครั้งก็ต้องหักหลังอีกฝ่ายเพื่อชัยชนะของตัวเอง
มิกได้เล่าเหตุการณ์ระหว่างเล่นเกม ที่ตอนแรกตนร่วมมือทำบางอย่างกับฝั่งผู้ใหญ่ แต่ต่อมาก็หักหลังเพื่อชัยชนะของตัวเอง จนอีกฝ่ายถึงกับบ่นมิกว่า “น้องโกหกพี่นี่นิหว่า” หรืออีกเหตุการณ์หนึ่งที่อาจารย์มหาวิทยาลัยได้ตัวละครที่มีความสามารถเก่งมากๆ ทำให้ทั้งสี่คนที่เหลือต่างรุมเขาคนเดียวเพื่อไม่ให้เขาชนะได้
หลังจากการเล่นกับคนแปลกหน้าพวกเขากว่าหกชั่วโมง ทำให้มิกสังเกตเห็นพฤติกรรมของผู้เล่นที่ในหลากหลายแบบ “บางคนคิดน้อย คิดไม่รอบคอบ บางคนไม่ยอมเสียอะไรเลย และบางคนทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวเอง”
นอกจากบอร์ดเกมจะช่วยคนที่ไม่รู้จักกันให้สนิทกันมากขึ้นแล้ว ยังทำให้คนที่เป็นเพื่อนกันแล้วสังเกตนิสัยของกันและกันได้มากขึ้นจากการแสดงออกผ่านการเล่นบอร์ดเกม รวมถึงความสามารถต่างๆ ของแต่ละคนในการเล่นด้วย
มุมมองของ “เกมมาสเตอร์” ผู้คลุกคลีกับบอร์ดเกมหลากประเภท
พิชชาภา หวังประเสริฐกุล หรือน้ำอุ่น นิสิตชั้นปีที่หนึ่ง 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเคยทำงานเป็นเกมมาสเตอร์ประจำร้าน More Than a Game Cafe เล่าว่า เมื่อมีเวลาว่างจากงานในร้าน เธอก็จะเล่นเกมกับเพื่อนร่วมงานภายในร้าน และจากการเล่นบอร์ดเกมมากมายหลากประเภท ทำให้เธอเข้าใจกติกาของบอร์ดเกมหลายเกม
น้ำอุ่นเล่าถึงประสบการณ์จากการเล่นบอร์ดเกมว่า ในแต่ละเกมจะมีภารกิจให้บรรลุตามเป้าหมายตามบทบาทของตัวเอง บางคนก็คอยช่วยเหลือคนอื่นเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน บางคนบอกจะช่วยแต่สุดท้ายไม่ช่วยเพราะถ้าช่วยแล้วตัวเองอาจแพ้ได้ บางคนเล่นเก่งมากจนมองจุดมุ่งหมายของอีกฝ่ายออกว่าทำแบบนี้เพื่ออะไร
น้ำอุ่นนำทักษะจากการเล่นบอร์ดเกมบางอย่างมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ทักษะเจรจาจากเกม I’m the boss ซึ่งเป็นเกมที่มีเงื่อนไขการแบ่งเงินในรูปแบบต่างๆ เช่นจำกัดจำนวนคนที่จะได้รับเงิน ทำให้ต้องต่อรองกันเพื่อให้ทุกคนได้รับผลประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังมีการขัดขวางคนอื่นไม่ให้ได้รับเงินก้อนนั้นด้วย ถือเป็นเกมที่ต้องชิงไหวชิงพริบและใช้ทักษะการพูดโน้มน้าว เพราะในที่สุดตอนจบเกมคนที่ได้เงินเยอะที่สุดเป็นชนะ ทักษะจากเกมนี้สามารถเอาไปประยุกต์ในการเจรจาด้านต่างๆ เช่น การทำงาน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
“หากเห็นเพื่อนแสดงพฤติกรรม หรือพูดอะไรออกมา จะดูออกว่าเพื่อนต้องการสื่อสารอะไร รวมถึงเกมที่ต้องใช้ทักษะการโกหก ก็ทำให้รู้ทันเล่ห์เหลี่ยมคน และไม่ถูกหลอกในชีวิตจริงได้” น้ำอุ่นกล่าว
น้ำอุ่นเสริมว่า นอกจากบอร์ดเกมจะช่วยคนที่ไม่รู้จักกันให้สนิทกันมากขึ้นแล้ว ยังทำให้คนที่เป็นเพื่อนกันแล้วสังเกตนิสัยของกันและกันได้มากขึ้น จากการแสดงออกผ่านการเล่นบอร์ดเกม รวมถึงความสามารถต่างๆ ของแต่ละคนในการเล่นด้วย เช่น คนนี้จำเก่ง คนนี้มองนิสัยคนเก่ง คนนี้ไหวพริบดี ซึ่งเราสามารถนำความสามารถของเพื่อนที่มีในด้านต่างๆ มาช่วยเหลือกันในการทำงาน เพื่อให้ประสบผลสำเร็จดังคำกล่าวที่ว่า “Put the right man to the right job”
ใช้หลักจิตวิทยาสานสัมพันธ์ในบอร์ดเกม
นพสิทธิ์ สิริจรูญชัย นักจิตวิทยา หน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นคนที่ชอบเล่นบอร์ดเกม พูดถึงจิตวิทยาของคนที่มีต่อการเล่นบอร์ดเกมว่า ที่คนอยากจะเล่นบอร์ดเกมมีแรงจูงใจต่อการเล่นต่างกัน บางคนอยากหนีจากความเบื่อหน่ายในชีวิต บางคนอยากได้ความสนุกสนานคลายเครียด บางคนอยากมีส่วนร่วมกับคนอื่นๆ บางคนรู้สึกอยากมีคุณค่าต่อเพื่อนภายในกลุ่ม บางคนอยากเล่นเพื่อเอาชนะคนอื่นๆ ปัจจัยเหล่านี้ก็ส่งผลต่อลักษณะการเล่นและบุคลิกในระหว่างเกมด้วยจากแรงจูงใจข้างต้น
นพสิทธิ์ยกตัวอย่างเกม Werewolf ที่จะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ฝ่ายชาวบ้านกับฝ่ายหมาป่า ซึ่งแต่ละฝ่ายจะไม่รู้ว่าใครมีบทบาทใด แต่ฝ่ายชาวบ้านต้องหาคนที่เป็นหมาป่ามาฆ่าผ่านการโหวต ขณะที่ฝ่ายหมาป่าต้องกินชาวบ้าน และฝ่ายที่เหลือรอดเป็นคนสุดท้ายได้เป็นผู้ชนะ
บทบาทที่ผู้เล่นแต่ละคนได้รับในเกมก็จะส่งผลต่อพฤติกรรมที่แตกต่างกันตามเป้าหมายของแต่ละคน เช่น Werewolf (หมาป่า) คนที่เล่นบทบาทนี้ต้องอาศัยความแนบเนียนในการไม่แสดงพิรุธ ทำท่าทางให้เหมือนชาวบ้าน เพื่อให้ถูกสงสัยน้อยที่สุด และเลือกฆ่าตำแหน่งสำคัญๆ ของฝ่ายชาวบ้านเช่น Seer ที่มีพลังเห็นหมาป่าได้ หมาป่าต้องสังเกตและรวบรวมข้อมูล ระหว่างพูดโหวตในตอนกลางวันเพื่อตัดสินใจในการเลือกฆ่าฝ่ายชาวบ้านตอนกลางคืน รวมถึงการทำงานเป็นทีมเพื่อเทคะแนนโหวตฆ่าฝ่ายชาวบ้านตอนกลางวันด้วย
Seer (โหร) อยู่ฝ่ายชาวบ้าน และมีพลังเห็นหมาป่า คนที่ได้รับบทบาทนี้จะเก็บข้อมูลจากแนวโน้มพฤติกรรมคนที่น่าสงสัย เช่น การพูดหรือพฤติกรรมตอนโหวตฆ่า ว่าคนนี้มีแนวโน้มเป็นหมาป่าหรือไม่ ก่อนจะเช็คอีกรอบเพื่อความแน่ใจกับผู้ควบคุมเกมในตอนกลางคืน นอกจากนี้ต้องโน้มน้าวชาวบ้านแบบอ้อมๆ ว่าใครคือหมาป่า เพื่อให้ทุกคนโหวตฆ่าหมาป่าตอนกลางวัน
Bodyguard อยู่ฝ่ายชาวบ้าน มีหน้าที่เลือกปกป้องผู้เล่นหนึ่งคนในเวลากลางคืน โดยไม่ทราบว่าจะถูกหมาป่าฆ่าหรือไม่ ต้องสังเกตว่าหมาป่ามีแนวโน้มจะฆ่าใครมากที่สุด
หรือแม้แต่คนที่เล่น Villager (ชาวบ้าน) ที่ไม่มีพลังอะไรเลยอาจยอมสละชีวิตตัวเอง เพื่อให้เพื่อนที่มีความสามารถดีกว่าอยู่รอดต่อไปได้ เพื่อหลอกฝ่ายหมาป่าให้ฆ่าผิดเป้าหมาย แทนที่จะไปฆ่าคนที่มีพลังพิเศษที่เป็นอันตรายต่อฝ่ายหมาป่าได้
“โดยหลักของเกม Werewolf เป็นการสังเกต รวบรวม และตีความข้อมูลผ่านคำพูด และอวัจนภาษาของผู้เล่น รวมถึงการใช้การโน้มน้าวใจให้ทุกคนเลือกโหวตฆ่าคนที่ตัวเองต้องการ และการทำงานเป็นทีมทั้งฝ่ายชาวบ้านและหมาป่าเพื่อคว้าชัยชนะในแต่ละเกมให้ได้” นพสิทธิ์กล่าว
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นพสิทธิ์อธิบายว่า “บอร์ดเกมใช้หลักจิตวิทยา โดยส่งเสริมให้คนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้ ผ่อนคลายจากความตึงเครียด เป็นความบันเทิงพักผ่อน และในระยะยาวช่วยให้สนิทกับเพื่อนในชีวิตจริงมากขึ้นด้วย ส่งผลดีกับสัมพันธภาพ ขณะที่คนที่ไม่รู้จักกัน บอร์ดเกมเป็นสถานการณ์ที่ทำให้คนมีโอกาสได้สื่อสารกัน ได้เห็นทัศนคติ การตัดสินใจ เห็นการแก้ปัญหาของคนอื่น”
“อธิบายในทางจิตวิทยาคือ เรามีชุดข้อมูลของพฤติกรรมอีกฝ่าย ในครั้งต่อไปเรานำชุดข้อมูลนั้นเป็นความคุ้นเคย และทำให้สนิทมากขึ้น ในครั้งต่อไปเราคาดเดาว่าอีกฝ่ายจะทำตัวอย่างไร อย่างไรก็ตามสิ่งที่รู้จากการเล่นบอร์ดเกม ก็ไม่การันตีได้ว่าคนนั้นจะมีนิสัยจริงแบบตอนเล่นบอร์ดเกม หรือแม้แต่การเล่นครั้งต่อไป ก็ไม่แน่ว่าเขาจะเล่นในแบบเดิม เนื่องจากสภาพจิตใจของแต่ละคนที่อาจเปลี่ยนไปในแต่ละวัน” นักจิตวิทยากล่าว
Share this:
Like this: