เคยได้ยินชื่อวิชา ‘กล้วยไม้วิทยา’ ‘อาหารล้านนา’ และ ‘การเลี้ยงสัตว์เบื้องต้น’ บ้างไหม?
เชื่อว่าหลายคนคงไม่คิดว่าวิชาเหล่านี้จะเป็นเรื่องที่เปิดสอนทางออนไลน์ได้ แต่วิชาเหล่านี้มีอยู่จริง และเป็นตัวอย่างหัวข้อที่เปิดสอนผ่านระบบ Massive Open Online Courses (MOOC) ของไทย ซึ่งเป็นการเรียนออนไลน์ ในระบบเปิด ที่นักเรียนจำนวนมากเข้าใช้งานได้พร้อมกัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในชื่อ Thai MOOC (ไทยมู้ก)
ในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตทุกด้าน ไม่เว้นแม้แต่การศึกษา Thai MOOC ในฐานะโครงการหนึ่งของรัฐบาลตามนโยบายประเทศไทย 4.0 อาจเป็นทางเลือกใหม่ที่จะเป็นตัวช่วยการเรียนรู้ และลดอุปสรรคทางการศึกษาของคนไทยได้
Thai MOOC เป็นโครงการที่ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือของรัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และมหาวิทยาลัยกว่า 30 แห่งในประเทศ ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา โดยคนไทยทุกเพศทุกวัยสามารถลงทะเบียนเรียนได้ โดยไม่ต้องสอบเข้า และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
แค่ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ด้วยชื่อ-นามสกุล และอีเมล ก็สามารถลงทะเบียนเรียนตามความต้องการได้ทันที! ไม่ว่าจะเป็นวิชาการไปจนถึงวิชาชีพ ปัจจุบันมีวิชาที่เปิดสอน 28 วิชา จากทั้งสิ้น 140 วิชา ที่มีการบรรจุไว้ในระบบเพื่อรอการเปิดสอน เช่น วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร วิชาจิตวิทยาผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่ง วิชาการเล่นเทนนิสเบื้องต้น

เสียงสะท้อนความท้าทายด้านระบบการสอน
อย่างไรก็ตาม เสียงบางส่วนของผู้เรียนออนไลน์สะท้อนว่า แม้ Thai MOOC ซึ่งมีสโลแกน “ตัวช่วยการศึกษา” จะสามารถลดอุปสรรคทางการศึกษาไทยในหลายด้าน ทั้งค่าใช้จ่าย เวลา และสถานที่ แต่พวกเขามองว่า Thai MOOC ยังต้องเผชิญความท้าทายในการตอบโจทย์ด้านระบบการสอน ทั้งความหลากหลายของวิชา และระยะเวลาเปิดสอนแต่ละวิชา
วิลาวัณย์ จันอินทร์ อาจารย์มหาวิทยาลัยวัย 29 ปี ผู้ผ่านการเรียนทั้ง Fun MOOC ของฝรั่งเศส และ Thai MOOC ของไทย ให้ความเห็นว่า“ถ้าพูดถึงเรื่องรายวิชา ของฝรั่งเศสมีวิชาที่น่าสนใจเยอะ และมีหลากหลายสาขามากกว่า เพราะว่าของไทยเท่าที่สังเกตส่วนมากจะเป็นวิชาทางด้านสังคมและการศึกษา มีวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์น้อยกว่า” นี่จึงเป็นเหตุผลที่เธอเลือกเรียนวิชาวัคซีนวิทยากับสถาบันปาสเตอร์ ผ่านระบบ MOOC ของฝรั่งเศส
ด้าน สุนัดดา ธรรมวรานนท์ นักวิเคราะห์ธุรกิจ วัย 22 ปี เลือกเรียนวิชาเกี่ยวกับการลงทุนกับ Udemy ซึ่งเป็นระบบ MOOC ของสหรัฐอเมริกา โดยเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 150 บาท แต่เรียนได้ตลอดตามต้องการ เธอให้เหตุผลที่เลือกเรียนกับ Udemy ว่า “ความต้องการของเราคือ อยากดูตอนไหนก็ได้ที่ต้องการ ซึ่ง Udemy ที่เราเลือกเรียน ตอบโจทย์ในจุดนั้น” เธอยังบอกอีกว่าวิชาของ Thai MOOC เปิดสอนเป็นช่วงๆ จึงไม่สามารถลงเรียนได้ตลอดเวลา
เผชิญความท้าทายจากตัวผู้เรียน
นอกจากข้อจำกัดด้านระบบแล้ว ยังมีข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียน ซึ่งได้แก่ ปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ของคนไทย อันเป็นปัญหาหลักที่ท้าทายของ Thai MOOC ว่าจะทำอย่างไรให้คนเข้าไปเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ด้วยความสนใจของตนเองโดยไม่ต้องมีใครบังคับ และอีกปัญหาหนึ่ง คือจะทำอย่างไรให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้

สถิติการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาในครัวเรือน ของปี 2559 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า กิจกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของประชากรไทยอายุหกปีขึ้นไป อันดับแรก ได้แก่ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยคิดเป็นร้อยละ 92 ขณะที่อันดับสุดท้าย คือการศึกษาเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีเพียงร้อยละ 18 เท่านั้น นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติยังพบว่าคนไทยที่ใช้คอมพิวเตอร์ และเข้าถึงอินเทอร์เน็ต มีจำนวนไม่ถึงครึ่ง
ทิศทางการรับมือของ Thai MOOC
รศ.ดร.ศรีเพ็ญ ศุภพิทยากุล ผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ประสานงานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ Thai MOOC ได้ชี้แจงเรื่องปัญหาด้านรายวิชาว่า ระบบจะทยอยเพิ่มวิชาขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นตัวเลือกให้เหมาะกับความสนใจเฉพาะเรื่องของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายปัจจุบัน
ในส่วนของวิชาที่ปิดไปแล้ว จะนำมาเปิดใหม่ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามประกาศล่วงหน้าได้ทางเว็บไซต์ แต่สาเหตุที่ไม่มีการเปิดสอนตลอดเวลา เป็นเพราะระบบการเรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์สองทาง มีการบ้าน มีการสอบ ผู้สอนต้องคอยติดตามและประเมิน จึงไม่สามารถเปิดสอนตลอดได้เหมือนการเรียนออนไลน์ผ่านวิดีโอทั่วไป
สำหรับความท้าทายด้านผู้เรียน รศ.ดร.ศรีเพ็ญ กล่าวว่า สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตแสดงถึงนิสัยและทัศนคติของคนไทยที่ชอบความบันเทิง จึงต้องมุ่งสร้างรายวิชาที่ดึงความสนใจได้ นอกจากนี้ยังต้องการการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น เพราะแม้จะมีผู้สอนที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ แต่หากผู้เรียนไม่ทราบ ก็ดึงดูดให้เข้ามาเรียนไม่ได้ โดยกล่าวว่า “ตอนนี้ทาง Thai MOOC กำลังติดตามประเมินและวิจัยพฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อกำหนดทิศทางต่อไป”
ในเรื่องการเข้าถึง Thai MOOC รศ.ดร.ศรีเพ็ญ แนะนำว่าผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ต สามารถใช้บริการที่ห้องสมุดสาธารณะได้ แต่ผู้เรียนออนไลน์ต้องมีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีในระดับหนึ่ง สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่คุ้นเคยกับการเรียนออนไลน์ก็อาจให้ลูกหลานสอน
แม้ผู้เรียนบางส่วนมองว่า Thai MOOC ยังมีจุดที่ต้องพัฒนาเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในฐานะระบบการเรียนรู้รูปแบบใหม่ในยุคดิจิทัล แต่ผู้เชี่ยวชาญอย่าง รศ.ดร.ศรีเพ็ญ ยืนยันว่า Thai MOOC จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ดี เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะรายวิชาในระบบเป็นเรื่องทั่วไปที่ใครก็เรียนได้ โดยกล่าวทิ้งท้ายว่า
“จริงๆ แล้วการเรียนแบบนี้จะดีในแง่ของการศึกษาเพื่อปวงชน จะลดความเหลื่อมล้ำ เพราะว่าคนไม่มีโอกาสก็ได้พัฒนาตัวเองได้โดยที่ไม่เสียเงิน”
Like this:
Like Loading...
เคยได้ยินชื่อวิชา ‘กล้วยไม้วิทยา’ ‘อาหารล้านนา’ และ ‘การเลี้ยงสัตว์เบื้องต้น’ บ้างไหม?
เชื่อว่าหลายคนคงไม่คิดว่าวิชาเหล่านี้จะเป็นเรื่องที่เปิดสอนทางออนไลน์ได้ แต่วิชาเหล่านี้มีอยู่จริง และเป็นตัวอย่างหัวข้อที่เปิดสอนผ่านระบบ Massive Open Online Courses (MOOC) ของไทย ซึ่งเป็นการเรียนออนไลน์ ในระบบเปิด ที่นักเรียนจำนวนมากเข้าใช้งานได้พร้อมกัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในชื่อ Thai MOOC (ไทยมู้ก)
ในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตทุกด้าน ไม่เว้นแม้แต่การศึกษา Thai MOOC ในฐานะโครงการหนึ่งของรัฐบาลตามนโยบายประเทศไทย 4.0 อาจเป็นทางเลือกใหม่ที่จะเป็นตัวช่วยการเรียนรู้ และลดอุปสรรคทางการศึกษาของคนไทยได้
Thai MOOC เป็นโครงการที่ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือของรัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และมหาวิทยาลัยกว่า 30 แห่งในประเทศ ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา โดยคนไทยทุกเพศทุกวัยสามารถลงทะเบียนเรียนได้ โดยไม่ต้องสอบเข้า และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
แค่ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ด้วยชื่อ-นามสกุล และอีเมล ก็สามารถลงทะเบียนเรียนตามความต้องการได้ทันที! ไม่ว่าจะเป็นวิชาการไปจนถึงวิชาชีพ ปัจจุบันมีวิชาที่เปิดสอน 28 วิชา จากทั้งสิ้น 140 วิชา ที่มีการบรรจุไว้ในระบบเพื่อรอการเปิดสอน เช่น วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร วิชาจิตวิทยาผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่ง วิชาการเล่นเทนนิสเบื้องต้น
เสียงสะท้อนความท้าทายด้านระบบการสอน
อย่างไรก็ตาม เสียงบางส่วนของผู้เรียนออนไลน์สะท้อนว่า แม้ Thai MOOC ซึ่งมีสโลแกน “ตัวช่วยการศึกษา” จะสามารถลดอุปสรรคทางการศึกษาไทยในหลายด้าน ทั้งค่าใช้จ่าย เวลา และสถานที่ แต่พวกเขามองว่า Thai MOOC ยังต้องเผชิญความท้าทายในการตอบโจทย์ด้านระบบการสอน ทั้งความหลากหลายของวิชา และระยะเวลาเปิดสอนแต่ละวิชา
วิลาวัณย์ จันอินทร์ อาจารย์มหาวิทยาลัยวัย 29 ปี ผู้ผ่านการเรียนทั้ง Fun MOOC ของฝรั่งเศส และ Thai MOOC ของไทย ให้ความเห็นว่า“ถ้าพูดถึงเรื่องรายวิชา ของฝรั่งเศสมีวิชาที่น่าสนใจเยอะ และมีหลากหลายสาขามากกว่า เพราะว่าของไทยเท่าที่สังเกตส่วนมากจะเป็นวิชาทางด้านสังคมและการศึกษา มีวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์น้อยกว่า” นี่จึงเป็นเหตุผลที่เธอเลือกเรียนวิชาวัคซีนวิทยากับสถาบันปาสเตอร์ ผ่านระบบ MOOC ของฝรั่งเศส
ด้าน สุนัดดา ธรรมวรานนท์ นักวิเคราะห์ธุรกิจ วัย 22 ปี เลือกเรียนวิชาเกี่ยวกับการลงทุนกับ Udemy ซึ่งเป็นระบบ MOOC ของสหรัฐอเมริกา โดยเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 150 บาท แต่เรียนได้ตลอดตามต้องการ เธอให้เหตุผลที่เลือกเรียนกับ Udemy ว่า “ความต้องการของเราคือ อยากดูตอนไหนก็ได้ที่ต้องการ ซึ่ง Udemy ที่เราเลือกเรียน ตอบโจทย์ในจุดนั้น” เธอยังบอกอีกว่าวิชาของ Thai MOOC เปิดสอนเป็นช่วงๆ จึงไม่สามารถลงเรียนได้ตลอดเวลา
เผชิญความท้าทายจากตัวผู้เรียน
นอกจากข้อจำกัดด้านระบบแล้ว ยังมีข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียน ซึ่งได้แก่ ปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ของคนไทย อันเป็นปัญหาหลักที่ท้าทายของ Thai MOOC ว่าจะทำอย่างไรให้คนเข้าไปเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ด้วยความสนใจของตนเองโดยไม่ต้องมีใครบังคับ และอีกปัญหาหนึ่ง คือจะทำอย่างไรให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้
สถิติการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาในครัวเรือน ของปี 2559 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า กิจกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของประชากรไทยอายุหกปีขึ้นไป อันดับแรก ได้แก่ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยคิดเป็นร้อยละ 92 ขณะที่อันดับสุดท้าย คือการศึกษาเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีเพียงร้อยละ 18 เท่านั้น นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติยังพบว่าคนไทยที่ใช้คอมพิวเตอร์ และเข้าถึงอินเทอร์เน็ต มีจำนวนไม่ถึงครึ่ง
ทิศทางการรับมือของ Thai MOOC
รศ.ดร.ศรีเพ็ญ ศุภพิทยากุล ผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ประสานงานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ Thai MOOC ได้ชี้แจงเรื่องปัญหาด้านรายวิชาว่า ระบบจะทยอยเพิ่มวิชาขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นตัวเลือกให้เหมาะกับความสนใจเฉพาะเรื่องของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายปัจจุบัน
ในส่วนของวิชาที่ปิดไปแล้ว จะนำมาเปิดใหม่ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามประกาศล่วงหน้าได้ทางเว็บไซต์ แต่สาเหตุที่ไม่มีการเปิดสอนตลอดเวลา เป็นเพราะระบบการเรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์สองทาง มีการบ้าน มีการสอบ ผู้สอนต้องคอยติดตามและประเมิน จึงไม่สามารถเปิดสอนตลอดได้เหมือนการเรียนออนไลน์ผ่านวิดีโอทั่วไป
สำหรับความท้าทายด้านผู้เรียน รศ.ดร.ศรีเพ็ญ กล่าวว่า สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตแสดงถึงนิสัยและทัศนคติของคนไทยที่ชอบความบันเทิง จึงต้องมุ่งสร้างรายวิชาที่ดึงความสนใจได้ นอกจากนี้ยังต้องการการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น เพราะแม้จะมีผู้สอนที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ แต่หากผู้เรียนไม่ทราบ ก็ดึงดูดให้เข้ามาเรียนไม่ได้ โดยกล่าวว่า “ตอนนี้ทาง Thai MOOC กำลังติดตามประเมินและวิจัยพฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อกำหนดทิศทางต่อไป”
ในเรื่องการเข้าถึง Thai MOOC รศ.ดร.ศรีเพ็ญ แนะนำว่าผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ต สามารถใช้บริการที่ห้องสมุดสาธารณะได้ แต่ผู้เรียนออนไลน์ต้องมีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีในระดับหนึ่ง สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่คุ้นเคยกับการเรียนออนไลน์ก็อาจให้ลูกหลานสอน
แม้ผู้เรียนบางส่วนมองว่า Thai MOOC ยังมีจุดที่ต้องพัฒนาเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในฐานะระบบการเรียนรู้รูปแบบใหม่ในยุคดิจิทัล แต่ผู้เชี่ยวชาญอย่าง รศ.ดร.ศรีเพ็ญ ยืนยันว่า Thai MOOC จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ดี เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะรายวิชาในระบบเป็นเรื่องทั่วไปที่ใครก็เรียนได้ โดยกล่าวทิ้งท้ายว่า
“จริงๆ แล้วการเรียนแบบนี้จะดีในแง่ของการศึกษาเพื่อปวงชน จะลดความเหลื่อมล้ำ เพราะว่าคนไม่มีโอกาสก็ได้พัฒนาตัวเองได้โดยที่ไม่เสียเงิน”
Share this:
Like this: