ยอดดูซีรีส์วายบนไลน์ทีวี ปี 60 พุ่งสูงสุด 10 ล้านวิว ยอดรวมทะลุ 600 ล้าน ผู้ผลิตเชื่อสังคมมอง LGBTQ เป็นเรื่องปกติมากกว่าในอดีต ด้านผู้ติดตามซีรีส์-นิยายวายกว่า 10 ปีแย้งสังคมไม่ได้เคารพความหลากหลายทางเพศจริง
ผู้สื่อข่าวสำรวจสถิติยอดชมซีรีส์วาย* ทางแอปพลิเคชันไลน์ทีวี (LINE TV) ช่วงเดือน ก.ย. 60 พบว่า ซีรีส์เรื่อง เดือนเกี้ยวเดือน ซึ่งออกอากาศในช่วงเดือน พ.ค. 2560 ได้รับยอดชมสูงสุดกว่า 10 ล้านครั้ง ขณะที่ซีรีส์เรื่อง Sotus พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง ซึ่งออกอากาศเมื่อปี 2559 มียอดชมสูงสุดกว่าสี่ล้านครั้ง เว็บไซต์ Marketing oops ระบุว่า ในปี 2560 มีซีรีส์วายทั้งหมด 11 เรื่องบนแอปฯ ดังกล่าว และมียอดดูรวมมากกว่า 600 ล้านครั้ง
นอกจากนี้ วรรณกรรมที่มีเนื้อหาลักษณะเดียวกันก็กำลังได้รับความนิยม ตัวอย่างเช่น Sotus พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง ที่มียอดตีพิมพ์รวม 26,000 เล่มนับตั้งแต่ปี 2557 จนถึง 2560 ในขณะที่มหกรรมนิยายวายแห่งชาติ หรือ วาย บุ๊ค แฟร์ ซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2560 ก็มีสำนักพิมพ์และนักเขียนอิสระเข้าร่วมงานรวมกว่า 40 ราย และผู้เข้าร่วมงานประมาณ 1,000 คน นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวได้สำรวจกลุ่มผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 669 คน พบว่า ร้อยละ 93 เคยชมซีรีส์หรืออ่านนิยายวาย

พลอยบุษรา ภัทราพรพิสิฐ นักเขียนอิสระ ผู้เขียนนิยายเรื่อง Sotus พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง เห็นว่า การที่สื่อวายแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบันมีส่วนทำให้สังคมเปิดกว้างต่อผู้เสพและกลุ่ม LGBTQ มากขึ้น จากในอดีตที่นิยายวายถูกมองว่าเป็นสื่อลามกอนาจาร มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปจับการ์ตูนวายกลางงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ การซื้อ-ขายต้องทำแบบไม่เปิดเผย ในขณะที่ปัจจุบันร้านหนังสือชั้นนำสามารถวางขายนิยายวายได้บนชั้นหรือโซนที่แยกออกมาได้แล้ว อีกทั้งสื่ออื่นๆ ก็เริ่มเปิดกว้างให้กับรสนิยมการรักเพศเดียวกันมากขึ้นด้วย
“การเปิดกว้างของสื่อมันทำให้ LGBTQ ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดในสังคมอีกต่อไป ยกตัวอย่างนิยายและซีรีส์พี่ว้ากฯ เราไม่ได้นำเสนอเนื้อหาที่ทำให้ชายรักชายกลายเป็นเรื่องตลกหรือโยงเข้าเรื่องเพศแบบที่ในอดีตคนชอบติดภาพ LGBTQ อยู่สองแง่ คือ ไม่ลามกก็ตลก แต่เราให้ภาพว่าเขาคือคนธรรมดาทั่วไปมากกว่า” พลอยบุษรากล่าว
ด้าน ดร.รณภูมิ สามัคคีรมย์ ประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน มองว่า การแพร่หลายของสื่อประเภทซีรีส์-นิยายวายในปัจจุบัน เกิดจากการเข้ามาของเทคโนโลยีและการหลอมรวมของสื่อ ที่ทำให้คนสามารถเข้าถึงสื่อวายได้หลายช่องทางมากขึ้น รวมไปถึงกระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำให้สังคมไทยได้เห็นพัฒนาการการยอมรับกลุ่ม LGBTQ ในต่างประเทศ อย่างการมีกฎหมายการแต่งงานเพศเดียวกัน
อีกปัจจัยที่ดร.รณภูมิมองว่าทำให้สื่อวายแพร่หลายในสังคม ได้แก่ กระแสทุนนิยมที่เข้ามาทำให้บริษัทผลิตสื่อใหญ่ๆ หันมาสนใจรสนิยมผู้บริโภคที่ชอบความรักแบบชายรักชาย จึงเร่งหาผลกำไรผ่านสื่อซีรีส์ เมื่อทุนนิยมเข้ามาประกอบกับเทคโนโลยี รสนิยมการ “จิ้นวาย” ที่มีอยู่แล้วในอดีตจึงยิ่งเด่นชัดมากขึ้นในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ดร.รณภูมิกล่าวว่า ผลกระทบเชิงลบของสื่อเหล่านี้ คือ การตีกรอบนิยามของกลุ่ม LGBTQ ให้แคบลง เนื่องจากผู้ผลิตมักใช้นักแสดงเป็นผู้ชายหน้าตาดีสองคนที่ไม่ได้มีความหลากหลายทางเพศมารักกัน ไม่ใช่ LGBTQ รูปแบบอื่นๆ จึงเป็นการเสนอภาพเพียงด้านเดียว ในขณะเดียวกัน ผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้น คือผู้เสพสื่อได้มองเห็นอัตลักษณ์ของบุคคลสองเพศ (Bisexual) มากขึ้น และได้รู้จักว่ายังมีคนบางกลุ่มที่นิยามตัวเองว่าสามารถรักกับใครก็ได้ โดยไม่ได้เอาเรื่องเพศมาเป็นปัจจัยหลัก
พิชญา สุขพัฒน์ นักเขียนนิยายวายอิสระ เจ้าของนามปากกา afterday เห็นพ้องว่า สื่อมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการตัดสินและทำให้คนติดภาพว่า LGBTQ จะเกี่ยวข้องแต่กับเรื่องเพศและความรุนแรง ในขณะที่ผู้เสพจะเข้าใจฉากตบตีแย่งสามีกันในละครว่าในชีวิตจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นทั้งหมด เป็นเพราะผู้เสพรู้จักและมีข้อมูลเกี่ยวกับเพศหญิงมากเพียงพอ ในขณะที่หากเป็นกลุ่ม LGBTQ ผู้เสพบางคนไม่ได้มีโอกาสรู้จักหรือมีข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มคนเหล่านี้เพียงพอที่จะสามารถแยกแยะและไม่เหมารวมได้
“LGBTQ เหมือนใครสักคนที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อน การรู้จักกันครั้งแรกเขาก็ต้องอยากให้คนเห็นด้านที่ดีของเขาก่อน แต่พอสื่อเสนอเรื่องที่เป็นด้านลบไป คนก็คิดไปก่อนแล้วว่าพวกเขาเป็นแบบนั้น” พิชญากล่าว
เมย์ (นามสมมติ) ผู้อ่านนิยายวายมาแปดปี กล่าวว่า การแพร่หลายของสื่อวายต่าง ๆ ทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงมากขึ้นกว่าอดีต แต่ก็ทำให้เกิดการประกอบสร้างภาพ LGBTQ ที่บิดเบือนจากความเป็นจริง สร้างชุดความคิดของผู้เสพสื่อต่อกลุ่มคนเหล่านี้ให้มองว่าต้องต้องมีรูปร่างหน้าตาที่ดี อีกทั้งให้ความสำคัญกับเรื่องเพศมากกว่าสื่อทั่วไป
“มันไม่ได้ช่วยให้สังคมเข้าใจ LGBTQ มากขึ้น แต่มันสร้างภาพให้มองคนกลุ่มนี้แบบที่ซีรีส์หรือนิยายอยากให้เป็น อย่างแรกก็คืองดงามสวยหรูกว่าที่ควรจะเป็น อีกอย่างก็คือเหมารวมคนเหล่านี้โดยโยงเข้ากับเรื่องเพศตลอด” เมย์กล่าว
ส่วน จักรพล ผลละออ ผู้ติดตามซีรีส์และนิยายวายมาเก้าปี เผยว่า ตนมองว่าสื่อวายเป็นสินค้าที่ขายได้ในระบบทุนนิยมมากกว่าเป็นเครื่องมือที่ทำให้สังคมเปิดกว้างต่อ LGBTQ อีกทั้้งปัจจุบันสื่อเหล่านี้จะมีกรอบที่ตัวละครในเรื่องมักจะเป็นเด็กชนชั้นกลาง ผิวขาว หน้าตาดี มีฐานะ เป็นคนเมือง มีการศึกษา ไม่ค่อยมีการเสนอภาพของเกย์ในชนบท เกย์ที่เป็นชนชั้นแรงงาน หรือคนจน ทำให้สุดท้ายสื่อเหล่านี้จะสร้างกรอบใหม่ในการมองเหมารวมเกย์และจะเบียดขับเกย์ที่ไม่ตรงตามนั้นออกไป
สำหรับแนวทางที่จะทำให้ซีรีส์หรือนิยายวายได้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ LGBTQ นั้น ดร.รณภูมิ สามัคคีรมย์ ประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน เสนอว่า ประการแรกคือ การแสดงเจตจำนงบนสื่อก่อนการออกอากาศว่าเรื่องราวในเรื่องเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตกลุ่ม LGBTQ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ประการต่อมาคือ การนำเสนอเรื่องราวให้หลากหลายแง่มุมมากขึ้น ให้คนดูได้เห็นว่า LGBTQ มีหลายรูปแบบ การกระทำของตัวละครเป็นแค่พฤติกรรมบุคคล ไม่ได้เกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ ประการสุดท้ายคือ การจัดตั้งองค์กรเพื่อดูแลเนื้อหาบนสื่อที่เกี่ยวกับ LGBTQ เพื่อให้การยอมรับต่อ LGBTQ ได้อยู่ในวงการสื่อ ไม่ใช่แค่ในแวดวงวิชาการท่านั้น
พิชญา สุขพัฒน์ นักเขียนนิยายวายอิสระ กล่าวว่า การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อกลุ่ม LGBTQ บนสื่อนั้น ควรทำควบคู่ไปกับความต้องการของกระแส ผู้ผลิตสามารถผลิตเนื้อหาตามความต้องการของตลาดได้ แต่ก็คำนึงถึงความเป็นกลางของเนื้อหาและผลกระทบต่อสังคมด้วย
“ต้องยอมรับว่าโลกใบนี้มันมีเนื้อหาเยอะมากที่น่าเอามานำเสนอ แล้วเป็นปกติที่คนทำสื่อก็ต้องอยากได้กระแส เราเองก็อยากให้มีคนอ่านงานของเราเยอะๆ แน่นอนว่าคนทำสื่อไม่สามารถทำในสิ่งที่คนไม่สนใจได้ แต่มันก็ต้องควบคู่กันไประหว่างสิ่งที่ถูกต้องกับความต้องการของกระแสสังคม” พิชญากล่าว
Like this:
Like Loading...
ยอดดูซีรีส์วายบนไลน์ทีวี ปี 60 พุ่งสูงสุด 10 ล้านวิว ยอดรวมทะลุ 600 ล้าน ผู้ผลิตเชื่อสังคมมอง LGBTQ เป็นเรื่องปกติมากกว่าในอดีต ด้านผู้ติดตามซีรีส์-นิยายวายกว่า 10 ปีแย้งสังคมไม่ได้เคารพความหลากหลายทางเพศจริง
ผู้สื่อข่าวสำรวจสถิติยอดชมซีรีส์วาย* ทางแอปพลิเคชันไลน์ทีวี (LINE TV) ช่วงเดือน ก.ย. 60 พบว่า ซีรีส์เรื่อง เดือนเกี้ยวเดือน ซึ่งออกอากาศในช่วงเดือน พ.ค. 2560 ได้รับยอดชมสูงสุดกว่า 10 ล้านครั้ง ขณะที่ซีรีส์เรื่อง Sotus พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง ซึ่งออกอากาศเมื่อปี 2559 มียอดชมสูงสุดกว่าสี่ล้านครั้ง เว็บไซต์ Marketing oops ระบุว่า ในปี 2560 มีซีรีส์วายทั้งหมด 11 เรื่องบนแอปฯ ดังกล่าว และมียอดดูรวมมากกว่า 600 ล้านครั้ง
นอกจากนี้ วรรณกรรมที่มีเนื้อหาลักษณะเดียวกันก็กำลังได้รับความนิยม ตัวอย่างเช่น Sotus พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง ที่มียอดตีพิมพ์รวม 26,000 เล่มนับตั้งแต่ปี 2557 จนถึง 2560 ในขณะที่มหกรรมนิยายวายแห่งชาติ หรือ วาย บุ๊ค แฟร์ ซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2560 ก็มีสำนักพิมพ์และนักเขียนอิสระเข้าร่วมงานรวมกว่า 40 ราย และผู้เข้าร่วมงานประมาณ 1,000 คน นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวได้สำรวจกลุ่มผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 669 คน พบว่า ร้อยละ 93 เคยชมซีรีส์หรืออ่านนิยายวาย
พลอยบุษรา ภัทราพรพิสิฐ นักเขียนอิสระ ผู้เขียนนิยายเรื่อง Sotus พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง เห็นว่า การที่สื่อวายแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบันมีส่วนทำให้สังคมเปิดกว้างต่อผู้เสพและกลุ่ม LGBTQ มากขึ้น จากในอดีตที่นิยายวายถูกมองว่าเป็นสื่อลามกอนาจาร มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปจับการ์ตูนวายกลางงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ การซื้อ-ขายต้องทำแบบไม่เปิดเผย ในขณะที่ปัจจุบันร้านหนังสือชั้นนำสามารถวางขายนิยายวายได้บนชั้นหรือโซนที่แยกออกมาได้แล้ว อีกทั้งสื่ออื่นๆ ก็เริ่มเปิดกว้างให้กับรสนิยมการรักเพศเดียวกันมากขึ้นด้วย
“การเปิดกว้างของสื่อมันทำให้ LGBTQ ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดในสังคมอีกต่อไป ยกตัวอย่างนิยายและซีรีส์พี่ว้ากฯ เราไม่ได้นำเสนอเนื้อหาที่ทำให้ชายรักชายกลายเป็นเรื่องตลกหรือโยงเข้าเรื่องเพศแบบที่ในอดีตคนชอบติดภาพ LGBTQ อยู่สองแง่ คือ ไม่ลามกก็ตลก แต่เราให้ภาพว่าเขาคือคนธรรมดาทั่วไปมากกว่า” พลอยบุษรากล่าว
ด้าน ดร.รณภูมิ สามัคคีรมย์ ประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน มองว่า การแพร่หลายของสื่อประเภทซีรีส์-นิยายวายในปัจจุบัน เกิดจากการเข้ามาของเทคโนโลยีและการหลอมรวมของสื่อ ที่ทำให้คนสามารถเข้าถึงสื่อวายได้หลายช่องทางมากขึ้น รวมไปถึงกระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำให้สังคมไทยได้เห็นพัฒนาการการยอมรับกลุ่ม LGBTQ ในต่างประเทศ อย่างการมีกฎหมายการแต่งงานเพศเดียวกัน
อีกปัจจัยที่ดร.รณภูมิมองว่าทำให้สื่อวายแพร่หลายในสังคม ได้แก่ กระแสทุนนิยมที่เข้ามาทำให้บริษัทผลิตสื่อใหญ่ๆ หันมาสนใจรสนิยมผู้บริโภคที่ชอบความรักแบบชายรักชาย จึงเร่งหาผลกำไรผ่านสื่อซีรีส์ เมื่อทุนนิยมเข้ามาประกอบกับเทคโนโลยี รสนิยมการ “จิ้นวาย” ที่มีอยู่แล้วในอดีตจึงยิ่งเด่นชัดมากขึ้นในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ดร.รณภูมิกล่าวว่า ผลกระทบเชิงลบของสื่อเหล่านี้ คือ การตีกรอบนิยามของกลุ่ม LGBTQ ให้แคบลง เนื่องจากผู้ผลิตมักใช้นักแสดงเป็นผู้ชายหน้าตาดีสองคนที่ไม่ได้มีความหลากหลายทางเพศมารักกัน ไม่ใช่ LGBTQ รูปแบบอื่นๆ จึงเป็นการเสนอภาพเพียงด้านเดียว ในขณะเดียวกัน ผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้น คือผู้เสพสื่อได้มองเห็นอัตลักษณ์ของบุคคลสองเพศ (Bisexual) มากขึ้น และได้รู้จักว่ายังมีคนบางกลุ่มที่นิยามตัวเองว่าสามารถรักกับใครก็ได้ โดยไม่ได้เอาเรื่องเพศมาเป็นปัจจัยหลัก
พิชญา สุขพัฒน์ นักเขียนนิยายวายอิสระ เจ้าของนามปากกา afterday เห็นพ้องว่า สื่อมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการตัดสินและทำให้คนติดภาพว่า LGBTQ จะเกี่ยวข้องแต่กับเรื่องเพศและความรุนแรง ในขณะที่ผู้เสพจะเข้าใจฉากตบตีแย่งสามีกันในละครว่าในชีวิตจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นทั้งหมด เป็นเพราะผู้เสพรู้จักและมีข้อมูลเกี่ยวกับเพศหญิงมากเพียงพอ ในขณะที่หากเป็นกลุ่ม LGBTQ ผู้เสพบางคนไม่ได้มีโอกาสรู้จักหรือมีข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มคนเหล่านี้เพียงพอที่จะสามารถแยกแยะและไม่เหมารวมได้
“LGBTQ เหมือนใครสักคนที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อน การรู้จักกันครั้งแรกเขาก็ต้องอยากให้คนเห็นด้านที่ดีของเขาก่อน แต่พอสื่อเสนอเรื่องที่เป็นด้านลบไป คนก็คิดไปก่อนแล้วว่าพวกเขาเป็นแบบนั้น” พิชญากล่าว
เมย์ (นามสมมติ) ผู้อ่านนิยายวายมาแปดปี กล่าวว่า การแพร่หลายของสื่อวายต่าง ๆ ทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงมากขึ้นกว่าอดีต แต่ก็ทำให้เกิดการประกอบสร้างภาพ LGBTQ ที่บิดเบือนจากความเป็นจริง สร้างชุดความคิดของผู้เสพสื่อต่อกลุ่มคนเหล่านี้ให้มองว่าต้องต้องมีรูปร่างหน้าตาที่ดี อีกทั้งให้ความสำคัญกับเรื่องเพศมากกว่าสื่อทั่วไป
“มันไม่ได้ช่วยให้สังคมเข้าใจ LGBTQ มากขึ้น แต่มันสร้างภาพให้มองคนกลุ่มนี้แบบที่ซีรีส์หรือนิยายอยากให้เป็น อย่างแรกก็คืองดงามสวยหรูกว่าที่ควรจะเป็น อีกอย่างก็คือเหมารวมคนเหล่านี้โดยโยงเข้ากับเรื่องเพศตลอด” เมย์กล่าว
ส่วน จักรพล ผลละออ ผู้ติดตามซีรีส์และนิยายวายมาเก้าปี เผยว่า ตนมองว่าสื่อวายเป็นสินค้าที่ขายได้ในระบบทุนนิยมมากกว่าเป็นเครื่องมือที่ทำให้สังคมเปิดกว้างต่อ LGBTQ อีกทั้้งปัจจุบันสื่อเหล่านี้จะมีกรอบที่ตัวละครในเรื่องมักจะเป็นเด็กชนชั้นกลาง ผิวขาว หน้าตาดี มีฐานะ เป็นคนเมือง มีการศึกษา ไม่ค่อยมีการเสนอภาพของเกย์ในชนบท เกย์ที่เป็นชนชั้นแรงงาน หรือคนจน ทำให้สุดท้ายสื่อเหล่านี้จะสร้างกรอบใหม่ในการมองเหมารวมเกย์และจะเบียดขับเกย์ที่ไม่ตรงตามนั้นออกไป
สำหรับแนวทางที่จะทำให้ซีรีส์หรือนิยายวายได้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ LGBTQ นั้น ดร.รณภูมิ สามัคคีรมย์ ประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน เสนอว่า ประการแรกคือ การแสดงเจตจำนงบนสื่อก่อนการออกอากาศว่าเรื่องราวในเรื่องเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตกลุ่ม LGBTQ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ประการต่อมาคือ การนำเสนอเรื่องราวให้หลากหลายแง่มุมมากขึ้น ให้คนดูได้เห็นว่า LGBTQ มีหลายรูปแบบ การกระทำของตัวละครเป็นแค่พฤติกรรมบุคคล ไม่ได้เกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ ประการสุดท้ายคือ การจัดตั้งองค์กรเพื่อดูแลเนื้อหาบนสื่อที่เกี่ยวกับ LGBTQ เพื่อให้การยอมรับต่อ LGBTQ ได้อยู่ในวงการสื่อ ไม่ใช่แค่ในแวดวงวิชาการท่านั้น
พิชญา สุขพัฒน์ นักเขียนนิยายวายอิสระ กล่าวว่า การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อกลุ่ม LGBTQ บนสื่อนั้น ควรทำควบคู่ไปกับความต้องการของกระแส ผู้ผลิตสามารถผลิตเนื้อหาตามความต้องการของตลาดได้ แต่ก็คำนึงถึงความเป็นกลางของเนื้อหาและผลกระทบต่อสังคมด้วย
“ต้องยอมรับว่าโลกใบนี้มันมีเนื้อหาเยอะมากที่น่าเอามานำเสนอ แล้วเป็นปกติที่คนทำสื่อก็ต้องอยากได้กระแส เราเองก็อยากให้มีคนอ่านงานของเราเยอะๆ แน่นอนว่าคนทำสื่อไม่สามารถทำในสิ่งที่คนไม่สนใจได้ แต่มันก็ต้องควบคู่กันไประหว่างสิ่งที่ถูกต้องกับความต้องการของกระแสสังคม” พิชญากล่าว
Share this:
Like this: