ในยุคที่ทหารปกครองบ้านเมือง อาจไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นทหารตามสถานที่ต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ในแกลอรี่แสดงผลงานศิลปะก็ตาม ล่าสุด เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2560 มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปตรวจสอบผลงานศิลปะใน Gallery Ver ซึ่งเป็นหนึ่งในแกลอรี่ของชุมชน N22 เวิ้งศิลปะในซอยนราธิวาส 22 เจ้าหน้าที่อ้างว่า ได้รับทราบข่าวเกี่ยวกับการแสดงผลงานศิลปะทางการเมืองที่นี่ ก่อนจะสั่งปลดผลงานกว่า 10 ชิ้นลง
จิรัสย์ รัฐวงศ์จิรกุล ผู้อำนวยการ Gallery Ver เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นให้ฟังว่า เดิมทีเจ้าหน้าที่ทหารตั้งใจไปตรวจสอบ Cartel Artspace แกลอรี่อีกแห่งหนึ่งในละแวกเดียวกัน ซึ่งเป็นที่จัดแสดงผลงานภาพถ่ายของ ธาดา เฮงทรัพย์กูล ศิลปินที่นิตยสาร Forbes ยกให้เป็นหนึ่งในศิลปินที่น่าจับตาในปี 2016 ผลงานดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ทางโลกโซเชียลจากผู้ที่เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ภายหลังธาดาตัดสินใจปลดผลงานนั้นลง เมื่อทหารไปตรวจแล้วไม่พบจึงเข้าตรวจสอบในแกลอรี่ใกล้เคียงแทน หนึ่งในนั้นคือ Gallery Ver
เจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปพบผลงานศิลปะชื่อว่า ‘Whitewash ไร้มลทิน’ ของ หฤษฏ์ ศรีขาว ศิลปินภาพถ่ายรุ่นใหม่ ที่ได้จัดแสดงผลงานทั้งในและนอกประเทศ ภาพดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับการซักฟอกอดีตหลังผ่านเหตุการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อปี 2557 และเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจากตรวจสอบแล้ว เจ้าหน้าที่ได้สั่งให้ปลดภาพที่จัดแสดงทั้งหมดสามชิ้นลง รวมถึงกระดาษบันทึกข้อความเกี่ยวกับผลงานของศิลปินอีก 6-7 ชิ้นด้วยเหตุผลว่า อาจสร้างความแตกแยกให้คนในสังคมได้
ภาพ ‘Chosen Boys’ โดย หฤษฏ์ ศรีขาว
“จริงๆ มันไม่ค่อยเหนือความคาดหมายเท่าไหร่ แต่ก็เป็นครั้งแรกเหมือนกันที่โดนอะไรแบบนี้ คือจริงๆ งานผมมันไม่ได้การเมืองขนาดนั้น มันโรแมนติกด้วยซ้ำไป คือมันเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องวัยรุ่น เรื่องความทรงจำ” หฤษฎ์ ศิลปินเจ้าของผลงานกล่าว
ในขณะที่ธาดาตัดสินใจปลดผลงานที่จัดแสดงใน Cartel Artspace ออกด้วยตนเอง งานนั้นมีชื่อว่า ‘The Shards Would Shatter At Touch สุขสลาย’ เป็นผลงานที่นำคนที่เคลื่อนไหวทางการเมือง 49 คน และข้อมูลเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ ของบุคคลนั้นๆ จากเว็บไซต์ iLaw มาพิมพ์ลงบนภาพ แต่มีบุคคลหนึ่งไม่พอใจที่มีภาพของตนปรากฏอยู่ในงานศิลปะ และได้เขียนข้อความวิพากษ์วิจารณ์งานศิลปะชิ้นนี้ลงพื้นที่ออนไลน์ จึงเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ทหารขอเข้ามาตรวจสอบที่แกลอรี่
“พอออกข่าวมา ก็ไม่สบายใจ อยากเก็บงาน งานต้องการให้ข้อมูลคนมากกว่า ไม่ได้ต้องการจะสร้างความไม่พอใจให้กับใคร” ธาดากล่าว
ในบ้านเมืองยุคเซนเซอร์ ศิลปะจำเป็นต้องเซนเซอร์เพื่อความอยู่รอด?
ความคิดที่ว่าศิลปินกำลังถูกลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก เกิดขึ้นกับธาดา หลังจากที่การวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของเขาออกสู่โลกออนไลน์ ทำให้เขาต้องตัดสินใจนำผลงานตัวเองลงก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้ามาตรวจสอบ
“รู้สึกว่าสิทธิมนุษย์ขั้นพื้นฐานมันหายไปเลย เราได้ยินเสียงแม้กระทั่งลมหายใจของตัวเอง เสียงของเข็มนาฬิกาที่เดินด้วยซ้ำ ช่วงนั้นทุกอย่างมันถูกหน่วงเอาไว้ เหมือนแม่น้ำสิบสายไหลเข้ามาในหัว” ธาดากล่าวถึงความกังวลใจในเวลานั้น
ธาดายังแสดงความกังวลต่อวงการศิลปะไทยหลังจากได้ศึกษากรณีของเวียดนาม ที่รัฐบาลทหารควบคุมผลงานทางศิลปะอย่างเข้มงวด ตลอดจนมีการหมายหัวศิลปินและนำมาปรับทัศนคติ
“กลัวว่าไทยจะเป็นแบบนั้นหรือเปล่า ถ้าเป็นแบบนั้นจะไม่เหลือพื้นที่ให้คนแสดงออกเลย อีกหน่อยจะกลายเป็นแค่งานศิลปะที่โชว์ในโลกออนไลน์อย่างเดียว”
ทางด้านจิรัสย์ ผู้อำนวยการ Gallery Ver มองว่าปรากฏการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะที่ผ่านมา งานศิลปะเป็นงานที่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้ระดับหนึ่ง ไม่เคยถูกใครก้าวล้ำเข้ามาลิดรอนเช่นนี้
“ข้อดีอย่างหนึ่งที่ศิลปะเป็นชนกลุ่มน้อยก็คือคล้ายๆ จะมีเขตชายแดนประมาณหนึ่ง ที่ผ่านมา ทหารหรือรัฐบาล เขาแค่เฉี่ยว แต่ไม่เคยข้ามเข้ามา แต่นี่มันเป็นครั้งแรกที่บอกให้ปลดงานลง เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ศิลปะโลกสมัยใหม่ ที่ทหารเข้ามาสั่งให้ปลดศิลปะลง” จิรัสย์กล่าว
นอกจากนั้น จิรัสย์ยังมองว่าปรากฏการณ์นี้ทำให้แกลอรี่อื่นๆ ที่จัดแสดงผลงานทางการเมืองเริ่มกลัว ต้องระมัดระวังในการจัดแสดงผลงานมากขึ้น และการเซ็นเซอร์ตัวเองอาจเป็นทางออกเดียวที่ทำได้ ไม่เช่นนั้นอาจถูกสั่งปิด
“ถ้าทหารเข้ามาแกลอรี่นี้ได้ นั่นแปลว่าทหารก็ต้องไปแกลอรี่อื่นได้ นี่เป็นอะไรที่ส่งผลต่อวงการศิลปะ อีกอย่างในเมื่อทหารกล้าก้าวข้ามเข้ามาในเขตแดน แล้วทหารรู้แล้วว่าเขตแดนนี้เป็นเขตที่ทหารไม่เคยเข้ามาสำรวจ ทหารเห็นว่ามันมีอะไร ครั้งต่อไปทหารก็จะมาอีก ซึ่งเป็นเหตุให้แกลอรี่โดยส่วนใหญ่ต้องเกิดการ Self Censorship (การการเซนเซอร์ตัวเอง) หรือการเลือกงานศิลปะเข้ามาจัดแสดง” จิรัสย์กล่าวด้วยความกังวล
ภาพ ‘Heaven Gate’ โดย หฤษฏ์ ศรีขาว
ศิลปะกับการเป็นพื้นที่เสรีในการแสดงความเห็น
สำหรับจิรัสย์ การพูดและการแสดงออกช่องทางอื่นอาจถูกจำกัดในสมัยรัฐบาลทหาร แต่งานศิลปะเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ทหารไม่ควรก้าวล้ำเข้ามา ศิลปินควรมีอิสระในการสร้างสรรค์งานของตนเอง
“เพราะแก่นแท้ของศิลปะ มันเป็นเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ก็ชัดเจนในตัวมันเองว่าต้องมีอิสระในการคิด มันถึงเรียกว่าความคิดสร้างสวรรค์ ถ้าแม้แต่คุณทำงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ แล้วคุณยังไม่สามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ได้ มันก็ไม่ควรถูกเรียกว่างานความคิดสร้างสรรค์” ผู้อำนวยการ Gallery Ver ย้ำ
นอกจากนั้น ขณะที่ศิลปินอาจไม่สามารถแสดงความคิดออกมาอย่างโจ่งแจ้งในงานศิลปะของตน ผู้ชมผลงานก็มีอิสรภาพในการรับชมและคิดตีความเอง ไม่ควรถูกจำกัดกรอบความคิดจากผู้มีอำนาจ
“จริงๆ แล้วประเด็นอิสระในการแสดงออกไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่เฉพาะในแวดวงศิลปะเท่านั้น เพราะแม้แต่ในสังคมทั่วไปก็ไม่ควรตีกรอบหรือสร้างกฎเกณฑ์จำกัดอิสรภาพทางความคิด” จิรัสย์กล่าว
สำหรับศิลปินรุ่นใหม่อย่างธาดา การใช้อำนาจแบบเผด็จการทหารมาควบคุมอิสรภาพในการสร้างสรรค์งานศิลปะนั้นเป็นปัญหา เพราะศิลปินจะไม่สามารถสื่อสารออกมาได้อย่างตรงประเด็น
“พอโดนแบบนี้งานมันต้องเปลี่ยนความหมายบางอย่าง เราต้องซ่อนสัญญะอีก ซึ่งมันไม่ควรต้องมีสัญญะ การต้องมา Design (ออกแบบ) สัญญะแบบนี้คือการต้องหลบหลีก จริงๆ มันควรจะทำได้แบบเปิดเผย” ธาดากล่าว
การจำกัดกรอบความคิดของตัวเองเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างทางสังคมสำหรับธาดา เพราะทำให้มนุษย์มองโลกแคบ การควบคุมในแบบเผด็จการนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้ปัญหานี้ไม่เคยหมดไป และฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยอย่างยากจะแก้ไข
เช่นเดียวกับหฤษฏ์ ที่มองว่าไม่ว่าอย่างไรการแสดงออกทางความคิดก็ไม่ควรถูกจำกัด ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะหรือไม่ก็ตาม
“อิสรภาพมันเป็นสิ่งที่ควรจะมี เป็นสิ่งสากล ไม่ว่าประเทศอะไรก็ควรจะมี หมายถึงว่า ถ้าเป็น hate speech หรือสบประมาทใคร อาจจะเกิดการฟ้องร้องกันได้ แต่ไม่ใช่แบบนี้ เราต้องมี เพราะเราก็เป็นพลเมือง” ศิลปินเจ้าของผลงานที่ถูกปลด กล่าว
สำหรับหฤษฎ์ การที่คนในสังคมต้องมาตั้งคำถามว่า ทำไมต้องมีอิสรภาพทางความคิด เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่สุดในสังคมไทยปัจจุบัน
“คือมันน่าเศร้าเพราะมันเป็นคำถามที่มันไม่ควรจะถูกตั้งถามด้วยซ้ำ มันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่กลับต้องมาถามว่าทำไมถึงต้องมี”
ภาพ ‘Illuminator’ โดย หฤษฏ์ ศรีขาว
Like this:
Like Loading...
ในยุคที่ทหารปกครองบ้านเมือง อาจไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นทหารตามสถานที่ต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ในแกลอรี่แสดงผลงานศิลปะก็ตาม ล่าสุด เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2560 มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปตรวจสอบผลงานศิลปะใน Gallery Ver ซึ่งเป็นหนึ่งในแกลอรี่ของชุมชน N22 เวิ้งศิลปะในซอยนราธิวาส 22 เจ้าหน้าที่อ้างว่า ได้รับทราบข่าวเกี่ยวกับการแสดงผลงานศิลปะทางการเมืองที่นี่ ก่อนจะสั่งปลดผลงานกว่า 10 ชิ้นลง
จิรัสย์ รัฐวงศ์จิรกุล ผู้อำนวยการ Gallery Ver เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นให้ฟังว่า เดิมทีเจ้าหน้าที่ทหารตั้งใจไปตรวจสอบ Cartel Artspace แกลอรี่อีกแห่งหนึ่งในละแวกเดียวกัน ซึ่งเป็นที่จัดแสดงผลงานภาพถ่ายของ ธาดา เฮงทรัพย์กูล ศิลปินที่นิตยสาร Forbes ยกให้เป็นหนึ่งในศิลปินที่น่าจับตาในปี 2016 ผลงานดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ทางโลกโซเชียลจากผู้ที่เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ภายหลังธาดาตัดสินใจปลดผลงานนั้นลง เมื่อทหารไปตรวจแล้วไม่พบจึงเข้าตรวจสอบในแกลอรี่ใกล้เคียงแทน หนึ่งในนั้นคือ Gallery Ver
เจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปพบผลงานศิลปะชื่อว่า ‘Whitewash ไร้มลทิน’ ของ หฤษฏ์ ศรีขาว ศิลปินภาพถ่ายรุ่นใหม่ ที่ได้จัดแสดงผลงานทั้งในและนอกประเทศ ภาพดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับการซักฟอกอดีตหลังผ่านเหตุการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อปี 2557 และเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจากตรวจสอบแล้ว เจ้าหน้าที่ได้สั่งให้ปลดภาพที่จัดแสดงทั้งหมดสามชิ้นลง รวมถึงกระดาษบันทึกข้อความเกี่ยวกับผลงานของศิลปินอีก 6-7 ชิ้นด้วยเหตุผลว่า อาจสร้างความแตกแยกให้คนในสังคมได้
“จริงๆ มันไม่ค่อยเหนือความคาดหมายเท่าไหร่ แต่ก็เป็นครั้งแรกเหมือนกันที่โดนอะไรแบบนี้ คือจริงๆ งานผมมันไม่ได้การเมืองขนาดนั้น มันโรแมนติกด้วยซ้ำไป คือมันเป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องวัยรุ่น เรื่องความทรงจำ” หฤษฎ์ ศิลปินเจ้าของผลงานกล่าว
ในขณะที่ธาดาตัดสินใจปลดผลงานที่จัดแสดงใน Cartel Artspace ออกด้วยตนเอง งานนั้นมีชื่อว่า ‘The Shards Would Shatter At Touch สุขสลาย’ เป็นผลงานที่นำคนที่เคลื่อนไหวทางการเมือง 49 คน และข้อมูลเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ ของบุคคลนั้นๆ จากเว็บไซต์ iLaw มาพิมพ์ลงบนภาพ แต่มีบุคคลหนึ่งไม่พอใจที่มีภาพของตนปรากฏอยู่ในงานศิลปะ และได้เขียนข้อความวิพากษ์วิจารณ์งานศิลปะชิ้นนี้ลงพื้นที่ออนไลน์ จึงเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ทหารขอเข้ามาตรวจสอบที่แกลอรี่
“พอออกข่าวมา ก็ไม่สบายใจ อยากเก็บงาน งานต้องการให้ข้อมูลคนมากกว่า ไม่ได้ต้องการจะสร้างความไม่พอใจให้กับใคร” ธาดากล่าว
ในบ้านเมืองยุคเซนเซอร์ ศิลปะจำเป็นต้องเซนเซอร์เพื่อความอยู่รอด?
ความคิดที่ว่าศิลปินกำลังถูกลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก เกิดขึ้นกับธาดา หลังจากที่การวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของเขาออกสู่โลกออนไลน์ ทำให้เขาต้องตัดสินใจนำผลงานตัวเองลงก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้ามาตรวจสอบ
“รู้สึกว่าสิทธิมนุษย์ขั้นพื้นฐานมันหายไปเลย เราได้ยินเสียงแม้กระทั่งลมหายใจของตัวเอง เสียงของเข็มนาฬิกาที่เดินด้วยซ้ำ ช่วงนั้นทุกอย่างมันถูกหน่วงเอาไว้ เหมือนแม่น้ำสิบสายไหลเข้ามาในหัว” ธาดากล่าวถึงความกังวลใจในเวลานั้น
ธาดายังแสดงความกังวลต่อวงการศิลปะไทยหลังจากได้ศึกษากรณีของเวียดนาม ที่รัฐบาลทหารควบคุมผลงานทางศิลปะอย่างเข้มงวด ตลอดจนมีการหมายหัวศิลปินและนำมาปรับทัศนคติ
“กลัวว่าไทยจะเป็นแบบนั้นหรือเปล่า ถ้าเป็นแบบนั้นจะไม่เหลือพื้นที่ให้คนแสดงออกเลย อีกหน่อยจะกลายเป็นแค่งานศิลปะที่โชว์ในโลกออนไลน์อย่างเดียว”
ทางด้านจิรัสย์ ผู้อำนวยการ Gallery Ver มองว่าปรากฏการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะที่ผ่านมา งานศิลปะเป็นงานที่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้ระดับหนึ่ง ไม่เคยถูกใครก้าวล้ำเข้ามาลิดรอนเช่นนี้
“ข้อดีอย่างหนึ่งที่ศิลปะเป็นชนกลุ่มน้อยก็คือคล้ายๆ จะมีเขตชายแดนประมาณหนึ่ง ที่ผ่านมา ทหารหรือรัฐบาล เขาแค่เฉี่ยว แต่ไม่เคยข้ามเข้ามา แต่นี่มันเป็นครั้งแรกที่บอกให้ปลดงานลง เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ศิลปะโลกสมัยใหม่ ที่ทหารเข้ามาสั่งให้ปลดศิลปะลง” จิรัสย์กล่าว
นอกจากนั้น จิรัสย์ยังมองว่าปรากฏการณ์นี้ทำให้แกลอรี่อื่นๆ ที่จัดแสดงผลงานทางการเมืองเริ่มกลัว ต้องระมัดระวังในการจัดแสดงผลงานมากขึ้น และการเซ็นเซอร์ตัวเองอาจเป็นทางออกเดียวที่ทำได้ ไม่เช่นนั้นอาจถูกสั่งปิด
“ถ้าทหารเข้ามาแกลอรี่นี้ได้ นั่นแปลว่าทหารก็ต้องไปแกลอรี่อื่นได้ นี่เป็นอะไรที่ส่งผลต่อวงการศิลปะ อีกอย่างในเมื่อทหารกล้าก้าวข้ามเข้ามาในเขตแดน แล้วทหารรู้แล้วว่าเขตแดนนี้เป็นเขตที่ทหารไม่เคยเข้ามาสำรวจ ทหารเห็นว่ามันมีอะไร ครั้งต่อไปทหารก็จะมาอีก ซึ่งเป็นเหตุให้แกลอรี่โดยส่วนใหญ่ต้องเกิดการ Self Censorship (การการเซนเซอร์ตัวเอง) หรือการเลือกงานศิลปะเข้ามาจัดแสดง” จิรัสย์กล่าวด้วยความกังวล
ศิลปะกับการเป็นพื้นที่เสรีในการแสดงความเห็น
สำหรับจิรัสย์ การพูดและการแสดงออกช่องทางอื่นอาจถูกจำกัดในสมัยรัฐบาลทหาร แต่งานศิลปะเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ทหารไม่ควรก้าวล้ำเข้ามา ศิลปินควรมีอิสระในการสร้างสรรค์งานของตนเอง
“เพราะแก่นแท้ของศิลปะ มันเป็นเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ก็ชัดเจนในตัวมันเองว่าต้องมีอิสระในการคิด มันถึงเรียกว่าความคิดสร้างสวรรค์ ถ้าแม้แต่คุณทำงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ แล้วคุณยังไม่สามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ได้ มันก็ไม่ควรถูกเรียกว่างานความคิดสร้างสรรค์” ผู้อำนวยการ Gallery Ver ย้ำ
นอกจากนั้น ขณะที่ศิลปินอาจไม่สามารถแสดงความคิดออกมาอย่างโจ่งแจ้งในงานศิลปะของตน ผู้ชมผลงานก็มีอิสรภาพในการรับชมและคิดตีความเอง ไม่ควรถูกจำกัดกรอบความคิดจากผู้มีอำนาจ
“จริงๆ แล้วประเด็นอิสระในการแสดงออกไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่เฉพาะในแวดวงศิลปะเท่านั้น เพราะแม้แต่ในสังคมทั่วไปก็ไม่ควรตีกรอบหรือสร้างกฎเกณฑ์จำกัดอิสรภาพทางความคิด” จิรัสย์กล่าว
สำหรับศิลปินรุ่นใหม่อย่างธาดา การใช้อำนาจแบบเผด็จการทหารมาควบคุมอิสรภาพในการสร้างสรรค์งานศิลปะนั้นเป็นปัญหา เพราะศิลปินจะไม่สามารถสื่อสารออกมาได้อย่างตรงประเด็น
“พอโดนแบบนี้งานมันต้องเปลี่ยนความหมายบางอย่าง เราต้องซ่อนสัญญะอีก ซึ่งมันไม่ควรต้องมีสัญญะ การต้องมา Design (ออกแบบ) สัญญะแบบนี้คือการต้องหลบหลีก จริงๆ มันควรจะทำได้แบบเปิดเผย” ธาดากล่าว
การจำกัดกรอบความคิดของตัวเองเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างทางสังคมสำหรับธาดา เพราะทำให้มนุษย์มองโลกแคบ การควบคุมในแบบเผด็จการนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้ปัญหานี้ไม่เคยหมดไป และฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยอย่างยากจะแก้ไข
เช่นเดียวกับหฤษฏ์ ที่มองว่าไม่ว่าอย่างไรการแสดงออกทางความคิดก็ไม่ควรถูกจำกัด ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะหรือไม่ก็ตาม
“อิสรภาพมันเป็นสิ่งที่ควรจะมี เป็นสิ่งสากล ไม่ว่าประเทศอะไรก็ควรจะมี หมายถึงว่า ถ้าเป็น hate speech หรือสบประมาทใคร อาจจะเกิดการฟ้องร้องกันได้ แต่ไม่ใช่แบบนี้ เราต้องมี เพราะเราก็เป็นพลเมือง” ศิลปินเจ้าของผลงานที่ถูกปลด กล่าว
สำหรับหฤษฎ์ การที่คนในสังคมต้องมาตั้งคำถามว่า ทำไมต้องมีอิสรภาพทางความคิด เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่สุดในสังคมไทยปัจจุบัน
“คือมันน่าเศร้าเพราะมันเป็นคำถามที่มันไม่ควรจะถูกตั้งถามด้วยซ้ำ มันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่กลับต้องมาถามว่าทำไมถึงต้องมี”
Share this:
Like this: