เมื่อ Androgynous ทลายกฎแฟชั่นและความงาม
เครื่องสำอางไม่ได้เกิดมาเพื่อผู้หญิงหรือเพศที่ 3 เพียงอย่างเดียว
ผู้ชายยังสามารถแต่งหน้าเพื่อเสริมบุคลิกภาพตัวเองได้
วินาทีที่เรียวขาอันเนียนนุ่มของผู้หญิงได้ถูกปกคลุมด้วยผ้าหนาสีดำที่ตัดเย็บเป็นกางเกงทรงฉกรรจ์ กับสูททักสิโดอันทะมัดทะแมงและแฝงไปด้วยเสน่ห์แบบชายชาตรี วินาทีนั้นอาจกล่าวได้ว่า “ผู้หญิงได้ปลดปล่อยตัวเองจากพันธนาการ ที่ถูกรัดตึงไว้ในความคิดแบบอนุรักษ์นิยมเสียที”
สไตล์แฟชั่นแบบ Androgynous (มีลักษณะของทั้งสองเพศ) ถือกำเนิดตั้งแต่ปี 2503 ซึ่งยังเป็นยุคที่แบ่งแยกความเป็นผู้หญิงและความเป็นผู้ชายชัดเจน ผู้หญิงจะต้องผมยาว ผิวขาว มีสรีระโค้งเว้ารับกับกระโปรงสุ่ม ส่วนผู้ชายต้องมีกล้ามดูทะมัดทะแมงใส่กางเกงกระฉับกระเฉง แต่สไตล์ Androgynous กลับก้าวข้ามกฎเกณฑ์เหล่านี้
ธิชา วงศ์ทิพย์กานนท์ (Littleteapot) บล็อกเกอร์และยูทูบเบอร์ชื่อดัง
บทความเรื่อง The Evolution Of Androgynous Fashion Throughout The 20th Century ของ Marlen Komar จากเว็บไซต์ Bustle.com เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2559 ระบุว่าเทรนด์นี้เริ่มมาจาก Coco Chanel ผู้ริเริ่มสวมกางเกง และสร้างปรากฏการณ์ใหม่ด้วยการผลิตเสื้อผ้าผู้ชายให้กับผู้หญิง เมื่อเผยแพร่ออกไปจึงกลายเป็นที่นิยมของมวลชนในสมัยนั้น ต่อมาในปี 2509 ดีไซน์เนอร์อย่าง Yves Saint Laurent ได้ออกแบบชุดทักซิโด้ “Le Smoking” ให้สุภาพสตรีใช้สำหรับสวมใส่เข้าสังคม แทนที่จะใส่แต่ชุดราตรียาว เทรนด์นี้จึงมีมานานแล้ว
บทความเรื่อง วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากเว็บไซต์ Tkpark.com ระบุว่า สำหรับประเทศไทยเองก็ยกเลิกการนุ่งโจงกระเบนของผู้หญิงมาตั้งแต่ พ.ศ.2478 เพื่อลดข้อจำกัดของแฟชั่น และผลักดันให้ประเทศเป็นสากล นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีแฟชั่นที่ผู้หญิงนำเสื้อเชิ้ตของผู้ชายมาสวม และใส่รองเท้าผ้าใบเพื่อเพิ่มความกระฉับกระเฉง จนเป็นแฟชั่นที่เห็นในบ้านเราโดยปกติ
สุชาย เชฐ์ชาติพรชัย Senior Fashion Editor จากนิตยสาร Cleo กล่าวว่า กระแส Androgynous ได้รับความนิยมมากตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เช่น A-Land แบรนด์แฟชั่นจากเกาหลี ที่ออกแบบเสื้อผ้าที่ใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง หรือแม้กระทั่งแบรนด์ดังอย่าง Gucci ก็ออกคอลเล็คชั่นฤดูใบไม้ผลิ 2017 โดยเล่นสีสัน ตกแต่งเสื้อผ้าผู้ชายด้วยลายดอกไม้และผ้าชีฟอง
“เทรนด์ Androgynous กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปีนี้ ในปีถัดไปกลิ่นอายของเทรนด์นี้จะไม่หายไปไหน เพียงแต่ลดความหวือหวา และดูเป็นการแสดงแฟชั่นแบบปัจเจกบุคคลมากยิ่งขึ้น” สุชายบอก
นอกจากการแต่งกาย แบรนด์เครื่องสำอางก็ออกผลิตภัณฑ์เพื่อเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าชายเช่นกัน เช่นแบรนด์ไทยอย่างศรีจันทร์ ก็เพิ่งออกผลิตภัณฑ์ ศรีจันทร์ฟอร์เมน แบลคเอดิชั่น ซึ่งแป้งฝุ่นควบคุมความมันที่ออกแบบมาเพื่อผิวผู้ชายโดยเฉพาะ
แป้งฝุ่นควบคุมความมัน ศรีจันทร์ฟอร์เมน แบลคเอดิชั่น สำหรับผู้ชาย
“เดี๋ยวนี้แต่งหน้าทาปากก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นตุ๊้ดสักหน่อย ตามผับทั่วไปเขายังมีแป้งฝุ่น น้ำยาอุทัยทิพย์วางไว้หน้ากระจกห้องน้ำชายเลย ” สุภชัช ทวีสิน National Makeup Artist จาก YSL BEAUTE กล่าว
นอกจากนี้ เขายังเห็นว่า วงการความงามและแฟชั่นทั่วโลกในปี 2017 นิยมกระแส Androgynous มาก การแต่งหน้าแบบยูนิเซ็กส์ คือการลดความเป็นผู้หญิงและความเป็นผู้ชายให้ดูเป็นกลางที่สุดจึงตอบโจทย์เทรนด์นี้ จากที่ผู้หญิงจะต้องปัดขนตาให้งอน ทาปากสีเข้ม ก็ลดลงมาให้ดูธรรมชาติ ในขณะที่นายแบบจะต้องทำหน้าให้ดูหวานขึ้นและดูเป็นกึ่งกลางระหว่างผู้หญิงและผู้ชายมากที่สุด
“เทรนด์นี้ไม่ใช่การทำให้ผู้ชายแต่งเป็นผู้หญิง หรือผู้หญิงแต่งเป็นผู้ชาย แต่มันคือการผสมผสานความงามระหว่างเพศให้ดูเป็นธรรมชาติและเป็นกลางที่สุดต่างหาก” สุภชัชบอก
อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น ให้ความเห็นว่า สไตล์การแต่งตัวแบบ Androgynous คือ การหลอมรวมสัญญะทางเพศระหว่างชายกับหญิงกลายเป็นสิ่งเดียวกัน เทรนด์นี้เกิดจากการเรียกร้องของผู้หญิงว่าอยากมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย จนเวลาผ่านไป เทรนด์ผู้หญิงใส่กางเกงตัดผมสั้นก็ถือเป็นเรื่องปกติในสังคม ผู้ชายจึงสามารถใส่ผ้าซีฟองสีสดใสไว้ผมยาวได้เช่นกัน กล่าวคือ เทรนด์ Androgynous แสดงให้เห็นว่า คนในสังคมต้องการแสดงความเป็นปัจเจก “ทำไมฉันจะเป็นฉัน ได้แบบที่ฉันอยากเป็นไม่ได้? “
เติร์ท ธนาภพ อยู่วิจิตร ผู้เข้าประกวด The Face Men Thailand นายแบบสไตล์ Androgynous
สำหรับอนาคตของแฟชั่นสไตล์ Androgynous อรรถพนธ์ให้ความเห็นว่า เป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความเท่าเทียมระหว่างเพศ ทลายกรอบปฏิบัติสังคมเรื่องเพศ ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องเป็นช้างเท้าหลัง อีกทั้งยังปลดข้อจำกัดของแฟชั่นและแสดงความเป็นปัจเจกบุคคลตามต้องการ เทรนด์นี้จะคงอยู่ต่อไปถ้ากระแสสังคมยังเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศและต้องการทลายเรื่องรูปลักษณ์ทางเพศที่ เป็นเพียงกรอบของสังคม กระแสนี้จึงทลายกรอบปฏิบัติที่สังคมวางไว้ เพราะทุกคนล้วนอยากเป็นอิสระและเป็นตัวเองที่สุด จึงไม่มีการสร้างข้อจำกัดทางแฟชั่นแม้กระทั่งคำว่า “เพศ”
Like this:
Like Loading...
เมื่อ Androgynous ทลายกฎแฟชั่นและความงาม
เครื่องสำอางไม่ได้เกิดมาเพื่อผู้หญิงหรือเพศที่ 3 เพียงอย่างเดียว
ผู้ชายยังสามารถแต่งหน้าเพื่อเสริมบุคลิกภาพตัวเองได้
วินาทีที่เรียวขาอันเนียนนุ่มของผู้หญิงได้ถูกปกคลุมด้วยผ้าหนาสีดำที่ตัดเย็บเป็นกางเกงทรงฉกรรจ์ กับสูททักสิโดอันทะมัดทะแมงและแฝงไปด้วยเสน่ห์แบบชายชาตรี วินาทีนั้นอาจกล่าวได้ว่า “ผู้หญิงได้ปลดปล่อยตัวเองจากพันธนาการ ที่ถูกรัดตึงไว้ในความคิดแบบอนุรักษ์นิยมเสียที”
สไตล์แฟชั่นแบบ Androgynous (มีลักษณะของทั้งสองเพศ) ถือกำเนิดตั้งแต่ปี 2503 ซึ่งยังเป็นยุคที่แบ่งแยกความเป็นผู้หญิงและความเป็นผู้ชายชัดเจน ผู้หญิงจะต้องผมยาว ผิวขาว มีสรีระโค้งเว้ารับกับกระโปรงสุ่ม ส่วนผู้ชายต้องมีกล้ามดูทะมัดทะแมงใส่กางเกงกระฉับกระเฉง แต่สไตล์ Androgynous กลับก้าวข้ามกฎเกณฑ์เหล่านี้
บทความเรื่อง The Evolution Of Androgynous Fashion Throughout The 20th Century ของ Marlen Komar จากเว็บไซต์ Bustle.com เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2559 ระบุว่าเทรนด์นี้เริ่มมาจาก Coco Chanel ผู้ริเริ่มสวมกางเกง และสร้างปรากฏการณ์ใหม่ด้วยการผลิตเสื้อผ้าผู้ชายให้กับผู้หญิง เมื่อเผยแพร่ออกไปจึงกลายเป็นที่นิยมของมวลชนในสมัยนั้น ต่อมาในปี 2509 ดีไซน์เนอร์อย่าง Yves Saint Laurent ได้ออกแบบชุดทักซิโด้ “Le Smoking” ให้สุภาพสตรีใช้สำหรับสวมใส่เข้าสังคม แทนที่จะใส่แต่ชุดราตรียาว เทรนด์นี้จึงมีมานานแล้ว
บทความเรื่อง วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากเว็บไซต์ Tkpark.com ระบุว่า สำหรับประเทศไทยเองก็ยกเลิกการนุ่งโจงกระเบนของผู้หญิงมาตั้งแต่ พ.ศ.2478 เพื่อลดข้อจำกัดของแฟชั่น และผลักดันให้ประเทศเป็นสากล นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีแฟชั่นที่ผู้หญิงนำเสื้อเชิ้ตของผู้ชายมาสวม และใส่รองเท้าผ้าใบเพื่อเพิ่มความกระฉับกระเฉง จนเป็นแฟชั่นที่เห็นในบ้านเราโดยปกติ
สุชาย เชฐ์ชาติพรชัย Senior Fashion Editor จากนิตยสาร Cleo กล่าวว่า กระแส Androgynous ได้รับความนิยมมากตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เช่น A-Land แบรนด์แฟชั่นจากเกาหลี ที่ออกแบบเสื้อผ้าที่ใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง หรือแม้กระทั่งแบรนด์ดังอย่าง Gucci ก็ออกคอลเล็คชั่นฤดูใบไม้ผลิ 2017 โดยเล่นสีสัน ตกแต่งเสื้อผ้าผู้ชายด้วยลายดอกไม้และผ้าชีฟอง
“เทรนด์ Androgynous กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปีนี้ ในปีถัดไปกลิ่นอายของเทรนด์นี้จะไม่หายไปไหน เพียงแต่ลดความหวือหวา และดูเป็นการแสดงแฟชั่นแบบปัจเจกบุคคลมากยิ่งขึ้น” สุชายบอก
นอกจากการแต่งกาย แบรนด์เครื่องสำอางก็ออกผลิตภัณฑ์เพื่อเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าชายเช่นกัน เช่นแบรนด์ไทยอย่างศรีจันทร์ ก็เพิ่งออกผลิตภัณฑ์ ศรีจันทร์ฟอร์เมน แบลคเอดิชั่น ซึ่งแป้งฝุ่นควบคุมความมันที่ออกแบบมาเพื่อผิวผู้ชายโดยเฉพาะ
“เดี๋ยวนี้แต่งหน้าทาปากก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นตุ๊้ดสักหน่อย ตามผับทั่วไปเขายังมีแป้งฝุ่น น้ำยาอุทัยทิพย์วางไว้หน้ากระจกห้องน้ำชายเลย ” สุภชัช ทวีสิน National Makeup Artist จาก YSL BEAUTE กล่าว
นอกจากนี้ เขายังเห็นว่า วงการความงามและแฟชั่นทั่วโลกในปี 2017 นิยมกระแส Androgynous มาก การแต่งหน้าแบบยูนิเซ็กส์ คือการลดความเป็นผู้หญิงและความเป็นผู้ชายให้ดูเป็นกลางที่สุดจึงตอบโจทย์เทรนด์นี้ จากที่ผู้หญิงจะต้องปัดขนตาให้งอน ทาปากสีเข้ม ก็ลดลงมาให้ดูธรรมชาติ ในขณะที่นายแบบจะต้องทำหน้าให้ดูหวานขึ้นและดูเป็นกึ่งกลางระหว่างผู้หญิงและผู้ชายมากที่สุด
“เทรนด์นี้ไม่ใช่การทำให้ผู้ชายแต่งเป็นผู้หญิง หรือผู้หญิงแต่งเป็นผู้ชาย แต่มันคือการผสมผสานความงามระหว่างเพศให้ดูเป็นธรรมชาติและเป็นกลางที่สุดต่างหาก” สุภชัชบอก
อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น ให้ความเห็นว่า สไตล์การแต่งตัวแบบ Androgynous คือ การหลอมรวมสัญญะทางเพศระหว่างชายกับหญิงกลายเป็นสิ่งเดียวกัน เทรนด์นี้เกิดจากการเรียกร้องของผู้หญิงว่าอยากมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย จนเวลาผ่านไป เทรนด์ผู้หญิงใส่กางเกงตัดผมสั้นก็ถือเป็นเรื่องปกติในสังคม ผู้ชายจึงสามารถใส่ผ้าซีฟองสีสดใสไว้ผมยาวได้เช่นกัน กล่าวคือ เทรนด์ Androgynous แสดงให้เห็นว่า คนในสังคมต้องการแสดงความเป็นปัจเจก “ทำไมฉันจะเป็นฉัน ได้แบบที่ฉันอยากเป็นไม่ได้? “
สำหรับอนาคตของแฟชั่นสไตล์ Androgynous อรรถพนธ์ให้ความเห็นว่า เป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความเท่าเทียมระหว่างเพศ ทลายกรอบปฏิบัติสังคมเรื่องเพศ ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องเป็นช้างเท้าหลัง อีกทั้งยังปลดข้อจำกัดของแฟชั่นและแสดงความเป็นปัจเจกบุคคลตามต้องการ เทรนด์นี้จะคงอยู่ต่อไปถ้ากระแสสังคมยังเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศและต้องการทลายเรื่องรูปลักษณ์ทางเพศที่ เป็นเพียงกรอบของสังคม กระแสนี้จึงทลายกรอบปฏิบัติที่สังคมวางไว้ เพราะทุกคนล้วนอยากเป็นอิสระและเป็นตัวเองที่สุด จึงไม่มีการสร้างข้อจำกัดทางแฟชั่นแม้กระทั่งคำว่า “เพศ”
Share this:
Like this: