เรื่อง: อัฐานวัฒน์ ภัคภูริวัฒน์
ภาพ: กาญจนาภรณ์ มีขำ
“ผมจะเกร็งทุกครั้งเวลาเจอคนใหม่… เคยเจอประเภทกระตือรือร้นจนเราอึดอัดมากก็มี แต่การมีอะไรกับคนแปลกหน้ามันทำให้เราได้รู้สึก ‘มัน’ กว่า เพราะเราได้ทำอะไรแปลกๆ ห้องนอนคนอื่น หรือแอบยามขึ้นหอเขา เหมือนว่าเรากำลังอยู่ในหนัง กลัวว่าจะโดนจับได้ กลัวว่าจะมีคนเห็น”
“นัดยิ้ม” เป็นศัพท์สแลงยอดฮิตในหมู่วัยรุ่นที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายบนโลกโซเชียลมีเดียบ้านเรา จากกระแสความนิยมของซีรีส์ ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง GMM 25 เมื่อปี 2559 หากกูเกิ้ลคำว่า “นัดยิ้ม” ดู ผลลัพธ์การค้นหาลำดับแรกๆ คงหนีไม่พ้นข้อความชักชวนไปร่วมเพศด้วยอารมณ์เปลี่ยว พร้อมระบุโลเคชั่นของเจ้าของแอคเคาท์บนทวิตเตอร์ ภาพโชว์อาวุธประจำกาย และคลิปหนังตัวอย่าง แบบ No Mosaic, No Sensor เป็นเบาะแสให้คนในละแวกใกล้ๆ มาคลายเหงากันแบบไม่ต้องมีข้อผูกมัด โดยเนื้อหากว่าครึ่งของการใช้คำว่า “นัดยิ้ม” มักพบในกลุ่มผู้ใช้ที่นิยามตัวเองว่าเป็น “ชายรักชาย” หรือ “ไบ”
แอปเฉพาะกลุ่มหนุ่มขี้เหงา
ปริญ (นามสมติ) นักศึกษามหาวิทยาลัย อายุ 23 ปี ผู้มีรสนิยมชายรักชาย เล่าว่าช่องทางการหาคู่นอนบนโลกออนไลน์นั้นไม่ได้มีแค่บนทวิตเตอร์ แต่ยังมีแอปพลิเคชันอย่าง Hornet และ Jack’D ที่ออกแบบมาเพื่อการหาคู่นอนโดยเฉพาะ และเป็นที่นิยมใช้ในกลุ่มเกย์
“สำหรับผมแล้วมันเป็นเรื่องที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะเป็นใคร อายุเท่าไหร่ เราสามารถหาคู่นอนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับพิกัด GPS เราได้ คล้ายๆ Tinder (แอปพลิเคชันสำหรับหาคู่เดท) แต่มันมี Feature (ลักษณะการใช้งาน) ที่เราสามารถขออีกฝ่ายเพื่อให้เราดูรูปลับที่เขาซ่อนไว้อยู่ได้” ปริญกล่าว
ปริญเล่าขั้นตอนการ “นัดยิ้ม” ว่า “เริ่มแรกเลยเขาก็จะถามกันว่าหาเพื่อนคุย แฟน หรือคู่นอน หลังจากนั้นเขาก็จะถามว่าเป็นแบบไหน รุก รับ หรือ โบ๊ท (Both หมายถึง ได้ทั้งสองแบบ) บางคนก็เรื่องมากหน่อย ถามว่า ‘ ออกสาว’ (มีท่าทางกระตุ้งกระติ้ง) หรือเปล่า อีกอย่างคือบางคนโชว์รูปตัวเอง แต่บางคนใช้รูปอื่นเราก็จะต้องขอดูรูปก่อนว่าตรงตามที่ต้องการกันไหม”
นัดยิ้มออนไลน์มีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและแบ่งปันข้อมูลบนโลกออนไลน์ทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก อาทิ บล็อก เว็บบอร์ด เรื่อยมาจนถึงการเริ่มต้นของเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์
ทัศน์ (นามสมมติ) นักศึกษามหาวิทยาลัย และไบเซ็กส์ชวล อายุ 24 ปี เล่าย้อนกลับไปว่า คนเหงาในช่วงต้นของยุคเว็บ 2.0 อาจนัดยิ้มกันผ่านเว็บบอร์ด และ MSN ซึ่งเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น และยังบอกอีกว่า ‘บอร์ดปาล์มพลาซ่า’ เป็นเว็บบอร์ดชาวสีม่วงที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีห้อง EViL เป็นห้องประจำสำหรับชาวนัดยิ้มให้นัดกันผ่านการตั้งกระทู้พร้อมบอกพิกัดที่พวกเขาต้องการพบกัน และส่วนมากเป็นพื้นที่สาธารณะอย่างห้องน้ำในศูนย์การค้า
นอกจากนั้น ความสะดวกของอินเทอร์เน็ตยังช่วยให้พวกเขาสามารถ “ยิ้ม” ได้โดยไม่ต้องเจอหน้า ทัศน์เล่าว่า พวกเขาสามารถสำเร็จรักได้ง่ายๆ ด้วยการ ‘แชทเสียว’ หรือใช้กล้องเว็บแคมในการสร้างความสุขให้อีกฝ่ายดูผ่านจอ “แคมฟรอก” โปรแกรมห้องแชทแบบวิดีโอจึงกลายเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับคนเปลี่ยวในยุคนั้น ก่อนจะเข้าสู่ยุค 3.0 ที่พัฒนาให้เว็บโซเชียลอย่าง เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ รวมถึงสมาร์โฟนรุ่นต่างๆ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารได้ง่ายและเรียลไทม์มากขึ้น จนเกิดแอปพลิเคชั่นสำหรับการสนทนาอย่างไลน์ (Line) และแอปสำหรับหาคู่ที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
กดทับ – ปกปิด – ท้าทาย
ปริญเล่าให้ฟังว่า การมีอะไรกับคนแปลกหน้าเปิดโอกาสให้เขาได้ทำอะไรทีสนุกกว่าการมีเซ็กส์ธรรมดา ทั้งแปลกและท้าทาย เหมือนเป็นฉากหนึ่งในภาพยนตร์
“ยามถามว่าเราอยู่หอนี้ไหม ผมก็หลอกเขาไปว่า ‘(เคย)อยู่’ ทั้งๆ ที่บัตรหอก็ไม่มี เนียนลงชื่อขึ้นหอเพื่อจะไปมีอะไรกับคนบนนั้น ผมนัดเขาไปห้องเก่าที่ผมเคยอยู่ ตอนนั้นมันเป็นห้องว่างแล้ว เป็นความตื่นเต้นแปลกๆ กลัวคนจับได้” เขาบอก
ปริญแสดงความเห็นต่อว่า การที่สังคมยังไม่เปิดกว้างให้คนพูดถึงเรื่องเซ็กส์ได้อย่างอิสระและมองว่าการมีเซ็กส์ของวัยรุ่นเป็นเรื่องผิดปกติทางศีลธรรมนั้น บีบบังคับให้คนที่มีความต้องการทางเพศหนีไปใช้แอคเคาท์แบบไม่เปิดเผยตัวตน ด้วยการใช้ภาพใบหน้าหรือร่างกายของคนอื่นปกปิดอัตลักษณ์ของตนเพื่อแสดงออกถึงความต้องการทางเพศในโลกเสมือนจริง ทำให้พวกเขาสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่ เช่น ภาพสยิว และคลิปการร่วมเพศแบบโฮมเมด
ตามทัศนคติของปริญ บางครั้งการซ่อนตัวทำให้ผู้ใช้บางรายฉวยโอกาสทำเรื่องผิดศีลธรรม เช่น การล่อลวงเยาวชน การค้าประเวณี หรือการใช้ยาเสพติด จึงทำให้พื้นที่นิรนามแห่งนี้ถูกนิยามว่าเป็นพื้นที่แห่งความมืด
ถูกใจไม่ผูกมัด?
“โลกมืดเป็นโลกที่เลือกปฏิบัติกันมากๆ พอมันไม่มีการคัดกรอง มันก็ทำให้เราได้เห็นสันดานดิบของคน”
ทัศน์บอก เมื่อกล่าวถึงความพิเศษของการนัดยิ้มที่พวกเขาสามารถสนุกกับคู่นอนที่มีลักษณะทางกายภาพตรงตามสเปกมากที่สุด ทั้งรูปร่าง หน้าตา กว้างไปถึงรสนิยมทางเพศ โดยปราศจากการจ้องมองจากสังคม
เขายังเล่าต่ออีกว่า สำหรับการรวมตัวกันของชาวนัดยิ้มในกลุ่มห้องแชทบนไลน์ ต้องมีการถ่ายรูปบัตรประชาชนเพื่อยืนยันว่าไม่มีผู้สูงอายุคราวพ่อแฝงตัวเข้ามาร่วมสนุกด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติในหมู่ชาวนัดยิ้มที่ต้องการให้สงวนความสำราญไว้สำหรับคนหนุ่มเท่านั้น
เช่นเดียวกันกับปริญที่กล่าวว่า รูปร่าง หน้าตา และลักษณะทางกายภาพของอีกฝ่ายถือเป็นปัจจัยหลักในการเลือกลงเอยอย่างห้ามไม่ได้ เพราะความรักกับเซ็กส์เป็นเรื่องเดียวกัน
“สมมติเราไปเจอคนที่ตรงสเปกมาก แต่สุดท้ายเขาไม่สามารถเติมเต็มเราในเรื่องนี้ (เซ็กส์) ได้ เราก็จะรู้สึกว่าเขาไม่ตอบโจทย์ชีวิตรักเราขนาดนั้น” ปริญยกตัวอย่าง
นอกจากนั้นทัศน์ยังเปิดเผยอีกว่าการมีอะไรกับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จักเลยเป็นเรื่องปกติมาก ไม่จำเป็นต้องสนทนาเพื่อความคุ้นเคย หากมองแล้วรู้ว่าใช่ ก็เดินตามกันเข้าห้องน้ำ เริ่มภารกิจ เสร็จ แยกทาง ถ้าถูกใจก็นัดต่อ เป็นวงจรไปเรื่อยๆ เขายังบอกอีกว่าบางคนก็ได้แฟนจากการนัดยิ้ม แต่จากประสบการณ์ของเขาแล้ว เวลาร้อยละ 70 ของชีวิตคู่ที่ได้จากการนัดยิ้มไม่มีอะไรเลยนอกจากการมาเจอกันเพื่อมีเซ็กส์
เทคโนโลยีใหม่ใจความเดิม
แม้การนัดยิ้มในยุคเว็บ 4.0 ดูจะมีความสะดวกกว่ายุคก่อนที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถหาคู่ขาที่อยู่ใกล้เคียงและมีไฟ์สไตล์ที่ตรงกันมากขึ้น แต่การการนัดเพื่อสานสัมพันธ์ทางกายแบบไม่รู้จักฉันไม่รู้จักเธอก็ไม่ใช่เรื่องใหม่
เมื่อลองย้อนวัฒนธรรมการนัดพบกันเพื่อร่วมรักฉาบฉวยในสังคมไทย อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์หัวข้อ บุรุษบันเทิง: สื่อบันเทิงกามารมณ์ในสังคมไทย ทศวรรษ 2450 – 2500 วิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์และวรรณกรรมเปรียบเทียบว่า ข้อแตกต่างที่สำคัญของการนัดยิ้มในปัจจุบันและสมัยโบราณคือระดับการปฏิสัมพันธ์ ในปัจจุบันคือนัดเพื่อมามีเซ็กส์กันอย่างเดียว ในขณะที่คนสมัยก่อนคือการนัดพบเพื่อมาพลอดรักกัน
“ในสมัยขุนช้างขุนแผนเป็นการนัดเพื่อมาพลอดรัก คือการกอด ก่าย กระซิกกระซี้กันเท่านั้น ส่วนเซ็กส์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อตัวละครเกิดอารมณ์ต่อเนื่องมากกว่า อย่างในวรรณกรรมโรแมนซ์ ตัวละครอาจมาแค่เจอกันแล้วแยกย้ายกลับบ้าน ไม่ได้ทำอะไรลึกซึ่งกว่านั้น เพราะพวกเขาอาจถูกควบคุมโดยบรรทัดฐานที่กำหนดให้คู่รักต้องแต่งงานกันก่อน จึงจะสามารถมีเซ็กส์เพื่อสืบวงศ์ตระกูล ซึ่งถือเป็นค่านิยมสูงสุดของสังคมได้” อาชญาสิทธิ์ กล่าว
ภาพจากปกหนังสือ วรรณคดีอมตะของไทย สำนวนร้อยแก้ว “ขุนช้างขุนแผน” – เปรมเสรี, ผู้แต่ง
เขายังอธิบายต่อว่า ค่านิยมทางเพศของไทยยึดโยงเซ็กส์เข้ากับสถาบันครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว และสงวนให้เกิดขึ้นเฉพาะในปริมณฑลของบ้าน ทำให้การนัดเพื่อเซ็กส์ที่ไม่ได้มีเพื่อการสืบพันธุ์และเกิดขึ้นนอกพื้นที่รโหฐานสร้างสัญญะแฝงให้ นัดยิ้มเป็นการร่วมรักเพื่อแฟนตาซีทางเพศ
“มันมีสัญญะของความแปลกหน้า และความตื่นเต้นบางอย่างที่ไม่ใช่การร่วมเพศของคู่ผัวเมีย สามีไม่มีความรู้สึกจำเป็นว่า ต้องนัดภรรยาของตนเพื่อไปมีเซ็กส์นอกชายคาบ้าน ทั้งแนวคิดผัวเดียวเมียเดียวแบบที่ไม่ให้คนมีเซ็กส์ก่อนแต่งงานยังหมือนกับการคลุมถุงชนที่เชื่อว่าเดี๋ยวก็รักกันเอง แต่ความจริงแล้วหากคู่รักไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางเพศของอีกฝ่ายได้ก็อาจกลายเป็นปัญหาของความสัมพันธ์” มหาบัณฑิตสาขาประวัติศาสตร์อธิบาย
อย่างไรก็ตาม การศึกษาของ Sara Webb จากมหาวิทยาลัย James Madison สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2558 ในหัวข้อ การสื่อสารในวัฒนธรรมการมีเซ็กส์ชั่วคราวในยุคสมัยใหม่ (Communication in the Modern Hookup Culture) พบว่า นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในอเมริกากลุ่ม Millennials (ผู้ที่เกิดในช่วงปี 2523 – 2539) มองว่าการมีเซ็กส์แค่ชั่วคราวไม่ได้เป็นการปฏิเสธความเชื่อเรื่องความสัมพันธ์แบบมีข้อผูกมัด แต่คือการทดลองเพื่อนำไปสู่การหาคู่ครองที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเอง
วิตถารหรือรสนิยมทางเพศ?
การเปิดเผยภาพจุดซ่อนเร้นและท่วงท่าอันผาดโผนของชาวนัดยิ้มบนโซเชียลมีเดียอาจเป็นพฤติกรรมที่มีผู้มองว่าขัดต่อค่านิยมของสังคมไทย คนจำนวนมากจึงตัดสินชาวนัดยิ้มว่า เป็นพวกโรคจิตและภัยสังคม ทั้งที่พวกเขาอาจจะมีพฤติกรรมทางสังคมอื่นๆ ที่ปกติ และเพียงต้องการเล่นสนุกเท่านั้น
พงศ์มนัส บุศยประทีป นักวิชาการอิสระ นักเขียนและผู้แปลหนังสือด้านจิตวิทยา วิเคราะห์โดยใช้มุมมองทางจิตวิทยาและสังคมวิทยาว่า สื่อวาบหวิวสามารถสื่อสารได้อย่างตรงประเด็นว่า บุคคลนั้น “เป็นอย่างไร” และ “กำลังมองหาอะไร”
“เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่มีลักษณะทางกายภาพที่ดี และความเชื่อในสังคมยังบอกว่า คนเหล่านี้มีโอกาสจะได้คู่นอนมากกว่า ซึ่งหากคนที่หน้าตาหรือหุ่นไม่ดีก็มีแนวโน้มในการใช้รูปของคนอื่นหรือใช้สื่อลามกเป็นสัญลักษณ์ในการดึงดูดมากกว่า” พงศ์มนัสกล่าว
ส่วนพฤติกรรมนี้จะจัดเป็นอาการทางจิตหรือไม่ รวิตา ระย้านิล นักจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า มีข้อบ่งชี้สองประการในการระบุอาการทางจิต ประการแรกคือ แปลก หรือ สุดโต่งมากหรือน้อยกว่าคนอื่น ถัดมาคือสร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น
“ถ้าพฤติกรรมที่มีคนทำจำนวนมาก และไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใครก็ไม่เรียกว่าเป็นอาการทางจิต แต่ถ้าหมกมุ่นจนเสียงาน ก่อปัญหาเช่น เป็นโรคติดต่อทางเพศแล้วไม่หยุด จึงจะนับเป็นอาการป่วย การที่บอกว่าไม่ใช่พฤติกรรมที่ผิดปกติไม่ได้หมายความว่าไม่เป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหา” รวิตาวิเคราะห์
เพราะนัดยิ้มเป็นเรื่องของ ‘ข้อความ’
อย่างไรก็ตาม “การใช้ภาพโป๊” และ “การนัดยิ้ม” ไม่ใช่เรื่องเดียวกันโดยสิ้นเชิง ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง นักวิชาการด้านเพศวิถีและเพศสภาวะ มหาบัณฑิตจาก London School of Economics and Political Science ชี้ว่าทั้งสองอย่างตอบสนองวัตถุประสงค์ต่างกัน “ภาพโป๊” ใช้เพื่อปลดปล่อยเพศวิถี แต่การนัดยิ้มคือ วิธีการสื่อสารเพื่อให้ได้คู่นอนโดยการเร้าอารมณ์อีกฝ่ายผ่าน “ตัวอักษร”
“การแสดงออกหรือถ้าใช้รูปภาพโชว์อวัยวะเพศมันจะไม่เกิดแรงดึงดูดให้อีกฝ่ายอยากค้นหา หรือไขว่คว้า เพราะเราเห็นสินค้าตรงหน้า เป็นการปลดปล่อยเพศวิถีซึ่งมักจะอยู่ในลักษณะของรูปภาพ เช่น ฉันไปทำอะไรมา ฉันมีปฏิบัติการทางเพศสภาวะ และเพศวิถีอย่างไร ซึ่งภาพส่วนใหญ่มักจะเป็นภาพโป๊ แต่ถ้าเป็น ‘การนัดยิ้ม’ จริงๆ มักจะอยู่ในรูปของ ‘ตัวอักษร’ เช่น การพรรณาความรู้สึก อารมณ์ทางเพศ เร้าอารมณ์อีกฝ่ายหนึ่ง” ติณณภพจ์กล่าว
ติณณภพจ์เสริมอีกว่า แพทเทิร์นการแชทของชาวนัดยิ้มยังน่าสนใจ ด้วยเอกลักษณ์การเปิดสนทนาด้วยคำถามห้วนๆ ไม่กี่คำถาม แต่สามารถการประหยัดทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ลงทุนน้อยที่สุด และผลลัพธ์ตามความคาดหวังมากที่สุด
“ชื่ออะไร? แถวไหน? แบบไหน? หาอะไร? เป็นการใช้แพทเทิร์นของภาษาที่สั้นที่สุด ประหยัดเวลาในการพิมพ์ นำมาซึ่งการเข้าถึงเป้าหมายได้เร็วที่สุด พูดน้อยๆ ได้ตอบเร็ว ถูกใจ แล้วก็นั่งแท็กซี่ไปเลย ตอบโจทย์เศรษฐศาสตร์พื้นฐานเรื่องต้นทุนและผลประโยชน์ เพราะนัดยิ้มออนไลน์สามารถเข้าถึงได้ฟรี ไม่เสียเงิน ข้อได้เปรียบเรื่องเวลาที่สามารถโต้ตอบได้ทันที ไม่ต้องรอจดหมาย ไม่ต้องรอการมาเจอหน้าแล้วทำความรู้จักกัน ทุกอย่างมันเกิดได้เลยทันที ประหยัดทั้งในแง่เวลา และทรัพยากรทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว” ติณณพจน์กล่าว
เรื่องส่วนตัวที่ท้าทายวัฒนธรรม
แล้วทำไมการที่ชาวนัดยิ้มเลือกอยู่ภายในบริเวณ “ส่วนตัว” ด้วยแอคเคาท์ทางเลือก หรือแอปเฉพาะกลุ่ม จึงยังถูกตัดสินจากสังคม
ติณณภพจ์อธิบายว่า เมื่อมนุษย์ถูกจำกัดการแสดงออกทางเพศวิถี และรูปแบบการมีเพศสัมพันธ์ทางเลือก การนัดยิ้มจึงเป็นการเติมเต็มความเป็นมนุษย์ที่ถูกจำกัดผ่านความสะดวกของแอปพลิเคชั่นและเทคโนโลยี เป็นการใช้พื้นที่ออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะชนมาทำประโยชน์เรื่องส่วนตัว
“การใช้ทวิตเตอร์และแอปพลิเคชันในการหาคู่และปลดปล่อยเพศวิถี ไม่ได้เป็นส่วนตัวอีกต่อไป มันเป็นเรื่องกึ่งส่วนตัว (Semi-Private/Semi-Public) แต่มีแนวโน้มว่าจะเป็นเรื่องสาธารณะมากกว่า เหมือนเถียงกับเพื่อนว่าการโพสต์ เฟซบุ๊ก เป็นเรื่องสาธารณะ หรือส่วนตัว เพราะอย่างไรก็ตามก็มีคนเห็นโพสต์หาคู่หรือภาพโป๊เปลือยที่ใช้บนไทม์ไลน์ หรือแม้กระทั่งแอปที่มีการคัดกรองความเป็นส่วนตัวมาแล้วก็ตาม (เช่น การแชทในกล่องข้อความส่วนตัว)” ติณณภพจ์กล่าว
“นัดยิ้ม ในมิติด้านวัฒนธรรม มันจึงเป็นการเขย่าศีลธรรมที่กำลังควบคุมปริมณฑลสาธารณะ (Public Sphere) อยู่ ทั้งยังเป็นขบถต่อบรรทัดฐานทางเพศทั้งแบบต่างเพศและเพศเดียวกัน (Homonormativity และ Heteronormativity) ซึ่งในกรณีของเพศเดียวกัน การนัดยิ้มมันยังเป็นการท้าทาย ’อัตลักษณ์ทางเพศ’ ของตัวมันเองด้วย”
เขาบอกว่า เพศวิถีทั้งแบบชายหญิง หรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศต่างก็มีบรรทัดฐาน (Normativity) ในการประกอบสร้าง “อัตลักษณ์ทางเพศ” ในอุดมคติขึ้นมาควบคุมความคิดและพฤติกรรมทางเพศ แต่การนัดยิ้มเป็นพฤติกรรมทางเพศที่ฉีกออกจากกรอบที่สังคมวางไว้และเห็นได้ในพื้นที่สาธารณะ จึงถูกโจมตีโดยผู้ที่ยึดถือบรรทัดฐานเหล่านี้
“บรรทัดฐานจะเป็นตัวบอกว่า เพศสัมพันธ์แบบไหนที่คุณมีและมีไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเข้ามาอยู่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ของเกย์ที่ดีต้องมีผัวเดียวเมียเดียวเท่านั้นนะ ต้องมีแบบมิดชิด ไม่โจ่งครึ่ม การใช้แอป หรือ ทวิตเตอร์ จึงผิดจากกรอบไปซะหมด อาทิ เซ็กส์ในพื้นที่กลางแจ้ง การมั่วเซ็กส์ เซ็กส์แบบไม่ป้องกัน เป็นต้น” นักวิชาการด้านเพศวิถีกล่าว
ทำไมนัดยิ้มจึงมีแต่เกย์?
“เพราะผู้ชายไม่ต้องท้องและมีรอบเดือน”
พงศ์มนัส นักวิชาการอิสระด้านจิตวิทยาตอบ และอธิบายด้วยหลักสรีระวิทยาว่า เพราะคู่ชาย-ชายไม่มีปัจจัยปิดกั้นพวกเขาจึงเกิดความต้องการทางเพศเกิดได้ตลอด เพราะหากเป็นคู่ชายหญิงก็ต้องรอจนผู้หญิงไม่มีรอบเดือนจึงจะมีเซ็กส์ได้ ทั้งสังคมยังไม่ยอมรับความสัมพันธ์ของเกย์มากพอ การนัดยิ้มผ่านแอปจึงสะดวกกว่าการสร้างความสัมพันธ์ด้วยวิธีอื่น
“มันเป็นตัวคัดกรองเพศวิถีไปในตัวว่าใครเป็นเกย์ การที่ผู้ชายจะจีบผู้ชายด้วยกันมันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันไม่มีอะไรบอกได้ว่าใครเป็น
“จริงๆ (นัดยิ้ม) ก็มีในคู่ชายหญิง แต่มันอาจจะไม่เด่นเพราะสังคมมองว่าความสัมพันธ์ชายหญิงเป็นเรื่องปกติ และการให้ความสนใจจากสื่อและความชัดเจนมันก็มีผลเหมือนกัน” นักวิชาการด้านจิตวิทยากล่าว
แม้การนัดยิ้มจะสวนทางกับค่านิยมของสังคมไทย แต่วัฒนธรรมนี้อาจสะท้อนให้เห็นการกดทับเสรีภาพของมนุษย์ผ่านการตัดสินทางศีลธรรมจากคนในสังคม
“เราไม่อยากไปตัดสินเหมือนกันว่าสิ่งที่คนอื่นคิดนั้นผิด แล้วเราเองก็ไม่อยากให้เขาตัดสินเราเหมือนกันว่าเราผิด มันเป็นสิทธิส่วนส่วนบุคคล” ทัศน์กล่าว
Like this: Like Loading...
เรื่อง: อัฐานวัฒน์ ภัคภูริวัฒน์
ภาพ: กาญจนาภรณ์ มีขำ
“ผมจะเกร็งทุกครั้งเวลาเจอคนใหม่… เคยเจอประเภทกระตือรือร้นจนเราอึดอัดมากก็มี แต่การมีอะไรกับคนแปลกหน้ามันทำให้เราได้รู้สึก ‘มัน’ กว่า เพราะเราได้ทำอะไรแปลกๆ ห้องนอนคนอื่น หรือแอบยามขึ้นหอเขา เหมือนว่าเรากำลังอยู่ในหนัง กลัวว่าจะโดนจับได้ กลัวว่าจะมีคนเห็น”
“นัดยิ้ม” เป็นศัพท์สแลงยอดฮิตในหมู่วัยรุ่นที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายบนโลกโซเชียลมีเดียบ้านเรา จากกระแสความนิยมของซีรีส์ ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง GMM 25 เมื่อปี 2559 หากกูเกิ้ลคำว่า “นัดยิ้ม” ดู ผลลัพธ์การค้นหาลำดับแรกๆ คงหนีไม่พ้นข้อความชักชวนไปร่วมเพศด้วยอารมณ์เปลี่ยว พร้อมระบุโลเคชั่นของเจ้าของแอคเคาท์บนทวิตเตอร์ ภาพโชว์อาวุธประจำกาย และคลิปหนังตัวอย่าง แบบ No Mosaic, No Sensor เป็นเบาะแสให้คนในละแวกใกล้ๆ มาคลายเหงากันแบบไม่ต้องมีข้อผูกมัด โดยเนื้อหากว่าครึ่งของการใช้คำว่า “นัดยิ้ม” มักพบในกลุ่มผู้ใช้ที่นิยามตัวเองว่าเป็น “ชายรักชาย” หรือ “ไบ”
แอปเฉพาะกลุ่มหนุ่มขี้เหงา
ปริญ (นามสมติ) นักศึกษามหาวิทยาลัย อายุ 23 ปี ผู้มีรสนิยมชายรักชาย เล่าว่าช่องทางการหาคู่นอนบนโลกออนไลน์นั้นไม่ได้มีแค่บนทวิตเตอร์ แต่ยังมีแอปพลิเคชันอย่าง Hornet และ Jack’D ที่ออกแบบมาเพื่อการหาคู่นอนโดยเฉพาะ และเป็นที่นิยมใช้ในกลุ่มเกย์
“สำหรับผมแล้วมันเป็นเรื่องที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะเป็นใคร อายุเท่าไหร่ เราสามารถหาคู่นอนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับพิกัด GPS เราได้ คล้ายๆ Tinder (แอปพลิเคชันสำหรับหาคู่เดท) แต่มันมี Feature (ลักษณะการใช้งาน) ที่เราสามารถขออีกฝ่ายเพื่อให้เราดูรูปลับที่เขาซ่อนไว้อยู่ได้” ปริญกล่าว
ปริญเล่าขั้นตอนการ “นัดยิ้ม” ว่า “เริ่มแรกเลยเขาก็จะถามกันว่าหาเพื่อนคุย แฟน หรือคู่นอน หลังจากนั้นเขาก็จะถามว่าเป็นแบบไหน รุก รับ หรือ โบ๊ท (Both หมายถึง ได้ทั้งสองแบบ) บางคนก็เรื่องมากหน่อย ถามว่า ‘ออกสาว’ (มีท่าทางกระตุ้งกระติ้ง) หรือเปล่า อีกอย่างคือบางคนโชว์รูปตัวเอง แต่บางคนใช้รูปอื่นเราก็จะต้องขอดูรูปก่อนว่าตรงตามที่ต้องการกันไหม”
นัดยิ้มออนไลน์มีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและแบ่งปันข้อมูลบนโลกออนไลน์ทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก อาทิ บล็อก เว็บบอร์ด เรื่อยมาจนถึงการเริ่มต้นของเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์
ทัศน์ (นามสมมติ) นักศึกษามหาวิทยาลัย และไบเซ็กส์ชวล อายุ 24 ปี เล่าย้อนกลับไปว่า คนเหงาในช่วงต้นของยุคเว็บ 2.0 อาจนัดยิ้มกันผ่านเว็บบอร์ด และ MSN ซึ่งเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น และยังบอกอีกว่า ‘บอร์ดปาล์มพลาซ่า’ เป็นเว็บบอร์ดชาวสีม่วงที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีห้อง EViL เป็นห้องประจำสำหรับชาวนัดยิ้มให้นัดกันผ่านการตั้งกระทู้พร้อมบอกพิกัดที่พวกเขาต้องการพบกัน และส่วนมากเป็นพื้นที่สาธารณะอย่างห้องน้ำในศูนย์การค้า
นอกจากนั้น ความสะดวกของอินเทอร์เน็ตยังช่วยให้พวกเขาสามารถ “ยิ้ม” ได้โดยไม่ต้องเจอหน้า ทัศน์เล่าว่า พวกเขาสามารถสำเร็จรักได้ง่ายๆ ด้วยการ ‘แชทเสียว’ หรือใช้กล้องเว็บแคมในการสร้างความสุขให้อีกฝ่ายดูผ่านจอ “แคมฟรอก” โปรแกรมห้องแชทแบบวิดีโอจึงกลายเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับคนเปลี่ยวในยุคนั้น ก่อนจะเข้าสู่ยุค 3.0 ที่พัฒนาให้เว็บโซเชียลอย่าง เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ รวมถึงสมาร์โฟนรุ่นต่างๆ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารได้ง่ายและเรียลไทม์มากขึ้น จนเกิดแอปพลิเคชั่นสำหรับการสนทนาอย่างไลน์ (Line) และแอปสำหรับหาคู่ที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
กดทับ – ปกปิด – ท้าทาย
ปริญเล่าให้ฟังว่า การมีอะไรกับคนแปลกหน้าเปิดโอกาสให้เขาได้ทำอะไรทีสนุกกว่าการมีเซ็กส์ธรรมดา ทั้งแปลกและท้าทาย เหมือนเป็นฉากหนึ่งในภาพยนตร์
“ยามถามว่าเราอยู่หอนี้ไหม ผมก็หลอกเขาไปว่า ‘(เคย)อยู่’ ทั้งๆ ที่บัตรหอก็ไม่มี เนียนลงชื่อขึ้นหอเพื่อจะไปมีอะไรกับคนบนนั้น ผมนัดเขาไปห้องเก่าที่ผมเคยอยู่ ตอนนั้นมันเป็นห้องว่างแล้ว เป็นความตื่นเต้นแปลกๆ กลัวคนจับได้” เขาบอก
ปริญแสดงความเห็นต่อว่า การที่สังคมยังไม่เปิดกว้างให้คนพูดถึงเรื่องเซ็กส์ได้อย่างอิสระและมองว่าการมีเซ็กส์ของวัยรุ่นเป็นเรื่องผิดปกติทางศีลธรรมนั้น บีบบังคับให้คนที่มีความต้องการทางเพศหนีไปใช้แอคเคาท์แบบไม่เปิดเผยตัวตน ด้วยการใช้ภาพใบหน้าหรือร่างกายของคนอื่นปกปิดอัตลักษณ์ของตนเพื่อแสดงออกถึงความต้องการทางเพศในโลกเสมือนจริง ทำให้พวกเขาสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่ เช่น ภาพสยิว และคลิปการร่วมเพศแบบโฮมเมด
ตามทัศนคติของปริญ บางครั้งการซ่อนตัวทำให้ผู้ใช้บางรายฉวยโอกาสทำเรื่องผิดศีลธรรม เช่น การล่อลวงเยาวชน การค้าประเวณี หรือการใช้ยาเสพติด จึงทำให้พื้นที่นิรนามแห่งนี้ถูกนิยามว่าเป็นพื้นที่แห่งความมืด
ถูกใจไม่ผูกมัด?
“โลกมืดเป็นโลกที่เลือกปฏิบัติกันมากๆ พอมันไม่มีการคัดกรอง มันก็ทำให้เราได้เห็นสันดานดิบของคน”
ทัศน์บอก เมื่อกล่าวถึงความพิเศษของการนัดยิ้มที่พวกเขาสามารถสนุกกับคู่นอนที่มีลักษณะทางกายภาพตรงตามสเปกมากที่สุด ทั้งรูปร่าง หน้าตา กว้างไปถึงรสนิยมทางเพศ โดยปราศจากการจ้องมองจากสังคม
เขายังเล่าต่ออีกว่า สำหรับการรวมตัวกันของชาวนัดยิ้มในกลุ่มห้องแชทบนไลน์ ต้องมีการถ่ายรูปบัตรประชาชนเพื่อยืนยันว่าไม่มีผู้สูงอายุคราวพ่อแฝงตัวเข้ามาร่วมสนุกด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติในหมู่ชาวนัดยิ้มที่ต้องการให้สงวนความสำราญไว้สำหรับคนหนุ่มเท่านั้น
เช่นเดียวกันกับปริญที่กล่าวว่า รูปร่าง หน้าตา และลักษณะทางกายภาพของอีกฝ่ายถือเป็นปัจจัยหลักในการเลือกลงเอยอย่างห้ามไม่ได้ เพราะความรักกับเซ็กส์เป็นเรื่องเดียวกัน
“สมมติเราไปเจอคนที่ตรงสเปกมาก แต่สุดท้ายเขาไม่สามารถเติมเต็มเราในเรื่องนี้ (เซ็กส์) ได้ เราก็จะรู้สึกว่าเขาไม่ตอบโจทย์ชีวิตรักเราขนาดนั้น” ปริญยกตัวอย่าง
นอกจากนั้นทัศน์ยังเปิดเผยอีกว่าการมีอะไรกับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จักเลยเป็นเรื่องปกติมาก ไม่จำเป็นต้องสนทนาเพื่อความคุ้นเคย หากมองแล้วรู้ว่าใช่ ก็เดินตามกันเข้าห้องน้ำ เริ่มภารกิจ เสร็จ แยกทาง ถ้าถูกใจก็นัดต่อ เป็นวงจรไปเรื่อยๆ เขายังบอกอีกว่าบางคนก็ได้แฟนจากการนัดยิ้ม แต่จากประสบการณ์ของเขาแล้ว เวลาร้อยละ 70 ของชีวิตคู่ที่ได้จากการนัดยิ้มไม่มีอะไรเลยนอกจากการมาเจอกันเพื่อมีเซ็กส์
เทคโนโลยีใหม่ใจความเดิม
แม้การนัดยิ้มในยุคเว็บ 4.0 ดูจะมีความสะดวกกว่ายุคก่อนที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถหาคู่ขาที่อยู่ใกล้เคียงและมีไฟ์สไตล์ที่ตรงกันมากขึ้น แต่การการนัดเพื่อสานสัมพันธ์ทางกายแบบไม่รู้จักฉันไม่รู้จักเธอก็ไม่ใช่เรื่องใหม่
เมื่อลองย้อนวัฒนธรรมการนัดพบกันเพื่อร่วมรักฉาบฉวยในสังคมไทย อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์หัวข้อ บุรุษบันเทิง: สื่อบันเทิงกามารมณ์ในสังคมไทย ทศวรรษ 2450 – 2500 วิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์และวรรณกรรมเปรียบเทียบว่า ข้อแตกต่างที่สำคัญของการนัดยิ้มในปัจจุบันและสมัยโบราณคือระดับการปฏิสัมพันธ์ ในปัจจุบันคือนัดเพื่อมามีเซ็กส์กันอย่างเดียว ในขณะที่คนสมัยก่อนคือการนัดพบเพื่อมาพลอดรักกัน
“ในสมัยขุนช้างขุนแผนเป็นการนัดเพื่อมาพลอดรัก คือการกอด ก่าย กระซิกกระซี้กันเท่านั้น ส่วนเซ็กส์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อตัวละครเกิดอารมณ์ต่อเนื่องมากกว่า อย่างในวรรณกรรมโรแมนซ์ ตัวละครอาจมาแค่เจอกันแล้วแยกย้ายกลับบ้าน ไม่ได้ทำอะไรลึกซึ่งกว่านั้น เพราะพวกเขาอาจถูกควบคุมโดยบรรทัดฐานที่กำหนดให้คู่รักต้องแต่งงานกันก่อน จึงจะสามารถมีเซ็กส์เพื่อสืบวงศ์ตระกูล ซึ่งถือเป็นค่านิยมสูงสุดของสังคมได้” อาชญาสิทธิ์ กล่าว
เขายังอธิบายต่อว่า ค่านิยมทางเพศของไทยยึดโยงเซ็กส์เข้ากับสถาบันครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว และสงวนให้เกิดขึ้นเฉพาะในปริมณฑลของบ้าน ทำให้การนัดเพื่อเซ็กส์ที่ไม่ได้มีเพื่อการสืบพันธุ์และเกิดขึ้นนอกพื้นที่รโหฐานสร้างสัญญะแฝงให้ นัดยิ้มเป็นการร่วมรักเพื่อแฟนตาซีทางเพศ
“มันมีสัญญะของความแปลกหน้า และความตื่นเต้นบางอย่างที่ไม่ใช่การร่วมเพศของคู่ผัวเมีย สามีไม่มีความรู้สึกจำเป็นว่า ต้องนัดภรรยาของตนเพื่อไปมีเซ็กส์นอกชายคาบ้าน ทั้งแนวคิดผัวเดียวเมียเดียวแบบที่ไม่ให้คนมีเซ็กส์ก่อนแต่งงานยังหมือนกับการคลุมถุงชนที่เชื่อว่าเดี๋ยวก็รักกันเอง แต่ความจริงแล้วหากคู่รักไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางเพศของอีกฝ่ายได้ก็อาจกลายเป็นปัญหาของความสัมพันธ์” มหาบัณฑิตสาขาประวัติศาสตร์อธิบาย
อย่างไรก็ตาม การศึกษาของ Sara Webb จากมหาวิทยาลัย James Madison สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2558 ในหัวข้อ การสื่อสารในวัฒนธรรมการมีเซ็กส์ชั่วคราวในยุคสมัยใหม่ (Communication in the Modern Hookup Culture) พบว่า นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในอเมริกากลุ่ม Millennials (ผู้ที่เกิดในช่วงปี 2523 – 2539) มองว่าการมีเซ็กส์แค่ชั่วคราวไม่ได้เป็นการปฏิเสธความเชื่อเรื่องความสัมพันธ์แบบมีข้อผูกมัด แต่คือการทดลองเพื่อนำไปสู่การหาคู่ครองที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเอง
วิตถารหรือรสนิยมทางเพศ?
การเปิดเผยภาพจุดซ่อนเร้นและท่วงท่าอันผาดโผนของชาวนัดยิ้มบนโซเชียลมีเดียอาจเป็นพฤติกรรมที่มีผู้มองว่าขัดต่อค่านิยมของสังคมไทย คนจำนวนมากจึงตัดสินชาวนัดยิ้มว่า เป็นพวกโรคจิตและภัยสังคม ทั้งที่พวกเขาอาจจะมีพฤติกรรมทางสังคมอื่นๆ ที่ปกติ และเพียงต้องการเล่นสนุกเท่านั้น
พงศ์มนัส บุศยประทีป นักวิชาการอิสระ นักเขียนและผู้แปลหนังสือด้านจิตวิทยาวิเคราะห์โดยใช้มุมมองทางจิตวิทยาและสังคมวิทยาว่า สื่อวาบหวิวสามารถสื่อสารได้อย่างตรงประเด็นว่า บุคคลนั้น “เป็นอย่างไร” และ “กำลังมองหาอะไร”
“เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่มีลักษณะทางกายภาพที่ดี และความเชื่อในสังคมยังบอกว่า คนเหล่านี้มีโอกาสจะได้คู่นอนมากกว่า ซึ่งหากคนที่หน้าตาหรือหุ่นไม่ดีก็มีแนวโน้มในการใช้รูปของคนอื่นหรือใช้สื่อลามกเป็นสัญลักษณ์ในการดึงดูดมากกว่า” พงศ์มนัสกล่าว
ส่วนพฤติกรรมนี้จะจัดเป็นอาการทางจิตหรือไม่ รวิตา ระย้านิล นักจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า มีข้อบ่งชี้สองประการในการระบุอาการทางจิต ประการแรกคือ แปลก หรือ สุดโต่งมากหรือน้อยกว่าคนอื่น ถัดมาคือสร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น
“ถ้าพฤติกรรมที่มีคนทำจำนวนมาก และไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใครก็ไม่เรียกว่าเป็นอาการทางจิต แต่ถ้าหมกมุ่นจนเสียงาน ก่อปัญหาเช่น เป็นโรคติดต่อทางเพศแล้วไม่หยุด จึงจะนับเป็นอาการป่วย การที่บอกว่าไม่ใช่พฤติกรรมที่ผิดปกติไม่ได้หมายความว่าไม่เป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหา” รวิตาวิเคราะห์
เพราะนัดยิ้มเป็นเรื่องของ ‘ข้อความ’
อย่างไรก็ตาม “การใช้ภาพโป๊” และ “การนัดยิ้ม” ไม่ใช่เรื่องเดียวกันโดยสิ้นเชิง ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง นักวิชาการด้านเพศวิถีและเพศสภาวะ มหาบัณฑิตจาก London School of Economics and Political Science ชี้ว่าทั้งสองอย่างตอบสนองวัตถุประสงค์ต่างกัน “ภาพโป๊” ใช้เพื่อปลดปล่อยเพศวิถี แต่การนัดยิ้มคือ วิธีการสื่อสารเพื่อให้ได้คู่นอนโดยการเร้าอารมณ์อีกฝ่ายผ่าน “ตัวอักษร”
“การแสดงออกหรือถ้าใช้รูปภาพโชว์อวัยวะเพศมันจะไม่เกิดแรงดึงดูดให้อีกฝ่ายอยากค้นหา หรือไขว่คว้า เพราะเราเห็นสินค้าตรงหน้า เป็นการปลดปล่อยเพศวิถีซึ่งมักจะอยู่ในลักษณะของรูปภาพ เช่น ฉันไปทำอะไรมา ฉันมีปฏิบัติการทางเพศสภาวะ และเพศวิถีอย่างไร ซึ่งภาพส่วนใหญ่มักจะเป็นภาพโป๊ แต่ถ้าเป็น ‘การนัดยิ้ม’ จริงๆ มักจะอยู่ในรูปของ ‘ตัวอักษร’ เช่น การพรรณาความรู้สึก อารมณ์ทางเพศ เร้าอารมณ์อีกฝ่ายหนึ่ง” ติณณภพจ์กล่าว
ติณณภพจ์เสริมอีกว่า แพทเทิร์นการแชทของชาวนัดยิ้มยังน่าสนใจ ด้วยเอกลักษณ์การเปิดสนทนาด้วยคำถามห้วนๆ ไม่กี่คำถาม แต่สามารถการประหยัดทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ลงทุนน้อยที่สุด และผลลัพธ์ตามความคาดหวังมากที่สุด
“ชื่ออะไร? แถวไหน? แบบไหน? หาอะไร? เป็นการใช้แพทเทิร์นของภาษาที่สั้นที่สุด ประหยัดเวลาในการพิมพ์ นำมาซึ่งการเข้าถึงเป้าหมายได้เร็วที่สุด พูดน้อยๆ ได้ตอบเร็ว ถูกใจ แล้วก็นั่งแท็กซี่ไปเลย ตอบโจทย์เศรษฐศาสตร์พื้นฐานเรื่องต้นทุนและผลประโยชน์ เพราะนัดยิ้มออนไลน์สามารถเข้าถึงได้ฟรี ไม่เสียเงิน ข้อได้เปรียบเรื่องเวลาที่สามารถโต้ตอบได้ทันที ไม่ต้องรอจดหมาย ไม่ต้องรอการมาเจอหน้าแล้วทำความรู้จักกัน ทุกอย่างมันเกิดได้เลยทันที ประหยัดทั้งในแง่เวลา และทรัพยากรทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว” ติณณพจน์กล่าว
เรื่องส่วนตัวที่ท้าทายวัฒนธรรม
แล้วทำไมการที่ชาวนัดยิ้มเลือกอยู่ภายในบริเวณ “ส่วนตัว” ด้วยแอคเคาท์ทางเลือก หรือแอปเฉพาะกลุ่ม จึงยังถูกตัดสินจากสังคม
ติณณภพจ์อธิบายว่า เมื่อมนุษย์ถูกจำกัดการแสดงออกทางเพศวิถี และรูปแบบการมีเพศสัมพันธ์ทางเลือก การนัดยิ้มจึงเป็นการเติมเต็มความเป็นมนุษย์ที่ถูกจำกัดผ่านความสะดวกของแอปพลิเคชั่นและเทคโนโลยี เป็นการใช้พื้นที่ออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะชนมาทำประโยชน์เรื่องส่วนตัว
“การใช้ทวิตเตอร์และแอปพลิเคชันในการหาคู่และปลดปล่อยเพศวิถี ไม่ได้เป็นส่วนตัวอีกต่อไป มันเป็นเรื่องกึ่งส่วนตัว (Semi-Private/Semi-Public) แต่มีแนวโน้มว่าจะเป็นเรื่องสาธารณะมากกว่า เหมือนเถียงกับเพื่อนว่าการโพสต์ เฟซบุ๊ก เป็นเรื่องสาธารณะ หรือส่วนตัว เพราะอย่างไรก็ตามก็มีคนเห็นโพสต์หาคู่หรือภาพโป๊เปลือยที่ใช้บนไทม์ไลน์ หรือแม้กระทั่งแอปที่มีการคัดกรองความเป็นส่วนตัวมาแล้วก็ตาม (เช่น การแชทในกล่องข้อความส่วนตัว)” ติณณภพจ์กล่าว
“นัดยิ้ม ในมิติด้านวัฒนธรรม มันจึงเป็นการเขย่าศีลธรรมที่กำลังควบคุมปริมณฑลสาธารณะ (Public Sphere) อยู่ ทั้งยังเป็นขบถต่อบรรทัดฐานทางเพศทั้งแบบต่างเพศและเพศเดียวกัน (Homonormativity และ Heteronormativity) ซึ่งในกรณีของเพศเดียวกัน การนัดยิ้มมันยังเป็นการท้าทาย ’อัตลักษณ์ทางเพศ’ ของตัวมันเองด้วย”
เขาบอกว่า เพศวิถีทั้งแบบชายหญิง หรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศต่างก็มีบรรทัดฐาน (Normativity) ในการประกอบสร้าง “อัตลักษณ์ทางเพศ” ในอุดมคติขึ้นมาควบคุมความคิดและพฤติกรรมทางเพศ แต่การนัดยิ้มเป็นพฤติกรรมทางเพศที่ฉีกออกจากกรอบที่สังคมวางไว้และเห็นได้ในพื้นที่สาธารณะ จึงถูกโจมตีโดยผู้ที่ยึดถือบรรทัดฐานเหล่านี้
“บรรทัดฐานจะเป็นตัวบอกว่า เพศสัมพันธ์แบบไหนที่คุณมีและมีไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเข้ามาอยู่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ของเกย์ที่ดีต้องมีผัวเดียวเมียเดียวเท่านั้นนะ ต้องมีแบบมิดชิด ไม่โจ่งครึ่ม การใช้แอป หรือ ทวิตเตอร์ จึงผิดจากกรอบไปซะหมด อาทิ เซ็กส์ในพื้นที่กลางแจ้ง การมั่วเซ็กส์ เซ็กส์แบบไม่ป้องกัน เป็นต้น” นักวิชาการด้านเพศวิถีกล่าว
ทำไมนัดยิ้มจึงมีแต่เกย์?
“เพราะผู้ชายไม่ต้องท้องและมีรอบเดือน”
พงศ์มนัส นักวิชาการอิสระด้านจิตวิทยาตอบ และอธิบายด้วยหลักสรีระวิทยาว่า เพราะคู่ชาย-ชายไม่มีปัจจัยปิดกั้นพวกเขาจึงเกิดความต้องการทางเพศเกิดได้ตลอด เพราะหากเป็นคู่ชายหญิงก็ต้องรอจนผู้หญิงไม่มีรอบเดือนจึงจะมีเซ็กส์ได้ ทั้งสังคมยังไม่ยอมรับความสัมพันธ์ของเกย์มากพอ การนัดยิ้มผ่านแอปจึงสะดวกกว่าการสร้างความสัมพันธ์ด้วยวิธีอื่น
“มันเป็นตัวคัดกรองเพศวิถีไปในตัวว่าใครเป็นเกย์ การที่ผู้ชายจะจีบผู้ชายด้วยกันมันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันไม่มีอะไรบอกได้ว่าใครเป็น
“จริงๆ (นัดยิ้ม) ก็มีในคู่ชายหญิง แต่มันอาจจะไม่เด่นเพราะสังคมมองว่าความสัมพันธ์ชายหญิงเป็นเรื่องปกติ และการให้ความสนใจจากสื่อและความชัดเจนมันก็มีผลเหมือนกัน” นักวิชาการด้านจิตวิทยากล่าว
แม้การนัดยิ้มจะสวนทางกับค่านิยมของสังคมไทย แต่วัฒนธรรมนี้อาจสะท้อนให้เห็นการกดทับเสรีภาพของมนุษย์ผ่านการตัดสินทางศีลธรรมจากคนในสังคม
“เราไม่อยากไปตัดสินเหมือนกันว่าสิ่งที่คนอื่นคิดนั้นผิด แล้วเราเองก็ไม่อยากให้เขาตัดสินเราเหมือนกันว่าเราผิด มันเป็นสิทธิส่วนส่วนบุคคล” ทัศน์กล่าว
Share this:
Like this: