เทรนด์การท่องเที่ยวในยุค 4.0 ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่ม Gen Y ยุคนี้คือ การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อค้นหาความรู้ หรือ Knowledge Tourism เพื่อค้นหาแรงบันดาลใจและประสบการณ์จริงที่ทำให้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา

บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์ชุมชนตรอกเข้าเม่า
แหล่งเรียนรู้หนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่บริเวณย่านบางกอกน้อย คือ ชุมชนตรอกข้าวเม่า หรือ บ้านข้าวเม่า ชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า บ้านสวน เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ควบคู่ไปกับการทำข้าวเม่ากันเกือบทุกหลังคาเรือน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ากันว่า คนในชุมชนนี้เดิมอพยพมาจากอยุธยาตั้งแต่สมัยธนบุรี เมื่อย้ายมาแล้วก็ยังยึดอาชีพดั้งเดิมคือ การขายข้าวเม่าที่ปรุงเอง จึงเป็นที่มาของชื่อชุมชน
อนุชา เกื้อจรูญ ปราชญ์ชุมชน ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนตรอกข้าวเม่า เล่าว่า แม้ชาวชุมชนนี้จะทำข้าวเม่ากันทุกบ้าน แต่ก็ไม่สามารถปลูกข้าวเองได้ ต้องสั่งข้าวเปลือกจากอยุธยา โดยบรรทุกเรือล่องมาตามลำน้ำผ่านคลองบางกอกน้อย มาส่งถึงตามสวนบ้านต่างๆ นำมาเก็บไว้ในยุ้งฉาง ทยอยนำมาทำเป็นข้าวเม่าตลอดทั้งปี

ข้าวเม่าหมี่ ของดีประจำชุมชน
เดิมทีนั้นชาวบ้านทำแค่ข้าวเม่าดิบกับข้าวเม่าราง วิธีทำข้าวเม่าดิบคือ นำข้าวที่แก่ใส่กระบุงแช่น้ำ นำไปคั่วในกระทะร้อนจนสุก แล้วจึงนำมาตำในครกกระเดื่องจนแบน ฝัดเอาเปลือกข้าวออก กลายเป็นข้าวนิ่มๆ ส่วนข้าวเม่ารางคือ การนำข้าวเม่าดิบไปคั่วกับทรายจนพอง แล้วจึงร่อนเอาทรายออก 5-6 รอบ วิธีการนี้เรียกว่า การรางข้าวเม่า กลายมาเป็นข้าวเม่ารางกรอบๆ นำมาปรุงเป็นขนมประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้าวเม่าหมี่ ข้าวเม่าคลุก และกระยาสารท
นอกจากนี้ยังมีขนมดั้งเดิมของชุมชนอีกอย่างคือ กะละแมและข้าวเหนียวแดง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผลจากวัฒนธรรมการกวนขนมของชาวมอญที่อพยพเข้ามาในชุมชนเมื่อ 100 กว่าปีก่อน ถือเป็นขนมจานพิเศษที่ชาวชุมชนในยุคก่อนจะทำเฉพาะในเทศกาลงานบุญเท่านั้น เนื่องจากต้องกวนกะละแมจากเมล็ดข้าวเหนียวตั้งแต่ต้น ทำให้ใช้เวลากวนนานกว่าห้าชั่วโมงถึงจะได้ที่
แต่ปัจจุบัน การทำขนมดั้งเดิมอย่างข้าวเม่า กะละแม และข้าวเหนียวแดง หายไปจากชุมชนแล้ว เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ทั้งยังต้องใช้ความประณีต เวลา และแรงงานคนมาก ประกอบกับการที่มีผู้นิยมกินของว่างเหล่านี้น้อยลง ค่าตอบแทนที่น้อย ความเจริญที่เข้ามาและการศึกษาที่สูงขึ้นของคนในชุมชน ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงเลิกทำข้าวเม่าเป็นอาชีพหลักและหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน ทุกวันนี้ ในชุมชนจึงไม่มีใครทำข้าวเม่าอีก นอกจาก บ้านขนมไทยตรอกข้าวเม่า ของอนุชาที่ยังคงยึดอาชีพนี้ต่อเพื่ออนุรักษ์อาหารประจำชุมชนเพียงบ้านเดียว
เมื่อชุมชนตรอกข้าวเม่ามีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ จึงกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงความรู้ ที่ภาครัฐและเอกชนที่สนใจสถานที่ท่องเที่ยวที่มีเรื่องราวเชิงวัฒนธรรมให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานครได้มอบทุนให้สร้างพิพิธภัณฑ์และงบประมาณสนับสนุนปีละ 1.2 ล้านบาท รวมถึงส่งเสริมการไปร่วมออกงานต่างๆ เช่น งานเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ชุมชนให้เป็นที่รู้จัก
ชุมชนตรอกข้าวเม่ามีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาทุกปี โดยในปี 2560 นี้ มีผู้มาเยือนชุมชนตรอกข้าวเม่าแล้วประมาณ 600-700 คน โดยร้อยละ 60 เป็น นักเรียนนักศึกษา ส่วนที่เหลือเป็นนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ด้วยเหตุนี้ บ้านข้าวเม่าจึงกลายเป็นหนึ่งชุมชนในโครงการชุมชนเข้มแข็งสร้างกรุงเทพฯ ยั่งยืน ที่ใช้วัฒนธรรมในการขับเคลื่อน เพราะได้นำการท่องเที่ยวมาใช้เป็นการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชน
อนุชาอุทิศแรงกายแรงใจสร้างพิพิธภัณฑ์ประจำชุมชนขึ้นที่ วัดสุทธาวาส วัดประจำชุมชน โดยนำข้าวของเครื่องใช้ หลักฐานทางอาชีพ วิถีชีวิตในอดีตมาจัดแสดงถ่ายถอดเป็นเรื่องราวให้ผู้ที่สนใจเข้าชมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

อนุชา เกื้อจรูญ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ กำลังสาธิตวิธีการทำข้าวเม่า
ไฮไลต์ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ การสาธิตทำข้าวเม่าหมี่ ซึ่งเป็นของว่างโบราณที่มีคุณค่าสารอาหาร โดยปรุงสดๆ ด้วยกรรมวิธีหลายขั้นตอนและส่วนผสมหลากหลาย เพื่อให้เห็นว่าไม่มีสารปรุงแต่งทางเคมี ผู้มาเยือนจะได้ชิมรสชาติกลมกล่อมหวานเค็มของข้าวเม่ารางกรอบๆ คลุกในน้ำตาลปี๊บที่ปรุงรสด้วยน้ำปลาและพริกไทย คลุกเคล้ากับเต้าหู้กรอบ ถั่วลิสงและกุ้งแห้ง เป็นของว่างที่รูปร่างธรรมดา แต่กลับอร่อยกินเพลินจนหยุดไม่ได้
การท่องเที่ยวชุมชนที่ค่อยๆ ก่อร่างขึ้นมาทีละน้อยจนเป็นรูปเป็นร่างอย่างที่เห็นก็ใช้เวลากว่าหกปี จึงมีความยั่งยืน ประกอบกับยุคสมัยใหม่ที่มีสื่อสังคมออนไลน์ช่วยทำให้ชุมชนตรอกข้าวเม่าค่อยๆ เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยว ชุมชนยังใช้เฟซบุ๊ก ในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชุมชน ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น แถมยังเป็นโมเดลต้นแบบในการพัฒนาและอนุรักษ์ท้องถิ่นให้กับชุมชนใกล้เคียง
อนุชา เสริมว่า การมีนักท่องเที่ยวเข้ามา ไม่ได้รบกวนวิถีชีวิตในชุมชน หากแต่เป็นการช่วยอนุรักษ์สืบทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ชุมชนไว้ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนให้ปลอดภัย น่าอยู่อีกด้วย เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามา ชาวบ้านก็เกิดความภูมิใจและความรักในชุมชน ก็จะร่วมมือกันทำให้ชุมชนสะอาดน่าอยู่ มีการพัฒนาถนนหนทาง ปรับภูมิทัศน์ต่างๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือน
เมื่อถามอนุชาว่า ทำไมยังคงอนุรักษ์การทำข้าวเม่าอยู่ทั้งๆ ที่ไม่มีบ้านไหนทำกันแล้ว อนุชา ตอบด้วยเสียงเครือ ไม่หนักแน่นเหมือนตอนบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชน ว่า “เราทำกันมาถึงช่วงยุคหลัง ถ้าเราจะเลิกไปเราก็ใจหาย มันใจหายว่ามันเลิกในรุ่นเรา ทุกวันนี้ ทำขายได้ก็ขาย ทำเพื่อการอนุรักษ์ ถ้าเราเลิกไปเลย เรื่องราวบ้านเราก็หายไปแล้ว”
FYI
สถานที่ : พิพิธภัณฑ์ชุมชนตรอกข้าวเม่า วัดสุทธาวาส แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
เฟซบุ๊ก : khawmaolocalmuseam
เวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ 08:30-16:30 น.
เบอร์โทรศัพท์ : 085-561-3910
Like this:
Like Loading...
เทรนด์การท่องเที่ยวในยุค 4.0 ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่ม Gen Y ยุคนี้คือ การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อค้นหาความรู้ หรือ Knowledge Tourism เพื่อค้นหาแรงบันดาลใจและประสบการณ์จริงที่ทำให้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา
บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์ชุมชนตรอกเข้าเม่า
แหล่งเรียนรู้หนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่บริเวณย่านบางกอกน้อย คือ ชุมชนตรอกข้าวเม่า หรือ บ้านข้าวเม่า ชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า บ้านสวน เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ควบคู่ไปกับการทำข้าวเม่ากันเกือบทุกหลังคาเรือน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ากันว่า คนในชุมชนนี้เดิมอพยพมาจากอยุธยาตั้งแต่สมัยธนบุรี เมื่อย้ายมาแล้วก็ยังยึดอาชีพดั้งเดิมคือ การขายข้าวเม่าที่ปรุงเอง จึงเป็นที่มาของชื่อชุมชน
อนุชา เกื้อจรูญ ปราชญ์ชุมชน ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนตรอกข้าวเม่า เล่าว่า แม้ชาวชุมชนนี้จะทำข้าวเม่ากันทุกบ้าน แต่ก็ไม่สามารถปลูกข้าวเองได้ ต้องสั่งข้าวเปลือกจากอยุธยา โดยบรรทุกเรือล่องมาตามลำน้ำผ่านคลองบางกอกน้อย มาส่งถึงตามสวนบ้านต่างๆ นำมาเก็บไว้ในยุ้งฉาง ทยอยนำมาทำเป็นข้าวเม่าตลอดทั้งปี
ข้าวเม่าหมี่ ของดีประจำชุมชน
เดิมทีนั้นชาวบ้านทำแค่ข้าวเม่าดิบกับข้าวเม่าราง วิธีทำข้าวเม่าดิบคือ นำข้าวที่แก่ใส่กระบุงแช่น้ำ นำไปคั่วในกระทะร้อนจนสุก แล้วจึงนำมาตำในครกกระเดื่องจนแบน ฝัดเอาเปลือกข้าวออก กลายเป็นข้าวนิ่มๆ ส่วนข้าวเม่ารางคือ การนำข้าวเม่าดิบไปคั่วกับทรายจนพอง แล้วจึงร่อนเอาทรายออก 5-6 รอบ วิธีการนี้เรียกว่า การรางข้าวเม่า กลายมาเป็นข้าวเม่ารางกรอบๆ นำมาปรุงเป็นขนมประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้าวเม่าหมี่ ข้าวเม่าคลุก และกระยาสารท
นอกจากนี้ยังมีขนมดั้งเดิมของชุมชนอีกอย่างคือ กะละแมและข้าวเหนียวแดง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผลจากวัฒนธรรมการกวนขนมของชาวมอญที่อพยพเข้ามาในชุมชนเมื่อ 100 กว่าปีก่อน ถือเป็นขนมจานพิเศษที่ชาวชุมชนในยุคก่อนจะทำเฉพาะในเทศกาลงานบุญเท่านั้น เนื่องจากต้องกวนกะละแมจากเมล็ดข้าวเหนียวตั้งแต่ต้น ทำให้ใช้เวลากวนนานกว่าห้าชั่วโมงถึงจะได้ที่
แต่ปัจจุบัน การทำขนมดั้งเดิมอย่างข้าวเม่า กะละแม และข้าวเหนียวแดง หายไปจากชุมชนแล้ว เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ทั้งยังต้องใช้ความประณีต เวลา และแรงงานคนมาก ประกอบกับการที่มีผู้นิยมกินของว่างเหล่านี้น้อยลง ค่าตอบแทนที่น้อย ความเจริญที่เข้ามาและการศึกษาที่สูงขึ้นของคนในชุมชน ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงเลิกทำข้าวเม่าเป็นอาชีพหลักและหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน ทุกวันนี้ ในชุมชนจึงไม่มีใครทำข้าวเม่าอีก นอกจาก บ้านขนมไทยตรอกข้าวเม่า ของอนุชาที่ยังคงยึดอาชีพนี้ต่อเพื่ออนุรักษ์อาหารประจำชุมชนเพียงบ้านเดียว
เมื่อชุมชนตรอกข้าวเม่ามีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ จึงกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงความรู้ ที่ภาครัฐและเอกชนที่สนใจสถานที่ท่องเที่ยวที่มีเรื่องราวเชิงวัฒนธรรมให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานครได้มอบทุนให้สร้างพิพิธภัณฑ์และงบประมาณสนับสนุนปีละ 1.2 ล้านบาท รวมถึงส่งเสริมการไปร่วมออกงานต่างๆ เช่น งานเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ชุมชนให้เป็นที่รู้จัก
ชุมชนตรอกข้าวเม่ามีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาทุกปี โดยในปี 2560 นี้ มีผู้มาเยือนชุมชนตรอกข้าวเม่าแล้วประมาณ 600-700 คน โดยร้อยละ 60 เป็น นักเรียนนักศึกษา ส่วนที่เหลือเป็นนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ด้วยเหตุนี้ บ้านข้าวเม่าจึงกลายเป็นหนึ่งชุมชนในโครงการชุมชนเข้มแข็งสร้างกรุงเทพฯ ยั่งยืน ที่ใช้วัฒนธรรมในการขับเคลื่อน เพราะได้นำการท่องเที่ยวมาใช้เป็นการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชน
อนุชาอุทิศแรงกายแรงใจสร้างพิพิธภัณฑ์ประจำชุมชนขึ้นที่ วัดสุทธาวาส วัดประจำชุมชน โดยนำข้าวของเครื่องใช้ หลักฐานทางอาชีพ วิถีชีวิตในอดีตมาจัดแสดงถ่ายถอดเป็นเรื่องราวให้ผู้ที่สนใจเข้าชมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
อนุชา เกื้อจรูญ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ กำลังสาธิตวิธีการทำข้าวเม่า
ไฮไลต์ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ การสาธิตทำข้าวเม่าหมี่ ซึ่งเป็นของว่างโบราณที่มีคุณค่าสารอาหาร โดยปรุงสดๆ ด้วยกรรมวิธีหลายขั้นตอนและส่วนผสมหลากหลาย เพื่อให้เห็นว่าไม่มีสารปรุงแต่งทางเคมี ผู้มาเยือนจะได้ชิมรสชาติกลมกล่อมหวานเค็มของข้าวเม่ารางกรอบๆ คลุกในน้ำตาลปี๊บที่ปรุงรสด้วยน้ำปลาและพริกไทย คลุกเคล้ากับเต้าหู้กรอบ ถั่วลิสงและกุ้งแห้ง เป็นของว่างที่รูปร่างธรรมดา แต่กลับอร่อยกินเพลินจนหยุดไม่ได้
การท่องเที่ยวชุมชนที่ค่อยๆ ก่อร่างขึ้นมาทีละน้อยจนเป็นรูปเป็นร่างอย่างที่เห็นก็ใช้เวลากว่าหกปี จึงมีความยั่งยืน ประกอบกับยุคสมัยใหม่ที่มีสื่อสังคมออนไลน์ช่วยทำให้ชุมชนตรอกข้าวเม่าค่อยๆ เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยว ชุมชนยังใช้เฟซบุ๊ก ในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชุมชน ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น แถมยังเป็นโมเดลต้นแบบในการพัฒนาและอนุรักษ์ท้องถิ่นให้กับชุมชนใกล้เคียง
อนุชา เสริมว่า การมีนักท่องเที่ยวเข้ามา ไม่ได้รบกวนวิถีชีวิตในชุมชน หากแต่เป็นการช่วยอนุรักษ์สืบทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ชุมชนไว้ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนให้ปลอดภัย น่าอยู่อีกด้วย เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามา ชาวบ้านก็เกิดความภูมิใจและความรักในชุมชน ก็จะร่วมมือกันทำให้ชุมชนสะอาดน่าอยู่ มีการพัฒนาถนนหนทาง ปรับภูมิทัศน์ต่างๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือน
เมื่อถามอนุชาว่า ทำไมยังคงอนุรักษ์การทำข้าวเม่าอยู่ทั้งๆ ที่ไม่มีบ้านไหนทำกันแล้ว อนุชา ตอบด้วยเสียงเครือ ไม่หนักแน่นเหมือนตอนบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชน ว่า “เราทำกันมาถึงช่วงยุคหลัง ถ้าเราจะเลิกไปเราก็ใจหาย มันใจหายว่ามันเลิกในรุ่นเรา ทุกวันนี้ ทำขายได้ก็ขาย ทำเพื่อการอนุรักษ์ ถ้าเราเลิกไปเลย เรื่องราวบ้านเราก็หายไปแล้ว”
FYI
สถานที่ : พิพิธภัณฑ์ชุมชนตรอกข้าวเม่า วัดสุทธาวาส แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
เฟซบุ๊ก : khawmaolocalmuseam
เวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ 08:30-16:30 น.
เบอร์โทรศัพท์ : 085-561-3910
Share this:
Like this: