เย็นวันหนึ่งบนรถไฟฟ้าใต้ดินที่พลุกพล่านไปด้วยผู้คนที่รีบเดินทางกลับบ้าน ชายหญิงคู่หนึ่งกำลังสื่อสารกันอย่างออกรส หากแต่การสนทนาของพวกเขาช่างเงียบงัน ไม่มีแม้คำพูดใดๆ มีเพียงมือที่ขยับเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ อย่างรวดเร็วและการแสดงอารมณ์ผ่านทางใบหน้า แต่เห็นแล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่า พวกเขากำลังสื่อสารอะไรกันอยู่
ภาษามือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารของกลุ่มคนหูหนวก เพราะเป็นอวัจนภาษาที่มีองค์ประกอบห้าอย่าง ได้แก่ ท่ามือ ตำแหน่งของมือ ทิศทางของฝ่ามือ การเคลื่อนไหวและสีหน้าท่าทาง เมื่อนำมาประกอบรวมกันจะกลายเป็นคำศัพท์ที่มีความหมายภายใต้ท่ามือที่สวยงาม แต่ละประเทศจะมีภาษามือเป็นของตัวเอง ภาษามือไทยนั้นได้รับหลักภาษามือมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับภาษาไทย โดยใช้การเทียบเสียง

อาจารย์ปราโมทย์ พรหมเมศร์ อาจารย์ผู้สอนวิชาภาษามือประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเป็นผู้พิการทางการได้ยิน อธิบายผ่านภาษามือว่า คนหูหนวกไม่สามารถออกเสียงหรือเลียนเสียงคำพูดในภาษาไทยได้ ภาษามือจึงถือเป็นภาษาที่หนึ่งของเขา คนหูหนวกส่วนใหญ่จะได้เรียนรู้ภาษามือตั้งแต่เด็กผ่านภาษามือและสื่อต่างๆ เช่น รูปภาพซึ่งเข้ามาช่วยทดแทนการใช้ภาษาไทยที่ไม่แข็งแรง

เมื่อถามถึงอุปสรรคในการสื่อสารของคนหูหนวก อาจารย์ปราโมทย์เล่าด้วยภาษามืออย่างกระตือรือร้นว่า ในสมัยก่อนการสื่อสารของคนหูหนวกยังไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือมากนัก คนหูหนวกจำเป็นต้องนัดพบกันเพื่อสื่อสารกันด้วยภาษามือ เมื่อเวลาผ่านไปจึงเริ่มมีเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ๆ เข้ามา เช่น เครื่องเรียกติดตามตัวอย่าง เพจเจอร์ โทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ต ก็ช่วยให้การสื่อสารของพวกเขาเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น “ปัจจุบันมีเทคโนโลยีทันสมัยขึ้น สามารถใช้ภาษามือผ่าน วิดีโอคอลหรือไลน์คุยกันได้ ทำให้ไม่ต้องมานัดพบกันแล้ว” อาจารย์ปราโมทย์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การสื่อสารด้วยภาษามือซึ่งเป็นภาษาที่หนึ่งของคนหูหนวกก็ยังคงเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทางราชบัณฑิตยสภาจึงพัฒนาพจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภาซึ่งรวบรวมคำศัพท์และบทสนทนาภาษามือไว้มากมาย แล้วเผยแพร่ทางเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ที่มีการได้ยินปรกติสามารถเรียนรู้และสื่อสารกับและคนหูหนวกผ่านภาษาเดียวกันได้
พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา เกิดขึ้นจากความร่วมมือของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาและมหาวิทยาลัยมหิดล ภายในเว็บไซต์ได้รวบรวมคำศัพท์ ลักษณนาม ทั้งแบบแสดงท่ามือแต่ละแบบ ตัวอย่างประโยค ประโยคคำสั่ง ขอร้อง ชักชวน และอื่นๆ มีการนำเสนอและแสดงผลแบบสื่อประสม (Multimedia) โดยมีองค์ประกอบหลักคือ รูปภาพ อักษรไทย ภาษามือไทยและเสียงประกอบ

อาจารย์ธัญพร ปองทอง อาจารย์ผู้สอนวิชาภาษามือ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกท่าน ทั้งยังเป็นอาจารย์สอนคนหูหนวกและล่ามภาษามือกล่าวว่า นอกจากพจนานุกรมฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาภาษามือไทยและภาษาไทยให้กับคนหูหนวกแล้ว ยังเป็นช่องทางให้สำหรับผู้มีการได้ยินคนปรกติที่สนใจที่จะศึกษาภาษามือไทยหรือต้องการที่จะสื่อสารกับคนหูหนวกให้สามารถทำความเข้าใจกับภาษามือได้ง่ายขึ้นด้วย จึงถือเป็นการช่วยลดช่องว่างในการสื่อสารระหว่างผู้ที่มีการได้ยินปรกติและคนหูหนวก
นอกจากพจนานุกรมภาษามือไทยฉบับราชบัณฑิตยสภาแล้ว ยังมีสื่อภาษามือในรูปแอปพลิเคชันอีกจำนวนมาก เช่น ล่ามภาษามือออนไลน์ของศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย (TTRS) พจนานุกรมภาษามือไทยอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมพจนานุกรมภาษามือไทย แอปพลิเคชันภาษามือไทย (Thai SL App –Thai Sign Language Application) พูดผ่านภาษามือ และภาษามือสามมิติ เมื่ออยู่ในรูปของแอปพลิเคชัน ก็ยิ่งส่งผลให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และยังสามารถพกพาได้สะดวก
นายสรณชน ก้อนสมบัติ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ สาขาการศึกษาของคนหูหนวกและล่ามภาษามือไทย มหาวิทยาลัยมหิดลเล่าว่า เขาเคยใช้แอปพลิเคชันในการหาภาษามือประกอบในการเรียนรู้ภาษามือ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ หรือการแปลความหมายท่ามือที่ไม่รู้จัก
“บางคำศัพท์เรายังไม่รู้ก็เปิดดู บางทีก็ฝึกสีหน้า แอปหรือเว็บเหล่านี้ช่วยให้คนปรกติเข้าถึงภาษามือจริงๆ” สรณชนกล่าว
สรณชนยังเสริมอีกว่า แอปพลิเคชันและเว็บไซต์มีประโยชน์กับผู้ที่เรียนรู้ภาษามือในฐานะสื่อการสอนอย่างหนึ่ง “สำหรับเรา คนปรกติที่เรียนภาษามือ แอปจะมีประโยชน์กับเรามาก เพราะหนังสือเรียนคำศัพท์จะเห็นการเคลื่อนไหวมือไม่ชัดเท่าวิดีโอ”
นอกจากจะมีการเรียนร่วมกับคนหูหนวกแล้ว สาขาวิชายังกำหนดให้ผู้เรียนสื่อสารและทำงานร่วมกับคนหูหนวกเพื่อฝึกใช้ภาษามือด้วย
“ไปคุยกับคนหูหนวก ไปแปลภาษามือให้เขา หรือดูล่ามจากโทรทัศน์แล้วเก็บท่าภาษามือใหม่ๆ แล้วนับชั่วโมงว่าวันนี้ทำกี่ชั่วโมง ได้คำศัพท์อะไร รู้สึกอย่างไรบ้าง” สรณชนกล่าว
แม้จะมีพจนานุกรมออนไลน์ให้ทดลองใช้ แต่สรณชนบอกว่า จากการทำงานร่วมกับคนหูหนวก เขาพบว่าการใช้พจนานุกรมภาษามือไทยออนไลน์ในกลุ่มคนหูหนวกยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก คนหูหนวกส่วนใหญ่จะใช้หนังสือเรียน เว็บไซต์ภาษามือพื้นฐาน หรือการสอนกันเองผ่านทางเฟซบุ๊กในกลุ่มคนหูหนวกเป็นหลัก ส่วนแอปพลิเคชันที่คนหูหนวกใช้งานเป็นหลัก คือล่ามภาษามือออนไลน์ TTRS ที่มีล่ามคอยแปลให้แบบเรียลไทม์
“แอป TTRS ทำภาษามือแล้วจะมีล่ามแปลให้ สมมติว่ามีเหตุการณ์ด่วน เช่น ไปขึ้นโรงพักแล้วไม่ได้มีล่ามไปด้วย ก็ให้ล่ามแปลให้ได้” สรณชนกล่าว
ครั้นถามถึงเรื่องการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม อาจารย์ธัญพรกล่าวด้วยแววตาที่เปี่ยมไปด้วยความหวังว่า การมีส่วนร่วมในสังคมของคนหูหนวกนั้นดีขึ้นกว่าในอดีต เพราะในปัจจุบัน คนหูหนวกสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างเท่าเทียม อีกทั้งสังคมยังเริ่มให้ความสำคัญ เพราะมีการพูดถึงการมีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น และมีกฎหมายที่ผลักดันให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สังคมเพื่อคนทั้งมวลก็เข้าใกล้ขึ้นมาทุกที
ขณะที่อาจารย์ปราโมทย์กล่าวผ่านภาษามือว่า “การมีส่วนร่วมของคนหูหนวกในสังคมยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่ เช่น ในเรื่องของการสื่อสารและของภาษา เพราะว่าคนหูหนวกยังอ่านภาษาไทยได้ไม่ครบถ้วน”
ในฐานะคนหูหนวกคนหนึ่ง อาจารย์ปราโมทย์แนะว่า หากใครพบเจอคนหูหนวกแล้วไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษามือกับเขาได้ ก็ไม่ต้องตกใจกลัว ลองเข้าไปพูดคุยดูก่อน ไม่ใช่ว่าพูดกันไม่ได้ก็ไม่เข้าไปยุ่งเลย อาจพยายามใช้วิธีการสื่อสารแบบอื่น เช่น การวาดภาพ หรือการเขียน “ลองไปเรียนรู้ภาษามือหรือวัฒนธรรมของเขาดู จะได้รู้ว่าคนหูหนวกเป็นอย่างไร เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเท่าเทียม”
แม้จะไม่ใช่ก้าวที่ยิ่งใหญ่ แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญซึ่งนำพาสังคมไทยไปสู่สังคมเพื่อคนทั้งมวลเข้าไปอีกขั้น
คลิปวิดีโอสาธิตคำศัพท์ภาษามือ
Like this:
Like Loading...
เย็นวันหนึ่งบนรถไฟฟ้าใต้ดินที่พลุกพล่านไปด้วยผู้คนที่รีบเดินทางกลับบ้าน ชายหญิงคู่หนึ่งกำลังสื่อสารกันอย่างออกรส หากแต่การสนทนาของพวกเขาช่างเงียบงัน ไม่มีแม้คำพูดใดๆ มีเพียงมือที่ขยับเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ อย่างรวดเร็วและการแสดงอารมณ์ผ่านทางใบหน้า แต่เห็นแล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่า พวกเขากำลังสื่อสารอะไรกันอยู่
ภาษามือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารของกลุ่มคนหูหนวก เพราะเป็นอวัจนภาษาที่มีองค์ประกอบห้าอย่าง ได้แก่ ท่ามือ ตำแหน่งของมือ ทิศทางของฝ่ามือ การเคลื่อนไหวและสีหน้าท่าทาง เมื่อนำมาประกอบรวมกันจะกลายเป็นคำศัพท์ที่มีความหมายภายใต้ท่ามือที่สวยงาม แต่ละประเทศจะมีภาษามือเป็นของตัวเอง ภาษามือไทยนั้นได้รับหลักภาษามือมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับภาษาไทย โดยใช้การเทียบเสียง
อาจารย์ปราโมทย์ พรหมเมศร์ อาจารย์ผู้สอนวิชาภาษามือประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเป็นผู้พิการทางการได้ยิน อธิบายผ่านภาษามือว่า คนหูหนวกไม่สามารถออกเสียงหรือเลียนเสียงคำพูดในภาษาไทยได้ ภาษามือจึงถือเป็นภาษาที่หนึ่งของเขา คนหูหนวกส่วนใหญ่จะได้เรียนรู้ภาษามือตั้งแต่เด็กผ่านภาษามือและสื่อต่างๆ เช่น รูปภาพซึ่งเข้ามาช่วยทดแทนการใช้ภาษาไทยที่ไม่แข็งแรง
เมื่อถามถึงอุปสรรคในการสื่อสารของคนหูหนวก อาจารย์ปราโมทย์เล่าด้วยภาษามืออย่างกระตือรือร้นว่า ในสมัยก่อนการสื่อสารของคนหูหนวกยังไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือมากนัก คนหูหนวกจำเป็นต้องนัดพบกันเพื่อสื่อสารกันด้วยภาษามือ เมื่อเวลาผ่านไปจึงเริ่มมีเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ๆ เข้ามา เช่น เครื่องเรียกติดตามตัวอย่าง เพจเจอร์ โทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ต ก็ช่วยให้การสื่อสารของพวกเขาเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น “ปัจจุบันมีเทคโนโลยีทันสมัยขึ้น สามารถใช้ภาษามือผ่าน วิดีโอคอลหรือไลน์คุยกันได้ ทำให้ไม่ต้องมานัดพบกันแล้ว” อาจารย์ปราโมทย์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การสื่อสารด้วยภาษามือซึ่งเป็นภาษาที่หนึ่งของคนหูหนวกก็ยังคงเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทางราชบัณฑิตยสภาจึงพัฒนาพจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภาซึ่งรวบรวมคำศัพท์และบทสนทนาภาษามือไว้มากมาย แล้วเผยแพร่ทางเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ที่มีการได้ยินปรกติสามารถเรียนรู้และสื่อสารกับและคนหูหนวกผ่านภาษาเดียวกันได้
พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา เกิดขึ้นจากความร่วมมือของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาและมหาวิทยาลัยมหิดล ภายในเว็บไซต์ได้รวบรวมคำศัพท์ ลักษณนาม ทั้งแบบแสดงท่ามือแต่ละแบบ ตัวอย่างประโยค ประโยคคำสั่ง ขอร้อง ชักชวน และอื่นๆ มีการนำเสนอและแสดงผลแบบสื่อประสม (Multimedia) โดยมีองค์ประกอบหลักคือ รูปภาพ อักษรไทย ภาษามือไทยและเสียงประกอบ
อาจารย์ธัญพร ปองทอง อาจารย์ผู้สอนวิชาภาษามือ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกท่าน ทั้งยังเป็นอาจารย์สอนคนหูหนวกและล่ามภาษามือกล่าวว่า นอกจากพจนานุกรมฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาภาษามือไทยและภาษาไทยให้กับคนหูหนวกแล้ว ยังเป็นช่องทางให้สำหรับผู้มีการได้ยินคนปรกติที่สนใจที่จะศึกษาภาษามือไทยหรือต้องการที่จะสื่อสารกับคนหูหนวกให้สามารถทำความเข้าใจกับภาษามือได้ง่ายขึ้นด้วย จึงถือเป็นการช่วยลดช่องว่างในการสื่อสารระหว่างผู้ที่มีการได้ยินปรกติและคนหูหนวก
นอกจากพจนานุกรมภาษามือไทยฉบับราชบัณฑิตยสภาแล้ว ยังมีสื่อภาษามือในรูปแอปพลิเคชันอีกจำนวนมาก เช่น ล่ามภาษามือออนไลน์ของศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย (TTRS) พจนานุกรมภาษามือไทยอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมพจนานุกรมภาษามือไทย แอปพลิเคชันภาษามือไทย (Thai SL App –Thai Sign Language Application) พูดผ่านภาษามือ และภาษามือสามมิติ เมื่ออยู่ในรูปของแอปพลิเคชัน ก็ยิ่งส่งผลให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และยังสามารถพกพาได้สะดวก
นายสรณชน ก้อนสมบัติ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ สาขาการศึกษาของคนหูหนวกและล่ามภาษามือไทย มหาวิทยาลัยมหิดลเล่าว่า เขาเคยใช้แอปพลิเคชันในการหาภาษามือประกอบในการเรียนรู้ภาษามือ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ หรือการแปลความหมายท่ามือที่ไม่รู้จัก
“บางคำศัพท์เรายังไม่รู้ก็เปิดดู บางทีก็ฝึกสีหน้า แอปหรือเว็บเหล่านี้ช่วยให้คนปรกติเข้าถึงภาษามือจริงๆ” สรณชนกล่าว
สรณชนยังเสริมอีกว่า แอปพลิเคชันและเว็บไซต์มีประโยชน์กับผู้ที่เรียนรู้ภาษามือในฐานะสื่อการสอนอย่างหนึ่ง “สำหรับเรา คนปรกติที่เรียนภาษามือ แอปจะมีประโยชน์กับเรามาก เพราะหนังสือเรียนคำศัพท์จะเห็นการเคลื่อนไหวมือไม่ชัดเท่าวิดีโอ”
นอกจากจะมีการเรียนร่วมกับคนหูหนวกแล้ว สาขาวิชายังกำหนดให้ผู้เรียนสื่อสารและทำงานร่วมกับคนหูหนวกเพื่อฝึกใช้ภาษามือด้วย
“ไปคุยกับคนหูหนวก ไปแปลภาษามือให้เขา หรือดูล่ามจากโทรทัศน์แล้วเก็บท่าภาษามือใหม่ๆ แล้วนับชั่วโมงว่าวันนี้ทำกี่ชั่วโมง ได้คำศัพท์อะไร รู้สึกอย่างไรบ้าง” สรณชนกล่าว
แม้จะมีพจนานุกรมออนไลน์ให้ทดลองใช้ แต่สรณชนบอกว่า จากการทำงานร่วมกับคนหูหนวก เขาพบว่าการใช้พจนานุกรมภาษามือไทยออนไลน์ในกลุ่มคนหูหนวกยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก คนหูหนวกส่วนใหญ่จะใช้หนังสือเรียน เว็บไซต์ภาษามือพื้นฐาน หรือการสอนกันเองผ่านทางเฟซบุ๊กในกลุ่มคนหูหนวกเป็นหลัก ส่วนแอปพลิเคชันที่คนหูหนวกใช้งานเป็นหลัก คือล่ามภาษามือออนไลน์ TTRS ที่มีล่ามคอยแปลให้แบบเรียลไทม์
“แอป TTRS ทำภาษามือแล้วจะมีล่ามแปลให้ สมมติว่ามีเหตุการณ์ด่วน เช่น ไปขึ้นโรงพักแล้วไม่ได้มีล่ามไปด้วย ก็ให้ล่ามแปลให้ได้” สรณชนกล่าว
ครั้นถามถึงเรื่องการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม อาจารย์ธัญพรกล่าวด้วยแววตาที่เปี่ยมไปด้วยความหวังว่า การมีส่วนร่วมในสังคมของคนหูหนวกนั้นดีขึ้นกว่าในอดีต เพราะในปัจจุบัน คนหูหนวกสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างเท่าเทียม อีกทั้งสังคมยังเริ่มให้ความสำคัญ เพราะมีการพูดถึงการมีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น และมีกฎหมายที่ผลักดันให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สังคมเพื่อคนทั้งมวลก็เข้าใกล้ขึ้นมาทุกที
ขณะที่อาจารย์ปราโมทย์กล่าวผ่านภาษามือว่า “การมีส่วนร่วมของคนหูหนวกในสังคมยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่ เช่น ในเรื่องของการสื่อสารและของภาษา เพราะว่าคนหูหนวกยังอ่านภาษาไทยได้ไม่ครบถ้วน”
ในฐานะคนหูหนวกคนหนึ่ง อาจารย์ปราโมทย์แนะว่า หากใครพบเจอคนหูหนวกแล้วไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษามือกับเขาได้ ก็ไม่ต้องตกใจกลัว ลองเข้าไปพูดคุยดูก่อน ไม่ใช่ว่าพูดกันไม่ได้ก็ไม่เข้าไปยุ่งเลย อาจพยายามใช้วิธีการสื่อสารแบบอื่น เช่น การวาดภาพ หรือการเขียน “ลองไปเรียนรู้ภาษามือหรือวัฒนธรรมของเขาดู จะได้รู้ว่าคนหูหนวกเป็นอย่างไร เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเท่าเทียม”
แม้จะไม่ใช่ก้าวที่ยิ่งใหญ่ แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญซึ่งนำพาสังคมไทยไปสู่สังคมเพื่อคนทั้งมวลเข้าไปอีกขั้น
คลิปวิดีโอสาธิตคำศัพท์ภาษามือ
Share this:
Like this: