เรื่อง : สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์
ภาพ : เมธาวจี สาระคุณ
แม้กรุงเทพมหานครจะมีชื่อเสียงเรื่องสีสันยามค่ำคืน แต่ในยามกลางวันกรุงเทพฯ ก็ยังมีย่านที่เปี่ยมด้วยลมหายใจแห่งประวัติศาสตร์อันยาวนานในทุกเนื้อไม้และย่างก้าว ย่านนางเลิ้ง ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าใจกลางของกรุงเทพมหานคร ตึกรามบ้านช่องเรียงรายโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ภายในย่านเล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่กลางกรุงแห่งนี้ ยังมีเสน่ห์ไม่เหมือนใครด้วย ตลาดนางเลิ้ง ตลาดโบราณอายุนับร้อยปี
ตลอดระยะการเดินสั้นๆ ในตลาดนางเลิ้ง เสน่ห์ที่โดดเด่นของตลาดนางเลิ้ง คือ อาหารหลากหลายชนิดที่หารับประทานที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว อย่างไส้กรอกปลาแนมหรือปอเปี๊ยะญวณสูตรโบราณ แต่ย่านนางเลิ้งกลับเงียบเหงาอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะย่านนางเลิ้งยังมีอุปสรรคใหญ่อยู่ตรงหน้า และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตลาดนางเลิ้งไม่อาจก้าวเพื่อข้ามไปสู่การเป็นย่านท่องเที่ยวคึกคักได้ คือ “การสัญจรเดินทาง”
วิเชียร มีสุขสบาย หนึ่งในคณะกรรมการชุมชนศุภมิตร 2 ที่เป็นส่วนหนึ่งของย่านนางเลิ้ง อธิบายว่า “ที่จอดรถเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดที่ทำให้ตลาดนางเลิ้งเป็นตลาดท่องเที่ยวไม่ได้” เพราะถ้าใครขับรถยนตร์ส่วนตัวมา สถานที่ใกล้เคียงเดียวที่จอดได้ใกล้คือ บริเวณเลียบคลองผดุงกรุงเกษมซึ่งโดยปกติก็ไม่ได้มีที่จอดเพียง 50-60 คัน ซึ่งรถของคนทำงานบริเวณนั้นก็จอดเต็มหมดแล้วในวันที่จอดได้ จึงไม่พอจะรองรับผู้คนภายนอกอีก และหากวันใดมีขบวนเสด็จบริเวณเลียบคลองผดุงฯ ผู้คนก็จะไม่สามารถจอดรถบริเวณนั้นได้
“ส่วนบริเวณเส้นนครสวรรค์ซึ่งในอดีตเคยจอดข้างถนนได้นั้น ปัจจุบันจอดไม่ได้แล้ว เพราะเป็นเส้นทางที่มุ่งไปสะพานพระรามแปด คนสัญจรมากผนวกกับเส้นราชดำเนินเป็นเส้นทางเสด็จบ่อย ดังนั้น ถ้าหากนักท่องเที่ยวไม่มีที่จอดจริงๆ ก็จะต้องไปจอดในที่จอดของโรงเรียนวัดโสมนัสราคาชั่วโมงละ 40 บาท ซึ่งก็อยู่ไกลตลาดต้องเดินมาอีกเป็นระยะทางราว 500 เมตร” วิเชียรกล่าว
นอกจากนักท่องเที่ยวแล้ว วิเชียรเล่าเพิ่มเติมอีกว่า ที่จอดรถสำหรับคนในชุมชนเองก็ไม่ได้มีมากนัก เนื่องจากย่านนี้เป็นตรอกและซอยขนาดเล็ก ชาวชุนชนที่มีรถยนต์ส่วนบุคคลจึงมักนำรถไปจอดเลียบคลอง จอดในวัดโสมนัสวรวิหาร หรือไม่ก็เช่าที่จอดรถของเอกชนเป็นรายเดือนไป
เมื่อสอบถามถึงแนวทางแก้ไขปัญหาที่เคยลองปฏิบัติแล้ว วิเชียรเล่าว่า “คณะกรรมการชุมชนมีการพูดคุยกับเขตบ่อยมาก แต่แม้แต่เขตเองก็ไม่สามารถขยายที่จอดรถออกให้ได้เช่นกัน”
วิเชียรเสริมในส่วนมุมมองของชุมชนว่า อยากให้หน่วยงานของรัฐมาร่วมกันหารือวิธีกับตำรวจจราจรท้องที่ เพื่ออะลุ่มอล่วยในการจอด เช่น การจอดวันคู่วันคี่เหมือนแต่ก่อน หรือทำตามตัวอย่างตลาดคลองผดุงกรุงเกษมข้างทำเนียบรัฐบาลที่อนุโลมให้จอดรถบริเวณหน้าวัดโสมนัสวรวิหารได้และคนก็มาเดินตลาดกัน
เมื่อเข้าไปที่ สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง ทาง สน. อธิบายหลักการเบื้องต้นของการผ่อนผันจราจรว่า ข้อกำหนดทั้งหมดบนท้องถนนเกิดจากการตกลงร่วมกันของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) กับ กทม. ทาง สน. ไม่สามารถกำหนด ผ่อนผัน หรือยกเลิกกฎได้เองตามใจชอบ นอกจากนั้น ทาง สน. ก็มีนโยบายลงพื้นที่สม่ำเสมอและรับทราบปัญหาของประชาชน เพียงแต่การผ่อนผันให้จอดริมถนนนครสวรรค์นั้นเป็นไปได้ยาก เพราะเป็นถนนหลักมุ่งสู่สะพานพระรามแปดและเป็นเส้นทางเสด็จบ่อย
แม้อาจจะดูเหมือนเส้นทางเรื่องที่จอดรถถูกปิดตาย แต่วิเชียรก็ยังมีความหวัง “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ดูแลพื้นที่มีโครงการที่จะสร้างที่จอดรถอยู่ท้ายตลาดเร็วๆ นี้อย่างแน่นอนแล้ว และเป็นที่จอดรถสำหรับนักท่องเที่ยวเท่านั้นซึ่งจะกลายเป็นความหวังในอนาคตของตลาดต่อไป”
“สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ดูแลพื้นที่มีโครงการที่จะสร้างที่จอดรถอยู่ท้ายตลาดเร็วๆ นี้อย่างแน่นอนแล้ว และเป็นที่จอดรถสำหรับนักท่องเที่ยวเท่านั้นซึ่งจะกลายเป็นความหวังในอนาคตของตลาดต่อไป” วิเชียรกล่าว
เมื่อสอบถาม สิริพร โชติวรรณ ผู้ประสานงานชาวบ้านและชุมชนที่ร่วมทำงานกับสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อยืนยันนโยบายเรื่องที่จอดรถแล้วนั้น ได้ให้คำตอบว่า ทางสำนักทรัพย์สินฯ มีแนวคิดที่จะสร้าง แต่อยู่ระหว่างการหารือ เพราะต้องหาผู้มาประมูลสัมปทานการสร้าง โดยผู้ประมูลจะเป็นผู้เก็บค่าจอดรถและดูแล โดยส่วนที่จะสร้างคือ บริเวณที่สังกะสีล้อมรั้วอยู่ภายในตรอกที่สามารถออกไปทางสำนักงานเขตฯ ได้
นอกจากปัญหาที่จอดรถแล้วนั้น เมื่อ นิสิตนักศึกษา ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบขนส่งมวลชนบริเวณโดยรอบพบว่า ถนนที่อยู่บริเวณโดยรอบย่านนางเลิ้งมีทั้งหมดสี่เส้น ได้แก่ ถนนนครสวรรค์ ถนนกรุงเกษม ถนนจักรพรรดิพงษ์ และถนนหลานหลวง ถนนที่ใกล้กับตลาดนางเลิ้งที่สุดคือ ถนนนครสวรรค์ ซึ่งปัจจุบันไม่มีรถโดยสารของ ขสมก. วิ่งผ่าน ส่วนถนนกรุงเกษมซึ่งเลียบคลองผดุงกรุงเกษมมีรถสาย 53 ผ่านเพียงสายเดียว เช่นเดียวกับถนนจักรพรรดิพงษ์ที่มีสาย 49 ผ่านสายเดียว ส่วนถนนที่มีรถเมล์ผ่านมากที่สุดคือ ถนนหลานหลวง ซึ่งมีรถเมล์สาย 2, 8, 37, 44, 59, 60, 79, 183, 511, A4 และ S1 แต่ระยะทางจากตลาดนางเลิ้งมาถึงป้ายรถที่ใกล้ที่สุดบริเวณถนนหลานหลวงมีระยะทางกว่า 500 เมตร หรือไกลกว่านั้น
เมื่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้นผ่านทาง Call center ของ องค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้คำตอบว่า บริเวณถนนนครสวรรค์ที่ใกล้ตลาดนางเลิ้งที่สุดนั้นเป็นถนนขนาดเล็กและมีเหลี่ยมมุมมาก การตีวงเลี้ยวของรถ ขสมก. นั้นค่อนข้างกว้าง เป็นอันตรายต่อการสัญจร อาคาร และผู้คนบริเวณดังกล่าว ทำให้ทาง กทม. และเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายมีข้อตกลงให้หลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว
ด้าน ยุทธนา ป่าไม้ ผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ชี้แจงว่า หลังจากทราบปัญหามีแผนการที่จะเข้าไปพูดคุยกับทาง ขสมก. ถึงหนทางเพิ่มเติมขนส่งสาธารณะย่านนางเลิ้ง รวมถึงกล่าวว่า “ทางสำนักงานเขตมีความตั้งใจที่จะหารือเรื่องที่จอดรถกับสำนักทรัพย์สินฯ อย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ และจะสามารถติดตามความคืบหน้าได้ในปีนี้แน่นอน”
“ทางสำนักงานเขตมีความตั้งใจที่จะหารือเรื่องที่จอดรถกับสำนักทรัพย์สินฯ อย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ และจะสามารถติดตามความคืบหน้าได้ในปีนี้แน่นอน” ผู้อำนวยเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกล่าว
นอกจากนั้น ผอ.เขต ยังได้เล่าถึงเรื่องความพยายามในการผลักดันตลาดนางเลิ้งให้เป็นตลาดท่องเที่ยวเพิ่มเติมว่า จะมุ่งพัฒนาทั้งความสะอาดของตลาดเพิ่มขึ้น เปลี่ยนตลาดให้เป็นตลาดรักษ์โลก ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อธรรมชาติ รวมถึงจะประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ย่านนางเลิ้งให้มีเรื่องราวน่าสนใจที่จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว อย่่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเน้นย้ำว่า “เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงตลาดให้เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ชาวชุมชนนางเลิ้งจำเป็นที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วยในทุกกระบวนการ”
Like this:
Like Loading...
เรื่อง : สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์
ภาพ : เมธาวจี สาระคุณ
แม้กรุงเทพมหานครจะมีชื่อเสียงเรื่องสีสันยามค่ำคืน แต่ในยามกลางวันกรุงเทพฯ ก็ยังมีย่านที่เปี่ยมด้วยลมหายใจแห่งประวัติศาสตร์อันยาวนานในทุกเนื้อไม้และย่างก้าว ย่านนางเลิ้ง ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าใจกลางของกรุงเทพมหานคร ตึกรามบ้านช่องเรียงรายโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ภายในย่านเล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่กลางกรุงแห่งนี้ ยังมีเสน่ห์ไม่เหมือนใครด้วย ตลาดนางเลิ้ง ตลาดโบราณอายุนับร้อยปี
ตลอดระยะการเดินสั้นๆ ในตลาดนางเลิ้ง เสน่ห์ที่โดดเด่นของตลาดนางเลิ้ง คือ อาหารหลากหลายชนิดที่หารับประทานที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว อย่างไส้กรอกปลาแนมหรือปอเปี๊ยะญวณสูตรโบราณ แต่ย่านนางเลิ้งกลับเงียบเหงาอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะย่านนางเลิ้งยังมีอุปสรรคใหญ่อยู่ตรงหน้า และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตลาดนางเลิ้งไม่อาจก้าวเพื่อข้ามไปสู่การเป็นย่านท่องเที่ยวคึกคักได้ คือ “การสัญจรเดินทาง”
วิเชียร มีสุขสบาย หนึ่งในคณะกรรมการชุมชนศุภมิตร 2 ที่เป็นส่วนหนึ่งของย่านนางเลิ้ง อธิบายว่า “ที่จอดรถเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดที่ทำให้ตลาดนางเลิ้งเป็นตลาดท่องเที่ยวไม่ได้” เพราะถ้าใครขับรถยนตร์ส่วนตัวมา สถานที่ใกล้เคียงเดียวที่จอดได้ใกล้คือ บริเวณเลียบคลองผดุงกรุงเกษมซึ่งโดยปกติก็ไม่ได้มีที่จอดเพียง 50-60 คัน ซึ่งรถของคนทำงานบริเวณนั้นก็จอดเต็มหมดแล้วในวันที่จอดได้ จึงไม่พอจะรองรับผู้คนภายนอกอีก และหากวันใดมีขบวนเสด็จบริเวณเลียบคลองผดุงฯ ผู้คนก็จะไม่สามารถจอดรถบริเวณนั้นได้
“ส่วนบริเวณเส้นนครสวรรค์ซึ่งในอดีตเคยจอดข้างถนนได้นั้น ปัจจุบันจอดไม่ได้แล้ว เพราะเป็นเส้นทางที่มุ่งไปสะพานพระรามแปด คนสัญจรมากผนวกกับเส้นราชดำเนินเป็นเส้นทางเสด็จบ่อย ดังนั้น ถ้าหากนักท่องเที่ยวไม่มีที่จอดจริงๆ ก็จะต้องไปจอดในที่จอดของโรงเรียนวัดโสมนัสราคาชั่วโมงละ 40 บาท ซึ่งก็อยู่ไกลตลาดต้องเดินมาอีกเป็นระยะทางราว 500 เมตร” วิเชียรกล่าว
นอกจากนักท่องเที่ยวแล้ว วิเชียรเล่าเพิ่มเติมอีกว่า ที่จอดรถสำหรับคนในชุมชนเองก็ไม่ได้มีมากนัก เนื่องจากย่านนี้เป็นตรอกและซอยขนาดเล็ก ชาวชุนชนที่มีรถยนต์ส่วนบุคคลจึงมักนำรถไปจอดเลียบคลอง จอดในวัดโสมนัสวรวิหาร หรือไม่ก็เช่าที่จอดรถของเอกชนเป็นรายเดือนไป
เมื่อสอบถามถึงแนวทางแก้ไขปัญหาที่เคยลองปฏิบัติแล้ว วิเชียรเล่าว่า “คณะกรรมการชุมชนมีการพูดคุยกับเขตบ่อยมาก แต่แม้แต่เขตเองก็ไม่สามารถขยายที่จอดรถออกให้ได้เช่นกัน”
วิเชียรเสริมในส่วนมุมมองของชุมชนว่า อยากให้หน่วยงานของรัฐมาร่วมกันหารือวิธีกับตำรวจจราจรท้องที่ เพื่ออะลุ่มอล่วยในการจอด เช่น การจอดวันคู่วันคี่เหมือนแต่ก่อน หรือทำตามตัวอย่างตลาดคลองผดุงกรุงเกษมข้างทำเนียบรัฐบาลที่อนุโลมให้จอดรถบริเวณหน้าวัดโสมนัสวรวิหารได้และคนก็มาเดินตลาดกัน
เมื่อเข้าไปที่ สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง ทาง สน. อธิบายหลักการเบื้องต้นของการผ่อนผันจราจรว่า ข้อกำหนดทั้งหมดบนท้องถนนเกิดจากการตกลงร่วมกันของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) กับ กทม. ทาง สน. ไม่สามารถกำหนด ผ่อนผัน หรือยกเลิกกฎได้เองตามใจชอบ นอกจากนั้น ทาง สน. ก็มีนโยบายลงพื้นที่สม่ำเสมอและรับทราบปัญหาของประชาชน เพียงแต่การผ่อนผันให้จอดริมถนนนครสวรรค์นั้นเป็นไปได้ยาก เพราะเป็นถนนหลักมุ่งสู่สะพานพระรามแปดและเป็นเส้นทางเสด็จบ่อย
แม้อาจจะดูเหมือนเส้นทางเรื่องที่จอดรถถูกปิดตาย แต่วิเชียรก็ยังมีความหวัง “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ดูแลพื้นที่มีโครงการที่จะสร้างที่จอดรถอยู่ท้ายตลาดเร็วๆ นี้อย่างแน่นอนแล้ว และเป็นที่จอดรถสำหรับนักท่องเที่ยวเท่านั้นซึ่งจะกลายเป็นความหวังในอนาคตของตลาดต่อไป”
เมื่อสอบถาม สิริพร โชติวรรณ ผู้ประสานงานชาวบ้านและชุมชนที่ร่วมทำงานกับสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อยืนยันนโยบายเรื่องที่จอดรถแล้วนั้น ได้ให้คำตอบว่า ทางสำนักทรัพย์สินฯ มีแนวคิดที่จะสร้าง แต่อยู่ระหว่างการหารือ เพราะต้องหาผู้มาประมูลสัมปทานการสร้าง โดยผู้ประมูลจะเป็นผู้เก็บค่าจอดรถและดูแล โดยส่วนที่จะสร้างคือ บริเวณที่สังกะสีล้อมรั้วอยู่ภายในตรอกที่สามารถออกไปทางสำนักงานเขตฯ ได้
นอกจากปัญหาที่จอดรถแล้วนั้น เมื่อ นิสิตนักศึกษา ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบขนส่งมวลชนบริเวณโดยรอบพบว่า ถนนที่อยู่บริเวณโดยรอบย่านนางเลิ้งมีทั้งหมดสี่เส้น ได้แก่ ถนนนครสวรรค์ ถนนกรุงเกษม ถนนจักรพรรดิพงษ์ และถนนหลานหลวง ถนนที่ใกล้กับตลาดนางเลิ้งที่สุดคือ ถนนนครสวรรค์ ซึ่งปัจจุบันไม่มีรถโดยสารของ ขสมก. วิ่งผ่าน ส่วนถนนกรุงเกษมซึ่งเลียบคลองผดุงกรุงเกษมมีรถสาย 53 ผ่านเพียงสายเดียว เช่นเดียวกับถนนจักรพรรดิพงษ์ที่มีสาย 49 ผ่านสายเดียว ส่วนถนนที่มีรถเมล์ผ่านมากที่สุดคือ ถนนหลานหลวง ซึ่งมีรถเมล์สาย 2, 8, 37, 44, 59, 60, 79, 183, 511, A4 และ S1 แต่ระยะทางจากตลาดนางเลิ้งมาถึงป้ายรถที่ใกล้ที่สุดบริเวณถนนหลานหลวงมีระยะทางกว่า 500 เมตร หรือไกลกว่านั้น
เมื่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้นผ่านทาง Call center ของ องค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้คำตอบว่า บริเวณถนนนครสวรรค์ที่ใกล้ตลาดนางเลิ้งที่สุดนั้นเป็นถนนขนาดเล็กและมีเหลี่ยมมุมมาก การตีวงเลี้ยวของรถ ขสมก. นั้นค่อนข้างกว้าง เป็นอันตรายต่อการสัญจร อาคาร และผู้คนบริเวณดังกล่าว ทำให้ทาง กทม. และเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายมีข้อตกลงให้หลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว
ด้าน ยุทธนา ป่าไม้ ผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ชี้แจงว่า หลังจากทราบปัญหามีแผนการที่จะเข้าไปพูดคุยกับทาง ขสมก. ถึงหนทางเพิ่มเติมขนส่งสาธารณะย่านนางเลิ้ง รวมถึงกล่าวว่า “ทางสำนักงานเขตมีความตั้งใจที่จะหารือเรื่องที่จอดรถกับสำนักทรัพย์สินฯ อย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ และจะสามารถติดตามความคืบหน้าได้ในปีนี้แน่นอน”
นอกจากนั้น ผอ.เขต ยังได้เล่าถึงเรื่องความพยายามในการผลักดันตลาดนางเลิ้งให้เป็นตลาดท่องเที่ยวเพิ่มเติมว่า จะมุ่งพัฒนาทั้งความสะอาดของตลาดเพิ่มขึ้น เปลี่ยนตลาดให้เป็นตลาดรักษ์โลก ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อธรรมชาติ รวมถึงจะประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ย่านนางเลิ้งให้มีเรื่องราวน่าสนใจที่จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว อย่่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเน้นย้ำว่า “เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงตลาดให้เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ชาวชุมชนนางเลิ้งจำเป็นที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วยในทุกกระบวนการ”
Share this:
Like this: