ท่ามกลางแสงแดดร้อนระอุเวลากลางวัน ตอนที่กำลังเดินทอดน่องอยู่บนถนนพะเนียง หลังจากที่เพลิดเพลินกับอาหารอร่อยในตลาดนางเลิ้งมาจนอิ่มท้องแล้ว สายตาก็มาสะดุดกับป้ายหน้าร้านที่ เขียนว่า “มาสุขใจ ไปสุดหล่อ” ของร้านตัดผม พจน์ บาร์เบอร์
แม้ข้อความจะดูย้อนยุค แต่ก็ดึงดูดมากพอที่จะเข้าไปลองฝีมือช่างรายนี้สักหน่อยเมื่อเดินเข้าไป ได้ยินเสียงเพลงลูกกรุงที่ไม่คุ้นหูมองรอบๆ พบสุภาพบุรุษหลากหน้าหลายตาที่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้อาวุโส ทันใดนั้นชายร่างสูงดูภูมิฐาน เอ่ยถามผมว่า “ตัดทรงอะไรครับ” ไม่รอช้า จึงตอบกลับไปว่า “ตัดสระ รองทรงนะครับ”
ชายคนนั้นคือ บุญมี รอดจรูญ ช่างตัดผมประจำร้านวัย 77 ที่เล่าถึงชีวิตการทำงานว่าหลังเรียนจบชั้น ป.4 เขาก็ได้เริ่มทำงานเป็นช่างตัดผมทันทีในตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี จากนั้นก็วนเวียนอยู่หลายจังหวัดจนได้เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2499 และเข้าทำงานกับคุณพจน์ เจ้าของร้าน พจน์บาร์เบอร์ พร้อมกับเพื่อนอีก 5 คน ตั้งแต่ปี 2507 เป็นต้นมา ปัจจุบันทั้งคุณพจน์และเพื่อนร่วมงานร่วมรุ่นเสียชีวิตแล้ว เหลือลุงบุญมีทำงานอยู่เพียงคนเดียว ส่วนร้านตัดผมอายุกว่า 70 ปี แห่งนี้ก็เปลี่ยนมือจากคุณพจน์ เจ้าของเดิม มาเป็นของลูกหลาน
ลุงบุญมีเล่าว่า มีบ้างที่ลูกค้าที่เป็นข้าราชการจะมาตัดผม แต่ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นเพื่อนบ้านรุ่นราวคราวเดียวกันที่อยู่ละแวกใกล้เคียง มาแวะนั่งเล่นตากแอร์พร้อมพูดคุยมากกว่า บ้างก็หยิบหนังสือพิมพ์ในร้านอ่าน บ้างก็นั่งฟังวิทยุเพลงลูกกรุงที่ลุงบุญมีเปิด ตอนนั้นจึงเข้าใจเหตุที่ได้ตัดผมเร็ว ไม่ต้องรอคิวแม้จะมีคนเต็มร้าน เพราะเขาเข้ามาพักผ่อนมากกว่ามาตัดผม

ชาญชัย สหธนานนท์ วัย 73 เป็นลูกค้าประจำของร้านพจน์ บาร์เบอร์ มามากกว่า 30 ปี เขาเล่าถึงสาเหตุที่มาร้านนี้ประจำว่าตัดทรงผมได้ถูกใจ ยามที่ไม่ได้ตัดก็มาเยี่ยมเยือน พูดคุยกับกลุ่มเพื่อนฝูง แต่ที่สำคัญคือการมาฟังเพลงลูกกรุงของชรินทร์ นันทนาคร ผ่านวิทยุลุงบุญมีเป็นประจำ
“เพลงของชรินทร์ร้องยาก เสียงสูง ลูกคอต้องมีกำลัง สมัย 40-50 ปี ก่อนเพลงของเขาดังมาก” ลุงชาญชัยกล่าวพร้อมเอื้อนเพลงตาม
ย่านนางเลิ้งเคยเป็นหนึ่งในที่ยอดนิยมที่นักการเมืองไทยเข้ามาใช้บริการตัดผมเป็นประจำ นักการเมืองรุ่นใหญ่เคยผ่านมือลุงบุญมีมาแล้วหลายคน เช่น คุณชุมพล ศิลปอาชา หรือคุณบัญญัติ บรรทัดฐาน แต่ปัจจุบัน นานๆ ทีจะเจอลูกค้ากลุ่มนี้
“สมัยก่อนนักการเมืองไม่ค่อยมีตังค์ เวลามาจากต่างจังหวัด ประชุมสภาก็ต้องเช่าโรงแรมอยู่แถวนี้ แต่ปัจจุบันพวกนี้รวยกันหมดแล้ว มีเงินซื้อบ้านอยู่ในกรุงเทพฯ” ลุงบุญมีกล่าว
หลังจากที่ตัดผมเสร็จแล้ว ได้มีโอกาสถามถึงความเปลี่ยนแปลงในชีวิตลุงบุญมีที่เป็นช่างตัดผมมากกว่า 60 ปี เขาเล่าว่า การทำงานในวันนี้ไม่มีอะไรแตกต่างมากจากเมื่อเริ่มต้นไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่หลายสิบปี ผ่านมาจะพัฒนามากเพียงใด เขายังคงใช้เพียงวิทยุ เปิดฟังเพลงลูกกรุงฟังระหว่างทำงาน
“ลูกค้าเขามาตัดผมไม่ได้มาดูทีวี อีกอย่างมันอันตราย บางคนดูเชียร์มวยทั้งลูกค้า ทั้งช่าง น
อกจากจะช้าลงแล้ว เดี๋ยวกรรไกรอาจบาดคอได้”
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของนางเลิ้ง ลุงบุญมียังคงกล่าวว่าไม่มีผลกระทบใดๆ แม้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่เพียงแค่แวะถ่ายรูปแล้วจากไป ขณะที่ลูกค้าของลุงบุญมีคือคนนางเลิ้งที่คุ้นเคยกันมาหลายสิบปีท้ายสุดลุงบุญกล่าวว่าจะยังคงทำงานต่อไปจนไม่ไหว เพราะหากไม่มีเขาแล้ว พจน์ บาร์เบอร์ตำนานนางเลิ้งกว่า 70 ปี ก็คงต้องปิดตัวลง

Like this:
Like Loading...
ท่ามกลางแสงแดดร้อนระอุเวลากลางวัน ตอนที่กำลังเดินทอดน่องอยู่บนถนนพะเนียง หลังจากที่เพลิดเพลินกับอาหารอร่อยในตลาดนางเลิ้งมาจนอิ่มท้องแล้ว สายตาก็มาสะดุดกับป้ายหน้าร้านที่ เขียนว่า “มาสุขใจ ไปสุดหล่อ” ของร้านตัดผม พจน์ บาร์เบอร์
แม้ข้อความจะดูย้อนยุค แต่ก็ดึงดูดมากพอที่จะเข้าไปลองฝีมือช่างรายนี้สักหน่อยเมื่อเดินเข้าไป ได้ยินเสียงเพลงลูกกรุงที่ไม่คุ้นหูมองรอบๆ พบสุภาพบุรุษหลากหน้าหลายตาที่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้อาวุโส ทันใดนั้นชายร่างสูงดูภูมิฐาน เอ่ยถามผมว่า “ตัดทรงอะไรครับ” ไม่รอช้า จึงตอบกลับไปว่า “ตัดสระ รองทรงนะครับ”
ชายคนนั้นคือ บุญมี รอดจรูญ ช่างตัดผมประจำร้านวัย 77 ที่เล่าถึงชีวิตการทำงานว่าหลังเรียนจบชั้น ป.4 เขาก็ได้เริ่มทำงานเป็นช่างตัดผมทันทีในตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี จากนั้นก็วนเวียนอยู่หลายจังหวัดจนได้เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2499 และเข้าทำงานกับคุณพจน์ เจ้าของร้าน พจน์บาร์เบอร์ พร้อมกับเพื่อนอีก 5 คน ตั้งแต่ปี 2507 เป็นต้นมา ปัจจุบันทั้งคุณพจน์และเพื่อนร่วมงานร่วมรุ่นเสียชีวิตแล้ว เหลือลุงบุญมีทำงานอยู่เพียงคนเดียว ส่วนร้านตัดผมอายุกว่า 70 ปี แห่งนี้ก็เปลี่ยนมือจากคุณพจน์ เจ้าของเดิม มาเป็นของลูกหลาน
ลุงบุญมีเล่าว่า มีบ้างที่ลูกค้าที่เป็นข้าราชการจะมาตัดผม แต่ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นเพื่อนบ้านรุ่นราวคราวเดียวกันที่อยู่ละแวกใกล้เคียง มาแวะนั่งเล่นตากแอร์พร้อมพูดคุยมากกว่า บ้างก็หยิบหนังสือพิมพ์ในร้านอ่าน บ้างก็นั่งฟังวิทยุเพลงลูกกรุงที่ลุงบุญมีเปิด ตอนนั้นจึงเข้าใจเหตุที่ได้ตัดผมเร็ว ไม่ต้องรอคิวแม้จะมีคนเต็มร้าน เพราะเขาเข้ามาพักผ่อนมากกว่ามาตัดผม
ชาญชัย สหธนานนท์ วัย 73 เป็นลูกค้าประจำของร้านพจน์ บาร์เบอร์ มามากกว่า 30 ปี เขาเล่าถึงสาเหตุที่มาร้านนี้ประจำว่าตัดทรงผมได้ถูกใจ ยามที่ไม่ได้ตัดก็มาเยี่ยมเยือน พูดคุยกับกลุ่มเพื่อนฝูง แต่ที่สำคัญคือการมาฟังเพลงลูกกรุงของชรินทร์ นันทนาคร ผ่านวิทยุลุงบุญมีเป็นประจำ
ย่านนางเลิ้งเคยเป็นหนึ่งในที่ยอดนิยมที่นักการเมืองไทยเข้ามาใช้บริการตัดผมเป็นประจำ นักการเมืองรุ่นใหญ่เคยผ่านมือลุงบุญมีมาแล้วหลายคน เช่น คุณชุมพล ศิลปอาชา หรือคุณบัญญัติ บรรทัดฐาน แต่ปัจจุบัน นานๆ ทีจะเจอลูกค้ากลุ่มนี้
หลังจากที่ตัดผมเสร็จแล้ว ได้มีโอกาสถามถึงความเปลี่ยนแปลงในชีวิตลุงบุญมีที่เป็นช่างตัดผมมากกว่า 60 ปี เขาเล่าว่า การทำงานในวันนี้ไม่มีอะไรแตกต่างมากจากเมื่อเริ่มต้นไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่หลายสิบปี ผ่านมาจะพัฒนามากเพียงใด เขายังคงใช้เพียงวิทยุ เปิดฟังเพลงลูกกรุงฟังระหว่างทำงาน
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของนางเลิ้ง ลุงบุญมียังคงกล่าวว่าไม่มีผลกระทบใดๆ แม้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่เพียงแค่แวะถ่ายรูปแล้วจากไป ขณะที่ลูกค้าของลุงบุญมีคือคนนางเลิ้งที่คุ้นเคยกันมาหลายสิบปีท้ายสุดลุงบุญกล่าวว่าจะยังคงทำงานต่อไปจนไม่ไหว เพราะหากไม่มีเขาแล้ว พจน์ บาร์เบอร์ตำนานนางเลิ้งกว่า 70 ปี ก็คงต้องปิดตัวลง
Share this:
Like this: