เรื่อง : ปัณฑารีย์ สุจิตวรงค์, พชร คำชำนาญ, นวิยา ตันเต็มทรัพย์
ภาพ : พิชญา นาวีระ
นิสิตนักศึกษา พูดคุยกับนักเขียนเจ้าของนามปากกา Nigiri Sushi ผู้มีชื่อเสียงในแวดวงนิยายชายรักชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิยายเรื่องล่าสุดอย่าง “Sins Greed” ที่มียอดผู้เข้าชมในเว็บไซต์เด็กดีกว่า 640,000 ครั้ง เกี่ยวกับประสบการณ์การเขียนนิยายวาย และทัศนคติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) เนื่องในวันสากลเพื่อยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนรักสองเพศ และคนข้ามเพศ (International Day Against Homophobia, Biphobia and Transphobia หรือ IDAHOT)
พิชญา นาวีระ อายุ 29 ปี เจ้าของนามปากกา Nigiri Sushi
ช่วยแนะนำตัวหน่อยค่ะ
ชื่อ พิชญา นาวีระ ตอนนี้เป็นนักจิตวิทยาอยู่ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ก็ใช้นามปากกา Nigiri Sushi เขียนนิยายมาน่าจะประมาณ 10 เรื่องแล้วค่ะ
เริ่มรู้ตัวเองว่าชอบแต่งนิยายชายรักชายตั้งแต่เมื่อไหร่?
เริ่มจากการอ่านนิยายทั่วไป ชาย-หญิง แบบ Fan Fiction การ์ตูนค่ะ หลังจากนั้นพอหา Fan Fiction คู่ที่เราชอบแล้วไปเจอว่า มีการเขียนถึงคู่ชาย-ชายด้วย พออ่านแล้วรู้สึกสนใจ ไม่เคยอ่านมาก่อน คาแร็คเตอร์ชาย-ชายให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากคู่ชาย-หญิง พออ่านมาเรื่อยๆ ก็ติดใจ อยากอ่านแบบนี้อีก แต่แนวที่เราชอบไม่ค่อยมี เลยลองเขียนเอง แล้วก็เริ่มจากการเขียน Fan Fiction HunterxHunter ก่อน ค่อยมาเขียนนิยายทั่วไปที่เราตั้งชื่อของเราเอง ซึ่งตอนแรกตั้งใจเขียนไว้อ่านเองเฉยๆ
ทำไมถึงเขียนแล้วอยากนำไปเผยแพร่?
อยากลองเอาลงเว็บบ้างค่ะ เผื่อมีฟีดแบ็คอะไร เลยขอให้เพื่อนช่วยหาเว็บให้ ต่อมาก็ลองลงในเว็บเด็กดีดู
เวลาแต่งนิยายเรามีวิธีการสร้างตัวละครอย่างไร?
คือเรียนจิตวิทยามาค่ะ แล้วบางอย่างก็เป็นเนื้อหาที่เรานำมาใช้ได้ เช่น เรื่องของลักษณะบุคลิกภาพกับลำดับการเกิด เราเรียนมาว่าลูกคนโตมักจะเป็นแบบนี้ คนกลางเป็นแบบนี้ คนเล็กเป็นอีกแบบ หรือลูกคนเดียวก็จะเป็นแนวนี้ อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลสำหรับการสร้างคาแร็คเตอร์ แต่ไม่ได้ใส่ลงไปตรงๆ แบบวิชาการ หรือไม่ได้หยิบยกมาทั้งดุ้น ส่วนใหญ่จะใช้วิธี Empathy คือเหมือนเราเอาตัวเราไปนั่งในใจของเขา (ซึ่งก็คือตัวละคร) เวลาที่มีสถานการณ์อะไร เราก็จะนึกว่า ตัวละคนที่มีบุคลิก ลักษณะนิสัยแบบนี้ เขาจะจัดการกับสถานการณ์ตรงนั้นอย่างไร ก็เขียนให้แตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล
สำหรับเรา LGBT เป็นใคร?
เข้าใจว่าเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เป็นเพศทางเลือก เข้าใจว่าอย่างนั้นค่ะ
จากที่เราเป็นคนที่แต่งนิยายชายรักชาย คิดเห็นอย่างไรกับสถานการณ์ LGBT ของประเทศไทยในปัจจุบัน?
ไม่ค่อยได้ตามข่าวเลยค่ะ แต่คิดว่ามีการเปิดกว้างมากขึ้นมีการยอมรับ เคารพสิทธิกันมากขึ้น แต่เราก็ต้องเข้าใจว่ามันมี 2 มุมเสมอ ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ร้อยกี่พันปี มีคนเห็นด้วย ก็ต้องมีคนไม่เห็นด้วย อันนี้เป็นเรื่องทั่วไปของสังคม
มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์นิยายวายหรือซีรีส์วายเช่นกันว่า ไม่ได้เปิดกว้าง เพราะเพียงเป็นการเปลี่ยนนางเอกเป็นผู้ชาย สร้างภาพตัวแทนเป็นผู้ชายหน้าตาดี ฐานะดี ตรงนี้คิดเห็นอย่างไร?
คิดว่าอันนี้ไม่น่าจะเฉพาะแนววาย เพราะไม่ว่าจะนิยาย การ์ตูน หรือหนังอะไร ก็มักจะให้ตัวเอกเป็นพิมพ์นิยม ดูดี หน้าตาดี มีฐานะ แต่ก็จะมีอีกแบบที่เขียนให้เป็นคนทั่วไป ไม่ต้องหล่อ สวย รวย เพอร์เฟ็กต์ มีตำหนิ จุดบกพร่องบ้าง เพื่อความสมจริงมากขึ้น แต่ถ้าให้เทียบกัน เราอาจจะเจอแบบแรกมากกว่าแบบหลัง และแบบแรกอาจจะได้รับความนิยมมากกว่า ทำให้รู้สึกว่าแบบแรกกลายเป็นตัวแทนของนิยายหรือซีรีส์ไป
ในฐานะคนเขียนหนังสือซึ่งนับเป็นสื่อรูปแบบหนึ่ง คิดว่าสื่อมีผลอย่างไรในการช่วยเปิดกว้างหรือทำให้คนเห็นมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับ LGBT?
ถ้าพูดถึงการเขียนนิยายวาย มองว่าการนำเสนอมุมมองทั่วไป เช่นว่า ตัวละครมีการดำเนินชีวิตในสังคมที่ไม่มีการแบ่งแยก ไม่มีความแตกต่าง ไม่มีขอบเขตอะไรมากำหนดว่าแต่ละคนเป็นเพศอะไร ไม่มีการกีดกันจากสังคมหรือครอบครัว แบบนี้คิดว่าโอเคแล้ว
ยกตัวอย่างเช่น เขียนให้ตัวละครชาย-ชาย ครองรักกันเป็นคู่ชีวิต มีการแต่งงาน มีครอบครัวออกหน้าออกตา เพื่อน สังคม ที่บ้านยอมรับ โดยไม่มีปัญหาเกิดขึ้นว่า คู่นี้ดูแปลก ดูประหลาด แบบนี้คิดว่าเป็นการสื่อออกมาในทางบวกแล้ว
เคยอ่านหนังสือการ์ตูนของฝรั่ง เกี่ยวกับเด็กที่มีผู้ปกครองเป็นชายทั้งคู่ หรือเป็นหญิงทั้งคู่ รู้สึกประทับใจตรงที่เขาไม่ได้สื่อในแง่ของปัญหาที่เกิดขึ้น แต่สื่อว่ามันคือเรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่ง ใช้ชีวิตครอบครัวกันไป มีความสุขกันไป ดำเนินชีวิตครอบครัวเหมือนบ้านที่มีพ่อ-แม่เป็นชายกับหญิง กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเลย ไม่ได้มีการสื่อว่านี่คือเรื่องพิเศษหรือเกิดอคติทางลบอะไร ซึ่งเรารู้สึกได้ว่า ไม่ว่าผู้ปกครองจะเป็นเพศอะไร ขอให้มีความรัก ความเข้าใจในกันและกัน มันพอแล้ว
มองว่าอะไรก็ตามที่เราให้การยอมรับจนเป็นเรื่องทั่วไปในสังคม มันจะทำให้แต่ละฝ่ายเกิดความกลมเกลียว ไม่แบ่งแยกฉันหรือเธอ การให้ความเคารพในความเป็นมนุษย์โดยไม่ต้องแบ่งแยกเพศ มันน่าจะลดความรู้สึกเหลื่อมล้ำระหว่างกันได้ และมันน่าจะดีกว่าการพูดถึงแต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คืออยากให้สื่อไปในทางที่นำสังคม มากกว่าจะสะท้อนสังคม
ทำไมนิยายเรื่องล่าสุด (Sins Greed) ถึงมีพูดถึงเรื่องการจดทะเบียนสมรสของ LGBT ด้วย?
ถ้าในเรื่อง ตัวพระเอกมีความรู้สึกว่า อยากใช้ชีวิตกับคนคนนี้ อยากจะทำอะไรให้มั่นคง อยากให้รู้สึกว่า ผมขอให้คุณมาเป็นคู่ชีวิต ไม่ใช่แค่แฟน แต่อยู่ในสถานะที่หนักแน่น คงทนกว่านั้น นั่นคือการได้เป็นคู่สามี-ภรรยากัน แต่ว่าการแต่งงานกันเปิดเผย หรือการจดทะเบียนสมรส มันอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่ายๆ ก็เลยขอแค่ผูกข้อมือกันธรรมดา ถือซะว่าแต่งกันแล้วนะ
ในบทสนทนาช่วงนี้ ตอนเขียนก็รู้สึกเหมือนกันว่าเราแบ่งแยกแล้วล่ะ เพราะพออยากจะใส่สถานการณ์ที่เรียลขึ้น เราก็ต้องลดจินตนาการของเราลง
นิยายเรื่องเก่าๆ ที่เคยเขียนมา เราจะเขียนแบบ Y World ประเภทที่ว่าผู้ปกครองสนับสนุนให้ลูกผู้ชายทั้งคู่ครองรักกันได้เลย ไม่มีใครห้าม แต่งงานกันเอิกเกริก เป็นเรื่องทั่วไป เป็นสถานการณ์เหมือนชาย-หญิง และบรรดาผองเพื่อนของตัวละครก็มีแฟนเป็นเพศเดียวกันแบบเสรี
ซึ่งตรงนี้ ก็เคยอ่านฟีดแบ็คมาบ้างว่ามัน Y World จ๋าจริงๆ ดังนั้นพอถึงช่วงเวลาหนึ่ง เราก็ต้องใส่ความเป็นจริงลงไป ลดดีกรีลงมา เพราะทุกวันนี้ก็ต้องยอมรับว่าถึงคู่รักชาย-ชายจะมีการเปิดเผยมากขึ้น แต่งงานกันมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ทั่วไป หรือทำได้ง่ายๆ แบบชาย-หญิง แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ยังอยากให้คู่รักชาย-ชาย มีการสร้างครอบครัว มีการแต่งงาน มีการจดทะเบียนกันอยู่ดี
พฤติกรรมเกลียดกลัว Homophobia แบบไหนที่เรารับไม่ได้มากที่สุด?
โดยส่วนตัวแล้ว ยังไม่เคยเจอ Homophobia ค่ะ แต่คิดว่าแง่มุมที่รับไม่ได้ คือการที่เพื่อนเราในกลุ่มชอบเพศเดียวกัน แล้วเราตัดความเป็นเพื่อน หรือคนในครอบครัวชอบเพศเดียวกัน แล้วจะรับไม่ได้ ตัดขาดความเป็นพ่อแม่ลูก คือเรามองว่า เขาจะมีรสนิยมอย่างไร เขาก็ยังเป็นเพื่อน เป็นลูก เป็นหลานของคุณ อีกเรื่องคือการ bully คืออันนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหน เพศไหน ไม่มีใครสมควรถูก bully
เรื่องของรสนิยมทางเพศมันไม่ใช่การเจ็บป่วย มันเป็นแค่ความชอบหรือไม่ชอบ เหมือนการกินข้าว ใครอยากกินเผ็ดก็กิน กินจืดก็กิน ดังนั้นมันไม่ควรจะนำมาเป็นประเด็นตั้งแง่ รังเกียจ หรือ bully กัน ไม่ว่าจะทางคำพูด พฤติกรรม หรือคอมเม้นท์ต่างๆ ตามโลกโซเชียล
คิดว่ามีปัจจัยทางสังคมใดบ้างที่ยังทำให้สังคมไทยไม่เปืดรับ LGBT เท่าที่ควร?
ถ้าให้มองว่าเพราะอะไรถึงยังไม่ยอมรับ อาจเป็นเพราะมีการแบ่งแยกชัดเจน คนนี้เพศชาย คนนี้เพศหญิง คนนี้เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ พอเราแบ่งแยกกัน มันก็ทำให้มองว่า เราอยู่กันคนละกลุ่ม ฉันกลุ่มนี้ เธอกลุ่มนั้น ก็จะเกิดอคติในการแบ่งกลุ่ม แต่คิดว่าประเทศอื่นก็น่าจะเป็นแบบนี้ และน่าจะเกิดกับทุกประเด็น ไม่ใช่แค่เรื่องรสนิยมทางเพศ อย่างแบ่งเชื้อชาติ แบ่งสีผิว พอเราแบ่งกลุ่มกันเมื่อไหร่ ปัญหาก็มาเมื่อนั้นค่ะ
แต่ถ้าถามถึงประเทศไทย ไม่ชัวร์ว่า เพราะเรามักให้ LGBT เป็นตัวแทนของความตลกหรือเปล่า อย่างที่เห็นได้ตามละคร ภาพยนตร์ต่างๆ หรือบางที เราก็มักให้กลุ่มชายรักชายเป็นตัวแทนของการที่มีคู่หลายคน พอจุดนี้รวมกันมากเข้า มันก็เหมือน stereotype (เหมารวม) เหมือนสัญลักษณ์ของพวกเขาไป ก่อให้เกิดอคติทางลบ ก็ทำให้อีกฝ่ายคิดแบ่งแยกค่ะ
ในฐานะที่เป็นนักเขียนนิยายชายรักชาย คิดว่าสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อลด Homophobia ในสังคมไทย?
มองว่า การนำเสนอภาพรวมของชายรักชายในแง่ทั่วไป ดำเนินชีวิตประจำวันโดยไม่มีภาพการแบ่งแยก หรือปัญหาอะไร มันน่าจะเป็นสื่อกลางที่สร้างค่านิยมได้ในระดับหนึ่ง การนำเสนอปัญหาในชีวิตของชายรักชาย เช่น ครอบครัว เพื่อน ที่ทำงานไม่ยอมรับ การเปลี่ยนคู่รัก ความทุกข์ ความเศร้าจากความสับสนในเรื่องนี้ คิดว่านำเสนอได้ แต่ส่วนตัวก็มีคำถามว่า การสื่อไปในทางนั้น มันสะท้อนความจริงก็ใช่ แต่มันจะเป็นการผลิตซ้ำในแง่เดิมๆ หรือเปล่า ทำนองว่า ชายรักชายก็ต้องเผชิญกับสถานการณ์การไม่ยอมรับจากคนทั่วไปอยู่แล้ว ไม่สวยงามแบบนิยายหรอก อะไรแบบนี้
คือส่วนตัวเราเอง มีความคิดว่าในโลกนิยาย แต่ละฝ่ายดูเท่าเทียมกันก็ดีนะ ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องเพศอะไรมันก็น่าจะดี ถึงจะดูโลกสวยไป แต่ถ้าเป็นจริงได้ มันก็เยี่ยมเลย
ตัวอย่างเช่น การเขียนให้ครอบครัวเป็นแบคอัพให้กับชายรักชาย คิดว่ามันคือการนำเสนอในทางบวก ไม่จำเป็นต้องมีปัญหาการไม่ยอมรับเสมอไปค่ะ หรือถ้าจะมี ก็อยากให้ลงเอยด้วยความสุข ด้วยความเข้าใจ ด้วยการยอมรับ และเน้นไปที่ผลลัพธ์ของการเข้าใจกันและกันมากกว่าเน้นปัญหา
มองว่าเราควรสร้างสื่อนำสังคมบ้าง ไม่ต้องสะท้อนไปทั้งหมด
ฝากอะไรถึงแฟนๆ เนื่องในวัน IDAHOT หน่อยค่ะ
อยากให้มองเรื่องนี้เป็นเรื่องทั่วไป เป็นคนที่ใช้ชีวิตในสังคมเดียวกัน เป็นบุคคล เป็นมนุษย์ อย่างนี้จะดีที่สุด ไม่ต้องไปมองว่าเขาแตกแยกหรือแตกต่าง แล้วก็ไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นเรื่องที่แตะไม่ได้ ต้องไม่ได้ มันจะยิ่งทำให้คนบางกลุ่มที่ไม่เข้าใจ ไม่โอเคอยู่แล้วยิ่งทวีความเกลียดชัง แล้วก็อย่าไปทำตัวทางลบกับใครด้วยอคติ อยากให้ปฏิบัติต่อทุกเพศอย่างเท่าเทียมกัน เคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์เหมือนกัน เพราะว่าจะเพศไหน ก็มีความรู้สึก มีหัวใจเหมือนกัน
Like this:
Like Loading...
เรื่อง : ปัณฑารีย์ สุจิตวรงค์, พชร คำชำนาญ, นวิยา ตันเต็มทรัพย์
ภาพ : พิชญา นาวีระ
นิสิตนักศึกษา พูดคุยกับนักเขียนเจ้าของนามปากกา Nigiri Sushi ผู้มีชื่อเสียงในแวดวงนิยายชายรักชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิยายเรื่องล่าสุดอย่าง “Sins Greed” ที่มียอดผู้เข้าชมในเว็บไซต์เด็กดีกว่า 640,000 ครั้ง เกี่ยวกับประสบการณ์การเขียนนิยายวาย และทัศนคติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) เนื่องในวันสากลเพื่อยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนรักสองเพศ และคนข้ามเพศ (International Day Against Homophobia, Biphobia and Transphobia หรือ IDAHOT)
ช่วยแนะนำตัวหน่อยค่ะ
ชื่อ พิชญา นาวีระ ตอนนี้เป็นนักจิตวิทยาอยู่ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ก็ใช้นามปากกา Nigiri Sushi เขียนนิยายมาน่าจะประมาณ 10 เรื่องแล้วค่ะ
เริ่มรู้ตัวเองว่าชอบแต่งนิยายชายรักชายตั้งแต่เมื่อไหร่?
เริ่มจากการอ่านนิยายทั่วไป ชาย-หญิง แบบ Fan Fiction การ์ตูนค่ะ หลังจากนั้นพอหา Fan Fiction คู่ที่เราชอบแล้วไปเจอว่า มีการเขียนถึงคู่ชาย-ชายด้วย พออ่านแล้วรู้สึกสนใจ ไม่เคยอ่านมาก่อน คาแร็คเตอร์ชาย-ชายให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากคู่ชาย-หญิง พออ่านมาเรื่อยๆ ก็ติดใจ อยากอ่านแบบนี้อีก แต่แนวที่เราชอบไม่ค่อยมี เลยลองเขียนเอง แล้วก็เริ่มจากการเขียน Fan Fiction HunterxHunter ก่อน ค่อยมาเขียนนิยายทั่วไปที่เราตั้งชื่อของเราเอง ซึ่งตอนแรกตั้งใจเขียนไว้อ่านเองเฉยๆ
ทำไมถึงเขียนแล้วอยากนำไปเผยแพร่?
อยากลองเอาลงเว็บบ้างค่ะ เผื่อมีฟีดแบ็คอะไร เลยขอให้เพื่อนช่วยหาเว็บให้ ต่อมาก็ลองลงในเว็บเด็กดีดู
เวลาแต่งนิยายเรามีวิธีการสร้างตัวละครอย่างไร?
คือเรียนจิตวิทยามาค่ะ แล้วบางอย่างก็เป็นเนื้อหาที่เรานำมาใช้ได้ เช่น เรื่องของลักษณะบุคลิกภาพกับลำดับการเกิด เราเรียนมาว่าลูกคนโตมักจะเป็นแบบนี้ คนกลางเป็นแบบนี้ คนเล็กเป็นอีกแบบ หรือลูกคนเดียวก็จะเป็นแนวนี้ อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลสำหรับการสร้างคาแร็คเตอร์ แต่ไม่ได้ใส่ลงไปตรงๆ แบบวิชาการ หรือไม่ได้หยิบยกมาทั้งดุ้น ส่วนใหญ่จะใช้วิธี Empathy คือเหมือนเราเอาตัวเราไปนั่งในใจของเขา (ซึ่งก็คือตัวละคร) เวลาที่มีสถานการณ์อะไร เราก็จะนึกว่า ตัวละคนที่มีบุคลิก ลักษณะนิสัยแบบนี้ เขาจะจัดการกับสถานการณ์ตรงนั้นอย่างไร ก็เขียนให้แตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล
สำหรับเรา LGBT เป็นใคร?
เข้าใจว่าเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เป็นเพศทางเลือก เข้าใจว่าอย่างนั้นค่ะ
จากที่เราเป็นคนที่แต่งนิยายชายรักชาย คิดเห็นอย่างไรกับสถานการณ์ LGBT ของประเทศไทยในปัจจุบัน?
ไม่ค่อยได้ตามข่าวเลยค่ะ แต่คิดว่ามีการเปิดกว้างมากขึ้นมีการยอมรับ เคารพสิทธิกันมากขึ้น แต่เราก็ต้องเข้าใจว่ามันมี 2 มุมเสมอ ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ร้อยกี่พันปี มีคนเห็นด้วย ก็ต้องมีคนไม่เห็นด้วย อันนี้เป็นเรื่องทั่วไปของสังคม
มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์นิยายวายหรือซีรีส์วายเช่นกันว่า ไม่ได้เปิดกว้าง เพราะเพียงเป็นการเปลี่ยนนางเอกเป็นผู้ชาย สร้างภาพตัวแทนเป็นผู้ชายหน้าตาดี ฐานะดี ตรงนี้คิดเห็นอย่างไร?
คิดว่าอันนี้ไม่น่าจะเฉพาะแนววาย เพราะไม่ว่าจะนิยาย การ์ตูน หรือหนังอะไร ก็มักจะให้ตัวเอกเป็นพิมพ์นิยม ดูดี หน้าตาดี มีฐานะ แต่ก็จะมีอีกแบบที่เขียนให้เป็นคนทั่วไป ไม่ต้องหล่อ สวย รวย เพอร์เฟ็กต์ มีตำหนิ จุดบกพร่องบ้าง เพื่อความสมจริงมากขึ้น แต่ถ้าให้เทียบกัน เราอาจจะเจอแบบแรกมากกว่าแบบหลัง และแบบแรกอาจจะได้รับความนิยมมากกว่า ทำให้รู้สึกว่าแบบแรกกลายเป็นตัวแทนของนิยายหรือซีรีส์ไป
ในฐานะคนเขียนหนังสือซึ่งนับเป็นสื่อรูปแบบหนึ่ง คิดว่าสื่อมีผลอย่างไรในการช่วยเปิดกว้างหรือทำให้คนเห็นมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับ LGBT?
ถ้าพูดถึงการเขียนนิยายวาย มองว่าการนำเสนอมุมมองทั่วไป เช่นว่า ตัวละครมีการดำเนินชีวิตในสังคมที่ไม่มีการแบ่งแยก ไม่มีความแตกต่าง ไม่มีขอบเขตอะไรมากำหนดว่าแต่ละคนเป็นเพศอะไร ไม่มีการกีดกันจากสังคมหรือครอบครัว แบบนี้คิดว่าโอเคแล้ว
ยกตัวอย่างเช่น เขียนให้ตัวละครชาย-ชาย ครองรักกันเป็นคู่ชีวิต มีการแต่งงาน มีครอบครัวออกหน้าออกตา เพื่อน สังคม ที่บ้านยอมรับ โดยไม่มีปัญหาเกิดขึ้นว่า คู่นี้ดูแปลก ดูประหลาด แบบนี้คิดว่าเป็นการสื่อออกมาในทางบวกแล้ว
เคยอ่านหนังสือการ์ตูนของฝรั่ง เกี่ยวกับเด็กที่มีผู้ปกครองเป็นชายทั้งคู่ หรือเป็นหญิงทั้งคู่ รู้สึกประทับใจตรงที่เขาไม่ได้สื่อในแง่ของปัญหาที่เกิดขึ้น แต่สื่อว่ามันคือเรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่ง ใช้ชีวิตครอบครัวกันไป มีความสุขกันไป ดำเนินชีวิตครอบครัวเหมือนบ้านที่มีพ่อ-แม่เป็นชายกับหญิง กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเลย ไม่ได้มีการสื่อว่านี่คือเรื่องพิเศษหรือเกิดอคติทางลบอะไร ซึ่งเรารู้สึกได้ว่า ไม่ว่าผู้ปกครองจะเป็นเพศอะไร ขอให้มีความรัก ความเข้าใจในกันและกัน มันพอแล้ว
ทำไมนิยายเรื่องล่าสุด (Sins Greed) ถึงมีพูดถึงเรื่องการจดทะเบียนสมรสของ LGBT ด้วย?
ถ้าในเรื่อง ตัวพระเอกมีความรู้สึกว่า อยากใช้ชีวิตกับคนคนนี้ อยากจะทำอะไรให้มั่นคง อยากให้รู้สึกว่า ผมขอให้คุณมาเป็นคู่ชีวิต ไม่ใช่แค่แฟน แต่อยู่ในสถานะที่หนักแน่น คงทนกว่านั้น นั่นคือการได้เป็นคู่สามี-ภรรยากัน แต่ว่าการแต่งงานกันเปิดเผย หรือการจดทะเบียนสมรส มันอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่ายๆ ก็เลยขอแค่ผูกข้อมือกันธรรมดา ถือซะว่าแต่งกันแล้วนะ
ในบทสนทนาช่วงนี้ ตอนเขียนก็รู้สึกเหมือนกันว่าเราแบ่งแยกแล้วล่ะ เพราะพออยากจะใส่สถานการณ์ที่เรียลขึ้น เราก็ต้องลดจินตนาการของเราลง
นิยายเรื่องเก่าๆ ที่เคยเขียนมา เราจะเขียนแบบ Y World ประเภทที่ว่าผู้ปกครองสนับสนุนให้ลูกผู้ชายทั้งคู่ครองรักกันได้เลย ไม่มีใครห้าม แต่งงานกันเอิกเกริก เป็นเรื่องทั่วไป เป็นสถานการณ์เหมือนชาย-หญิง และบรรดาผองเพื่อนของตัวละครก็มีแฟนเป็นเพศเดียวกันแบบเสรี
ซึ่งตรงนี้ ก็เคยอ่านฟีดแบ็คมาบ้างว่ามัน Y World จ๋าจริงๆ ดังนั้นพอถึงช่วงเวลาหนึ่ง เราก็ต้องใส่ความเป็นจริงลงไป ลดดีกรีลงมา เพราะทุกวันนี้ก็ต้องยอมรับว่าถึงคู่รักชาย-ชายจะมีการเปิดเผยมากขึ้น แต่งงานกันมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ทั่วไป หรือทำได้ง่ายๆ แบบชาย-หญิง แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ยังอยากให้คู่รักชาย-ชาย มีการสร้างครอบครัว มีการแต่งงาน มีการจดทะเบียนกันอยู่ดี
พฤติกรรมเกลียดกลัว Homophobia แบบไหนที่เรารับไม่ได้มากที่สุด?
โดยส่วนตัวแล้ว ยังไม่เคยเจอ Homophobia ค่ะ แต่คิดว่าแง่มุมที่รับไม่ได้ คือการที่เพื่อนเราในกลุ่มชอบเพศเดียวกัน แล้วเราตัดความเป็นเพื่อน หรือคนในครอบครัวชอบเพศเดียวกัน แล้วจะรับไม่ได้ ตัดขาดความเป็นพ่อแม่ลูก คือเรามองว่า เขาจะมีรสนิยมอย่างไร เขาก็ยังเป็นเพื่อน เป็นลูก เป็นหลานของคุณ อีกเรื่องคือการ bully คืออันนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหน เพศไหน ไม่มีใครสมควรถูก bully
คิดว่ามีปัจจัยทางสังคมใดบ้างที่ยังทำให้สังคมไทยไม่เปืดรับ LGBT เท่าที่ควร?
ถ้าให้มองว่าเพราะอะไรถึงยังไม่ยอมรับ อาจเป็นเพราะมีการแบ่งแยกชัดเจน คนนี้เพศชาย คนนี้เพศหญิง คนนี้เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ พอเราแบ่งแยกกัน มันก็ทำให้มองว่า เราอยู่กันคนละกลุ่ม ฉันกลุ่มนี้ เธอกลุ่มนั้น ก็จะเกิดอคติในการแบ่งกลุ่ม แต่คิดว่าประเทศอื่นก็น่าจะเป็นแบบนี้ และน่าจะเกิดกับทุกประเด็น ไม่ใช่แค่เรื่องรสนิยมทางเพศ อย่างแบ่งเชื้อชาติ แบ่งสีผิว พอเราแบ่งกลุ่มกันเมื่อไหร่ ปัญหาก็มาเมื่อนั้นค่ะ
แต่ถ้าถามถึงประเทศไทย ไม่ชัวร์ว่า เพราะเรามักให้ LGBT เป็นตัวแทนของความตลกหรือเปล่า อย่างที่เห็นได้ตามละคร ภาพยนตร์ต่างๆ หรือบางที เราก็มักให้กลุ่มชายรักชายเป็นตัวแทนของการที่มีคู่หลายคน พอจุดนี้รวมกันมากเข้า มันก็เหมือน stereotype (เหมารวม) เหมือนสัญลักษณ์ของพวกเขาไป ก่อให้เกิดอคติทางลบ ก็ทำให้อีกฝ่ายคิดแบ่งแยกค่ะ
ในฐานะที่เป็นนักเขียนนิยายชายรักชาย คิดว่าสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อลด Homophobia ในสังคมไทย?
มองว่า การนำเสนอภาพรวมของชายรักชายในแง่ทั่วไป ดำเนินชีวิตประจำวันโดยไม่มีภาพการแบ่งแยก หรือปัญหาอะไร มันน่าจะเป็นสื่อกลางที่สร้างค่านิยมได้ในระดับหนึ่ง การนำเสนอปัญหาในชีวิตของชายรักชาย เช่น ครอบครัว เพื่อน ที่ทำงานไม่ยอมรับ การเปลี่ยนคู่รัก ความทุกข์ ความเศร้าจากความสับสนในเรื่องนี้ คิดว่านำเสนอได้ แต่ส่วนตัวก็มีคำถามว่า การสื่อไปในทางนั้น มันสะท้อนความจริงก็ใช่ แต่มันจะเป็นการผลิตซ้ำในแง่เดิมๆ หรือเปล่า ทำนองว่า ชายรักชายก็ต้องเผชิญกับสถานการณ์การไม่ยอมรับจากคนทั่วไปอยู่แล้ว ไม่สวยงามแบบนิยายหรอก อะไรแบบนี้
คือส่วนตัวเราเอง มีความคิดว่าในโลกนิยาย แต่ละฝ่ายดูเท่าเทียมกันก็ดีนะ ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องเพศอะไรมันก็น่าจะดี ถึงจะดูโลกสวยไป แต่ถ้าเป็นจริงได้ มันก็เยี่ยมเลย
ตัวอย่างเช่น การเขียนให้ครอบครัวเป็นแบคอัพให้กับชายรักชาย คิดว่ามันคือการนำเสนอในทางบวก ไม่จำเป็นต้องมีปัญหาการไม่ยอมรับเสมอไปค่ะ หรือถ้าจะมี ก็อยากให้ลงเอยด้วยความสุข ด้วยความเข้าใจ ด้วยการยอมรับ และเน้นไปที่ผลลัพธ์ของการเข้าใจกันและกันมากกว่าเน้นปัญหา
มองว่าเราควรสร้างสื่อนำสังคมบ้าง ไม่ต้องสะท้อนไปทั้งหมด
ฝากอะไรถึงแฟนๆ เนื่องในวัน IDAHOT หน่อยค่ะ
อยากให้มองเรื่องนี้เป็นเรื่องทั่วไป เป็นคนที่ใช้ชีวิตในสังคมเดียวกัน เป็นบุคคล เป็นมนุษย์ อย่างนี้จะดีที่สุด ไม่ต้องไปมองว่าเขาแตกแยกหรือแตกต่าง แล้วก็ไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นเรื่องที่แตะไม่ได้ ต้องไม่ได้ มันจะยิ่งทำให้คนบางกลุ่มที่ไม่เข้าใจ ไม่โอเคอยู่แล้วยิ่งทวีความเกลียดชัง แล้วก็อย่าไปทำตัวทางลบกับใครด้วยอคติ อยากให้ปฏิบัติต่อทุกเพศอย่างเท่าเทียมกัน เคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์เหมือนกัน เพราะว่าจะเพศไหน ก็มีความรู้สึก มีหัวใจเหมือนกัน
Share this:
Like this: