ในวันที่รัฐบาลปล่อยโครงการ EEC ลงมาที่จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยองอย่างไม่ทันตั้งตัว สองจังหวัดแรกถูกวางบทบาทให้เป็นเมืองอุตสาหกรรม ที่เชื่อว่าจะนำพาเม็ดเงินมหาศาลเข้าสู่ประเทศและเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ให้สูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ฉะเชิงเทราถูกวางฐานะเป็นเมืองอยู่อาศัยชั้นดีเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการคมนาคมในโครงการ
คลื่นระลอกแรกที่เป็นผลจาก EEC คือ การปรับผังเมืองรวมของทั้งฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ที่รัฐบาลคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคม 2561 ภาคส่วนอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลพลอยได้จากราคาที่พุ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัวในระยะเวลาสั้นๆ ทว่าสำหรับคนส่วนมากในฉะเชิงเทราอย่างเกษตรกร พวกเขาเริ่มกังวลต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากภาคอุตสาหกรรม ทั้งทางดิน น้ำ และอากาศ และที่สำคัญคือ พื้นที่เกษตรกรรมที่ลดลงจากการขีดเส้นเปลี่ยนสีตามที่ผู้กำหนดนโยบายเห็นดีงาม
นิสิตนักศึกษา คุยกับ ครรชิต เข็มเฉลิม ทายาทของ ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ปราชญ์ชุมชนผู้ริเริ่มแนวคิด “วนเกษตร” และต้นแบบ “สวนวนเกษตร” ที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งเป็นหัวหน้าศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนเกษตร ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ว่า วนเกษตรและคนในภาคเกษตรกรรมจะอยู่อย่างไรเมื่อภาคอุตสาหกรรมเริ่มรุกคืบเข้ามาในฉะเชิงเทรามากขึ้น
เกษตรกรรมในวันที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
“โดยธรรมชาติของการถูกฝังหัวมาของข้าราชการของนายทุน เขาเชื่อว่าเม็ดเงินมากมายมหาศาลที่ทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาเป็นเงินที่เข้ามาได้บนฐานอุตสาหกรรม ไม่ใช่เกษตรกรรม” ครรชิต เข็มเฉลิม ชวนมองนโยบายรัฐที่สะท้อนถึงการให้ความสำคัญเฉพาะภาคอุตสาหกรรม แต่กลับทอดทิ้งภาคเกษตรกรรมไว้ข้างหลังเรื่อยมา
ครรชิตมองว่า การเตรียมปล่อยผังเมืองใหม่ที่สอดคล้องและเอื้ออำนวยต่อภาคอุตสาหกรรมเป็นการตอกย้ำว่า รัฐบาลให้ความสนใจกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่มีแรงหนุนจากอุตสาหกรรมเป็นหลัก รัฐบาลจึงปรับลดพื้นที่สีเขียวสำหรับโซนเกษตรกรรมลง และเพิ่มพื้นที่สีม่วงสำหรับโซนอุตสาหกรรมขึ้น รวมทั้งปรับเงื่อนไขต่างๆ เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นได้ง่าย และดำเนินการอย่างเร่งรีบ ตรงกันข้ามกับภาคเกษตรกรรม ที่รัฐบาลไม่ให้ความสนใจเท่าทีควรเมื่อมีการร้องขอให้แก้ไขและช่วยเหลือปัญหาด้านต่างๆ เช่น การสนับสนุนให้ยกเลิกใช้สารเคมีทำการเกษตร 4 ชนิด ได้เเก่ คาร์โบฟูราน, เมโทมิล, ไดโครโตฟอส เเละอีพีเอ็น และการจัดการขยะที่ถูกนำมาทิ้งในบ่อขยะ
“แน่นอนว่าส่วนใหญ่เวลาทุนเขาคิดอะไร ระบบทุนส่วนใหญ่เขาคิดถึงเป้าหมายที่จะสร้างความร่ำรวย ไม่ว่ารัฐบาลหรือเอกชน เป้าหมายก็คือทำอย่างไรจะเห็นเม็ดเงินเข้ามาพัฒนาประเทศเพื่อตอบโจทย์ GDP ของประเทศ” ครรชิตกล่าว
ครรชิต เข็มเฉลิม ทายาทรุ่นที่สองแห่ง ‘สวนวนเกษตร’
ความมั่นคงทางอาหารกับศักดิ์ศรีในการปฏิเสธระบบทุน
ครรชิตยังเห็นว่า การไม่สามารถพึ่งพาตนเองด้านอาหารได้คือการขาดความมั่นคงทางอาหาร แม้ว่าคนจะหาเงินได้มากมาย แต่ชีวิตส่วนหนึ่งของคนทั่วไปยังต้องซื้ออาหาร หากแต่คนที่สามารถผลิตวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้เอง ไม่จำเป็นต้องซื้อหาจากนายทุนภาคเอกชน ทำให้มีความมั่นคงทางอาหารด้วยการพึ่งพาทรัพยากรที่ตนเองมี จึงถือเป็นศักดิ์ศรีในการปฏิเสธระบบทุน
แต่ผลจากการปรับลดพื้นที่เกษตรกรรมในผังเมืองใหม่ทำให้ครรชิตแสดงความกังวลถึงปัญหาความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากมองว่า ภาคการเกษตรคือภาคการผลิตที่เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงประชากรในพื้นที่ ทั้งระดับชุมชน ระดับประเทศและระดับโลก หากแต่พื้นที่การเกษตรเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากการขีดเส้นผังเมืองใหม่ เขาก็เกิดคำถามว่าความมั่งคงทางอาหารที่อยู่ ณ ที่แห่งนี้จะเป็นเช่นไรต่อไป
“การปรับผังเมืองเป็นการส่งสัญญาณว่าภาคการเกษตรเตรียมตัวได้รับผลกระทบ เราจะเห็นว่าท้องนาหลายที่ถูกถมเพื่อทำบ้านจัดสรรรองรับความเจริญ เกษตรกรในโลกนี้มีมากขึ้นตลอด แต่ปัจจุบันพื้นที่ผลิตอาหารนั้นลดลง อย่าลืมว่าคนเพิ่มอาหารเท่าเดิม บอกเลยว่าคนมีอาหารเท่านั้นที่จะครองโลก เมื่อถึงเวลานั้นการแย่งชิงทรัพยากรกันมัน ไม่มีทางที่เกษตรกรจะแย่งชิงนายทุนได้” ครรชิตกล่าว
วนเกษตรยังตระหง่านกลางกระแสทุนนิยม
ครรชิตสะท้อนมุมมองของคนทำวนเกษตรที่มีต่อโครงการ EEC ว่า แนวคิดวนเกษตรถูกออกแบบให้อยู่ร่วมกับระบบทุนได้โดยไม่มีปัญหา เนื่องจากหัวใจของแนวคิดวนเกษตรคือการพึ่งพาตนได้ด้วยฐานทรัพยากรที่ตนมี และทรัพยากรนั้นไม่จำเป็นต้องมีจำนวนมาก แต่ต้องมีความหลากหลายของทรัพยากร ดังนั้น อย่างน้อยที่สุดทำให้คนมีความมั่นคงทางอาหาร ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการซื้อจากภายนอก
“นี่คือการที่ทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับทุนที่มันมีการเข้ามาตลอดเวลาได้ เพราะว่าเราไม่สนใจ ถ้าเราไม่มีเงิน แต่เราก็ยังมีทรัพยากรที่เป็นของเราเอง เราจึงสามารถจัดการได้ นี่ต่างหากคือสิ่งที่ทำให้เราอยู่ร่วมกับระบบทุนได้ ไม่ใช่การอยู่แบบง้อเค้าตลอด”
“แต่ถ้า EEC มีผลกระทบต่อเราก็ต้องบอกให้เขารู้ว่าคุณเข้ามาแบบเบียดเบียน เพราะวนเกษตรพยายามรณรงค์ให้คนเลิกเบียดเบียนผู้อื่นและเลิกเบียดเบียนตัวเอง เมื่อเราลดการเบียดเบียนตัวเองแล้วเราก็ไม่อยากเห็นใครมาเบียดเบียนเราเหมือนกัน ถ้าคุณเข้ามาโดยไม่เป็นปัญหาอะไรกับเรานั่นก็เรื่องของคุณ” ครรชิตอธิบายเหตุผลที่ว่าวนเกษตรยังคงยืนหยัดได้แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมจะเข้ามา
อย่างไรก็ตาม หัวหน้าศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนเกษตร ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม แสดงความกังวลต่อปัญหาการจัดการขยะที่ถูกนำมาทิ้งในฉะเชิงเทรา ว่า ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อคนในพื้นที่มาอย่างยาวนาน และภาครัฐยังไม่สามารถจัดการแก้ไขได้ โดยการวางฉะเชิงเทราเป็นเมืองที่อยู่อาศัยจะยิ่งทำให้ปัญหาการจัดการขยะยิ่งพอกพูน เนื่องจากมีการย้ายถิ่นฐานของคนจำนวนมากเข้ามาเพิ่ม
“ในบรรดาสามจังหวัด ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรากลัวที่สุดในการจัดการขยะ จาก 100% จัดการได้แค่ 30% ที่เหลือเป็นปัญหาทิ้งไว้ให้ชาวบ้าน เมื่อฉะเชิงเทราเน้นเรื่องเมืองที่อยู่อาศัย ปัญหาขยะเดิมแก้ไขได้แค่ 30% แล้วคนที่เข้ามาใหม่เขาไม่เอาขยะมาด้วยหรือ โดยเฉพาะถุงพลาสติกขยะเปียกขยะแห้งขยะอะไรสารพัด เผาทีเหม็นหมด มนุษย์ที่เข้ามาอยู่ใหม่นี้เป็นมนุษย์พันธุ์พิเศษที่ไม่สร้างขยะแม้แต่ชิ้นเดียวใช่หรือเปล่า ผู้ที่ทำเรื่อง EEC ต้องตอบให้ได้” ครรชิตกล่าว
ป้ายหน้าสวนวนเกษตร จ.ฉะเชิงเทรา
วนเกษตร: ต้นแบบการพึ่งพาตนบนฐานทรัพยากรหลากหลาย เว็บไซต์มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ระบุว่า “วนเกษตร” คือแนวคิดการพึ่งพาตนเองจากฐานทรัพยากรที่มี โดยการทำเกษตรกรรมไม้ยืนต้น ไม้ผล ไม้ใช้สอย และพืชสวนไร่นาผสมผสานในพื้นที่อย่างหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการดำรงชีพของตนเองในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอาหารในครัวเรือน และสามารถขยายขีดความสามารถไปสู่การพึ่งพากันและกันในชุมชน ดังคำขวัญว่า “มีกินเป็นพื้นฐาน มีสวัสดิการยามเฒ่าชรา มีความหลากหลายคล้ายป่าธรรมชาติ ก่อเกิดวิสาหกิจชุมชน”
คุณค่าของความหลากหลายคือหัวใจวนเกษตร
“แก่นของวนเกษตรเป็นหลักคิด ไม่ใช่รูปแบบ ในความหมายของผู้ใหญ่วิบูลย์ วนเกษตรคือการพึ่งตนเอง ต้องการให้สามารถจัดการเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเองได้ด้วยทรัพยากรของตนเอง คนพึ่งตนเองได้หรือไม่ได้อยู่ที่ทรัพยากร ที่จะตอบสนองชีวิตของตนเองได้ยังไง” ครรชิต เข็มเฉลิม ทายาทรุ่นที่สองของสวนวนเกษตร ขยายความหมายของคำว่า วนเกษตร ตามที่เคยได้รับการถ่ายทอดจากพ่อ หรือ ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ผู้บุกเบิกการทำสวนผสมผสานทั้งไม้ยืนต้น แปลงพืชผักและผลไม้ จนนำมาสู่แนวคิดพึ่งพาตนบนฐานทรัพยากรที่มี เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของตน
ครรชิต แก้ไขความเข้าใจผิดของคนที่มีต่อแนวคิดวนเกษตรว่า โดยความหมายของคำว่า “วนเกษตร” นั้นหมายถึงป่า แต่วนเกษตรไม่ใช่ป่าที่มีเฉพาะต้นไม้ เพราะคุณค่าของวนเกษตรอยู่ที่ความหลากหลายของทรัพยากรบนพื้นที่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการพึ่งพาตนเองได้ เขายังอธิบายว่าการพึ่งพาตนเองแบบวนเกษตรไม่ใช่อยู่แค่ช่วงเวลาสั้นๆ ชั่วชีวิตคนๆ หนึ่ง แต่เป็นการพึ่งพาตนไปตลอดชั่วลูกชั่วหลาน
“คนอายุต้องมากขึ้น แต่พออายุมากขึ้นแรงกลับน้อยลง สิ่งที่จะทำให้คนอยู่ได้อย่างมั่นคง คือต้นไม้ที่อยู่ในป่าที่มีอย่างหลากหลาย อาศัยตอนที่เริ่มต้นเมื่อคนอายุวัยกลางคน หลังจากนั้นเราไม่ต้องไปยุ่งอะไรมันอีก มันโตตามธรรมชาติ เราเริ่มปลูกตอนเรามีแรง แม้พอเราอายุมากขึ้น เรายังมีกินเหมือนเดิมเพราะต้นไม้ที่เราปลูกไว้ยังตอบสนองชีวิตของเราอยู่ นี่คือข้อดีของความหลากหลาย” ครรชิต ผู้สานต่อแนวคิดวนเกษตรและสวนวนเกษตรต้นแบบกล่าว
ฉวีวรรณ พิมพัฒน์ ลูกศิษย์ผู้สืบสานแนวทางวนเกษตรของผู้ใหญ่วิบูลย์
ฉวีวรรณ พิมพัฒน์ หนึ่งในลูกศิษย์ผู้สืบสานแนวทางวนเกษตรของผู้ใหญ่วิบูลย์ และปัจจุบันเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายวนเกษตรป่าตะวันออก มูลนิธิสายใยแผ่นดิน กล่าวถึงข้อดีของความหลากหลายแบบฉบับวนเกษตรว่า นอกเหนือจากการมีกิน การปลูกต้นไม้ และพืชผักและผลไม้อย่างหลากหลายเป็นการตอบสนองปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ อาทิ ยารักษาโรคที่มาจากพืชสมุนไพร และบ้านจากต้นไม้ที่ปลูกไว้ล่วงหน้า ดังนั้น ผู้นำแนวคิดวนเกษตรมาใช้จึงต้องมีความรู้ในด้านต่างๆ เช่น การประกอบอาหาร การก่อสร้างบ้าน มาประกอบ เพื่อเสริมศักยภาพทรัพยากรที่มีให้เกิดเป็นประโยชน์สูงสุด
อีกหนึ่งคุณประโยชน์ของวนเกษตรที่ฉวีวรรณบอกคือ การลดความอยากในจิตใจให้เบียดเบียนกันน้อยลง “ถ้าบ้านเรามีของกินแล้ว แน่นอนว่าสามารถเผื่อแผ่เพื่อนบ้านได้ ใครอยากจะเอาอะไรไปกินเราก็ไม่เดือดร้อน ถ้าเราทำพืชเชิงเดี่ยว สมมติปลูกข้าวแล้วมีหญ้าในนา เราก็อยากจะเอาหญ้าออก นี่เป็นการเบียดเบียน แต่ถ้าทำวนเกษตร เราต้องการให้มันมีความหลากหลาย การมองเห็นหญ้าในนาข้าวเป็นวัชพืชจะเปลี่ยนเป็นหญ้าที่มีสรรพคุณที่ดีต่อระบบนิเวศวิทยา วนเกษตรจะให้ความหมายกับระบบคุณค่ามากกว่าเงินทอง ทำให้เราอยู่กันแบบเอื้อเฟื้อแบ่งปัน”
มีกินเป็นพื้นฐานสู่วิสาหกิจชุมชน
“มีกินเป็นพื้นฐาน มีสวัสดิการยามเฒ่าชรา มีความหลากหลายคล้ายป่าธรรมชาติ ก่อเกิดวิสาหกิจชุมชน” เป็นคำขวัญวนเกษตรที่ครรชิตกล่าว เพื่อแสดงบอกจุดยืนและเป้าหมายเชิงรูปธรรมของแนวคิดวนเกษตร หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า นอกเหนือจากการมีอยู่มีกินเป็นหลักจากฐานทรัพยากรของตนแล้ว เป้าหมายที่สำคัญของวนเกษตรคือ วิสาหกิจชุมชน
ครรชิต กล่าวว่า วิสาหกิจชุมชนที่วนเกษตรต้องการอยู่บนฐานความคิดการพึ่งพากันและกันในชุมชน โดยไม่ได้แสวงหากำไร แต่เมื่อมีกฎหมายวิสาหกิจชุมชนขึ้นมา ในรายละเอียดกลับสะท้อนถึงฐานคิดแบบธุรกิจที่แสวงหากำไร หัวหน้าศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนเกษตร ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ยังชี้ให้เห็นว่า การที่มีกินด้วยทรัพยากรของตนเองคือต้นทุนชีวิตที่ควรจะสร้างฐานให้แข็งแรงที่สุด เพราะเมื่อทำธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างน้อยก็ยังมีอาหารเลี้ยงปากท้องตนเอง
“คนเราถ้ามีกินเป็นพื้นฐาน จะไปขายของแล้วเจ๊งกลับมาเราก็ไม่เดือดร้อน เพราะว่ากลับมายังมีกิน ดังนั้น คนที่จะคิดไปรบกับใคร ตัวเองต้องมั่นคงก่อน ขาตัวเองต้องแข็งแรง ไม่เช่นนั้นโดนเขายันมาหงายท้อง เกษตรกรในปัจจุบัน เมื่อขายของไม่ได้ก็เจ๊งกลับมาแล้วไม่มีอะไรกิน”
“เราต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้เพราะเศรษฐกิจบนฐานตนเองต้องมั่นคงก่อน คุณคิดจะขายเพื่ออยากได้นั่นอยากได้นี่ แต่ถามว่าหากคุณไม่มั่นคง เวลาคุณบาดเจ็บคุณจะเดือดร้อนไหม หากขายไม่ได้คุณเดือดร้อนเป็นหนี้เป็นสินหรือเปล่า วนเกษตรจึงพูดเรื่องทางเศรษฐกิจที่เน้นฐานที่มั่นของตนเอง” ครรชิตกล่าว
ด้านฉวีวรรณเล่าว่า การพึ่งพากันและกันในเครือข่ายวนเกษตร ช่วยส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานและเม็ดเงินที่หล่อเลี้ยงคนในชุมชนให้อยู่ได้ แนวคิดของการทำวนเกษตรเน้นความหลากหลายของชนิดทรัพยากร ดังนั้น แม้ว่าพื้นที่ในการผลิตทรัพยากรจะมีจำกัด แต่หากสามารถบริหารจัดการนำทรัพยากรชนิดใดชนิดหนึ่งจากเครือข่ายวนเกษตรมารวมกัน ก็จะก่อให้เกิดทรัพยากรจำนวนมาก สามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาได้
“คนที่ทำวนเกษตรบนพื้นที่เล็กๆ อาจจะหนึ่งไร่ สองไร่ หรือสามไร่ อาจจะไม่สามารถปลูกขนุนได้ทั้งแปลง แต่มันก็จะหลากหลายมาก อาจจะมีขนุนสามต้นในพื้นที่ของตัวเอง แต่ถ้ามีคนทำวนเกษตร 30 คนในหมู่บ้าน บ้านละสามต้น 30 หลังก็เกือบร้อยต้น ขนุนเกือบร้อยต้นนี้อาจจะนำไปสร้างอาชีพให้คนคนหนึ่งได้ สมมติว่าเรามีผลไม้ร้อยชนิด แค่บ้านสองต้นสามต้นแต่นำมาหมุนเวียนกันภายในหมู่บ้านในหนึ่งปี หากมีคนเข้าไปจัดการก็กลายเป็นการสร้างอาชีพใหม่ในหมู่บ้านเรา ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปไหนไกล” ฉวีวรรณกล่าว
ฉวีวรรณยังยกตัวอย่างการทำธุรกิจของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่นำทรัพยากรการเกษตรอย่างผลไม้และพืชผักจากเครือข่ายวนเกษตรด้วยกัน มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค เพื่อใช้และขายในชุมชนตนเอง “ส่วนมากคนที่ทำวนเกษตรก็ขายสินค้าไปด้วย มีผลิตภัณฑ์ขายเป็นของตัวเอง มีรุ่นน้องคนหนึ่งทำแชมพูมะกรูดขายในหมู่บ้าน เขากว้านหาซื้อมะกรูดในหมู่บ้านปีละประมาณสี่ตัน ตอนเช้านำมะกรูดไปให้คนแก่บ้านละกระสอบเพื่อคั้นน้ำ ตกเย็นไปเก็บกลับมาต้มใส่ถัง ปีที่แล้วขายได้ห้าตัน นอกจากใช้เองก็ขายในชุมชน และมีกลุ่มสุขภาพของจีนมารับ ถามว่ารายได้เยอะไหม ก็เห็นว่าซื้อรถใหม่ได้คันหนึ่งแล้ว” ฉวีวรรณเล่า
จุดตัดระหว่างวนเกษตรกับทุนนิยมคือการประมาณตน
แม้ว่าหัวใจสำคัญของแนวคิดวนเกษตรจะมุ่งเน้นให้คนสามารถพึ่งพาตนในการดำรงชีพขั้นพื้นฐานได้ด้วยทรัพยากรที่มี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอาหาร ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย เพราะเมื่อคนไม่ต้องจ่ายเงินไปเพื่อสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนหารายรับอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่คนทำวนเกษตรรุ่นใหม่อย่างฉวีวรรณยังมองว่า ทรัพยากรสำหรับการดำรงชีพในยุคโลกาภิวัตน์อย่างอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสินค้าและบริการคุณภาพจากบรรษัทข้ามชาติที่ไม่อาจผลิตหรือจัดหาเองได้ ก็มีความจำเป็น
ฉวีวรรณมองว่า แม้วนเกษตรสามารถตอบโจทย์ชีวิตที่ทำให้คนพึ่งพาตนได้ แต่ความสามารถพึ่งพาตนเองได้ก็ควรช่วยให้ชีวิตดำเนินไปอย่างราบรื่นและเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย ดังนั้น โจทย์ของคนทำวนเกษตรรุ่นใหม่คือการหาคำตอบให้ได้ว่าจะทำเช่นไรให้วนเกษตรตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานขั้นพื้นฐานของคนในสังคมยุค 4.0 ที่อาจเพิ่มขึ้นจากปัจจัยสี่ของชีวิตแบบดั้งเดิม
“ตอนนี้วนเกษตรไปแล้วครึ่งทาง แต่ว่าอีกครึ่งทางนั้นยังมีรายจ่ายบางอย่างที่เราไม่สามารถควบคุมได้ 100% เช่น ค่าอินเตอร์เน็ตสำหรับโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ตก็อยากเล่น ขาดไม่ได้จริงๆ”
อย่างไรก็ตาม ลูกศิษย์ผู้สานต่อแนวทางวนเกษตรมองว่า ท้ายที่สุดความแตกต่างระหว่างการพึ่งพาตนแบบวนเกษตรกับการพึ่งพาผู้อื่นแบบทุนนิยมคือการบริหารจัดการเงินบนพื้นฐานการประมาณตน
“ตอนนี้เริ่มปลูกกาแฟและกำลังหาวิธีคั่วกาแฟกินเองให้อร่อย เพราะเราต้องการเก็บค่ากาแฟไปซื้ออย่างอื่นที่ฟุ่มเฟือย แต่ฝีมือยังไม่ถึงขั้นก็ต้องกินกาแฟยี่ห้อไปก่อน ไม่แปลกที่เราจะมีส่วนเสี้ยวทุนนิยมในตัว เราต้องประมาณตัวตามอัตภาพของเรา” ฉวีวรรณกล่าว
ภาษาอังกฤษ: Agroforestry: an answer of Chachoengsao agriculture

Like this:
Like Loading...
ในวันที่รัฐบาลปล่อยโครงการ EEC ลงมาที่จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยองอย่างไม่ทันตั้งตัว สองจังหวัดแรกถูกวางบทบาทให้เป็นเมืองอุตสาหกรรม ที่เชื่อว่าจะนำพาเม็ดเงินมหาศาลเข้าสู่ประเทศและเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ให้สูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ฉะเชิงเทราถูกวางฐานะเป็นเมืองอยู่อาศัยชั้นดีเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการคมนาคมในโครงการ
คลื่นระลอกแรกที่เป็นผลจาก EEC คือ การปรับผังเมืองรวมของทั้งฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ที่รัฐบาลคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคม 2561 ภาคส่วนอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลพลอยได้จากราคาที่พุ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัวในระยะเวลาสั้นๆ ทว่าสำหรับคนส่วนมากในฉะเชิงเทราอย่างเกษตรกร พวกเขาเริ่มกังวลต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากภาคอุตสาหกรรม ทั้งทางดิน น้ำ และอากาศ และที่สำคัญคือ พื้นที่เกษตรกรรมที่ลดลงจากการขีดเส้นเปลี่ยนสีตามที่ผู้กำหนดนโยบายเห็นดีงาม
นิสิตนักศึกษา คุยกับ ครรชิต เข็มเฉลิม ทายาทของ ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ปราชญ์ชุมชนผู้ริเริ่มแนวคิด “วนเกษตร” และต้นแบบ “สวนวนเกษตร” ที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งเป็นหัวหน้าศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนเกษตร ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ว่า วนเกษตรและคนในภาคเกษตรกรรมจะอยู่อย่างไรเมื่อภาคอุตสาหกรรมเริ่มรุกคืบเข้ามาในฉะเชิงเทรามากขึ้น
เกษตรกรรมในวันที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
“โดยธรรมชาติของการถูกฝังหัวมาของข้าราชการของนายทุน เขาเชื่อว่าเม็ดเงินมากมายมหาศาลที่ทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาเป็นเงินที่เข้ามาได้บนฐานอุตสาหกรรม ไม่ใช่เกษตรกรรม” ครรชิต เข็มเฉลิม ชวนมองนโยบายรัฐที่สะท้อนถึงการให้ความสำคัญเฉพาะภาคอุตสาหกรรม แต่กลับทอดทิ้งภาคเกษตรกรรมไว้ข้างหลังเรื่อยมา
ครรชิตมองว่า การเตรียมปล่อยผังเมืองใหม่ที่สอดคล้องและเอื้ออำนวยต่อภาคอุตสาหกรรมเป็นการตอกย้ำว่า รัฐบาลให้ความสนใจกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่มีแรงหนุนจากอุตสาหกรรมเป็นหลัก รัฐบาลจึงปรับลดพื้นที่สีเขียวสำหรับโซนเกษตรกรรมลง และเพิ่มพื้นที่สีม่วงสำหรับโซนอุตสาหกรรมขึ้น รวมทั้งปรับเงื่อนไขต่างๆ เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นได้ง่าย และดำเนินการอย่างเร่งรีบ ตรงกันข้ามกับภาคเกษตรกรรม ที่รัฐบาลไม่ให้ความสนใจเท่าทีควรเมื่อมีการร้องขอให้แก้ไขและช่วยเหลือปัญหาด้านต่างๆ เช่น การสนับสนุนให้ยกเลิกใช้สารเคมีทำการเกษตร 4 ชนิด ได้เเก่ คาร์โบฟูราน, เมโทมิล, ไดโครโตฟอส เเละอีพีเอ็น และการจัดการขยะที่ถูกนำมาทิ้งในบ่อขยะ
“แน่นอนว่าส่วนใหญ่เวลาทุนเขาคิดอะไร ระบบทุนส่วนใหญ่เขาคิดถึงเป้าหมายที่จะสร้างความร่ำรวย ไม่ว่ารัฐบาลหรือเอกชน เป้าหมายก็คือทำอย่างไรจะเห็นเม็ดเงินเข้ามาพัฒนาประเทศเพื่อตอบโจทย์ GDP ของประเทศ” ครรชิตกล่าว
ความมั่นคงทางอาหารกับศักดิ์ศรีในการปฏิเสธระบบทุน
ครรชิตยังเห็นว่า การไม่สามารถพึ่งพาตนเองด้านอาหารได้คือการขาดความมั่นคงทางอาหาร แม้ว่าคนจะหาเงินได้มากมาย แต่ชีวิตส่วนหนึ่งของคนทั่วไปยังต้องซื้ออาหาร หากแต่คนที่สามารถผลิตวัตถุดิบในการประกอบอาหารได้เอง ไม่จำเป็นต้องซื้อหาจากนายทุนภาคเอกชน ทำให้มีความมั่นคงทางอาหารด้วยการพึ่งพาทรัพยากรที่ตนเองมี จึงถือเป็นศักดิ์ศรีในการปฏิเสธระบบทุน
แต่ผลจากการปรับลดพื้นที่เกษตรกรรมในผังเมืองใหม่ทำให้ครรชิตแสดงความกังวลถึงปัญหาความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากมองว่า ภาคการเกษตรคือภาคการผลิตที่เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงประชากรในพื้นที่ ทั้งระดับชุมชน ระดับประเทศและระดับโลก หากแต่พื้นที่การเกษตรเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากการขีดเส้นผังเมืองใหม่ เขาก็เกิดคำถามว่าความมั่งคงทางอาหารที่อยู่ ณ ที่แห่งนี้จะเป็นเช่นไรต่อไป
“การปรับผังเมืองเป็นการส่งสัญญาณว่าภาคการเกษตรเตรียมตัวได้รับผลกระทบ เราจะเห็นว่าท้องนาหลายที่ถูกถมเพื่อทำบ้านจัดสรรรองรับความเจริญ เกษตรกรในโลกนี้มีมากขึ้นตลอด แต่ปัจจุบันพื้นที่ผลิตอาหารนั้นลดลง อย่าลืมว่าคนเพิ่มอาหารเท่าเดิม บอกเลยว่าคนมีอาหารเท่านั้นที่จะครองโลก เมื่อถึงเวลานั้นการแย่งชิงทรัพยากรกันมัน ไม่มีทางที่เกษตรกรจะแย่งชิงนายทุนได้” ครรชิตกล่าว
วนเกษตรยังตระหง่านกลางกระแสทุนนิยม
ครรชิตสะท้อนมุมมองของคนทำวนเกษตรที่มีต่อโครงการ EEC ว่า แนวคิดวนเกษตรถูกออกแบบให้อยู่ร่วมกับระบบทุนได้โดยไม่มีปัญหา เนื่องจากหัวใจของแนวคิดวนเกษตรคือการพึ่งพาตนได้ด้วยฐานทรัพยากรที่ตนมี และทรัพยากรนั้นไม่จำเป็นต้องมีจำนวนมาก แต่ต้องมีความหลากหลายของทรัพยากร ดังนั้น อย่างน้อยที่สุดทำให้คนมีความมั่นคงทางอาหาร ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการซื้อจากภายนอก
“นี่คือการที่ทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับทุนที่มันมีการเข้ามาตลอดเวลาได้ เพราะว่าเราไม่สนใจ ถ้าเราไม่มีเงิน แต่เราก็ยังมีทรัพยากรที่เป็นของเราเอง เราจึงสามารถจัดการได้ นี่ต่างหากคือสิ่งที่ทำให้เราอยู่ร่วมกับระบบทุนได้ ไม่ใช่การอยู่แบบง้อเค้าตลอด”
“แต่ถ้า EEC มีผลกระทบต่อเราก็ต้องบอกให้เขารู้ว่าคุณเข้ามาแบบเบียดเบียน เพราะวนเกษตรพยายามรณรงค์ให้คนเลิกเบียดเบียนผู้อื่นและเลิกเบียดเบียนตัวเอง เมื่อเราลดการเบียดเบียนตัวเองแล้วเราก็ไม่อยากเห็นใครมาเบียดเบียนเราเหมือนกัน ถ้าคุณเข้ามาโดยไม่เป็นปัญหาอะไรกับเรานั่นก็เรื่องของคุณ” ครรชิตอธิบายเหตุผลที่ว่าวนเกษตรยังคงยืนหยัดได้แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมจะเข้ามา
อย่างไรก็ตาม หัวหน้าศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนเกษตร ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม แสดงความกังวลต่อปัญหาการจัดการขยะที่ถูกนำมาทิ้งในฉะเชิงเทรา ว่า ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อคนในพื้นที่มาอย่างยาวนาน และภาครัฐยังไม่สามารถจัดการแก้ไขได้ โดยการวางฉะเชิงเทราเป็นเมืองที่อยู่อาศัยจะยิ่งทำให้ปัญหาการจัดการขยะยิ่งพอกพูน เนื่องจากมีการย้ายถิ่นฐานของคนจำนวนมากเข้ามาเพิ่ม
“ในบรรดาสามจังหวัด ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรากลัวที่สุดในการจัดการขยะ จาก 100% จัดการได้แค่ 30% ที่เหลือเป็นปัญหาทิ้งไว้ให้ชาวบ้าน เมื่อฉะเชิงเทราเน้นเรื่องเมืองที่อยู่อาศัย ปัญหาขยะเดิมแก้ไขได้แค่ 30% แล้วคนที่เข้ามาใหม่เขาไม่เอาขยะมาด้วยหรือ โดยเฉพาะถุงพลาสติกขยะเปียกขยะแห้งขยะอะไรสารพัด เผาทีเหม็นหมด มนุษย์ที่เข้ามาอยู่ใหม่นี้เป็นมนุษย์พันธุ์พิเศษที่ไม่สร้างขยะแม้แต่ชิ้นเดียวใช่หรือเปล่า ผู้ที่ทำเรื่อง EEC ต้องตอบให้ได้” ครรชิตกล่าว
คุณค่าของความหลากหลายคือหัวใจวนเกษตร
“แก่นของวนเกษตรเป็นหลักคิด ไม่ใช่รูปแบบ ในความหมายของผู้ใหญ่วิบูลย์ วนเกษตรคือการพึ่งตนเอง ต้องการให้สามารถจัดการเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเองได้ด้วยทรัพยากรของตนเอง คนพึ่งตนเองได้หรือไม่ได้อยู่ที่ทรัพยากร ที่จะตอบสนองชีวิตของตนเองได้ยังไง” ครรชิต เข็มเฉลิม ทายาทรุ่นที่สองของสวนวนเกษตร ขยายความหมายของคำว่า วนเกษตร ตามที่เคยได้รับการถ่ายทอดจากพ่อ หรือ ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ผู้บุกเบิกการทำสวนผสมผสานทั้งไม้ยืนต้น แปลงพืชผักและผลไม้ จนนำมาสู่แนวคิดพึ่งพาตนบนฐานทรัพยากรที่มี เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของตน
ครรชิต แก้ไขความเข้าใจผิดของคนที่มีต่อแนวคิดวนเกษตรว่า โดยความหมายของคำว่า “วนเกษตร” นั้นหมายถึงป่า แต่วนเกษตรไม่ใช่ป่าที่มีเฉพาะต้นไม้ เพราะคุณค่าของวนเกษตรอยู่ที่ความหลากหลายของทรัพยากรบนพื้นที่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการพึ่งพาตนเองได้ เขายังอธิบายว่าการพึ่งพาตนเองแบบวนเกษตรไม่ใช่อยู่แค่ช่วงเวลาสั้นๆ ชั่วชีวิตคนๆ หนึ่ง แต่เป็นการพึ่งพาตนไปตลอดชั่วลูกชั่วหลาน
“คนอายุต้องมากขึ้น แต่พออายุมากขึ้นแรงกลับน้อยลง สิ่งที่จะทำให้คนอยู่ได้อย่างมั่นคง คือต้นไม้ที่อยู่ในป่าที่มีอย่างหลากหลาย อาศัยตอนที่เริ่มต้นเมื่อคนอายุวัยกลางคน หลังจากนั้นเราไม่ต้องไปยุ่งอะไรมันอีก มันโตตามธรรมชาติ เราเริ่มปลูกตอนเรามีแรง แม้พอเราอายุมากขึ้น เรายังมีกินเหมือนเดิมเพราะต้นไม้ที่เราปลูกไว้ยังตอบสนองชีวิตของเราอยู่ นี่คือข้อดีของความหลากหลาย” ครรชิต ผู้สานต่อแนวคิดวนเกษตรและสวนวนเกษตรต้นแบบกล่าว
ฉวีวรรณ พิมพัฒน์ หนึ่งในลูกศิษย์ผู้สืบสานแนวทางวนเกษตรของผู้ใหญ่วิบูลย์ และปัจจุบันเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายวนเกษตรป่าตะวันออก มูลนิธิสายใยแผ่นดิน กล่าวถึงข้อดีของความหลากหลายแบบฉบับวนเกษตรว่า นอกเหนือจากการมีกิน การปลูกต้นไม้ และพืชผักและผลไม้อย่างหลากหลายเป็นการตอบสนองปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ อาทิ ยารักษาโรคที่มาจากพืชสมุนไพร และบ้านจากต้นไม้ที่ปลูกไว้ล่วงหน้า ดังนั้น ผู้นำแนวคิดวนเกษตรมาใช้จึงต้องมีความรู้ในด้านต่างๆ เช่น การประกอบอาหาร การก่อสร้างบ้าน มาประกอบ เพื่อเสริมศักยภาพทรัพยากรที่มีให้เกิดเป็นประโยชน์สูงสุด
อีกหนึ่งคุณประโยชน์ของวนเกษตรที่ฉวีวรรณบอกคือ การลดความอยากในจิตใจให้เบียดเบียนกันน้อยลง “ถ้าบ้านเรามีของกินแล้ว แน่นอนว่าสามารถเผื่อแผ่เพื่อนบ้านได้ ใครอยากจะเอาอะไรไปกินเราก็ไม่เดือดร้อน ถ้าเราทำพืชเชิงเดี่ยว สมมติปลูกข้าวแล้วมีหญ้าในนา เราก็อยากจะเอาหญ้าออก นี่เป็นการเบียดเบียน แต่ถ้าทำวนเกษตร เราต้องการให้มันมีความหลากหลาย การมองเห็นหญ้าในนาข้าวเป็นวัชพืชจะเปลี่ยนเป็นหญ้าที่มีสรรพคุณที่ดีต่อระบบนิเวศวิทยา วนเกษตรจะให้ความหมายกับระบบคุณค่ามากกว่าเงินทอง ทำให้เราอยู่กันแบบเอื้อเฟื้อแบ่งปัน”
มีกินเป็นพื้นฐานสู่วิสาหกิจชุมชน
“มีกินเป็นพื้นฐาน มีสวัสดิการยามเฒ่าชรา มีความหลากหลายคล้ายป่าธรรมชาติ ก่อเกิดวิสาหกิจชุมชน” เป็นคำขวัญวนเกษตรที่ครรชิตกล่าว เพื่อแสดงบอกจุดยืนและเป้าหมายเชิงรูปธรรมของแนวคิดวนเกษตร หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า นอกเหนือจากการมีอยู่มีกินเป็นหลักจากฐานทรัพยากรของตนแล้ว เป้าหมายที่สำคัญของวนเกษตรคือ วิสาหกิจชุมชน
ครรชิต กล่าวว่า วิสาหกิจชุมชนที่วนเกษตรต้องการอยู่บนฐานความคิดการพึ่งพากันและกันในชุมชน โดยไม่ได้แสวงหากำไร แต่เมื่อมีกฎหมายวิสาหกิจชุมชนขึ้นมา ในรายละเอียดกลับสะท้อนถึงฐานคิดแบบธุรกิจที่แสวงหากำไร หัวหน้าศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนเกษตร ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ยังชี้ให้เห็นว่า การที่มีกินด้วยทรัพยากรของตนเองคือต้นทุนชีวิตที่ควรจะสร้างฐานให้แข็งแรงที่สุด เพราะเมื่อทำธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างน้อยก็ยังมีอาหารเลี้ยงปากท้องตนเอง
“คนเราถ้ามีกินเป็นพื้นฐาน จะไปขายของแล้วเจ๊งกลับมาเราก็ไม่เดือดร้อน เพราะว่ากลับมายังมีกิน ดังนั้น คนที่จะคิดไปรบกับใคร ตัวเองต้องมั่นคงก่อน ขาตัวเองต้องแข็งแรง ไม่เช่นนั้นโดนเขายันมาหงายท้อง เกษตรกรในปัจจุบัน เมื่อขายของไม่ได้ก็เจ๊งกลับมาแล้วไม่มีอะไรกิน”
“เราต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้เพราะเศรษฐกิจบนฐานตนเองต้องมั่นคงก่อน คุณคิดจะขายเพื่ออยากได้นั่นอยากได้นี่ แต่ถามว่าหากคุณไม่มั่นคง เวลาคุณบาดเจ็บคุณจะเดือดร้อนไหม หากขายไม่ได้คุณเดือดร้อนเป็นหนี้เป็นสินหรือเปล่า วนเกษตรจึงพูดเรื่องทางเศรษฐกิจที่เน้นฐานที่มั่นของตนเอง” ครรชิตกล่าว
ด้านฉวีวรรณเล่าว่า การพึ่งพากันและกันในเครือข่ายวนเกษตร ช่วยส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานและเม็ดเงินที่หล่อเลี้ยงคนในชุมชนให้อยู่ได้ แนวคิดของการทำวนเกษตรเน้นความหลากหลายของชนิดทรัพยากร ดังนั้น แม้ว่าพื้นที่ในการผลิตทรัพยากรจะมีจำกัด แต่หากสามารถบริหารจัดการนำทรัพยากรชนิดใดชนิดหนึ่งจากเครือข่ายวนเกษตรมารวมกัน ก็จะก่อให้เกิดทรัพยากรจำนวนมาก สามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาได้
“คนที่ทำวนเกษตรบนพื้นที่เล็กๆ อาจจะหนึ่งไร่ สองไร่ หรือสามไร่ อาจจะไม่สามารถปลูกขนุนได้ทั้งแปลง แต่มันก็จะหลากหลายมาก อาจจะมีขนุนสามต้นในพื้นที่ของตัวเอง แต่ถ้ามีคนทำวนเกษตร 30 คนในหมู่บ้าน บ้านละสามต้น 30 หลังก็เกือบร้อยต้น ขนุนเกือบร้อยต้นนี้อาจจะนำไปสร้างอาชีพให้คนคนหนึ่งได้ สมมติว่าเรามีผลไม้ร้อยชนิด แค่บ้านสองต้นสามต้นแต่นำมาหมุนเวียนกันภายในหมู่บ้านในหนึ่งปี หากมีคนเข้าไปจัดการก็กลายเป็นการสร้างอาชีพใหม่ในหมู่บ้านเรา ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปไหนไกล” ฉวีวรรณกล่าว
ฉวีวรรณยังยกตัวอย่างการทำธุรกิจของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่นำทรัพยากรการเกษตรอย่างผลไม้และพืชผักจากเครือข่ายวนเกษตรด้วยกัน มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค เพื่อใช้และขายในชุมชนตนเอง “ส่วนมากคนที่ทำวนเกษตรก็ขายสินค้าไปด้วย มีผลิตภัณฑ์ขายเป็นของตัวเอง มีรุ่นน้องคนหนึ่งทำแชมพูมะกรูดขายในหมู่บ้าน เขากว้านหาซื้อมะกรูดในหมู่บ้านปีละประมาณสี่ตัน ตอนเช้านำมะกรูดไปให้คนแก่บ้านละกระสอบเพื่อคั้นน้ำ ตกเย็นไปเก็บกลับมาต้มใส่ถัง ปีที่แล้วขายได้ห้าตัน นอกจากใช้เองก็ขายในชุมชน และมีกลุ่มสุขภาพของจีนมารับ ถามว่ารายได้เยอะไหม ก็เห็นว่าซื้อรถใหม่ได้คันหนึ่งแล้ว” ฉวีวรรณเล่า
จุดตัดระหว่างวนเกษตรกับทุนนิยมคือการประมาณตน
แม้ว่าหัวใจสำคัญของแนวคิดวนเกษตรจะมุ่งเน้นให้คนสามารถพึ่งพาตนในการดำรงชีพขั้นพื้นฐานได้ด้วยทรัพยากรที่มี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอาหาร ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย เพราะเมื่อคนไม่ต้องจ่ายเงินไปเพื่อสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนหารายรับอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่คนทำวนเกษตรรุ่นใหม่อย่างฉวีวรรณยังมองว่า ทรัพยากรสำหรับการดำรงชีพในยุคโลกาภิวัตน์อย่างอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสินค้าและบริการคุณภาพจากบรรษัทข้ามชาติที่ไม่อาจผลิตหรือจัดหาเองได้ ก็มีความจำเป็น
ฉวีวรรณมองว่า แม้วนเกษตรสามารถตอบโจทย์ชีวิตที่ทำให้คนพึ่งพาตนได้ แต่ความสามารถพึ่งพาตนเองได้ก็ควรช่วยให้ชีวิตดำเนินไปอย่างราบรื่นและเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย ดังนั้น โจทย์ของคนทำวนเกษตรรุ่นใหม่คือการหาคำตอบให้ได้ว่าจะทำเช่นไรให้วนเกษตรตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานขั้นพื้นฐานของคนในสังคมยุค 4.0 ที่อาจเพิ่มขึ้นจากปัจจัยสี่ของชีวิตแบบดั้งเดิม
“ตอนนี้วนเกษตรไปแล้วครึ่งทาง แต่ว่าอีกครึ่งทางนั้นยังมีรายจ่ายบางอย่างที่เราไม่สามารถควบคุมได้ 100% เช่น ค่าอินเตอร์เน็ตสำหรับโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ตก็อยากเล่น ขาดไม่ได้จริงๆ”
อย่างไรก็ตาม ลูกศิษย์ผู้สานต่อแนวทางวนเกษตรมองว่า ท้ายที่สุดความแตกต่างระหว่างการพึ่งพาตนแบบวนเกษตรกับการพึ่งพาผู้อื่นแบบทุนนิยมคือการบริหารจัดการเงินบนพื้นฐานการประมาณตน
“ตอนนี้เริ่มปลูกกาแฟและกำลังหาวิธีคั่วกาแฟกินเองให้อร่อย เพราะเราต้องการเก็บค่ากาแฟไปซื้ออย่างอื่นที่ฟุ่มเฟือย แต่ฝีมือยังไม่ถึงขั้นก็ต้องกินกาแฟยี่ห้อไปก่อน ไม่แปลกที่เราจะมีส่วนเสี้ยวทุนนิยมในตัว เราต้องประมาณตัวตามอัตภาพของเรา” ฉวีวรรณกล่าว
ภาษาอังกฤษ: Agroforestry: an answer of Chachoengsao agriculture
Share this:
Like this: