หากจะใช้คำว่า “ชุมชนเข้มแข็ง” เพื่ออธิบายความเป็นชุมชนบ้านยางแดง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ก็คงไม่ผิดนัก เนื่องจากชาวบ้านมีผลิตผลทางการเกษตรเพียงพอต่อความต้องการบริโภค และยังมากพอจะนำไปขายสร้างรายได้ให้ครอบครัว ด้วยการมีส่วนร่วมออกแบบชุมชนของตนเอง ทำให้ “กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต” ยังยืนหยัดอยู่ได้จนถึงวันนี้
นิสิตนักศึกษา คุยกับ นันทวัน หาญดี ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต อดีตอาสาสมัครจากมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมรุ่นที่เจ็ด ผู้เข้ามาทำงานกับกลุ่มผู้หญิงของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ ตั้งแต่ปี 2528 ถึงเรื่องพัฒนาการของกลุ่ม และความคิดเห็นต่อโครงการ EEC ซึ่งจะกินพื้นที่มาถึงอำเภอสนามชัยเขตด้วย
นันทวัน หาญดี ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต
เกษตรกรรมทางเลือก เกษตรกรรมทางรอด
นันทวัน กล่าวว่า เดิมทีบ้านยางแดงเป็นชุมชนที่ขาดแคลนอาหารสำหรับการบริโภคแม้จะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งยังมีสถานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก เพราะชาวบ้านเป็นหนี้สิน ส่วนที่ดินก็อยู่ในเขตป่าเสื่อมโทรม เป็นชุมชนเกิดใหม่ที่ชาวบ้านยังไม่รวมตัวกัน เพราะมีที่มาที่หลากหลาย
จนเมื่อปี 2520 เกษม เพชรนที นักส่งเสริมสิทธิชุมชนจากมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ได้เข้ามาริเริ่มกระบวนการให้ชาวบ้านช่วยกันคิดวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไข เกษมเคยทำงานกับศาสตราจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี 2504 นันทวันกล่าวว่า ในขณะนั้นภาครัฐเชื่อว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจะเติบโตขึ้นโดยใช้อุตสาหกรรมนำ เมื่ออุตสาหกรรมทำให้เศรษฐกิจโตขึ้น จะหยาดหยดความเจริญไปสู่ชนบท แต่ภายหลังกลับพบว่า เมื่อภาคอุตสาหกรรมเข้มแข็ง ก็ดึงทรัพยากรจากชนบทไปใช้ ยิ่งทำให้ช่องว่างทางชนชั้นเพิ่มขึ้น
เมื่อเกษมเห็นถึงความผิดพลาดของการพัฒนาที่ไม่ได้มองให้รอบด้าน จึงเริ่มกระตุ้นให้ชุมชนตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาของตนเอง พบว่า ปัญหาแรกคือ เรื่องอาหารไม่พอเพียงในครอบครัว เกษตรกรจึงรวมตัวกันสร้างต้นแบบเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง หลักการคือ ปลูกทุกอย่างที่จะเป็นอาหาร เลี้ยงสัตว์เป็นแหล่งโปรตีน ยกเลิกการปลูกมันสำปะหลังซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลส่งเสริม กลับมาปลูกพืชที่มีอยู่แล้วในชุมชน เรียกการทำเกษตรกรรมแนวนี้ว่า “เกษตรกรรมทางเลือก” หรือ “เกษตรกรรมยั่งยืน”
อีกปัญหาคือ ภาวะหนี้สินจากการกู้ยืมเงินเพื่อลงทุนปลูกมันสำปะหลัง ชาวบ้านจึงร่วมกันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อให้เป็นแหล่งทุนในชุมชน
“เกษตรกรรมทางเลือก ไม่ใช่เกษตรกรรมกระแสหลักที่รัฐบาลส่งเสริม ซึ่งตอนนั้นรัฐบาลส่งเสริมให้ปลูกอ้อย มัน ข้าวโพด ปอ ฝ้าย แต่เกษตรกรรมทางเลือกคือปลูกอะไรก็ได้ที่เหลือกินแล้วนำไปขาย ทำให้ชุมชนกลับมามองเรื่องการพึ่งพาตนเองในระยะยาวที่ลดการพึ่งพาคนอื่น” นันทวันอธิบาย
“ผู้หญิง” กำลังหลักแห่งการพัฒนาชุมชน
ในปี 2528 นันทวันเดินทางจากนครปฐมเข้ามาที่ตำบลบ้านยางแดง ในฐานะอาสาสมัครจากมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และได้รับมอบหมายให้ทำงานร่วมกับกลุ่มผู้หญิง เธอเล่าว่า ในตอนแรก ผู้ชายมีบทบาทหลักในการวางแผนการพัฒนาชุมชน แต่ภายหลังพบว่า การวางบทบาทเช่นนี้ทำให้ผู้หญิงไม่มีพื้นที่ในการแสดงความเห็นและเสนอแนะ การนำนโยบายจากที่ประชุมไปปฏิบัติจึงเป็นคนละทิศทาง เพราะผู้ชายเป็นผู้เข้าประชุมเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา แต่ปรากฏว่าคนที่นำมาปฏิบัติกลับเป็นผู้หญิง
“ยกตัวอย่างเช่น เรื่องไก่หรือหมู คนที่มาอบรมเป็นผู้ชาย แต่คนที่เลี้ยงไก่เลี้ยงหมูเป็นผู้หญิง ทำให้เป็นปัญหา การพัฒนากิจกรรมที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตก็มีปัญหาด้วย” ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ เล่า
กลุ่มผู้หญิงจึงเริ่มกระบวนการการทำงานด้วยการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ โดยจัดให้มีการประชุมกันเพื่อพูดคุยถึงปัญหาของตนเอง ผลิตข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหา นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด และเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว
“กระบวนการพวกนี้จะเป็นพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนพูดคุย แบ่งปัน ให้กำลังใจกัน ขณะเดียวกันก็มีข้อมูลใหม่ๆ ที่เข้ามาเพิ่มการวิเคราะห์ อย่างพี่ก็จะมีข้อมูลว่า มันมีผลมาจากนโยบายซึ่งจะมากระทบกับชุมชน แต่ชุมชนยังมองไม่ออก เพราะว่ามันเกิดช่องว่างระหว่างชุมชนกับนโยบายใหญ่ ไม่สามารถที่จะเห็นภาพเชื่อมกันได้ เพราะฉะนั้น พื้นที่ตรงนี้ก็ทำให้เราเชื่อมเอาข้อมูลเข้ามาได้” นันทวันยกตัวอย่าง
กระบวนการการทำงานเช่นนี้ได้รับการผลักดันเรื่อยมาโดยกลุ่มผู้หญิง จนเมื่อเริ่มสามารถตั้งตัวได้ มีการนำพืชป่ามาปลูกในบริเวณบ้านจนมีอาหารเพียงพอและสามารถขายเป็นรายได้ จึงก่อตั้งเป็น “เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก” ในปี 2532 เป็นพื้นที่ของเกษตรกรผู้หญิงในตำบลบ้านยางแดงได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาชุมชนและความอยู่รอดของครอบครัว
กลุ่มออมทรัพย์ ธนาคารชุมชน เพื่อการพัฒนาชุมชน
การตั้ง “กลุ่มออมทรัพย์” เพื่อเป็นแหล่งทุนภายในในช่วงแรกของการแก้ปัญหาความไม่พอเพียงด้านอาหารและภาวะหนี้สิน เป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาของชุมชน สมาชิกจะรู้กันว่า ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน สมาชิกครอบครัวฝ่ายหญิงจะต้องเข้ามาฝากเงินที่กลุ่มออมทรัพย์ กรรมการกลุ่มออมทรัพย์ก็จะจดบันทึกเป็นบัญชีการฝากเงิน เพื่อให้เป็นระบบการจัดการการเงินที่ตรวจสอบได้ นันทวันมองว่า กระบวนการเช่นนี้เป็นการสร้างความเป็นเจ้าของร่วม การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และความโปร่งใสในการบริหารจัดการ
“เราเห็นความสำคัญในการใช้ทุนข้างในในการแก้ปัญหาของตัวเองมากกว่าการรอคอยและขอรับการช่วยเหลือจากข้างนอก ที่นี่ถูกวางระบบแนวความคิดการพัฒนาด้วยตนเองโดยค่อยๆ สะสมทุน กลุ่มออมทรัพย์ที่นี่เลยใช้วิธีเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงเข้ามาออม มีการเรียนรู้พูดคุยกัน มีกระบวนการเปิดโลกทัศน์โดยนำผู้หญิงไปเรียนรู้ข้างนอก เราลงทุนเรื่องการเรียนรู้สูงมาก” นันทวันกล่าว
กิจวัตรการออมเช่นนี้ทำให้กลุ่มออมทรัพย์กลายเป็นธนาคารของชุมชน สมาชิกบางคนมีฐานะทางการเงินที่เติบโตจนนำเงินไปฝากธนาคารด้วยเพื่อเก็บดอกเบี้ย เยาวชนในชุมชนก็ไม่จำเป็นต้องกู้เงินจากภายนอกไปเรียน เมื่อขีดความสามารถในการออมเพิ่มขึ้น ก็มีทุนเพื่อแก้ปัญหาคับขันที่ต้องใช้เงินจำนวนมากได้
“กลุ่มออมทรัพย์ช่วยลดการเป็นหนี้นอกระบบข้างนอก สนับสนุนโอกาสให้ลูกหลานได้เรียนหนังสือสูงขึ้น พ่อแม่ไม่มีเงินก็สามารถมากู้ในกองทุนเป็นการสนับสนุนลูกหลานเรา หรือกรณีที่ดินที่มีปัญหาแล้วต้องขายที่ดินออกไปให้คนนอกกลุ่มรับซื้อ ก็เปลี่ยนเป็นให้คนในกลุ่มซื้อที่ดินเก็บไว้ให้สมาชิกในกลุ่มที่มีที่ดินน้อยมาเช่าซื้อ สุดท้ายก็ได้เป็นเจ้าของที่ดิน” นันทวันยกตัวอย่าง
แนวคิดกลุ่มออมทรัพย์เช่นนี้เคยอยู่ในนโยบาย “กองทุนหมู่บ้าน” ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่รัฐบาลจัดสรรเงินให้หมู่บ้านละหนึ่งล้านบาท เพื่อให้แต่ละหมู่บ้านนำไปบริหารจัดการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ แต่ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ บอกว่า ชาวบ้านเห็นว่า การได้รับเงินจากภายนอกทำให้ชาวบ้านไม่รู้คุณค่าของเงิน ไม่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ จึงไม่สามารถจัดการเงินได้อย่างยั่งยืน กลุ่มเกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธรับเงินจากรัฐบาล แล้วกำหนดเป็นระเบียบของกลุ่มว่า ห้ามให้สมาชิกกลุ่มไปเป็นสมาชิกกองทุนเงินล้าน
“ถ้าไปเป็นสมาชิกย่อมมีความเสี่ยงที่จะมีภาระหนี้สินเพิ่ม มันเหมือนมีเชือกอีกหลายๆ เส้นไปล่ามคอ ระบบการผลิตแบบนี้ไม่มีทางที่จะปลดภาระหนี้สินได้ สุดท้ายก็จะมีปัญหาที่กองทุนเงินล้าน ถ้าเกิดปัญหาล่มที่กองทุนเงินล้าน ก็จะล่มที่กลุ่มด้วย ซึ่งทุนจากข้างในมีรากฐานมายาวนาน ต้นทุนสูงเกินกว่าที่จะปล่อยให้ล่ม ก็เลยประกาศเป็นนโยบายของผู้หญิงในกลุ่ม” นันทวันอธิบาย
การขอรับรองมาตรฐานสากล สู่การก่อตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ
แต่เดิมการทำเกษตรกรรมที่อำเภอสนามชัยเขตมีปัญหาสองประการด้วยกัน คือ ปัญหาการใช้สารเคมีซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัญหาอำนาจการต่อรองต่ำ เนื่องจากไม่มีการรวมตัวกันของเกษตรกรเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง จนในปี 2544 เครือข่ายฯ เห็นช่องทางในการยกระดับกลุ่มของตน รวมทั้งช่วยขจัดปัญหาสองประการนี้ โดยการขอรับรองมาตรฐานสากล จนสามารถมีผลผลิตส่งออกไปยังยุโรปได้ จึงก่อตั้งเป็น “กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต”
“เผอิญตลาดยุโรปมีกลุ่มผู้บริโภคที่เขาสนใจข้าวเหลืองประทิวซึ่งมีอยู่ในโซนนี้เท่านั้น เราเลยเป็นพื้นที่เป้าหมายที่ผู้ค้าในยุโรปเข้ามาปรึกษาหารือว่า จะเป็นไปได้ไหมว่ากลุ่มที่นี่จะยกระดับการผลิตข้าวพื้นบ้านในระบบเกษตรอินทรีย์แล้วขอรับรองมาตรฐานสากลแล้วส่งไปยุโรป” นันทวันเล่า
การได้เรียนรู้เรื่องมาตรฐานสากล รวมทั้งการนำมาใช้ในการเพาะปลูกและตรวจสอบพืชผัก ทำให้กลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ ได้เป็นโมเดลต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมี ที่นอกจากจะได้ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการ จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน รวมถึงจัดการตลาดปลายทางอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า ระบบการผลิตอาหารปลอดภัยนี้จะขยายไปยังพื้นที่อื่นมากขึ้น จนปัจจุบันกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ เป็นผู้ผลิตอาหารปลอดสารเคมีรายใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก
“เรื่องอาหารมันสำคัญนะ อาหารที่ไม่ปลอดภัยมันปนเปื้อน ทำให้เจ็บป่วย ทำให้สูญเสียคนที่รักรอบตัวไปด้วยเรื่องที่เกิดจากการกิน ดังนั้น เราจะต้องสนับสนุนเกษตรกรที่ปลูกพืชแบบไม่ใช้สารเคมี เพราะผลิตอาหารที่ปลอดภัย ทำให้เราแข็งแรง ทำให้เราอยู่ในระบบอาหารที่ดี มีแต่ร้านอาหารปลอดภัย” นันทวันย้ำ
การเข้าร่วมสมัชชาคนจน สู่การเรียนรู้สิทธิพลเมือง
เมื่อรัฐบาลชวน หลีกภัย ประกาศใช้จากปัญหาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 พ.ศ.2540 ซึ่งบรรจุเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืนของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ ไว้ในแผนด้วย แต่ไม่จัดสรรงบประมาณเพื่อให้เกษตรกรนำไปบริหารจัดการในชุมชน กลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ จึงตัดสินใจเชื่อมโยงกับเครือข่ายสมัชชาคนจน ซึ่งประกอบด้วยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ กว่า 200 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มแรงงานที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น เพื่อติดตามเรื่องนโยบายที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีพื้นที่เป้าหมาย 25 ล้านไร่ทั่วประเทศ
“การที่เราเข้าร่วมกับสมัชชาคนจนถือเป็นการก้าวข้ามที่สำคัญขององค์กรเครือข่ายที่นี่ที่ทำให้เราเรียนรู้เรื่องสิทธิพลเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดและผลักดันให้รัฐสนับสนุนสิ่งที่ตัวเองทำแล้วเป็นคำตอบชัดเจนแล้วว่าเป็นทางเลือกที่ทำให้เกษตรกรรายย่อยอยู่รอด และมีการเขียนไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 อยู่แล้ว ทำไมกระทรวงเกษตรไม่ดำเนินการ” นันทวัน อธิบาย
ระหว่างการเข้าร่วมกับสมัชชาคนจน นันทวันบอกว่า ชาวบ้านบางคนกังวลว่า การชุมนุมเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และมักนำไปสู่ความรุนแรง แต่ก็ยังเชื่อมั่นในแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน จึงตัดสินใจเข้าร่วมการชุมนุม ซึ่งนับเป็นการเติบโตครั้งยิ่งใหญ่ของชาวบ้านในกลุ่ม
“การชุมนุมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นการเรียกร้องประโยชน์ของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย และทำเพื่อสังคมไทยด้วย เพราะคนทุกคนต้องบริโภคอาหาร เรามีบทบาทที่จะสร้างทางเลือกและระบบที่ยิ่งใหญ่เชิงนโยบาย ที่เอื้อให้ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนครอบคลุมทุกพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกอาหารชั้นดี พื้นที่ที่มีความหลากหลายของฐานทรัพยากรธรรมชาติ เป็นฐานสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและกระจายให้ทุกคนที่เป็นเกษตรกรรายย่อยสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข และทำให้สังคมไทยเข้มแข็งขึ้นด้วย” นันทวันกล่าว
การเข้ามาของ EEC คนในพื้นที่ต้องมีส่วนร่วม
ในปี 2560 รัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผลักดันโครงการ EEC ในบริเวณสามจังหวัดภาคตะวันออก คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ หวังให้ตัวเลขเศรษฐกิจไทยโตขึ้น อย่างไรก็ตาม EEC ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้ในระยะยาว และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในเมื่อพื้นที่อำเภอสนามชัยเขตก็อยู่ในผัง EEC ด้วย ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขตจึงมองว่า กระบวนการของ EEC ยังขาดการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ เนื่องจากเป็นกรอบแนวคิดการพัฒนาที่ดึงอำนาจการตัดสินใจกลับไปอยู่ในมือรัฐอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และยังมองว่า EEC คือ ภาคสมบูรณ์ของโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard Development) ซึ่งเป็นฝันร้ายของชาวตะวันออกที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
“อีสเทิร์นซีบอร์ดมันเลวร้ายมาก สิ่งที่เขาบอกว่าต้องการอุตสาหกรรมที่สะอาดที่บอกว่าอัจฉริยะทั้งหลาย มันไม่ใช่ของเราและมันเป็นการลงทุนจากข้างนอกทั้งหมดเลย กับเราดูคุณภาพประชาชนของเราว่า แต่ละคนสามารถจะเข้าไปอยู่ในระบบการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบนี้ได้จริงไหม แล้วการตัดสินใจกำหนดทิศทางการพัฒนายังอยู่ในอำนาจการตัดสินใจของหน่วยงานรัฐอยู่ดี เพราะฉะนั้นเสียงของประชาชนไม่อาจจะเข้าไปถึง” นันทวันกล่าว
นอกจากนั้น นันทวันยังวิเคราะห์ว่า EEC จะไม่หยุดอยู่แค่สามจังหวัด เพราะแนวคิดเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษถูกปักหมุดไว้ทั่วประเทศ แต่พื้นที่อื่นไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนได้เท่า EEC เนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันออกมาความพร้อมด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมอยู่แล้ว EEC จึงอาจเป็นพื้นที่นำร่องที่ทำให้เขตอุตสาหกรรมขยายตัวไปทั่วประเทศได้ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 ในการยกเลิกผังเมือง
นันทวันกล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ควรเป็น “หุ้นส่วนโดยตรง” ในทุกกระบวนการของ EEC มีสิทธิ์เสนอแนวทางการพัฒนา EEC ที่เหมาะกับฐานทรัพยากรในพื้นที่ โดยเห็นว่า พื้นที่สนามชัยเขตเป็นพื้นที่ผลิตอาหารปลอดสารพิษ มีความมั่นคงทางด้านอาหาร จึงควรส่งเสริมให้เป็นส่วนกลางอาหารปลอดภัย (Healthy Food Hub) ดีกว่าทำอุตสาหกรรมหนักหรือพัฒนาเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของนักลงทุน
“ควรกำหนดทิศทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของคนทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก ให้เข้าถึงกระบวนการพัฒนาและได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เข้มแข็งและเกิดความยั่งยืน เราไม่อยากเป็นแค่เหยื่อหรือเป็นผู้เสียสละ แต่เราเป็นเจ้าของพื้นที่ เราจำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการการกำหนดทิศทางการพัฒนาและการตัดสินใจของรัฐบาล” นันทวันย้ำ
ภาษาอังกฤษ: Organic farming: a community’s choice of living
Like this:
Like Loading...
หากจะใช้คำว่า “ชุมชนเข้มแข็ง” เพื่ออธิบายความเป็นชุมชนบ้านยางแดง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ก็คงไม่ผิดนัก เนื่องจากชาวบ้านมีผลิตผลทางการเกษตรเพียงพอต่อความต้องการบริโภค และยังมากพอจะนำไปขายสร้างรายได้ให้ครอบครัว ด้วยการมีส่วนร่วมออกแบบชุมชนของตนเอง ทำให้ “กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต” ยังยืนหยัดอยู่ได้จนถึงวันนี้
นิสิตนักศึกษา คุยกับ นันทวัน หาญดี ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต อดีตอาสาสมัครจากมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมรุ่นที่เจ็ด ผู้เข้ามาทำงานกับกลุ่มผู้หญิงของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ ตั้งแต่ปี 2528 ถึงเรื่องพัฒนาการของกลุ่ม และความคิดเห็นต่อโครงการ EEC ซึ่งจะกินพื้นที่มาถึงอำเภอสนามชัยเขตด้วย
เกษตรกรรมทางเลือก เกษตรกรรมทางรอด
นันทวัน กล่าวว่า เดิมทีบ้านยางแดงเป็นชุมชนที่ขาดแคลนอาหารสำหรับการบริโภคแม้จะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งยังมีสถานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก เพราะชาวบ้านเป็นหนี้สิน ส่วนที่ดินก็อยู่ในเขตป่าเสื่อมโทรม เป็นชุมชนเกิดใหม่ที่ชาวบ้านยังไม่รวมตัวกัน เพราะมีที่มาที่หลากหลาย
จนเมื่อปี 2520 เกษม เพชรนที นักส่งเสริมสิทธิชุมชนจากมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ได้เข้ามาริเริ่มกระบวนการให้ชาวบ้านช่วยกันคิดวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไข เกษมเคยทำงานกับศาสตราจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี 2504 นันทวันกล่าวว่า ในขณะนั้นภาครัฐเชื่อว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจะเติบโตขึ้นโดยใช้อุตสาหกรรมนำ เมื่ออุตสาหกรรมทำให้เศรษฐกิจโตขึ้น จะหยาดหยดความเจริญไปสู่ชนบท แต่ภายหลังกลับพบว่า เมื่อภาคอุตสาหกรรมเข้มแข็ง ก็ดึงทรัพยากรจากชนบทไปใช้ ยิ่งทำให้ช่องว่างทางชนชั้นเพิ่มขึ้น
เมื่อเกษมเห็นถึงความผิดพลาดของการพัฒนาที่ไม่ได้มองให้รอบด้าน จึงเริ่มกระตุ้นให้ชุมชนตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาของตนเอง พบว่า ปัญหาแรกคือ เรื่องอาหารไม่พอเพียงในครอบครัว เกษตรกรจึงรวมตัวกันสร้างต้นแบบเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง หลักการคือ ปลูกทุกอย่างที่จะเป็นอาหาร เลี้ยงสัตว์เป็นแหล่งโปรตีน ยกเลิกการปลูกมันสำปะหลังซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลส่งเสริม กลับมาปลูกพืชที่มีอยู่แล้วในชุมชน เรียกการทำเกษตรกรรมแนวนี้ว่า “เกษตรกรรมทางเลือก” หรือ “เกษตรกรรมยั่งยืน”
อีกปัญหาคือ ภาวะหนี้สินจากการกู้ยืมเงินเพื่อลงทุนปลูกมันสำปะหลัง ชาวบ้านจึงร่วมกันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อให้เป็นแหล่งทุนในชุมชน
“เกษตรกรรมทางเลือก ไม่ใช่เกษตรกรรมกระแสหลักที่รัฐบาลส่งเสริม ซึ่งตอนนั้นรัฐบาลส่งเสริมให้ปลูกอ้อย มัน ข้าวโพด ปอ ฝ้าย แต่เกษตรกรรมทางเลือกคือปลูกอะไรก็ได้ที่เหลือกินแล้วนำไปขาย ทำให้ชุมชนกลับมามองเรื่องการพึ่งพาตนเองในระยะยาวที่ลดการพึ่งพาคนอื่น” นันทวันอธิบาย
“ผู้หญิง” กำลังหลักแห่งการพัฒนาชุมชน
ในปี 2528 นันทวันเดินทางจากนครปฐมเข้ามาที่ตำบลบ้านยางแดง ในฐานะอาสาสมัครจากมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และได้รับมอบหมายให้ทำงานร่วมกับกลุ่มผู้หญิง เธอเล่าว่า ในตอนแรก ผู้ชายมีบทบาทหลักในการวางแผนการพัฒนาชุมชน แต่ภายหลังพบว่า การวางบทบาทเช่นนี้ทำให้ผู้หญิงไม่มีพื้นที่ในการแสดงความเห็นและเสนอแนะ การนำนโยบายจากที่ประชุมไปปฏิบัติจึงเป็นคนละทิศทาง เพราะผู้ชายเป็นผู้เข้าประชุมเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา แต่ปรากฏว่าคนที่นำมาปฏิบัติกลับเป็นผู้หญิง
“ยกตัวอย่างเช่น เรื่องไก่หรือหมู คนที่มาอบรมเป็นผู้ชาย แต่คนที่เลี้ยงไก่เลี้ยงหมูเป็นผู้หญิง ทำให้เป็นปัญหา การพัฒนากิจกรรมที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตก็มีปัญหาด้วย” ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ เล่า
กลุ่มผู้หญิงจึงเริ่มกระบวนการการทำงานด้วยการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ โดยจัดให้มีการประชุมกันเพื่อพูดคุยถึงปัญหาของตนเอง ผลิตข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหา นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด และเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว
“กระบวนการพวกนี้จะเป็นพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนพูดคุย แบ่งปัน ให้กำลังใจกัน ขณะเดียวกันก็มีข้อมูลใหม่ๆ ที่เข้ามาเพิ่มการวิเคราะห์ อย่างพี่ก็จะมีข้อมูลว่า มันมีผลมาจากนโยบายซึ่งจะมากระทบกับชุมชน แต่ชุมชนยังมองไม่ออก เพราะว่ามันเกิดช่องว่างระหว่างชุมชนกับนโยบายใหญ่ ไม่สามารถที่จะเห็นภาพเชื่อมกันได้ เพราะฉะนั้น พื้นที่ตรงนี้ก็ทำให้เราเชื่อมเอาข้อมูลเข้ามาได้” นันทวันยกตัวอย่าง
กระบวนการการทำงานเช่นนี้ได้รับการผลักดันเรื่อยมาโดยกลุ่มผู้หญิง จนเมื่อเริ่มสามารถตั้งตัวได้ มีการนำพืชป่ามาปลูกในบริเวณบ้านจนมีอาหารเพียงพอและสามารถขายเป็นรายได้ จึงก่อตั้งเป็น “เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก” ในปี 2532 เป็นพื้นที่ของเกษตรกรผู้หญิงในตำบลบ้านยางแดงได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาชุมชนและความอยู่รอดของครอบครัว
กลุ่มออมทรัพย์ ธนาคารชุมชน เพื่อการพัฒนาชุมชน
การตั้ง “กลุ่มออมทรัพย์” เพื่อเป็นแหล่งทุนภายในในช่วงแรกของการแก้ปัญหาความไม่พอเพียงด้านอาหารและภาวะหนี้สิน เป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาของชุมชน สมาชิกจะรู้กันว่า ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน สมาชิกครอบครัวฝ่ายหญิงจะต้องเข้ามาฝากเงินที่กลุ่มออมทรัพย์ กรรมการกลุ่มออมทรัพย์ก็จะจดบันทึกเป็นบัญชีการฝากเงิน เพื่อให้เป็นระบบการจัดการการเงินที่ตรวจสอบได้ นันทวันมองว่า กระบวนการเช่นนี้เป็นการสร้างความเป็นเจ้าของร่วม การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และความโปร่งใสในการบริหารจัดการ
กิจวัตรการออมเช่นนี้ทำให้กลุ่มออมทรัพย์กลายเป็นธนาคารของชุมชน สมาชิกบางคนมีฐานะทางการเงินที่เติบโตจนนำเงินไปฝากธนาคารด้วยเพื่อเก็บดอกเบี้ย เยาวชนในชุมชนก็ไม่จำเป็นต้องกู้เงินจากภายนอกไปเรียน เมื่อขีดความสามารถในการออมเพิ่มขึ้น ก็มีทุนเพื่อแก้ปัญหาคับขันที่ต้องใช้เงินจำนวนมากได้
“กลุ่มออมทรัพย์ช่วยลดการเป็นหนี้นอกระบบข้างนอก สนับสนุนโอกาสให้ลูกหลานได้เรียนหนังสือสูงขึ้น พ่อแม่ไม่มีเงินก็สามารถมากู้ในกองทุนเป็นการสนับสนุนลูกหลานเรา หรือกรณีที่ดินที่มีปัญหาแล้วต้องขายที่ดินออกไปให้คนนอกกลุ่มรับซื้อ ก็เปลี่ยนเป็นให้คนในกลุ่มซื้อที่ดินเก็บไว้ให้สมาชิกในกลุ่มที่มีที่ดินน้อยมาเช่าซื้อ สุดท้ายก็ได้เป็นเจ้าของที่ดิน” นันทวันยกตัวอย่าง
แนวคิดกลุ่มออมทรัพย์เช่นนี้เคยอยู่ในนโยบาย “กองทุนหมู่บ้าน” ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่รัฐบาลจัดสรรเงินให้หมู่บ้านละหนึ่งล้านบาท เพื่อให้แต่ละหมู่บ้านนำไปบริหารจัดการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ แต่ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ บอกว่า ชาวบ้านเห็นว่า การได้รับเงินจากภายนอกทำให้ชาวบ้านไม่รู้คุณค่าของเงิน ไม่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ จึงไม่สามารถจัดการเงินได้อย่างยั่งยืน กลุ่มเกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธรับเงินจากรัฐบาล แล้วกำหนดเป็นระเบียบของกลุ่มว่า ห้ามให้สมาชิกกลุ่มไปเป็นสมาชิกกองทุนเงินล้าน
“ถ้าไปเป็นสมาชิกย่อมมีความเสี่ยงที่จะมีภาระหนี้สินเพิ่ม มันเหมือนมีเชือกอีกหลายๆ เส้นไปล่ามคอ ระบบการผลิตแบบนี้ไม่มีทางที่จะปลดภาระหนี้สินได้ สุดท้ายก็จะมีปัญหาที่กองทุนเงินล้าน ถ้าเกิดปัญหาล่มที่กองทุนเงินล้าน ก็จะล่มที่กลุ่มด้วย ซึ่งทุนจากข้างในมีรากฐานมายาวนาน ต้นทุนสูงเกินกว่าที่จะปล่อยให้ล่ม ก็เลยประกาศเป็นนโยบายของผู้หญิงในกลุ่ม” นันทวันอธิบาย
การขอรับรองมาตรฐานสากล สู่การก่อตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ
แต่เดิมการทำเกษตรกรรมที่อำเภอสนามชัยเขตมีปัญหาสองประการด้วยกัน คือ ปัญหาการใช้สารเคมีซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และปัญหาอำนาจการต่อรองต่ำ เนื่องจากไม่มีการรวมตัวกันของเกษตรกรเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง จนในปี 2544 เครือข่ายฯ เห็นช่องทางในการยกระดับกลุ่มของตน รวมทั้งช่วยขจัดปัญหาสองประการนี้ โดยการขอรับรองมาตรฐานสากล จนสามารถมีผลผลิตส่งออกไปยังยุโรปได้ จึงก่อตั้งเป็น “กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต”
“เผอิญตลาดยุโรปมีกลุ่มผู้บริโภคที่เขาสนใจข้าวเหลืองประทิวซึ่งมีอยู่ในโซนนี้เท่านั้น เราเลยเป็นพื้นที่เป้าหมายที่ผู้ค้าในยุโรปเข้ามาปรึกษาหารือว่า จะเป็นไปได้ไหมว่ากลุ่มที่นี่จะยกระดับการผลิตข้าวพื้นบ้านในระบบเกษตรอินทรีย์แล้วขอรับรองมาตรฐานสากลแล้วส่งไปยุโรป” นันทวันเล่า
การได้เรียนรู้เรื่องมาตรฐานสากล รวมทั้งการนำมาใช้ในการเพาะปลูกและตรวจสอบพืชผัก ทำให้กลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ ได้เป็นโมเดลต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมี ที่นอกจากจะได้ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการ จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน รวมถึงจัดการตลาดปลายทางอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า ระบบการผลิตอาหารปลอดภัยนี้จะขยายไปยังพื้นที่อื่นมากขึ้น จนปัจจุบันกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ เป็นผู้ผลิตอาหารปลอดสารเคมีรายใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก
“เรื่องอาหารมันสำคัญนะ อาหารที่ไม่ปลอดภัยมันปนเปื้อน ทำให้เจ็บป่วย ทำให้สูญเสียคนที่รักรอบตัวไปด้วยเรื่องที่เกิดจากการกิน ดังนั้น เราจะต้องสนับสนุนเกษตรกรที่ปลูกพืชแบบไม่ใช้สารเคมี เพราะผลิตอาหารที่ปลอดภัย ทำให้เราแข็งแรง ทำให้เราอยู่ในระบบอาหารที่ดี มีแต่ร้านอาหารปลอดภัย” นันทวันย้ำ
การเข้าร่วมสมัชชาคนจน สู่การเรียนรู้สิทธิพลเมือง
เมื่อรัฐบาลชวน หลีกภัย ประกาศใช้จากปัญหาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 พ.ศ.2540 ซึ่งบรรจุเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืนของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ ไว้ในแผนด้วย แต่ไม่จัดสรรงบประมาณเพื่อให้เกษตรกรนำไปบริหารจัดการในชุมชน กลุ่มเกษตรอินทรีย์ฯ จึงตัดสินใจเชื่อมโยงกับเครือข่ายสมัชชาคนจน ซึ่งประกอบด้วยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ กว่า 200 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มแรงงานที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น เพื่อติดตามเรื่องนโยบายที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีพื้นที่เป้าหมาย 25 ล้านไร่ทั่วประเทศ
ระหว่างการเข้าร่วมกับสมัชชาคนจน นันทวันบอกว่า ชาวบ้านบางคนกังวลว่า การชุมนุมเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และมักนำไปสู่ความรุนแรง แต่ก็ยังเชื่อมั่นในแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน จึงตัดสินใจเข้าร่วมการชุมนุม ซึ่งนับเป็นการเติบโตครั้งยิ่งใหญ่ของชาวบ้านในกลุ่ม
“การชุมนุมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นการเรียกร้องประโยชน์ของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย และทำเพื่อสังคมไทยด้วย เพราะคนทุกคนต้องบริโภคอาหาร เรามีบทบาทที่จะสร้างทางเลือกและระบบที่ยิ่งใหญ่เชิงนโยบาย ที่เอื้อให้ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนครอบคลุมทุกพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกอาหารชั้นดี พื้นที่ที่มีความหลากหลายของฐานทรัพยากรธรรมชาติ เป็นฐานสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและกระจายให้ทุกคนที่เป็นเกษตรกรรายย่อยสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข และทำให้สังคมไทยเข้มแข็งขึ้นด้วย” นันทวันกล่าว
การเข้ามาของ EEC คนในพื้นที่ต้องมีส่วนร่วม
ในปี 2560 รัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผลักดันโครงการ EEC ในบริเวณสามจังหวัดภาคตะวันออก คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ หวังให้ตัวเลขเศรษฐกิจไทยโตขึ้น อย่างไรก็ตาม EEC ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้ในระยะยาว และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในเมื่อพื้นที่อำเภอสนามชัยเขตก็อยู่ในผัง EEC ด้วย ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขตจึงมองว่า กระบวนการของ EEC ยังขาดการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ เนื่องจากเป็นกรอบแนวคิดการพัฒนาที่ดึงอำนาจการตัดสินใจกลับไปอยู่ในมือรัฐอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และยังมองว่า EEC คือ ภาคสมบูรณ์ของโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard Development) ซึ่งเป็นฝันร้ายของชาวตะวันออกที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
“อีสเทิร์นซีบอร์ดมันเลวร้ายมาก สิ่งที่เขาบอกว่าต้องการอุตสาหกรรมที่สะอาดที่บอกว่าอัจฉริยะทั้งหลาย มันไม่ใช่ของเราและมันเป็นการลงทุนจากข้างนอกทั้งหมดเลย กับเราดูคุณภาพประชาชนของเราว่า แต่ละคนสามารถจะเข้าไปอยู่ในระบบการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบนี้ได้จริงไหม แล้วการตัดสินใจกำหนดทิศทางการพัฒนายังอยู่ในอำนาจการตัดสินใจของหน่วยงานรัฐอยู่ดี เพราะฉะนั้นเสียงของประชาชนไม่อาจจะเข้าไปถึง” นันทวันกล่าว
นอกจากนั้น นันทวันยังวิเคราะห์ว่า EEC จะไม่หยุดอยู่แค่สามจังหวัด เพราะแนวคิดเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษถูกปักหมุดไว้ทั่วประเทศ แต่พื้นที่อื่นไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนได้เท่า EEC เนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันออกมาความพร้อมด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมอยู่แล้ว EEC จึงอาจเป็นพื้นที่นำร่องที่ทำให้เขตอุตสาหกรรมขยายตัวไปทั่วประเทศได้ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 ในการยกเลิกผังเมือง
นันทวันกล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ควรเป็น “หุ้นส่วนโดยตรง” ในทุกกระบวนการของ EEC มีสิทธิ์เสนอแนวทางการพัฒนา EEC ที่เหมาะกับฐานทรัพยากรในพื้นที่ โดยเห็นว่า พื้นที่สนามชัยเขตเป็นพื้นที่ผลิตอาหารปลอดสารพิษ มีความมั่นคงทางด้านอาหาร จึงควรส่งเสริมให้เป็นส่วนกลางอาหารปลอดภัย (Healthy Food Hub) ดีกว่าทำอุตสาหกรรมหนักหรือพัฒนาเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของนักลงทุน
“ควรกำหนดทิศทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของคนทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก ให้เข้าถึงกระบวนการพัฒนาและได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เข้มแข็งและเกิดความยั่งยืน เราไม่อยากเป็นแค่เหยื่อหรือเป็นผู้เสียสละ แต่เราเป็นเจ้าของพื้นที่ เราจำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการการกำหนดทิศทางการพัฒนาและการตัดสินใจของรัฐบาล” นันทวันย้ำ
ภาษาอังกฤษ: Organic farming: a community’s choice of living
Share this:
Like this: