เรื่อง/ภาพ: มีนามณี ลีวิวิธนนท์
“บางทีการทำกราฟิกเนี่ยไม่ได้เป็นตัวเองเลย เพราะว่าต้องคอยเสิร์ฟให้คอนเทนต์ของคนอื่น” ณขวัญ ศรีอรุโณทัย บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ นิตยสาร WAY เอ่ย
ในฐานะบรรณาธิการศิลป์ ณขวัญต้องรับผิดชอบงานออกแบบเพื่อเนื้อหา (editorial design) ซึ่งเป็นการออกแบบการเล่าเรื่องโดยใช้ศิลปะเสริมการนำเสนอเนื้อหาด้วยข้อความ บางครั้งจึงเกิดความเครียดเมื่อที่ต้องออกแบบเนื้อหาเขาไม่ชอบหรือไม่เข้าใจ “บางทีเป็นเรื่องที่ไม่เห็นอยากอ่าน แต่เพราะเป็นงาน เพราะเราต้องทำ” ณขวัญกล่าว
ณขวัญเล่าว่าในช่วงปีแรกของการทำงาน องค์กรที่ตนสังกัดได้รับงานโครงการใหญ่คือการทำหนังสือที่ระลึกสะพานมิตรภาพไทยลาวครั้งที่ 2 โดยเขารับหน้าที่ออกแบบปกหนังสือ แต่เมื่อออกแบบและนำไปเสนอ ลูกค้ากลับเลือกปกที่ณขวัญไม่ชอบมากที่สุด
“เขาเลือกปกที่พี่เกลียดที่สุดเลย พี่ก็ไม่เข้าใจว่าอันที่เราทำสวยๆ ทำไมเขาถึงไม่เลือก”
ณขวัญเอ่ยถึงความรู้สึกในตอนนั้น แต่ต่อมาเขาก็เข้าใจว่าลูกค้าไม่ได้ต้องการงานศิลป์สวยงาม แต่ต้องการงานออกแบบที่สื่อสารให้ผู้ชมเข้าใจทันที นั่นทำให้การทำงานหลังจากนั้น เขาต้องหาจุดร่วมระหว่างความต้องการของลูกค้ากับงานออกแบบของตัวเอง ณขวัญเชื่อว่างานออกแบบเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใส่ตัวตนลงไปในงาน เพราะเน้นการออกแบบให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสื่อสาร ต่างจากการทำงานศิลปะที่เขาคุ้นชินที่ทำเพื่อสนองความต้องการของตัวเองโดยไม่มีโจทย์มากำกับ
ดังนั้น ณขวัญจึงสร้างพื้นที่ในการสร้างศิลปะแบบไร้โจทย์คือเพจออนไลน์ชื่อว่า “Antizeptic” ที่แรกเริ่มเป็นแหล่งรวมผลงานที่ไม่ถูกนำไปใช้ และในภายหลังกลายเป็น “พื้นที่ที่อยากทำอะไรก็ทำ” ไม่ว่าจะลองฝึกมือ วาดสิ่งที่สนใจในช่วงนั้น รวมถึงทดลองความคิดใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำแล้วสนุก เกือบทั้งหมดยังเป็นงานที่คิดได้โดยบังเอิญ ไม่ได้ตั้งโจทย์ไว้ล่วงหน้า ณขวัญมองว่าสำหรับเขาแล้วไอเดียดีๆ นั้น “จะเกิดขึ้นเมื่อจิตใจเราปลอดโปร่ง ร่างกายแข็งแรง ไม่เครียดกับงาน”
หนึ่งในผลงานที่ณขวัญวาดลงในเพจ รูปภาพจาก Antizeptic
ปรัชญพร วรนันท์ นักศิลปะบำบัด สมาชิกสมาคมการแสดงศิลปะบำบัดนานาชาติ ที่สังกัดสถาบันศิลปะบำบัดและการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสต์ลอนดอน ให้ความเห็นว่าลักษณะงานของกราฟิกดีไซเนอร์เป็นการใช้ศิลปะในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อคนอื่น ในที่นี้คือเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า ทำให้น้ำหนักของการกระทำเป็นไปเพื่อคนอื่นมากกว่าทำเพื่อตัวเอง “ในทุกความสัมพันธ์ ถ้าเราไม่มีน้ำหนักแล้วคนอื่นมาหนักกว่าเรา เราจะเหนื่อย ดังนั้นการทำงานในรูปแบบนี้ต้องรู้ว่าสมดุลเราคืออะไร” ปรัชญพรกล่าว
ปรัชญพรเสริมว่าศิลปะโดยทั่วไปคือการที่ผู้วาดรู้สึกพอใจกับภาพที่วาดออกมา แต่งานกราฟิกดีไซน์เป็นการสร้างงานเพื่อตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ ดังนั้นกราฟิกดีไซเนอร์จึงต้องแบกรับความคาดหวังจนเกิดความเครียดได้
“กราฟิกดีไซเนอร์ที่ต้องเชื่อมโยงกับศิลปะต้องไม่ลืมว่าคุณค่าของเขาอาจจะเกี่ยวกับศิลปะหรือไม่ก็ได้ และขอให้ไม่ลืมว่าสิ่งที่ขับเคลื่อนเขามากกว่างาน มันคือโลกข้างในของเขา” นักศิลปะบำบัดกล่าว
ปรัชญพรอธิบายว่าการทำศิลปะบำบัดเป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่มีศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้สร้างผลงานสามารถใช้สื่อกลางต่างๆ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง เช่น การวาดรูป การเขียน การสร้างหุ่นมือ เป็นต้น แล้วพูดคุยกับนักศิลปะบำบัดถึงงานชิ้นนั้นโดยไม่ตัดสินที่ความสวยงามของผลงาน เพื่อให้เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง การทำศิลปะบำบัดจึงเป็นโอกาสที่กราฟิกดีไซเนอร์จะได้มีช่วงเวลาสั้นๆ สำหรับการสร้างสรรค์งานเพื่อตัวเอง ซึ่งเป็นตัวเลือกหนึ่งในการรักษาสภาวะสมดุลระหว่างคุณค่าของงานและคุณค่าของตน
แต่ในกรณีที่บางคนเกรงว่าถ้าใช้สื่อกลางที่เหมือนกับการทำงานประจำ เช่น หากเป็นคนที่ต้องวาดรูปอยู่แล้ว การวาดรูปอาจไม่เกิดจินตนาการเพื่อสร้างผลงานแตกต่างไปจากเดิมได้ นักศิลปะบำบัดจึงแนะนำว่าให้ลองใช้ศิลปะรูปแบบอื่นๆ แทน เช่น การปั้น
ตัวอย่างผลงานศิลปะบำบัดด้วยวิธีการวาดรูประบายสี
นอกจากนี้ ปรัชญพรกล่าวว่าการเกิดสภาวะไม่สมดุลของจิตใจเป็นเรื่องปกติที่เกิดได้กับทุกคน และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในวงการกราฟิกเท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าสายอาชีพใดก็ทำศิลปะบำบัดได้ โดยไปพบนักศิลปะบำบัดเพื่อนั่งคุยและแนะนำวิธีบำบัดที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละคน ซึ่งอาจเป็นวิธีที่ดีกว่าการเล่าเรื่องของตัวเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่จับต้องไม่ได้
ปรัชญพรยังมองว่าเป็นโอกาสที่ดีหากองค์กรต่างๆ ลงทุนกับเรื่องศิลปะบำบัดสำหรับบุคลากรที่ผลิตผลงานสร้างสรรค์และงานอื่นๆ เพราะนอกจากจะช่วยคลายความเครียดแล้ว ยังถือเป็นอีกวิธีที่ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และกระชับความสัมพันธ์ให้กับพนักงานด้วย
แต่หากเป็นคนที่ไม่ชอบหรือไม่ถนัดในด้านศิลปะ ก็ยังมีทางเลือกอื่นๆ ในการผ่อนคลายให้เลือกตามความสนใจ “บางคนชอบเล่นดนตรี บางคนชอบเขียน แล้วเราก็ทำสิ่งนั้นให้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของเราเพื่อที่เราจะได้รู้สึกว่าชีวิตสมดุลมากขึ้น พี่ว่าก็เป็นการบำบัดอย่างหนึ่ง” นักศิลปะบำบัดสรุป
ปรัชญพรสาธิตวิธีใช้หุ่นมือในการทำศิลปะบำบัด
Like this:
Like Loading...
เรื่อง/ภาพ: มีนามณี ลีวิวิธนนท์
“บางทีการทำกราฟิกเนี่ยไม่ได้เป็นตัวเองเลย เพราะว่าต้องคอยเสิร์ฟให้คอนเทนต์ของคนอื่น” ณขวัญ ศรีอรุโณทัย บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ นิตยสาร WAY เอ่ย
ในฐานะบรรณาธิการศิลป์ ณขวัญต้องรับผิดชอบงานออกแบบเพื่อเนื้อหา (editorial design) ซึ่งเป็นการออกแบบการเล่าเรื่องโดยใช้ศิลปะเสริมการนำเสนอเนื้อหาด้วยข้อความ บางครั้งจึงเกิดความเครียดเมื่อที่ต้องออกแบบเนื้อหาเขาไม่ชอบหรือไม่เข้าใจ “บางทีเป็นเรื่องที่ไม่เห็นอยากอ่าน แต่เพราะเป็นงาน เพราะเราต้องทำ” ณขวัญกล่าว
ณขวัญเล่าว่าในช่วงปีแรกของการทำงาน องค์กรที่ตนสังกัดได้รับงานโครงการใหญ่คือการทำหนังสือที่ระลึกสะพานมิตรภาพไทยลาวครั้งที่ 2 โดยเขารับหน้าที่ออกแบบปกหนังสือ แต่เมื่อออกแบบและนำไปเสนอ ลูกค้ากลับเลือกปกที่ณขวัญไม่ชอบมากที่สุด
ณขวัญเอ่ยถึงความรู้สึกในตอนนั้น แต่ต่อมาเขาก็เข้าใจว่าลูกค้าไม่ได้ต้องการงานศิลป์สวยงาม แต่ต้องการงานออกแบบที่สื่อสารให้ผู้ชมเข้าใจทันที นั่นทำให้การทำงานหลังจากนั้น เขาต้องหาจุดร่วมระหว่างความต้องการของลูกค้ากับงานออกแบบของตัวเอง ณขวัญเชื่อว่างานออกแบบเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใส่ตัวตนลงไปในงาน เพราะเน้นการออกแบบให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสื่อสาร ต่างจากการทำงานศิลปะที่เขาคุ้นชินที่ทำเพื่อสนองความต้องการของตัวเองโดยไม่มีโจทย์มากำกับ
ดังนั้น ณขวัญจึงสร้างพื้นที่ในการสร้างศิลปะแบบไร้โจทย์คือเพจออนไลน์ชื่อว่า “Antizeptic” ที่แรกเริ่มเป็นแหล่งรวมผลงานที่ไม่ถูกนำไปใช้ และในภายหลังกลายเป็น “พื้นที่ที่อยากทำอะไรก็ทำ” ไม่ว่าจะลองฝึกมือ วาดสิ่งที่สนใจในช่วงนั้น รวมถึงทดลองความคิดใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำแล้วสนุก เกือบทั้งหมดยังเป็นงานที่คิดได้โดยบังเอิญ ไม่ได้ตั้งโจทย์ไว้ล่วงหน้า ณขวัญมองว่าสำหรับเขาแล้วไอเดียดีๆ นั้น “จะเกิดขึ้นเมื่อจิตใจเราปลอดโปร่ง ร่างกายแข็งแรง ไม่เครียดกับงาน”
ปรัชญพร วรนันท์ นักศิลปะบำบัด สมาชิกสมาคมการแสดงศิลปะบำบัดนานาชาติ ที่สังกัดสถาบันศิลปะบำบัดและการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสต์ลอนดอน ให้ความเห็นว่าลักษณะงานของกราฟิกดีไซเนอร์เป็นการใช้ศิลปะในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อคนอื่น ในที่นี้คือเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า ทำให้น้ำหนักของการกระทำเป็นไปเพื่อคนอื่นมากกว่าทำเพื่อตัวเอง “ในทุกความสัมพันธ์ ถ้าเราไม่มีน้ำหนักแล้วคนอื่นมาหนักกว่าเรา เราจะเหนื่อย ดังนั้นการทำงานในรูปแบบนี้ต้องรู้ว่าสมดุลเราคืออะไร” ปรัชญพรกล่าว
ปรัชญพรเสริมว่าศิลปะโดยทั่วไปคือการที่ผู้วาดรู้สึกพอใจกับภาพที่วาดออกมา แต่งานกราฟิกดีไซน์เป็นการสร้างงานเพื่อตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ ดังนั้นกราฟิกดีไซเนอร์จึงต้องแบกรับความคาดหวังจนเกิดความเครียดได้
ปรัชญพรอธิบายว่าการทำศิลปะบำบัดเป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่มีศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้สร้างผลงานสามารถใช้สื่อกลางต่างๆ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง เช่น การวาดรูป การเขียน การสร้างหุ่นมือ เป็นต้น แล้วพูดคุยกับนักศิลปะบำบัดถึงงานชิ้นนั้นโดยไม่ตัดสินที่ความสวยงามของผลงาน เพื่อให้เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง การทำศิลปะบำบัดจึงเป็นโอกาสที่กราฟิกดีไซเนอร์จะได้มีช่วงเวลาสั้นๆ สำหรับการสร้างสรรค์งานเพื่อตัวเอง ซึ่งเป็นตัวเลือกหนึ่งในการรักษาสภาวะสมดุลระหว่างคุณค่าของงานและคุณค่าของตน
แต่ในกรณีที่บางคนเกรงว่าถ้าใช้สื่อกลางที่เหมือนกับการทำงานประจำ เช่น หากเป็นคนที่ต้องวาดรูปอยู่แล้ว การวาดรูปอาจไม่เกิดจินตนาการเพื่อสร้างผลงานแตกต่างไปจากเดิมได้ นักศิลปะบำบัดจึงแนะนำว่าให้ลองใช้ศิลปะรูปแบบอื่นๆ แทน เช่น การปั้น
นอกจากนี้ ปรัชญพรกล่าวว่าการเกิดสภาวะไม่สมดุลของจิตใจเป็นเรื่องปกติที่เกิดได้กับทุกคน และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในวงการกราฟิกเท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าสายอาชีพใดก็ทำศิลปะบำบัดได้ โดยไปพบนักศิลปะบำบัดเพื่อนั่งคุยและแนะนำวิธีบำบัดที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละคน ซึ่งอาจเป็นวิธีที่ดีกว่าการเล่าเรื่องของตัวเองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่จับต้องไม่ได้
ปรัชญพรยังมองว่าเป็นโอกาสที่ดีหากองค์กรต่างๆ ลงทุนกับเรื่องศิลปะบำบัดสำหรับบุคลากรที่ผลิตผลงานสร้างสรรค์และงานอื่นๆ เพราะนอกจากจะช่วยคลายความเครียดแล้ว ยังถือเป็นอีกวิธีที่ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และกระชับความสัมพันธ์ให้กับพนักงานด้วย
แต่หากเป็นคนที่ไม่ชอบหรือไม่ถนัดในด้านศิลปะ ก็ยังมีทางเลือกอื่นๆ ในการผ่อนคลายให้เลือกตามความสนใจ “บางคนชอบเล่นดนตรี บางคนชอบเขียน แล้วเราก็ทำสิ่งนั้นให้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของเราเพื่อที่เราจะได้รู้สึกว่าชีวิตสมดุลมากขึ้น พี่ว่าก็เป็นการบำบัดอย่างหนึ่ง” นักศิลปะบำบัดสรุป
Share this:
Like this: