เรื่อง: ณิชชา เสริฐปัญญารุ่ง
“การเป็นมุสลิมที่ดีคือทำตามบทบัญญัติที่ศาสนากำหนดไว้อย่างสมบูรณ์ เราไม่ได้แต่งตัวมิดชิดมากขนาดตามกฎหมายบทบัญญัติ ผู้หญิงตามบทบัญญัติของอิสลามเห็นได้เฉพาะใบหน้าเเละฝ่ามือเท่านั้น ที่เหลือต้องปกปิดทั้งหมด แต่สำหรับเราไม่ได้ปกปิดร้อยเปอร์เซ็นต์นะคะ พยายามทำให้ได้มากที่สุด อย่างเช่น เวลาเราใส่รองเท้าส้นสูง เราก็ไม่ได้ใส่ถุงเท้า เนื่องจากไม่เคยชิน ซึ่งก็ถือว่าเป็นข้อบกพร่องทางด้านการปฏิบัติตัวตามหลักศาสนาของรชาด้วยเช่นกัน”
รชา ทับโทน เน็ตไอดอลสาวชาวมุสลิมที่มียอดผู้ติดตามหลักหมื่นบนอินสตาแกรมกล่าว
รชาสวมใส่ฮิญาบผ้าชีฟองแบบพิมพ์ลายจากร้านของตนเอง รูปภาพจากอินสตาแกรม @rashahijab_office
รชาโด่งดังมาจากการเป็นเจ้าของร้าน “รชา ฮิญาบ” ที่มีหน้าร้านทางอินสตาแกรม (@rashahijab_office) สินค้าของรชาโดดเด่นกว่าร้านขายฮิญาบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบที่เรียบง่าย มีลวดลายไม่มาก โทนสีสุภาพ ใส่ได้ในทุกโอกาส และมีหลายรูปแบบให้เลือก ทั้งผ้าขนาดยาว ผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผ้าชีฟองเนื้อทราย หรือผ้าเนื้อหนานุ่มที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ขณะที่ราคายังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงเกินไป
รชาผันตัวมาเป็นแม่ค้าขายฮิญาบออนไลน์เนื่องจากเธอมักเธอพบปัญหาจากการสั่งซื้อฮิญาบทางอินเทอร์เน็ต เช่น สินค้าไม่ตรงตามความต้องการ ขนาดผ้าเล็กจนเกินไป สัมผัสเนื้อผ้าไม่ดี เธอจึงตัดสินใจเริ่มตัดเย็บฮิญาบเพื่อสวมใส่เอง ก่อนจะไปขายคนรอบตัว จนกระทั่งคนอื่นๆ กล่าวถึงและทำให้เธอเปิดเป็นร้านขายฮิญาบออนไลน์ในที่สุด
เน็ตไอดอลสาวชาวมุสลิมเล่าให้ฟังว่า เธอชื่นชอบแฟชั่นและรักการแต่งตัวมาก ทำให้บางครั้งไม่สามารถแต่งกายตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามได้ทั้งหมด แรกเริ่มนั้นเธอไม่ได้ใส่ผ้าคลุมหรือฮิญาบเสียด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากเธอจะต้องย้ายไปศึกษาต่อที่ประเทศมาเลเซีย จึงมีโอกาสเข้าไปอยู่ในสังคมมุสลิมที่เข้มงวดทำให้เธอเริ่มซึมซับบทบัญญัติและกฎเกณฑ์ของศาสนา แต่สิ่งที่มีอิทธิพลต่อเธอมากที่สุดคือการเห็นรุ่นพี่ที่อยู่ในมาเลเซียสวมใส่ฮิญาบที่มีลวดลายสวยงาม จนทำให้เธอสนใจและตัดสินใจสั่งฮิญาบจากทางออนไลน์มาใส่เอง เพราะเธอคิดว่าแฟชั่นกับศาสนาควบคู่ไปด้วยกันได้
“บางคนอาจจะคิดว่ามุสลิมต้องใส่ชุดดำ ปิดหน้า แต่รชาคิดว่าไม่ใช่ มันอยู่ที่จิตใต้สำนึกเรา แฟชั่นไม่มีที่สิ้นสุดแต่ต้องดูกาลเทศะด้วย” รชาเอ่ย
“บางคนอาจจะคิดว่ามุสลิมต้องใส่ชุดดำ ปิดหน้า แต่รชาคิดว่ามันไม่ใช่ทั้งหมด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความพร้อมและเจตนารมณ์ของแต่ละบุคคล แฟชั่นไม่มีที่สิ้นสุดและการมีบุคลิกดีคือหนึ่งจากตัววัดที่ชี้ถึงความเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์แบบเช่นกัน” รชาเอ่ย
รชามีวิธีเลือกฮิญาบสามข้อ ข้อแรกคือเนื้อผ้าจะต้องไม่บางจนเห็นเส้นผมหรือใบหู เพราะผิดหลักศาสนา ข้อสองคือสีสันจะต้องสวยงาม แต่ไม่ฉูดฉาดเกินควร ข้อสามคือสะท้อนความเป็นตัวตนของเธอ เช่น มีดีไซน์ที่ทันสมัย เข้ากับชุดง่าย และปกปิดในส่วนของร่างกายได้มากที่สุด
“เราไม่ได้สมบูรณ์แบบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะรชาเริ่มต้นมาจากศูนย์ เริ่มจากการเปิดใจและเรียนรู้ใหม่ ทุกวันนี้รชาพยายามปฏิบัติตามหลักการที่ศาสนากำหนดไว้ให้ได้สมบูรณ์ที่สุด เราอยากเปลี่ยนด้วยหัวใจและความรู้สึกที่ตั้งใจจริงๆของเรา ไม่ใช่เปลี่ยนเพราะให้คนใดคนหนึ่งพอใจ แต่เปลี่ยนเพราะเราศรัทธาและแน่วแน่อย่างที่สุด รชาเริ่มพยายามจากเรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เวลาคลุมฮิญาบจะรวบผมและปกปิดไม่ให้เส้นผมเล็ดลอดออกมาจากฮิญาบ เป็นต้น ถึงแม้เรื่องนี้ สำหรับมุสลิมบางคนถือว่าเรื่องเล็กๆน้อยๆ แต่สำหรับเราการใส่ใจกับการเริ่มต้นจากจุดเล็กๆนั้นคือการเริ่มต้นที่ดี” รชากล่าวเสริม
ด้าน นูร์ฮูดา หะยึดอเล๊าะ เจ้าของร้านขายฮิญาบในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ก็เป็นอีกคนที่ชื่นชอบการแต่งตัว เธอเล่าวิธีเลือกฮิญาบของตนเองว่า เนื่องจากเธอเน้นความคล่องตัวในการสวมใส่เสื้อผ้า ในวันปกติเธอเลือกผ้าคลุมผืนใหญ่ที่สามารถคลุมส่วนบนของร่างกายจนถึงข้อมือ แทนการสวมฮิญาบสำเร็จรูป หากต้องไปออกงาน เธอก็จะเลือกสวมฮิญาบที่มีลวดลายสวยงาม ตามกระแสนิยมของหญิงสาวมุสลิม เพียงแต่จะต้องปกปิดทุกส่วนของร่างกายตามแนวทางของศาสนา ส่วนวิธีการเลือกฮิญาบมาขายในร้านนั้น นูร์ฮูดาตั้งใจเลือกแบบที่ชอบเป็นหลัก คือมีสีสันไม่ฉูดฉาด ง่ายต่อการสวมใส่และอยู่ในสมัยนิยม
ดร.อัมพร หมาดเด็น อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมุสลิมศึกษา อิสลาม วัฒนธรรมอาหรับ เพศภาวะและวัฒนธรรมศึกษาอธิบายว่า แท้จริงแล้วคำว่า “ฮิญาบ” หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Hijab” นั้น ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน แต่ในคัมภีร์อัลกุรอานมักจะปรากฏคำว่า จิลบับ (Jilbab) ซึ่งเป็นคำที่ไม่ได้ใช้ในวงกว้าง คำว่าฮิญาบนั้นปรากฏในภายหลังและมีความหมายโดยนัยสื่อถึงการเคลื่อนไหวต่อต้านอำนาจของเจ้าอาณานิคมในช่วงการปฎิวัติอิหร่านเมื่อปี พ.ศ. 2522 เพื่อที่จะยกระดับความศิวิไลซ์ในการแต่งตัวของผู้หญิงชาวอิหร่านและต้องการผู้หญิงให้ได้รับการยกย่อง
อย่างไรก็ตาม ดร.อัมพรกล่าวว่า ในคัมภีร์อัลกุรอานไม่ได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่าผู้หญิงมุสลิมในครรลองของศาสนาจะต้องสวมฮิญาบทุกคน รูปแบบในการใส่ฮิญาบจึงไม่แน่นอนตายตัว ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิงอาหรับจะใส่ผ้าคลุมสีดำปกปิดผิวทั้งหมด บางคนนำเข็มกลัดมากลัดใต้คาง หรือบางคนจะนำผ้ามาคลุมถึงส่วนของหน้าอก เพื่อปกปิดร่างกายให้มิดชิด ขณะที่ปัจจุบันมีงานวิจัยว่าฮิญาบถูกนำมาทำให้เป็นแฟชั่น เช่น นำมาโพกหัวบ้าง บางคนใส่แบบเปิดหูเพื่อให้เห็นต่างหู หรือบางคนนำมาดัดแปลงใส่เครื่องประดับลงบนฮิญาบ อย่างมงกุฎหรือที่คาดผม
นักวิชาการด้านมุสลิมศึกษาเห็นว่า เนื่องจากโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก การที่คนยังเลือกสวมฮิญาบที่มีรูปแบบและลวดลายตามกระแสแฟชั่นแสดงให้เห็นว่าคนยังใส่ใจศาสนา แต่ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงความสวยงามในโลกแฟชั่นด้วย ฉะนั้นการสวมใส่ฮิญาบก็ยังสามารถแสดงออกถึงตัวตนของผู้สวมใส่ได้หรือในอีกแง่หนึ่งอาจมองได้ว่า ผู้หญิงที่สวมฮิญาบตามกระแสแฟชั่น รวมถึงคนขายฮิญาบบนโลกออนไลน์ ต้องการสื่อสารว่าฮิญาบไม่ได้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
“บางคนค้าขายในออนไลน์ เราก็มองว่าเขาต้องการจะเผยแพร่ว่าฮิญาบไม่ได้เป็นของที่น่ากลัว ใครสวมใส่ก็ยังจะเป็นแฟชั่น มีสไตล์” ดร.อัมพรกล่าว
Like this:
Like Loading...
เรื่อง: ณิชชา เสริฐปัญญารุ่ง
“การเป็นมุสลิมที่ดีคือทำตามบทบัญญัติที่ศาสนากำหนดไว้อย่างสมบูรณ์ เราไม่ได้แต่งตัวมิดชิดมากขนาดตามกฎหมายบทบัญญัติ ผู้หญิงตามบทบัญญัติของอิสลามเห็นได้เฉพาะใบหน้าเเละฝ่ามือเท่านั้น ที่เหลือต้องปกปิดทั้งหมด แต่สำหรับเราไม่ได้ปกปิดร้อยเปอร์เซ็นต์นะคะ พยายามทำให้ได้มากที่สุด อย่างเช่น เวลาเราใส่รองเท้าส้นสูง เราก็ไม่ได้ใส่ถุงเท้า เนื่องจากไม่เคยชิน ซึ่งก็ถือว่าเป็นข้อบกพร่องทางด้านการปฏิบัติตัวตามหลักศาสนาของรชาด้วยเช่นกัน”
รชา ทับโทน เน็ตไอดอลสาวชาวมุสลิมที่มียอดผู้ติดตามหลักหมื่นบนอินสตาแกรมกล่าว
รชาโด่งดังมาจากการเป็นเจ้าของร้าน “รชา ฮิญาบ” ที่มีหน้าร้านทางอินสตาแกรม (@rashahijab_office) สินค้าของรชาโดดเด่นกว่าร้านขายฮิญาบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบที่เรียบง่าย มีลวดลายไม่มาก โทนสีสุภาพ ใส่ได้ในทุกโอกาส และมีหลายรูปแบบให้เลือก ทั้งผ้าขนาดยาว ผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผ้าชีฟองเนื้อทราย หรือผ้าเนื้อหนานุ่มที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ขณะที่ราคายังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงเกินไป
รชาผันตัวมาเป็นแม่ค้าขายฮิญาบออนไลน์เนื่องจากเธอมักเธอพบปัญหาจากการสั่งซื้อฮิญาบทางอินเทอร์เน็ต เช่น สินค้าไม่ตรงตามความต้องการ ขนาดผ้าเล็กจนเกินไป สัมผัสเนื้อผ้าไม่ดี เธอจึงตัดสินใจเริ่มตัดเย็บฮิญาบเพื่อสวมใส่เอง ก่อนจะไปขายคนรอบตัว จนกระทั่งคนอื่นๆ กล่าวถึงและทำให้เธอเปิดเป็นร้านขายฮิญาบออนไลน์ในที่สุด
เน็ตไอดอลสาวชาวมุสลิมเล่าให้ฟังว่า เธอชื่นชอบแฟชั่นและรักการแต่งตัวมาก ทำให้บางครั้งไม่สามารถแต่งกายตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามได้ทั้งหมด แรกเริ่มนั้นเธอไม่ได้ใส่ผ้าคลุมหรือฮิญาบเสียด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากเธอจะต้องย้ายไปศึกษาต่อที่ประเทศมาเลเซีย จึงมีโอกาสเข้าไปอยู่ในสังคมมุสลิมที่เข้มงวดทำให้เธอเริ่มซึมซับบทบัญญัติและกฎเกณฑ์ของศาสนา แต่สิ่งที่มีอิทธิพลต่อเธอมากที่สุดคือการเห็นรุ่นพี่ที่อยู่ในมาเลเซียสวมใส่ฮิญาบที่มีลวดลายสวยงาม จนทำให้เธอสนใจและตัดสินใจสั่งฮิญาบจากทางออนไลน์มาใส่เอง เพราะเธอคิดว่าแฟชั่นกับศาสนาควบคู่ไปด้วยกันได้
“บางคนอาจจะคิดว่ามุสลิมต้องใส่ชุดดำ ปิดหน้า แต่รชาคิดว่ามันไม่ใช่ทั้งหมด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความพร้อมและเจตนารมณ์ของแต่ละบุคคล แฟชั่นไม่มีที่สิ้นสุดและการมีบุคลิกดีคือหนึ่งจากตัววัดที่ชี้ถึงความเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์แบบเช่นกัน” รชาเอ่ย
รชามีวิธีเลือกฮิญาบสามข้อ ข้อแรกคือเนื้อผ้าจะต้องไม่บางจนเห็นเส้นผมหรือใบหู เพราะผิดหลักศาสนา ข้อสองคือสีสันจะต้องสวยงาม แต่ไม่ฉูดฉาดเกินควร ข้อสามคือสะท้อนความเป็นตัวตนของเธอ เช่น มีดีไซน์ที่ทันสมัย เข้ากับชุดง่าย และปกปิดในส่วนของร่างกายได้มากที่สุด
“เราไม่ได้สมบูรณ์แบบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะรชาเริ่มต้นมาจากศูนย์ เริ่มจากการเปิดใจและเรียนรู้ใหม่ ทุกวันนี้รชาพยายามปฏิบัติตามหลักการที่ศาสนากำหนดไว้ให้ได้สมบูรณ์ที่สุด เราอยากเปลี่ยนด้วยหัวใจและความรู้สึกที่ตั้งใจจริงๆของเรา ไม่ใช่เปลี่ยนเพราะให้คนใดคนหนึ่งพอใจ แต่เปลี่ยนเพราะเราศรัทธาและแน่วแน่อย่างที่สุด รชาเริ่มพยายามจากเรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เวลาคลุมฮิญาบจะรวบผมและปกปิดไม่ให้เส้นผมเล็ดลอดออกมาจากฮิญาบ เป็นต้น ถึงแม้เรื่องนี้ สำหรับมุสลิมบางคนถือว่าเรื่องเล็กๆน้อยๆ แต่สำหรับเราการใส่ใจกับการเริ่มต้นจากจุดเล็กๆนั้นคือการเริ่มต้นที่ดี” รชากล่าวเสริม
ด้าน นูร์ฮูดา หะยึดอเล๊าะ เจ้าของร้านขายฮิญาบในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ก็เป็นอีกคนที่ชื่นชอบการแต่งตัว เธอเล่าวิธีเลือกฮิญาบของตนเองว่า เนื่องจากเธอเน้นความคล่องตัวในการสวมใส่เสื้อผ้า ในวันปกติเธอเลือกผ้าคลุมผืนใหญ่ที่สามารถคลุมส่วนบนของร่างกายจนถึงข้อมือ แทนการสวมฮิญาบสำเร็จรูป หากต้องไปออกงาน เธอก็จะเลือกสวมฮิญาบที่มีลวดลายสวยงาม ตามกระแสนิยมของหญิงสาวมุสลิม เพียงแต่จะต้องปกปิดทุกส่วนของร่างกายตามแนวทางของศาสนา ส่วนวิธีการเลือกฮิญาบมาขายในร้านนั้น นูร์ฮูดาตั้งใจเลือกแบบที่ชอบเป็นหลัก คือมีสีสันไม่ฉูดฉาด ง่ายต่อการสวมใส่และอยู่ในสมัยนิยม
ดร.อัมพร หมาดเด็น อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมุสลิมศึกษา อิสลาม วัฒนธรรมอาหรับ เพศภาวะและวัฒนธรรมศึกษาอธิบายว่า แท้จริงแล้วคำว่า “ฮิญาบ” หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Hijab” นั้น ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน แต่ในคัมภีร์อัลกุรอานมักจะปรากฏคำว่า จิลบับ (Jilbab) ซึ่งเป็นคำที่ไม่ได้ใช้ในวงกว้าง คำว่าฮิญาบนั้นปรากฏในภายหลังและมีความหมายโดยนัยสื่อถึงการเคลื่อนไหวต่อต้านอำนาจของเจ้าอาณานิคมในช่วงการปฎิวัติอิหร่านเมื่อปี พ.ศ. 2522 เพื่อที่จะยกระดับความศิวิไลซ์ในการแต่งตัวของผู้หญิงชาวอิหร่านและต้องการผู้หญิงให้ได้รับการยกย่อง
อย่างไรก็ตาม ดร.อัมพรกล่าวว่า ในคัมภีร์อัลกุรอานไม่ได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่าผู้หญิงมุสลิมในครรลองของศาสนาจะต้องสวมฮิญาบทุกคน รูปแบบในการใส่ฮิญาบจึงไม่แน่นอนตายตัว ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิงอาหรับจะใส่ผ้าคลุมสีดำปกปิดผิวทั้งหมด บางคนนำเข็มกลัดมากลัดใต้คาง หรือบางคนจะนำผ้ามาคลุมถึงส่วนของหน้าอก เพื่อปกปิดร่างกายให้มิดชิด ขณะที่ปัจจุบันมีงานวิจัยว่าฮิญาบถูกนำมาทำให้เป็นแฟชั่น เช่น นำมาโพกหัวบ้าง บางคนใส่แบบเปิดหูเพื่อให้เห็นต่างหู หรือบางคนนำมาดัดแปลงใส่เครื่องประดับลงบนฮิญาบ อย่างมงกุฎหรือที่คาดผม
นักวิชาการด้านมุสลิมศึกษาเห็นว่า เนื่องจากโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก การที่คนยังเลือกสวมฮิญาบที่มีรูปแบบและลวดลายตามกระแสแฟชั่นแสดงให้เห็นว่าคนยังใส่ใจศาสนา แต่ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงความสวยงามในโลกแฟชั่นด้วย ฉะนั้นการสวมใส่ฮิญาบก็ยังสามารถแสดงออกถึงตัวตนของผู้สวมใส่ได้หรือในอีกแง่หนึ่งอาจมองได้ว่า ผู้หญิงที่สวมฮิญาบตามกระแสแฟชั่น รวมถึงคนขายฮิญาบบนโลกออนไลน์ ต้องการสื่อสารว่าฮิญาบไม่ได้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
“บางคนค้าขายในออนไลน์ เราก็มองว่าเขาต้องการจะเผยแพร่ว่าฮิญาบไม่ได้เป็นของที่น่ากลัว ใครสวมใส่ก็ยังจะเป็นแฟชั่น มีสไตล์” ดร.อัมพรกล่าว
Share this:
Like this: