เรื่อง/ภาพ: อรอริสา ทรัพย์สมปอง
ในหลืบเร้นใต้แสงไฟนีออนจากป้ายร้านทองและภัตตาคารจีนริมถนนย่านชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนกลางกรุง ห้องแถวขนาดหนึ่งคูหาหลังหนึ่งเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์สแตนด์อะโลนเพียงแห่งเดียวที่ยังคงเปิดฉายหนังอยู่ในย่านนี้
มองดูภายนอก โรงภาพยนตร์ดังกล่าวคล้ายต้องการหลบซ่อนตัวเองจากสายตาผู้คน ป้ายชื่อเหล็กดัดหลุดแหว่งและมีกาฝากพันรก แผ่นสังกะสีซึ่งควรเป็นพื้นที่แสดงโปสเตอร์หนังที่กำลังเข้าฉายถูกแทนที่ด้วยรอยสนิมขึ้นเขรอะ มีเพียงป้ายผ้าด้านล่างเขียนว่า “ฉายวันนี้” ตามด้วยชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์ฝรั่งแนวแอ็คชั่นเกรดบีอีกสองชื่อที่สื่อสารว่าโรงภาพยนตร์ยังเปิดให้บริการอยู่
คำว่า “ควบ” ในป้ายผ้า หมายความว่าโรงภาพยนตร์แห่งนี้มีระบบการขายตั๋วแบบ “โรงหนังควบ” คือเมื่อลูกค้าซื้อตั๋วราคา 60 บาท ก็สามารถเข้าไปดูหนังได้ไม่จำกัดเวลา หนังที่ฉายก็จะมีสองเรื่อง ฉายวนไปตลอดเวลาทำการ 11.30 – 21.00 น.
ภาพยนตร์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์แห่งนี้มักเป็นภาพยนตร์ฝรั่งเกรดบี
ศักดา สิริรัตนปัญญา ผู้จัดการโรงภาพยนตร์เล่าว่า โรงภาพยนตร์แห่งนี้เคยเป็นโรงงิ้วชื่อดังมาก่อน จนกระทั่งปี 2518 จึงเปลี่ยนกิจการมาเป็นโรงภาพยนตร์ชั้นสองที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น
“ตั้งแต่ซีดี วิดีโอมา คนดูก็เริ่มน้อยลงๆ ไปเรื่อย จนทุกวันนี้อยู่กับขาประจำ มาก็เห็นหน้ากันทุกวัน ก็ยังมาดูกันทุกวันถ้าไม่เป็นอะไรไปเสียก่อน ส่วนมากก็เป็นผู้ชาย อายุ 40-70 ปี 80 ปีก็ยังมีเลย” ลุงศักดาบอก ก่อนโน้มตัวมากระซิบว่า “ส่วนมากที่มาน่ะ เป็นเกย์”
ลุงศักดาเล่าว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ลูกค้าประจำส่วนใหญ่ของโรงหนังจะเป็นผู้สูงอายุที่มีรสนิยมทางเพศแบบชายรักชาย และผู้ที่ชื่นชอบเกย์สูงอายุ ซึ่งใช้โรงภาพยนตร์เป็นสถานที่ในการพบปะ พูดคุย สังสรรค์กันเป็นประจำ
“เรียกว่า ‘พอลล่า’ ก็ได้นะ” ลูกค้าขาประจำอายุ 52 ปีที่ลุงศักดาแนะนำให้ฉันรู้จักบอก พอลล่าแต่งกายด้วยเสื้อโปโลกับกางเกงขาสั้น สวมแว่นตา ผมสีดอกเลาปกคลุมศีรษะอยู่เบาบางคล้ายชายวัยกลางคนทั่วไป แต่ท่านั่งเรียบร้อยกับรอยยิ้มอันอ่อนหวานทำให้เธอดูพิเศษจากชายวัยเดียวกัน
พอลล่าอธิบายว่าเธอมาที่นี่เป็นประจำกว่า 10 ปีแล้ว หลังทราบว่าโรงภาพยนตร์แห่งนี้เป็นที่ซึ่งชายรักชายอายุมากจะมาพบปะกัน ด้วยลักษณะท่าทางและการใช้สายตา ทำให้เธอแยกแยะคนกลุ่มนี้ออกจากคนที่มาดูหนังได้ จากนั้นหากดูภายนอกแล้วถูกใจก็จะเข้าไปทำความรู้จักมากขึ้น
“ชอบมาที่นี่เพราะมันปลอดภัย หมายความว่าจะไม่มีใครมาทำร้ายเรา แต่ถ้าเรื่องโรคภัยไข้เจ็บนี่เราก็ไม่รู้นะ เราก็ต้องป้องกันตัวเอง”
พอลล่าบอก “ส่วนตัวเราเป็นคนเปิดเผย ถ้าใครถามก็บอกว่าเราเป็นเกย์ แต่กับบางคนที่มาที่นี่ เขากล้าเปิดเผยแค่ในนี้ อยู่ข้างนอกเขาก็เป็นผู้ชาย”
ภายในโรงภาพยนตร์มืดสนิท มีเพียงแสงสลัวจากป้ายทางออกและป้ายสุขา
ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่าในอดีต เกย์และกะเทยยังไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม การพบปะกันในที่สาธารณะอาจทำให้เกิดความอับอาย หรือเสี่ยงต่อการถูกคุกคาม การนัดพบจึงต้องกระทำในพื้นที่ปิดหรือพื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่สาธารณะกึ่งปิด เช่น โรงภาพยนตร์ชั้นสอง สวนสาธารณะที่มีมุมลับตาคน ซาวน่า และสถานบันเทิงต่างๆ บางครั้งพื้นที่สาธารณะกึ่งปิดเหล่านี้ก็ยังช่วยเพิ่มความตื่นเต้นเร้าใจในการทำกิจกรรมทางเพศด้วย
อาจารย์ติณณภพจ์ชี้ว่า อีกปัจจัยที่อธิบายปรากฏการณ์การพบปะของเกย์สูงอายุที่โรงภาพยนตร์แห่งนี้ คือ วัฒนธรรมอายุนิยม (ageism) หมายถึงการมีอคติและเลือกปฏิบัติกับคนบางกลุ่มเพราะอายุเป็นเหตุ ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าวฝังรากในสังคมของไทยมาช้านาน โดยปรากฏในกลุ่มเกย์ซึ่งมีค่านิยมชอบชายอายุน้อย ยังหนุ่มแน่น รูปร่างหน้าตาหล่อเหลา จึงมีผู้ที่มีรสนิยมชอบคนสูงอายุอยู่ไม่มากนัก ทางออกของเกย์สูงอายุจึงมักหนีไม่พ้นการซื้อบริการทางเพศ หรือมิเช่นนั้นก็มองหาคู่นอนในกลุ่มอายุเดียวกัน เพราะมีเงื่อนไขและความต้องการคล้ายกัน
อาจารย์ติณณภพจ์เห็นว่า ท่ามกลางการเรียกร้องให้ลดทอนอคติทางเพศ (sexism) ซึ่งหมายถึงการเลือกปฏิบัติต่อคนอย่างไม่เท่าเทียมเพราะเพศเป็นเหตุ และการเรียกร้องให้ยอมรับความหลากหลายทางเพศ การพูดถึงการเหยียดอายุยังไม่มากพอ
“ในสื่อ เราแทบจะไม่เห็นพื้นที่ของเกย์สูงอายุเลยเวลาเราพูดถึงการยอมรับความหลากหลายทางเพศ เรามักจะตัดขาดไปเลยว่าอายุไม่เกี่ยว เราขอโฟกัสผู้มีความหลากหลายทางเพศใดๆ ซึ่งจริงๆ แล้วในหัวพวกคุณมันก็ไปไม่พ้นคนชนชั้นกลางที่เป็นวัยรุ่น วัยนักศึกษา หรือวัยทำงานเท่านั้นหรอก” อาจารย์ติณณภพจ์กล่าว
ในการทำความเข้าใจพื้นที่ของเกย์สูงอายุ ดนัย ลินจงรัตน์ ผู้อำนวยการสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย อธิบายว่า เกย์ในสังคมไทยปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 รุ่น คือ รุ่นอายุ 60 ปีขึ้นไปซึ่งเติบโตและใช้ชีวิตในยุคที่สังคมไทยยังไม่ยอมรับเกย์หรือกะเทย ต้องปกปิดตัวตนหรือมิเช่นนั้นก็ต้องต่อสู้เพื่อการยอมรับ ถัดมาคือรุ่นอายุ 30 – 60 ปี ซึ่งเติบโตมาในสังคมที่เริ่มยอมรับเกย์กะเทยได้บ้าง และรุ่นใหม่คืออายุต่ำกว่า 30 ปี เป็นเกย์ที่สามารถแสดงออกได้อย่างเปิดเผย
ดนัยกล่าวว่า “เกย์ทุกรุ่นก็ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อย่างเกย์รุ่นใหม่ๆ เขาเติบโตมาโดยเปิดเผยได้ เขาก็อาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมคุณปู่คุณตาต้องปิดบังขนาดนั้น การที่จะเข้าใจกันได้เกย์รุ่นใหม่ก็ต้องเข้าใจว่าคุณปู่คุณตาต้องผ่านการต่อสู้อะไรมาบ้าง ในขณะเดียวกันคุณตาก็อาจเรียนรู้ผ่านเด็กรุ่นใหม่ว่าสังคมตอนนี้มันเปลี่ยนไปแล้วอย่างไรบ้าง”
ดนัยเห็นว่าบรรยากาศการยอมรับความหลากหลายทางเพศในไทยในปัจจุบันถือว่าดีขึ้น แต่ก็ยังมีบางส่วนที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะเรื่องภาพในสื่อสาธารณะของผู้มีความหลากหลายทางเพศ
“สังคมไทยอนุญาตให้มีภาพเกย์กะเทยในสื่อ แต่จะต้องเป็นเกย์เยาว์วัย กล้ามแน่นเท่านั้นนะ ซึ่งในทางหนึ่งมันเป็น Propaganda (โฆษณาชวนเชื่อ) เหมือนกัน เพราะในความเป็นจริงเกย์ไม่ได้มีแบบนั้นแบบเดียว การนำเสนอแต่ภาพเกย์แบบนั้นมันทำให้เกย์กลุ่มอื่นถูกเหวี่ยงออกไปจากการรับรู้ของผู้คน” ดนัยชี้แจง
เมื่อไม่ถูกรับรู้ ทำให้ยากต่อการถูกยอมรับ เกย์สูงอายุจึงยังคงอยู่ชายขอบของสังคม ห่างไกลจากโอกาสในการชี้แจงให้สาธารณะเข้าใจความคิดความรู้สึก และการลบล้างภาพจำที่ทำให้สังคมเกลียดกลัวอันตกค้างมาจากอดีต ด้วยเหตุนั้นเกย์สูงอายุจึงต้องปิดบังและหลบซ่อนต่อไป
ประตูโรงภาพยนตร์ที่แบ่งกั้นอาณาเขตของที่พักใจแห่งนี้กับโลกภายนอก
สำหรับคู่รักทั่วไป การไปออกเดทที่โรงหนังคงจะเป็นประสบการณ์อันแสนอบอุ่นโรแมนติก แต่กับหลายชีวิตที่โรงภาพยนตร์แห่งนี้ อัตลักษณ์ทางเพศวิถี อายุ และประสบการณ์ชีวิต ทำให้การแสวงหาความรักหรือการหาใครสักคนที่จะพูดคุยเข้าอกเข้าใจกันในยามบั้นปลายชีวิต ต้องแฝงซ่อนไว้ด้วยความกลัวต่อการถูกทำร้ายและการถูกสังคมผลักไส
ทั้งๆ ที่ความรักไม่สมควรมาคู่กับความหวาดกลัว ไม่ว่ากับเพศใด หรืออายุเท่าไรก็ตามมิใช่หรือ
Like this:
Like Loading...
เรื่อง/ภาพ: อรอริสา ทรัพย์สมปอง
ในหลืบเร้นใต้แสงไฟนีออนจากป้ายร้านทองและภัตตาคารจีนริมถนนย่านชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนกลางกรุง ห้องแถวขนาดหนึ่งคูหาหลังหนึ่งเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์สแตนด์อะโลนเพียงแห่งเดียวที่ยังคงเปิดฉายหนังอยู่ในย่านนี้
มองดูภายนอก โรงภาพยนตร์ดังกล่าวคล้ายต้องการหลบซ่อนตัวเองจากสายตาผู้คน ป้ายชื่อเหล็กดัดหลุดแหว่งและมีกาฝากพันรก แผ่นสังกะสีซึ่งควรเป็นพื้นที่แสดงโปสเตอร์หนังที่กำลังเข้าฉายถูกแทนที่ด้วยรอยสนิมขึ้นเขรอะ มีเพียงป้ายผ้าด้านล่างเขียนว่า “ฉายวันนี้” ตามด้วยชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์ฝรั่งแนวแอ็คชั่นเกรดบีอีกสองชื่อที่สื่อสารว่าโรงภาพยนตร์ยังเปิดให้บริการอยู่
คำว่า “ควบ” ในป้ายผ้า หมายความว่าโรงภาพยนตร์แห่งนี้มีระบบการขายตั๋วแบบ “โรงหนังควบ” คือเมื่อลูกค้าซื้อตั๋วราคา 60 บาท ก็สามารถเข้าไปดูหนังได้ไม่จำกัดเวลา หนังที่ฉายก็จะมีสองเรื่อง ฉายวนไปตลอดเวลาทำการ 11.30 – 21.00 น.
ศักดา สิริรัตนปัญญา ผู้จัดการโรงภาพยนตร์เล่าว่า โรงภาพยนตร์แห่งนี้เคยเป็นโรงงิ้วชื่อดังมาก่อน จนกระทั่งปี 2518 จึงเปลี่ยนกิจการมาเป็นโรงภาพยนตร์ชั้นสองที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น
“ตั้งแต่ซีดี วิดีโอมา คนดูก็เริ่มน้อยลงๆ ไปเรื่อย จนทุกวันนี้อยู่กับขาประจำ มาก็เห็นหน้ากันทุกวัน ก็ยังมาดูกันทุกวันถ้าไม่เป็นอะไรไปเสียก่อน ส่วนมากก็เป็นผู้ชาย อายุ 40-70 ปี 80 ปีก็ยังมีเลย” ลุงศักดาบอก ก่อนโน้มตัวมากระซิบว่า “ส่วนมากที่มาน่ะ เป็นเกย์”
ลุงศักดาเล่าว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ลูกค้าประจำส่วนใหญ่ของโรงหนังจะเป็นผู้สูงอายุที่มีรสนิยมทางเพศแบบชายรักชาย และผู้ที่ชื่นชอบเกย์สูงอายุ ซึ่งใช้โรงภาพยนตร์เป็นสถานที่ในการพบปะ พูดคุย สังสรรค์กันเป็นประจำ
“เรียกว่า ‘พอลล่า’ ก็ได้นะ” ลูกค้าขาประจำอายุ 52 ปีที่ลุงศักดาแนะนำให้ฉันรู้จักบอก พอลล่าแต่งกายด้วยเสื้อโปโลกับกางเกงขาสั้น สวมแว่นตา ผมสีดอกเลาปกคลุมศีรษะอยู่เบาบางคล้ายชายวัยกลางคนทั่วไป แต่ท่านั่งเรียบร้อยกับรอยยิ้มอันอ่อนหวานทำให้เธอดูพิเศษจากชายวัยเดียวกัน
พอลล่าอธิบายว่าเธอมาที่นี่เป็นประจำกว่า 10 ปีแล้ว หลังทราบว่าโรงภาพยนตร์แห่งนี้เป็นที่ซึ่งชายรักชายอายุมากจะมาพบปะกัน ด้วยลักษณะท่าทางและการใช้สายตา ทำให้เธอแยกแยะคนกลุ่มนี้ออกจากคนที่มาดูหนังได้ จากนั้นหากดูภายนอกแล้วถูกใจก็จะเข้าไปทำความรู้จักมากขึ้น
พอลล่าบอก “ส่วนตัวเราเป็นคนเปิดเผย ถ้าใครถามก็บอกว่าเราเป็นเกย์ แต่กับบางคนที่มาที่นี่ เขากล้าเปิดเผยแค่ในนี้ อยู่ข้างนอกเขาก็เป็นผู้ชาย”
ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่าในอดีต เกย์และกะเทยยังไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม การพบปะกันในที่สาธารณะอาจทำให้เกิดความอับอาย หรือเสี่ยงต่อการถูกคุกคาม การนัดพบจึงต้องกระทำในพื้นที่ปิดหรือพื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่สาธารณะกึ่งปิด เช่น โรงภาพยนตร์ชั้นสอง สวนสาธารณะที่มีมุมลับตาคน ซาวน่า และสถานบันเทิงต่างๆ บางครั้งพื้นที่สาธารณะกึ่งปิดเหล่านี้ก็ยังช่วยเพิ่มความตื่นเต้นเร้าใจในการทำกิจกรรมทางเพศด้วย
อาจารย์ติณณภพจ์ชี้ว่า อีกปัจจัยที่อธิบายปรากฏการณ์การพบปะของเกย์สูงอายุที่โรงภาพยนตร์แห่งนี้ คือ วัฒนธรรมอายุนิยม (ageism) หมายถึงการมีอคติและเลือกปฏิบัติกับคนบางกลุ่มเพราะอายุเป็นเหตุ ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าวฝังรากในสังคมของไทยมาช้านาน โดยปรากฏในกลุ่มเกย์ซึ่งมีค่านิยมชอบชายอายุน้อย ยังหนุ่มแน่น รูปร่างหน้าตาหล่อเหลา จึงมีผู้ที่มีรสนิยมชอบคนสูงอายุอยู่ไม่มากนัก ทางออกของเกย์สูงอายุจึงมักหนีไม่พ้นการซื้อบริการทางเพศ หรือมิเช่นนั้นก็มองหาคู่นอนในกลุ่มอายุเดียวกัน เพราะมีเงื่อนไขและความต้องการคล้ายกัน
อาจารย์ติณณภพจ์เห็นว่า ท่ามกลางการเรียกร้องให้ลดทอนอคติทางเพศ (sexism) ซึ่งหมายถึงการเลือกปฏิบัติต่อคนอย่างไม่เท่าเทียมเพราะเพศเป็นเหตุ และการเรียกร้องให้ยอมรับความหลากหลายทางเพศ การพูดถึงการเหยียดอายุยังไม่มากพอ
ในการทำความเข้าใจพื้นที่ของเกย์สูงอายุ ดนัย ลินจงรัตน์ ผู้อำนวยการสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย อธิบายว่า เกย์ในสังคมไทยปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 รุ่น คือ รุ่นอายุ 60 ปีขึ้นไปซึ่งเติบโตและใช้ชีวิตในยุคที่สังคมไทยยังไม่ยอมรับเกย์หรือกะเทย ต้องปกปิดตัวตนหรือมิเช่นนั้นก็ต้องต่อสู้เพื่อการยอมรับ ถัดมาคือรุ่นอายุ 30 – 60 ปี ซึ่งเติบโตมาในสังคมที่เริ่มยอมรับเกย์กะเทยได้บ้าง และรุ่นใหม่คืออายุต่ำกว่า 30 ปี เป็นเกย์ที่สามารถแสดงออกได้อย่างเปิดเผย
ดนัยกล่าวว่า “เกย์ทุกรุ่นก็ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อย่างเกย์รุ่นใหม่ๆ เขาเติบโตมาโดยเปิดเผยได้ เขาก็อาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมคุณปู่คุณตาต้องปิดบังขนาดนั้น การที่จะเข้าใจกันได้เกย์รุ่นใหม่ก็ต้องเข้าใจว่าคุณปู่คุณตาต้องผ่านการต่อสู้อะไรมาบ้าง ในขณะเดียวกันคุณตาก็อาจเรียนรู้ผ่านเด็กรุ่นใหม่ว่าสังคมตอนนี้มันเปลี่ยนไปแล้วอย่างไรบ้าง”
ดนัยเห็นว่าบรรยากาศการยอมรับความหลากหลายทางเพศในไทยในปัจจุบันถือว่าดีขึ้น แต่ก็ยังมีบางส่วนที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะเรื่องภาพในสื่อสาธารณะของผู้มีความหลากหลายทางเพศ
เมื่อไม่ถูกรับรู้ ทำให้ยากต่อการถูกยอมรับ เกย์สูงอายุจึงยังคงอยู่ชายขอบของสังคม ห่างไกลจากโอกาสในการชี้แจงให้สาธารณะเข้าใจความคิดความรู้สึก และการลบล้างภาพจำที่ทำให้สังคมเกลียดกลัวอันตกค้างมาจากอดีต ด้วยเหตุนั้นเกย์สูงอายุจึงต้องปิดบังและหลบซ่อนต่อไป
สำหรับคู่รักทั่วไป การไปออกเดทที่โรงหนังคงจะเป็นประสบการณ์อันแสนอบอุ่นโรแมนติก แต่กับหลายชีวิตที่โรงภาพยนตร์แห่งนี้ อัตลักษณ์ทางเพศวิถี อายุ และประสบการณ์ชีวิต ทำให้การแสวงหาความรักหรือการหาใครสักคนที่จะพูดคุยเข้าอกเข้าใจกันในยามบั้นปลายชีวิต ต้องแฝงซ่อนไว้ด้วยความกลัวต่อการถูกทำร้ายและการถูกสังคมผลักไส
ทั้งๆ ที่ความรักไม่สมควรมาคู่กับความหวาดกลัว ไม่ว่ากับเพศใด หรืออายุเท่าไรก็ตามมิใช่หรือ
Share this:
Like this: