เรื่อง/ภาพ: ศุภจิต ภัทรจิรากุล
“มันไม่ได้เป็นประเทศที่เราคิดว่าอยากจะมาอยู่ หรือต้องมาใช้ชีวิตอยู่ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว แต่พอเราได้หมายฯ ของคดีวันที่ 16 ม.ค. เราไม่มีเวลาเตรียมตัวอะไรเลย หลังจากเก็บเสื้อผ้าภายในไม่กี่ชั่วโมง แล้วเราก็บินเลย พอมาถึงเกาหลี เราช็อกทุกอย่าง ตั้งแต่ภาษา วัฒนธรรม คน ตั้งแต่มาถึงสนามบินอินชอน เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราต้องไปที่ไหนต่อ”
ชนกนันท์ รวมทรัพย์ หรือ การ์ตูน นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยวัย 25 ปี เล่าถึงช่วงที่ต้องตัดสินใจลี้ภัยไปต่างประเทศ หลังได้รับหมายเรียกผู้ต้องหาในวันที่ 16 ม.ค. 2561 ด้วยข้อกล่าวหากระทำผิดในมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา จากการส่งต่อข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากสำนักข่าวบีบีซีไทยในเฟซบุ๊ก เช่นเดียวกับจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ที่ถูกตัดสินจำคุกห้าปี แต่ภายหลังไผ่รับสารภาพจึงลดโทษลงกึ่งหนึ่งเหลือสองปีหกเดือน
แรกเริ่มที่หลุดลอย
กว่าสิบเดือนของการลี้ภัยไปอยู่ที่เกาหลีใต้ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่หลายคนคิด การ์ตูนต้องปรับตัวกับภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่าง อีกทั้งยังต้องจัดการหลักฐานเอกสารเพื่อขอสถานะผู้ลี้ภัย (Refugee) ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน ในช่วงแรกเธอมีเพียงวีซ่าท่องเที่ยวระยะสั้นที่สามารถอาศัยในประเทศได้เพียง 90 วันเท่านั้น เมื่อใกล้ครบกำหนดเธอต้องยื่นส่งเอกสารขอวีซ่าผู้ลี้ภัย (G-1 Visa) เพื่อเปลี่ยนสถานะเป็นผู้แสวงหาที่ลี้ภัย (Asylum Seeker) และรอการพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัยเต็มตัวจากกระทรวงยุติธรรมของเกาหลีใต้ในขั้นต่อไป

แม้สถานะผู้แสวงหาที่ลี้ภัยจะช่วยให้เธอสามารถอยู่ในเกาหลีใต้ได้ไม่จำกัดระยะเวลาจนกว่าการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยถูกอนุมัติหรือปฏิเสธ แต่สถานะดังกล่าวทำให้เธอได้รับสิทธิคุ้มครองจากรัฐที่จำกัดและไม่อาจเทียบเท่าพลเมืองได้ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพจนกว่าจะถือครองวีซ่าผู้ลี้ภัยครบหกเดือน และไม่ได้รับสิทธิประกันสุขภาพ (Health Insurance) ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยจึงต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเต็มจำนวน การ์ตูนเล่าว่าเพื่อนของเธอเคยพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลาสองคืน แต่ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพเลยต้องจ่ายค่ารักษาทั้งหมดกว่า 30,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่แพงมากสำหรับผู้ที่ยังไม่สามารถหารายได้ได้
หลังจากขอวีซ่าผู้ลี้ภัยแล้ว การ์ตูนไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่านักเรียนและนักศึกษาได้อีก เธอจึงไม่สามารถเรียนภาษาเกาหลีหรือขอรับทุนการศึกษาใดได้ ยิ่งกว่านั้น ปัญหาคนต่างชาติลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศยังทำให้คนเกาหลีใต้หลายคนเข้าใจผิดว่าผู้แสวงหาที่ลี้ภัย หรือผู้ถือวีซ่าลี้ภัยทุกคนเป็นแรงงานผิดกฎหมาย จึงไม่ยอมรับคนเหล่านี้ ทั้งยังส่งผลให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบหลักฐานทั้งหมดของผู้ยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัย
ตามกระบวนการขอสถานะผู้ลี้ภัย ผู้ขอสถานะจะต้องยื่นเอกสารและหลักฐานให้แก่ตม. และผ่านการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่ ก่อนส่งข้อมูลให้คณะกรรมการพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยของเกาหลีใต้ เนื่องจากประเทศนี้มีกฎหมายการดูแลผู้ลี้ภัยที่กำหนดขึ้นเองและไม่ได้ขึ้นกับข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) หากตม. ไม่อนุมัติ ผู้ขอสถานะสามารถยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาได้โดยผ่านศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ซึ่งการพิจารณาของแต่ละชั้นศาลจะใช้เวลาหนึ่งปี รวมเวลาสามปีในการผ่านกระบวนการศาลทั้งหมด แรงงานผิดกฎหมายจึงมักใช้โอกาสนี้ในการลักลอบทำงาน
“แรงงานไทยที่เข้ามาแบบผิดกฎหมาย เขายื่นขอสถานะผู้ลี้ภัย แต่ว่าจริงๆ เขาไม่ได้เป็นผู้ลี้ภัย มีจำนวนเยอะมากที่ยื่นไป แล้วมันสร้างความเกลียดชังและสับสนในสังคมเกาหลีว่าพวกที่ยื่นสถานะลี้ภัยเป็นพวกแรงงานเถื่อนผิดกฎหมาย แต่ว่าอยากจะทำงานต่อ อยากอยู่ต่อได้” การ์ตูนกล่าว
คนตัวเล็กในต่างแดน
ในมุมมองของการ์ตูน เกาหลีใต้ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในการลี้ภัย เพราะสังคมที่นี่ยังไม่เปิดรับผู้ลี้ภัยหรือชาวต่างชาติ โอกาสในการอนุมัติสถานะผู้ลี้ภัยจึงยิ่งน้อยลง รายงานของฮิวแมนไรตส์วอตช์ (Human Rights Watch) พบว่า ช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2560 มีใบยื่นคำร้องขอสถานะผู้ลี้ภัยในเกาหลีใต้จำนวน 7,291 ใบ แต่มีเพียง 96 ใบหรือร้อยละ 1.31 เท่านั้นที่ได้รับการอนุมัติสถานะจากรัฐบาล
การใช้ชีวิตในเกาหลีใต้ยังลำบากเพราะมีปัญหาเรื่องการแบ่งแยกเชื้อชาติ การ์ตูนบอกว่าเธอเคยถูกปฏิเสธการให้บริการจากร้านค้าเพราะเธอพูดภาษาอังกฤษและไม่ใช่คนเกาหลี แต่หนึ่งในความโชคดี คือเธอได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวเรื่องประชาธิปไตยของเกาหลีใต้ในการช่วยประสานงานเรื่องการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยและให้ที่พักอาศัยในระยะแรก เธอยังบอกอีกว่าหากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากองค์กรนี้ ชีวิตในต่างแดนของเธอคงลำบากกว่านี้
เรื่องราวการขอลี้ภัยในเกาหลีใต้ของการ์ตูนได้รับความสนใจจากกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในประเทศ จนมีนักข่าวจากหนังสือพิมพ์การเมืองฮันคยอแร (Hankyoreh) มาสัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การเมืองไทยและการลี้ภัยของเธอ หลังจากนั้น นักข่าวคนเดิมได้เดินทางมาทำข่าวครบรอบสี่ปีรัฐประหารที่ไทย จนได้ข้อมูลเกี่ยวกับบริบทการเมืองไทยมากขึ้น เขาจึงติดต่อขอสัมภาษณ์เธออีกครั้งด้วยคำถามที่เจาะลึกกว่าเดิม เมื่อบทสัมภาษณ์ชิ้นล่าสุดเผยแพร่ออกไป การ์ตูนได้กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นในกลุ่มคนเกาหลีใต้รวมถึงเจ้าหน้าที่ตม. ถึงบทบาทนักเคลื่อนไหวทางการเมืองของเธอ
ทว่าหลังบทสัมภาษณ์เผยแพร่ไม่นาน ชาวเกาหลีใต้หลายพันคนในกรุงโซลก็ออกมาประท้วงการรับผู้ลี้ภัยชาวเยเมนและชาวมุสลิมบนเกาะเจจู โดยเฉพาะแกนนำกลุ่มกลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรีที่กลัวว่าผู้ลี้ภัยจะมาแย่งงานและก่ออาชญากรรมทางเพศ เจ้าหน้าที่ตม. เกาหลีใต้จึงเร่งสัมภาษณ์ชาวเยเมนเพื่อปฏิเสธการขอสถานะผู้ลี้ภัย ทำให้การ์ตูนต้องรอเรียกสัมภาษณ์การขอสถานะผู้ลี้ภัยอย่างไม่มีกำหนด ทั้งที่ในตอนนั้นเธอยื่นเอกสารขอสถานะผู้ลี้ภัยมาสามเดือนแล้ว จากกำหนดการของตม. ที่จะเรียกสัมภาษณ์ภายในหกเดือน
“เราถูกเหมารวมไปแล้วว่าผู้ลี้ภัยต้องมาจากประเทศที่มีสงคราม เขาไม่มีคำว่าผู้ลี้ภัยทางการเมืองในหัว เขามีผู้ลี้ภัยแบบเกิดสงครามกลางเมืองแล้วอยู่บ้านไม่ได้ต้องโดนระเบิดตายแล้วก็มาที่เกาหลี” การ์ตูนกล่าว
การ์ตูนบอกว่า ถึงการกีดกันผู้แสวงหาที่ลี้ภัยในประเทศนี้จะทำให้การใช้ชีวิตยากลำบาก แต่พวกเขากลับไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิใดๆ ได้ เพราะมีจำนวนไม่มากนัก ทั้งยังมีอุปสรรคทางการสื่อสาร เธออธิบายว่า ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยส่วนใหญ่เลือกเดินทางไปประเทศที่สาม จนเหลือเพียงไม่กี่ร้อยคนเท่านั้นที่เลือกอยู่ต่อในเกาหลีใต้ อีกทั้งพวกเขามาจากหลายประเทศ จึงยากต่อการเรียกร้องหรือสื่อสารกับทางการเกาหลีใต้ ดังเช่น ในเมืองที่การ์ตูนอาศัยอยู่นั้นมีเธอเป็นคนไทยเพียงคนเดียวท่ามกลางผู้แสวงหาที่ลี้ภัยที่มาจากแอฟริกาและประเทศในกลุ่มอาเซียนอีกประมาณ 400 คน ซึ่งบางคนพูดภาษาเกาหลีและภาษาอังกฤษไม่ได้ด้วยซ้ำ
ฝากหวังถึงสักวันหนึ่ง
การรอคอยของการ์ตูนสิ้นสุดลงแล้ว เธอเริ่มใช้ชีวิตในสถานะ “ผู้ลี้ภัย” อย่างเต็มตัวเมื่อ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังจากนี้เธอต้องยื่นเอกสารขอวีซ่าผู้พำนักอาศัยระยะยาว (F-2 Visa) ซึ่งจะทำให้เธอสามารถเรียนในมหาวิทยาลัยหรือทำงานในเกาหลีใต้ได้อย่างถูกกฎหมาย
การ์ตูนยังคงไม่ทิ้งบทบาทการเป็นนักเคลื่อนไหว เธอบอกว่า เธออยากเป็นนักกิจกรรมเพื่อความเท่าเทียมทางเพศของเพศทางเลือก และสิทธิของผู้ลี้ภัยในเกาหลีใต้ เพียงแต่เธอต้องเรียนภาษาเกาหลีให้ชำนาญกว่านี้จึงจะสามารถทำงานดังที่หวังได้
ช่วงที่ผ่านมา เธอได้เข้าร่วมกิจกรรมการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศกับสิทธิผู้ลี้ภัยในเกาหลีใต้โดยไม่ถูกทนายห้ามทั้งที่ไม่ใช่พลเมือง เธอยังใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางบอกเล่าเรื่องราวความเป็นอยู่ขณะลี้ภัยที่เกาหลีใต้และแสดงความเห็นต่อการเมืองไทย แม้ก่อนหน้านี้จะมีคนในประเทศบ้านเกิดของเธอเตือนว่าให้หยุดเคลื่อนไหวและอย่าเปิดเผยตัวตนก็ตาม
“มีแต่คนในไทยที่พูดไม่ได้ แต่เนื่องจากว่าคุณพูดไม่ได้ ทำไมคุณต้องมาห้ามเราด้วย เราโดนคดีมาแล้ว เราหนีออกจากประเทศแล้ว เราควรจะแบกรับหน้าที่ตรงนี้ด้วยซ้ำ ในเมื่อเราลี้ภัยมา หน้าที่ในการพูดเรื่องนี้ต้องเป็นของเรา มันเป็นเรื่องที่เราทำได้มากกว่าคนที่อยู่ในไทย” การ์ตูนกล่าว
ถึงอย่างนั้น การ์ตูนก็ยังไม่หมดหวังกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทย
“เราหวังมากกว่านั้นด้วยซ้ำ เราหวังว่าเราจะได้กลับบ้านก่อนจะหมดอายุความ เราจะสามารถกลับไทยได้ ณ ปัจจุบันนี้เราสามารถกลับไทยได้ก็ต่อเมื่อ 15 ปีผ่านไป แต่เรายังมีความหวังว่าเราสามารถกลับได้ก่อนหน้านั้น ประเทศเราจะเปลี่ยนก่อน 15 ปี” การ์ตูนกล่าว

Like this:
Like Loading...
เรื่อง/ภาพ: ศุภจิต ภัทรจิรากุล
“มันไม่ได้เป็นประเทศที่เราคิดว่าอยากจะมาอยู่ หรือต้องมาใช้ชีวิตอยู่ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว แต่พอเราได้หมายฯ ของคดีวันที่ 16 ม.ค. เราไม่มีเวลาเตรียมตัวอะไรเลย หลังจากเก็บเสื้อผ้าภายในไม่กี่ชั่วโมง แล้วเราก็บินเลย พอมาถึงเกาหลี เราช็อกทุกอย่าง ตั้งแต่ภาษา วัฒนธรรม คน ตั้งแต่มาถึงสนามบินอินชอน เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราต้องไปที่ไหนต่อ”
ชนกนันท์ รวมทรัพย์ หรือ การ์ตูน นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยวัย 25 ปี เล่าถึงช่วงที่ต้องตัดสินใจลี้ภัยไปต่างประเทศ หลังได้รับหมายเรียกผู้ต้องหาในวันที่ 16 ม.ค. 2561 ด้วยข้อกล่าวหากระทำผิดในมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา จากการส่งต่อข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากสำนักข่าวบีบีซีไทยในเฟซบุ๊ก เช่นเดียวกับจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ที่ถูกตัดสินจำคุกห้าปี แต่ภายหลังไผ่รับสารภาพจึงลดโทษลงกึ่งหนึ่งเหลือสองปีหกเดือน
แรกเริ่มที่หลุดลอย
กว่าสิบเดือนของการลี้ภัยไปอยู่ที่เกาหลีใต้ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่หลายคนคิด การ์ตูนต้องปรับตัวกับภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่าง อีกทั้งยังต้องจัดการหลักฐานเอกสารเพื่อขอสถานะผู้ลี้ภัย (Refugee) ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน ในช่วงแรกเธอมีเพียงวีซ่าท่องเที่ยวระยะสั้นที่สามารถอาศัยในประเทศได้เพียง 90 วันเท่านั้น เมื่อใกล้ครบกำหนดเธอต้องยื่นส่งเอกสารขอวีซ่าผู้ลี้ภัย (G-1 Visa) เพื่อเปลี่ยนสถานะเป็นผู้แสวงหาที่ลี้ภัย (Asylum Seeker) และรอการพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัยเต็มตัวจากกระทรวงยุติธรรมของเกาหลีใต้ในขั้นต่อไป
แม้สถานะผู้แสวงหาที่ลี้ภัยจะช่วยให้เธอสามารถอยู่ในเกาหลีใต้ได้ไม่จำกัดระยะเวลาจนกว่าการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยถูกอนุมัติหรือปฏิเสธ แต่สถานะดังกล่าวทำให้เธอได้รับสิทธิคุ้มครองจากรัฐที่จำกัดและไม่อาจเทียบเท่าพลเมืองได้ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพจนกว่าจะถือครองวีซ่าผู้ลี้ภัยครบหกเดือน และไม่ได้รับสิทธิประกันสุขภาพ (Health Insurance) ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยจึงต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเต็มจำนวน การ์ตูนเล่าว่าเพื่อนของเธอเคยพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลาสองคืน แต่ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพเลยต้องจ่ายค่ารักษาทั้งหมดกว่า 30,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่แพงมากสำหรับผู้ที่ยังไม่สามารถหารายได้ได้
หลังจากขอวีซ่าผู้ลี้ภัยแล้ว การ์ตูนไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่านักเรียนและนักศึกษาได้อีก เธอจึงไม่สามารถเรียนภาษาเกาหลีหรือขอรับทุนการศึกษาใดได้ ยิ่งกว่านั้น ปัญหาคนต่างชาติลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศยังทำให้คนเกาหลีใต้หลายคนเข้าใจผิดว่าผู้แสวงหาที่ลี้ภัย หรือผู้ถือวีซ่าลี้ภัยทุกคนเป็นแรงงานผิดกฎหมาย จึงไม่ยอมรับคนเหล่านี้ ทั้งยังส่งผลให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบหลักฐานทั้งหมดของผู้ยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัย
ตามกระบวนการขอสถานะผู้ลี้ภัย ผู้ขอสถานะจะต้องยื่นเอกสารและหลักฐานให้แก่ตม. และผ่านการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่ ก่อนส่งข้อมูลให้คณะกรรมการพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยของเกาหลีใต้ เนื่องจากประเทศนี้มีกฎหมายการดูแลผู้ลี้ภัยที่กำหนดขึ้นเองและไม่ได้ขึ้นกับข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) หากตม. ไม่อนุมัติ ผู้ขอสถานะสามารถยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาได้โดยผ่านศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ซึ่งการพิจารณาของแต่ละชั้นศาลจะใช้เวลาหนึ่งปี รวมเวลาสามปีในการผ่านกระบวนการศาลทั้งหมด แรงงานผิดกฎหมายจึงมักใช้โอกาสนี้ในการลักลอบทำงาน
คนตัวเล็กในต่างแดน
ในมุมมองของการ์ตูน เกาหลีใต้ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในการลี้ภัย เพราะสังคมที่นี่ยังไม่เปิดรับผู้ลี้ภัยหรือชาวต่างชาติ โอกาสในการอนุมัติสถานะผู้ลี้ภัยจึงยิ่งน้อยลง รายงานของฮิวแมนไรตส์วอตช์ (Human Rights Watch) พบว่า ช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคม 2560 มีใบยื่นคำร้องขอสถานะผู้ลี้ภัยในเกาหลีใต้จำนวน 7,291 ใบ แต่มีเพียง 96 ใบหรือร้อยละ 1.31 เท่านั้นที่ได้รับการอนุมัติสถานะจากรัฐบาล
การใช้ชีวิตในเกาหลีใต้ยังลำบากเพราะมีปัญหาเรื่องการแบ่งแยกเชื้อชาติ การ์ตูนบอกว่าเธอเคยถูกปฏิเสธการให้บริการจากร้านค้าเพราะเธอพูดภาษาอังกฤษและไม่ใช่คนเกาหลี แต่หนึ่งในความโชคดี คือเธอได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวเรื่องประชาธิปไตยของเกาหลีใต้ในการช่วยประสานงานเรื่องการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยและให้ที่พักอาศัยในระยะแรก เธอยังบอกอีกว่าหากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากองค์กรนี้ ชีวิตในต่างแดนของเธอคงลำบากกว่านี้
เรื่องราวการขอลี้ภัยในเกาหลีใต้ของการ์ตูนได้รับความสนใจจากกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในประเทศ จนมีนักข่าวจากหนังสือพิมพ์การเมืองฮันคยอแร (Hankyoreh) มาสัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การเมืองไทยและการลี้ภัยของเธอ หลังจากนั้น นักข่าวคนเดิมได้เดินทางมาทำข่าวครบรอบสี่ปีรัฐประหารที่ไทย จนได้ข้อมูลเกี่ยวกับบริบทการเมืองไทยมากขึ้น เขาจึงติดต่อขอสัมภาษณ์เธออีกครั้งด้วยคำถามที่เจาะลึกกว่าเดิม เมื่อบทสัมภาษณ์ชิ้นล่าสุดเผยแพร่ออกไป การ์ตูนได้กลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นในกลุ่มคนเกาหลีใต้รวมถึงเจ้าหน้าที่ตม. ถึงบทบาทนักเคลื่อนไหวทางการเมืองของเธอ
ทว่าหลังบทสัมภาษณ์เผยแพร่ไม่นาน ชาวเกาหลีใต้หลายพันคนในกรุงโซลก็ออกมาประท้วงการรับผู้ลี้ภัยชาวเยเมนและชาวมุสลิมบนเกาะเจจู โดยเฉพาะแกนนำกลุ่มกลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรีที่กลัวว่าผู้ลี้ภัยจะมาแย่งงานและก่ออาชญากรรมทางเพศ เจ้าหน้าที่ตม. เกาหลีใต้จึงเร่งสัมภาษณ์ชาวเยเมนเพื่อปฏิเสธการขอสถานะผู้ลี้ภัย ทำให้การ์ตูนต้องรอเรียกสัมภาษณ์การขอสถานะผู้ลี้ภัยอย่างไม่มีกำหนด ทั้งที่ในตอนนั้นเธอยื่นเอกสารขอสถานะผู้ลี้ภัยมาสามเดือนแล้ว จากกำหนดการของตม. ที่จะเรียกสัมภาษณ์ภายในหกเดือน
“เราถูกเหมารวมไปแล้วว่าผู้ลี้ภัยต้องมาจากประเทศที่มีสงคราม เขาไม่มีคำว่าผู้ลี้ภัยทางการเมืองในหัว เขามีผู้ลี้ภัยแบบเกิดสงครามกลางเมืองแล้วอยู่บ้านไม่ได้ต้องโดนระเบิดตายแล้วก็มาที่เกาหลี” การ์ตูนกล่าว
การ์ตูนบอกว่า ถึงการกีดกันผู้แสวงหาที่ลี้ภัยในประเทศนี้จะทำให้การใช้ชีวิตยากลำบาก แต่พวกเขากลับไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิใดๆ ได้ เพราะมีจำนวนไม่มากนัก ทั้งยังมีอุปสรรคทางการสื่อสาร เธออธิบายว่า ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยส่วนใหญ่เลือกเดินทางไปประเทศที่สาม จนเหลือเพียงไม่กี่ร้อยคนเท่านั้นที่เลือกอยู่ต่อในเกาหลีใต้ อีกทั้งพวกเขามาจากหลายประเทศ จึงยากต่อการเรียกร้องหรือสื่อสารกับทางการเกาหลีใต้ ดังเช่น ในเมืองที่การ์ตูนอาศัยอยู่นั้นมีเธอเป็นคนไทยเพียงคนเดียวท่ามกลางผู้แสวงหาที่ลี้ภัยที่มาจากแอฟริกาและประเทศในกลุ่มอาเซียนอีกประมาณ 400 คน ซึ่งบางคนพูดภาษาเกาหลีและภาษาอังกฤษไม่ได้ด้วยซ้ำ
ฝากหวังถึงสักวันหนึ่ง
การรอคอยของการ์ตูนสิ้นสุดลงแล้ว เธอเริ่มใช้ชีวิตในสถานะ “ผู้ลี้ภัย” อย่างเต็มตัวเมื่อ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังจากนี้เธอต้องยื่นเอกสารขอวีซ่าผู้พำนักอาศัยระยะยาว (F-2 Visa) ซึ่งจะทำให้เธอสามารถเรียนในมหาวิทยาลัยหรือทำงานในเกาหลีใต้ได้อย่างถูกกฎหมาย
การ์ตูนยังคงไม่ทิ้งบทบาทการเป็นนักเคลื่อนไหว เธอบอกว่า เธออยากเป็นนักกิจกรรมเพื่อความเท่าเทียมทางเพศของเพศทางเลือก และสิทธิของผู้ลี้ภัยในเกาหลีใต้ เพียงแต่เธอต้องเรียนภาษาเกาหลีให้ชำนาญกว่านี้จึงจะสามารถทำงานดังที่หวังได้
ช่วงที่ผ่านมา เธอได้เข้าร่วมกิจกรรมการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศกับสิทธิผู้ลี้ภัยในเกาหลีใต้โดยไม่ถูกทนายห้ามทั้งที่ไม่ใช่พลเมือง เธอยังใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางบอกเล่าเรื่องราวความเป็นอยู่ขณะลี้ภัยที่เกาหลีใต้และแสดงความเห็นต่อการเมืองไทย แม้ก่อนหน้านี้จะมีคนในประเทศบ้านเกิดของเธอเตือนว่าให้หยุดเคลื่อนไหวและอย่าเปิดเผยตัวตนก็ตาม
ถึงอย่างนั้น การ์ตูนก็ยังไม่หมดหวังกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทย
“เราหวังมากกว่านั้นด้วยซ้ำ เราหวังว่าเราจะได้กลับบ้านก่อนจะหมดอายุความ เราจะสามารถกลับไทยได้ ณ ปัจจุบันนี้เราสามารถกลับไทยได้ก็ต่อเมื่อ 15 ปีผ่านไป แต่เรายังมีความหวังว่าเราสามารถกลับได้ก่อนหน้านั้น ประเทศเราจะเปลี่ยนก่อน 15 ปี” การ์ตูนกล่าว
Share this:
Like this: