เรื่อง: วัศพล โอภาสวัฒนกุล
ภาพ: เมธาวจี สาระคุณ
เทคโนโลยีถ่ายทอดสดทางโซเชียลมีเดียทำให้การขายของเป็นเรื่องสะดวกสบายมากขึ้น เพราะไม่ว่าอยู่ที่ไหน ผู้ค้าก็สามารถขายของได้ ขณะเดียวกัน การที่พ่อค้าแม่ค้าพูดจากับลูกค้าด้วยภาษาเป็นกันเองผ่านการถ่ายทอดสด รวมไปถึงการใช้สรรพนามกู-มึง ใช้คำสบถและคำหยาบคาย ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน
วิทยานิพนธ์เรื่อง การวิเคราะห์เนื้อหาทางด้านเพศ การใช้ภาษา ความรุนแรง ภาพตัวแทน และการเปิดรับ และทัศนคติที่มีต่อการถ่ายทอดสดบนเฟซบุ๊ก โดย ณัฐธิดา แขวงสวัสดิ์ จากคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อปี 2560 เผยผลการสำรวจผู้ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊ก จำนวน 930 คน พบการถ่ายทอดที่แสดงออกด้านเพศไม่เหมาะสมมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ การถ่ายทอดสดที่มีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม และเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง
ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ ระบุว่า ผู้ขายของออนไลน์ในปัจจุบัน พูดจาไม่สุภาพกับลูกค้าผ่านการถ่ายทอดสดมากขึ้น ตามกระแสความนิยมที่มีต่อ ณัฐนัน ต้นศึกษา หรือ เจ๊น้ำ แม่ค้าขายเสื้อผ้า ผู้โด่งดังจากการโชว์ลีลาการขายของที่ไม่เหมือนใครผ่านการถ่ายทอดสดบนเฟซบุ๊ก
“เท่าที่เห็นตอนนี้ก็ (มีจำนวน) มากขึ้นจริง มันคงเป็นกระแส พูดหยาบขายของ ดูเป็นคนตรงๆ ใจๆ ขายของได้ คนซื้อคงชอบ โดยเฉพาะคนต่างจังหวัด จะชอบ (เพราะ) เห็นว่ามันตลก” ณัฐธิดากล่าว
นภัสรา อิธิสรางกุล ผู้ขายของออนไลน์ทางเฟซบุ๊ก กล่าวว่า ส่วนตัวเป็นคนพูดจาภาษายุคพ่อขุนรามฯ กับคนรอบข้างอยู่แล้ว ลูกค้าที่เข้ามาดูการถ่ายทอดสดส่วนใหญ่เป็นคนรอบข้าง จึงเลือกใช้ภาษาแบบนี้กับลูกค้า แต่กับลูกค้าใหม่ เธอจะบอกล่วงหน้าว่าเป็นคนเช่นนี้ ซึ่งเธอคิดว่าการพูดกับลูกค้าในลักษณะดังกล่าวให้ความรู้สึกสนิทชิดเชื้อ และลูกค้าส่วนใหญ่ก็ชอบ เพราะไม่เหมือนเวลาคุยกับแม่ค้าทั่วไป อีกทั้งสมัยนี้การใช้คำพูดหยาบคายก็เป็นกระแสนิยม
“อย่างเจ๊น้ำจะเป็นคำพูดประมาณ ‘มึงอย่างงั้น มึงอย่างนี้’ มันกลายเป็นว่าเหมือนเราสนิทกัน คุยกันแบบตลกๆ ไม่ได้ด่าแบบจริงจัง” นภัสรากล่าว
เธอยอมรับว่า การขายของด้วยการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่เยาวชน แต่คนไม่ได้เปิดรับภาษาหยาบคายจากการชมการถ่ายทอดสดเพียงอย่างเดียว เพราะมีการใช้ภาษาหยาบคายในช่องทางอื่นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นทางโซเชียลมีเดียหรือการพูดคุยกับเพื่อนฝูง
เสารส เณรคล้าย นักศึกษาวัย 18 ปี หนึ่งในลูกค้าประจำของนภัสรา กล่าวว่า ไม่มีปัญหากับการที่แม่ค้าพูดจาหยาบคาย เพราะมองว่าเป็นเทคนิคการขายของของแม่ค้าที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นกันเอง ส่วนภาษาที่แม่ค้าใช้ก็ไม่หยาบคายเกินไป เช่นเดียวกับ กนกวรรณ เพ็งทับ อาชีพรับจ้างวัย 18 ปี หนึ่งในลูกค้าของนภัสราเช่นกัน แสดงทัศนะว่า การถ่ายทอดสดในลักษณะนี้ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง และมองว่าแม่ค้ามีความจริงใจมากกว่าคนที่พูดจาไพเราะเพื่อให้ลูกค้ามาซื้อของ
วิไลรักษ์ สันติกุล อาจารย์ประจำสาขาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์การขายของผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์โดยใช้วาจาไม่สุภาพกับลูกค้าว่า เป็นการตลาดแบบเล่นกับอารมณ์ กล่าวคือ คนขายกระตุ้นให้ผู้ซื้อเกิดอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างเพื่อทำให้เกิดการซื้อสินค้าหรือบริการ การตลาดประเภทนี้ใช้ได้ผลกับการขายสินค้าราคาถูก ไม่ต้องใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อนาน พร้อมยก “เจ๊น้ำ” เป็นกรณีศึกษา
“เท่าที่สังเกต ของที่เขา (เจ๊น้ำ) ขายก็ไม่ได้เป็นของแพงมาก เป็นสินค้าประเภทที่ใช้กำลังซื้อน้อย มันซื้อโดยใช้อารมณ์ซื้อได้ ไม่ต้องหาข้อมูลประกอบ ไม่เหมือนสินค้าราคาแพง เช่น รถยนต์ บ้าน คอมพิวเตอร์ ที่ต้องหาข้อมูลก่อนถึงค่อยตัดสินใจซื้อ สินค้าพวกนี้เป็นสินค้าพวกแฟชั่น ซื้อมาแล้ว ใช้ไม่ได้ หรือ ใช้ไม่โอเค ก็ทิ้งไปได้” วิไลรักษ์อธิบาย
อาจารย์ด้านการโฆษณาขยายความว่า การถ่ายทอดสดออนไลน์ขายของได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะผู้บริโภคได้รับความบันเทิงจากการรับชมการถ่ายทอดสด ผู้บริโภคสามารถสื่อสารกับผู้ขายได้อย่างรวดเร็ว และการใช้ภาษาหยาบคายในการสื่อสารก็ทำให้ผู้บริโภครู้สึกใกล้ชิดกับผู้ขาย
“ถ้าเรามีการสาธิตสินค้าให้ผู้บริโภคดู จะทำให้ผู้บริโภคเห็นวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น จะไปกระตุ้นให้ผู้บริโภคอยากซื้ออยากได้สินค้ามากขึ้น” วิไลรักษ์กล่าว
ด้าน ดร. หยกฟ้า อิศรานนท์ อาจารย์ประจำสาขาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ปรากฏการณ์ที่คนเริ่มชินชากับภาษาหยาบคาย เกิดจากการที่คนพบการใช้ภาษาไม่สุภาพบ่อยครั้ง จนเกิดการซึมซับ และคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่ ใครๆ ก็ทำกัน ส่วนการที่คนมองว่าการใช้ภาษาหยาบคายให้ความรู้สึกจริงใจ อาจเกิดจากผู้รับสารเป็นคนใช้ภาษาประเภทนั้นอยู่แล้ว เมื่อเจอคนที่ใช้ภาษาประเภทนั้นเหมือนกัน จึงเกิดความรู้สึกเหมือนเป็นคนกลุ่มเดียวกัน
ดร. หยกฟ้า ยังกล่าวอีกว่า ความนิยมการชมการถ่ายทอดสดการขายของด้วยภาษาที่ไม่สุภาพ อาจทำให้กลยุทธ์ในการโน้มน้าวใจถูกจำกัดเพียงการพูดจาหยาบคายเพื่อสร้างความสนใจ และเสริมด้วยว่า คำหยาบคายไม่ใช่แค่การพูดไม่สุภาพเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นการพูดถึงคนอื่นในแง่ที่ไม่ดีด้วย
“พอเรารู้สึกว่าทุกคนทำกันเป็นเรื่องปกติ เราก็เอาความหยาบคายนั้น มาเป็นสิ่งปกติของสังคม วิธีคิดของเราก็จะกลายเป็นลักษณะนั้น เราจะรับอะไรที่มันไม่สุภาพ ไม่ละเอียดอ่อน ไม่ได้คิดถึงใจคนอื่นได้ง่ายขึ้น อาจจะส่งผลเสียในทางอ้อม ทำให้สังคมเราดูหยาบกระด้างมากขึ้น” ดร.หยกฟ้ากล่าว
อาจารย์คณะจิตวิทยา ย้ำว่า หากเยาวชนรับสื่อที่มีการใช้ภาษาหยาบคายเป็นประจำ จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ โดยเฉพาะกับวัยรุ่นที่ต้องการการยอมรับจากสังคม จะมีแนวโน้มเลียนแบบตามคนหมู่มาก หรือ คนที่มีชื่อเสียงได้
Like this:
Like Loading...
เรื่อง: วัศพล โอภาสวัฒนกุล
ภาพ: เมธาวจี สาระคุณ
เทคโนโลยีถ่ายทอดสดทางโซเชียลมีเดียทำให้การขายของเป็นเรื่องสะดวกสบายมากขึ้น เพราะไม่ว่าอยู่ที่ไหน ผู้ค้าก็สามารถขายของได้ ขณะเดียวกัน การที่พ่อค้าแม่ค้าพูดจากับลูกค้าด้วยภาษาเป็นกันเองผ่านการถ่ายทอดสด รวมไปถึงการใช้สรรพนามกู-มึง ใช้คำสบถและคำหยาบคาย ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน
วิทยานิพนธ์เรื่อง การวิเคราะห์เนื้อหาทางด้านเพศ การใช้ภาษา ความรุนแรง ภาพตัวแทน และการเปิดรับ และทัศนคติที่มีต่อการถ่ายทอดสดบนเฟซบุ๊ก โดย ณัฐธิดา แขวงสวัสดิ์ จากคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อปี 2560 เผยผลการสำรวจผู้ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊ก จำนวน 930 คน พบการถ่ายทอดที่แสดงออกด้านเพศไม่เหมาะสมมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ การถ่ายทอดสดที่มีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม และเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง
ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ ระบุว่า ผู้ขายของออนไลน์ในปัจจุบัน พูดจาไม่สุภาพกับลูกค้าผ่านการถ่ายทอดสดมากขึ้น ตามกระแสความนิยมที่มีต่อ ณัฐนัน ต้นศึกษา หรือ เจ๊น้ำ แม่ค้าขายเสื้อผ้า ผู้โด่งดังจากการโชว์ลีลาการขายของที่ไม่เหมือนใครผ่านการถ่ายทอดสดบนเฟซบุ๊ก
“เท่าที่เห็นตอนนี้ก็ (มีจำนวน) มากขึ้นจริง มันคงเป็นกระแส พูดหยาบขายของ ดูเป็นคนตรงๆ ใจๆ ขายของได้ คนซื้อคงชอบ โดยเฉพาะคนต่างจังหวัด จะชอบ (เพราะ) เห็นว่ามันตลก” ณัฐธิดากล่าว
นภัสรา อิธิสรางกุล ผู้ขายของออนไลน์ทางเฟซบุ๊ก กล่าวว่า ส่วนตัวเป็นคนพูดจาภาษายุคพ่อขุนรามฯ กับคนรอบข้างอยู่แล้ว ลูกค้าที่เข้ามาดูการถ่ายทอดสดส่วนใหญ่เป็นคนรอบข้าง จึงเลือกใช้ภาษาแบบนี้กับลูกค้า แต่กับลูกค้าใหม่ เธอจะบอกล่วงหน้าว่าเป็นคนเช่นนี้ ซึ่งเธอคิดว่าการพูดกับลูกค้าในลักษณะดังกล่าวให้ความรู้สึกสนิทชิดเชื้อ และลูกค้าส่วนใหญ่ก็ชอบ เพราะไม่เหมือนเวลาคุยกับแม่ค้าทั่วไป อีกทั้งสมัยนี้การใช้คำพูดหยาบคายก็เป็นกระแสนิยม
เธอยอมรับว่า การขายของด้วยการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่เยาวชน แต่คนไม่ได้เปิดรับภาษาหยาบคายจากการชมการถ่ายทอดสดเพียงอย่างเดียว เพราะมีการใช้ภาษาหยาบคายในช่องทางอื่นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นทางโซเชียลมีเดียหรือการพูดคุยกับเพื่อนฝูง
เสารส เณรคล้าย นักศึกษาวัย 18 ปี หนึ่งในลูกค้าประจำของนภัสรา กล่าวว่า ไม่มีปัญหากับการที่แม่ค้าพูดจาหยาบคาย เพราะมองว่าเป็นเทคนิคการขายของของแม่ค้าที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นกันเอง ส่วนภาษาที่แม่ค้าใช้ก็ไม่หยาบคายเกินไป เช่นเดียวกับ กนกวรรณ เพ็งทับ อาชีพรับจ้างวัย 18 ปี หนึ่งในลูกค้าของนภัสราเช่นกัน แสดงทัศนะว่า การถ่ายทอดสดในลักษณะนี้ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง และมองว่าแม่ค้ามีความจริงใจมากกว่าคนที่พูดจาไพเราะเพื่อให้ลูกค้ามาซื้อของ
วิไลรักษ์ สันติกุล อาจารย์ประจำสาขาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์การขายของผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์โดยใช้วาจาไม่สุภาพกับลูกค้าว่า เป็นการตลาดแบบเล่นกับอารมณ์ กล่าวคือ คนขายกระตุ้นให้ผู้ซื้อเกิดอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างเพื่อทำให้เกิดการซื้อสินค้าหรือบริการ การตลาดประเภทนี้ใช้ได้ผลกับการขายสินค้าราคาถูก ไม่ต้องใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อนาน พร้อมยก “เจ๊น้ำ” เป็นกรณีศึกษา
“เท่าที่สังเกต ของที่เขา (เจ๊น้ำ) ขายก็ไม่ได้เป็นของแพงมาก เป็นสินค้าประเภทที่ใช้กำลังซื้อน้อย มันซื้อโดยใช้อารมณ์ซื้อได้ ไม่ต้องหาข้อมูลประกอบ ไม่เหมือนสินค้าราคาแพง เช่น รถยนต์ บ้าน คอมพิวเตอร์ ที่ต้องหาข้อมูลก่อนถึงค่อยตัดสินใจซื้อ สินค้าพวกนี้เป็นสินค้าพวกแฟชั่น ซื้อมาแล้ว ใช้ไม่ได้ หรือ ใช้ไม่โอเค ก็ทิ้งไปได้” วิไลรักษ์อธิบาย
อาจารย์ด้านการโฆษณาขยายความว่า การถ่ายทอดสดออนไลน์ขายของได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะผู้บริโภคได้รับความบันเทิงจากการรับชมการถ่ายทอดสด ผู้บริโภคสามารถสื่อสารกับผู้ขายได้อย่างรวดเร็ว และการใช้ภาษาหยาบคายในการสื่อสารก็ทำให้ผู้บริโภครู้สึกใกล้ชิดกับผู้ขาย
ด้าน ดร. หยกฟ้า อิศรานนท์ อาจารย์ประจำสาขาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ปรากฏการณ์ที่คนเริ่มชินชากับภาษาหยาบคาย เกิดจากการที่คนพบการใช้ภาษาไม่สุภาพบ่อยครั้ง จนเกิดการซึมซับ และคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่ ใครๆ ก็ทำกัน ส่วนการที่คนมองว่าการใช้ภาษาหยาบคายให้ความรู้สึกจริงใจ อาจเกิดจากผู้รับสารเป็นคนใช้ภาษาประเภทนั้นอยู่แล้ว เมื่อเจอคนที่ใช้ภาษาประเภทนั้นเหมือนกัน จึงเกิดความรู้สึกเหมือนเป็นคนกลุ่มเดียวกัน
ดร. หยกฟ้า ยังกล่าวอีกว่า ความนิยมการชมการถ่ายทอดสดการขายของด้วยภาษาที่ไม่สุภาพ อาจทำให้กลยุทธ์ในการโน้มน้าวใจถูกจำกัดเพียงการพูดจาหยาบคายเพื่อสร้างความสนใจ และเสริมด้วยว่า คำหยาบคายไม่ใช่แค่การพูดไม่สุภาพเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นการพูดถึงคนอื่นในแง่ที่ไม่ดีด้วย
อาจารย์คณะจิตวิทยา ย้ำว่า หากเยาวชนรับสื่อที่มีการใช้ภาษาหยาบคายเป็นประจำ จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ โดยเฉพาะกับวัยรุ่นที่ต้องการการยอมรับจากสังคม จะมีแนวโน้มเลียนแบบตามคนหมู่มาก หรือ คนที่มีชื่อเสียงได้
Share this:
Like this: