เรื่อง: พชรกฤษณ์ โตอิ้ม / ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร
ภาพ: เบญญา หงษ์ทอง / ชัญญานุช หวง
เสียงกระสุนปืนจากสงครามอินโดจีน สิ้นสุดมาเป็นเวลายาวนานร่วม 40 ปี แต่หมู่บ้านหลายแห่งตามชายแดนไทย-กัมพูชา ยังต้องเผชิญกับความหวาดกลัวจากภัยสงครามจนถึงทุกวันนี้ ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลจำนวนมากยังหลับใหลอยู่ใต้ดินและสร้างความเสียหายร้ายแรงยามชาวบ้านพลั้งเผลอเหยียบทุ่นระเบิดเหล่านั้น
+ สงครามไร้กาลเวลา
“ตำบลโดมประดิษฐ์” อยู่ติดชายแดนไทย-กัมพูชา และเคยเป็นสนามรบในช่วงสงครามอินโดจีน ระหว่างปี 2518-2532 เมื่อกองทัพไทยกับกัมพูชาแย่งชิงพื้นที่ดังกล่าวเพื่อสร้างเป็นฐานกองกำลังทหารบริเวณชายแดน
สมหมาย ก้อนหิน ชายวัย 50 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแปดอุ้ม ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี คือหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดที่หลงเหลือจากสงคราม
สมหมายเล่าให้ฟังถึงวันที่เขาประสบภัยว่า ตนโชคร้ายเผลอเหยียบทุ่นระเบิดตั้งแต่ตอนอายุเพียง 25 ปี ณ วันเกิดเหตุ เขาออกไปเก็บเห็ดที่ขึ้นแถวละแวกบ้านตามปกติ ระหว่างทางเขาเหยียบขอนไม้เพื่อไม่ให้เท้าสัมผัสพื้นเพราะเกรงว่าอาจมีทุ่นระเบิดฝังอยู่ใต้ดิน แต่จังหวะที่ก้าวพลาดและเท้าหล่นจากขอนไม้เหยียบพื้น เสียงระเบิดก็ดังขึ้นทันที แรงระเบิดทำให้สัมภาระกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง แต่ที่ร้ายไปกว่านั้นคือทำให้ขาข้างหนึ่งของเขาฉีกขาดตั้งแต่หัวเข่าลงไป
“ตอนนั้นก็คิดว่าหมดกัน รู้สึกไม่อยากอยู่ อยากตาย หันเรียกหาเพื่อนบอกให้ช่วยเอามีดที่หล่นอยู่มาให้หน่อย จะได้แทงตัวตาย เพื่อนไม่ให้ เพื่อนๆ ก็บอกว่าอย่าเพิ่งใจน้อยไปเลย ชาวบ้านเขาเหยียบระเบิดกันทั่วบ้านทั่วเมือง เขาก็อยู่กันได้” สมหมายเล่าถึงเหตุการณ์ด้วยน้ำเสียงเรียบๆ
สมหมาย ก้อนหิน เหยื่อผู้ที่ประสบภัยจากทุ่นระเบิด ยืนอยู่หน้าบ้านพักที่ ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี
เช่นเดียวกับ สมพร ประวา ชายวัย 46 ปี ที่พิการขาขาดจากทุ่นระเบิดในหมู่บ้านเดียวกัน ช่วงแรกที่สมพรประสบภัยทุ่นระเบิด เขาจะรู้สึกท้อและหมดหวังเพราะรับไม่ได้กับสภาพที่เป็นอยู่ ก่อนเริ่มปรับตัวได้อีกครั้งหลังจากที่ตนได้รับขาเทียมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
แต่การใช้ขาเทียมในชีวิตประจำวันก็ไม่ราบรื่น “หลังจากที่ใช้ขาเทียม ถามว่าเจ็บอยู่ไหม ถ้างานที่ทำไม่หนักมาก ก็พอทำไปเรื่อยๆ ได้ แต่ถ้าทำเยอะหรือต้องเดินตลอดทั้งวัน จะเจ็บมากตรงระหว่างข้อต่อที่ใส่ขาเทียม” ชาวบ้านแปดอุ้มบอก
สมพรเล่าว่าชาวบ้านหลายคนตระหนักดีว่าในพื้นที่ป่านั้นเต็มไปด้วยทุ่นระเบิด เห็นได้จากป้ายสีแดงที่มีสัญลักษณ์กระโหลกไขว้ ที่ติดตั้งอยู่ทั่วบริเวณ แต่พวกเขาจำเป็นต้องเข้าป่าเพราะเป็นพื้นที่ทำกินหลักที่พวกเขาเก็บเห็ดหรือของป่าอื่นๆ เพื่อนำไปขาย
สมพรคาดว่าทุ่นระเบิดยังคงตกค้างอยู่ใต้ดินอีกหลายหมื่นลูก เจ้าหน้าที่เองก็มักออกมาเตือนชาวบ้านบ่อยครั้งว่า ถ้าหากใครพบวัตถุที่คาดว่าเป็นทุ่นระเบิด ต้องรีบต้องแจ้งข่าวให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่อมาเก็บกู้โดยเร็ว
“ชาวบ้านจะหักกิ่งไม้หรือทำเครื่องหมายให้รู้ว่าพบวัตถุระเบิดอยู่ที่ไหนบ้าง แล้วค่อยไปแจ้งทหาร แต่กว่าทหารจะเข้ามาเก็บกู้ก็อีกนาน ชาวบ้านเลยพยายามเลี่ยงไม่ไปเส้นทางนั้นแทน” สมพรขยายความ
+ เก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิด
พล.ต สิทธิพล นิ่มนวล ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (ศทช.ศบท.) กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ใช้ผลสำรวจผลกระทบจากปัญหาทุ่นระเบิดเมื่อปี 2542 เป็นแหล่งอ้างอิงอันดับแรก และแบ่งพื้นที่สำหรับเก็บกู้ทุ่นระเบิดเป็นสองประเภท คือ พื้นที่มีความเร่งด่วนมากและพื้นที่ที่มีความเร่งด่วนน้อย
“เจ้าหน้าที่มีความเสรีในการปฏิบัติตามความเหมาะสม ตรงนี้แต่ละหน่วยจะพิจารณา ถ้าเป็นพื้นที่มีชาวบ้านผ่านตลอด นั่นอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ทางเราจะเร่งให้ปฏิบัติการในพื้นที่นั้นก่อน” พล.ต สิทธิพลชี้แจง
ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดอธิบายต่อว่าภาพรวมการเก็บกู้ทุ่นระเบิดในตำบลโดมประดิษฐ์ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
“เบื้องต้นหน่วยงานของเราเก็บกู้ไปเกือบหมดแล้ว ในพื้นที่เขตชุมชนน่าจะความเสี่ยงน้อยลง แต่ความเสี่ยงอื่นๆ จะมีอยู่ตามแนวชายแดนที่ปกติแล้วคนจะไม่ค่อยเข้าไป คนที่เข้าไปน่าจะเป็นคนที่ทำมาหากินกับพื้นที่ป่าเป็นหลัก เช่น คนเก็บของป่าขาย คนที่เข้ามาตัดไม้ หรือคนที่เข้ามาส่งของตามเส้นทางชายแดน” พล.ต สิทธิพลอธิบายเพิ่มเติม
ทั้งนี้ แนวทางการเก็บกู้ระเบิดของไทยเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต และโอน และการทำงานทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หรือ อนุสัญญาออตตาวา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2542 ในอนุสัญญาระบุว่าไทยต้องกำจัดทุ่นระเบิดต้องให้เสร็จสิ้นภายในปี 2552 แต่ปัจจุบันไทยยังไม่สามารถเก็บกู้ระเบิดได้ด้วยเงื่อนไขหลายประการ อาทิ พื้นที่เก็บกู้เข้าถึงได้ยาก หรือ ได้รับผลกระทบจากขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นต้น ทำให้ไทยต้องขยายระยะเวลาเก็บกู้ทุ่นระเบิด จนถึงปี 2566
“ป้ายสีแดงที่มีสัญลักษณ์กระโหลกไขว้” เป็นป้ายแจ้งเตือนที่เจ้าหน้าที่เก็บกู้ทุ่นระเบิดสื่อสารกับชาวบ้านว่า พื้นที่แห่งนั้นยังคงปนเปื้อนไปด้วยวัตถุระเบิด
+ การรักษาและเยียวยา ในภาวะจำกัด
สมหมายและสมพรพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ว่าจะเป็นช่วงสงครามหรือสิ้นสุดสงคราม ชาวบ้านโดมประดิษฐ์ที่ประสบภัยทุ่นระเบิดจนพิการก็ยังประสบปัญหาด้านการเข้าถึงสิทธิรักษาพยาบาลมาโดยตลอด
ยกตัวอย่างเมื่อ 30 ปีก่อน ที่สมพรประสบภัยแล้วเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลประจำอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี เขาต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลร่วมเดือน โดยไม่สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้จากโครงการสวัสดิการใดๆ ของรัฐ ทำให้สมพรต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงิน 5,000-6,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ากำลังจ่ายของตน
“จริงๆ ค่าใช้จ่ายเยอะกว่านี้ แต่หมอรู้ว่าฐานะเรายากจน หมอเขาก็ช่วยเหลือ และทางทหารช่วยประสานกับโรงพยาบาลให้จ่ายเท่าที่ตัวเองมี นอกจากนั้นเขาจะจัดการให้” สมพรกล่าว
ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไม่ใช่ปัญหาเดียวที่ผู้ประสบภัยต้องเผชิญ บัณฑิต ศรีทา รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีเสริมว่า โรงพยาบาลในพื้นที่ยังขาดแคลนทั้งบุคลากรทางการแพทย์และเครื่องมือสำหรับผ่าตัดผู้ที่ประสบภัยทุ่นระเบิด จึงทำได้เพียงปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้น ก่อนจะประสานงานกับหน่วยทหารในพื้นที่เพื่อช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปรับการรักษาโรงพยาบาลที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีต่อไป
ในฐานะผู้ได้รับบาดเจ็บเมื่อ 25 ปีก่อน สมหมายให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ถ้าเทียบกันแล้วสมัยนี้ลำบากกว่ามาก แต่ก่อนจะมีหมอคนที่ผ่าตัดขาระเบิดในอำเภอใกล้ๆ (อำเภอนาจะหลวย) แต่ตอนนี้หมอที่เชี่ยวชาญทางด้านการผ่าตัดในอำเภอไม่มีสักคน ถ้าตอนนี้ถูกระเบิดขึ้นมาต้องส่งต่อไปที่อำเภอเมืองอุบลราชธานีอย่างเดียว”
แม้ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 จะทำให้โดยผู้พิการขาขาดสามารถใช้สิทธิ “บัตรทอง ท. 74 สำหรับผู้พิการ” ในการเข้ารับการรักษาพยาบาลและการกายภาพบำบัดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่รองนายก อบต. โดมประดิษฐ์กล่าวว่า แม้ผู้พิการจะไม่เสียค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลก็จริง แต่การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างทันท่วงทีและครบวงจรยังถือเป็นช่องว่างที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
นอกจากชาวบ้านในตำบลโดมประดิษฐ์ สัตว์เลี้ยงอย่างเช่น วัว หรือ สุนัข ต่างก็มีความเสี่ยงที่จะประสับภัยจากทุ่นระเบิดได้เช่นเดียวกัน
+ หนทางของผู้ประสบภัย
“ขั้นแรกคืออยากให้รัฐบาลช่วย เหมือนอย่างที่เขาช่วยทางผู้ประสบภัยทางภาคใต้ โดยให้เงินค่าเยียวยารายละ 100,000-200,000 บาท เราอยากได้ นั่นคือสิทธิของคนไทย” สมพรเอ่ย
ผู้ประสบภัยชาวแปดอุ้มกล่าวว่า หลายครั้งที่เขาและชาวบ้านรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องสิทธิเงินเยียวยาภัยสงครามจากภาครัฐ แต่ความพยายามของพวกตนไม่เคยประสบความสำเร็จเลยสักครั้ง
“ทางเราพยายามยื่นเรื่องกับทางรัฐบาลมาตลอด เคยยื่นมาหลายรัฐบาล แม้แต่รัฐบาลปัจจุบันเราเองก็เคยยื่น ล่าสุดเขาขอให้พวกเรามายื่นเรื่องที่ศูนย์ดำรงธรรม พอยื่นเสร็จเรียบร้อย ทางศูนย์เขาก็ตอบกลับมาว่ารัฐไม่มีงบประมาณพอสำหรับเป็นค่าเยียวยา” สมพรเปรย
ด้านสมหมาย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแปดอุ้ม เล่าถึงช่วงที่สงครามสิ้นสุดลงไม่นานว่า มีองค์กรระหว่างประเทศยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือชาวบ้านที่พิการขาขาดบ้างเป็นครั้งคราว แต่นั่นเป็นเพียงการเอื้อเฟื้อด้วยการให้อุปกรณ์ที่ยังชีพ เช่น ข้าวสารหนึ่งกระสอบ วัวนม เท่านั้น
ส่วนบัณฑิต รองนายก อบต. ชี้แจงว่าผู้พิการขาขาดในตำบลโดมประดิษฐ์จะได้รับค่ารัฐสวัสดิการผู้พิการรายเดือน 800 บาท ตามอัตราเบี้ยเลี้ยงความพิการที่ถูกกำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยความพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553
อย่างไรก็ตาม เงินจำนวนนี้ยังไม่เพียงพอต่อการยังชีพ เพราะผู้ประสบภัยทุ่นระเบิดส่วนใหญ่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ ด้วย ดังนั้นหัวหน้าครอบครัวที่พิการขาขาดจึงมีภาระมากกว่าการเลี้ยงชีพตนเองเพียงคนเดียว
+ ไร้ตัวตน หลงลืม และเงียบหาย
ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าปัญหาผู้ประสบภัยทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นปัญหาที่ถูกละเลยไปจากความสนใจของคนในสังคมไทย สาเหตุที่ผู้คนไม่สนใจประเด็นปัญหาดังกล่าวเพราะ 1. สังคมไทยมองว่าปัญหานี้เป็นเรื่องไกลตัว 2. ปัญหาทุ่นระเบิดเป็นปัญหาที่เรื้อรังยาวนาน และ 3. ปรากฏการณ์นี้ไม่เคยถูกผลักดันให้เป็นสาระสำคัญที่ควรเร่งแก้ไขจากรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย
“สิทธิของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสถานการณ์เหล่านี้ถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นในสังคม ถ้าโจทย์ชุดนี้ไม่ถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็น ปัญหาก็จะถูกลืม ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบก็ถูกลืม” ศ.ดร.สุรชาติ ระบุ
ด้วยเหตุนี้ ผู้ประสบภัยทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาจึงถูกมองข้าม ต่างจากกรณีผู้ประสบภัยจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ หรือเหตุระเบิดในบริเวณศาลพระพรหม แยกราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร ปี 2558 เนื่องจากเป็นสถานการณ์และพื้นที่ที่ผู้คนให้ความสนใจ
ส่วนกระบวนการที่จะทำให้ผู้ประสบภัยได้รับค่าเยียวยานั้น นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์เห็นว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยระบบราชการผลักดันให้เรื่องนี้เป็นวาระในการประชุมรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาจัดสรรงบประมาณประจำปีมาเยียวยาผู้ประสบภัยต่อไป
“โดยพื้นฐานแล้ว ระบบราชการจะไม่มีการจัดทำงบประมาณเยียวยาผู้ประสบภัยระเบิด จึงไม่แปลกถ้าไม่มีหน่วยงานราชการตั้งเรื่องเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัย” ศ.ดร.สุรชาติชี้แจง
ศ.ดร.สุรชาติเสนอแนะว่าสังคมไทยควรให้ความสำคัญกับปัญหาผู้ประสบภัยเหยียบทุ่นระเบิดมากขึ้น โดยต้องผลักดันให้เป็น “ประเด็นสาธารณะ” และพัฒนาให้กลายเป็น “ประเด็นทางการเมือง” เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกผู้แทนราษฎรยื่นเรื่องเข้าที่ประชุมรัฐสภา และเพื่อจัดสรรงบประมาณสำหรับการเยียวยา หากยกประเด็นเรื่องทุ่นระเบิดเป็นประเด็นสาธารณะไม่ได้ การตั้งเรื่องเพื่อเบิกงบประมาณในทางราชการก็ไม่มีทางเป็นไปได้
สมพร ประวา หนึ่งในผู้ประสบภัยทุ่นระเบิด ยังเฝ้าตั้งคำถามต่อการเยียวยาผู้ประสบภัยทุ่นระเบิดจากภาครัฐอยู่เสมอ
“เราได้รับอุบัติเหตุจากภัยสงคราม เป็นปัญหาที่พวกเราไม่ได้เป็นคนก่อ มันน่าจะได้รับสิทธิเหมือนอย่างที่เขาประสบภัยที่ภาคใต้ หรือที่กรุงเทพฯ หรือไม่ว่าที่ไหนที่โดนระเบิด” สมหมายเอ่ย
“ถึงแม้เรื่องจะเกิดมานาน แต่ก็เป็นคนไทยเหมือนกัน ผมว่าน่าจะย้อนหลังได้ เรื่องนี้ทำไมย้อนหลังไม่ได้ ผมก็ยังสงสัยอยู่” นายสมพรกล่าวทิ้งท้าย
—
ติดตามทัศนะของ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าเหตุใดสังคมไทยรับรู้เกี่ยวกับภัยทุ่นระเบิดน้อยลดอย่างต่อเนื่อง ได้ที่ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข : ทุ่นระเบิดคือโจทย์เรื้อรังที่ผู้คนหลงลืม
Like this:
Like Loading...
เรื่อง: พชรกฤษณ์ โตอิ้ม / ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร
ภาพ: เบญญา หงษ์ทอง / ชัญญานุช หวง
เสียงกระสุนปืนจากสงครามอินโดจีน สิ้นสุดมาเป็นเวลายาวนานร่วม 40 ปี แต่หมู่บ้านหลายแห่งตามชายแดนไทย-กัมพูชา ยังต้องเผชิญกับความหวาดกลัวจากภัยสงครามจนถึงทุกวันนี้ ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลจำนวนมากยังหลับใหลอยู่ใต้ดินและสร้างความเสียหายร้ายแรงยามชาวบ้านพลั้งเผลอเหยียบทุ่นระเบิดเหล่านั้น
+ สงครามไร้กาลเวลา
“ตำบลโดมประดิษฐ์” อยู่ติดชายแดนไทย-กัมพูชา และเคยเป็นสนามรบในช่วงสงครามอินโดจีน ระหว่างปี 2518-2532 เมื่อกองทัพไทยกับกัมพูชาแย่งชิงพื้นที่ดังกล่าวเพื่อสร้างเป็นฐานกองกำลังทหารบริเวณชายแดน
สมหมาย ก้อนหิน ชายวัย 50 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแปดอุ้ม ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี คือหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดที่หลงเหลือจากสงคราม
สมหมายเล่าให้ฟังถึงวันที่เขาประสบภัยว่า ตนโชคร้ายเผลอเหยียบทุ่นระเบิดตั้งแต่ตอนอายุเพียง 25 ปี ณ วันเกิดเหตุ เขาออกไปเก็บเห็ดที่ขึ้นแถวละแวกบ้านตามปกติ ระหว่างทางเขาเหยียบขอนไม้เพื่อไม่ให้เท้าสัมผัสพื้นเพราะเกรงว่าอาจมีทุ่นระเบิดฝังอยู่ใต้ดิน แต่จังหวะที่ก้าวพลาดและเท้าหล่นจากขอนไม้เหยียบพื้น เสียงระเบิดก็ดังขึ้นทันที แรงระเบิดทำให้สัมภาระกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง แต่ที่ร้ายไปกว่านั้นคือทำให้ขาข้างหนึ่งของเขาฉีกขาดตั้งแต่หัวเข่าลงไป
เช่นเดียวกับ สมพร ประวา ชายวัย 46 ปี ที่พิการขาขาดจากทุ่นระเบิดในหมู่บ้านเดียวกัน ช่วงแรกที่สมพรประสบภัยทุ่นระเบิด เขาจะรู้สึกท้อและหมดหวังเพราะรับไม่ได้กับสภาพที่เป็นอยู่ ก่อนเริ่มปรับตัวได้อีกครั้งหลังจากที่ตนได้รับขาเทียมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
แต่การใช้ขาเทียมในชีวิตประจำวันก็ไม่ราบรื่น “หลังจากที่ใช้ขาเทียม ถามว่าเจ็บอยู่ไหม ถ้างานที่ทำไม่หนักมาก ก็พอทำไปเรื่อยๆ ได้ แต่ถ้าทำเยอะหรือต้องเดินตลอดทั้งวัน จะเจ็บมากตรงระหว่างข้อต่อที่ใส่ขาเทียม” ชาวบ้านแปดอุ้มบอก
สมพรเล่าว่าชาวบ้านหลายคนตระหนักดีว่าในพื้นที่ป่านั้นเต็มไปด้วยทุ่นระเบิด เห็นได้จากป้ายสีแดงที่มีสัญลักษณ์กระโหลกไขว้ ที่ติดตั้งอยู่ทั่วบริเวณ แต่พวกเขาจำเป็นต้องเข้าป่าเพราะเป็นพื้นที่ทำกินหลักที่พวกเขาเก็บเห็ดหรือของป่าอื่นๆ เพื่อนำไปขาย
สมพรคาดว่าทุ่นระเบิดยังคงตกค้างอยู่ใต้ดินอีกหลายหมื่นลูก เจ้าหน้าที่เองก็มักออกมาเตือนชาวบ้านบ่อยครั้งว่า ถ้าหากใครพบวัตถุที่คาดว่าเป็นทุ่นระเบิด ต้องรีบต้องแจ้งข่าวให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่อมาเก็บกู้โดยเร็ว
“ชาวบ้านจะหักกิ่งไม้หรือทำเครื่องหมายให้รู้ว่าพบวัตถุระเบิดอยู่ที่ไหนบ้าง แล้วค่อยไปแจ้งทหาร แต่กว่าทหารจะเข้ามาเก็บกู้ก็อีกนาน ชาวบ้านเลยพยายามเลี่ยงไม่ไปเส้นทางนั้นแทน” สมพรขยายความ
+ เก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิด
พล.ต สิทธิพล นิ่มนวล ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (ศทช.ศบท.) กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ใช้ผลสำรวจผลกระทบจากปัญหาทุ่นระเบิดเมื่อปี 2542 เป็นแหล่งอ้างอิงอันดับแรก และแบ่งพื้นที่สำหรับเก็บกู้ทุ่นระเบิดเป็นสองประเภท คือ พื้นที่มีความเร่งด่วนมากและพื้นที่ที่มีความเร่งด่วนน้อย
ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดอธิบายต่อว่าภาพรวมการเก็บกู้ทุ่นระเบิดในตำบลโดมประดิษฐ์ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
“เบื้องต้นหน่วยงานของเราเก็บกู้ไปเกือบหมดแล้ว ในพื้นที่เขตชุมชนน่าจะความเสี่ยงน้อยลง แต่ความเสี่ยงอื่นๆ จะมีอยู่ตามแนวชายแดนที่ปกติแล้วคนจะไม่ค่อยเข้าไป คนที่เข้าไปน่าจะเป็นคนที่ทำมาหากินกับพื้นที่ป่าเป็นหลัก เช่น คนเก็บของป่าขาย คนที่เข้ามาตัดไม้ หรือคนที่เข้ามาส่งของตามเส้นทางชายแดน” พล.ต สิทธิพลอธิบายเพิ่มเติม
ทั้งนี้ แนวทางการเก็บกู้ระเบิดของไทยเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต และโอน และการทำงานทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หรือ อนุสัญญาออตตาวา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2542 ในอนุสัญญาระบุว่าไทยต้องกำจัดทุ่นระเบิดต้องให้เสร็จสิ้นภายในปี 2552 แต่ปัจจุบันไทยยังไม่สามารถเก็บกู้ระเบิดได้ด้วยเงื่อนไขหลายประการ อาทิ พื้นที่เก็บกู้เข้าถึงได้ยาก หรือ ได้รับผลกระทบจากขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นต้น ทำให้ไทยต้องขยายระยะเวลาเก็บกู้ทุ่นระเบิด จนถึงปี 2566
+ การรักษาและเยียวยา ในภาวะจำกัด
สมหมายและสมพรพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ว่าจะเป็นช่วงสงครามหรือสิ้นสุดสงคราม ชาวบ้านโดมประดิษฐ์ที่ประสบภัยทุ่นระเบิดจนพิการก็ยังประสบปัญหาด้านการเข้าถึงสิทธิรักษาพยาบาลมาโดยตลอด
ยกตัวอย่างเมื่อ 30 ปีก่อน ที่สมพรประสบภัยแล้วเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลประจำอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี เขาต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลร่วมเดือน โดยไม่สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้จากโครงการสวัสดิการใดๆ ของรัฐ ทำให้สมพรต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงิน 5,000-6,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ากำลังจ่ายของตน
ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไม่ใช่ปัญหาเดียวที่ผู้ประสบภัยต้องเผชิญ บัณฑิต ศรีทา รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีเสริมว่า โรงพยาบาลในพื้นที่ยังขาดแคลนทั้งบุคลากรทางการแพทย์และเครื่องมือสำหรับผ่าตัดผู้ที่ประสบภัยทุ่นระเบิด จึงทำได้เพียงปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้น ก่อนจะประสานงานกับหน่วยทหารในพื้นที่เพื่อช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปรับการรักษาโรงพยาบาลที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีต่อไป
ในฐานะผู้ได้รับบาดเจ็บเมื่อ 25 ปีก่อน สมหมายให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ถ้าเทียบกันแล้วสมัยนี้ลำบากกว่ามาก แต่ก่อนจะมีหมอคนที่ผ่าตัดขาระเบิดในอำเภอใกล้ๆ (อำเภอนาจะหลวย) แต่ตอนนี้หมอที่เชี่ยวชาญทางด้านการผ่าตัดในอำเภอไม่มีสักคน ถ้าตอนนี้ถูกระเบิดขึ้นมาต้องส่งต่อไปที่อำเภอเมืองอุบลราชธานีอย่างเดียว”
แม้ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 จะทำให้โดยผู้พิการขาขาดสามารถใช้สิทธิ “บัตรทอง ท. 74 สำหรับผู้พิการ” ในการเข้ารับการรักษาพยาบาลและการกายภาพบำบัดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่รองนายก อบต. โดมประดิษฐ์กล่าวว่า แม้ผู้พิการจะไม่เสียค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลก็จริง แต่การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างทันท่วงทีและครบวงจรยังถือเป็นช่องว่างที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
+ หนทางของผู้ประสบภัย
“ขั้นแรกคืออยากให้รัฐบาลช่วย เหมือนอย่างที่เขาช่วยทางผู้ประสบภัยทางภาคใต้ โดยให้เงินค่าเยียวยารายละ 100,000-200,000 บาท เราอยากได้ นั่นคือสิทธิของคนไทย” สมพรเอ่ย
ผู้ประสบภัยชาวแปดอุ้มกล่าวว่า หลายครั้งที่เขาและชาวบ้านรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องสิทธิเงินเยียวยาภัยสงครามจากภาครัฐ แต่ความพยายามของพวกตนไม่เคยประสบความสำเร็จเลยสักครั้ง
“ทางเราพยายามยื่นเรื่องกับทางรัฐบาลมาตลอด เคยยื่นมาหลายรัฐบาล แม้แต่รัฐบาลปัจจุบันเราเองก็เคยยื่น ล่าสุดเขาขอให้พวกเรามายื่นเรื่องที่ศูนย์ดำรงธรรม พอยื่นเสร็จเรียบร้อย ทางศูนย์เขาก็ตอบกลับมาว่ารัฐไม่มีงบประมาณพอสำหรับเป็นค่าเยียวยา” สมพรเปรย
ด้านสมหมาย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแปดอุ้ม เล่าถึงช่วงที่สงครามสิ้นสุดลงไม่นานว่า มีองค์กรระหว่างประเทศยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือชาวบ้านที่พิการขาขาดบ้างเป็นครั้งคราว แต่นั่นเป็นเพียงการเอื้อเฟื้อด้วยการให้อุปกรณ์ที่ยังชีพ เช่น ข้าวสารหนึ่งกระสอบ วัวนม เท่านั้น
ส่วนบัณฑิต รองนายก อบต. ชี้แจงว่าผู้พิการขาขาดในตำบลโดมประดิษฐ์จะได้รับค่ารัฐสวัสดิการผู้พิการรายเดือน 800 บาท ตามอัตราเบี้ยเลี้ยงความพิการที่ถูกกำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยความพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2553
อย่างไรก็ตาม เงินจำนวนนี้ยังไม่เพียงพอต่อการยังชีพ เพราะผู้ประสบภัยทุ่นระเบิดส่วนใหญ่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ ด้วย ดังนั้นหัวหน้าครอบครัวที่พิการขาขาดจึงมีภาระมากกว่าการเลี้ยงชีพตนเองเพียงคนเดียว
+ ไร้ตัวตน หลงลืม และเงียบหาย
ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าปัญหาผู้ประสบภัยทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นปัญหาที่ถูกละเลยไปจากความสนใจของคนในสังคมไทย สาเหตุที่ผู้คนไม่สนใจประเด็นปัญหาดังกล่าวเพราะ 1. สังคมไทยมองว่าปัญหานี้เป็นเรื่องไกลตัว 2. ปัญหาทุ่นระเบิดเป็นปัญหาที่เรื้อรังยาวนาน และ 3. ปรากฏการณ์นี้ไม่เคยถูกผลักดันให้เป็นสาระสำคัญที่ควรเร่งแก้ไขจากรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย
ด้วยเหตุนี้ ผู้ประสบภัยทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาจึงถูกมองข้าม ต่างจากกรณีผู้ประสบภัยจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ หรือเหตุระเบิดในบริเวณศาลพระพรหม แยกราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร ปี 2558 เนื่องจากเป็นสถานการณ์และพื้นที่ที่ผู้คนให้ความสนใจ
ส่วนกระบวนการที่จะทำให้ผู้ประสบภัยได้รับค่าเยียวยานั้น นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์เห็นว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยระบบราชการผลักดันให้เรื่องนี้เป็นวาระในการประชุมรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาจัดสรรงบประมาณประจำปีมาเยียวยาผู้ประสบภัยต่อไป
“โดยพื้นฐานแล้ว ระบบราชการจะไม่มีการจัดทำงบประมาณเยียวยาผู้ประสบภัยระเบิด จึงไม่แปลกถ้าไม่มีหน่วยงานราชการตั้งเรื่องเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัย” ศ.ดร.สุรชาติชี้แจง
ศ.ดร.สุรชาติเสนอแนะว่าสังคมไทยควรให้ความสำคัญกับปัญหาผู้ประสบภัยเหยียบทุ่นระเบิดมากขึ้น โดยต้องผลักดันให้เป็น “ประเด็นสาธารณะ” และพัฒนาให้กลายเป็น “ประเด็นทางการเมือง” เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกผู้แทนราษฎรยื่นเรื่องเข้าที่ประชุมรัฐสภา และเพื่อจัดสรรงบประมาณสำหรับการเยียวยา หากยกประเด็นเรื่องทุ่นระเบิดเป็นประเด็นสาธารณะไม่ได้ การตั้งเรื่องเพื่อเบิกงบประมาณในทางราชการก็ไม่มีทางเป็นไปได้
“เราได้รับอุบัติเหตุจากภัยสงคราม เป็นปัญหาที่พวกเราไม่ได้เป็นคนก่อ มันน่าจะได้รับสิทธิเหมือนอย่างที่เขาประสบภัยที่ภาคใต้ หรือที่กรุงเทพฯ หรือไม่ว่าที่ไหนที่โดนระเบิด” สมหมายเอ่ย
“ถึงแม้เรื่องจะเกิดมานาน แต่ก็เป็นคนไทยเหมือนกัน ผมว่าน่าจะย้อนหลังได้ เรื่องนี้ทำไมย้อนหลังไม่ได้ ผมก็ยังสงสัยอยู่” นายสมพรกล่าวทิ้งท้าย
—
ติดตามทัศนะของ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าเหตุใดสังคมไทยรับรู้เกี่ยวกับภัยทุ่นระเบิดน้อยลดอย่างต่อเนื่อง ได้ที่ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข : ทุ่นระเบิดคือโจทย์เรื้อรังที่ผู้คนหลงลืม
Share this:
Like this: