เรื่อง: มีนามณี ลีวิวิธนนท์ / วริศรา ชัยศุจยากร
ภาพ: เมธาวจี สาระคุณ
“นั่งนานแล้วปวดหลัง ตัวเบาะเป็นพลาสติกเลยแข็งมาก ถ้าวันที่ต้องนั่งยาวๆ 3-4 ชั่วโมงก็ปวดก้นกบเลย เอนไม่ได้ พิงไม่ได้ นั่งตรงๆ ก็ไม่ถนัด” ธิตินันท์ กำแพงสิน นักศึกษาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเล่าถึงประสบการณ์ความทรมานจากการนั่งเรียนในมหาวิทยาลัย
เช่นเดียวกับ พีรวิชญ์ แสงจันทร์ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เล่าว่าการเรียนการสอนของคณะตนส่วนใหญ่เป็นแบบฟังบรรยาย ตัวเองเป็นคนตัวสูง ทำให้ต้องนั่งและก้มคอเป็นเวลานานติดต่อกันกว่าสองชั่วโมง จนรู้สึกปวดหลังปวดคอมาก โดยเฉพาะเวลาสอบที่ต้องก้มหน้าเขียนติดต่อกัน ทำให้เขาต้องเงยหน้ามานวดหรือหมุนคอเป็นพักๆ
นี่คือส่วนหนึ่งของเสียงสะท้อนของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อเก้าอี้ในห้องเรียน หรือที่เรียกกันว่า “เก้าอี้เลคเชอร์” ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีลักษณะเป็นเก้าอี้พลาสติก มีแผ่นกระดานรองเขียนอยู่ฝั่งขวาฝั่งเดียว ไม่สามารถปรับระดับความสูงของเก้าอี้และแผ่นรองเขียนให้พอดีกับสรีระของแต่ละคนได้ จึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ใช้งานต้องเจอกับปัญหาปวดคอปวดหลังอยู่เป็นประจำ
รศ.ดร. ประวิตร เจนวรรธนะกุล หัวหน้าหน่วยวิจัยการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ไม่อาจพูดได้ว่าอาการปวดเมื่อยหลังและคอเกิดจากการนั่งเก้าอี้เพียงอย่างเดียว ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการแบ่งออกเป็นสามปัจจัย คือ
- ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอ ท่านั่งไม่เหมาะสม
- ปัจจัยทางจิตใจ เช่น ความเครียด
- ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและพฤติกรรม เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
อาจารย์คณะสหเวชศาสตร์กล่าวว่า ลักษณะเก้าอี้ที่เหมาะสมกับสรีระร่างกายควรมีพนักพิงหลัง มีที่วางแขน มีความมั่นคงและสามารถปรับระดับความสูงให้เข้ากับสรีระของแต่ละคนได้ แต่เก้าอี้เลคเชอร์ที่ใช้กันอยู่นั้นไม่ตอบโจทย์ที่ว่า ซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปวดคอปวดหลังได้
เก้าอี้เลคเชอร์ที่อาคารพินิตประชานาถ หนึ่งในอาคารเรียนรวมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แล้วเราจะทำอย่างไร ให้เวลานั่งเก้าอี้นี้แล้วไม่ปวดคอปวดหลังได้บ้าง ?
“อย่านั่งนาน” รศ.ดร. ประวิตร กล่าว เพราะระยะเวลาที่นั่งคือปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดคอปวดหลัง ไม่ใช่เก้าอี้เลคเชอร์อย่างเดียว แต่เป็นเก้าอี้ทุกประเภทและควรขยับตัวบ่อยๆ
“ความไม่สบายตัวเป็นต้นเหตุของการเป็นโรคปวดคอปวดหลัง เพราะฉะนั้นถ้าหากรู้สึกได้ว่าเริ่มไม่สบายตัวก็แสดงว่าต้องหยุดแล้ว แล้วการที่จะทำให้หายไม่สบายหลังไม่สบายคอ ก็คือลุกออกไป” นักวิชาการด้านกายภาพบำบัดกล่าว
รศ.ดร. ประวิตรมองว่า ด้วยข้อจำกัดเรื่องต้นทุนและการดูแลรักษาอาจทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนเก้าอี้ในมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามเก้าอี้ที่ถูกต้องตามสรีระได้หมด จึงให้คำแนะนำว่า
“ออกกำลังกายไง ถ้าร่างกายคุณแข็งแรงต่อให้คุณนั่งเก้าอี้ห่วยแค่ไหนคุณก็ไม่เป็นไร”
นอกจากปัญหาเรื่องสุขภาพแล้ว เสียงสะท้อนจากผู้ใช้งานยังมองว่า การออกแบบเก้าอี้เลคเชอร์ไม่ได้ตอบสนองสรีระของผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน
“อีเก้าอี้เนี่ย มันเหยียดคนอ้วน” ภูรินท์ กสิคุณ นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงปัญหาการใช้งานเก้าอี้เลคเชอร์ เนื่องจากเขาเป็นคนรูปร่างค่อนข้างใหญ่ ทำให้เข้าไปนั่งก็ลำบาก และเวลานั่งก็รู้สึกอึดอัด
ส่วนธนภรณ์ แป้นจันทร์ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เล่าว่าเนื่องจากตัวเองเป็นคนถนัดซ้าย แต่พนักวางแขนของเก้าอี้เลคเชอร์ทั่วไปอยู่ด้านขวา ทำให้วางแขนลำบาก และเมื่อไม่มีที่วางแขนซ้าย ก็รู้สึกเมื่อย จึงต้องนั่งเอียง แต่ก็ยังรู้สึกปวดเมื่อยจนเสียสมาธิในการเรียนอยู่ดี
รศ. ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า เก้าอี้เลคเชอร์ไม่ได้ถูกออกแบบมาตามหลักการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) ที่คำนึงถึงความเท่าเทียมในการใช้งานของคนทุกประเภท ทุกวัย และทุกข้อจำกัดทางร่างกาย
รศ. ไตรรัตน์อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ของหลักการออกแบบเพื่อทุกคนว่า เมื่อมีทางลาดกับบันไดคู่กัน คนทั่วไปสามารถใช้งานได้ทั้งสองอย่าง แต่คนพิการใช้งานได้เพียงทางลาด ดังนั้น ตามหลักการออกแบบเพื่อทุกคนแล้ว การสร้างทางลาดเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอต่อการใช้งานของคนทุกประเภท
“เก้าอี้นี้ยังไม่ตอบหลักของ Universal Design เพราะมันต้องออกแบบแล้วทุกคนใช้ได้ ไม่ใช่เฉพาะคนพิการ แต่ผมว่าพวกคุณก็นั่งไม่ถนัด” หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคนกล่าว และมองว่าการเปลี่ยนมาใช้เก้าอี้ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น
“กลับมาใช้ระบบดั้งเดิม ใช้โต๊ะและเก้าอี้ธรรมดา” หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคนกล่าวเมื่อถามถึงวิธีแก้ปัญหา โดยเสนอว่าโต๊ะที่ดี ด้านล่างต้องโล่งให้สอดขาได้ ส่วนเก้าอี้ ไม่ว่าจะถนัดมือซ้ายหรือขวาหรือมีความบกพร่องทางร่างกายก็สามารถใช้งานได้หมด
สำหรับเก้าอี้เลคเชอร์ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดเมื่อยคอและหลัง รวมถึงไม่ตอบโจทย์การใช้งานของทุกคนนั้น ความเห็นสั้นๆ ของฐากูร ลีสัมพันธ์ นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ได้เป็นตัวแทนเสียงของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยว่า
“ควรเอาไปทิ้ง”
Like this:
Like Loading...
เรื่อง: มีนามณี ลีวิวิธนนท์ / วริศรา ชัยศุจยากร
ภาพ: เมธาวจี สาระคุณ
“นั่งนานแล้วปวดหลัง ตัวเบาะเป็นพลาสติกเลยแข็งมาก ถ้าวันที่ต้องนั่งยาวๆ 3-4 ชั่วโมงก็ปวดก้นกบเลย เอนไม่ได้ พิงไม่ได้ นั่งตรงๆ ก็ไม่ถนัด” ธิตินันท์ กำแพงสิน นักศึกษาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเล่าถึงประสบการณ์ความทรมานจากการนั่งเรียนในมหาวิทยาลัย
เช่นเดียวกับ พีรวิชญ์ แสงจันทร์ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เล่าว่าการเรียนการสอนของคณะตนส่วนใหญ่เป็นแบบฟังบรรยาย ตัวเองเป็นคนตัวสูง ทำให้ต้องนั่งและก้มคอเป็นเวลานานติดต่อกันกว่าสองชั่วโมง จนรู้สึกปวดหลังปวดคอมาก โดยเฉพาะเวลาสอบที่ต้องก้มหน้าเขียนติดต่อกัน ทำให้เขาต้องเงยหน้ามานวดหรือหมุนคอเป็นพักๆ
นี่คือส่วนหนึ่งของเสียงสะท้อนของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อเก้าอี้ในห้องเรียน หรือที่เรียกกันว่า “เก้าอี้เลคเชอร์” ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีลักษณะเป็นเก้าอี้พลาสติก มีแผ่นกระดานรองเขียนอยู่ฝั่งขวาฝั่งเดียว ไม่สามารถปรับระดับความสูงของเก้าอี้และแผ่นรองเขียนให้พอดีกับสรีระของแต่ละคนได้ จึงเป็นสาเหตุทำให้ผู้ใช้งานต้องเจอกับปัญหาปวดคอปวดหลังอยู่เป็นประจำ
รศ.ดร. ประวิตร เจนวรรธนะกุล หัวหน้าหน่วยวิจัยการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ไม่อาจพูดได้ว่าอาการปวดเมื่อยหลังและคอเกิดจากการนั่งเก้าอี้เพียงอย่างเดียว ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการแบ่งออกเป็นสามปัจจัย คือ
อาจารย์คณะสหเวชศาสตร์กล่าวว่า ลักษณะเก้าอี้ที่เหมาะสมกับสรีระร่างกายควรมีพนักพิงหลัง มีที่วางแขน มีความมั่นคงและสามารถปรับระดับความสูงให้เข้ากับสรีระของแต่ละคนได้ แต่เก้าอี้เลคเชอร์ที่ใช้กันอยู่นั้นไม่ตอบโจทย์ที่ว่า ซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปวดคอปวดหลังได้
แล้วเราจะทำอย่างไร ให้เวลานั่งเก้าอี้นี้แล้วไม่ปวดคอปวดหลังได้บ้าง ?
“อย่านั่งนาน” รศ.ดร. ประวิตร กล่าว เพราะระยะเวลาที่นั่งคือปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดคอปวดหลัง ไม่ใช่เก้าอี้เลคเชอร์อย่างเดียว แต่เป็นเก้าอี้ทุกประเภทและควรขยับตัวบ่อยๆ
รศ.ดร. ประวิตรมองว่า ด้วยข้อจำกัดเรื่องต้นทุนและการดูแลรักษาอาจทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนเก้าอี้ในมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามเก้าอี้ที่ถูกต้องตามสรีระได้หมด จึงให้คำแนะนำว่า
“ออกกำลังกายไง ถ้าร่างกายคุณแข็งแรงต่อให้คุณนั่งเก้าอี้ห่วยแค่ไหนคุณก็ไม่เป็นไร”
นอกจากปัญหาเรื่องสุขภาพแล้ว เสียงสะท้อนจากผู้ใช้งานยังมองว่า การออกแบบเก้าอี้เลคเชอร์ไม่ได้ตอบสนองสรีระของผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน
“อีเก้าอี้เนี่ย มันเหยียดคนอ้วน” ภูรินท์ กสิคุณ นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงปัญหาการใช้งานเก้าอี้เลคเชอร์ เนื่องจากเขาเป็นคนรูปร่างค่อนข้างใหญ่ ทำให้เข้าไปนั่งก็ลำบาก และเวลานั่งก็รู้สึกอึดอัด
ส่วนธนภรณ์ แป้นจันทร์ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เล่าว่าเนื่องจากตัวเองเป็นคนถนัดซ้าย แต่พนักวางแขนของเก้าอี้เลคเชอร์ทั่วไปอยู่ด้านขวา ทำให้วางแขนลำบาก และเมื่อไม่มีที่วางแขนซ้าย ก็รู้สึกเมื่อย จึงต้องนั่งเอียง แต่ก็ยังรู้สึกปวดเมื่อยจนเสียสมาธิในการเรียนอยู่ดี
รศ. ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า เก้าอี้เลคเชอร์ไม่ได้ถูกออกแบบมาตามหลักการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) ที่คำนึงถึงความเท่าเทียมในการใช้งานของคนทุกประเภท ทุกวัย และทุกข้อจำกัดทางร่างกาย
รศ. ไตรรัตน์อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ของหลักการออกแบบเพื่อทุกคนว่า เมื่อมีทางลาดกับบันไดคู่กัน คนทั่วไปสามารถใช้งานได้ทั้งสองอย่าง แต่คนพิการใช้งานได้เพียงทางลาด ดังนั้น ตามหลักการออกแบบเพื่อทุกคนแล้ว การสร้างทางลาดเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอต่อการใช้งานของคนทุกประเภท
“กลับมาใช้ระบบดั้งเดิม ใช้โต๊ะและเก้าอี้ธรรมดา” หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคนกล่าวเมื่อถามถึงวิธีแก้ปัญหา โดยเสนอว่าโต๊ะที่ดี ด้านล่างต้องโล่งให้สอดขาได้ ส่วนเก้าอี้ ไม่ว่าจะถนัดมือซ้ายหรือขวาหรือมีความบกพร่องทางร่างกายก็สามารถใช้งานได้หมด
สำหรับเก้าอี้เลคเชอร์ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดเมื่อยคอและหลัง รวมถึงไม่ตอบโจทย์การใช้งานของทุกคนนั้น ความเห็นสั้นๆ ของฐากูร ลีสัมพันธ์ นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ได้เป็นตัวแทนเสียงของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยว่า
“ควรเอาไปทิ้ง”
Share this:
Like this: