เรื่อง/ภาพ: ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร
กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Closed-circuit television หรือ CCTV) เปรียบเสมือนพยานผู้เห็นเหตุการณ์ที่สามารถบันทึกเรื่องราวตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ ภาพจากกล้องวงจรปิดจึงมักเป็นหนึ่งในหลักฐานที่ผู้เสียหายในคดีความต่างๆ นำมาใช้ประกอบการดำเนินคดี
แต่ในการพิจารณาคดีฆาตกรรม ธนิต ทัฬสุนทร ที่ถูกแทงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2559 บริเวณถนนประชาสงเคราะห์ 1 ดินแดง นั้น ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องจำเลย เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยระบุว่าหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการยกฟ้องคือ ภาพจากกล้องวงจรปิดที่นำมาใช้เป็นหลักฐาน เป็นภาพบริเวณหน้าปากซอยที่บันทึกเพียงช่วงต้นของการทะเลาะวิวาท ไม่ใช่จุดที่เกิดการฆาตกรรม จึงไม่สามารถระบุผู้ลงมือได้ การยกฟ้องในครั้งนั้นเป็นเหตุให้ ศุภชัย ทัฬสุนทร ผู้เป็นพ่อ ตัดสินใจกระโดดศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เสียชีวิตทันที
“การใช้พยานบุคคล หากถูกปัจจัยภายนอกข่มขู่ เขาอาจไม่ให้การ หรือเปลี่ยนคำให้การได้ ถ้ากล้องวงจรปิดใช้การได้ จับภาพชัด มันก็จบ นี่คือข้อดีของมัน“ธนพร ศิริบานเย็น ทนายความฝ่ายโจทก์ร่วมในศาลชั้นต้น คดีฆาตกรรมธนิต ทัฬสุนทรให้ความเห็นว่า กล้องวงจรปิดเปรียบเสมือนพนักงานรักษาความปลอดภัยชั้นดี ที่สามารถบันทึกการกระทำและใบหน้าผู้อยู่ในเหตุการณ์ แต่ถ้ากล้องชำรุดไม่พร้อมใช้งาน กล้องด้อยคุณภาพ แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือมุมกล้องแสดงภาพไม่ทั่วถึง ทำให้ภาพที่นำมาใช้เป็นหลักฐานไม่สามารถระบุตัวผู้ก่อเหตุได้อย่างชัดเจน ศาลจะพิจารณาและตัดสินคดีตามพยานหลักฐานที่มีอยู่ ซึ่งนั่นอาจทำให้ขาดข้อมูลบางส่วนไป
สอดคล้องกับคำอธิบายของ ดร. น้ำแท้ มีบุญสล้าง อัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดกาญจนบุรี ที่กล่าวว่า กระบวนการยุติธรรมคือการให้ความเป็นธรรมกับทุกคน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 ใจความว่า การดำเนินคดีต้องมีหลักฐานพิสูจน์ให้สิ้นข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดจริง หากมีความสงสัยให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ดังกรณีที่ศาลตัดสินยกฟ้องจำเลยในคดีฆาตกรรมข้างต้น
“กล้องวงจรปิดสำคัญมาก เล่าเรื่องได้ชัดเจน คนโกหกได้ กล้องโกหกไม่ได้“
อย่างไรก็ตาม ดร. น้ำแท้ ระบุว่าหากภาพจากกล้องวงจรปิดได้รับการตรวจสอบและยืนยันแล้วว่าไม่ได้ผ่านการตัดต่อ เห็นพฤติการณ์และผู้กระทำความผิดชัดเจน ศาลจะรับฟังหลักฐานและมีน้ำหนักเพียงพอที่จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี แต่ภาพจากกล้องมีค่าแค่ไหนขึ้นอยู่ว่าเห็นอะไรบ้าง บางคดีที่ไม่เห็นการกระทำความผิดที่ชัดเจน กล้องวงจรปิดเป็นเพียงหลักฐานที่บันทึกเรื่องราวไว้ส่วนหนึ่งที่อาจชี้ให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจ แต่ไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด จึงต้องมีสืบสวนสอบสวนและหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม ดร. น้ำแท้กล่าว
จะขอภาพจาก CCTV ไปใช้ได้อย่างไร
หากต้องการนำภาพจากกล้องวงจรปิดของ กทม. ที่ติดตั้งตามพื้นที่สาธารณะ ไปใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี ผู้ใช้สามารถยื่นคำร้องไปที่ศูนย์บริหารจัดการกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดย ต้องแจ้งหมายเลขกล้อง CCTV ที่มีสัญลักษณ์กทม. บริเวณกล้อง ตู้ หรือเสาติดตั้ง พร้อมทั้งวันและเวลาเกิดเหตุที่ต้องการนำภาพไปใช้ และมีบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจท้องที่ที่ได้ไปแจ้งความด้วย
เจ้าหน้าที่ศูนย์บริหารจัดการกล้องโทรทัศน์วงจรปิดอธิบายว่า ภาพจากศูนย์มีความน่าเชื่อถือสำหรับนำไปประกอบการพิจารณาคดีเพราะไม่มีการตัดต่อ และมีการลงนามเป็นหลักฐานเพื่อตรวจสอบย้อนหลังได้ แต่ปัญหาที่ผู้เสียหายบางส่วนไม่สามารถนำภาพจากกล้องวงจรปิดไปใช้ประกอบการดำเนินคดีนั้น เกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่
- กล้องชำรุดเพราะมีอายุการใช้งานเกินกำหนด ทำให้ภาพบางช่วงขาดหายไป ซึ่งปัจจัยนี้ ศูนย์ควบคุม CCTV จะพยายามป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่จากบริษัทกล้องวงจรปิดที่กทม. จัดซื้อและติดตั้งคอยตรวจเช็คทุกวัน และแก้ไขปัญหาเมื่อตรวจพบการทำงานผิดปกติ
- มุมที่ติดตั้งกล้องไม่สามารถจับภาพในบริเวณที่ต้องการได้
- กล้องบริเวณจุดเกิดเหตุไม่ใช่กล้องของกทม. เพราะกทม. สามารถติดตั้งกล้องวงจรปิดแค่ในพื้นที่สาธารณะเท่านั้น หากเป็นพื้นที่เอกชนหรือส่วนบุคคล ทางเจ้าทุกข์อาจต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจขอความร่วมมือเจ้าของกล้องวงจรปิดในการขอนำภาพมาใช้ เช่น ภาพจากร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น
- ภาพที่ต้องการถูกลบไปจากระบบจัดเก็บแล้ว กล่าวคือ ศูนย์จะจัดเก็บภาพจากกล้องวงจรปิดออนไลน์ไว้ในระบบเพียง 7 วัน ขณะที่ภาพจากกล้องวงจรปิดที่ไม่ใช่ระบบออนไลน์จะถูกจัดเก็บไว้ 15-30 วัน หากผู้ขอภาพ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ได้ทำเรื่องขอภาพก่อนที่ระบบจะลบ ก็จะไม่ได้ภาพที่ต้องการ
เพื่อป้องกันปัญหาภาพถูกลบจากระบบ ผู้ต้องการภาพสามารถติดต่อไปยังศูนย์กล้องวงจรปิด เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและเก็บภาพก่อนกำหนดลบทิ้ง และติดต่อขอรับภาพได้ในภายหลัง
สำหรับผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบระบบติดตามผลการปฏิบัติราชการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร พบว่าในปีงบประมาณ 2561 กทม. มีโครงการจัดหาพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบสถานะอุปกรณ์กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) แบบติดตั้งประจำที่ (Stand alone) พร้อมเชื่อมโยงสถานะของอุปกรณ์เข้าสู่ศูนย์ควบคุมระบบด้วยงบประมาณ 307,600,000 บาท เพื่อแก้ไขปัญหากล้องวงจรปิด ที่ติดตั้งกระจายอยู่ในพื้นที่ กทม. กว่า 10,135 จุด ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนขอความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทย หากโครงการนี้แล้วเสร็จจะสามารถลดปัญหากล้องเสีย หรือซ่อมบำรุงล่าช้าได้
ตรวจสอบตำแหน่งจุดติดตั้งกล้องวงจรปิดได้ที่ http://www.bmatraffic.com/index.aspx
CCTV จะช่วยลดอาชญากรรมได้อย่างไร
ดร. จอมเดช ตรีเมฆ อาจารย์ประจำสถาบันอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า กล้องวงจรปิดทำให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัย รวมทั้งมีผลทางอ้อมที่ช่วยยับยั้งการก่อเหตุได้ “CCTV ไม่ได้ช่วยลดอาชญากรรมโดยตรงในการจับกุมผู้ก่อเหตุ แต่มีผลทางอ้อมที่ทำให้ประชาชนอุ่นใจขึ้น หากมีคดีที่สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดโดยใช้กล้องวงจรปิดได้ จะมีส่วนทำให้เกิดความกลัวที่อาจจะนำไปสู่การยับยั้งการก่อเหตุได้” ดร. จอมเดชกล่าว
ด้าน ดร. น้ำแท้ มีบุญสล้าง อัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ์และช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดกาญจนบุรี เล่าถึงประสบการณ์ที่เคยพูดคุยกับผู้กระทำความผิดในเรือนจำว่า ผู้ต้องขังส่วนมากบอกว่าหากออกจากเรือนจำไปแล้วจะกระทำความผิดซ้ำอีก เพราะรู้สึกว่าคุ้มที่จะเสี่ยงและมีโอกาสไม่ถูกจับ แต่เมื่อถามว่าถ้ารู้ว่ามีกล้องวงจรปิดจับภาพได้ชัดเจน เขาจะยังทำผิดอีกไหม ทุกคนตอบว่าไม่ เพราะไม่อยากถูกดำเนินคดี
อย่างไรก็ตาม ดร.น้ำแท้เสนอว่า แนวทางแก้ปัญหาที่ควรทำคือ ทำให้กระบวนการยุติธรรมโปร่งใสและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าภาพที่บันทึกได้จะสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐาน และดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้จริง โดยไม่มีอำนาจของเงิน หรือตำแหน่งเข้ามามีผลกับรูปคดี
นอกจากนี้ อัยการจังหวัดกาญจนบุรีเสริมว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปเพื่อให้เกิดความโปร่งใส “กระบวนการยุติธรรมบ้านเราต้องมีการปฏิรูปสองส่วนหลักๆ คือ หนึ่งต้องไม่มีใครคนใดผูกขาดการรู้เห็นพยานหลักฐาน และ สอง หลายหน่วยงานต้องร่วมมือกันในการสืบคดี เช่น ตำรวจท้องถิ่น กองพิสูจน์หลักฐาน อัยการ ฝ่ายปกครอง ลงพื้นที่เกิดเหตุ สอบปากคำพยาน ตรวจสอบกล้องวงจรปิดและบันทึกภาพทันที ทั้งนี้เพื่อความรวดเร็ว โปร่งใส คานอำนาจซึ่งกันและกัน และไม่มีหน่วยงานใดผูกขาดคดี”
Like this:
Like Loading...
เรื่อง/ภาพ: ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร
กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Closed-circuit television หรือ CCTV) เปรียบเสมือนพยานผู้เห็นเหตุการณ์ที่สามารถบันทึกเรื่องราวตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ ภาพจากกล้องวงจรปิดจึงมักเป็นหนึ่งในหลักฐานที่ผู้เสียหายในคดีความต่างๆ นำมาใช้ประกอบการดำเนินคดี
แต่ในการพิจารณาคดีฆาตกรรม ธนิต ทัฬสุนทร ที่ถูกแทงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2559 บริเวณถนนประชาสงเคราะห์ 1 ดินแดง นั้น ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องจำเลย เมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยระบุว่าหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการยกฟ้องคือ ภาพจากกล้องวงจรปิดที่นำมาใช้เป็นหลักฐาน เป็นภาพบริเวณหน้าปากซอยที่บันทึกเพียงช่วงต้นของการทะเลาะวิวาท ไม่ใช่จุดที่เกิดการฆาตกรรม จึงไม่สามารถระบุผู้ลงมือได้ การยกฟ้องในครั้งนั้นเป็นเหตุให้ ศุภชัย ทัฬสุนทร ผู้เป็นพ่อ ตัดสินใจกระโดดศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เสียชีวิตทันที
“การใช้พยานบุคคล หากถูกปัจจัยภายนอกข่มขู่ เขาอาจไม่ให้การ หรือเปลี่ยนคำให้การได้ ถ้ากล้องวงจรปิดใช้การได้ จับภาพชัด มันก็จบ นี่คือข้อดีของมัน“ธนพร ศิริบานเย็น ทนายความฝ่ายโจทก์ร่วมในศาลชั้นต้น คดีฆาตกรรมธนิต ทัฬสุนทรให้ความเห็นว่า กล้องวงจรปิดเปรียบเสมือนพนักงานรักษาความปลอดภัยชั้นดี ที่สามารถบันทึกการกระทำและใบหน้าผู้อยู่ในเหตุการณ์ แต่ถ้ากล้องชำรุดไม่พร้อมใช้งาน กล้องด้อยคุณภาพ แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือมุมกล้องแสดงภาพไม่ทั่วถึง ทำให้ภาพที่นำมาใช้เป็นหลักฐานไม่สามารถระบุตัวผู้ก่อเหตุได้อย่างชัดเจน ศาลจะพิจารณาและตัดสินคดีตามพยานหลักฐานที่มีอยู่ ซึ่งนั่นอาจทำให้ขาดข้อมูลบางส่วนไป
สอดคล้องกับคำอธิบายของ ดร. น้ำแท้ มีบุญสล้าง อัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดกาญจนบุรี ที่กล่าวว่า กระบวนการยุติธรรมคือการให้ความเป็นธรรมกับทุกคน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 ใจความว่า การดำเนินคดีต้องมีหลักฐานพิสูจน์ให้สิ้นข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดจริง หากมีความสงสัยให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ดังกรณีที่ศาลตัดสินยกฟ้องจำเลยในคดีฆาตกรรมข้างต้น
อย่างไรก็ตาม ดร. น้ำแท้ ระบุว่าหากภาพจากกล้องวงจรปิดได้รับการตรวจสอบและยืนยันแล้วว่าไม่ได้ผ่านการตัดต่อ เห็นพฤติการณ์และผู้กระทำความผิดชัดเจน ศาลจะรับฟังหลักฐานและมีน้ำหนักเพียงพอที่จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี แต่ภาพจากกล้องมีค่าแค่ไหนขึ้นอยู่ว่าเห็นอะไรบ้าง บางคดีที่ไม่เห็นการกระทำความผิดที่ชัดเจน กล้องวงจรปิดเป็นเพียงหลักฐานที่บันทึกเรื่องราวไว้ส่วนหนึ่งที่อาจชี้ให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจ แต่ไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด จึงต้องมีสืบสวนสอบสวนและหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม ดร. น้ำแท้กล่าว
จะขอภาพจาก CCTV ไปใช้ได้อย่างไร
หากต้องการนำภาพจากกล้องวงจรปิดของ กทม. ที่ติดตั้งตามพื้นที่สาธารณะ ไปใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี ผู้ใช้สามารถยื่นคำร้องไปที่ศูนย์บริหารจัดการกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดย ต้องแจ้งหมายเลขกล้อง CCTV ที่มีสัญลักษณ์กทม. บริเวณกล้อง ตู้ หรือเสาติดตั้ง พร้อมทั้งวันและเวลาเกิดเหตุที่ต้องการนำภาพไปใช้ และมีบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจท้องที่ที่ได้ไปแจ้งความด้วย
เจ้าหน้าที่ศูนย์บริหารจัดการกล้องโทรทัศน์วงจรปิดอธิบายว่า ภาพจากศูนย์มีความน่าเชื่อถือสำหรับนำไปประกอบการพิจารณาคดีเพราะไม่มีการตัดต่อ และมีการลงนามเป็นหลักฐานเพื่อตรวจสอบย้อนหลังได้ แต่ปัญหาที่ผู้เสียหายบางส่วนไม่สามารถนำภาพจากกล้องวงจรปิดไปใช้ประกอบการดำเนินคดีนั้น เกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่
เพื่อป้องกันปัญหาภาพถูกลบจากระบบ ผู้ต้องการภาพสามารถติดต่อไปยังศูนย์กล้องวงจรปิด เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและเก็บภาพก่อนกำหนดลบทิ้ง และติดต่อขอรับภาพได้ในภายหลัง
สำหรับผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบระบบติดตามผลการปฏิบัติราชการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร พบว่าในปีงบประมาณ 2561 กทม. มีโครงการจัดหาพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบสถานะอุปกรณ์กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) แบบติดตั้งประจำที่ (Stand alone) พร้อมเชื่อมโยงสถานะของอุปกรณ์เข้าสู่ศูนย์ควบคุมระบบด้วยงบประมาณ 307,600,000 บาท เพื่อแก้ไขปัญหากล้องวงจรปิด ที่ติดตั้งกระจายอยู่ในพื้นที่ กทม. กว่า 10,135 จุด ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนขอความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทย หากโครงการนี้แล้วเสร็จจะสามารถลดปัญหากล้องเสีย หรือซ่อมบำรุงล่าช้าได้
CCTV จะช่วยลดอาชญากรรมได้อย่างไร
ดร. จอมเดช ตรีเมฆ อาจารย์ประจำสถาบันอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า กล้องวงจรปิดทำให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัย รวมทั้งมีผลทางอ้อมที่ช่วยยับยั้งการก่อเหตุได้ “CCTV ไม่ได้ช่วยลดอาชญากรรมโดยตรงในการจับกุมผู้ก่อเหตุ แต่มีผลทางอ้อมที่ทำให้ประชาชนอุ่นใจขึ้น หากมีคดีที่สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดโดยใช้กล้องวงจรปิดได้ จะมีส่วนทำให้เกิดความกลัวที่อาจจะนำไปสู่การยับยั้งการก่อเหตุได้” ดร. จอมเดชกล่าว
ด้าน ดร. น้ำแท้ มีบุญสล้าง อัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิ์และช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี จังหวัดกาญจนบุรี เล่าถึงประสบการณ์ที่เคยพูดคุยกับผู้กระทำความผิดในเรือนจำว่า ผู้ต้องขังส่วนมากบอกว่าหากออกจากเรือนจำไปแล้วจะกระทำความผิดซ้ำอีก เพราะรู้สึกว่าคุ้มที่จะเสี่ยงและมีโอกาสไม่ถูกจับ แต่เมื่อถามว่าถ้ารู้ว่ามีกล้องวงจรปิดจับภาพได้ชัดเจน เขาจะยังทำผิดอีกไหม ทุกคนตอบว่าไม่ เพราะไม่อยากถูกดำเนินคดี
อย่างไรก็ตาม ดร.น้ำแท้เสนอว่า แนวทางแก้ปัญหาที่ควรทำคือ ทำให้กระบวนการยุติธรรมโปร่งใสและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าภาพที่บันทึกได้จะสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐาน และดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้จริง โดยไม่มีอำนาจของเงิน หรือตำแหน่งเข้ามามีผลกับรูปคดี
นอกจากนี้ อัยการจังหวัดกาญจนบุรีเสริมว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปเพื่อให้เกิดความโปร่งใส “กระบวนการยุติธรรมบ้านเราต้องมีการปฏิรูปสองส่วนหลักๆ คือ หนึ่งต้องไม่มีใครคนใดผูกขาดการรู้เห็นพยานหลักฐาน และ สอง หลายหน่วยงานต้องร่วมมือกันในการสืบคดี เช่น ตำรวจท้องถิ่น กองพิสูจน์หลักฐาน อัยการ ฝ่ายปกครอง ลงพื้นที่เกิดเหตุ สอบปากคำพยาน ตรวจสอบกล้องวงจรปิดและบันทึกภาพทันที ทั้งนี้เพื่อความรวดเร็ว โปร่งใส คานอำนาจซึ่งกันและกัน และไม่มีหน่วยงานใดผูกขาดคดี”
Share this:
Like this: