GOT7 ศิลปินเกาหลีที่กำลังมาแรงจากค่าย JYP จัดคอนเสิร์ตครั้งแรกในไทยช่วงปี 2559 ก่อนจะขยับไปสู่การทัวร์สี่ภาคในปี 2560 และเพิ่มรอบการแสดงเป็นสามรอบใน GOT7 2018 WORLD TOUR ‘EYES ON YOU’ IN BANGKOK เมื่อกลางปี 2561 หรือพาเหรดการจัดการแสดงในประเทศไทยเป็นครั้งแรกของศิลปินชื่อดังอย่าง Britney Spears, Oh Wonder, Ariana Grande, Ed Sheeran และอื่นๆ อีกมากมาย
และแน่นอนว่าเรื่องของราคาบัตรคอนเสิร์ตก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ร้อนแรงท่ามกลางสงคราม sold out
ในปี 2551 วงบิ๊กแบง บอยแบนด์ยอดนิยมจากประเทศเกาหลีใต้ได้จัดคอนเสิร์ต BIGBANG GLOBAL WARNING TOUR LIVE IN BANGKOK 2008 ขึ้น โดยราคาเริ่มต้นที่ 500 บาท และสูงสุด 2,000 บาท 7 ปีต่อมา บิ๊กแบงกลับมาจัดคอนเสิร์ต BIGBANG 2015 WORLD TOUR [MADE] ในประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งราคาเริ่มต้นของคอนเสิร์ตนี้อยู่ที่ 1,500 บาท และราคาสูงสุดถึง 8,500 บาท หรืออย่างคอนเสิร์ต Sam Smith : The Thrill Of It All Tour ในปี 2561 บัตรคอนเสิร์ตราคาตั้งแต่ 2,000-6,000 บาท แต่เมื่อซื้อบัตรพร้อมสิทธิพิเศษจะมีราคา 9,000 บาท ขณะที่คอนเสิร์ต Madonna Rebel Heart Tour ของราชินีเพลงป็อปอย่างมาดอนน่าเมื่อปี 2559 มีราคาเริ่มต้น 2,000 บาท แพงที่สุด 16,000 บาท หรือหากเลือกซื้อบัตรพร้อมสิทธิพิเศษจะมีราคาสูงถึง 30,000 บาทเลยทีเดียว
คอนเสิร์ต WANNA ONE WORLD TOUR [ONE: THE WORLD] in BANGKOK จัดขึ้นวันที่ 4-5 สิงหาคม 2561 ณ อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี โดยมีผู้เข้าชมรวมกว่า 30,000 คน
เรื่อง : กรพินธุ์ บุญส่งทรัพย์
ภาพ : กรพินธุ์ บุญส่งทรัพย์ / ฐิติวรรณ แสงเพชรสุวรรณ์
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ สังคมไทยเริ่มเข้าสู่ยุคนิยมดนตรีสด การเพิ่มขึ้นของเทศกาลดนตรีหรือคอนเสิร์ตทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศย่อมส่งผลกับการบริโภคของชาวไทยตามไปด้วย
GOT7 ศิลปินเกาหลีที่กำลังมาแรงจากค่าย JYP จัดคอนเสิร์ตครั้งแรกในไทยช่วงปี 2559 ก่อนจะขยับไปสู่การทัวร์สี่ภาคในปี 2560 และเพิ่มรอบการแสดงเป็นสามรอบใน GOT7 2018 WORLD TOUR ‘EYES ON YOU’ IN BANGKOK เมื่อกลางปี 2561 หรือพาเหรดการจัดการแสดงในประเทศไทยเป็นครั้งแรกของศิลปินชื่อดังอย่าง Britney Spears, Oh Wonder, Ariana Grande, Ed Sheeran และอื่นๆ อีกมากมาย
และแน่นอนว่าเรื่องของราคาบัตรคอนเสิร์ตก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ร้อนแรงท่ามกลางสงคราม sold out
ในปี 2551 วงบิ๊กแบง บอยแบนด์ยอดนิยมจากประเทศเกาหลีใต้ได้จัดคอนเสิร์ต BIGBANG GLOBAL WARNING TOUR LIVE IN BANGKOK 2008 ขึ้น โดยราคาเริ่มต้นที่ 500 บาท และสูงสุด 2,000 บาท 7 ปีต่อมา บิ๊กแบงกลับมาจัดคอนเสิร์ต BIGBANG 2015 WORLD TOUR [MADE] ในประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งราคาเริ่มต้นของคอนเสิร์ตนี้อยู่ที่ 1,500 บาท และราคาสูงสุดถึง 8,500 บาท หรืออย่างคอนเสิร์ต Sam Smith : The Thrill Of It All Tour ในปี 2561 บัตรคอนเสิร์ตราคาตั้งแต่ 2,000-6,000 บาท แต่เมื่อซื้อบัตรพร้อมสิทธิพิเศษจะมีราคา 9,000 บาท ขณะที่คอนเสิร์ต Madonna Rebel Heart Tour ของราชินีเพลงป็อปอย่างมาดอนน่าเมื่อปี 2559 มีราคาเริ่มต้น 2,000 บาท แพงที่สุด 16,000 บาท หรือหากเลือกซื้อบัตรพร้อมสิทธิพิเศษจะมีราคาสูงถึง 30,000 บาทเลยทีเดียว
ธนัชญา วีรวุฒิไกร ผู้ติดตามวงการบันเทิงเกาหลีมากว่าสิบปี เห็นว่า “คนอยากไปมากก็ต้องหาเงินมาซื้อบัตรอยู่ดี” เช่นเดียวกับแสงระวี (สงวนนามสกุล) ที่บอกว่าหากเป็นศิลปินที่ชอบก็คงยอมจ่าย ต่อให้ไม่ชอบใจผู้จัดก็ต้องสนับสนุนศิลปินไว้ก่อน แต่ก็ควรสนับสนุนตามกำลังและไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน
ผศ.ดร. อรุณี ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายว่าราคาบัตรคอนเสิร์ตที่เพิ่มขึ้นถูกกำหนดจากสองอย่างในตลาดคือด้านผู้ซื้อซึ่งเรียกว่าอุปสงค์ กับด้านผู้ผลิตซึ่งเรียกว่าอุปทาน
“อย่างคิมฮยอนจุง เมื่อก่อนอาจารย์ไปดู ตอนที่ดังสุดๆ สมัยอยู่วง SS501 หลังเล่น F4 บัตรตั้ง 5,000 บาท จนผ่านไปสิบปีเพิ่งมาแฟนมีตติ้ง ราคาต่ำสุดเหลือ 3,000 หรือ 2,500 บาท คือความนิยมมันน้อยลง ตอนนั้นถูกสุดก็คือ 5,000 บาท แถวใกล้ๆ นี่ 7,000 บาท ก็คือต้องมีเหงื่อฮยอนจุงกระเด็นใส่ (หัวเราะ)” ผศ.ดร.อรุณียกตัวอย่าง
นอกจากนี้ ผศ.ดร.อรุณียังบอกว่าทางเศรษฐศาสตร์ กรณีที่แฟนคลับบางคนก็ซื้อบัตรโดยไม่สนใจราคาเพราะชื่นชอบศิลปินมาก เรียกว่าเส้นอุปสงค์มีความยืดหยุ่นต่ำ นั่นคือต่อให้ผู้ผลิตจะตั้งราคาสินค้าที่จุดใดก็จะมีผู้บริโภคเสมอ คือขายได้ และขายหมด!
‘Genie Fest 19 ปี กว่าจะร็อกเท่าวันนี้’ คอนเสิร์ตที่รวบรวมวงร็อกจากค่าย Genie Records เมื่อต้นปี 2561 ที่ผ่านมา สามารถขายบัตร 60,000 ใบหมดภายในเวลาเพียง 15 นาที หรืองาน Mangosteen Music Festival ช่วงกลางปี 2561 ที่นำวงดนตรียอดนิยมอย่าง Honne จัดการแสดงร่วมกับศิลปินไทยอย่าง The Toys และวง Mean ซึ่งขายบัตรหมดเกลี้ยงในเวลาไม่ถึงสิบนาทีจนต้องมีการประกาศเพิ่มรอบในวันต่อมา
การเกิดปรากฏการณ์ sold out นี่เองที่นำไปสู่การหาเงินรูปแบบใหม่ นั่นคือการขายบัตรต่อในราคาที่สูงกว่าต้นทุน โดยมีลูกค้าคือกลุ่มแฟนคลับจำนวนไม่น้อยที่ซื้อบัตรจากผู้จัดโดยตรงไม่ทันจึงต้องจำยอมซื้อบัตรอัปที่โพสต์ขายทางสื่อออนไลน์อย่างทวิตเตอร์หรือแฟนเพจเฟซบุ๊ก นอกจากนี้ ยังมีเว็บไซต์เพื่อการซื้อขายบัตรโดยเฉพาะ เช่น StubHub.co.th แหล่งรวบรวมบัตรคอนเสิร์ตทั้งในไทยและต่างประเทศที่ผู้ซื้อสามารถติดต่อกับเจ้าของบัตรโดยตรง
ไม่เพียงแต่ความหลากหลายของช่องทางการซื้อบัตรต่อในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง แต่ยังเกิดธุรกิจที่เรียกว่า ‘รับจ้างกดบัตร’ คือการรับกดบัตรให้กับลูกค้าที่ไม่มั่นใจว่าตนเองจะสามารถซื้อได้ทัน โดยอาจต้องมีการจ่ายเงินค่ากดเพิ่มเติมจากราคาบัตรปกติ
ภิญญดา ธนบุลวัฒน์ พนักงานบริษัทอายุ 22 ปี หนึ่งในผู้มีประสบการณ์ซื้อบัตรอัปราคาและเคยใช้บริการรับจ้างกดบัตรเล่าให้ฟังว่า “เวลาไปคอนเสิร์ตเราก็ไม่ค่อยเจอคนซื้อบัตรเองนะ คนก็ซื้อต่อกันทั้งนั้น เรากดบัตรเองไม่ได้ แล้วมันก็ไม่มีทางเลือกเลยจ้างร้านกดเลย สมมติว่าค่าบัตร 6,500 บาท เราก็เสียค่ากดเพิ่มแค่ 500 บาท ซึ่งมันจะคุ้มกว่าการซื้อบัตรอัปอยู่แล้ว คนเหมาร้านอินเทอร์เน็ตเพื่อกดบัตรเยอะมาก”
แล้วผู้บริโภคจะทำอย่างไรกับสถานการณ์ที่บัตรคอนเสิร์ตราคาสูงได้บ้าง?
ในทางเศรษฐศาสตร์ ผศ.ดร.อรุณีบอกว่า
ขณะที่ผู้บริโภคอย่างภิญญดามองว่าไม่มีมาตรการที่จะควบคุมอุปสงค์อุปทานในตลาดได้ เพราะคนอยากไปก็คือคนอยากไป “เรารู้สึกว่ามันไม่มีทางที่จะแก้ไขได้ มันอาจจะมีมาตรการที่ทำให้ขายได้ยากขึ้นมากกว่า ซึ่งอาจจะทำให้คนโกงน้อยลง แต่ไม่มีทางที่จะทำให้การซื้อบัตรมาขายต่อแบบเอากำไรหมดไป”
ท่ามกลางยุคสมัยที่คอนเสิร์ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความสุขในชีวิต การที่ราคาบัตรยังเพิ่มสูงขึ้นนอกจากจะส่งผลต่อการตัดสินใจและการบริหารจัดการเงินของผู้บริโภคแล้ว ยังเอื้อให้เกิดการทุจริตในรูปแบบต่างๆ เช่น การขายต่อในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง หรือการขายต่อโดยที่ไม่ได้มีบัตรคอนเสิร์ตอยู่จริง
“ผู้บริโภคต้องระวังตัวให้มากขึ้น ถ้าซื้อบัตรต่อจากคนอื่น เราก็จะตรวจดูก่อนว่าบัตรของแท้หรือของปลอม โอนเงินผ่านเลขบัญชี ตอนนี้ซื้อของก็ต้องเช็คเยอะหน่อย แบบขอดูบัตรประชาชนด้วยนะคะ (หัวเราะ)” ภิญญดากล่าวทิ้งท้าย
Share this:
Like this: