เรื่อง : ปุณยภา ประสานเหลืองวิไล
ภาพ : กรพินธุ์ บุญส่งทรัพย์
“ช่วงบ่ายวันหนึ่ง เราปวดท้องเมนส์หนักมาก ไม่ไหวแล้ว ประคบน้ำร้อนก็แล้ว กินยาก็แล้ว แต่มันไม่ได้นอนพัก เราก็ทำงานไม่ไหว บอกพี่หัวหน้าขอกลับก่อน แล้วเราก็ต้องเรียกแท็กซี่ ขนาดแค่จะไปบีทีเอส เรายังไม่ไหว ต้องนั่งแท็กซี่กลับคอนโด”
นางสาวกนกวรรณ เชาวน์เจริญ พนักงานบริษัทด้านการตลาดสื่อดิจิทัลวัย 23 ปี เล่าว่าตนเริ่มปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรงหลังจากจบมหาวิทยาลัย กนกวรรณบอกว่าช่วงวันแรกของการมีประจำเดือนเธอจะปวดท้องตลอดเวลา ร่างกายรู้สึกชาและรู้สึกไม่อยากขยับตัว เวลานั่งก็ต้องเอนตัวให้ราบมากที่สุด
นางสาวกัญญาพัชญ์ เบ็ญจพิธจักษุ ข้าราชการอายุ 30 ปี เล่าว่าเธอปวดท้องน้อยอย่างหนักทุกครั้งที่มีประจำเดือน หลายครั้งปวดมากจนเธอไม่สามารถทำอะไรในวันนั้นได้เลย ทำได้แค่นอนคว่ำตลอดเวลา เธอจึงรู้สึกกังวลใจและกลัวว่าตนจะเป็นโรคร้ายแรง แต่เมื่อเธอไปตรวจร่างกายก็ไม่พบว่ามีอะไรผิดปกติ
พญ.พธู ตัณฑ์ไพโรจน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ แผนกสูตินารีเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายว่าการปวดท้องประจำเดือนมีลักษณะใกล้เคียงอาการปวดท้องเสีย คือท้องจะบีบเกร็งทั้งวันตลอดการมีประจำเดือน และระดับความปวดท้องก็ยากที่จะกะเกณฑ์ว่าใครปวดมากหรือน้อย เพราะความปวดเป็นความรู้สึกส่วนตัวของคนคนนั้น ไม่มีเครื่องมือวัดได้ ความรู้สึกปวดขึ้นอยู่กับระดับการรับรู้ความเจ็บของแต่ละคนหรือ pain ratio ที่ไม่เท่ากัน
การเป็นประจำเดือนในวันทั่วไปก็สร้างความลำบากให้กับผู้หญิงอยู่แล้ว แต่ในวันที่ต้องทำงาน การเป็นประจำเดือนยิ่งเป็นอุปสรรค กนกวรรณเล่าว่าหลายครั้งเธอเป็นประจำเดือนวันแรกตรงกับวันทำงาน เธอเคยต้องกลับบ้านกลางคันเพราะปวดท้องมากจนทนไม่ไหวและประสิทธิภาพในการทำงานของเธอก็ลดลงอย่างมาก
“เราทำงานใช้ความคิด เราต้องพึ่งไอเดียเป็นสำคัญ พอปวดท้อง ไอเดียมันก็ไม่มา เขียนงานก็ไม่ได้ คิดอะไรไม่ออก บางทีก็ไม่อยากคิดเลย” กนกวรรณกล่าว
กนกวรรณเสริมว่าในระหว่างวัน เธอลองพยายามจะรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน แต่ไม่มีเวลาพักเพราะต้องทำงานต่อเนื่อง อาการจึงไม่ดีขึ้นและทำงานไม่ได้อยู่ดี ส่วนกัญญาพัชญ์ระบุว่า เธอไม่รับประทานยาแก้ปวดท้องประจำเดือน เพราะทำให้เธอใจสั่น ดังนั้น ถ้าเธอต้องมาทำงานในวันที่มีประจำเดือน เธอก็ต้องทนแม้จะรู้สึกทรมานก็ตาม
การรับประทานยาแก้ปวดช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน
“ถ้าปวดท้องตรงกับวันทำงานก็จะฝืนมา แต่ก็มานั่งโอดโอย อย่างตอนทำงานเราจะไม่มีสมาธิตลอดวัน บางทีเราไม่ไหว มันก็ต้องฟุบนะ เราก็นั่งไม่สะดวก ต้องมานั่งหลังคดหลังงอ เก้าอี้เอนได้ก็จริงแต่มันปวดท้อง เลยต้องคอยงอตัวตลอด” กัญญาพัชญ์บรรยายภาพการทำงานในวันที่เป็นประจำเดือน
ขณะเดียวกันบางครั้งการปวดท้องประจำเดือนอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้าย นางทรงศรี โพธิสวัสดิ์ พนักงานมหาวิทยาลัยอายุ 56 ปี เล่าว่าในช่วงอายุ 20 เธอปวดท้องประจำเดือนอย่างหนัก เมื่อไปพบแพทย์จึงพบว่าเธอเป็นช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) คือมีถุงน้ำในรังไข่ที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เมื่อเป็นประจำเดือนจะมีเลือดสะสมและตกค้างก่อตัวเป็นซีสต์ ทำให้เธอปวดท้องหนักจนทำงานไม่ได้และต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษา
สำหรับการรักษาอาการปวดท้องประจำเดือนนั้น พญ.พธูกล่าวว่าถ้าปวดท้องมากก็ควรมาพบแพทย์ เพราะอาการปวดมีหลายสาเหตุ ถ้าพบว่าเป็นโรคร้ายจะได้เข้ารักษาตั้งแต่เนิ่นๆ หรือตรวจแล้วไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงก็อาจจะแนะนำให้ทานยา เพื่อให้ไม่มีอาการปวดและไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิต
นอกจากผลกระทบต่อร่างกายแล้ว อาการปวดประจำเดือนยังมีผลต่อสุขภาพจิตด้วย กนกวรรณเล่าว่าบางเดือนเธอจะรู้สึกอ่อนไหวเป็นพิเศษ อยากร้องไห้ มีอาการซึม ซึ่งหลายครั้งอาการเหล่านี้ก็เป็นอุปสรรคในการทำงาน
“บางทีมันกระทบกับงาน เพราะงานเราต้องเขียน ถ้าอารมณ์เศร้าอยู่ อยากร้องไห้ แต่ต้องเขียนงานที่ร่าเริงสดใส เวลาเขียนแล้วไม่ค่อยมาเท่าไร” กนกวรรณกล่าว
ส่วนกัญญาพัชญ์ก็มีสภาพอารมณ์ที่เปลี่ยนไปในช่วงเป็นประจำเดือน เธอหงุดหงิดเพราะไม่สบายเนื้อสบายตัว และบางครั้งก็เกิดความเครียดด้วย กัญญาพัชญ์เล่าว่าความแปรปรวนของอารมณ์ขณะเป็นประจำเดือนมีผลต่อการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างและเพื่อนร่วมงานด้วย “สองวันแรกนะ โอโห โลกทั้งใบอยู่ที่ฉัน อย่ามายุ่งกับฉันนะ ฉันไม่โอเค” กัญญาพัชญ์บอก
กนกวรรณและกัญญาพัชญ์เห็นตรงกันว่า ถ้าเลือกได้ก็อยากจะหยุดพักในวันที่ปวดท้องประจำเดือน เพราะการฝืนมาทำงานจะยิ่งปวดท้องหนักขึ้น ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ แต่พวกเธอก็ไม่ได้ขอลาหยุดทุกเดือน เพราะเกรงใจเพื่อนร่วมงานและไม่อยากให้การทำงานหยุดชะงัก
อาการปวดท้องอย่างรุนแรงจะเกิดในช่วง 1 – 3 วันแรกของการเป็นประจำเดือน
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองการลาป่วยเนื่องจากปวดท้องประจำเดือน ขณะที่บางประเทศอย่างเช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น มีกฎหมายรับรองแล้ว หากวันหนึ่งไทยมีกฎหมายให้สิทธินี้แก่แรงงานผู้หญิงบ้าง กัญญาพัชญ์มองว่าก็เป็นเรื่องที่ดี ที่ผู้มีอาการปวดท้องรุนแรงจะได้พักผ่อน แต่ก็กังวลใจว่าบางคนมีประจำเดือนมากกว่าหนึ่งครั้งต่อเดือน การลาป่วยด้วยสาเหตุนี้ก็อาจกระทบกับการทำงาน
“ผู้หญิงบางคนที่ไม่ได้ปวดมากอาจจะรู้สึกว่าฉันก็เป็นนะ แต่ฉันไม่เห็นปวดเท่าเธอเลย ทำไมเธอต้องลา แต่อยากให้เข้าใจว่าสรีระของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจปวดถึงขั้นที่ทำอะไรไม่ได้แล้ว ให้เขาพักน่าจะดีกว่าให้เขามานั่งฝืนทำ บางทีเราไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรมากกว่านั้นไหม อย่างน้อยให้เขาพักก่อน ไม่ดีขึ้นก็ไปหาหมอ เพื่อให้สามารถกลับมาทำงานได้ปกติ น่าจะดีกว่า” กัญญาพัชญ์กล่าว
ทรงศรีก็เห็นว่าถ้าสามารถลาปวดท้องประจำเดือนได้จะเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ห่วงว่าบางคนอาจฉวยโอกาสลาทั้งที่ไม่ได้ป่วยจริง “ถ้าให้สิทธิลาประจำเดือนได้ก็ดี ผู้หญิงบางคนก็ปวดเยอะจริงๆ เพียงแต่ขึ้นอยู่กับว่าความซื่อสัตย์ของแต่ละคน ว่าจะปวดนิดเดียวแล้วลารึเปล่า แต่จากคนเคยปวดนะ สนับสนุนเลยว่า มันควรจะมี”
กนกวรรณเป็นอีกคนที่เห็นด้วยกับการมีสิทธิลาปวดท้องประจำเดือน “มีเผื่อไว้มันก็ดี คือไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่ปวดเมนส์ทุกเดือน แต่ก็เหมือนผู้ชายที่มีสิทธิลาบวช เขาก็มีไว้ ทั้งที่บางคนก็ไม่ได้บวช เราก็ขอมีบ้างได้ไหม ที่ไม่ใช่วันลาป่วยหรืออะไร”
กนกวรรณเล่าต่ออีกว่า “ไม่ถึงขั้นอยากเรียกร้องให้คนอื่นเข้าใจว่าเราปวดยังไงหรอก แค่อยากให้เข้าใจว่ามันมีอยู่จริงก็พอ ไม่ใช่ว่าฉันปวดท้องเหมือนปวดท้องหิวข้าว มันไม่ใช่ ใครจะอยากลางานกลางคัน ไม่ต้องรู้หรอกว่าฉันปวดขนาดไหน รู้แค่ฉันปวดจริงๆ ไม่ได้สร้างเรื่อง แค่นั้นก็พอแล้ว”
นางสาวคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน อธิบายว่า สิทธิลาป่วยกับสิทธิลาปวดประจำเดือนแตกต่างกัน เพราะสิทธิลาป่วยเป็นสิทธิตามสถานะการเป็นแรงงานดังนั้นไม่ว่าชายหรือหญิงจะมีสิทธิเท่ากัน แต่ลาป่วยเนื่องจากปวดประจำเดือนเป็นสิทธิที่แยกออกมาเนื่องจากความแตกต่างทางสรีระของผู้หญิง สามารถเทียบเคียงได้กับสิทธิลาบวชและลาเกณฑ์ทหารซึ่งเป็นสิทธิทางสังคมของความเป็นเพศชายในสังคมไทย
ทนายคุ้มเกล้ามองว่าพนักงานหญิงควรมีสิทธิลาปวดประจำเดือน เนื่องจากเป็นเงื่อนไขทางสุขภาพที่ต้องประสบทุกเดือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ หากมีกฎหมายที่ให้สิทธิลาป่วยเนื่องจากปวดประจำเดือนได้ แรงงานหญิงก็จะได้การคุ้มครองด้านสุขภาพเฉพาะของสตรี และกฎหมายนี้จะเป็นตัวชี้วัดหนึ่งถึงความเสมอภาคทางสุขภาพของแรงงานหญิง
การปวดท้องประจำเดือน แบ่งได้เป็นสองแบบ
-
อาการปวดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เกิดจากเมื่อไข่ตกแล้วมีสารอักเสบหลั่งออกมา ทำให้มดลูกบีบตัว เป็นอาการปวดที่พบได้ปกติ เช่น การปวดประจำเดือนช่วงสามวันแรก การปวดแบบนี้เป็นกลไกทางธรรมชาติ มักพบในกลุ่มวัยรุ่นและช่วงอายุ 20 เพราะเป็นช่วงเจริญพันธุ์ เมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดนี้จะค่อยๆ หายไป
-
อาการปวดจากแบบที่สอง เกิดจากมีพยาธิสภาพ กล่าวคือ มีความผิดปกติบางอย่างในร่างกาย เช่น เป็นการปวดท้องเกิดจากอาการของโรคซึ่งการปวดจะหนักกว่ากลุ่มแรก โรคที่เป็นสาเหตุอาจจะเกิดจากพังผืดในช่องท้อง หรือเยื่อบุช่องท้องอยู่ผิดที่ ช็อกโกแลตซีสต์ มะเร็งรังไข่ หรือสาเหตุอื่น
-
ผู้ที่มีอาการปวดท้องผิดปกติ และสงสัยว่าตนมีพยาธิสภาพ อาจเริ่มตรวจสอบขั้นต้นด้วยตนเอง โดยให้คะแนนระดับอาการปวด เริ่มจาก 0 ไปถึง 10 และเก็บข้อมูลทุกเดือน หากคะแนนอาการปวดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นสัญญาณความผิดปรกติ ควรพบแพทย์
ที่มา : พญ.พธู ตัณฑ์ไพโรจน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ แผนกสูตินารีเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Like this:
Like Loading...
เรื่อง : ปุณยภา ประสานเหลืองวิไล
ภาพ : กรพินธุ์ บุญส่งทรัพย์
“ช่วงบ่ายวันหนึ่ง เราปวดท้องเมนส์หนักมาก ไม่ไหวแล้ว ประคบน้ำร้อนก็แล้ว กินยาก็แล้ว แต่มันไม่ได้นอนพัก เราก็ทำงานไม่ไหว บอกพี่หัวหน้าขอกลับก่อน แล้วเราก็ต้องเรียกแท็กซี่ ขนาดแค่จะไปบีทีเอส เรายังไม่ไหว ต้องนั่งแท็กซี่กลับคอนโด”
นางสาวกนกวรรณ เชาวน์เจริญ พนักงานบริษัทด้านการตลาดสื่อดิจิทัลวัย 23 ปี เล่าว่าตนเริ่มปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรงหลังจากจบมหาวิทยาลัย กนกวรรณบอกว่าช่วงวันแรกของการมีประจำเดือนเธอจะปวดท้องตลอดเวลา ร่างกายรู้สึกชาและรู้สึกไม่อยากขยับตัว เวลานั่งก็ต้องเอนตัวให้ราบมากที่สุด
นางสาวกัญญาพัชญ์ เบ็ญจพิธจักษุ ข้าราชการอายุ 30 ปี เล่าว่าเธอปวดท้องน้อยอย่างหนักทุกครั้งที่มีประจำเดือน หลายครั้งปวดมากจนเธอไม่สามารถทำอะไรในวันนั้นได้เลย ทำได้แค่นอนคว่ำตลอดเวลา เธอจึงรู้สึกกังวลใจและกลัวว่าตนจะเป็นโรคร้ายแรง แต่เมื่อเธอไปตรวจร่างกายก็ไม่พบว่ามีอะไรผิดปกติ
พญ.พธู ตัณฑ์ไพโรจน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ แผนกสูตินารีเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายว่าการปวดท้องประจำเดือนมีลักษณะใกล้เคียงอาการปวดท้องเสีย คือท้องจะบีบเกร็งทั้งวันตลอดการมีประจำเดือน และระดับความปวดท้องก็ยากที่จะกะเกณฑ์ว่าใครปวดมากหรือน้อย เพราะความปวดเป็นความรู้สึกส่วนตัวของคนคนนั้น ไม่มีเครื่องมือวัดได้ ความรู้สึกปวดขึ้นอยู่กับระดับการรับรู้ความเจ็บของแต่ละคนหรือ pain ratio ที่ไม่เท่ากัน
การเป็นประจำเดือนในวันทั่วไปก็สร้างความลำบากให้กับผู้หญิงอยู่แล้ว แต่ในวันที่ต้องทำงาน การเป็นประจำเดือนยิ่งเป็นอุปสรรค กนกวรรณเล่าว่าหลายครั้งเธอเป็นประจำเดือนวันแรกตรงกับวันทำงาน เธอเคยต้องกลับบ้านกลางคันเพราะปวดท้องมากจนทนไม่ไหวและประสิทธิภาพในการทำงานของเธอก็ลดลงอย่างมาก
“เราทำงานใช้ความคิด เราต้องพึ่งไอเดียเป็นสำคัญ พอปวดท้อง ไอเดียมันก็ไม่มา เขียนงานก็ไม่ได้ คิดอะไรไม่ออก บางทีก็ไม่อยากคิดเลย” กนกวรรณกล่าว
กนกวรรณเสริมว่าในระหว่างวัน เธอลองพยายามจะรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน แต่ไม่มีเวลาพักเพราะต้องทำงานต่อเนื่อง อาการจึงไม่ดีขึ้นและทำงานไม่ได้อยู่ดี ส่วนกัญญาพัชญ์ระบุว่า เธอไม่รับประทานยาแก้ปวดท้องประจำเดือน เพราะทำให้เธอใจสั่น ดังนั้น ถ้าเธอต้องมาทำงานในวันที่มีประจำเดือน เธอก็ต้องทนแม้จะรู้สึกทรมานก็ตาม
“ถ้าปวดท้องตรงกับวันทำงานก็จะฝืนมา แต่ก็มานั่งโอดโอย อย่างตอนทำงานเราจะไม่มีสมาธิตลอดวัน บางทีเราไม่ไหว มันก็ต้องฟุบนะ เราก็นั่งไม่สะดวก ต้องมานั่งหลังคดหลังงอ เก้าอี้เอนได้ก็จริงแต่มันปวดท้อง เลยต้องคอยงอตัวตลอด” กัญญาพัชญ์บรรยายภาพการทำงานในวันที่เป็นประจำเดือน
ขณะเดียวกันบางครั้งการปวดท้องประจำเดือนอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้าย นางทรงศรี โพธิสวัสดิ์ พนักงานมหาวิทยาลัยอายุ 56 ปี เล่าว่าในช่วงอายุ 20 เธอปวดท้องประจำเดือนอย่างหนัก เมื่อไปพบแพทย์จึงพบว่าเธอเป็นช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) คือมีถุงน้ำในรังไข่ที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เมื่อเป็นประจำเดือนจะมีเลือดสะสมและตกค้างก่อตัวเป็นซีสต์ ทำให้เธอปวดท้องหนักจนทำงานไม่ได้และต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษา
สำหรับการรักษาอาการปวดท้องประจำเดือนนั้น พญ.พธูกล่าวว่าถ้าปวดท้องมากก็ควรมาพบแพทย์ เพราะอาการปวดมีหลายสาเหตุ ถ้าพบว่าเป็นโรคร้ายจะได้เข้ารักษาตั้งแต่เนิ่นๆ หรือตรวจแล้วไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงก็อาจจะแนะนำให้ทานยา เพื่อให้ไม่มีอาการปวดและไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิต
นอกจากผลกระทบต่อร่างกายแล้ว อาการปวดประจำเดือนยังมีผลต่อสุขภาพจิตด้วย กนกวรรณเล่าว่าบางเดือนเธอจะรู้สึกอ่อนไหวเป็นพิเศษ อยากร้องไห้ มีอาการซึม ซึ่งหลายครั้งอาการเหล่านี้ก็เป็นอุปสรรคในการทำงาน
ส่วนกัญญาพัชญ์ก็มีสภาพอารมณ์ที่เปลี่ยนไปในช่วงเป็นประจำเดือน เธอหงุดหงิดเพราะไม่สบายเนื้อสบายตัว และบางครั้งก็เกิดความเครียดด้วย กัญญาพัชญ์เล่าว่าความแปรปรวนของอารมณ์ขณะเป็นประจำเดือนมีผลต่อการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างและเพื่อนร่วมงานด้วย “สองวันแรกนะ โอโห โลกทั้งใบอยู่ที่ฉัน อย่ามายุ่งกับฉันนะ ฉันไม่โอเค” กัญญาพัชญ์บอก
กนกวรรณและกัญญาพัชญ์เห็นตรงกันว่า ถ้าเลือกได้ก็อยากจะหยุดพักในวันที่ปวดท้องประจำเดือน เพราะการฝืนมาทำงานจะยิ่งปวดท้องหนักขึ้น ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ แต่พวกเธอก็ไม่ได้ขอลาหยุดทุกเดือน เพราะเกรงใจเพื่อนร่วมงานและไม่อยากให้การทำงานหยุดชะงัก
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองการลาป่วยเนื่องจากปวดท้องประจำเดือน ขณะที่บางประเทศอย่างเช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น มีกฎหมายรับรองแล้ว หากวันหนึ่งไทยมีกฎหมายให้สิทธินี้แก่แรงงานผู้หญิงบ้าง กัญญาพัชญ์มองว่าก็เป็นเรื่องที่ดี ที่ผู้มีอาการปวดท้องรุนแรงจะได้พักผ่อน แต่ก็กังวลใจว่าบางคนมีประจำเดือนมากกว่าหนึ่งครั้งต่อเดือน การลาป่วยด้วยสาเหตุนี้ก็อาจกระทบกับการทำงาน
“ผู้หญิงบางคนที่ไม่ได้ปวดมากอาจจะรู้สึกว่าฉันก็เป็นนะ แต่ฉันไม่เห็นปวดเท่าเธอเลย ทำไมเธอต้องลา แต่อยากให้เข้าใจว่าสรีระของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจปวดถึงขั้นที่ทำอะไรไม่ได้แล้ว ให้เขาพักน่าจะดีกว่าให้เขามานั่งฝืนทำ บางทีเราไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรมากกว่านั้นไหม อย่างน้อยให้เขาพักก่อน ไม่ดีขึ้นก็ไปหาหมอ เพื่อให้สามารถกลับมาทำงานได้ปกติ น่าจะดีกว่า” กัญญาพัชญ์กล่าว
ทรงศรีก็เห็นว่าถ้าสามารถลาปวดท้องประจำเดือนได้จะเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ห่วงว่าบางคนอาจฉวยโอกาสลาทั้งที่ไม่ได้ป่วยจริง “ถ้าให้สิทธิลาประจำเดือนได้ก็ดี ผู้หญิงบางคนก็ปวดเยอะจริงๆ เพียงแต่ขึ้นอยู่กับว่าความซื่อสัตย์ของแต่ละคน ว่าจะปวดนิดเดียวแล้วลารึเปล่า แต่จากคนเคยปวดนะ สนับสนุนเลยว่า มันควรจะมี”
กนกวรรณเป็นอีกคนที่เห็นด้วยกับการมีสิทธิลาปวดท้องประจำเดือน “มีเผื่อไว้มันก็ดี คือไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่ปวดเมนส์ทุกเดือน แต่ก็เหมือนผู้ชายที่มีสิทธิลาบวช เขาก็มีไว้ ทั้งที่บางคนก็ไม่ได้บวช เราก็ขอมีบ้างได้ไหม ที่ไม่ใช่วันลาป่วยหรืออะไร”
กนกวรรณเล่าต่ออีกว่า “ไม่ถึงขั้นอยากเรียกร้องให้คนอื่นเข้าใจว่าเราปวดยังไงหรอก แค่อยากให้เข้าใจว่ามันมีอยู่จริงก็พอ ไม่ใช่ว่าฉันปวดท้องเหมือนปวดท้องหิวข้าว มันไม่ใช่ ใครจะอยากลางานกลางคัน ไม่ต้องรู้หรอกว่าฉันปวดขนาดไหน รู้แค่ฉันปวดจริงๆ ไม่ได้สร้างเรื่อง แค่นั้นก็พอแล้ว”
นางสาวคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน อธิบายว่า สิทธิลาป่วยกับสิทธิลาปวดประจำเดือนแตกต่างกัน เพราะสิทธิลาป่วยเป็นสิทธิตามสถานะการเป็นแรงงานดังนั้นไม่ว่าชายหรือหญิงจะมีสิทธิเท่ากัน แต่ลาป่วยเนื่องจากปวดประจำเดือนเป็นสิทธิที่แยกออกมาเนื่องจากความแตกต่างทางสรีระของผู้หญิง สามารถเทียบเคียงได้กับสิทธิลาบวชและลาเกณฑ์ทหารซึ่งเป็นสิทธิทางสังคมของความเป็นเพศชายในสังคมไทย
ทนายคุ้มเกล้ามองว่าพนักงานหญิงควรมีสิทธิลาปวดประจำเดือน เนื่องจากเป็นเงื่อนไขทางสุขภาพที่ต้องประสบทุกเดือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ หากมีกฎหมายที่ให้สิทธิลาป่วยเนื่องจากปวดประจำเดือนได้ แรงงานหญิงก็จะได้การคุ้มครองด้านสุขภาพเฉพาะของสตรี และกฎหมายนี้จะเป็นตัวชี้วัดหนึ่งถึงความเสมอภาคทางสุขภาพของแรงงานหญิง
Share this:
Like this: