เรื่อง: ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า
ภาพ: กรพินธุ์ บุญส่งทรัพย์ / เอม มฤคทัต
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร (สยป.) เผย ผลการปฏิบัติตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครจากวิสัยทัศน์ของประชาชนระยะ 20 ปี ที่เริ่มใช้ในปี 2556 พบพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่า ใน 10 ปี ปริมาณขยะเฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.34 ส่วนการจราจรยังแก้ไขไม่ได้เพราะปริมาณรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 60
กรุงเทพมหานครในวันที่ฝนตก รถราที่หนาแน่นบริเวณแยกราชประสงค์ และสโลแกน “ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว”
สถิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครปี 2550-2559 พบว่า เมื่อปี 2550 กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นสวนสาธารณะจำนวน 2,920 แห่ง และในปี 2559 จำนวนสวนสาธารณะเพิ่มเป็น 7,515 แห่ง ส่งผลให้ปริมาณพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นเติบโตจาก 18.79 ตารางกิโลเมตร (11,745 ไร่) เป็น 34.99 ตารางกิโลเมตร (21,870 ไร่) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 107.47
ในปี 2561 พื้นที่สีเขียวทั้งหมดในกรุงเทพฯ คิดเป็นร้อยละ 2.23 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยขนาดของสวนสาธารณะมีตั้งแต่เล็กกว่า 2 ไร่ ไปจนถึงใหญ่กว่า 500 ไร่ สวนที่ใหญ่ที่สุดคือสวนป่าชายเลนเชิงอนุรักษ์ชายทะเลบางขุนเทียน ขนาด 807 ไร่
อย่างไรก็ตาม ในด้านจราจรขนส่ง พบว่า ปริมาณรถบนท้องถนนยังคงเพิ่มขึ้น โดยในปี 2550 กรุงเทพฯ มีรถจดทะเบียนสะสม หรือปริมาณรถทั้งหมดที่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง 5.72 ล้านคัน แต่ในปี 2559 ที่จำนวนประชากรลดลงจากปี 2550 ร้อยละ 0.53 แต่กลับมีรถจดทะเบียนสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 9.18 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.49 จากปี 2550
ขณะที่ปริมาณขยะรายหัวก็เพิ่มขึ้น สถิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครปี 2550-2559 ระบุว่า ในปี 2550 กรุงเทพฯ มีประชากร 5.71 ล้านคน แต่ละคนสร้างขยะเฉลี่ย 1.53 กิโลกรัมในหนึ่งวัน แต่ในปี 2559 กรุงเทพฯ มีจำนวนประชากรลดลงเหลือ 5.68 ล้านคน แต่ปริมาณขยะเฉลี่ยต่อคนขยะเพิ่มขึ้นเป็น 1.78 กิโลกรัมต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 16.34
น.ส.สุภาภรณ์ ธีระจันทร์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (สยป.) ซึ่งศึกษาและวิจัย เพื่อกำหนดนโยบายและจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า การดำเนินงานพัฒนากรุงเทพฯ ตั้งแต่ 2549 จนถึงระยะที่ 1 ตามแผน ‘มหานครแห่งเอเชีย’ (2556-2560) ซึ่งเป็นแผนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียวบรรลุตามเป้าประสงค์ของตัวชี้วัด
“มีสวนสาธารณะใหม่ๆ เกิดขึ้นเยอะ อาจเป็นเพราะว่าเทรนด์คนสนใจสุขภาพขึ้นเยอะ ก็จะมาออกกำลังกายในสวนเยอะ พื้นที่สีเขียวจะเห็นเป็นรูปธรรมที่สุด” สุภาภรณ์กล่าว และอธิบายว่าประชาชนต้องการให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นเพื่อใช้หย่อนใจ ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมต่างๆ การปฏิบัติจึงเน้นเพิ่มจำนวนสวนสาธารณะ
ผอ.กองยุทธศาสตร์ สยป.เสริมว่าเสริมว่าผลลัพธ์นี้สอดคล้องกับนโยบายมหานครสีเขียว สะดวกสบาย ของแผนงานซึ่งมุ่งเน้นการปรับภูมิทัศน์ นำสายไฟลงดิน เพิ่มพื้นที่สีเขียว และการจราจรขนส่งของกทม. โดยประชาชนต้องการให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองสวยงาม มีพื้นที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย
สำหรับจำนวนรถจดทะเบียนสะสมที่เพิ่มขึ้นนั้น สุภาภรณ์กล่าวว่า ตามแผนพัฒนาฯ พื้นที่ชั้นในจะมีความหนาแน่น ส่วนพื้นที่รอบนอกต้องไม่หนาแน่น ทว่าในทางปฏิบัติพบว่า พื้นที่ชานเมืองบางแห่ง อาทิ บริเวณที่จะเข้าสู่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี มีความหนาแน่นสูงมาก
“มันไม่สอดรับกัน เพราะตามระบบขนส่งมวลชนของประเทศที่พัฒนาแล้ว ชุมชนไปไหน ขนส่งมวลชนต้องตามไป แต่ของเราตามไปไม่ทัน คนไปตรงนู้นก็ต้องซื้อรถ รถสาธารณะไม่มี ถามว่าถ้ามีบ้านตรงนั้น มีรถ ต่อให้มีสายสีม่วงสายอะไร คนจะไม่ขับรถไหม ก็ไม่ เพราะมันสบาย” ผอ.กองยุทธศาสตร์ฯ กล่าว
ทั้งนี้ สถิติการใช้บริการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าบีทีเอส ปี 2550 พบว่ามีจำนวนผู้ใช้ต่อปี 132 ล้านคน เฉลี่ย 3.6 แสนคนต่อวัน ส่วนสถิติล่าสุดเมื่อปี 2559 พบจำนวนผู้ใช้ต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 248 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 87.88 หรือเฉลี่ยราว 6.8 แสนคนต่อวัน
ส่วนปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นนั้น ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา อดีตคณบดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าโครงการศึกษาวิจัยจัดทำแผนวิสัยทัศน์ของประชาชนเพื่อการพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ซึ่งเป็นผู้จัดเวทีแสดงความคิดเห็นและรวบรวมความต้องการของคนกรุงเทพฯ กล่าวว่า ในเวทีแสดงความคิดเห็น ประชาชนเห็นว่ากทม.ไม่มีแผนจัดการขยะที่จริงจัง จึงไม่อยากร่วมมือกันลดหรือแยกขยะ “เขาบอกเขาอยากเห็น เขาบอกเขาจะร่วมมือเลยถ้าเกิดทำอย่างจริงจัง” หัวหน้าโครงการฯ กล่าว
ชี้ แผนฯ ไม่สำเร็จเพราะระบบข้าราชการและสภาวะการเมืองกทม.
สุภาภรณ์ระบุว่า ปัจจุบันการทำงานของระบบราชการมีลักษณะตัวใครตัวมัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สื่อสารกัน ทำเพียงหน้าที่ของตัวเองและนโยบายที่ได้รับมอบหมาย ส่งผลให้การดำเนินงานตามแผนไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร “เหมือนทางจักรยาน ก็ทำตามนโยบาย แต่อ่อนเรื่องข้อมูล ผลที่ออกมาก็คือคนไม่ได้ใช้จริง” ผอ.กองยุทธศาสตร์ สยป.กล่าว
สุภาภรณ์เสริมว่า อีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินแผนพัฒนาฯ คือสภาวะทางการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ โดยแผน ‘มหานครแห่งเอเชีย’ เกิดขึ้นเมื่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าราชการกทม. เมื่อมาถึงสมัยของผู้ว่าฯ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง แม้ยังไม่มีแผนงานใหม่ แต่การดำเนินงานก็ไม่ได้เป็นไปตามแผนเดิมทั้งหมด
“แผนไม่ได้เป็นของผู้ว่าฯ สุขุมพันธ์ เป็นของประชาชน นโยบายที่คนอื่นเข้ามาทำก็จะยึดอันนี้ แต่วิธีการจะบิดไปตามจุดเน้น ว่า ณ เวลานั้นเขาเน้นอะไร” สุภาภรณ์กล่าว
ทั้งนี้ นโยบายของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกทม.คนปัจจุบัน คือ ‘5 นโยบายทันใจ Now’ ประกอบด้วย ‘สะอาด สะดวก ปลอดภัย คุณภาพชีวิตดี และมีวิถีพอเพียง’
ผอ.กองยุทธศาสตร์ฯ กทม.ยืนยันว่าในแผนงานระยะที่สอง (2561-2565) สยป.จะผลักดันการพัฒนาด้านที่ไม่ถึงตัวชี้วัด อาทิ ความหนาแน่นของการจราจร ปริมาณขยะ มลพิษในน้ำ มลพิษในอากาศ โดยมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมมากขึ้น สยป.จะเป็นแกนนำในการผลักดันแผนพัฒนากรุงเทพฯ ไปสู่การปฏิบัติมากขึ้น ตอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองมากขึ้น และสามารถตอบสนองประชาชนได้ ไม่ตัวใครตัวมันอย่างที่ผ่านมา
สุภาภรณ์กล่าวว่า “การแก้ปัญหาเมืองมันทำคนเดียวไม่ได้ ทุกหน่วยงานของกรุงเทพฯ ต้องเห็นร่วมกัน เพื่อตอบโจทย์เมือง แก้ปัญหาให้ประชาชน ทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง ก่อนทำแผนจะต้องมีการประชุม ตั้งคณะดำเนินการแก้ไขปัญหาเป็นด้านๆ ให้ชัดเจน”
“มหานครแห่งเอเชียคืออะไร?”
“การนำวิสัยทัศน์ของประชาชนมาปฏิบัติให้เกิดผลรูปธรรม สามารถนำพากรุงเทพมหานครให้เจริญเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) และท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของบริบทแวดล้อมในด้านต่างๆ”
ยุทธศาสตร์การดำเนินงานทั้ง 7 ด้านของแผนงาน “มหานครแห่งเอเชีย”
แผน “มหานครแห่งเอเชีย” รวบรวมความต้องการของประชาชนจากเวทีแสดงความคิดเห็นใน 6 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพกลาง กรุงเทพเหนือ กรุงเทพใต้ กรุงเทพตะวันออก กรุงธนฯ เหนือ และกรุงธนฯ ใต้
แต่ละพื้นที่เชิญประชาชนทุกกลุ่มเข้าร่วมแสดงความเห็น อาทิ วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แม่ค้าหาบเร่ พนักงานออฟฟิศ เจ้าของร้านค้า เจ้าของกิจการขนาดใหญ่ รวมแต่ละเวทีมีผู้เข้าร่วมประมาณ 200-300 คน จากนั้นผู้จัดฉายวีดีทัศน์ให้ดูปัญหาของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน เช่น จำนวนประชากรมาก น้ำเน่าเสีย ขยะล้นเมือง เศรษฐกิจ การจราจร แล้วถามประชาชนว่า “กรุงเทพฯ ที่เขาอยากเห็นเป็นอย่างไร”
ที่มา: ผลลัพธ์และแนวทางปฏิบัติของแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี, โครงการศึกษาวิจัยจัดทำแผนวิสัยทัศน์ของประชาชนเพื่อการพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี
Like this:
Like Loading...
เรื่อง: ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า
ภาพ: กรพินธุ์ บุญส่งทรัพย์ / เอม มฤคทัต
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร (สยป.) เผย ผลการปฏิบัติตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครจากวิสัยทัศน์ของประชาชนระยะ 20 ปี ที่เริ่มใช้ในปี 2556 พบพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่า ใน 10 ปี ปริมาณขยะเฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.34 ส่วนการจราจรยังแก้ไขไม่ได้เพราะปริมาณรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 60
สถิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครปี 2550-2559 พบว่า เมื่อปี 2550 กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นสวนสาธารณะจำนวน 2,920 แห่ง และในปี 2559 จำนวนสวนสาธารณะเพิ่มเป็น 7,515 แห่ง ส่งผลให้ปริมาณพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นเติบโตจาก 18.79 ตารางกิโลเมตร (11,745 ไร่) เป็น 34.99 ตารางกิโลเมตร (21,870 ไร่) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 107.47
ในปี 2561 พื้นที่สีเขียวทั้งหมดในกรุงเทพฯ คิดเป็นร้อยละ 2.23 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยขนาดของสวนสาธารณะมีตั้งแต่เล็กกว่า 2 ไร่ ไปจนถึงใหญ่กว่า 500 ไร่ สวนที่ใหญ่ที่สุดคือสวนป่าชายเลนเชิงอนุรักษ์ชายทะเลบางขุนเทียน ขนาด 807 ไร่
อย่างไรก็ตาม ในด้านจราจรขนส่ง พบว่า ปริมาณรถบนท้องถนนยังคงเพิ่มขึ้น โดยในปี 2550 กรุงเทพฯ มีรถจดทะเบียนสะสม หรือปริมาณรถทั้งหมดที่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง 5.72 ล้านคัน แต่ในปี 2559 ที่จำนวนประชากรลดลงจากปี 2550 ร้อยละ 0.53 แต่กลับมีรถจดทะเบียนสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 9.18 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.49 จากปี 2550
ขณะที่ปริมาณขยะรายหัวก็เพิ่มขึ้น สถิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครปี 2550-2559 ระบุว่า ในปี 2550 กรุงเทพฯ มีประชากร 5.71 ล้านคน แต่ละคนสร้างขยะเฉลี่ย 1.53 กิโลกรัมในหนึ่งวัน แต่ในปี 2559 กรุงเทพฯ มีจำนวนประชากรลดลงเหลือ 5.68 ล้านคน แต่ปริมาณขยะเฉลี่ยต่อคนขยะเพิ่มขึ้นเป็น 1.78 กิโลกรัมต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 16.34
น.ส.สุภาภรณ์ ธีระจันทร์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (สยป.) ซึ่งศึกษาและวิจัย เพื่อกำหนดนโยบายและจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า การดำเนินงานพัฒนากรุงเทพฯ ตั้งแต่ 2549 จนถึงระยะที่ 1 ตามแผน ‘มหานครแห่งเอเชีย’ (2556-2560) ซึ่งเป็นแผนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียวบรรลุตามเป้าประสงค์ของตัวชี้วัด
“มีสวนสาธารณะใหม่ๆ เกิดขึ้นเยอะ อาจเป็นเพราะว่าเทรนด์คนสนใจสุขภาพขึ้นเยอะ ก็จะมาออกกำลังกายในสวนเยอะ พื้นที่สีเขียวจะเห็นเป็นรูปธรรมที่สุด” สุภาภรณ์กล่าว และอธิบายว่าประชาชนต้องการให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นเพื่อใช้หย่อนใจ ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมต่างๆ การปฏิบัติจึงเน้นเพิ่มจำนวนสวนสาธารณะ
ผอ.กองยุทธศาสตร์ สยป.เสริมว่าเสริมว่าผลลัพธ์นี้สอดคล้องกับนโยบายมหานครสีเขียว สะดวกสบาย ของแผนงานซึ่งมุ่งเน้นการปรับภูมิทัศน์ นำสายไฟลงดิน เพิ่มพื้นที่สีเขียว และการจราจรขนส่งของกทม. โดยประชาชนต้องการให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองสวยงาม มีพื้นที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย
สำหรับจำนวนรถจดทะเบียนสะสมที่เพิ่มขึ้นนั้น สุภาภรณ์กล่าวว่า ตามแผนพัฒนาฯ พื้นที่ชั้นในจะมีความหนาแน่น ส่วนพื้นที่รอบนอกต้องไม่หนาแน่น ทว่าในทางปฏิบัติพบว่า พื้นที่ชานเมืองบางแห่ง อาทิ บริเวณที่จะเข้าสู่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี มีความหนาแน่นสูงมาก
ทั้งนี้ สถิติการใช้บริการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าบีทีเอส ปี 2550 พบว่ามีจำนวนผู้ใช้ต่อปี 132 ล้านคน เฉลี่ย 3.6 แสนคนต่อวัน ส่วนสถิติล่าสุดเมื่อปี 2559 พบจำนวนผู้ใช้ต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 248 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 87.88 หรือเฉลี่ยราว 6.8 แสนคนต่อวัน
ส่วนปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นนั้น ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา อดีตคณบดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าโครงการศึกษาวิจัยจัดทำแผนวิสัยทัศน์ของประชาชนเพื่อการพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ซึ่งเป็นผู้จัดเวทีแสดงความคิดเห็นและรวบรวมความต้องการของคนกรุงเทพฯ กล่าวว่า ในเวทีแสดงความคิดเห็น ประชาชนเห็นว่ากทม.ไม่มีแผนจัดการขยะที่จริงจัง จึงไม่อยากร่วมมือกันลดหรือแยกขยะ “เขาบอกเขาอยากเห็น เขาบอกเขาจะร่วมมือเลยถ้าเกิดทำอย่างจริงจัง” หัวหน้าโครงการฯ กล่าว
ชี้ แผนฯ ไม่สำเร็จเพราะระบบข้าราชการและสภาวะการเมืองกทม.
สุภาภรณ์ระบุว่า ปัจจุบันการทำงานของระบบราชการมีลักษณะตัวใครตัวมัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สื่อสารกัน ทำเพียงหน้าที่ของตัวเองและนโยบายที่ได้รับมอบหมาย ส่งผลให้การดำเนินงานตามแผนไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร “เหมือนทางจักรยาน ก็ทำตามนโยบาย แต่อ่อนเรื่องข้อมูล ผลที่ออกมาก็คือคนไม่ได้ใช้จริง” ผอ.กองยุทธศาสตร์ สยป.กล่าว
สุภาภรณ์เสริมว่า อีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินแผนพัฒนาฯ คือสภาวะทางการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ โดยแผน ‘มหานครแห่งเอเชีย’ เกิดขึ้นเมื่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าราชการกทม. เมื่อมาถึงสมัยของผู้ว่าฯ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง แม้ยังไม่มีแผนงานใหม่ แต่การดำเนินงานก็ไม่ได้เป็นไปตามแผนเดิมทั้งหมด
“แผนไม่ได้เป็นของผู้ว่าฯ สุขุมพันธ์ เป็นของประชาชน นโยบายที่คนอื่นเข้ามาทำก็จะยึดอันนี้ แต่วิธีการจะบิดไปตามจุดเน้น ว่า ณ เวลานั้นเขาเน้นอะไร” สุภาภรณ์กล่าว
ทั้งนี้ นโยบายของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกทม.คนปัจจุบัน คือ ‘5 นโยบายทันใจ Now’ ประกอบด้วย ‘สะอาด สะดวก ปลอดภัย คุณภาพชีวิตดี และมีวิถีพอเพียง’
ผอ.กองยุทธศาสตร์ฯ กทม.ยืนยันว่าในแผนงานระยะที่สอง (2561-2565) สยป.จะผลักดันการพัฒนาด้านที่ไม่ถึงตัวชี้วัด อาทิ ความหนาแน่นของการจราจร ปริมาณขยะ มลพิษในน้ำ มลพิษในอากาศ โดยมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมมากขึ้น สยป.จะเป็นแกนนำในการผลักดันแผนพัฒนากรุงเทพฯ ไปสู่การปฏิบัติมากขึ้น ตอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองมากขึ้น และสามารถตอบสนองประชาชนได้ ไม่ตัวใครตัวมันอย่างที่ผ่านมา
“มหานครแห่งเอเชียคืออะไร?”
“การนำวิสัยทัศน์ของประชาชนมาปฏิบัติให้เกิดผลรูปธรรม สามารถนำพากรุงเทพมหานครให้เจริญเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) และท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของบริบทแวดล้อมในด้านต่างๆ”
แผน “มหานครแห่งเอเชีย” รวบรวมความต้องการของประชาชนจากเวทีแสดงความคิดเห็นใน 6 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพกลาง กรุงเทพเหนือ กรุงเทพใต้ กรุงเทพตะวันออก กรุงธนฯ เหนือ และกรุงธนฯ ใต้
แต่ละพื้นที่เชิญประชาชนทุกกลุ่มเข้าร่วมแสดงความเห็น อาทิ วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แม่ค้าหาบเร่ พนักงานออฟฟิศ เจ้าของร้านค้า เจ้าของกิจการขนาดใหญ่ รวมแต่ละเวทีมีผู้เข้าร่วมประมาณ 200-300 คน จากนั้นผู้จัดฉายวีดีทัศน์ให้ดูปัญหาของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน เช่น จำนวนประชากรมาก น้ำเน่าเสีย ขยะล้นเมือง เศรษฐกิจ การจราจร แล้วถามประชาชนว่า “กรุงเทพฯ ที่เขาอยากเห็นเป็นอย่างไร”
ที่มา: ผลลัพธ์และแนวทางปฏิบัติของแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี, โครงการศึกษาวิจัยจัดทำแผนวิสัยทัศน์ของประชาชนเพื่อการพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี
Share this:
Like this: