เรื่อง/ภาพ: อรอริสา ทรัพย์สมปอง
ปี 2515 ประกาศคณะปฏิวัติซึ่งนำโดยจอมพลถนอม กิตติขจร กำหนดให้เรียกเมืองหลวงของประเทศไทยว่า “กรุงเทพมหานคร” โดยให้มี “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบการบริหาร ต่อมาพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 กำหนดให้ประชาชนเลือกตั้งผู้ว่าฯ และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ซึ่งมีวาระ 4 ปี การเลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งแรกจึงมีขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2518 แม้หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 19 การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จะชะงักไป แต่หลังจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2528 เป็นต้นมา ชาวกรุงเทพฯ ก็ได้เลือกผู้ว่าฯ อย่างต่อเนื่องอีก 9 ครั้ง ในระยะเวลา 31 ปี
จนวันที่ 18 ตุลาคม 2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 64/2559 ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น คือ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร พ้นจากตำแหน่ง และให้ พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ หรือคสช.มีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
ไม่เพียงผู้ว่าฯ กทม. เท่านั้น ก่อนหน้านี้เมื่อวาระของสก. ชุดที่ 8 หมดลงในปี 2557 แทนที่จะมีการเลือกตั้งตามกระบวนการปกติ คสช. กลับออกประกาศฉบับที่ 86/2557 ให้งดการเลือกตั้งสก. ไปก่อน และจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสรรหาสก. ทั้งหมด 30 คน เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557 สมาชิกสก.ชุดใหม่ก็เข้ารับตำแหน่ง และดำรงตำแหน่งมาถึงปัจจุบัน ซึ่งเกินวาระ 4 ปี ตามปกติไปแล้ว
ลำดับเหตุการณ์การเลือกตั้งผู้ว่ากทม.
แม้จะไม่ได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ และสก. มาเป็นตัวแทนในการบริหารกทม. แต่ปัญหาของกรุงเทพฯ ก็ยังไม่หมด ประชาชนในเมืองหลวงของไทยแลนด์ 4.0 จึงพยายามปลีกตัวจากสังคมจริงที่พวกเขาถูกปิดกั้น มาระบายความเห็นในพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ อย่างกลุ่มเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ โดยใช้แฮชแท็กเช่น #กรุงเทพชีวิตดีๆที่ลงตัว #กรุงเทพแบบที่ควรจะเป็น และ #ที่นี่กรุงเทพ
อย่างไรก็ดี ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่จะเป็นการบ่น ก่นด่า และเสียดสีถากถาง ซึ่งนอกจากจะไม่ทำให้แก้ปัญหาได้แล้ว อาจส่งผลต่อภาวะการมีส่วนร่วมทางสังคมการเมือง เพราะเท่ากับการผลิตซ้ำ “วัฒนธรรมของความไร้อำนาจ” โดยไม่รู้ตัว
เดวิด แมทธิวส์ อธิบายในหนังสือ การเมืองภาคพลเมือง (2542) ว่า วัฒนธรรมของความไร้อำนาจ คือการที่ประชาชนผิดหวังที่ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองได้ ในที่สุดจึงร่วมเสียดสี เยาะเย้ย ตำหนิอะไรก็ได้ที่ทำให้เผชิญชะตากรรมเหล่านั้น จนกระทั่งหยุดเชื่อในตัวเองและเริ่มมองหาผู้นำที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดได้ การเมืองจึงถูกมองเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เกินไปสำหรับปัจเจกบุคคลที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
หากการบ่นในโซเชียลไม่ช่วยแก้ปัญหา ซ้ำยังทำให้เรายิ่งท้อแท้ ดังนั้นเราควรหยุดใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการมีส่วนร่วมกับบ้านเมืองของเราไปเลยหรือ คำตอบอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหากเราไม่เพียงบ่นด้วยกัน แต่มองเห็นปัญหาร่วมกันแล้วรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหานั้นอย่างจริงจัง ติดอาวุธด้วยความรู้ และออกแบบวิธีการดำเนินงานอย่างเหมาะสม เราอาจสร้างความเปลี่ยนแปลงได้บ้าง
ข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนของข้อความข้างต้น คือกลุ่มเมล์เดย์ (Mayday) ซึ่งก่อตั้งในปี 2559 โดย วริทธิ์ธรณ์ สุขสบาย กราฟิกดีไซน์เนอร์ผู้เห็นความสำคัญของรถโดยสารประจำทาง เขารวมตัวกับกลุ่มคนที่สนใจการพัฒนาเมืองและขนส่งสาธารณะเหมือนกัน เริ่มจากการจัดเวิร์กช็อปเล็ก ๆ เพื่อชวนคนมาสะท้อนปัญหาเกี่ยวกับรถเมล์ จนได้ข้อสรุปและพัฒนาป้ายรถเมล์แบบใหม่ซึ่งระบุเส้นทางรถเมล์แต่ละสาย และเดินหน้าจริงจังด้วยการนำป้ายดังกล่าวเสนอให้สำนักจราจรและขนส่งกรุงเทพฯ จนได้เริ่มใช้งานที่แยกคอกวัวและหน้ากองสลากฯ จากนั้นจึงมีการประสานงานร่วมกับกลุ่มอื่นเพื่อระดมทรัพยากรทั้งเงินทุน คน และความรู้ด้านการออกแบบ จนได้ป้ายรถเมล์แบบใหม่อีก 118 ป้ายทั่วมหานคร
กลุ่มเมล์เดย์ทำให้เราพอมีหวังว่าอย่างน้อยพื้นที่ออนไลน์ยังเป็นที่ที่เราจะรวมตัวกับคนที่ประสบปัญหาคล้ายๆ กัน เพื่อระดมข้อมูล ระดมกำลัง และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้
แต่อย่าเพิ่งคิดว่าการรวมกลุ่มของประชาชนจะเป็นเครื่องมือวิเศษที่ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรก็ได้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น ขาดกลยุทธ์ที่ดี ขาดกำลังคน เงินทุน และที่สำคัญคือการไม่เปิดโอกาสจากภาครัฐ
คนกรุงยังต้องเผชิญกับปัญหาเดิมๆ เช่น ขนส่งสาธารณะไม่ปลอดภัยและขาดประสิทธิภาพ ทางเท้าไม่ได้มาตรฐาน หรือการดำเนินงานของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ที่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนจากหลากหลายภาคส่วน เพราะการบริหารจัดการโดยรัฐที่ประชาชนอย่างเราๆ ไม่มีสิทธิ์มีเสียงไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เลือกตั้งก็ไม่ได้ ส่งเสียงไปภาครัฐก็นิ่งเฉย ซ้ำร้ายบรรยากาศการเมืองในปัจจุบันที่ไม่เอื้อให้เกิดการรวมกลุ่มของประชาชน ยังทำให้ไม่สามารถรวมตัวเพื่อส่งเสียงที่ดังพอไปถึงภาครัฐและพลเมืองคนอื่นๆ ได้
การจะแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จคือรัฐต้องเปิดประตูให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ให้ได้เลือกคนที่จะมาบริหารบ้านเมืองอย่างที่เคยได้รับ และสร้างบรรยากาศการเมืองที่เปิดกว้างพอให้รวมกลุ่มกัน เพื่อให้เสียงของประชาชนผู้ใช้ชีวิตในมหานครแห่งนี้ได้มีบทบาทในการกำหนดชีวิตของพวกเราเองเสียที อย่างที่เดวิด แมทธิวส์บอกไว้ว่า “กิจการบ้านเมืองที่ดีไม่ได้หมายเพียงการมีการปกครองที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่มันหมายรวมถึงการปกครองที่เป็นของเราอย่างแท้จริง และมันจะยังไม่ใช่ของเราจนกว่าเรานั่นเองจะกลับมาสู่ระบบการเมือง”
Like this:
Like Loading...
เรื่อง/ภาพ: อรอริสา ทรัพย์สมปอง
ปี 2515 ประกาศคณะปฏิวัติซึ่งนำโดยจอมพลถนอม กิตติขจร กำหนดให้เรียกเมืองหลวงของประเทศไทยว่า “กรุงเทพมหานคร” โดยให้มี “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบการบริหาร ต่อมาพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 กำหนดให้ประชาชนเลือกตั้งผู้ว่าฯ และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ซึ่งมีวาระ 4 ปี การเลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งแรกจึงมีขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2518 แม้หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 19 การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จะชะงักไป แต่หลังจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2528 เป็นต้นมา ชาวกรุงเทพฯ ก็ได้เลือกผู้ว่าฯ อย่างต่อเนื่องอีก 9 ครั้ง ในระยะเวลา 31 ปี
จนวันที่ 18 ตุลาคม 2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 64/2559 ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น คือ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร พ้นจากตำแหน่ง และให้ พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ หรือคสช.มีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
ไม่เพียงผู้ว่าฯ กทม. เท่านั้น ก่อนหน้านี้เมื่อวาระของสก. ชุดที่ 8 หมดลงในปี 2557 แทนที่จะมีการเลือกตั้งตามกระบวนการปกติ คสช. กลับออกประกาศฉบับที่ 86/2557 ให้งดการเลือกตั้งสก. ไปก่อน และจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสรรหาสก. ทั้งหมด 30 คน เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557 สมาชิกสก.ชุดใหม่ก็เข้ารับตำแหน่ง และดำรงตำแหน่งมาถึงปัจจุบัน ซึ่งเกินวาระ 4 ปี ตามปกติไปแล้ว
แม้จะไม่ได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ และสก. มาเป็นตัวแทนในการบริหารกทม. แต่ปัญหาของกรุงเทพฯ ก็ยังไม่หมด ประชาชนในเมืองหลวงของไทยแลนด์ 4.0 จึงพยายามปลีกตัวจากสังคมจริงที่พวกเขาถูกปิดกั้น มาระบายความเห็นในพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ อย่างกลุ่มเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ โดยใช้แฮชแท็กเช่น #กรุงเทพชีวิตดีๆที่ลงตัว #กรุงเทพแบบที่ควรจะเป็น และ #ที่นี่กรุงเทพ
อย่างไรก็ดี ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่จะเป็นการบ่น ก่นด่า และเสียดสีถากถาง ซึ่งนอกจากจะไม่ทำให้แก้ปัญหาได้แล้ว อาจส่งผลต่อภาวะการมีส่วนร่วมทางสังคมการเมือง เพราะเท่ากับการผลิตซ้ำ “วัฒนธรรมของความไร้อำนาจ” โดยไม่รู้ตัว
หากการบ่นในโซเชียลไม่ช่วยแก้ปัญหา ซ้ำยังทำให้เรายิ่งท้อแท้ ดังนั้นเราควรหยุดใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการมีส่วนร่วมกับบ้านเมืองของเราไปเลยหรือ คำตอบอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหากเราไม่เพียงบ่นด้วยกัน แต่มองเห็นปัญหาร่วมกันแล้วรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหานั้นอย่างจริงจัง ติดอาวุธด้วยความรู้ และออกแบบวิธีการดำเนินงานอย่างเหมาะสม เราอาจสร้างความเปลี่ยนแปลงได้บ้าง
ข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนของข้อความข้างต้น คือกลุ่มเมล์เดย์ (Mayday) ซึ่งก่อตั้งในปี 2559 โดย วริทธิ์ธรณ์ สุขสบาย กราฟิกดีไซน์เนอร์ผู้เห็นความสำคัญของรถโดยสารประจำทาง เขารวมตัวกับกลุ่มคนที่สนใจการพัฒนาเมืองและขนส่งสาธารณะเหมือนกัน เริ่มจากการจัดเวิร์กช็อปเล็ก ๆ เพื่อชวนคนมาสะท้อนปัญหาเกี่ยวกับรถเมล์ จนได้ข้อสรุปและพัฒนาป้ายรถเมล์แบบใหม่ซึ่งระบุเส้นทางรถเมล์แต่ละสาย และเดินหน้าจริงจังด้วยการนำป้ายดังกล่าวเสนอให้สำนักจราจรและขนส่งกรุงเทพฯ จนได้เริ่มใช้งานที่แยกคอกวัวและหน้ากองสลากฯ จากนั้นจึงมีการประสานงานร่วมกับกลุ่มอื่นเพื่อระดมทรัพยากรทั้งเงินทุน คน และความรู้ด้านการออกแบบ จนได้ป้ายรถเมล์แบบใหม่อีก 118 ป้ายทั่วมหานคร
กลุ่มเมล์เดย์ทำให้เราพอมีหวังว่าอย่างน้อยพื้นที่ออนไลน์ยังเป็นที่ที่เราจะรวมตัวกับคนที่ประสบปัญหาคล้ายๆ กัน เพื่อระดมข้อมูล ระดมกำลัง และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้
แต่อย่าเพิ่งคิดว่าการรวมกลุ่มของประชาชนจะเป็นเครื่องมือวิเศษที่ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรก็ได้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น ขาดกลยุทธ์ที่ดี ขาดกำลังคน เงินทุน และที่สำคัญคือการไม่เปิดโอกาสจากภาครัฐ
คนกรุงยังต้องเผชิญกับปัญหาเดิมๆ เช่น ขนส่งสาธารณะไม่ปลอดภัยและขาดประสิทธิภาพ ทางเท้าไม่ได้มาตรฐาน หรือการดำเนินงานของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ที่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนจากหลากหลายภาคส่วน เพราะการบริหารจัดการโดยรัฐที่ประชาชนอย่างเราๆ ไม่มีสิทธิ์มีเสียงไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เลือกตั้งก็ไม่ได้ ส่งเสียงไปภาครัฐก็นิ่งเฉย ซ้ำร้ายบรรยากาศการเมืองในปัจจุบันที่ไม่เอื้อให้เกิดการรวมกลุ่มของประชาชน ยังทำให้ไม่สามารถรวมตัวเพื่อส่งเสียงที่ดังพอไปถึงภาครัฐและพลเมืองคนอื่นๆ ได้
การจะแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จคือรัฐต้องเปิดประตูให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ให้ได้เลือกคนที่จะมาบริหารบ้านเมืองอย่างที่เคยได้รับ และสร้างบรรยากาศการเมืองที่เปิดกว้างพอให้รวมกลุ่มกัน เพื่อให้เสียงของประชาชนผู้ใช้ชีวิตในมหานครแห่งนี้ได้มีบทบาทในการกำหนดชีวิตของพวกเราเองเสียที อย่างที่เดวิด แมทธิวส์บอกไว้ว่า “กิจการบ้านเมืองที่ดีไม่ได้หมายเพียงการมีการปกครองที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่มันหมายรวมถึงการปกครองที่เป็นของเราอย่างแท้จริง และมันจะยังไม่ใช่ของเราจนกว่าเรานั่นเองจะกลับมาสู่ระบบการเมือง”
Share this:
Like this: