เรื่อง: เบญญา หงษ์ทอง
“กูรู้แล้วว่ากูเป็นผู้หญิง แต่เวลาดูงานกู เลิกพูดว่ากูเป็นผู้หญิงได้ไหม!”
จุฑารัตน์ ภิญโญดุลยเจต หรือ ปูเป้ ช่างภาพแนวสตรีท เจ้าของผลงานที่เข้าชิงรางวัลในรายการ StreetFoto San Francisco ของประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวเมื่อเราถามเธอถึงชีวิตของเธอ ในฐานะช่างภาพ
จุฑารัตน์ ภิญโญดุลยเจต หรือ ปูเป้ ถ่ายภาพกับภาพถ่ายของเธอ รูปภาพจาก จุฑารัตน์ ภิญโญดุลยเจต
“เราเห็นผู้หญิงอยู่ในอุตสาหกรรมนี้เยอะ อย่างวงการอินดี้ผู้หญิงก็เยอะ เรารู้สึกว่ามันค่อนข้างเท่าเทียม” ปูเป้มองว่าตลอดระยะเวลาหลายปีที่เธอทำงานเป็นช่างภาพ สังคมอาชีพช่างภาพค่อนข้างเปิดกว้างสำหรับผู้หญิง เธอไม่เคยรู้สึกว่าได้รับการกีดกัน หรือถูกมองข้ามความคิดเห็นเพราะเพศของเธอ และในบางครั้ง การเป็นผู้หญิงเองก็ทำให้เธอได้รับอนุญาตให้เข้าไปถ่ายภาพเด็กหรือผู้สูงวัยได้ง่ายกว่าผู้ชายด้วยความที่เพศหญิงมีภาพจำที่ดูเป็นมิตรมากกว่าผู้ชาย
เช่นเดียวกันกับ บุณยนุช ไกรทอง หรือ ก๊อย ผู้เป็นช่างภาพ และผู้กำกับภาพ (director of photography : DOP) ซึ่งดูแลการถ่ายภาพและการจัดแสงในการผลิตภาพยนตร์ เล่าถึงประสบการณ์การทำงานในวงการภาพยนตร์ที่มีผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ ว่า เนื่องจากอุปกรณ์สมัยก่อนมีขนาดใหญ่และหนัก จึงต้องอาศัยกำลังในการทำงาน ทำให้ประชากรชายมีมากกว่าผู้หญิง แต่การใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพที่มีขนาดใหญ่หน้าตาดูน่ากลัวนั้นมีวิธียกที่ไม่ต้องอาศัยกำลังอย่างเดียว ผู้หญิงจึงสามารถทำงานนี้ได้เช่นกัน
บุณยนุช ไกรทอง หรือ ก๊อย ขณะปฎิบัติงานในฐานะช่างภาพ รูปภาพจาก บุณยนุช ไกรทอง
ก๊อยเสริมอีกว่าไม่ใช่ทุกตำแหน่งในอุตสาหกรรมนี้จะต้องอาศัยกำลังเสมอไป เธอพูดว่าตำแหน่งของเธอเป็นเหมือนจิตรกร “มัน (ภาพถ่าย) ขึ้นอยู่กับสไตล์ของคนนั้นเลย ซึ่งเราว่ามันไม่จำเป็นว่าเป็นผู้หญิงต้องงานอ่อนช้อย นุ่มนวล อาจจะเป็นงาน แข็งแกร่งเท่าผู้ชายก็ได้ หรือว่าผู้ชายบางคนเขาอาจจะมี visual (การสื่อสารด้วยภาพ) ที่อ่อนโยน งดงามมาก ถ้าในตัวเนื้องานเอามาเทียบกัน ดูไม่ออกหรอกว่าใครถ่าย เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย” ก๊อยกล่าว
แม้ในแวดวงคนทำงาน ปูเป้และก๊อยจะไม่พบการนำเรื่องเพศมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งแยกหรือกีดกันความก้าวหน้าทางอาชีพ แต่สำหรับคนนอกวงการนั้นพวกเธอกลับพบว่าคนทั่วไปมักตั้งคำถามว่าช่างภาพหญิงจะมีความสามารถเท่ากับช่างภาพชายหรือไม่ “เราไม่ค่อยแคร์เท่าไหร่ เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าเราทำได้ มันอาจจะมีโมเมนต์หนึ่งก็ได้ที่แบบ อ๋อ คิดอย่างนี้เหรอ แต่เดียวดูงานที่ออกมาแล้วกัน” ปูเป้กล่าว
ขณะเดียวกัน ก๊อยพูดด้วยความไม่แน่ใจนักว่า “ถ้าเป็นผู้หญิง เรารู้สึกว่าจะโดนตั้งคำถามอยู่แล้ว เพราะมันเป็นสิ่งที่ดูแปลกประหลาด มันคือผู้หญิงกับอุปกรณ์ (ถ่ายภาพ) ซึ่ง ผู้หญิงมันควรจะไปอยู่กับ (การ) เย็บผ้า ทำกับข้าวอะไรแบบนี้เหรอ”
เหตุที่คนในสังคมมีทัศนคติเช่นนี้ ปูเป้มองว่าอาจเป็นเพราะเมื่อพูดถึงอาชีพช่างภาพ คนมักคิดว่าเป็นงานของผู้ชาย อีกทั้งช่างภาพชายยังเป็นที่รู้จักมากกว่าช่างภาพผู้หญิง “สังคมนี้ผู้ชายเยอะกว่า ลองดูดิว่างานสตรีทที่ผ่านมาเราเป็นผู้หญิงคนเดียว ถ้าเทียบอัตราสิบคน ผู้หญิงจะไม่เกินสองคน เต็มที่เลย” ปูเป้เอ่ย เธอยังเล่าอีกว่าเมื่องานของเธอและช่างภาพคนอื่นๆ ที่เป็นเพศหญิงเมื่อออกสู่สาธารณะ พวกเธอมักถูกจับตาจากคนทั่วไป หรือถูกสื่อมวลชนพาดหัวในฐานะ “ช่างภาพหญิง”
“ถ้าค้นคำว่าช่างภาพหญิง มันจะมาเป็นสไตล์และหน้า มันจะไม่ใช่แค่งาน”
เธออธิบายต่ออีกว่าเมื่อช่างภาพหญิงหลายคนไปปรากฏอยู่ในการรายงานของสื่อมวลชน กลับกลายเป็นว่ารูปถ่ายฝีมือพวกเธอถูกนำเสนอเพียง 1-2 รูปเท่านั้น
ด้านก๊อย คำว่า “รำคาญ” เป็นคำแรกที่เธอพูดออกมาสั้นๆ แต่หนักแน่นหลังได้ยินคำว่า “ช่างภาพหญิง” ก่อนพูดต่อว่า “เราว่ามันแฝงทัศนคติอยู่ในนั้นล่ะ มันดูแบบ ‘ช่างภาพหญิงเก่งจังเลย มึง(ผู้หญิง) ทำได้ด้วยเหรอ’ เรารู้สึกว่าไม่เห็นต้องพูดเลย มันไม่ได้อธิบายอะไรเกี่ยวกับงาน” เธอเล่าต่อว่าหลายคนใช้คำนี้จนมันกลายเป็นการแสดงความยกย่องจนลืมถึงความหมายที่ซ่อนอยู่ภายใน
ปูเป้ยอมรับว่าเมื่ออาชีพช่างภาพถูกมองว่าเป็นอาชีพสำหรับผู้ชาย การที่ผู้หญิงมาประกอบอาชีพนี้จึงเป็น “ความพิเศษ” ความเป็นหญิงจึงกลายเป็นกำแพงที่พวกเธอจะต้องก้าวข้าม เพื่อให้คนสนใจในผลงาน มากกว่าเพศ “คนพยายามขายเราจากการเป็นช่างภาพผู้หญิง แต่เรารู้สึกว่าแบบ ‘มึงดูงาน มึงอย่าดูว่ากูเป็นผู้หญิง’ ” ปูเป้มองว่าไม่ใช่เรื่องยากที่จะหาพื้นที่การทำงานให้ผู้หญิงในวงการถ่ายภาพ แต่สิ่งที่ยากคือ การหาที่ยืนให้ตนเองในฐานะ “ช่างภาพ” คนหนึ่ง มากกว่าการเป็น “ช่างภาพหญิง”
“สิ่งนี้มันน่าสนใจนะ มันต้องตั้งคำถามว่าสังคมมองผู้หญิงเป็นแบบไหน” ปูเป้กล่าว
ก๊อยเสนอทิ้งท้ายว่า “ถ้าคนมันอยู่ด้วยความเป็น ‘คน’ จริงๆ เขาจะให้คุณกลับมาด้วยความเป็นคน ถ้าสมมติเรายิ่ง take (แสดงจุดยืน) ตัวเองว่า ‘กูเป็นผู้หญิง อย่ารังแกกูดิวะ’ คือเราทำให้ตัวเองแปลกแยกแล้ว พอ (ให้ )ใจกับเขา เขาก็จะใจกับเรากลับมาร้อยเท่า มันจะกลายเป็นพี่ เป็นน้อง เป็นเพื่อนทันที ไม่เกี่ยวกับเพศเลย (แต่) เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์”
บทสรุปที่ปูเป้และก๊อยอยากฝากไว้ให้กับคนที่ยังคงเรียกพวกเธอว่า “ช่างภาพหญิง” คือ
“สุดท้ายมันก็วัดกันที่งาน”
Like this:
Like Loading...
เรื่อง: เบญญา หงษ์ทอง
“กูรู้แล้วว่ากูเป็นผู้หญิง แต่เวลาดูงานกู เลิกพูดว่ากูเป็นผู้หญิงได้ไหม!”
จุฑารัตน์ ภิญโญดุลยเจต หรือ ปูเป้ ช่างภาพแนวสตรีท เจ้าของผลงานที่เข้าชิงรางวัลในรายการ StreetFoto San Francisco ของประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวเมื่อเราถามเธอถึงชีวิตของเธอ ในฐานะช่างภาพ
“เราเห็นผู้หญิงอยู่ในอุตสาหกรรมนี้เยอะ อย่างวงการอินดี้ผู้หญิงก็เยอะ เรารู้สึกว่ามันค่อนข้างเท่าเทียม” ปูเป้มองว่าตลอดระยะเวลาหลายปีที่เธอทำงานเป็นช่างภาพ สังคมอาชีพช่างภาพค่อนข้างเปิดกว้างสำหรับผู้หญิง เธอไม่เคยรู้สึกว่าได้รับการกีดกัน หรือถูกมองข้ามความคิดเห็นเพราะเพศของเธอ และในบางครั้ง การเป็นผู้หญิงเองก็ทำให้เธอได้รับอนุญาตให้เข้าไปถ่ายภาพเด็กหรือผู้สูงวัยได้ง่ายกว่าผู้ชายด้วยความที่เพศหญิงมีภาพจำที่ดูเป็นมิตรมากกว่าผู้ชาย
เช่นเดียวกันกับ บุณยนุช ไกรทอง หรือ ก๊อย ผู้เป็นช่างภาพ และผู้กำกับภาพ (director of photography : DOP) ซึ่งดูแลการถ่ายภาพและการจัดแสงในการผลิตภาพยนตร์ เล่าถึงประสบการณ์การทำงานในวงการภาพยนตร์ที่มีผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ ว่า เนื่องจากอุปกรณ์สมัยก่อนมีขนาดใหญ่และหนัก จึงต้องอาศัยกำลังในการทำงาน ทำให้ประชากรชายมีมากกว่าผู้หญิง แต่การใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพที่มีขนาดใหญ่หน้าตาดูน่ากลัวนั้นมีวิธียกที่ไม่ต้องอาศัยกำลังอย่างเดียว ผู้หญิงจึงสามารถทำงานนี้ได้เช่นกัน
ก๊อยเสริมอีกว่าไม่ใช่ทุกตำแหน่งในอุตสาหกรรมนี้จะต้องอาศัยกำลังเสมอไป เธอพูดว่าตำแหน่งของเธอเป็นเหมือนจิตรกร “มัน (ภาพถ่าย) ขึ้นอยู่กับสไตล์ของคนนั้นเลย ซึ่งเราว่ามันไม่จำเป็นว่าเป็นผู้หญิงต้องงานอ่อนช้อย นุ่มนวล อาจจะเป็นงาน แข็งแกร่งเท่าผู้ชายก็ได้ หรือว่าผู้ชายบางคนเขาอาจจะมี visual (การสื่อสารด้วยภาพ) ที่อ่อนโยน งดงามมาก ถ้าในตัวเนื้องานเอามาเทียบกัน ดูไม่ออกหรอกว่าใครถ่าย เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย” ก๊อยกล่าว
แม้ในแวดวงคนทำงาน ปูเป้และก๊อยจะไม่พบการนำเรื่องเพศมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งแยกหรือกีดกันความก้าวหน้าทางอาชีพ แต่สำหรับคนนอกวงการนั้นพวกเธอกลับพบว่าคนทั่วไปมักตั้งคำถามว่าช่างภาพหญิงจะมีความสามารถเท่ากับช่างภาพชายหรือไม่ “เราไม่ค่อยแคร์เท่าไหร่ เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าเราทำได้ มันอาจจะมีโมเมนต์หนึ่งก็ได้ที่แบบ อ๋อ คิดอย่างนี้เหรอ แต่เดียวดูงานที่ออกมาแล้วกัน” ปูเป้กล่าว
ขณะเดียวกัน ก๊อยพูดด้วยความไม่แน่ใจนักว่า “ถ้าเป็นผู้หญิง เรารู้สึกว่าจะโดนตั้งคำถามอยู่แล้ว เพราะมันเป็นสิ่งที่ดูแปลกประหลาด มันคือผู้หญิงกับอุปกรณ์ (ถ่ายภาพ) ซึ่ง ผู้หญิงมันควรจะไปอยู่กับ (การ) เย็บผ้า ทำกับข้าวอะไรแบบนี้เหรอ”
เหตุที่คนในสังคมมีทัศนคติเช่นนี้ ปูเป้มองว่าอาจเป็นเพราะเมื่อพูดถึงอาชีพช่างภาพ คนมักคิดว่าเป็นงานของผู้ชาย อีกทั้งช่างภาพชายยังเป็นที่รู้จักมากกว่าช่างภาพผู้หญิง “สังคมนี้ผู้ชายเยอะกว่า ลองดูดิว่างานสตรีทที่ผ่านมาเราเป็นผู้หญิงคนเดียว ถ้าเทียบอัตราสิบคน ผู้หญิงจะไม่เกินสองคน เต็มที่เลย” ปูเป้เอ่ย เธอยังเล่าอีกว่าเมื่องานของเธอและช่างภาพคนอื่นๆ ที่เป็นเพศหญิงเมื่อออกสู่สาธารณะ พวกเธอมักถูกจับตาจากคนทั่วไป หรือถูกสื่อมวลชนพาดหัวในฐานะ “ช่างภาพหญิง”
เธออธิบายต่ออีกว่าเมื่อช่างภาพหญิงหลายคนไปปรากฏอยู่ในการรายงานของสื่อมวลชน กลับกลายเป็นว่ารูปถ่ายฝีมือพวกเธอถูกนำเสนอเพียง 1-2 รูปเท่านั้น
ด้านก๊อย คำว่า “รำคาญ” เป็นคำแรกที่เธอพูดออกมาสั้นๆ แต่หนักแน่นหลังได้ยินคำว่า “ช่างภาพหญิง” ก่อนพูดต่อว่า “เราว่ามันแฝงทัศนคติอยู่ในนั้นล่ะ มันดูแบบ ‘ช่างภาพหญิงเก่งจังเลย มึง(ผู้หญิง) ทำได้ด้วยเหรอ’ เรารู้สึกว่าไม่เห็นต้องพูดเลย มันไม่ได้อธิบายอะไรเกี่ยวกับงาน” เธอเล่าต่อว่าหลายคนใช้คำนี้จนมันกลายเป็นการแสดงความยกย่องจนลืมถึงความหมายที่ซ่อนอยู่ภายใน
ปูเป้ยอมรับว่าเมื่ออาชีพช่างภาพถูกมองว่าเป็นอาชีพสำหรับผู้ชาย การที่ผู้หญิงมาประกอบอาชีพนี้จึงเป็น “ความพิเศษ” ความเป็นหญิงจึงกลายเป็นกำแพงที่พวกเธอจะต้องก้าวข้าม เพื่อให้คนสนใจในผลงาน มากกว่าเพศ “คนพยายามขายเราจากการเป็นช่างภาพผู้หญิง แต่เรารู้สึกว่าแบบ ‘มึงดูงาน มึงอย่าดูว่ากูเป็นผู้หญิง’ ” ปูเป้มองว่าไม่ใช่เรื่องยากที่จะหาพื้นที่การทำงานให้ผู้หญิงในวงการถ่ายภาพ แต่สิ่งที่ยากคือ การหาที่ยืนให้ตนเองในฐานะ “ช่างภาพ” คนหนึ่ง มากกว่าการเป็น “ช่างภาพหญิง”
“สิ่งนี้มันน่าสนใจนะ มันต้องตั้งคำถามว่าสังคมมองผู้หญิงเป็นแบบไหน” ปูเป้กล่าว
ก๊อยเสนอทิ้งท้ายว่า “ถ้าคนมันอยู่ด้วยความเป็น ‘คน’ จริงๆ เขาจะให้คุณกลับมาด้วยความเป็นคน ถ้าสมมติเรายิ่ง take (แสดงจุดยืน) ตัวเองว่า ‘กูเป็นผู้หญิง อย่ารังแกกูดิวะ’ คือเราทำให้ตัวเองแปลกแยกแล้ว พอ (ให้ )ใจกับเขา เขาก็จะใจกับเรากลับมาร้อยเท่า มันจะกลายเป็นพี่ เป็นน้อง เป็นเพื่อนทันที ไม่เกี่ยวกับเพศเลย (แต่) เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์”
บทสรุปที่ปูเป้และก๊อยอยากฝากไว้ให้กับคนที่ยังคงเรียกพวกเธอว่า “ช่างภาพหญิง” คือ
“สุดท้ายมันก็วัดกันที่งาน”
Share this:
Like this: