เรื่อง/ภาพ: ณภัทร เจริญกัลป์
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์แนะหนทางกำกับบริการแกร็บคาร์อย่างถูกกฎหมาย เสนอให้เข้าสู้แท็กซี่ในตลาดอย่างไร้การผูกขาด รัฐเพียงกำกับดูแลการแข่งขันไม่ให้มีฝ่ายใดเหนือกว่ากันอย่างสิ้นเชิง ชี้หากผู้บริโภคต้องการผลักดัน ควรรวบรวมเสียงเรียกร้องต่อผู้ร่างกฎหมาย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกฎหมายและคุณภาพของบริการของแท็กซี่
จากกรณีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ให้บริการรถแท็กซี่รวมถึงขนส่งรับจ้างดั้งเดิมอื่นๆ กับกลุ่มผู้ต้องการผลักดันให้รับรองสถานะทางกฎหมายแก่บริการรถยนต์ร่วมโดยสาร (Ride-hailing) เช่น แกร็บคาร์ ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า หากบริการในลักษณะนี้ถูกกฎหมาย จะส่งผลอย่างไรต่อขนส่งรับจ้างดั้งเดิมบ้าง
ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ว่าบริการแกร็บคาร์มีผลกระทบต่อแท็กซี่โดยตรง ไม่เหมือนขนส่งชนิดอื่นเช่นจักรยานยนต์รับจ้างเนื่องจากธุรกิจจักรยานยนต์รับจ้างไม่ถูกจำกัดอยู่ที่การรับส่งผู้โดยสารเหมือนรถแท็กซี่ ทำให้มีช่องทางรายได้ที่หลากหลายกว่า รวมถึงระยะทางในการให้บริการที่แตกต่างกัน แต่บริการแกร็บคาร์ได้เปรียบแท็กซี่ที่ราคาที่ถูกและผู้บริโภคยอมรับการให้บริการมากกว่า เนื่องจากได้รับประสบการณ์ที่สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินไปเรียกรถริมถนนเอง และสามารถจ่ายค่าโดยสารด้วยบัตรเครดิตหรือเดบิตแทนเงินสดได้
เมื่อพูดถึงคุณภาพของการให้บริการ ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์มองว่าระบบให้คะแนนความพึงพอใจของแกร็บเป็นระบบที่สามารถคัดผู้ให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐานขององค์กรออกจากระบบ ในขณะที่แท็กซี่ปกติไม่มีระบบนี้ ทำให้คนขับแท็กซี่ที่มีปัญหาปฏิเสธผู้โดยสาร หรือโกงมิเตอร์ค่าโดยสารไม่ได้รับบทลงโทษ ผู้ทำผิดจึงลอยนวลและใช้ชีวิตอย่างปกติต่อไป
“แกร็บคาร์มีให้รีวิวใช่ไหม แล้วระบบรีวิวฟีดแบ็กจะคัดคนที่ไม่ดีออกไป เหมือนแพ้คัดออกน่ะ ในขณะที่แท็กซี่ไม่มีระบบแพ้คัดออก การควบคุมคุณภาพมันก็ไม่มีไง เขาก็ไม่สนใจขับอะไรของเขาไปเรื่อย” นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์อธิบาย
นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ยังเห็นว่าการมีอยู่ของใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะเป็นการที่ทางการบังคับให้ผู้บริโภคยอมรับให้เกิดการผูกขาดในตลาด ซึ่งข้ออ้างที่รัฐใช้สำหรับข้อนี้คือการ ‘กำกับดูแล’
การกำกับดูแลแท็กซี่ของรัฐในปัจจุบันเป็นการกำกับที่ตัวรถและผู้ขับขี่เท่านั้น โดยรถที่ให้บริการต้องจดทะเบียนเป็นรถยนต์สาธารณะ ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตเฉพาะ และกำกับดูแลการให้บริการบางอย่าง เช่น ต้องให้บริการในพื้นที่ที่กำหนด การห้ามปฏิเสธผู้โดยสาร และการกำหนดอัตราค่าบริการตามมิเตอร์

กระนั้น ก็ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าการกำกับดูแลของภาครัฐไม่รัดกุมมากพอ ไม่มีการลงโทษที่เหมาะสมตามความผิด และเกิดช่องโหว่ให้ผู้ให้บริการใช้ในการทุจริตได้ “ระบบใบอนุญาตจะมีประโยชน์ต่อเมื่อมีการกำกับดูแล ถ้าไม่มีการกำกับก็อย่าไปใช้ใบอนุญาต”อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็น
เมื่อถามถึงการแบ่งสัดส่วนรายได้ของทั้งสองฝ่ายภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์แนะว่าการแบ่งสัดส่วนรายได้จะเกิดขึ้นจากระบบตลาดเอง โดยผู้บริโภคจะเป็นผู้แบ่งสัดส่วนทางการตลาด สิ่งไหนดีกว่าผู้บริโภคก็เลือกสิ่งนั้น จนธุรกิจนั้นได้สัดส่วนตลาดไปครองในที่สุด
สำหรับการกำกับดูแลทั้งบริการแกร็บคาร์และแท็กซี่นั้น นักวิชาการมองว่าเป็นการกำกับการแข่งขันทางการค้ามากกว่ากำกับที่ตัวบริการใดบริการหนึ่ง โดยกำกับไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการทำลายการแข่งขันในตลาด หรือมีอำนาจเหนือตลาดจนทำลายสมดุลการค้าของทั้งสองฝ่าย
“การมีอำนาจเหนือตลาดเหมือนเขามีปืน ถ้าเขาไม่เอาปืนไปยิงใครมันก็โอเค แต่ถ้าเอาไปยิงคนอื่น ใช้อำนาจทางการตลาดในทางผิดๆ เช่น ทุ่มตลาดตัดราคาจนเอาอีกคนหนึ่งออกไปจากตลาด แล้วสุดท้ายตัวเองเป็น Monopoly (ผู้ผูกขาด) เนี่ย ไม่ดี” ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์กล่าว
ด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจจากการมีบริการแกร็บคาร์ในไทยนั้น ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์ มองว่าสังคมต้องตั้งคำถามว่าการมีแกร็บคาร์อยู่ทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพขึ้น และทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหมุนเร็วขึ้นอย่างไร เช่น การนำรถมาแบ่งกันใช้ เป็นการใช้ทรัพยากรในการขนส่งอย่างคุ้มค่ามากขึ้น ทำให้ปริมาณรถบนท้องถนนลดน้อยลงแต่ผู้บริโภคไปถึงที่หมายเหมือนเดิม และประหยัดทรัพยากรขึ้นหรือไม่
“สุดท้ายถ้ามันทำให้คนซื้อรถน้อยลงเพราะมันมีบริการพวกนี้ขึ้นมามันก็ดีใช่ไหม รถบนถนนน้อยลง คนถึงที่หมายเหมือนเดิม” ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์กล่าว
เมื่อพูดถึงประเด็นการผลักดันการแก้ไขกฎหมาย ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์กล่าวว่าปัญหานี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ร่างกฎหมาย แต่คงไม่เกิดขึ้นง่ายๆ หากยังมีแรงต้านจากฝั่งแท็กซี่อยู่ เพราะผู้ร่างกฎหมายคงไม่อยากสร้างความเสี่ยงให้ตัวเองโดยไม่จำเป็น เพราะหากบริการแกร็บคาร์ถูกกฎหมายขึ้นมา สัดส่วนตลาดที่แท็กซี่เคยผูกขาดอยู่จะหายไป ซึ่งส่งกระทบต่อแท็กซี่อย่างแน่นอน
ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์เสนอว่าหากต้องการให้เกิดการแก้ไขกฎหมาย ผู้บริโภคต้องรวมตัวกัน เพื่อส่งเสียงเรียกร้องไปให้ถึงผู้ที่กำหนดนโยบาย รวมถึงต้องหาทางที่จะลดแรงต้านจากฝั่งแท็กซี่ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่รวมตัวกันเรียกร้องได้ง่าย
ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์เห็นว่า การรวมตัวกันของผู้บริโภคเพื่อเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขกฎหมาย จะทำให้ความตึงเครียดที่เกิดจากแรงต้านของผู้ขับรถแท็กซี่เบาบางลง เมื่อพวกเขาเห็นว่ามีฐานผู้บริโภคเป็นจำนวนมากที่ไม่พอใจการให้บริการของรถแท็กซี่ และไว้วางใจการบริการของแกร็บคาร์มากกว่า อาจส่งผลให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพการบริการและความปลอดภัยของแท็กซี่อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้แท็กซี่สามารถมีข้ออ้างในการปกป้องผลประโยชน์ของตนได้ ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภคแม้ไม่เกิดการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับบริการแกร็บคาร์ในท้ายที่สุด
Like this:
Like Loading...
เรื่อง/ภาพ: ณภัทร เจริญกัลป์
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์แนะหนทางกำกับบริการแกร็บคาร์อย่างถูกกฎหมาย เสนอให้เข้าสู้แท็กซี่ในตลาดอย่างไร้การผูกขาด รัฐเพียงกำกับดูแลการแข่งขันไม่ให้มีฝ่ายใดเหนือกว่ากันอย่างสิ้นเชิง ชี้หากผู้บริโภคต้องการผลักดัน ควรรวบรวมเสียงเรียกร้องต่อผู้ร่างกฎหมาย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกฎหมายและคุณภาพของบริการของแท็กซี่
จากกรณีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ให้บริการรถแท็กซี่รวมถึงขนส่งรับจ้างดั้งเดิมอื่นๆ กับกลุ่มผู้ต้องการผลักดันให้รับรองสถานะทางกฎหมายแก่บริการรถยนต์ร่วมโดยสาร (Ride-hailing) เช่น แกร็บคาร์ ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า หากบริการในลักษณะนี้ถูกกฎหมาย จะส่งผลอย่างไรต่อขนส่งรับจ้างดั้งเดิมบ้าง
ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ว่าบริการแกร็บคาร์มีผลกระทบต่อแท็กซี่โดยตรง ไม่เหมือนขนส่งชนิดอื่นเช่นจักรยานยนต์รับจ้างเนื่องจากธุรกิจจักรยานยนต์รับจ้างไม่ถูกจำกัดอยู่ที่การรับส่งผู้โดยสารเหมือนรถแท็กซี่ ทำให้มีช่องทางรายได้ที่หลากหลายกว่า รวมถึงระยะทางในการให้บริการที่แตกต่างกัน แต่บริการแกร็บคาร์ได้เปรียบแท็กซี่ที่ราคาที่ถูกและผู้บริโภคยอมรับการให้บริการมากกว่า เนื่องจากได้รับประสบการณ์ที่สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินไปเรียกรถริมถนนเอง และสามารถจ่ายค่าโดยสารด้วยบัตรเครดิตหรือเดบิตแทนเงินสดได้
เมื่อพูดถึงคุณภาพของการให้บริการ ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์มองว่าระบบให้คะแนนความพึงพอใจของแกร็บเป็นระบบที่สามารถคัดผู้ให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐานขององค์กรออกจากระบบ ในขณะที่แท็กซี่ปกติไม่มีระบบนี้ ทำให้คนขับแท็กซี่ที่มีปัญหาปฏิเสธผู้โดยสาร หรือโกงมิเตอร์ค่าโดยสารไม่ได้รับบทลงโทษ ผู้ทำผิดจึงลอยนวลและใช้ชีวิตอย่างปกติต่อไป
นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ยังเห็นว่าการมีอยู่ของใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะเป็นการที่ทางการบังคับให้ผู้บริโภคยอมรับให้เกิดการผูกขาดในตลาด ซึ่งข้ออ้างที่รัฐใช้สำหรับข้อนี้คือการ ‘กำกับดูแล’
การกำกับดูแลแท็กซี่ของรัฐในปัจจุบันเป็นการกำกับที่ตัวรถและผู้ขับขี่เท่านั้น โดยรถที่ให้บริการต้องจดทะเบียนเป็นรถยนต์สาธารณะ ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตเฉพาะ และกำกับดูแลการให้บริการบางอย่าง เช่น ต้องให้บริการในพื้นที่ที่กำหนด การห้ามปฏิเสธผู้โดยสาร และการกำหนดอัตราค่าบริการตามมิเตอร์
กระนั้น ก็ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าการกำกับดูแลของภาครัฐไม่รัดกุมมากพอ ไม่มีการลงโทษที่เหมาะสมตามความผิด และเกิดช่องโหว่ให้ผู้ให้บริการใช้ในการทุจริตได้ “ระบบใบอนุญาตจะมีประโยชน์ต่อเมื่อมีการกำกับดูแล ถ้าไม่มีการกำกับก็อย่าไปใช้ใบอนุญาต”อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็น
เมื่อถามถึงการแบ่งสัดส่วนรายได้ของทั้งสองฝ่ายภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์แนะว่าการแบ่งสัดส่วนรายได้จะเกิดขึ้นจากระบบตลาดเอง โดยผู้บริโภคจะเป็นผู้แบ่งสัดส่วนทางการตลาด สิ่งไหนดีกว่าผู้บริโภคก็เลือกสิ่งนั้น จนธุรกิจนั้นได้สัดส่วนตลาดไปครองในที่สุด
สำหรับการกำกับดูแลทั้งบริการแกร็บคาร์และแท็กซี่นั้น นักวิชาการมองว่าเป็นการกำกับการแข่งขันทางการค้ามากกว่ากำกับที่ตัวบริการใดบริการหนึ่ง โดยกำกับไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการทำลายการแข่งขันในตลาด หรือมีอำนาจเหนือตลาดจนทำลายสมดุลการค้าของทั้งสองฝ่าย
ด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจจากการมีบริการแกร็บคาร์ในไทยนั้น ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์ มองว่าสังคมต้องตั้งคำถามว่าการมีแกร็บคาร์อยู่ทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพขึ้น และทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหมุนเร็วขึ้นอย่างไร เช่น การนำรถมาแบ่งกันใช้ เป็นการใช้ทรัพยากรในการขนส่งอย่างคุ้มค่ามากขึ้น ทำให้ปริมาณรถบนท้องถนนลดน้อยลงแต่ผู้บริโภคไปถึงที่หมายเหมือนเดิม และประหยัดทรัพยากรขึ้นหรือไม่
“สุดท้ายถ้ามันทำให้คนซื้อรถน้อยลงเพราะมันมีบริการพวกนี้ขึ้นมามันก็ดีใช่ไหม รถบนถนนน้อยลง คนถึงที่หมายเหมือนเดิม” ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์กล่าว
เมื่อพูดถึงประเด็นการผลักดันการแก้ไขกฎหมาย ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์กล่าวว่าปัญหานี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ร่างกฎหมาย แต่คงไม่เกิดขึ้นง่ายๆ หากยังมีแรงต้านจากฝั่งแท็กซี่อยู่ เพราะผู้ร่างกฎหมายคงไม่อยากสร้างความเสี่ยงให้ตัวเองโดยไม่จำเป็น เพราะหากบริการแกร็บคาร์ถูกกฎหมายขึ้นมา สัดส่วนตลาดที่แท็กซี่เคยผูกขาดอยู่จะหายไป ซึ่งส่งกระทบต่อแท็กซี่อย่างแน่นอน
ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์เสนอว่าหากต้องการให้เกิดการแก้ไขกฎหมาย ผู้บริโภคต้องรวมตัวกัน เพื่อส่งเสียงเรียกร้องไปให้ถึงผู้ที่กำหนดนโยบาย รวมถึงต้องหาทางที่จะลดแรงต้านจากฝั่งแท็กซี่ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่รวมตัวกันเรียกร้องได้ง่าย
ผศ.ดร.พัชรสุทธิ์เห็นว่า การรวมตัวกันของผู้บริโภคเพื่อเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขกฎหมาย จะทำให้ความตึงเครียดที่เกิดจากแรงต้านของผู้ขับรถแท็กซี่เบาบางลง เมื่อพวกเขาเห็นว่ามีฐานผู้บริโภคเป็นจำนวนมากที่ไม่พอใจการให้บริการของรถแท็กซี่ และไว้วางใจการบริการของแกร็บคาร์มากกว่า อาจส่งผลให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพการบริการและความปลอดภัยของแท็กซี่อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้แท็กซี่สามารถมีข้ออ้างในการปกป้องผลประโยชน์ของตนได้ ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภคแม้ไม่เกิดการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับบริการแกร็บคาร์ในท้ายที่สุด
Share this:
Like this: