เรื่อง: ไข่มุก อินทรวิชัย
ภาพ: ชนิกานต์ พราหมณโชติ
เมื่อก้าวผ่านประตูทางเข้าอันแสนเรียบง่ายของศาสนาสถานสำคัญของชาวมุสลิมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ภาพผู้คนเดินขวักไขว่กันไปมาก็ปรากฏขึ้น บางคนใส่ชุดลำลอง บ้างแต่งกายตามหลักศาสนาอิสลาม ท่ามกลางผู้คนมากมาย เราได้พบกับ ยาซาร์และรานา สองสามีภรรยาชาวซีเรียที่ลี้ภัยเข้ามาในไทยตั้งแต่ปี 2558 ตั้งโต๊ะขายอาหารอยู่ในมัสยิดแห่งนี้
ยาซาร์เล่าว่า ตอนที่อยู่ซีเรีย เขามีอาชีพเป็นวิศวกรเครื่องกลดูแลระบบรถไฟ ส่วนภรรยาของเขาก็เป็นเชฟในโรงแรมที่กรุงดามัสกัส พวกเขายังมีลูกด้วยกันอีกสองคน ลูกชายคนโตอายุ 14 ปีและลูกสาวคนเล็กอายุ 9 ปี
“พวกคุณรู้จักสงครามตะวันออกใช่ไหม สงครามเริ่มตอนปี 2011 ที่นั่นมีทั้งปืน ทั้งระเบิด มีคนตายเยอะแยะอยู่บนถนน เราหนีสงครามนั้นมา ส่วนน้องสาวของภรรยาผม สามีเธอถูกยิงตายในสงคราม ตอนนี้เธอกับลูกสาวอีกสองคนก็พักอยู่กับพวกเราด้วย” ยาซาร์เล่า
ภายในโรงอาหารศูนย์กลางมุสลิมแห่งประเทศไทยที่เปิดโอกาสให้ผู้ลี้ภัยเข้ามาขายอาหาร
เขาอธิบายต่อว่าพวกเขาไม่ได้เป็นคนเลือกประเทศที่ใช้พำนักเพื่อรอการส่งตัวด้วยตนเอง แต่ UNHCR ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือและให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยเป็นผู้เลือกให้ เพราะมีเพียงไม่กี่ประเทศที่ให้วีซ่ากับผู้ลี้ภัย ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ให้วีซ่ากับครอบครัวของยาซาร์
ยาซาร์กล่าวว่าแม้เขาจะมีวุฒิการศึกษารวมทั้งประสบการณ์การทำงานที่กล่าวได้ว่าเป็นแรงงานที่มีฝีมือ แต่หากอยู่ในประเทศที่ไม่มีกฎหมายรองรับผู้ลี้ภัยอย่างถูกต้องแล้ว เขาก็ไม่สามารถเข้าสมัครงานได้ เมื่อไม่สามารถสมัครงามตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานเดิมได้ อีกทั้งกระบวนการในการส่งตัวไปยังประเทศที่สามก็ล่าช้า เนื่องจากขั้นตอนการตรวจสอบและยืนยันตัวตนผู้ลี้ภัย รวมทั้งการจัดหาประเทศปลายทางในการรองรับใช้เวลานาน บางครั้งก็กินเวลาหลายปี เหล่าผู้ลี้ภัยจึงจำเป็นต้องอยู่ในประเทศที่รอการส่งตัวต่อไปและต้องเอาตัวรอดด้วยการรับจ้างหรือขายของ
“เราอยู่กัน 7 คน ขายอาหารได้เงินสัปดาห์ละประมาณ 2,000 เดือนหนึ่งก็ 8,000 บาท แต่ค่าเช่าที่พักต่อเดือน 5,000 บาท ก็เหลืออีกประมาณ 3,000 ในการเลี้ยงดูคน 7 คน” ยาซาร์บอก
“เมื่อก่อนผมเป็นวิศวะ แต่พออยู่นี่ผมทำได้แค่ขายอาหาร มันต่างกันมาก ไม่ง่ายเลยในตอนแรกที่ต้องยอมรับและปรับตัว แต่ถ้าได้ไปอยู่ในประเทศที่ผมอยู่ได้อย่างถูกกฎหมาย ไม่มีอุปสรรคทางภาษา อย่างนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ผมสามารถสมัครงานเป็นวิศวะได้ ลูกๆ ผมก็เข้าโรงเรียนได้ ก็ได้แต่ภาวนาให้เราถูกส่งตัวไปยังประเทศที่สามภายในเร็ววัน” ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียกล่าวด้วยความหวัง
เมื่อไร้ตัวตนทางกฎหมาย ชีวิตก็ไม่ปลอดภัยและไร้ความมั่นคง
ข้อมูลจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า ในปี 2560 มีจำนวนผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยที่ขึ้นทะเบียนกับ UNHCR จำนวน 7,212 คนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เขตเมืองและกึ่งเมืองอื่นๆ โดยกลุ่มที่ใหญ่สุดมาจากปากีสถานและปาเลสไตน์
ผศ.ดร.กษิร ชีพเป็นสุข รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงของมนุษย์และสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า เนื่องจากรัฐไทยไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ ไทยจึงไม่สามารถให้วีซ่าประเภทเฉพาะของผู้ลี้ภัยได้ ออกให้ได้เพียงวีซ่านักท่องเที่ยวที่มีอายุการใช้งานเพียง 3 ปีเท่านั้น และถึงแม้ว่าจะได้รับเอกสารรองรับสถานะจาก UNHCR ประเทศไทยให้เป็น “กลุ่มคนในความห่วงใย (Person of Concern)” แต่สถานะนี้ก็ไม่นับว่าเป็นสถานะบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมายไทย ส่งผลให้ผู้ลี้ภัยไม่มีสถานะที่ถูกกฎหมายในการเข้าสมัครงานตามองค์กรต่างๆ
นอกจากความไม่มั่นคงทางการเงินแล้ว พวกเขายังต้องประสบกับปัญหาความปลอดภัย ผศ.ดร.กษิรชี้ว่า ผู้ลี้ภัยต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างหวาดระแวงต่อการถูกจับเข้าเรือนจำหรือถูกส่งตัวกลับประเทศ เพราะถึงพวกเขาจะได้รับเอกสารรับรองความเป็นผู้ลี้ภัยจาก UNHCR แต่กฎหมายไทยไม่รับรองสถานะดังกล่าว
นั่นหมายถึงเมื่อวีซ่าหมดอายุ แต่หากยังคงพำนักอยู่ในประเทศไทยต่อ จะถือว่าทำผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าจับกุมได้ และจะถูกส่งตัวไปยังห้องกักขังชั่วคราวของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ห้องกักขังสวนพลู) ที่มีไว้สำหรับคนต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง
คำอธิบายนี้สอดคล้องกับประสบการณ์ตรงของยาซาร์ที่บอกว่า “ทุกวันนี้นอกจากออกมาขายอาหารที่นี่ เราก็ไม่ค่อยกล้าออกไปไหนแล้ว ที่นี่เป็นศาสนสถาน มีคนสวดมนต์ เจ้าหน้าที่ก็ไม่กล้าเข้ามาทำอะไร แต่ถ้าเขาเจอเราข้างนอกเขาจับเราเข้าคุกได้ ผมมีคนรู้จักที่ลี้ภัยมาเหมือนกัน เมื่อไม่นานมานี้เขาก็เพิ่งโดนจับไป”
สองสามีภรรยาผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย และผู้ลี้ภัยจากชาติอื่น คอยลูกค้ามาซื้ออาหารอาหรับที่วางเรียงบนโต๊ะ
ถึงแม้ว่าภายนอกพวกเขาจะยังคงฉาบด้วยรอยยิ้ม ทว่าสองสามีภรรยาก็ยังคงรู้สึกว่าตนเองเปรียบประหนึ่งนกที่พรากจากรัง ด้วยว่าถูกตัดขาดจากรกรากและแผ่นดินถิ่นเกิด จำต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ ในประเทศที่ถูกส่งตัวมาพำนักระหว่างทาง จนความรู้สึกเคว้งคว้างถาโถมเข้าเกาะกุมจิตใจ
“บางครั้งภรรยาผมก็แอบร้องไห้ เรากังวลเกี่ยวกับอนาคตลูกตลอด ตอนนี้พวกเขาไม่ได้เรียนหนังสือเพราะอุปสรรคทางภาษา แล้วอนาคตพวกเขาจะเป็นยังไง ถ้ามีแค่ผมกับภรรยาก็ไม่เป็นไรหรอก แต่นี่เรามีลูกด้วยไง…
เรายิ้มเพื่อลูกๆ ของเรา ถ้าเราแสดงออกว่าเศร้า ลูกก็คงจะเศร้าตาม ภายนอกเรายิ้มแย้มแต่ข้างในเราร้องไห้ เราดูเหมือนมีความสุข แต่จริงๆ แล้วตรงนี้ (ชี้มือมาที่อกข้างซ้าย) เราไม่มีความสุขเลย” ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียกล่าว
เมื่อไร้ตัวตนทางกฎหมาย ก็ไร้โอกาสทางการศึกษา
นอกจากผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในเขตตัวเมืองแล้ว ประเทศไทยก็ยังมีผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศใกล้เคียง เช่น พม่า อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามบริเวณชายแดนฝั่งตะวันตกของประเทศ ข้อมูลจาก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ระบุว่า ผู้ลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดง โดยจำนวน 97,418 คนอาศัยอยู่ในที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่งใน 4 จังหวัด (กาญจนบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน และราชบุรี) แบ่งเป็นผู้ลี้ภัยที่ได้ลงทะเบียนกับ UNHCR จำนวน 48,938 คนและอีก 48,480 คนยังไม่ได้ลงทะเบียน
ความแตกต่างระหว่างผู้ลี้ภัยจากประเทศใกล้เคียงและแรงงานข้ามชาติ คือ แรงงานข้ามชาติอพยพจากประเทศของตนมาไทย เพราะมีจุดมุ่งหมายเพื่อมาหางานหรือประกอบอาชีพ ในขณะที่สาเหตุในการจากประเทศบ้านเกิดของตนเองมานั้น เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องหลบลี้จากสงครามหรือความขัดแย้งอันรุนแรงภายในประเทศ
“แรงงานข้ามชาติเขาก็ส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวเขา กลับไปเยี่ยมครอบครัวได้ แต่ผู้ลี้ภัยเขากลับประเทศไม่ได้ แต่คนไทยไม่ค่อยแยก เรามักมองว่าเขาเป็นแรงงานต่างด้าวหมด” ผศ.ดร.กษิร จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ อธิบาย
ตามพื้นฐานสิทธิมนุษยชนแล้ว มนุษย์ทุกคนไม่ได้มีสิทธิเพียงแค่ใช้ชีวิตให้อยู่รอดไปวันๆ แต่สมควรได้สิทธิในการเข้าถึงการศึกษาด้วย นวภัทร กาญจนพันธุ์บุญ เจ้าหน้าที่ภาคสนามพื้นที่แม่สอด มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา (FED) กล่าวว่า ผู้ลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่ามักประสบปัญหาการเข้าถึงการศึกษา กล่าวคือแม้ในค่ายผู้ลี้ภัยจะจัดการเรียนการสอนให้กับผู้ลี้ภัย โดยครูส่วนมากก็เป็นผู้ลี้ภัยด้วยกันเองที่เรียนจบครูมาจากประเทศของตน หรือมีครูอาสามาสอน ทว่าเด็กๆ ที่ได้รับการศึกษาจากในค่ายผู้ลี้ภัยมักไม่ได้ใบรับรอง โอกาสที่จะได้ไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาจึงมีน้อย
“กลุ่มเด็กผู้ลี้ภัยที่ศึกษาอยู่ในแคมป์ ที่นั่นเขามีโรงเรียน มีสถานศึกษาให้ มีครูเข้าไปสอน มีการสอบกลางภาค ปลายภาค แต่มันไม่ได้อำนวยให้เขาไปต่อในมหาวิทยาลัย เพราะไม่ได้มีใบรับรอง ไม่มีอะไรมาการันตีความสามารถของพวกเขา” นวภัทรเล่า
Saw Hein Zar Ni ชายผู้ลี้ภัยชาวพม่าเสริมว่า การศึกษาเป็นปัญหาที่สำคัญที่เขาพบเมื่อลี้ภัยเข้ามาอยู่ในไทย “มันยากต่อการที่จะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เท่าที่เห็นคนที่เข้ามาดูแลช่วยเหลือเรื่องพวกนี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นหน่วยงานจากเอกชนหรือ NGO (องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร) มากกว่าภาครัฐ”
ภาณุภัทร จิตเที่ยง นักศึกษาปริญญาเอก และผู้ช่วยสอนรายวิชาขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มชาติพันธุ์ในสหรัฐอเมริกา จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน ระบุว่าในค่ายผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดน เด็กๆ จะได้รับการสอนภาษาแค่ภาษากะเหรี่ยงและภาษาอังกฤษเท่านั้น เพราะรัฐบาลไม่อนุญาตให้มีการสอนภาษาไทยในค่ายผู้ลี้ภัย เนื่องจากไม่ต้องการให้คนเหล่านี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย
ภาณุภัทรเสริมว่า สำหรับผู้ลี้ภัยที่อาศัยในเขตเมืองนั้น หากต้องการส่งลูกเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนก็สามารถทำได้ เพราะประเทศไทยมีนโยบาย Education For All นั่นคือเด็กทุกคน ทุกสัญชาติ สามารถเข้าศึกษาในโรงเรียนไทยได้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับผู้อำนวยการ หรือผู้ใหญ่ในโรงเรียนด้วยว่าอนุมัติหรือไม่
ศาสนิกชนในอาคารศูนย์กลางมุสลิมแห่งประเทศไทย
“ผู้ลี้ภัยในเมืองก็แบ่งออกเป็นสองกลุ่มอีก กลุ่มที่มาจากประเทศที่ใกล้เรา กับกลุ่มที่มาจากประเทศที่ไกลเรา เช่น ซีเรีย ปากีสถาน พวกนี้เขาไม่ต้องการอยู่ถาวร เขาเลยไม่อยากเรียนภาษาไทย เพราะเจ้าหน้าที่ในประเทศปลายทางอาจมองว่าเขาเข้ากับสังคมไทยได้ โอกาสที่เขาจะได้อยู่ต่อในไทยมันก็สูง โอกาสไปต่อในประเทศที่สามย่อมน้อยลง
ต่างจากเคสที่มาจากประเทศใกล้ๆ เช่น เวียดนาม ม้ง เขาจะเรียนภาษาไทย เพราะเขาไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เผื่อได้อยู่ต่อในไทยจริง ก็จะได้ง่ายขึ้นต่อการดำรงชีวิต เพราะเขาหน้าเหมือนคนไทย สามารถใช้ชีวิตกลมกลืนไปกับสังคมไทยได้ แต่จริงๆ เขาก็ไม่ได้อยากอยู่ในไทยหรอก รัฐบาลเองก็ไม่ได้อยากให้เขาอยู่” ภาณุภัทรกล่าว
เมื่อไร้ตัวตนทางกฎหมาย ก็ไม่มีสิทธิเข้าถึงการรักษาพยาบาล
ปัญหาอีกประการที่ผู้ลี้ภัยประสบคือบริการด้านสุขภาพจากหน่วยงานรัฐที่เข้าถึงได้ยาก นวภัทร จากมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา เผยว่าก่อนหน้านี้มีกลุ่ม INGO (องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ) เข้ามาช่วยเหลือด้านนี้ แต่ปัจจุบันค่อยๆ ถอนตัวกันออกไป เพราะกลุ่ม INGO เข้าใจว่ารัฐบาลพม่าได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เพื่อให้ชนกลุ่มน้อยสามารถกลับไปใช้ชีวิตในพม่าได้ปกติแล้ว
ทว่าในความเป็นจริง เจ้าหน้าที่มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนากล่าวว่า ชนกลุ่มน้อยในพม่ายังเผชิญกับการเหยียดชาติพันธุ์ที่รุนแรงอยู่ พวกเขาถูกรัฐบาลกดขี่เนื่องจากไม่ต้องการให้อยู่ในประเทศ มีการยิงทำร้ายและเผาหมู่บ้าน กลุ่มชาติพันธ์เหล่านี้จึงยังไม่สามารถกลับประเทศได้ เมื่อองค์กรเอกชนต่างๆ ถอนตัวออกไป อีกทั้งกลุ่มผู้ลี้ภัยเองก็ไม่มีความรู้เรื่องสาธารณสุข จึงส่งผลให้สถานการณ์ด้านสุขภาวะแย่ลง เช่น กรณีเกิดภาวะคลอดบุตรยาก ที่หมอพื้นบ้านอาจมีทักษะไม่มากพอในการทำคลอด เมื่อไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ จึงทำให้เสียชีวิตระหว่างการคลอดบุตร
ด้าน ผศ.ดร.กษิร นักวิชาการรัฐศาสตร์ อธิบายเพิ่มเติมว่า ตามแนวค่ายผู้ลี้ภัยมักมีรถพยาบาลเคลื่อนที่เข้าไปให้การรักษา แต่บางครั้งเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็อาจส่งตัวมารักษาได้ไม่ทันการณ์ ขณะที่ผู้ลี้ภัยในตัวเมืองก็ประสบปัญหาการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเนื่องจากไม่มีสัญชาติไทย
ในกรณีที่เจ็บป่วยขั้นร้ายแรง โรงพยาบาลก็อาจผ่อนปรนให้ได้รับการรักษา อย่างไรก็ตาม การเข้ารับการรักษาได้แค่บางครั้งคราวนั้นอาจส่งผลเสียต่อผู้ลี้ภัยบางคนที่มีโรคประจำตัวซึ่งต้องได้รับยาต่อเนื่อง เช่น ลมชัก อีกทั้งในบางพื้นที่ยังมีปัญหาเรื่องทัศนคติของเจ้าหน้าที่ในการรักษาและปฏิบัติต่อผู้ป่วยที่เป็นผู้ลี้ภัยอีกด้วย
รัฐ-สังคมไทยควรทำอย่างไร เมื่อผู้ลี้ภัยไร้ตัวตน
เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากไปก่อเหตุอาชญากรรมขึ้น ก็ยากที่จะระบุตัวผู้ต้องสงสัยได้ พัชชา เจิงกลิ่นจันทร์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ถ้าเกิดผู้ลี้ภัยลักลอบเข้ามา แล้วเขาไม่มีอะไรทำ ถามว่าเขาต้องทำยังไง ก็อาจจะปล้น จี้ ขอทาน ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่คนไทยไม่สามารถแก้ไขอะไรไม่ได้เลย เพราะกฎหมายก็ไม่ได้รองรับเขา”
ส่วน นวภัทร เจ้าหน้าที่ FED เสริมว่า “จริงๆ มันมีเรื่องของการค้ามนุษย์ด้วย เช่น กลุ่มชาวโรฮิงญา ถ้าเราแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ ภาพลักษณ์ประเทศก็จะดูดีขึ้น เพราะทางสหรัฐฯ เขาจะมีการประเมินทุกปีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ถ้ามันแย่มากๆ ก็อาจจะโดนแบล็กลิสต์พวกการส่งออก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศได้”
พัชชายังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแก้ไขปัญหานี้ว่า “เราควรจะชั่งน้ำหนักระหว่างความมั่นคงของประเทศกับสิทธิมนุษยชน เมื่อกฎหมายที่รองรับผู้ลี้ภัยมันไม่มีสถานะที่ชัดเจน ดังนั้นแนวทางการปฏิบัติกับเขามันก็ไม่ชัดเจนตาม แล้วคนมันอยู่ในโครงสร้างสังคม เมื่อทัศนคติจากเบื้องบนลงมามันเป็นการเหยียดกัน มันไม่แปลกเลยที่คนในสังคมจะรู้สึกว่าผู้ลี้ภัยเป็นส่วนเกิน
ไม่ได้หมายความว่าให้เราเปิดประเทศรับเขาเข้ามา แต่เกณฑ์อะไรที่รับเข้ามาแล้วเราจะต้องให้เขาบ้าง ที่เราให้ไม่ได้หมายความว่าให้เพื่อให้เขาอยู่ดีมีสุข แต่ให้ตามสิทธิขั้นพื้นฐาน และเมื่อให้แล้วผลดีน่าจะเกิดกับประเทศเรามากกว่าผลเสีย อย่างเรื่องการศึกษา ถ้าเราสนับสนุน เราก็อาจจะได้แรงงานที่มีฝีมือมากขึ้น
มันก็อยู่ที่การชั่งน้าหนักของความมั่นคงด้วย ไม่งั้นก็อาจจะเป็นอย่างประเทศเยอรมันปี 2015 ที่มีผู้ลี้ภัยเข้าไปเป็นล้านคน ซึ่งนั่นก็ไม่ไหวเหมือนกัน” นักวิชาการด้านสังคมสงเคราะห์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ภาณุภัทร นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน มองว่า การเกิดวิกฤติผู้ลี้ภัยล้นทะลัก หรือ Flood Refugee ในไทย แบบที่เกิดขึ้นที่เยอรมนีเมื่อปี 2558 นั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากหลายปัจจัย
“สิ่งสำคัญของเรื่องนี้มีสองส่วน ส่วนที่หนึ่งคือเยอรมันกับไทยมีเงื่อนไขประเทศแตกต่างกัน เยอรมันเป็นประเทศที่สาม เป็นเป้าหมายปลายทางของผู้ลี้ภัย ประเทศไทยไม่ใช่เป้าหมายปลายทางของผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดภาวะวิกฤติผู้ลี้ภัยล้นทะลักมันถูกบีบลงด้วยโครงสร้างสังคมไทยเองที่ทำให้เขาไม่ได้อยากอยู่ในไทย ส่วนที่สองคือเมื่อก่อนผู้ลี้ภัยเลือกมาไทย เพราะจะถูกส่งตัวไปประเทศที่สามได้เร็ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว กระบวนการส่งตัวกินเวลานานขึ้น สิ่งเหล่านี้เลยเป็นปัจจัยลดโอกาสการเกิดวิกฤติที่ว่า”
ภาณุภัทรแนะว่าอีกวิธีที่จะช่วยลดโอกาสในการเกิดวิกฤติเช่นนี้ คือเพิ่มความเข้มงวดในกระบวนการมอบวีซ่า เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ลี้ภัยบางส่วนจำต้องเลือกประเทศไทยเป็นประเทศที่สามในการพำนัก เพราะประเทศไทยให้วีซ่าง่าย รวมทั้งตั๋วเครื่องบินราคาถูกเมื่อเทียบกับประเทศตัวเลือกอื่น ดังนั้นหากมีกระบวนการตรวจสอบในการมอบวีซ่าที่เข้มงวดขึ้น ก็จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ได้
ส่วนการที่รัฐบาลไทยจะมีนโยบายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยที่ชัดเจนและมอบสถานะที่ถูกกฎหมายให้ผู้ลี้ภัยนั้น ผศ.ดร.กษิร จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มองว่าอาจเกิดขึ้นได้ยาก เพราะคนไทยมีทัศนคติต่อผู้ลี้ภัยที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากสื่อมักรายงานประเด็นนี้ในเชิงลบ รวมทั้งทำให้เห็นว่าจำนวนผู้ลี้ภัยมีมากกว่าที่เป็นจริงซึ่งอาจเป็นเพราะเหมารวมผู้ลี้ภัยไปกับแรงงานต่างด้วยด้วย
“เรื่องนี้มันอาจจะยากในการเคลื่อนไหวหรือกดดันจากระดับล่างขึ้นไปสู่รัฐบาล ถ้ารัฐบาลจะเปลี่ยนหรือออกกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ มันน่าจะเป็นอำนาจจากบนลงล่างมากกว่า เช่น อาจจะถูกกดดันจากต่างประเทศ หรือให้คำมั่นในเวที UN” นักวิชาการรัฐศาสตร์กล่าว
สอดคล้องกับที่ภาณุภัทรระบุว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2561 ประเทศไทยได้ลงนามใน Global Compact for Migration (CGM) ซึ่งเป็นการผลักดันจากกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่แม้ว่าจะเป็นเพียงการให้คำมั่นว่าจะให้ความสนใจและดูแลเรื่องของผู้อพยพมากขึ้น แต่ไม่ได้มีกฎหมายระบุชัดเจนว่าต้องทำ หรือมีบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม ถึงกระนั้น ก็นับว่าเป็นก้าวสำคัญของการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาผู้ลี้ภัยในไทย
“ผู้ลี้ภัย” คือใคร?
อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ให้คำนิยามและความหมายของสถานภาพ “ผู้ลี้ภัย” ว่าหมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง
ที่มา: UNHCR Thailand
Like this:
Like Loading...
เรื่อง: ไข่มุก อินทรวิชัย
ภาพ: ชนิกานต์ พราหมณโชติ
เมื่อก้าวผ่านประตูทางเข้าอันแสนเรียบง่ายของศาสนาสถานสำคัญของชาวมุสลิมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ภาพผู้คนเดินขวักไขว่กันไปมาก็ปรากฏขึ้น บางคนใส่ชุดลำลอง บ้างแต่งกายตามหลักศาสนาอิสลาม ท่ามกลางผู้คนมากมาย เราได้พบกับ ยาซาร์และรานา สองสามีภรรยาชาวซีเรียที่ลี้ภัยเข้ามาในไทยตั้งแต่ปี 2558 ตั้งโต๊ะขายอาหารอยู่ในมัสยิดแห่งนี้
ยาซาร์เล่าว่า ตอนที่อยู่ซีเรีย เขามีอาชีพเป็นวิศวกรเครื่องกลดูแลระบบรถไฟ ส่วนภรรยาของเขาก็เป็นเชฟในโรงแรมที่กรุงดามัสกัส พวกเขายังมีลูกด้วยกันอีกสองคน ลูกชายคนโตอายุ 14 ปีและลูกสาวคนเล็กอายุ 9 ปี
“พวกคุณรู้จักสงครามตะวันออกใช่ไหม สงครามเริ่มตอนปี 2011 ที่นั่นมีทั้งปืน ทั้งระเบิด มีคนตายเยอะแยะอยู่บนถนน เราหนีสงครามนั้นมา ส่วนน้องสาวของภรรยาผม สามีเธอถูกยิงตายในสงคราม ตอนนี้เธอกับลูกสาวอีกสองคนก็พักอยู่กับพวกเราด้วย” ยาซาร์เล่า
เขาอธิบายต่อว่าพวกเขาไม่ได้เป็นคนเลือกประเทศที่ใช้พำนักเพื่อรอการส่งตัวด้วยตนเอง แต่ UNHCR ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือและให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยเป็นผู้เลือกให้ เพราะมีเพียงไม่กี่ประเทศที่ให้วีซ่ากับผู้ลี้ภัย ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ให้วีซ่ากับครอบครัวของยาซาร์
ยาซาร์กล่าวว่าแม้เขาจะมีวุฒิการศึกษารวมทั้งประสบการณ์การทำงานที่กล่าวได้ว่าเป็นแรงงานที่มีฝีมือ แต่หากอยู่ในประเทศที่ไม่มีกฎหมายรองรับผู้ลี้ภัยอย่างถูกต้องแล้ว เขาก็ไม่สามารถเข้าสมัครงานได้ เมื่อไม่สามารถสมัครงามตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานเดิมได้ อีกทั้งกระบวนการในการส่งตัวไปยังประเทศที่สามก็ล่าช้า เนื่องจากขั้นตอนการตรวจสอบและยืนยันตัวตนผู้ลี้ภัย รวมทั้งการจัดหาประเทศปลายทางในการรองรับใช้เวลานาน บางครั้งก็กินเวลาหลายปี เหล่าผู้ลี้ภัยจึงจำเป็นต้องอยู่ในประเทศที่รอการส่งตัวต่อไปและต้องเอาตัวรอดด้วยการรับจ้างหรือขายของ
“เมื่อก่อนผมเป็นวิศวะ แต่พออยู่นี่ผมทำได้แค่ขายอาหาร มันต่างกันมาก ไม่ง่ายเลยในตอนแรกที่ต้องยอมรับและปรับตัว แต่ถ้าได้ไปอยู่ในประเทศที่ผมอยู่ได้อย่างถูกกฎหมาย ไม่มีอุปสรรคทางภาษา อย่างนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ผมสามารถสมัครงานเป็นวิศวะได้ ลูกๆ ผมก็เข้าโรงเรียนได้ ก็ได้แต่ภาวนาให้เราถูกส่งตัวไปยังประเทศที่สามภายในเร็ววัน” ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียกล่าวด้วยความหวัง
เมื่อไร้ตัวตนทางกฎหมาย ชีวิตก็ไม่ปลอดภัยและไร้ความมั่นคง
ข้อมูลจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า ในปี 2560 มีจำนวนผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยที่ขึ้นทะเบียนกับ UNHCR จำนวน 7,212 คนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เขตเมืองและกึ่งเมืองอื่นๆ โดยกลุ่มที่ใหญ่สุดมาจากปากีสถานและปาเลสไตน์
ผศ.ดร.กษิร ชีพเป็นสุข รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงของมนุษย์และสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า เนื่องจากรัฐไทยไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ ไทยจึงไม่สามารถให้วีซ่าประเภทเฉพาะของผู้ลี้ภัยได้ ออกให้ได้เพียงวีซ่านักท่องเที่ยวที่มีอายุการใช้งานเพียง 3 ปีเท่านั้น และถึงแม้ว่าจะได้รับเอกสารรองรับสถานะจาก UNHCR ประเทศไทยให้เป็น “กลุ่มคนในความห่วงใย (Person of Concern)” แต่สถานะนี้ก็ไม่นับว่าเป็นสถานะบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมายไทย ส่งผลให้ผู้ลี้ภัยไม่มีสถานะที่ถูกกฎหมายในการเข้าสมัครงานตามองค์กรต่างๆ
นอกจากความไม่มั่นคงทางการเงินแล้ว พวกเขายังต้องประสบกับปัญหาความปลอดภัย ผศ.ดร.กษิรชี้ว่า ผู้ลี้ภัยต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างหวาดระแวงต่อการถูกจับเข้าเรือนจำหรือถูกส่งตัวกลับประเทศ เพราะถึงพวกเขาจะได้รับเอกสารรับรองความเป็นผู้ลี้ภัยจาก UNHCR แต่กฎหมายไทยไม่รับรองสถานะดังกล่าว
นั่นหมายถึงเมื่อวีซ่าหมดอายุ แต่หากยังคงพำนักอยู่ในประเทศไทยต่อ จะถือว่าทำผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าจับกุมได้ และจะถูกส่งตัวไปยังห้องกักขังชั่วคราวของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ห้องกักขังสวนพลู) ที่มีไว้สำหรับคนต่างชาติที่ทำผิดกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง
คำอธิบายนี้สอดคล้องกับประสบการณ์ตรงของยาซาร์ที่บอกว่า “ทุกวันนี้นอกจากออกมาขายอาหารที่นี่ เราก็ไม่ค่อยกล้าออกไปไหนแล้ว ที่นี่เป็นศาสนสถาน มีคนสวดมนต์ เจ้าหน้าที่ก็ไม่กล้าเข้ามาทำอะไร แต่ถ้าเขาเจอเราข้างนอกเขาจับเราเข้าคุกได้ ผมมีคนรู้จักที่ลี้ภัยมาเหมือนกัน เมื่อไม่นานมานี้เขาก็เพิ่งโดนจับไป”
ถึงแม้ว่าภายนอกพวกเขาจะยังคงฉาบด้วยรอยยิ้ม ทว่าสองสามีภรรยาก็ยังคงรู้สึกว่าตนเองเปรียบประหนึ่งนกที่พรากจากรัง ด้วยว่าถูกตัดขาดจากรกรากและแผ่นดินถิ่นเกิด จำต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ ในประเทศที่ถูกส่งตัวมาพำนักระหว่างทาง จนความรู้สึกเคว้งคว้างถาโถมเข้าเกาะกุมจิตใจ
“บางครั้งภรรยาผมก็แอบร้องไห้ เรากังวลเกี่ยวกับอนาคตลูกตลอด ตอนนี้พวกเขาไม่ได้เรียนหนังสือเพราะอุปสรรคทางภาษา แล้วอนาคตพวกเขาจะเป็นยังไง ถ้ามีแค่ผมกับภรรยาก็ไม่เป็นไรหรอก แต่นี่เรามีลูกด้วยไง…
เมื่อไร้ตัวตนทางกฎหมาย ก็ไร้โอกาสทางการศึกษา
นอกจากผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในเขตตัวเมืองแล้ว ประเทศไทยก็ยังมีผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศใกล้เคียง เช่น พม่า อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามบริเวณชายแดนฝั่งตะวันตกของประเทศ ข้อมูลจาก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ระบุว่า ผู้ลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดง โดยจำนวน 97,418 คนอาศัยอยู่ในที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่งใน 4 จังหวัด (กาญจนบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน และราชบุรี) แบ่งเป็นผู้ลี้ภัยที่ได้ลงทะเบียนกับ UNHCR จำนวน 48,938 คนและอีก 48,480 คนยังไม่ได้ลงทะเบียน
ความแตกต่างระหว่างผู้ลี้ภัยจากประเทศใกล้เคียงและแรงงานข้ามชาติ คือ แรงงานข้ามชาติอพยพจากประเทศของตนมาไทย เพราะมีจุดมุ่งหมายเพื่อมาหางานหรือประกอบอาชีพ ในขณะที่สาเหตุในการจากประเทศบ้านเกิดของตนเองมานั้น เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องหลบลี้จากสงครามหรือความขัดแย้งอันรุนแรงภายในประเทศ
“แรงงานข้ามชาติเขาก็ส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวเขา กลับไปเยี่ยมครอบครัวได้ แต่ผู้ลี้ภัยเขากลับประเทศไม่ได้ แต่คนไทยไม่ค่อยแยก เรามักมองว่าเขาเป็นแรงงานต่างด้าวหมด” ผศ.ดร.กษิร จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ อธิบาย
ตามพื้นฐานสิทธิมนุษยชนแล้ว มนุษย์ทุกคนไม่ได้มีสิทธิเพียงแค่ใช้ชีวิตให้อยู่รอดไปวันๆ แต่สมควรได้สิทธิในการเข้าถึงการศึกษาด้วย นวภัทร กาญจนพันธุ์บุญ เจ้าหน้าที่ภาคสนามพื้นที่แม่สอด มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา (FED) กล่าวว่า ผู้ลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่ามักประสบปัญหาการเข้าถึงการศึกษา กล่าวคือแม้ในค่ายผู้ลี้ภัยจะจัดการเรียนการสอนให้กับผู้ลี้ภัย โดยครูส่วนมากก็เป็นผู้ลี้ภัยด้วยกันเองที่เรียนจบครูมาจากประเทศของตน หรือมีครูอาสามาสอน ทว่าเด็กๆ ที่ได้รับการศึกษาจากในค่ายผู้ลี้ภัยมักไม่ได้ใบรับรอง โอกาสที่จะได้ไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาจึงมีน้อย
Saw Hein Zar Ni ชายผู้ลี้ภัยชาวพม่าเสริมว่า การศึกษาเป็นปัญหาที่สำคัญที่เขาพบเมื่อลี้ภัยเข้ามาอยู่ในไทย “มันยากต่อการที่จะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เท่าที่เห็นคนที่เข้ามาดูแลช่วยเหลือเรื่องพวกนี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นหน่วยงานจากเอกชนหรือ NGO (องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร) มากกว่าภาครัฐ”
ภาณุภัทร จิตเที่ยง นักศึกษาปริญญาเอก และผู้ช่วยสอนรายวิชาขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มชาติพันธุ์ในสหรัฐอเมริกา จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน ระบุว่าในค่ายผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดน เด็กๆ จะได้รับการสอนภาษาแค่ภาษากะเหรี่ยงและภาษาอังกฤษเท่านั้น เพราะรัฐบาลไม่อนุญาตให้มีการสอนภาษาไทยในค่ายผู้ลี้ภัย เนื่องจากไม่ต้องการให้คนเหล่านี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย
ภาณุภัทรเสริมว่า สำหรับผู้ลี้ภัยที่อาศัยในเขตเมืองนั้น หากต้องการส่งลูกเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนก็สามารถทำได้ เพราะประเทศไทยมีนโยบาย Education For All นั่นคือเด็กทุกคน ทุกสัญชาติ สามารถเข้าศึกษาในโรงเรียนไทยได้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับผู้อำนวยการ หรือผู้ใหญ่ในโรงเรียนด้วยว่าอนุมัติหรือไม่
“ผู้ลี้ภัยในเมืองก็แบ่งออกเป็นสองกลุ่มอีก กลุ่มที่มาจากประเทศที่ใกล้เรา กับกลุ่มที่มาจากประเทศที่ไกลเรา เช่น ซีเรีย ปากีสถาน พวกนี้เขาไม่ต้องการอยู่ถาวร เขาเลยไม่อยากเรียนภาษาไทย เพราะเจ้าหน้าที่ในประเทศปลายทางอาจมองว่าเขาเข้ากับสังคมไทยได้ โอกาสที่เขาจะได้อยู่ต่อในไทยมันก็สูง โอกาสไปต่อในประเทศที่สามย่อมน้อยลง
ต่างจากเคสที่มาจากประเทศใกล้ๆ เช่น เวียดนาม ม้ง เขาจะเรียนภาษาไทย เพราะเขาไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เผื่อได้อยู่ต่อในไทยจริง ก็จะได้ง่ายขึ้นต่อการดำรงชีวิต เพราะเขาหน้าเหมือนคนไทย สามารถใช้ชีวิตกลมกลืนไปกับสังคมไทยได้ แต่จริงๆ เขาก็ไม่ได้อยากอยู่ในไทยหรอก รัฐบาลเองก็ไม่ได้อยากให้เขาอยู่” ภาณุภัทรกล่าว
เมื่อไร้ตัวตนทางกฎหมาย ก็ไม่มีสิทธิเข้าถึงการรักษาพยาบาล
ปัญหาอีกประการที่ผู้ลี้ภัยประสบคือบริการด้านสุขภาพจากหน่วยงานรัฐที่เข้าถึงได้ยาก นวภัทร จากมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา เผยว่าก่อนหน้านี้มีกลุ่ม INGO (องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ) เข้ามาช่วยเหลือด้านนี้ แต่ปัจจุบันค่อยๆ ถอนตัวกันออกไป เพราะกลุ่ม INGO เข้าใจว่ารัฐบาลพม่าได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เพื่อให้ชนกลุ่มน้อยสามารถกลับไปใช้ชีวิตในพม่าได้ปกติแล้ว
ทว่าในความเป็นจริง เจ้าหน้าที่มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนากล่าวว่า ชนกลุ่มน้อยในพม่ายังเผชิญกับการเหยียดชาติพันธุ์ที่รุนแรงอยู่ พวกเขาถูกรัฐบาลกดขี่เนื่องจากไม่ต้องการให้อยู่ในประเทศ มีการยิงทำร้ายและเผาหมู่บ้าน กลุ่มชาติพันธ์เหล่านี้จึงยังไม่สามารถกลับประเทศได้ เมื่อองค์กรเอกชนต่างๆ ถอนตัวออกไป อีกทั้งกลุ่มผู้ลี้ภัยเองก็ไม่มีความรู้เรื่องสาธารณสุข จึงส่งผลให้สถานการณ์ด้านสุขภาวะแย่ลง เช่น กรณีเกิดภาวะคลอดบุตรยาก ที่หมอพื้นบ้านอาจมีทักษะไม่มากพอในการทำคลอด เมื่อไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ จึงทำให้เสียชีวิตระหว่างการคลอดบุตร
ด้าน ผศ.ดร.กษิร นักวิชาการรัฐศาสตร์ อธิบายเพิ่มเติมว่า ตามแนวค่ายผู้ลี้ภัยมักมีรถพยาบาลเคลื่อนที่เข้าไปให้การรักษา แต่บางครั้งเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็อาจส่งตัวมารักษาได้ไม่ทันการณ์ ขณะที่ผู้ลี้ภัยในตัวเมืองก็ประสบปัญหาการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเนื่องจากไม่มีสัญชาติไทย
รัฐ-สังคมไทยควรทำอย่างไร เมื่อผู้ลี้ภัยไร้ตัวตน
เมื่อผู้ลี้ภัยไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากไปก่อเหตุอาชญากรรมขึ้น ก็ยากที่จะระบุตัวผู้ต้องสงสัยได้ พัชชา เจิงกลิ่นจันทร์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ถ้าเกิดผู้ลี้ภัยลักลอบเข้ามา แล้วเขาไม่มีอะไรทำ ถามว่าเขาต้องทำยังไง ก็อาจจะปล้น จี้ ขอทาน ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่คนไทยไม่สามารถแก้ไขอะไรไม่ได้เลย เพราะกฎหมายก็ไม่ได้รองรับเขา”
ส่วน นวภัทร เจ้าหน้าที่ FED เสริมว่า “จริงๆ มันมีเรื่องของการค้ามนุษย์ด้วย เช่น กลุ่มชาวโรฮิงญา ถ้าเราแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ ภาพลักษณ์ประเทศก็จะดูดีขึ้น เพราะทางสหรัฐฯ เขาจะมีการประเมินทุกปีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ถ้ามันแย่มากๆ ก็อาจจะโดนแบล็กลิสต์พวกการส่งออก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศได้”
พัชชายังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแก้ไขปัญหานี้ว่า “เราควรจะชั่งน้ำหนักระหว่างความมั่นคงของประเทศกับสิทธิมนุษยชน เมื่อกฎหมายที่รองรับผู้ลี้ภัยมันไม่มีสถานะที่ชัดเจน ดังนั้นแนวทางการปฏิบัติกับเขามันก็ไม่ชัดเจนตาม แล้วคนมันอยู่ในโครงสร้างสังคม เมื่อทัศนคติจากเบื้องบนลงมามันเป็นการเหยียดกัน มันไม่แปลกเลยที่คนในสังคมจะรู้สึกว่าผู้ลี้ภัยเป็นส่วนเกิน
มันก็อยู่ที่การชั่งน้าหนักของความมั่นคงด้วย ไม่งั้นก็อาจจะเป็นอย่างประเทศเยอรมันปี 2015 ที่มีผู้ลี้ภัยเข้าไปเป็นล้านคน ซึ่งนั่นก็ไม่ไหวเหมือนกัน” นักวิชาการด้านสังคมสงเคราะห์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ภาณุภัทร นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน มองว่า การเกิดวิกฤติผู้ลี้ภัยล้นทะลัก หรือ Flood Refugee ในไทย แบบที่เกิดขึ้นที่เยอรมนีเมื่อปี 2558 นั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากหลายปัจจัย
“สิ่งสำคัญของเรื่องนี้มีสองส่วน ส่วนที่หนึ่งคือเยอรมันกับไทยมีเงื่อนไขประเทศแตกต่างกัน เยอรมันเป็นประเทศที่สาม เป็นเป้าหมายปลายทางของผู้ลี้ภัย ประเทศไทยไม่ใช่เป้าหมายปลายทางของผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดภาวะวิกฤติผู้ลี้ภัยล้นทะลักมันถูกบีบลงด้วยโครงสร้างสังคมไทยเองที่ทำให้เขาไม่ได้อยากอยู่ในไทย ส่วนที่สองคือเมื่อก่อนผู้ลี้ภัยเลือกมาไทย เพราะจะถูกส่งตัวไปประเทศที่สามได้เร็ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว กระบวนการส่งตัวกินเวลานานขึ้น สิ่งเหล่านี้เลยเป็นปัจจัยลดโอกาสการเกิดวิกฤติที่ว่า”
ภาณุภัทรแนะว่าอีกวิธีที่จะช่วยลดโอกาสในการเกิดวิกฤติเช่นนี้ คือเพิ่มความเข้มงวดในกระบวนการมอบวีซ่า เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ลี้ภัยบางส่วนจำต้องเลือกประเทศไทยเป็นประเทศที่สามในการพำนัก เพราะประเทศไทยให้วีซ่าง่าย รวมทั้งตั๋วเครื่องบินราคาถูกเมื่อเทียบกับประเทศตัวเลือกอื่น ดังนั้นหากมีกระบวนการตรวจสอบในการมอบวีซ่าที่เข้มงวดขึ้น ก็จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ได้
ส่วนการที่รัฐบาลไทยจะมีนโยบายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยที่ชัดเจนและมอบสถานะที่ถูกกฎหมายให้ผู้ลี้ภัยนั้น ผศ.ดร.กษิร จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มองว่าอาจเกิดขึ้นได้ยาก เพราะคนไทยมีทัศนคติต่อผู้ลี้ภัยที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากสื่อมักรายงานประเด็นนี้ในเชิงลบ รวมทั้งทำให้เห็นว่าจำนวนผู้ลี้ภัยมีมากกว่าที่เป็นจริงซึ่งอาจเป็นเพราะเหมารวมผู้ลี้ภัยไปกับแรงงานต่างด้วยด้วย
“เรื่องนี้มันอาจจะยากในการเคลื่อนไหวหรือกดดันจากระดับล่างขึ้นไปสู่รัฐบาล ถ้ารัฐบาลจะเปลี่ยนหรือออกกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ มันน่าจะเป็นอำนาจจากบนลงล่างมากกว่า เช่น อาจจะถูกกดดันจากต่างประเทศ หรือให้คำมั่นในเวที UN” นักวิชาการรัฐศาสตร์กล่าว
สอดคล้องกับที่ภาณุภัทรระบุว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2561 ประเทศไทยได้ลงนามใน Global Compact for Migration (CGM) ซึ่งเป็นการผลักดันจากกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่แม้ว่าจะเป็นเพียงการให้คำมั่นว่าจะให้ความสนใจและดูแลเรื่องของผู้อพยพมากขึ้น แต่ไม่ได้มีกฎหมายระบุชัดเจนว่าต้องทำ หรือมีบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม ถึงกระนั้น ก็นับว่าเป็นก้าวสำคัญของการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาผู้ลี้ภัยในไทย
Share this:
Like this: