เรื่อง-ภาพ : ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร
ริมถนนราชดำเนิน ตรงข้ามสนามหลวง ผู้คนเดินไปมาขวักไขว่และแสงไฟสว่างจ้า บริเวณแห่งนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในจุดนัดพบยอดนิยมอันดับต้นๆ ระหว่างผู้ซื้อความสุขทางกายและคนทำงานบริการ (Sex Worker) ที่เปิดทำการตลอดทั้งวัน
“นามสมมติเหรอ เรียกพี่ว่า พี่ขนุนก็ได้ พี่ชอบชื่อนี้ พี่ชอบขนุน มันหวานอร่อย”
แรกเริ่มทำความรู้จัก แววตาของหญิงสาวชาวศรีสะเกษ วัย 37 ปี เต็มไปด้วยความไม่สบายใจที่จะพูดคุยเรื่องอาชีพนี้ ใช้เวลาอยู่พักใหญ่กว่าเกราะกำแพงแห่งความไม่วางใจจะทลายลง
“พี่ขนุน” เล่าว่า อาชีพแรกที่ทำหลังจากตัดสินใจจากบ้านเกิดเข้ามากรุงเทพฯ คือเป็นแม่บ้านทำความสะอาด แต่จู่ๆ ก็ตกงาน เพราะมีชายหนุ่มมาติดพัน “ทำงานแม่บ้านไม่นาน มีผู้ชายมาชอบ แวะมาหา เจ้านายเขาไม่ชอบเลยให้พี่ออก”
พี่ขนุนกำลังนั่งรอลูกค้าบริเวณริมถนนราชดำเนิน
หลังจากที่พี่ขนุนว่างงานระยะหนึ่งก็คิดได้ว่าต้องหางานใหม่ แต่เพราะไม่มีความรู้และทักษะฝีมือ เลยตัดสินใจมานั่งริมถนนราชดำเนินและเริ่มทำงานบริการ “ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ก็ 8 ปีแล้ว ตื่นเช้ามา พี่ก็นั่งรถเมล์จากที่พักแถวปิ่นเกล้ามาลงที่นี่ แล้วก็นั่งรอลูกค้าทั้งวันตั้งแต่ 9 โมงเช้า กลับห้องเช่าอีกทีคือ 4 ทุ่ม”
พี่ขนุนเล่าว่า ที่นี่มีคนทำงานตั้งแต่อายุ 14 ถึง 60 ปี บางคนอายุเกือบ 70 ปี ค่าบริการต่อครั้งขั้นต่ำคือ 300 บาท คนที่มีลูกค้าประจำอาจจะได้ค่าบริการเพิ่มเป็นครั้งละ 500 บาท หากพอใจก็จะได้ทิปเพิ่ม มากน้อยแล้วแต่ลูกค้าจะให้
ส่วนค่าโรงแรม ลูกค้าก็ต้องเป็นคนจ่ายเอง โรงแรมใกล้ๆ จะมีเรตราคาให้เลือก ชั่วโมงเดียว 80 บาท สองชั่วโมง 150 บาท ถ้าจะต่อเวลาก็แล้วแต่จะตกลงกัน
นอกจากนี้การใช้ถุงยางอนามัยป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นส่วนที่ลูกค้าต้องดูแลค่าใช้จ่าย แต่ถ้าลูกค้าไม่ได้เตรียมถุงยางอนามัยมา พี่ขนุนก็จะมีเตรียมไว้ขายเป็นการสร้างรายได้อีกทาง
“บางทีพี่ก็ขาย (ถุงยางอนามัย) ด้วยนะ เพราะเวลาไปตรวจเลือด หรือมีคนมาแจก ก็จะเก็บไว้ขาย ไซส์ 49 ไซส์ 52 จะออกบ่อย เราได้มาฟรี ก็ขายแค่ 20 บาท เพราะบางคนเขาก็ไม่พกถุงยาง แต่พี่ก็ต้องป้องกันตัวเอง ลูกค้าเมาๆ มาพี่ก็ไม่เอานะ กลัวเขาทำร้ายร่างกาย มันไม่คุ้ม” พี่ขนุนกล่าว
ถุงยางอนามัยที่พี่ขนุนเตรียมไว้ป้องกันตัวเองและขายสร้างรายได้เสริม
พี่ขนุนเสริมว่าปัจจุบันนี้รายได้ไม่ดีเหมือนแต่ก่อน บางครั้งนั่งทั้งวันก็ไม่มีลูกค้า ทั้งที่เมื่อก่อนได้ลูกค้า 2-3 รอบ ทำให้มีรายได้ทุกวัน แต่ด้วยอายุที่มากขึ้นและมีเพื่อนร่วมอาชีพหน้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเพราะบางคนมองว่าการประกอบอาชีพนี้รายได้ดีกว่าทำงานรับจ้างที่มีค่าแรงขั้นต่ำเพียง 300 บาท เมื่อเป็นเช่นนี้ จำนวนลูกค้าใหม่จึงลดลง รายได้ทุกวันนี้ส่วนใหญ่จะมาจากลูกค้าประจำ
หนี้นอกระบบ บ่วงรัดที่ยังสลัดไม่ได้
“ที่พี่ยังทำอยู่เพราะยังเป็นหนี้ ถ้าหมดหนี้พี่ก็จะเลิกทำ มันเหนื่อยนะ ทำทุกวันมันก็เหนื่อย ในหนึ่งเดือนพี่ได้หยุดแค่สามวันคือช่วงประจำเดือนมา” พี่ขนุนบอก
พี่ขนุนเล่าว่าเธอยังติดหนี้นอกระบบทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยรวมกันราว 3 หมื่นบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 20 ที่เจ้าหนี้เรียกเก็บ ทำงานมากเท่าไหร่ก็ยังหาเงินจ่ายได้ไม่หมด เธอเล่าว่าหากปลดหนี้ได้ก็อยากกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายกับครอบครัวที่บ้านเกิด
“ได้น้อยได้มากก็ทำ เหนื่อยแค่ไหนก็ทนเอา” พี่ขนุนบอก “ถ้าหนี้หมดก็อยากกลับบ้าน อยากกลับไปพักผ่อน อยากกลับบ้านไปเปิดร้านขายของอยู่กับลูกหลาน แต่คงอีกนานเพราะกว่าลูกจะเรียนจบมันมีค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้” พี่ขนุนพูด
พี่ขนุนยอมรับว่าอาชีพนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับทั้งจากคนภายนอกและคนในครอบครัว เพื่อนร่วมอาชีพหลายคนต้องปกปิดครอบครัวว่ารายได้ที่ส่งไปนั้นเป็นงานรับจ้าง งานแม่บ้านทั่วไป ไม่สามารถพูดได้เลยว่าที่มาของเงินมาจากการค้าบริการ
“มันไม่แปลกนะที่สังคมไทยจะยังมองว่าคนที่ทำอาชีพนี้เป็นคนไม่ดี พี่ไม่โกรธเขาที่จะไม่ยอมรับอาชีพนี้ แต่พี่ก็อยากให้มองเห็นว่ายังมีเราที่อยู่ในสังคมนี้ เราที่เป็นคนเหมือนกัน ถึงต้นทุนชีวิตกับเส้นทางชีวิตจะต่างกันก็ตาม” พี่ขนุนกล่าว
Like this:
Like Loading...
เรื่อง-ภาพ : ชนนิกานต์ แก้วแก่นเพชร
ริมถนนราชดำเนิน ตรงข้ามสนามหลวง ผู้คนเดินไปมาขวักไขว่และแสงไฟสว่างจ้า บริเวณแห่งนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในจุดนัดพบยอดนิยมอันดับต้นๆ ระหว่างผู้ซื้อความสุขทางกายและคนทำงานบริการ (Sex Worker) ที่เปิดทำการตลอดทั้งวัน
“นามสมมติเหรอ เรียกพี่ว่า พี่ขนุนก็ได้ พี่ชอบชื่อนี้ พี่ชอบขนุน มันหวานอร่อย”
แรกเริ่มทำความรู้จัก แววตาของหญิงสาวชาวศรีสะเกษ วัย 37 ปี เต็มไปด้วยความไม่สบายใจที่จะพูดคุยเรื่องอาชีพนี้ ใช้เวลาอยู่พักใหญ่กว่าเกราะกำแพงแห่งความไม่วางใจจะทลายลง
“พี่ขนุน” เล่าว่า อาชีพแรกที่ทำหลังจากตัดสินใจจากบ้านเกิดเข้ามากรุงเทพฯ คือเป็นแม่บ้านทำความสะอาด แต่จู่ๆ ก็ตกงาน เพราะมีชายหนุ่มมาติดพัน “ทำงานแม่บ้านไม่นาน มีผู้ชายมาชอบ แวะมาหา เจ้านายเขาไม่ชอบเลยให้พี่ออก”
หลังจากที่พี่ขนุนว่างงานระยะหนึ่งก็คิดได้ว่าต้องหางานใหม่ แต่เพราะไม่มีความรู้และทักษะฝีมือ เลยตัดสินใจมานั่งริมถนนราชดำเนินและเริ่มทำงานบริการ “ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ก็ 8 ปีแล้ว ตื่นเช้ามา พี่ก็นั่งรถเมล์จากที่พักแถวปิ่นเกล้ามาลงที่นี่ แล้วก็นั่งรอลูกค้าทั้งวันตั้งแต่ 9 โมงเช้า กลับห้องเช่าอีกทีคือ 4 ทุ่ม”
พี่ขนุนเล่าว่า ที่นี่มีคนทำงานตั้งแต่อายุ 14 ถึง 60 ปี บางคนอายุเกือบ 70 ปี ค่าบริการต่อครั้งขั้นต่ำคือ 300 บาท คนที่มีลูกค้าประจำอาจจะได้ค่าบริการเพิ่มเป็นครั้งละ 500 บาท หากพอใจก็จะได้ทิปเพิ่ม มากน้อยแล้วแต่ลูกค้าจะให้
ส่วนค่าโรงแรม ลูกค้าก็ต้องเป็นคนจ่ายเอง โรงแรมใกล้ๆ จะมีเรตราคาให้เลือก ชั่วโมงเดียว 80 บาท สองชั่วโมง 150 บาท ถ้าจะต่อเวลาก็แล้วแต่จะตกลงกัน
นอกจากนี้การใช้ถุงยางอนามัยป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นส่วนที่ลูกค้าต้องดูแลค่าใช้จ่าย แต่ถ้าลูกค้าไม่ได้เตรียมถุงยางอนามัยมา พี่ขนุนก็จะมีเตรียมไว้ขายเป็นการสร้างรายได้อีกทาง
พี่ขนุนเสริมว่าปัจจุบันนี้รายได้ไม่ดีเหมือนแต่ก่อน บางครั้งนั่งทั้งวันก็ไม่มีลูกค้า ทั้งที่เมื่อก่อนได้ลูกค้า 2-3 รอบ ทำให้มีรายได้ทุกวัน แต่ด้วยอายุที่มากขึ้นและมีเพื่อนร่วมอาชีพหน้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเพราะบางคนมองว่าการประกอบอาชีพนี้รายได้ดีกว่าทำงานรับจ้างที่มีค่าแรงขั้นต่ำเพียง 300 บาท เมื่อเป็นเช่นนี้ จำนวนลูกค้าใหม่จึงลดลง รายได้ทุกวันนี้ส่วนใหญ่จะมาจากลูกค้าประจำ
หนี้นอกระบบ บ่วงรัดที่ยังสลัดไม่ได้
พี่ขนุนเล่าว่าเธอยังติดหนี้นอกระบบทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยรวมกันราว 3 หมื่นบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 20 ที่เจ้าหนี้เรียกเก็บ ทำงานมากเท่าไหร่ก็ยังหาเงินจ่ายได้ไม่หมด เธอเล่าว่าหากปลดหนี้ได้ก็อยากกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายกับครอบครัวที่บ้านเกิด
“ได้น้อยได้มากก็ทำ เหนื่อยแค่ไหนก็ทนเอา” พี่ขนุนบอก “ถ้าหนี้หมดก็อยากกลับบ้าน อยากกลับไปพักผ่อน อยากกลับบ้านไปเปิดร้านขายของอยู่กับลูกหลาน แต่คงอีกนานเพราะกว่าลูกจะเรียนจบมันมีค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้” พี่ขนุนพูด
พี่ขนุนยอมรับว่าอาชีพนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับทั้งจากคนภายนอกและคนในครอบครัว เพื่อนร่วมอาชีพหลายคนต้องปกปิดครอบครัวว่ารายได้ที่ส่งไปนั้นเป็นงานรับจ้าง งานแม่บ้านทั่วไป ไม่สามารถพูดได้เลยว่าที่มาของเงินมาจากการค้าบริการ
“มันไม่แปลกนะที่สังคมไทยจะยังมองว่าคนที่ทำอาชีพนี้เป็นคนไม่ดี พี่ไม่โกรธเขาที่จะไม่ยอมรับอาชีพนี้ แต่พี่ก็อยากให้มองเห็นว่ายังมีเราที่อยู่ในสังคมนี้ เราที่เป็นคนเหมือนกัน ถึงต้นทุนชีวิตกับเส้นทางชีวิตจะต่างกันก็ตาม” พี่ขนุนกล่าว
Share this:
Like this: