เรื่อง: ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า
ภาพ: โมเลกุล จงวิไล
หากใครมีโอกาสมาเยือนชุมชนบ้านโคกเมือง จะพบว่าบางบ้านมีกล่องไม้ขนาดประมาณกล่องใส่รองเท้า หรือมีกระบอกไม้ไผ่แขวนไว้ จนอาจสงสัยว่านี่เป็นเครื่องแต่งบ้านของคนในชุมชน แต่จริงๆ แล้ว นี่คืออุปกรณ์การเลี้ยง “อุง” แมลงตัวจิ๋วที่สร้างประโยชน์มหาศาลแก่เกษตรกร
“อุง” เป็นภาษาท้องถิ่นใต้ใช้เรียกชันโรง แมลงขนาดเล็กที่เก็บน้ำหวานและเกสรจากดอกไม้เหมือนผึ้ง ต่างกันที่อุงไม่มีเหล็กใน จึงไม่เป็นอันตราย ในประเทศไทย สามารถพบอุงได้ทุกภูมิภาค ส่วนมากอาศัยอยู่ในป่าร้อนชื้น ป่าร้อนแห้งแล้ง ป่าพรุ ป่าเมฆ
พ่อเจียร ยางทอง อายุ 74 ปี เลี้ยงอุงมาตั้งแต่ปี 2557 จนปัจจุบันสามารถเปิดบ้านให้ชาวโคกเมืองและชุมชนอื่นๆ มาศึกษาวิธีการเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ พ่อเจียรบอกว่า เมื่อก่อนมีผึ้งในสวนจำนวนมาก คิดได้ว่าน้ำผึ้งขายได้ราคาสูง จึงเริ่มเลี้ยงผึ้งก่อน ต่อมาพบว่าอุงก็ผลิตน้ำผึ้งได้เมื่อไปเจอกระบอกไม้ไผ่ที่มีอุงทำรังอยู่และภายในมีน้ำผึ้ง จึงตัดสินใจทดลองเลี้ยงดู
พ่อเจียร ยางทอง ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงอุงแก่ผู้มาเยือน
พ่อเจียรใช้เวลาหนึ่งปีรอให้อุงสะสมน้ำผึ้งในรังจนเป็นก้อน จากนั้นจึงแกะรังแล้วนำก้อนน้ำผึ้งมาบดให้เหลว รังอุงสามกระบอกจะได้น้ำผึ้งมาหนึ่งขวดขนาด 700 มิลลิลิตร พ่อเจียรบอกว่า ในช่วงปีแรก ยังเก็บน้ำผึ้งจากอุงได้ไม่มากนักเพราะเลี้ยงไว้น้อย “ทำมาห้าปี รอบแรกขายไม่ได้เลย ได้น้ำผึ้งน้อย พอปีที่สอง เริ่มขยายรังเพิ่ม มาปีที่สามเริ่มได้ผล มาได้จริงๆ ช่วงสามปีหลังนี้เอง”
โดยทั่วไป เกษตรกรจะสามารถเก็บน้ำผึ้งได้ภายใน 3 เดือน แต่พ่อเจียรตัดสินใจรอให้ครบหนึ่งปีเพราะเชื่อว่าจะได้น้ำผึ้งที่มีสรรพคุณมากกว่า พ่อเจียรให้เหตุผลว่า เนื่องจากอุงมีขนาดเพียง 4 มม. ตัวเล็กกว่าผึ้ง จึงสามารถเข้าไปตอมดอกไม้ได้ทุกประเภทและเก็บเกสรและน้ำหวานจากพืชหลายพันธุ์
พ่อเจียรแขวนกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เลี้ยงอุงไว้รอบบ้าน รวมประมาณ 300 กระบอก
“ต้นไม้สมุนไพรมันรักษาแต่ละโรค พออุงไปกินหมด เลยเชื่อกันว่าน้ำผึ้งชันโรงรักษาได้หลายโรค … และอุงจะไม่ตอมดอกที่มีเคมี ถ้ามีเคมี มันจะรู้ มันไม่กิน ถ้ากินก็ตาย” เจ้าของบ้านเลี้ยงอุงต้นแบบแห่งบ้านโคกเมืองเสริม และยืนยันว่าในน้ำผึ้งชันโรงไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
รสชาติของน้ำผึ้งชันโรงหวานนวลอมเปรี้ยวเล็กๆ ไม่หวานจนเลี่ยนเหมือนน้ำผึ้งบางประเภท เนื่องจากขณะตอมดอกไม้แต่ละดอก อุงจะเก็บน้ำหวานเพียงร้อยละ 20 จากนั้นเก็บเกสรกลับรังไปสะสมเป็นน้ำผึ้ง
น้ำผึ้งชันโรงจากบ้านพ่อเจียรที่ใช้เวลาสะสม 1 ปี
ด้วยนิสัยที่ชอบเก็บเกสรดอกไม้มากกว่าน้ำหวานนี้เอง ทำให้อุงมีความสำคัญต่อเกษตรกรในฐานะแมลงผสมเกสรชั้นเลิศ เพราะเมื่อมันบินไปยังดอกไม้ดอกใหม่โดยที่ยังมีเกสรจากดอกที่ไปตอมก่อนหน้านี้สะสมอยู่บริเวณขาคู่หลัง ทำให้โอกาสที่เกสรนั้นจะหล่นไปยังดอกไม้ดอกใหม่และผสมพันธุ์กันมีมากขึ้น ต่างจากผึ้งทั่วไปที่มักเลือกตอมแต่ดอกไม้ที่รวมกลุ่มกันและยังไม่เคยมีแมลงตัวอื่นมากิน อีกทั้งยังเก็บน้ำหวานมากกว่าเกสร โอกาสที่พืชจะผสมพันธุ์จึงยากกว่า
ผลลัพธ์ที่ตามมาคือพืชในสวนจะผสมพันธุ์กันและออกดอกออกผลได้ดี เรียกว่าเป็นการทำให้พืชผลงอกงามโดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี เป็นกระบวนการธรรมชาติที่สัมพันธ์กัน ทุกฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยกัน อย่างที่พ่อเจียรบอกว่า “เราได้เงิน เขา (คนซื้อน้ำผึ้ง) ได้สุขภาพ อุงได้อาหาร ต้นไม้ได้ผสมพันธุ์”
ด้วยเหตุนี้ น้ำผึ้งชันโรงจึงมีราคาสูง ปัจจุบันบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย มีการสั่งน้ำผึ้งชันโรงจากผู้ค้าในประเทศไทย โดยมีราคาขายขวดละ 500-1,500 บาท ส่วนน้ำผึ้งชันโรงของพ่อเจียร มีลูกค้าจากประเทศมาเลเซียมาเสนอราคาให้ขวดละ 3,000 บาท
นอกจากนี้ การที่อุงไม่มีนิสัยทิ้งรังยังสร้างประโยชน์ได้ยาวนาน การมีอุงอาศัยอยู่ในสวนเป็นตัวชี้วัดว่าสิ่งแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะหากในถิ่นที่อยู่มีอาหารไม่เพียงพอหรือมีสารเคมี อุงจะย้ายหนีไป ผู้ที่เลี้ยงอุงจึงต้องปลูกพืชหลากหลายชนิดเพื่อให้อุงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอาหารตลอดปี
นอกจากที่บ้านโคกเมืองแล้ว ปัจจุบันเกษตรกรในจังหวัดสมุทรสงคราม ชุมพร พัทลุง จันทบุรี ได้เลี้ยงอุงกันอย่างจริงจังเพื่อใช้เป็นแมลงผสมเกสรให้พืชเศรษฐกิจที่ผลตอบแทนสูง เช่น ทุเรียน เงาะ ลำไย และเกิดธุรกิจให้เช่ารังอุง สร้างรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมตลอดปี
การเลี้ยงอุงจึงเป็นหนึ่งในแนวทางการทำเกษตรผสมผสานที่ชาวชุมชนโคกเมืองกำลังสนใจและเริ่มทดลองเลี้ยง ปัจจุบันมี 3-4 ครัวเรือนนำความรู้ที่ได้จากพ่อเจียรมาปรับใช้ เพื่อที่ว่าเมื่อหมดฤดูทำยางหรือทำสวน พวกเขาก็สามารถเลี้ยงอุงเพื่อยังชีพได้ นอกจากไร่สวนจะอุดมสมบูรณ์ ยังมีพืชผลให้ค้าขายและบริโภคตลอดปี และมีรายได้เสริมจากการขายน้ำผึ้งชันโรงด้วย
ขั้นตอนการทำรังสำหรับเลี้ยงอุง
Like this:
Like Loading...
เรื่อง: ชินภัทร จันทร์หล้าฟ้า
ภาพ: โมเลกุล จงวิไล
หากใครมีโอกาสมาเยือนชุมชนบ้านโคกเมือง จะพบว่าบางบ้านมีกล่องไม้ขนาดประมาณกล่องใส่รองเท้า หรือมีกระบอกไม้ไผ่แขวนไว้ จนอาจสงสัยว่านี่เป็นเครื่องแต่งบ้านของคนในชุมชน แต่จริงๆ แล้ว นี่คืออุปกรณ์การเลี้ยง “อุง” แมลงตัวจิ๋วที่สร้างประโยชน์มหาศาลแก่เกษตรกร
“อุง” เป็นภาษาท้องถิ่นใต้ใช้เรียกชันโรง แมลงขนาดเล็กที่เก็บน้ำหวานและเกสรจากดอกไม้เหมือนผึ้ง ต่างกันที่อุงไม่มีเหล็กใน จึงไม่เป็นอันตราย ในประเทศไทย สามารถพบอุงได้ทุกภูมิภาค ส่วนมากอาศัยอยู่ในป่าร้อนชื้น ป่าร้อนแห้งแล้ง ป่าพรุ ป่าเมฆ
พ่อเจียร ยางทอง อายุ 74 ปี เลี้ยงอุงมาตั้งแต่ปี 2557 จนปัจจุบันสามารถเปิดบ้านให้ชาวโคกเมืองและชุมชนอื่นๆ มาศึกษาวิธีการเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ พ่อเจียรบอกว่า เมื่อก่อนมีผึ้งในสวนจำนวนมาก คิดได้ว่าน้ำผึ้งขายได้ราคาสูง จึงเริ่มเลี้ยงผึ้งก่อน ต่อมาพบว่าอุงก็ผลิตน้ำผึ้งได้เมื่อไปเจอกระบอกไม้ไผ่ที่มีอุงทำรังอยู่และภายในมีน้ำผึ้ง จึงตัดสินใจทดลองเลี้ยงดู
พ่อเจียรใช้เวลาหนึ่งปีรอให้อุงสะสมน้ำผึ้งในรังจนเป็นก้อน จากนั้นจึงแกะรังแล้วนำก้อนน้ำผึ้งมาบดให้เหลว รังอุงสามกระบอกจะได้น้ำผึ้งมาหนึ่งขวดขนาด 700 มิลลิลิตร พ่อเจียรบอกว่า ในช่วงปีแรก ยังเก็บน้ำผึ้งจากอุงได้ไม่มากนักเพราะเลี้ยงไว้น้อย “ทำมาห้าปี รอบแรกขายไม่ได้เลย ได้น้ำผึ้งน้อย พอปีที่สอง เริ่มขยายรังเพิ่ม มาปีที่สามเริ่มได้ผล มาได้จริงๆ ช่วงสามปีหลังนี้เอง”
โดยทั่วไป เกษตรกรจะสามารถเก็บน้ำผึ้งได้ภายใน 3 เดือน แต่พ่อเจียรตัดสินใจรอให้ครบหนึ่งปีเพราะเชื่อว่าจะได้น้ำผึ้งที่มีสรรพคุณมากกว่า พ่อเจียรให้เหตุผลว่า เนื่องจากอุงมีขนาดเพียง 4 มม. ตัวเล็กกว่าผึ้ง จึงสามารถเข้าไปตอมดอกไม้ได้ทุกประเภทและเก็บเกสรและน้ำหวานจากพืชหลายพันธุ์
“ต้นไม้สมุนไพรมันรักษาแต่ละโรค พออุงไปกินหมด เลยเชื่อกันว่าน้ำผึ้งชันโรงรักษาได้หลายโรค … และอุงจะไม่ตอมดอกที่มีเคมี ถ้ามีเคมี มันจะรู้ มันไม่กิน ถ้ากินก็ตาย” เจ้าของบ้านเลี้ยงอุงต้นแบบแห่งบ้านโคกเมืองเสริม และยืนยันว่าในน้ำผึ้งชันโรงไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
รสชาติของน้ำผึ้งชันโรงหวานนวลอมเปรี้ยวเล็กๆ ไม่หวานจนเลี่ยนเหมือนน้ำผึ้งบางประเภท เนื่องจากขณะตอมดอกไม้แต่ละดอก อุงจะเก็บน้ำหวานเพียงร้อยละ 20 จากนั้นเก็บเกสรกลับรังไปสะสมเป็นน้ำผึ้ง
ด้วยนิสัยที่ชอบเก็บเกสรดอกไม้มากกว่าน้ำหวานนี้เอง ทำให้อุงมีความสำคัญต่อเกษตรกรในฐานะแมลงผสมเกสรชั้นเลิศ เพราะเมื่อมันบินไปยังดอกไม้ดอกใหม่โดยที่ยังมีเกสรจากดอกที่ไปตอมก่อนหน้านี้สะสมอยู่บริเวณขาคู่หลัง ทำให้โอกาสที่เกสรนั้นจะหล่นไปยังดอกไม้ดอกใหม่และผสมพันธุ์กันมีมากขึ้น ต่างจากผึ้งทั่วไปที่มักเลือกตอมแต่ดอกไม้ที่รวมกลุ่มกันและยังไม่เคยมีแมลงตัวอื่นมากิน อีกทั้งยังเก็บน้ำหวานมากกว่าเกสร โอกาสที่พืชจะผสมพันธุ์จึงยากกว่า
ด้วยเหตุนี้ น้ำผึ้งชันโรงจึงมีราคาสูง ปัจจุบันบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย มีการสั่งน้ำผึ้งชันโรงจากผู้ค้าในประเทศไทย โดยมีราคาขายขวดละ 500-1,500 บาท ส่วนน้ำผึ้งชันโรงของพ่อเจียร มีลูกค้าจากประเทศมาเลเซียมาเสนอราคาให้ขวดละ 3,000 บาท
นอกจากนี้ การที่อุงไม่มีนิสัยทิ้งรังยังสร้างประโยชน์ได้ยาวนาน การมีอุงอาศัยอยู่ในสวนเป็นตัวชี้วัดว่าสิ่งแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะหากในถิ่นที่อยู่มีอาหารไม่เพียงพอหรือมีสารเคมี อุงจะย้ายหนีไป ผู้ที่เลี้ยงอุงจึงต้องปลูกพืชหลากหลายชนิดเพื่อให้อุงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอาหารตลอดปี
นอกจากที่บ้านโคกเมืองแล้ว ปัจจุบันเกษตรกรในจังหวัดสมุทรสงคราม ชุมพร พัทลุง จันทบุรี ได้เลี้ยงอุงกันอย่างจริงจังเพื่อใช้เป็นแมลงผสมเกสรให้พืชเศรษฐกิจที่ผลตอบแทนสูง เช่น ทุเรียน เงาะ ลำไย และเกิดธุรกิจให้เช่ารังอุง สร้างรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมตลอดปี
การเลี้ยงอุงจึงเป็นหนึ่งในแนวทางการทำเกษตรผสมผสานที่ชาวชุมชนโคกเมืองกำลังสนใจและเริ่มทดลองเลี้ยง ปัจจุบันมี 3-4 ครัวเรือนนำความรู้ที่ได้จากพ่อเจียรมาปรับใช้ เพื่อที่ว่าเมื่อหมดฤดูทำยางหรือทำสวน พวกเขาก็สามารถเลี้ยงอุงเพื่อยังชีพได้ นอกจากไร่สวนจะอุดมสมบูรณ์ ยังมีพืชผลให้ค้าขายและบริโภคตลอดปี และมีรายได้เสริมจากการขายน้ำผึ้งชันโรงด้วย
Share this:
Like this: