“อยากมีบ้านเป็นของตัวเองไม่ต้องใหญ่ แค่เป็นของตัวเองจริงๆ แต่มันก็เป็นไปได้ยาก บ้านเอื้ออาทรก็ใช่ว่าจะซื้อกันได้ง่ายๆ” สมศักดิ์ พานไชย ชายวัย 55 ปี ช่างซ่อมรองเท้าริมถนนบรรทัดทองพูดด้วยน้ำเสียงห้วนๆ อย่างหมดหวัง
“หน้าร้าน” ของสมศักดิ์ตั้งอยู่ตรงข้ามกับปากซอยแห่งหนึ่งบนถนนบรรทัดทอง เป็นซุ้มเล็กๆ มีตู้เหล็กสีแดงเก่าๆ สนิมเขรอะ ติดล้อข้างใต้ ขนาดกว้างไม่ถึงครึ่งเมตร และสูงไม่ถึงเมตร ไว้ใส่อุปกรณ์ในการซ่อม รอบๆ ตู้แปะด้วยสติกเกอร์ตัวเลขแสดงเวลาเปิด-ปิดร้านและเบอร์โทรศัพท์ ทั้งหมดอยู่ภายใต้รัศมี 40 นิ้วของร่มสนามสีเขียวเข้มที่ใช้กางเพื่อกันแดด
เมื่อมองจากปากซอยฝั่งตรงข้าม ร้านของสมศักดิ์ช่างดูเล็กจ้อยจนแทบจะมองไม่เห็น จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่าทำไมสมศักดิ์จึงเลือกมาเปิดร้านในหลืบตึกริมถนนสายรองเช่นนี้?
ซุ้มรับซ่อมรองเท้าของสมศักดิ์ พานไชยตั้งอยู่หน้าซอกตึก ริมถนนบรรทัดทอง
เมื่อแรกที่เข้าไปคุย สมศักดิ์มีน้ำเสียงห้วนแปร่งราวกับไม่อยากจะเสวนากับใครที่ไม่ใช่ลูกค้า แต่เมื่อคุยไปสักพักก็เหมือนจะสบโอกาสที่จะได้ระบายเรื่องคับข้องใจออกมาให้พอบรรเทา เราจึงได้รู้ว่าเขาไม่ได้เลือกที่จะมาเปิดร้านอยู่ที่นี่ด้วยความต้องการของตนเอง แต่เพราะถูกบังคับให้เลือกจากการ “ไม่มีที่ทางเป็นของตัวเอง” สมศักดิ์บอกเช่นนั้น
“ก่อนหน้านี้ขายอยู่หน้าแว่นท็อปเจริญตรงข้ามมาบุญครอง แต่ก็โดนไล่ตั้งแต่หลังเขารัฐประหารนั่นแหละ เขาเรียกว่า จัดระเบียบทางเท้า”
สมศักดิ์พูดเชิงประชดให้กับชื่อมาตรการที่ออกมาหลังช่วงรัฐประหาร ซึ่งส่งผลให้เขาต้องหาที่ทางทำกินใหม่ เทศกิจไล่จัดระเบียบจนเขาต้องย้ายมาอยู่บนถนนบรรทัดทอง และเมื่อถามถึงทางเลือกที่รัฐบาลมีให้ สมศักดิ์ก็ตอบอย่างหงอยๆ แต่ยังเสียงดังฟังชัดว่า ที่ที่รัฐบาลจัดให้นั้นมีราคาแพง อีกทั้งยังไม่มีลูกค้าเหมือนที่เก่า ทำให้สู้ค่าเช่าไม่ไหว
เขาบอกว่ารัฐบาลก่อนเคยจัดจุดผ่อนผันให้ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาได้มากกว่า แต่หลังจากที่เปลี่ยนมาใช้มาตรการจัดระเบียบทางเท้าที่เข้มข้น ก็ทำให้พ่อค้าแม่ขายอันรวมถึงตัวสมศักดิ์เดือดร้อนเพราะไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ หากอยากทำอาชีพค้าขายเหมือนเดิมก็ต้องไปหาพื้นที่ซึ่งอยู่ไกลบ้านมากขึ้น
“อยู่ตรงนี้ต้องเสียค่าปรับ ถ้าเขามาเก็บก็ต้องให้ ครั้งละ 500 แต่ก็ต้องยอมเพราะอยากมีที่ทำมาหากิน”
ทุกวันนี้สมศักดิ์ต้องแวะซื้อข้าวกล่องที่ตลาดข้างห้างเทสโก้โลตัสพระรามหนึ่งวันละสองกล่อง เพราะตอนกลางวันจะได้ไม่ต้องออกห่างจากร้าน จะเข้าห้องน้ำทีก็ต้องรีบขับมอเตอร์ไซค์ไปปั๊มเชลล์ละแวกถนนพระรามหนึ่ง เพราะกลัวว่าร้านจะไม่ปลอดภัย การเปิดร้านริมถนนโดยไม่มีขอบเขตมั่นคงเป็นของตัวเอง ทำให้สมศักดิ์ไม่สามารถปิดล็อกประตูตอนไม่อยู่ หรือเข้าห้องน้ำในร้านของตนได้เหมือนเจ้าของกิจการอื่นๆ
“ที่เลือกตรงนี้เพราะมันไม่ใช่ถนนสายหลักผู้ใหญ่ไม่ค่อยผ่าน เทศกิจเลยอะลุ่มอล่วยไม่ได้ไล่ไปไหน เก็บแต่ค่าปรับ เรารู้ว่าเขาเอาเปรียบเรา แต่เราไม่คิดอย่างนั้น เราคิดว่าเขากำลังช่วยเรา”
สมศักดิ์เล่าว่าไม่เคยมีความต้องการที่จะมาอยู่ตรงนี้ หากสามารถทำมาค้าขายได้ปกติ มีเงินพอเลี้ยงชีพก็ไม่อยากทำอะไรที่ละเมิดกฎหมาย เขาบอกว่าไม่มีใครอยากทำผิด แต่ก็ต้องเอาตัวรอด
ทำอาชีพนี้ก็ยังไม่พอที่จะเลี้ยงครอบครัว สมศักดิ์ต้องประกอบอาชีพวินมอเตอร์ไซค์ควบคู่ไปด้วยเพื่อเป็นรายได้อีกทาง จึงเป็นเหตุให้ทุกวันจันทร์เขาจะไม่เปิดร้าน เพราะจะไปเป็นวินมอเตอร์ไซค์เต็มวัน วันที่เหลือสมศักดิ์ก็ใส่เสื้อวินรับผู้โดยสารทั้งช่วงเช้าและเย็นหลังปิดร้าน
ฤดูฝนจึงถูกสมศักดิ์เดียดฉันท์เป็นที่สุด เพราะรถมอเตอร์ไซค์ก็วิ่งไม่ได้ ร้านรองเท้าก็ต้องปิด ซ้ำบางครั้งก็ต้องหลบตัวเองอยู่ใต้ร่มตึกใกล้ๆ เพราะร่มสนามไม่อาจกันฝนที่สาดแรงได้ พอค้าขายไม่ได้ก็ยิ่งขาดแคลนรายได้เข้าไปอีก
สมศักดิ์กำลังซ่อมรองเท้ากีฬาของลูกค้า
“จากสมัยก่อนก็ขายของหน้าบ้าน แต่โดนเขาไล่ตอนประมาณปี 18 ตอนนั้นอายุ 11 ขวบ เขาจะสร้างเป็นศูนย์การค้าเลยต้องไปหาที่อยู่ใหม่ แต่พระโขนงที่ย้ายไปก็ไม่มีลูกค้า” สมศักดิ์ตัดพ้อถึงโชคชะตาแต่หนหลัง
ช่างซ่อมรองเท้าวัยกลางคนยังเล่าว่า ในขณะนั้น เมื่อสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ ตัดสินใจเปลี่ยนย่านแยกปทุมวันเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ผู้คนที่เคยอยู่อาศัยในชุมชนจึงต้องหาที่อยู่ใหม่ทั้งหมด ครอบครัวของสมศักดิ์ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกบังคับให้ย้ายออก แม้ทางสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ จะยื่นข้อเสนอให้ไปอยู่ในละแวกวัดเทพลีลา แต่สมศักดิ์บอกว่าในช่วงเวลานั้น บริเวณวัดเทพลีลายังเป็นย่านที่มีปัญหายาเสพติด ครอบครัวจึงเลือกย้ายไปอยู่แถวพระโขนงแทน
“มีทั้งโดนไล่ ทั้งไปเป็นทหาร ทั้งเข้าคุก กลับออกมาก็ต้องย้ายอีก จนตอนนี้ก็เช่าบ้านเขาอยู่”สมศักดิ์เล่าถึงชีวิตที่ระหกระเหินของตนอย่างคิดถึง
ปัจจุบันสมศักดิ์อาศัยอยู่ในบ้านเช่ากับครอบครัวละแวกประดิพัทธ์ ทว่าจนแล้วจนรอด เขาก็ยังไม่เคยมีที่ของตัวเองจริงๆ เมื่อถามถึงโครงการบ้านเอื้ออาทร หนึ่งในนโยบายของรัฐที่เอื้ออำนวยสวัสดิการพื้นฐานให้กับประชาชน สมศักดิ์เห็นว่าต้องเป็นคนที่มีเส้นจึงจะเข้าถึง ไม่ใช่ว่าจะซื้อกันได้ง่ายๆ แม้จะเป็นสวัสดิการที่เป็นนโยบายรัฐแต่กลับไม่สามารถช่วยเหลือเจือจุนผู้ที่ขาดแคลนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สมศักดิ์มองว่าไม่มีใครสนใจคนจนอย่างเขาหรอก รัฐก็เชื่อแต่นักวิชาการ แต่ไม่เคยมาถามมาดูชีวิตเราจริงๆ ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน แค่เส้นทางใหญ่ๆ มันสะอาดตาเขาก็พอใจแล้ว
“อาจจะฟังดูแปลกนะ แต่เราคิดว่าขนาดต่างชาติอย่างจีนอย่างแขกยังมาทำมาหากินแถวนี้ได้ ทำไมในที่ของเราเองที่โตมาถึงจะทำมาหากินไม่ได้” ช่างซ่อมรองเท้าริมถนนบอก
นี่คือเหตุผลที่สมศักดิ์กลับมาสู้หาทางประกอบอาชีพในละแวกนี้ตลอด ช่างซ่อมรองเท้าเห็นว่าแม้ประเทศนี้ไม่เคยให้ที่ทางกับชายสูงวัยอย่างแท้จริง แต่เขาก็ยังมองที่นี่เป็นเหมือนที่ของเขา ยังอยากกลับมาประกอบอาชีพในที่ที่เขาได้เติบโตมา
รองเท้าที่ถูกซ่อมแล้วถูกวางเก็บไว้ในตู้เพื่อรอให้ลูกค้ามารับคืน
น่าสนใจเมื่อคิดว่าทั้งสองอาชีพของสมศักดิ์ ล้วนเกี่ยวกับการเดินทาง ทั้งเป็นวินรับส่งคนด้วยมอเตอร์ไซค์ และรับซ่อมรองเท้าให้คนเดินต่อไปได้อย่างสะดวก แต่ตัวสมศักดิ์เองกลับติดหล่มของสารพัดปัญหา ไม่อาจเดินทางออกจากความอับจนได้เลย
เรื่องความฝันที่จะได้มีที่ทางของตัวเองคงไกลเกินสำหรับสมศักดิ์ แต่หากขอได้อยากให้มีอะไรที่ซุ้มริมถนนบรรทัดทองแห่งนี้ เขาก็บอกว่าต้องการห้องน้ำ หรืออย่างน้อยถ้าทางการอนุญาตให้ขายอย่างถูกต้อง ตั้งเป็นจุดผ่อนผัน ไม่มาปรับกัน สมศักดิ์จะได้อุ่นใจ และรู้สึกว่าที่นี่เป็นที่ทำกินอันสุจริตของเขาสักที
สุดท้ายแล้วสมศักดิ์ก็ไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่า โอกาสและการมองเห็นปัญหาจากผู้มีส่วนรับผิดชอบในบ้านเมืองนี้ทั้งหลาย แม้สมศักดิ์เองจะเป็นจุดเล็กๆ ที่อยู่ต่ำต้อยและไม่เคยมีใครตั้งใจมองเลยก็ตาม
Like this:
Like Loading...
“อยากมีบ้านเป็นของตัวเองไม่ต้องใหญ่ แค่เป็นของตัวเองจริงๆ แต่มันก็เป็นไปได้ยาก บ้านเอื้ออาทรก็ใช่ว่าจะซื้อกันได้ง่ายๆ” สมศักดิ์ พานไชย ชายวัย 55 ปี ช่างซ่อมรองเท้าริมถนนบรรทัดทองพูดด้วยน้ำเสียงห้วนๆ อย่างหมดหวัง
“หน้าร้าน” ของสมศักดิ์ตั้งอยู่ตรงข้ามกับปากซอยแห่งหนึ่งบนถนนบรรทัดทอง เป็นซุ้มเล็กๆ มีตู้เหล็กสีแดงเก่าๆ สนิมเขรอะ ติดล้อข้างใต้ ขนาดกว้างไม่ถึงครึ่งเมตร และสูงไม่ถึงเมตร ไว้ใส่อุปกรณ์ในการซ่อม รอบๆ ตู้แปะด้วยสติกเกอร์ตัวเลขแสดงเวลาเปิด-ปิดร้านและเบอร์โทรศัพท์ ทั้งหมดอยู่ภายใต้รัศมี 40 นิ้วของร่มสนามสีเขียวเข้มที่ใช้กางเพื่อกันแดด
เมื่อมองจากปากซอยฝั่งตรงข้าม ร้านของสมศักดิ์ช่างดูเล็กจ้อยจนแทบจะมองไม่เห็น จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่าทำไมสมศักดิ์จึงเลือกมาเปิดร้านในหลืบตึกริมถนนสายรองเช่นนี้?
เมื่อแรกที่เข้าไปคุย สมศักดิ์มีน้ำเสียงห้วนแปร่งราวกับไม่อยากจะเสวนากับใครที่ไม่ใช่ลูกค้า แต่เมื่อคุยไปสักพักก็เหมือนจะสบโอกาสที่จะได้ระบายเรื่องคับข้องใจออกมาให้พอบรรเทา เราจึงได้รู้ว่าเขาไม่ได้เลือกที่จะมาเปิดร้านอยู่ที่นี่ด้วยความต้องการของตนเอง แต่เพราะถูกบังคับให้เลือกจากการ “ไม่มีที่ทางเป็นของตัวเอง” สมศักดิ์บอกเช่นนั้น
“ก่อนหน้านี้ขายอยู่หน้าแว่นท็อปเจริญตรงข้ามมาบุญครอง แต่ก็โดนไล่ตั้งแต่หลังเขารัฐประหารนั่นแหละ เขาเรียกว่า จัดระเบียบทางเท้า”
สมศักดิ์พูดเชิงประชดให้กับชื่อมาตรการที่ออกมาหลังช่วงรัฐประหาร ซึ่งส่งผลให้เขาต้องหาที่ทางทำกินใหม่ เทศกิจไล่จัดระเบียบจนเขาต้องย้ายมาอยู่บนถนนบรรทัดทอง และเมื่อถามถึงทางเลือกที่รัฐบาลมีให้ สมศักดิ์ก็ตอบอย่างหงอยๆ แต่ยังเสียงดังฟังชัดว่า ที่ที่รัฐบาลจัดให้นั้นมีราคาแพง อีกทั้งยังไม่มีลูกค้าเหมือนที่เก่า ทำให้สู้ค่าเช่าไม่ไหว
เขาบอกว่ารัฐบาลก่อนเคยจัดจุดผ่อนผันให้ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาได้มากกว่า แต่หลังจากที่เปลี่ยนมาใช้มาตรการจัดระเบียบทางเท้าที่เข้มข้น ก็ทำให้พ่อค้าแม่ขายอันรวมถึงตัวสมศักดิ์เดือดร้อนเพราะไม่สามารถหาเลี้ยงชีพได้ หากอยากทำอาชีพค้าขายเหมือนเดิมก็ต้องไปหาพื้นที่ซึ่งอยู่ไกลบ้านมากขึ้น
“อยู่ตรงนี้ต้องเสียค่าปรับ ถ้าเขามาเก็บก็ต้องให้ ครั้งละ 500 แต่ก็ต้องยอมเพราะอยากมีที่ทำมาหากิน”
ทุกวันนี้สมศักดิ์ต้องแวะซื้อข้าวกล่องที่ตลาดข้างห้างเทสโก้โลตัสพระรามหนึ่งวันละสองกล่อง เพราะตอนกลางวันจะได้ไม่ต้องออกห่างจากร้าน จะเข้าห้องน้ำทีก็ต้องรีบขับมอเตอร์ไซค์ไปปั๊มเชลล์ละแวกถนนพระรามหนึ่ง เพราะกลัวว่าร้านจะไม่ปลอดภัย การเปิดร้านริมถนนโดยไม่มีขอบเขตมั่นคงเป็นของตัวเอง ทำให้สมศักดิ์ไม่สามารถปิดล็อกประตูตอนไม่อยู่ หรือเข้าห้องน้ำในร้านของตนได้เหมือนเจ้าของกิจการอื่นๆ
“ที่เลือกตรงนี้เพราะมันไม่ใช่ถนนสายหลักผู้ใหญ่ไม่ค่อยผ่าน เทศกิจเลยอะลุ่มอล่วยไม่ได้ไล่ไปไหน เก็บแต่ค่าปรับ เรารู้ว่าเขาเอาเปรียบเรา แต่เราไม่คิดอย่างนั้น เราคิดว่าเขากำลังช่วยเรา”
ทำอาชีพนี้ก็ยังไม่พอที่จะเลี้ยงครอบครัว สมศักดิ์ต้องประกอบอาชีพวินมอเตอร์ไซค์ควบคู่ไปด้วยเพื่อเป็นรายได้อีกทาง จึงเป็นเหตุให้ทุกวันจันทร์เขาจะไม่เปิดร้าน เพราะจะไปเป็นวินมอเตอร์ไซค์เต็มวัน วันที่เหลือสมศักดิ์ก็ใส่เสื้อวินรับผู้โดยสารทั้งช่วงเช้าและเย็นหลังปิดร้าน
ฤดูฝนจึงถูกสมศักดิ์เดียดฉันท์เป็นที่สุด เพราะรถมอเตอร์ไซค์ก็วิ่งไม่ได้ ร้านรองเท้าก็ต้องปิด ซ้ำบางครั้งก็ต้องหลบตัวเองอยู่ใต้ร่มตึกใกล้ๆ เพราะร่มสนามไม่อาจกันฝนที่สาดแรงได้ พอค้าขายไม่ได้ก็ยิ่งขาดแคลนรายได้เข้าไปอีก
“จากสมัยก่อนก็ขายของหน้าบ้าน แต่โดนเขาไล่ตอนประมาณปี 18 ตอนนั้นอายุ 11 ขวบ เขาจะสร้างเป็นศูนย์การค้าเลยต้องไปหาที่อยู่ใหม่ แต่พระโขนงที่ย้ายไปก็ไม่มีลูกค้า” สมศักดิ์ตัดพ้อถึงโชคชะตาแต่หนหลัง
ช่างซ่อมรองเท้าวัยกลางคนยังเล่าว่า ในขณะนั้น เมื่อสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ ตัดสินใจเปลี่ยนย่านแยกปทุมวันเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ผู้คนที่เคยอยู่อาศัยในชุมชนจึงต้องหาที่อยู่ใหม่ทั้งหมด ครอบครัวของสมศักดิ์ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกบังคับให้ย้ายออก แม้ทางสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ จะยื่นข้อเสนอให้ไปอยู่ในละแวกวัดเทพลีลา แต่สมศักดิ์บอกว่าในช่วงเวลานั้น บริเวณวัดเทพลีลายังเป็นย่านที่มีปัญหายาเสพติด ครอบครัวจึงเลือกย้ายไปอยู่แถวพระโขนงแทน
“มีทั้งโดนไล่ ทั้งไปเป็นทหาร ทั้งเข้าคุก กลับออกมาก็ต้องย้ายอีก จนตอนนี้ก็เช่าบ้านเขาอยู่”สมศักดิ์เล่าถึงชีวิตที่ระหกระเหินของตนอย่างคิดถึง
ปัจจุบันสมศักดิ์อาศัยอยู่ในบ้านเช่ากับครอบครัวละแวกประดิพัทธ์ ทว่าจนแล้วจนรอด เขาก็ยังไม่เคยมีที่ของตัวเองจริงๆ เมื่อถามถึงโครงการบ้านเอื้ออาทร หนึ่งในนโยบายของรัฐที่เอื้ออำนวยสวัสดิการพื้นฐานให้กับประชาชน สมศักดิ์เห็นว่าต้องเป็นคนที่มีเส้นจึงจะเข้าถึง ไม่ใช่ว่าจะซื้อกันได้ง่ายๆ แม้จะเป็นสวัสดิการที่เป็นนโยบายรัฐแต่กลับไม่สามารถช่วยเหลือเจือจุนผู้ที่ขาดแคลนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สมศักดิ์มองว่าไม่มีใครสนใจคนจนอย่างเขาหรอก รัฐก็เชื่อแต่นักวิชาการ แต่ไม่เคยมาถามมาดูชีวิตเราจริงๆ ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน แค่เส้นทางใหญ่ๆ มันสะอาดตาเขาก็พอใจแล้ว
“อาจจะฟังดูแปลกนะ แต่เราคิดว่าขนาดต่างชาติอย่างจีนอย่างแขกยังมาทำมาหากินแถวนี้ได้ ทำไมในที่ของเราเองที่โตมาถึงจะทำมาหากินไม่ได้” ช่างซ่อมรองเท้าริมถนนบอก
นี่คือเหตุผลที่สมศักดิ์กลับมาสู้หาทางประกอบอาชีพในละแวกนี้ตลอด ช่างซ่อมรองเท้าเห็นว่าแม้ประเทศนี้ไม่เคยให้ที่ทางกับชายสูงวัยอย่างแท้จริง แต่เขาก็ยังมองที่นี่เป็นเหมือนที่ของเขา ยังอยากกลับมาประกอบอาชีพในที่ที่เขาได้เติบโตมา
น่าสนใจเมื่อคิดว่าทั้งสองอาชีพของสมศักดิ์ ล้วนเกี่ยวกับการเดินทาง ทั้งเป็นวินรับส่งคนด้วยมอเตอร์ไซค์ และรับซ่อมรองเท้าให้คนเดินต่อไปได้อย่างสะดวก แต่ตัวสมศักดิ์เองกลับติดหล่มของสารพัดปัญหา ไม่อาจเดินทางออกจากความอับจนได้เลย
เรื่องความฝันที่จะได้มีที่ทางของตัวเองคงไกลเกินสำหรับสมศักดิ์ แต่หากขอได้อยากให้มีอะไรที่ซุ้มริมถนนบรรทัดทองแห่งนี้ เขาก็บอกว่าต้องการห้องน้ำ หรืออย่างน้อยถ้าทางการอนุญาตให้ขายอย่างถูกต้อง ตั้งเป็นจุดผ่อนผัน ไม่มาปรับกัน สมศักดิ์จะได้อุ่นใจ และรู้สึกว่าที่นี่เป็นที่ทำกินอันสุจริตของเขาสักที
สุดท้ายแล้วสมศักดิ์ก็ไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่า โอกาสและการมองเห็นปัญหาจากผู้มีส่วนรับผิดชอบในบ้านเมืองนี้ทั้งหลาย แม้สมศักดิ์เองจะเป็นจุดเล็กๆ ที่อยู่ต่ำต้อยและไม่เคยมีใครตั้งใจมองเลยก็ตาม
Share this:
Like this: