บันเทิงเกาหลีบุกไทย สร้างปรากฏการณ์บัตรคอนเสิร์ตถูกอัปราคาทะลุหลักหมื่น! แฟนๆ แห่ฝากความหวังไว้ที่ร้านรับจ้างกดบัตรซึ่งมีความเสี่ยงไม่น้อยกว่ากัน ด้านนักวิชาการชี้รัฐบาลควรออกมาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาการโก่งราคาบัตรอย่างมีประสิทธิภาพ
การเข้ามาของวัฒนธรรมในรูปแบบของสื่อบันเทิงจากเกาหลีใต้ซึ่งได้รับผลตอบรับอย่างดีและมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ในช่วงหลายปีมานี้มีการจัดคอนเสิร์ตและแฟนมีตติ้ง (Fan Meeting) ของศิลปินหรือนักแสดงจากดินแดนกิมจิบ่อยครั้ง
ในปี 2561 มีการจัดงานแฟนมีตติ้ง 71 ครั้ง บางครั้งเป็นกลุ่มศิลปินหรือนักแสดงที่เป็นที่นิยมมากในกลุ่มแฟนคลับชาวไทย ทำให้จำนวนคนที่ต้องการเข้าชมมีมากกว่าจำนวนบัตรที่จัดจำหน่าย จึงเกิดการ “อัปราคาบัตร” คือการนำบัตรที่ซื้อแล้วมาขายต่อในราคาที่สูงกว่าราคาเดิม
ตัวอย่างเช่น คอนเสิร์ต EXO PLANET #4 – The EℓyXiOn – in BANGKOK ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 18 มีนาคม 2561 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี ซึ่งรองรับผู้ชมได้รอบละ 15,000 ที่นั่ง ปรากฏว่าบัตรถูกจำหน่ายหมดทั้งระบบภายใน 5 นาที แฟนคลับจำนวนหนึ่งจึงต้องซื้อบัตรที่ราคาสูงกว่าราคาขายจริง
“บัตรมันหายากขนาดที่จัด 3 วันในโดมที่มี 15,000 ที่นั่ง มันก็ยังหมด แล้วก็อยากไปดูมากๆ สุดท้ายเลยต้องยอมซื้อบัตรอัป” เณศรา ปลื้มเปลี่ยน แฟนคลับวง EXO บอกถึงเหตุผลในการยอมซื้อบัตรที่ราคาสูงกว่าปกติ
อัปราคาทะลุหลักหมื่นก็เต็มใจจ่าย
ผู้สื่อข่าวสำรวจราคาบัตรคอนเสิร์ตศิลปินเกาหลีใต้จำนวน 62 คอนเสิร์ตระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน 2561 จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 89 คน พบว่าส่วนมากราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 1,500 บาท และราคาสูงสุดจะอยู่ราว 6,500 บาท
เมื่อพิจารณาจากราคาบัตรอัป พบว่า ราคาสูงสุดอยู่ที่ 24,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาเดิมคือ 6,000 บาทถึงสามเท่า นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการเพิ่มราคาขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการบัตร เช่น หากมีคนอยากได้บัตรในราคา 6,500 บาทจำนวนมาก อัตราการอัปราคาบัตรก็จะสูงกว่าบัตรราคา 3,500 บาท เป็นต้น ส่วนในกรณีที่บัตรนั้นได้ที่นั่งในมุมที่ดีหรือได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติม ผู้ขายจะสามารถอัปราคาสูงขึ้นประมาณสามเท่าของราคาบัตรปกติ
ภาพแสดงส่วนต่างราคาบัตรที่ถูกอัปเฉลี่ยต่อใบและเปรียบเทียบเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น
ปัทมาภรณ์ (สงวนนามสกุล) พนักงานประจำจุดจำหน่ายของ Thaiticket Major สาขาเอสพละนาด รัชดาภิเษก เล่าประสบการณ์ที่ได้เจอคนที่มาซื้อบัตรคอนเสิร์ตเพื่อนำไปทำธุรกิจอัปราคาว่า “เวลาที่เขามาซื้อกับเรา เขาก็เป็นลูกค้าปกติ คือเรารู้ทั้งรู้ แต่ว่าทำอะไรไม่ได้เพราะเขาก็ทำถูกเงื่อนไข ทำตามกติกา เวลาอยู่หน้าเคาน์เตอร์ก็พูดได้หมดแหละว่าซื้อไปทำไม แต่บางทีคนที่กดเว็บ เขามารับบัตรกับเราทีละหลายๆ ใบมันก็ไม่น่าใช่การไปดูเองแล้ว”
ส่วน ชราวุฒิ แวงวรรณแฟนคลับวง GOT7 มองว่าในการกดบัตรมาขายในราคาสูงกว่าปกตินั้น จุดเริ่มต้นของวงจรไม่ได้อยู่ที่ผู้ขาย แต่อยู่ที่ผู้ซื้อ
“คือถ้าจะมองว่าคนกดบัตรไปขายนิสัยไม่ดี ต้องไปมองก่อนว่าทำไมถึงมีคนซื้อ ก็เพราะคนที่เขารับซื้อ เขามีกำลังมากพอ เอาจริงๆ คือ ถ้าไม่มีคนยอมจ่ายแพงตั้งแต่แรก มันก็ไม่มีคนกดไปอัปรึเปล่า กดไปแล้วตัวเขาก็ไม่ได้ไป เขาจะเอาไปขายให้ใครได้” ชราวุฒิให้ความเห็น
เพิ่มโอกาสด้วยบริการรับจ้างกดบัตร
แล้วผู้บริโภคจะทำอย่างไรเมื่อกดบัตรเองไม่ได้ แต่ก็ไม่อยากเสียเงินซื้อบัตรอัป ธุรกิจรับจ้างกดบัตรจึงถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางสงครามทุนนิยมของโลกบันเทิง
โดยปกติเมื่อมีการจัดอีเวนต์ต่างๆ ผู้จัดจะกำหนดวันจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตล่วงหน้า โดยแบ่งการจำหน่ายเป็น 2 ช่องทางคือทางออนไลน์และทางเคาน์เตอร์ตัวแทน (หรือบางงานมีเพียงช่องทางออนไลน์เท่านั้น) เพื่อเปิดขายบัตรทั้งหมดพร้อมกันตามเวลาที่กำหนดไว้
ภาพการแสดงของวง WANNA ONE จากคอนเสิร์ตรวมศิลปิน KCON NY 2018 ที่ Prudential Center Performing เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน2561 ภาพโดย : อารียา เรืองเกรียงสิน
สำหรับช่องทางออนไลน์ คนที่เข้าสู่ระบบได้เร็วกว่าก็จะมีสิทธิ์ได้บัตรไปครอบครองก่อน แต่ในส่วนของเคาน์เตอร์ แม้จะมีการแจกคิวเพื่อรอซื้อบัตร แต่บางงานก็จำหน่ายบัตรหมดก่อนจะถึงคิวที่แจกไปด้วยซ้ำ แฟนๆ จึงหันไปจ้างร้านรับกดบัตรเพื่อเพิ่มโอกาสของตนเองในการได้บัตรมาครอง
ร้านรับจ้างกดบัตรเริ่มมีบทบาทในวงการคอนเสิร์ตของศิลปินเกาหลีตั้งแต่กระแส K-POP เข้ามาในไทยใหม่ๆ และเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อความนิยมในแวดวงบันเทิงเกาหลีในไทยเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา โดยทำหน้าที่เป็นผู้จองบัตรแลกกับค่าตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 300 – 500 บาทต่อบัตร
ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่จะรับกดบัตรตามคิวที่จองเข้ามา ส่วนในกรณีที่ซื้อบัตรไม่ได้ ก็จะมีนโยบายคืนเงินที่แตกต่างกันออกไป จากการสำรวจทางออนไลน์จากผู้เคยใช้บริการรับจ้างกดบัตรจำนวน 62 คน เมื่อเดือนพฤจิกายน 2561 พบว่า เหตุผลหลักที่ทำให้คนใช้บริการร้านกดบัตรคอนเสิร์ต/แฟนมีตติ้ง มีทั้งเหตุผลส่วนบุคคล เช่น เป็นงานที่ตนคิดว่าพลาดไม่ได้ โอกาสในการซื้อบัตรมีน้อย ไม่เคยกดบัตรเองได้เลย หรือไม่ต้องการซื้อบัตรอัป ขณะเดียวกัน ความไว้วางใจในร้านที่ใช้บริการ เช่น นโยบายของร้าน รีวิวผลการใช้บริการ และอัตราราคาค่าจ้างกดบัตร ก็มีผลต่อการเลือกใช้บริการเช่นกัน
8 เหตุผลของการเลือกใช้บริการร้านรับกดบัตรคอนเสิร์ต และแผนภาพแสดงเรทราคารับจ้างกดบัตร 1 ใบ
อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมการสำรวจเห็นว่าธุรกิจดังกล่าวยังไม่ใช่ธุรกิจที่โปร่งใสนัก ผู้ตอบแบบสอบถาม 21 คนระบุว่าเคยประสบปัญหากับร้านรับกดบัตร เช่น ร้านรับจ้างหายตัวไปพร้อมกับเงินมัดจำ กดไม่ได้แล้วคืนเงินล่าช้า หรือเมื่อซื้อบัตรได้แล้ว ร้านก็เพิ่มค่าบริการที่ไม่ได้ตกลงไว้ก่อน
ณัฐสุดา ปันทรัพย์นักศึกษาวัย 21 ปี หนึ่งในผู้ประสบปัญหากับร้านรับจ้างกดบัตรเล่าว่า ตนตกลงราคาค่าจ้างกับทางร้านไว้ที่ใบละ 500 บาท แต่พอทางร้านกดบัตรได้แล้ว กลับมาขอขึ้นค่าตอบแทนเป็นใบละ 800 บาท ซึ่งในขณะนั้นเป็นบัตรใบที่ดีที่สุดที่จองได้ จึงต้องจำใจจ่ายเพิ่มให้ร้าน
“เราจ้างเพราะไม่อยากซื้อบัตรอัปค่ะ และคิดว่าการตกลงราคาเป็นสิ่งที่เราโอเค เรารับรู้และเต็มใจ พอเจออัปราคาค่ากดแบบนี้ และด้วยความที่อยากไปมากๆ ก็เลยต้องยอม แต่มันก็เสียความรู้สึกมาก” ณัฐสุดาบอก
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ร้านเปิดรับคิวจำนวนมากเกินจริงจนทำให้ลูกค้าบางคนไม่ได้บัตร ณฐมล (สงวนนามสกุล) นักศึกษาวัย 20 ปี เลือกใช้บริการร้านรับกดบัตรร้านหนึ่งซึ่งค่อนข้างแน่ใจว่าจะได้บัตรแน่นอน เพราะตัวเธอเป็นคิวต้นๆ ของทางร้าน ทว่าสุดท้ายแล้วเธอกลับไม่ได้บัตรสักใบ มาทราบภายหลังว่าทางร้านมีคนรับคิวหลายคนเพื่อโกงค่ากด
“คิวที่ 1 มีหลายคนมากๆ เราเองก็ไม่แน่ใจว่าร้านมีแอดมินกี่คน แต่จำได้ประมาณว่ามีคิวที่ 2 ประมาณ 2 – 3 คน คนนี้โกงมากหลายรอบแล้ว เปลี่ยนแอคเปลี่ยนวงกดไปเรื่อยๆ”
ภาพการแสดงของวง NCT127 จากคอนเสิร์ตรวมศิลปิน KCON NY 2018 ที่ Prudential Center Performing เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน2561 ภาพโดย : อารียา เรืองเกรียงสิน
ด้านผู้ประกอบการรับจ้างกดบัตร ภัทรธีภา พ้นภัยเจ้าของร้าน Mepattara by คุณมัม กล่าวว่าการรับกดบัตรเป็นการตกลงกันระหว่างสองฝ่ายคือผู้จ้างกดและร้านรับกด ไม่มีการบังคับหรือข่มขู่ให้มาใช้บริการ ถือว่าเป็นความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย
“มันก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับแต่ละคนนะคะ เหมือนอาชีพอื่นๆ ทำงานเพื่อแลกค่าตอบแทน ดังนั้น ความคิดเรา มันคือธุรกิจค่ะ แต่เป็นธุรกิจที่มีการตกลงกันอย่างเข้าใจของทั้งสองฝ่ายแล้ว ไม่ใช่การเอาเปรียบใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” ภัทรธีภากล่าว
หรือแฟนคลับต้องยินยอมเป็นหนึ่งในฟันเฟืองของระบบทุนนิยมต่อไป
แล้วผู้บริโภคมีทางเลือกอื่นๆ อีกไหม ดร. วัชรพงศ์ รติสุขพิมล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า พฤติกรรมที่คนยอมจ่ายราคาบัตรที่สูงกว่าปกติ ทางเศรษฐศาสตร์จะเรียกว่า ความเต็มใจจ่าย หรือ willingness to pay ซึ่งเพิ่มขึ้นได้ตามความชอบที่มีต่อศิลปินคนนั้นๆ “ถ้าถามว่าเงินที่เสียไปมันคุ้มหรือไม่คุ้ม ก็ตอบไม่ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับความชอบและรสนิยมของแต่ละคน แต่ทุกการใช้จ่ายมันมีค่าเสียโอกาส”
อย่างไรก็ตาม อาจารย์วัชรพงศ์เสริมว่าจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มให้กับส่วนต่างของราคาบัตรปกตินั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับส่วนอื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้บริโภคที่ยังอยู่ในระบบการศึกษา จึงอยากจะให้คิดทบทวนให้ดีและมีสติก่อนทำการตัดสินใจ
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ยังชี้ให้เห็นถึงทางออกของปัญหาการอัปราคาบัตรหรือการจ้างร้านรับกดบัตรว่า ควรจะมีการใช้กฎหมายเข้ามากำกับดูแล เพราะถ้ารัฐบาลไม่เข้ามาจัดการ กลไกตลาดก็จะทำงานต่อไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม บัตรคอนเสิร์ตยังคงถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและมีความต้องการเฉพาะกลุ่ม จึงทำให้การกำกับดูแลเป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติ
ภาพบรรยากาศการเข้าคิวเพื่อรับชมคอนเสิร์ตรวมศิลปิน KCON NY 2018 ที่ Prudential Center Performing เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน2561 ภาพโดย : สุชานาถ กิตติสุรินทร์
“ถ้าอุปสงค์ (ความต้องการซื้อของผู้บริโภค) ไม่ลด ก็อาจจะต้องไปดูที่อุปทาน (ความต้องการขายของผู้จัด) ว่าสามารถเพิ่มได้มั้ย อาจจะจัดในสถานที่ที่ใหญ่ขึ้น หรือเพิ่มจำนวนรอบมากขึ้นเพื่อรองรับจำนวนคนที่อยากไปดู แต่ถ้ายังไม่ได้อีก จะออกกฎหมายก็ทำยาก ผู้จัดก็เพิ่มรอบให้ไม่ได้ ก็ต้องเป็นเรื่องสำนึกของผู้บริโภคเองแล้วว่าจะจัดการกับความต้องการนั้นอย่างไร” อาจารย์วัชรพงศ์กล่าว
ทั้งนี้ สำนักข่าว The Japan Times รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้ผ่านร่างกฎหมายการห้ามซื้อขายบัตรสูงกว่าราคาปกติ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยกำหนดว่าบุคคลที่ประสงค์จะขายบัตรการเข้าชมงานต่างๆ อาทิคอนเสิร์ตหรือกีฬา ห้ามจำหน่ายบัตรต่อในราคาที่สูงกว่าราคาปกติ หากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินหนึ่งล้านเยน (ราว 333,000 แสนบาท) หรือทั้งจำทั้งปรับ จุดประสงค์หลักอีกประการหนึ่งของการตรากฎหมายดังกล่าวก็เพื่อป้องกันการขายบัตรอัปราคาในงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่จะจัดขึ้น ณ กรุงโตเกียวในปี 2563
Like this:
Like Loading...
บันเทิงเกาหลีบุกไทย สร้างปรากฏการณ์บัตรคอนเสิร์ตถูกอัปราคาทะลุหลักหมื่น! แฟนๆ แห่ฝากความหวังไว้ที่ร้านรับจ้างกดบัตรซึ่งมีความเสี่ยงไม่น้อยกว่ากัน ด้านนักวิชาการชี้รัฐบาลควรออกมาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาการโก่งราคาบัตรอย่างมีประสิทธิภาพ
การเข้ามาของวัฒนธรรมในรูปแบบของสื่อบันเทิงจากเกาหลีใต้ซึ่งได้รับผลตอบรับอย่างดีและมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ในช่วงหลายปีมานี้มีการจัดคอนเสิร์ตและแฟนมีตติ้ง (Fan Meeting) ของศิลปินหรือนักแสดงจากดินแดนกิมจิบ่อยครั้ง
ในปี 2561 มีการจัดงานแฟนมีตติ้ง 71 ครั้ง บางครั้งเป็นกลุ่มศิลปินหรือนักแสดงที่เป็นที่นิยมมากในกลุ่มแฟนคลับชาวไทย ทำให้จำนวนคนที่ต้องการเข้าชมมีมากกว่าจำนวนบัตรที่จัดจำหน่าย จึงเกิดการ “อัปราคาบัตร” คือการนำบัตรที่ซื้อแล้วมาขายต่อในราคาที่สูงกว่าราคาเดิม
ตัวอย่างเช่น คอนเสิร์ต EXO PLANET #4 – The EℓyXiOn – in BANGKOK ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 18 มีนาคม 2561 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี ซึ่งรองรับผู้ชมได้รอบละ 15,000 ที่นั่ง ปรากฏว่าบัตรถูกจำหน่ายหมดทั้งระบบภายใน 5 นาที แฟนคลับจำนวนหนึ่งจึงต้องซื้อบัตรที่ราคาสูงกว่าราคาขายจริง
“บัตรมันหายากขนาดที่จัด 3 วันในโดมที่มี 15,000 ที่นั่ง มันก็ยังหมด แล้วก็อยากไปดูมากๆ สุดท้ายเลยต้องยอมซื้อบัตรอัป” เณศรา ปลื้มเปลี่ยน แฟนคลับวง EXO บอกถึงเหตุผลในการยอมซื้อบัตรที่ราคาสูงกว่าปกติ
อัปราคาทะลุหลักหมื่นก็เต็มใจจ่าย
ผู้สื่อข่าวสำรวจราคาบัตรคอนเสิร์ตศิลปินเกาหลีใต้จำนวน 62 คอนเสิร์ตระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน 2561 จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 89 คน พบว่าส่วนมากราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 1,500 บาท และราคาสูงสุดจะอยู่ราว 6,500 บาท
เมื่อพิจารณาจากราคาบัตรอัป พบว่า ราคาสูงสุดอยู่ที่ 24,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาเดิมคือ 6,000 บาทถึงสามเท่า นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการเพิ่มราคาขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการบัตร เช่น หากมีคนอยากได้บัตรในราคา 6,500 บาทจำนวนมาก อัตราการอัปราคาบัตรก็จะสูงกว่าบัตรราคา 3,500 บาท เป็นต้น ส่วนในกรณีที่บัตรนั้นได้ที่นั่งในมุมที่ดีหรือได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติม ผู้ขายจะสามารถอัปราคาสูงขึ้นประมาณสามเท่าของราคาบัตรปกติ
ปัทมาภรณ์ (สงวนนามสกุล) พนักงานประจำจุดจำหน่ายของ Thaiticket Major สาขาเอสพละนาด รัชดาภิเษก เล่าประสบการณ์ที่ได้เจอคนที่มาซื้อบัตรคอนเสิร์ตเพื่อนำไปทำธุรกิจอัปราคาว่า “เวลาที่เขามาซื้อกับเรา เขาก็เป็นลูกค้าปกติ คือเรารู้ทั้งรู้ แต่ว่าทำอะไรไม่ได้เพราะเขาก็ทำถูกเงื่อนไข ทำตามกติกา เวลาอยู่หน้าเคาน์เตอร์ก็พูดได้หมดแหละว่าซื้อไปทำไม แต่บางทีคนที่กดเว็บ เขามารับบัตรกับเราทีละหลายๆ ใบมันก็ไม่น่าใช่การไปดูเองแล้ว”
ส่วน ชราวุฒิ แวงวรรณแฟนคลับวง GOT7 มองว่าในการกดบัตรมาขายในราคาสูงกว่าปกตินั้น จุดเริ่มต้นของวงจรไม่ได้อยู่ที่ผู้ขาย แต่อยู่ที่ผู้ซื้อ
“คือถ้าจะมองว่าคนกดบัตรไปขายนิสัยไม่ดี ต้องไปมองก่อนว่าทำไมถึงมีคนซื้อ ก็เพราะคนที่เขารับซื้อ เขามีกำลังมากพอ เอาจริงๆ คือ ถ้าไม่มีคนยอมจ่ายแพงตั้งแต่แรก มันก็ไม่มีคนกดไปอัปรึเปล่า กดไปแล้วตัวเขาก็ไม่ได้ไป เขาจะเอาไปขายให้ใครได้” ชราวุฒิให้ความเห็น
เพิ่มโอกาสด้วยบริการรับจ้างกดบัตร
แล้วผู้บริโภคจะทำอย่างไรเมื่อกดบัตรเองไม่ได้ แต่ก็ไม่อยากเสียเงินซื้อบัตรอัป ธุรกิจรับจ้างกดบัตรจึงถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางสงครามทุนนิยมของโลกบันเทิง
โดยปกติเมื่อมีการจัดอีเวนต์ต่างๆ ผู้จัดจะกำหนดวันจำหน่ายบัตรคอนเสิร์ตล่วงหน้า โดยแบ่งการจำหน่ายเป็น 2 ช่องทางคือทางออนไลน์และทางเคาน์เตอร์ตัวแทน (หรือบางงานมีเพียงช่องทางออนไลน์เท่านั้น) เพื่อเปิดขายบัตรทั้งหมดพร้อมกันตามเวลาที่กำหนดไว้
สำหรับช่องทางออนไลน์ คนที่เข้าสู่ระบบได้เร็วกว่าก็จะมีสิทธิ์ได้บัตรไปครอบครองก่อน แต่ในส่วนของเคาน์เตอร์ แม้จะมีการแจกคิวเพื่อรอซื้อบัตร แต่บางงานก็จำหน่ายบัตรหมดก่อนจะถึงคิวที่แจกไปด้วยซ้ำ แฟนๆ จึงหันไปจ้างร้านรับกดบัตรเพื่อเพิ่มโอกาสของตนเองในการได้บัตรมาครอง
ร้านรับจ้างกดบัตรเริ่มมีบทบาทในวงการคอนเสิร์ตของศิลปินเกาหลีตั้งแต่กระแส K-POP เข้ามาในไทยใหม่ๆ และเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อความนิยมในแวดวงบันเทิงเกาหลีในไทยเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา โดยทำหน้าที่เป็นผู้จองบัตรแลกกับค่าตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 300 – 500 บาทต่อบัตร
ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่จะรับกดบัตรตามคิวที่จองเข้ามา ส่วนในกรณีที่ซื้อบัตรไม่ได้ ก็จะมีนโยบายคืนเงินที่แตกต่างกันออกไป จากการสำรวจทางออนไลน์จากผู้เคยใช้บริการรับจ้างกดบัตรจำนวน 62 คน เมื่อเดือนพฤจิกายน 2561 พบว่า เหตุผลหลักที่ทำให้คนใช้บริการร้านกดบัตรคอนเสิร์ต/แฟนมีตติ้ง มีทั้งเหตุผลส่วนบุคคล เช่น เป็นงานที่ตนคิดว่าพลาดไม่ได้ โอกาสในการซื้อบัตรมีน้อย ไม่เคยกดบัตรเองได้เลย หรือไม่ต้องการซื้อบัตรอัป ขณะเดียวกัน ความไว้วางใจในร้านที่ใช้บริการ เช่น นโยบายของร้าน รีวิวผลการใช้บริการ และอัตราราคาค่าจ้างกดบัตร ก็มีผลต่อการเลือกใช้บริการเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมการสำรวจเห็นว่าธุรกิจดังกล่าวยังไม่ใช่ธุรกิจที่โปร่งใสนัก ผู้ตอบแบบสอบถาม 21 คนระบุว่าเคยประสบปัญหากับร้านรับกดบัตร เช่น ร้านรับจ้างหายตัวไปพร้อมกับเงินมัดจำ กดไม่ได้แล้วคืนเงินล่าช้า หรือเมื่อซื้อบัตรได้แล้ว ร้านก็เพิ่มค่าบริการที่ไม่ได้ตกลงไว้ก่อน
ณัฐสุดา ปันทรัพย์นักศึกษาวัย 21 ปี หนึ่งในผู้ประสบปัญหากับร้านรับจ้างกดบัตรเล่าว่า ตนตกลงราคาค่าจ้างกับทางร้านไว้ที่ใบละ 500 บาท แต่พอทางร้านกดบัตรได้แล้ว กลับมาขอขึ้นค่าตอบแทนเป็นใบละ 800 บาท ซึ่งในขณะนั้นเป็นบัตรใบที่ดีที่สุดที่จองได้ จึงต้องจำใจจ่ายเพิ่มให้ร้าน
“เราจ้างเพราะไม่อยากซื้อบัตรอัปค่ะ และคิดว่าการตกลงราคาเป็นสิ่งที่เราโอเค เรารับรู้และเต็มใจ พอเจออัปราคาค่ากดแบบนี้ และด้วยความที่อยากไปมากๆ ก็เลยต้องยอม แต่มันก็เสียความรู้สึกมาก” ณัฐสุดาบอก
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ร้านเปิดรับคิวจำนวนมากเกินจริงจนทำให้ลูกค้าบางคนไม่ได้บัตร ณฐมล (สงวนนามสกุล) นักศึกษาวัย 20 ปี เลือกใช้บริการร้านรับกดบัตรร้านหนึ่งซึ่งค่อนข้างแน่ใจว่าจะได้บัตรแน่นอน เพราะตัวเธอเป็นคิวต้นๆ ของทางร้าน ทว่าสุดท้ายแล้วเธอกลับไม่ได้บัตรสักใบ มาทราบภายหลังว่าทางร้านมีคนรับคิวหลายคนเพื่อโกงค่ากด
“คิวที่ 1 มีหลายคนมากๆ เราเองก็ไม่แน่ใจว่าร้านมีแอดมินกี่คน แต่จำได้ประมาณว่ามีคิวที่ 2 ประมาณ 2 – 3 คน คนนี้โกงมากหลายรอบแล้ว เปลี่ยนแอคเปลี่ยนวงกดไปเรื่อยๆ”
ด้านผู้ประกอบการรับจ้างกดบัตร ภัทรธีภา พ้นภัยเจ้าของร้าน Mepattara by คุณมัม กล่าวว่าการรับกดบัตรเป็นการตกลงกันระหว่างสองฝ่ายคือผู้จ้างกดและร้านรับกด ไม่มีการบังคับหรือข่มขู่ให้มาใช้บริการ ถือว่าเป็นความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย
“มันก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับแต่ละคนนะคะ เหมือนอาชีพอื่นๆ ทำงานเพื่อแลกค่าตอบแทน ดังนั้น ความคิดเรา มันคือธุรกิจค่ะ แต่เป็นธุรกิจที่มีการตกลงกันอย่างเข้าใจของทั้งสองฝ่ายแล้ว ไม่ใช่การเอาเปรียบใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง” ภัทรธีภากล่าว
หรือแฟนคลับต้องยินยอมเป็นหนึ่งในฟันเฟืองของระบบทุนนิยมต่อไป
แล้วผู้บริโภคมีทางเลือกอื่นๆ อีกไหม ดร. วัชรพงศ์ รติสุขพิมล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า พฤติกรรมที่คนยอมจ่ายราคาบัตรที่สูงกว่าปกติ ทางเศรษฐศาสตร์จะเรียกว่า ความเต็มใจจ่าย หรือ willingness to pay ซึ่งเพิ่มขึ้นได้ตามความชอบที่มีต่อศิลปินคนนั้นๆ “ถ้าถามว่าเงินที่เสียไปมันคุ้มหรือไม่คุ้ม ก็ตอบไม่ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับความชอบและรสนิยมของแต่ละคน แต่ทุกการใช้จ่ายมันมีค่าเสียโอกาส”
อย่างไรก็ตาม อาจารย์วัชรพงศ์เสริมว่าจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มให้กับส่วนต่างของราคาบัตรปกตินั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับส่วนอื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้บริโภคที่ยังอยู่ในระบบการศึกษา จึงอยากจะให้คิดทบทวนให้ดีและมีสติก่อนทำการตัดสินใจ
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ยังชี้ให้เห็นถึงทางออกของปัญหาการอัปราคาบัตรหรือการจ้างร้านรับกดบัตรว่า ควรจะมีการใช้กฎหมายเข้ามากำกับดูแล เพราะถ้ารัฐบาลไม่เข้ามาจัดการ กลไกตลาดก็จะทำงานต่อไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม บัตรคอนเสิร์ตยังคงถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและมีความต้องการเฉพาะกลุ่ม จึงทำให้การกำกับดูแลเป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติ
“ถ้าอุปสงค์ (ความต้องการซื้อของผู้บริโภค) ไม่ลด ก็อาจจะต้องไปดูที่อุปทาน (ความต้องการขายของผู้จัด) ว่าสามารถเพิ่มได้มั้ย อาจจะจัดในสถานที่ที่ใหญ่ขึ้น หรือเพิ่มจำนวนรอบมากขึ้นเพื่อรองรับจำนวนคนที่อยากไปดู แต่ถ้ายังไม่ได้อีก จะออกกฎหมายก็ทำยาก ผู้จัดก็เพิ่มรอบให้ไม่ได้ ก็ต้องเป็นเรื่องสำนึกของผู้บริโภคเองแล้วว่าจะจัดการกับความต้องการนั้นอย่างไร” อาจารย์วัชรพงศ์กล่าว
ทั้งนี้ สำนักข่าว The Japan Times รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้ผ่านร่างกฎหมายการห้ามซื้อขายบัตรสูงกว่าราคาปกติ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยกำหนดว่าบุคคลที่ประสงค์จะขายบัตรการเข้าชมงานต่างๆ อาทิคอนเสิร์ตหรือกีฬา ห้ามจำหน่ายบัตรต่อในราคาที่สูงกว่าราคาปกติ หากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินหนึ่งล้านเยน (ราว 333,000 แสนบาท) หรือทั้งจำทั้งปรับ จุดประสงค์หลักอีกประการหนึ่งของการตรากฎหมายดังกล่าวก็เพื่อป้องกันการขายบัตรอัปราคาในงานการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่จะจัดขึ้น ณ กรุงโตเกียวในปี 2563
Share this:
Like this: