เสียงกริ่งก้องกังวานเรียกเด็กนักเรียนให้ออกมาเข้าแถวเคารพธงชาติ เสียงสวดมนต์เจื้อยแจ้ว ถูกบ้าง ผิดบ้าง ภาพเด็กนักเรียนยืนฟังโอวาทจากครูใหญ่ท่ามกลางแสงแดดร้อนระอุยามเช้า ที่ว่ากันว่าเป็นแหล่งผลิตวิตามินดี น่าจะเป็นกิจกรรมที่เราทุกคนเห็นกันจนชินตา
“เข้าแถวสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังโอวาทกลางแดดทุกวันเลย พอขึ้นมัธยมต้น ทุกคนต้องยืนกลางแดดหมด ส่วนครูบางคนก็ยืนหลบในร่มบ้าง ใต้ต้นไม้บ้าง แล้วชุดนักเรียนก็เป็นเสื้อแขนยาว ใครเป็นลมก็หามส่งห้องพยาบาลไป ไม่รู้จะทำไปทำไม” มุก (นามสมมติ) นักเรียนหญิงจากโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งเล่าถึงกิจวัตรประจำวันของนักเรียนในตอนเข้าแถว
นอกจากพิธีกรรมไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิในตอนเช้าแล้ว การเรียนการสอนของโรงเรียนส่วนใหญ่ในประเทศไทยก็ยังบรรจุวิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชาบังคับเรียน โดยเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยจะมีเกณฑ์การประเมินผลรายวิชาเป็นการสอบปฏิบัติ สอบสวดมนต์ นั่งสมาธิ และมีการจัดพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา รวมถึงวันพ่อ และวันแม่อีกด้วย
จากการสำรวจโรงเรียนมัธยมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลทั้งหมด 58 โรงเรียน พบว่า มีโรงเรียนที่บังคับให้นักเรียนเข้าแถวและสวดมนต์ตอนเช้าทั้งหมดร้อยละ 98 ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมค่ายธรรมะ หรือค่ายอบรมจิตใจตามศาสนาของโรงเรียน (ทั้งบังคับเข้า และให้ตามความสมัครใจ) ทั้งหมดร้อยละ 65 มีการบังคับให้นั่งสมาธิร้อยละ 63 มีการสอบปฏิบัติ เช่น การสอบนักธรรม สอบสวดมนต์ สอบกราบพระ อีกร้อยละ 39 และยังมีโรงเรียนที่บังคับให้นักเรียนร่วมพิธีกรรมปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะอีกร้อยละ 19 นอกจากนี้ยังพบว่า ในห้องเรียนหนึ่งๆ มักมีนักเรียนที่ไม่นับถือศาสนาพุทธอยู่ราวร้อยละ 10
“เราเป็นมุสลิมตั้งแต่เกิด บ้านเรานับถืออิสลามทั้งบ้านเลย แต่เรียนโรงเรียนพุทธเพราะมันใกล้บ้าน ตอนเด็กๆ มีพิธีวันแม่ที่โรงเรียน ครูบอกให้ทุกคนกราบเท้าแม่ แต่คนมุสลิมกราบอย่างอื่นนอกจากพระเจ้าไม่ได้ เราได้แต่นั่งเฉยๆ แต่ครูมาบอกว่า งั้นก็ก้มๆ หัวลงไปหน่อย เราไม่ยอม จนสุดท้ายแม่เราพาไปลาออกจากโรงเรียน” อัลวาณีย์ สถิตานนท์ ศิษย์เก่าจากโรงเรียนรัฐบาลในเขตปริมณฑลเล่าให้เราฟัง อัลวาณีย์เสริมว่า ถึงแม้การเรียนการสอนพุทธศาสนาจะยังเป็นเรื่องสำคัญต่อเยาวชนไทย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการเข้าใจและยอมรับในความเชื่อที่ต่างจากความเชื่อของตน
“ถึงแม้การเรียนการสอนพุทธศาสนาจะยังเป็นเรื่องสำคัญต่อเยาวชนไทย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการเข้าใจและยอมรับในความเชื่อที่ต่างจากความเชื่อของตน”
อัลวาณีย์ สถิตานนท์
“เราเรียนโรงเรียนที่ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ เขาโยงหลักธรรมในศาสนาพุทธมาไว้ในวิชาเรียนแทบทุกอย่างที่สอนเรา มีการเดินจงกรม สวดมนต์ ฟังเทศน์ทุกเช้า จริงๆ เคยมีเด็กคริสต์ เด็กอิสลามมาเรียนด้วย แต่พออยู่ไป เขาไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง เขาก็ลาออกไป” วชรรทร์ อัศวะประภา นักเรียนชั้นม.5 ในโรงเรียนเอกชนวิถีพุทธแห่งหนึ่งเล่าถึงชีวิตของเธอในโรงเรียน วชรรทร์ให้ความเห็นว่า ถึงตนจะนับถือศาสนาพุทธ แต่เธอกลับมองพิธีกรรมทางศาสนาในโรงเรียนส่วนใหญ่ว่าเป็นกิจวัตรประจำวันที่ต้องเข้าร่วมไปให้เสร็จ ไม่ได้รู้สึก “อิน” กับสิ่งที่ตนทำ
จากคำกล่าวของอัลวาณีย์และวชรรทร์ สะท้อนให้เห็นว่า การบังคับนักเรียนให้ร่วมพิธีกรรมทางศาสนานั้น นอกจากจะทำให้นักเรียนต่างศาสนารู้สึกแตกต่าง ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งกับสังคมโรงเรียนแล้ว ยังมีส่วนทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธไม่เห็นความสำคัญ หรือแก่นแท้ของหลักธรรมที่จะใช้ในการดำเนินชีวิต เพราะถือว่าการเข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆ เป็นเพียงการทำเพื่อแลกคะแนน ไม่ได้ทำเพื่อให้เข้าถึงแก่นแท้ของหลักธรรมทางศาสนาเพิ่มขึ้น
การเรียนรู้ศาสนาผ่านพิธีกรรมและการเรียนการสอนในโรงเรียน อาจมีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในศาสนา แต่ในปัจจุบัน ได้มีกลุ่มนักเรียนที่ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาของโรงเรียน รวมถึงกฎข้อบังคับต่างๆ จนเกิดแฮชแท็กอย่าง #เกียมอุดม #เสนโญ และอื่นๆ ที่แพร่หลายไปทั่วโลกออนไลน์ ทั้งยังตั้งคำถามกับหลักธรรม หรือตำนานเหนือธรรมชาติของศาสนาอยู่มากมาย เช่น จริงหรือไม่ ที่พระพุทธเจ้าประสูติแล้วทรงเดินได้ 7 ก้าว จริงหรือไม่ ที่พระเยซูทรงบังเกิดโดยไม่ผ่านการมีสัมพันธ์ใดๆ ระหว่างบิดามารดาของพระองค์ จนเกิดความคิดที่ว่า จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องกราบไหว้ หรือเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ หรือกระทั่งเริ่มมีผู้ประกาศตนว่าจะไม่นับถือศาสนาใดๆ ปรากฏขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับการเลือกไม่นับถือศาสนาของเยาวชนไทยนั้น ศิริภัทร ชื่นค้า อาจารย์หัวหน้ากลุ่มวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนสาธิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) ให้มุมมองเกี่ยวกับการออกแบบการสอนศาสนาของโรงเรียนว่า “เราต้องเข้าใจเด็ก เรารู้สึกว่าความเชื่อเป็นเรื่องของบุคคล เด็กก็เป็นบุคคล เราก็เป็นบุคคล ถ้าเราจะสอนเขา เราต้องเคารพในความคิดเขา การสอนเรื่องศาสนาต้องสอนแบบมีเหตุมีผล เพราะฉะนั้นเราเลยสอนให้เขาพิสูจน์ความเชื่อของเขาเองก่อนว่า ถ้าเขาจะยืนยันว่าตนเองไม่มีศาสนา แล้วเขาเข้าใจไหมว่าคนที่มีศาสนาเขาเชื่ออย่างไร ทำไมเขาถึงเชื่อ มีปัจจัยอะไรที่ทำให้ความเชื่อนี้เกิดขึ้น เราจะพูดคุยกับเขาตรงนี้”
“เราต้องเข้าใจเด็ก เรารู้สึกว่าความเชื่อเป็นเรื่องของบุคคล เด็กก็เป็นบุคคล เราก็เป็นบุคคล ถ้าเราจะสอนเขา เราต้องเคารพในความคิดเขา”
ศิริภัทร ชื่นค้า อาจารย์หัวหน้ากลุ่มวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
โรงเรียนสาธิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม)
อาจารย์ศิริภัทรเสริมว่า การสอนวิชาศาสนานั้น ไม่ได้สอนเพียงเพื่อให้นักเรียนเกิดความเคารพในตัวศาสนา พิธีกรรม หรือปาฏิหาริย์ แต่เรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจในสิทธิ และเคารพในการเลือกนับถือศาสนาของผู้อื่นในสังคม
นอกจากการเลือกนับถือศาสนาของเยาวชนไทยแล้ว การผูกโยงคุณธรรมที่เยาวชนพึงกระทำ รวมเป็นเรื่องเดียวกับการสอนหลักธรรมทางพุทธศาสนา ก็เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง
ผศ.ดร.ศริญญา อรุณขจรศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการออกแบบเนื้อหาการสอนคุณธรรมแบบไทยๆ ว่า
“แบบเรียนส่วนใหญ่ของไทยจะให้คำแนะนำสั่งสอนชัดเจนว่าคนดีต้องทำอะไรบ้าง ถ้าเราอยากเป็นเด็กดี ต้องทำตามคำสอนของศาสนาพุทธ หน้าที่ของเด็กดี หน้าที่พลเมืองที่ดีมีกี่ข้อ มันเป็นสูตรสำเร็จ เป็นค่านิยม แต่ชีวิตคนเรามันมีเหตุปัจจัยมากกว่านั้น ต่อให้คนคนหนึ่งทำดี สุดท้ายก็จะทำได้ไม่เหมือนกับข้อที่กำหนดไว้ทุกอย่าง”
ผศ.ดร.ศริญญาให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การเรียนการสอนพุทธศาสนานั้น ผู้เรียนควรได้เรียนรู้พุทธศาสนาในฐานะของความเชื่ออย่างหนึ่ง ไม่ได้เรียนเพื่อให้เป็นคนดีผ่านตัวหลักธรรมหรือข้อบังคับปฏิบัติเท่านั้น แต่ผู้เรียนต้องเปิดใจให้กว้าง มองสิ่งที่เป็นไปด้วยเหตุปัจจัยที่ต่างกัน และวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้เรียนต้องอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติ กล่าวคือ ถึงแม้ความเชื่อที่แตกต่างยังคงมีอยู่ แต่ทุกคนควรเคารพในความเชื่อเหล่านั้น โดยไม่รุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวของกันและกัน
“ผู้ใหญ่ยังคงอยู่กับความคิดที่ว่าทุกคนต้องมีศาสนา แต่เราว่าความสำคัญอยู่ที่แก่นคำสอนของมัน ว่าอะไรควรปฏิบัติตาม อะไรควรให้เรายึดเป็นแนวทางของชีวิต มากกว่าจะเป็นพิธีอะไร ใครต้องกราบไหว้ใคร” วชรรทร์กล่าวส่งท้าย
หวังว่าในปีการศึกษาต่อๆ ไป เยาวชนไทยจะเรียนรู้และอยู่กับความเชื่อทางศาสนาที่หลากหลายได้ โดยไม่ต้องแบ่งแยกใคร และไม่ต้องถูกบังคับเรียน ทั้งนี้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรได้ทบทวนถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเยาวชนไทย
Like this:
Like Loading...
เสียงกริ่งก้องกังวานเรียกเด็กนักเรียนให้ออกมาเข้าแถวเคารพธงชาติ เสียงสวดมนต์เจื้อยแจ้ว ถูกบ้าง ผิดบ้าง ภาพเด็กนักเรียนยืนฟังโอวาทจากครูใหญ่ท่ามกลางแสงแดดร้อนระอุยามเช้า ที่ว่ากันว่าเป็นแหล่งผลิตวิตามินดี น่าจะเป็นกิจกรรมที่เราทุกคนเห็นกันจนชินตา
“เข้าแถวสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังโอวาทกลางแดดทุกวันเลย พอขึ้นมัธยมต้น ทุกคนต้องยืนกลางแดดหมด ส่วนครูบางคนก็ยืนหลบในร่มบ้าง ใต้ต้นไม้บ้าง แล้วชุดนักเรียนก็เป็นเสื้อแขนยาว ใครเป็นลมก็หามส่งห้องพยาบาลไป ไม่รู้จะทำไปทำไม” มุก (นามสมมติ) นักเรียนหญิงจากโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งเล่าถึงกิจวัตรประจำวันของนักเรียนในตอนเข้าแถว
นอกจากพิธีกรรมไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิในตอนเช้าแล้ว การเรียนการสอนของโรงเรียนส่วนใหญ่ในประเทศไทยก็ยังบรรจุวิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชาบังคับเรียน โดยเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยจะมีเกณฑ์การประเมินผลรายวิชาเป็นการสอบปฏิบัติ สอบสวดมนต์ นั่งสมาธิ และมีการจัดพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา รวมถึงวันพ่อ และวันแม่อีกด้วย
จากการสำรวจโรงเรียนมัธยมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลทั้งหมด 58 โรงเรียน พบว่า มีโรงเรียนที่บังคับให้นักเรียนเข้าแถวและสวดมนต์ตอนเช้าทั้งหมดร้อยละ 98 ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมค่ายธรรมะ หรือค่ายอบรมจิตใจตามศาสนาของโรงเรียน (ทั้งบังคับเข้า และให้ตามความสมัครใจ) ทั้งหมดร้อยละ 65 มีการบังคับให้นั่งสมาธิร้อยละ 63 มีการสอบปฏิบัติ เช่น การสอบนักธรรม สอบสวดมนต์ สอบกราบพระ อีกร้อยละ 39 และยังมีโรงเรียนที่บังคับให้นักเรียนร่วมพิธีกรรมปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะอีกร้อยละ 19 นอกจากนี้ยังพบว่า ในห้องเรียนหนึ่งๆ มักมีนักเรียนที่ไม่นับถือศาสนาพุทธอยู่ราวร้อยละ 10
“เราเป็นมุสลิมตั้งแต่เกิด บ้านเรานับถืออิสลามทั้งบ้านเลย แต่เรียนโรงเรียนพุทธเพราะมันใกล้บ้าน ตอนเด็กๆ มีพิธีวันแม่ที่โรงเรียน ครูบอกให้ทุกคนกราบเท้าแม่ แต่คนมุสลิมกราบอย่างอื่นนอกจากพระเจ้าไม่ได้ เราได้แต่นั่งเฉยๆ แต่ครูมาบอกว่า งั้นก็ก้มๆ หัวลงไปหน่อย เราไม่ยอม จนสุดท้ายแม่เราพาไปลาออกจากโรงเรียน” อัลวาณีย์ สถิตานนท์ ศิษย์เก่าจากโรงเรียนรัฐบาลในเขตปริมณฑลเล่าให้เราฟัง อัลวาณีย์เสริมว่า ถึงแม้การเรียนการสอนพุทธศาสนาจะยังเป็นเรื่องสำคัญต่อเยาวชนไทย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการเข้าใจและยอมรับในความเชื่อที่ต่างจากความเชื่อของตน
“เราเรียนโรงเรียนที่ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ เขาโยงหลักธรรมในศาสนาพุทธมาไว้ในวิชาเรียนแทบทุกอย่างที่สอนเรา มีการเดินจงกรม สวดมนต์ ฟังเทศน์ทุกเช้า จริงๆ เคยมีเด็กคริสต์ เด็กอิสลามมาเรียนด้วย แต่พออยู่ไป เขาไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง เขาก็ลาออกไป” วชรรทร์ อัศวะประภา นักเรียนชั้นม.5 ในโรงเรียนเอกชนวิถีพุทธแห่งหนึ่งเล่าถึงชีวิตของเธอในโรงเรียน วชรรทร์ให้ความเห็นว่า ถึงตนจะนับถือศาสนาพุทธ แต่เธอกลับมองพิธีกรรมทางศาสนาในโรงเรียนส่วนใหญ่ว่าเป็นกิจวัตรประจำวันที่ต้องเข้าร่วมไปให้เสร็จ ไม่ได้รู้สึก “อิน” กับสิ่งที่ตนทำ
จากคำกล่าวของอัลวาณีย์และวชรรทร์ สะท้อนให้เห็นว่า การบังคับนักเรียนให้ร่วมพิธีกรรมทางศาสนานั้น นอกจากจะทำให้นักเรียนต่างศาสนารู้สึกแตกต่าง ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งกับสังคมโรงเรียนแล้ว ยังมีส่วนทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธไม่เห็นความสำคัญ หรือแก่นแท้ของหลักธรรมที่จะใช้ในการดำเนินชีวิต เพราะถือว่าการเข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆ เป็นเพียงการทำเพื่อแลกคะแนน ไม่ได้ทำเพื่อให้เข้าถึงแก่นแท้ของหลักธรรมทางศาสนาเพิ่มขึ้น
การเรียนรู้ศาสนาผ่านพิธีกรรมและการเรียนการสอนในโรงเรียน อาจมีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในศาสนา แต่ในปัจจุบัน ได้มีกลุ่มนักเรียนที่ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาของโรงเรียน รวมถึงกฎข้อบังคับต่างๆ จนเกิดแฮชแท็กอย่าง #เกียมอุดม #เสนโญ และอื่นๆ ที่แพร่หลายไปทั่วโลกออนไลน์ ทั้งยังตั้งคำถามกับหลักธรรม หรือตำนานเหนือธรรมชาติของศาสนาอยู่มากมาย เช่น จริงหรือไม่ ที่พระพุทธเจ้าประสูติแล้วทรงเดินได้ 7 ก้าว จริงหรือไม่ ที่พระเยซูทรงบังเกิดโดยไม่ผ่านการมีสัมพันธ์ใดๆ ระหว่างบิดามารดาของพระองค์ จนเกิดความคิดที่ว่า จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องกราบไหว้ หรือเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ หรือกระทั่งเริ่มมีผู้ประกาศตนว่าจะไม่นับถือศาสนาใดๆ ปรากฏขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับการเลือกไม่นับถือศาสนาของเยาวชนไทยนั้น ศิริภัทร ชื่นค้า อาจารย์หัวหน้ากลุ่มวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนสาธิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) ให้มุมมองเกี่ยวกับการออกแบบการสอนศาสนาของโรงเรียนว่า “เราต้องเข้าใจเด็ก เรารู้สึกว่าความเชื่อเป็นเรื่องของบุคคล เด็กก็เป็นบุคคล เราก็เป็นบุคคล ถ้าเราจะสอนเขา เราต้องเคารพในความคิดเขา การสอนเรื่องศาสนาต้องสอนแบบมีเหตุมีผล เพราะฉะนั้นเราเลยสอนให้เขาพิสูจน์ความเชื่อของเขาเองก่อนว่า ถ้าเขาจะยืนยันว่าตนเองไม่มีศาสนา แล้วเขาเข้าใจไหมว่าคนที่มีศาสนาเขาเชื่ออย่างไร ทำไมเขาถึงเชื่อ มีปัจจัยอะไรที่ทำให้ความเชื่อนี้เกิดขึ้น เราจะพูดคุยกับเขาตรงนี้”
อาจารย์ศิริภัทรเสริมว่า การสอนวิชาศาสนานั้น ไม่ได้สอนเพียงเพื่อให้นักเรียนเกิดความเคารพในตัวศาสนา พิธีกรรม หรือปาฏิหาริย์ แต่เรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจในสิทธิ และเคารพในการเลือกนับถือศาสนาของผู้อื่นในสังคม
นอกจากการเลือกนับถือศาสนาของเยาวชนไทยแล้ว การผูกโยงคุณธรรมที่เยาวชนพึงกระทำ รวมเป็นเรื่องเดียวกับการสอนหลักธรรมทางพุทธศาสนา ก็เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง
ผศ.ดร.ศริญญา อรุณขจรศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการออกแบบเนื้อหาการสอนคุณธรรมแบบไทยๆ ว่า
“แบบเรียนส่วนใหญ่ของไทยจะให้คำแนะนำสั่งสอนชัดเจนว่าคนดีต้องทำอะไรบ้าง ถ้าเราอยากเป็นเด็กดี ต้องทำตามคำสอนของศาสนาพุทธ หน้าที่ของเด็กดี หน้าที่พลเมืองที่ดีมีกี่ข้อ มันเป็นสูตรสำเร็จ เป็นค่านิยม แต่ชีวิตคนเรามันมีเหตุปัจจัยมากกว่านั้น ต่อให้คนคนหนึ่งทำดี สุดท้ายก็จะทำได้ไม่เหมือนกับข้อที่กำหนดไว้ทุกอย่าง”
ผศ.ดร.ศริญญาให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การเรียนการสอนพุทธศาสนานั้น ผู้เรียนควรได้เรียนรู้พุทธศาสนาในฐานะของความเชื่ออย่างหนึ่ง ไม่ได้เรียนเพื่อให้เป็นคนดีผ่านตัวหลักธรรมหรือข้อบังคับปฏิบัติเท่านั้น แต่ผู้เรียนต้องเปิดใจให้กว้าง มองสิ่งที่เป็นไปด้วยเหตุปัจจัยที่ต่างกัน และวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้เรียนต้องอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติ กล่าวคือ ถึงแม้ความเชื่อที่แตกต่างยังคงมีอยู่ แต่ทุกคนควรเคารพในความเชื่อเหล่านั้น โดยไม่รุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวของกันและกัน
“ผู้ใหญ่ยังคงอยู่กับความคิดที่ว่าทุกคนต้องมีศาสนา แต่เราว่าความสำคัญอยู่ที่แก่นคำสอนของมัน ว่าอะไรควรปฏิบัติตาม อะไรควรให้เรายึดเป็นแนวทางของชีวิต มากกว่าจะเป็นพิธีอะไร ใครต้องกราบไหว้ใคร” วชรรทร์กล่าวส่งท้าย
หวังว่าในปีการศึกษาต่อๆ ไป เยาวชนไทยจะเรียนรู้และอยู่กับความเชื่อทางศาสนาที่หลากหลายได้ โดยไม่ต้องแบ่งแยกใคร และไม่ต้องถูกบังคับเรียน ทั้งนี้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรได้ทบทวนถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเยาวชนไทย
Share this:
Like this: