เรื่องและภาพ: ภูมิ์ชล เตชะดี
“มีคุณลูกค้ามาเยือนค่ะ โยโคโซะ เมดรีมมิน เอ!”
“โออิชิคุนาเระ โมเอะ โมเอะ บีม!”
“คุณลูกค้าเดินทางกลับแล้วค่ะ อาริกาโต โกไซมาชิตะ!”
ลูกค้าทุกคนจะต้องได้ยินประโยคข้างต้นเมื่อย่างเท้าเข้าสู่ร้าน “เมดคาเฟ่” นอกจากนี้ ทุกการให้บริการตั้งแต่เสิร์ฟอาหาร จนถึงเดินทางกลับ พนักงานก็จะต้องพูดกับลูกค้าเสมอ
ต้นตำรับของเมดคาเฟ่
“เมดคาเฟ่” (Maid Cafe) หรือคาเฟ่สาวใช้ เป็นร้านอาหารที่ภายในร้านมีพนักงานแต่งกายด้วยเครื่องแบบสาวใช้ คอยปรนนิบัติ และให้ความบันเทิงแก่ลูกค้าเสมือนเป็นเจ้านาย ร้านเมดคาเฟ่มีต้นกำเนิดที่ญี่ปุ่น จึงไม่น่าแปลกใจถ้าจะได้ยินพนักงานในร้านพูดคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นกัน
แม้ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศต้นตำรับของเมดคาเฟ่ แต่เครื่องแบบสาวใช้ที่ใส่กัน กลับไม่ได้เกิดขึ้นที่ประเทศนี้ หากแต่รับมาจากประเทศอื่นอีกที
หนังสือทำมือ (โดจินชิ) ชื่อ จากเมดอังกฤษสู่เมดญี่ปุ่น – ประวัติศาสตร์ร้อยปีของชุดเมด (Eikoku Maid Kara Japanese Maid E ~ Maid Fuku Hyakunen Shi) โดย อินุอิ ทัตสึมิ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น อธิบายว่า ชุดเมดถูกนำมาใช้ครั้งแรกในประเทศอังกฤษในยุควิกตอเรีย (กลางคริสตศตวรรษที่ 19) จากนั้นจึงแพร่กระจายออกไปยังประเทศต่างๆ เช่น ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา จนกระทั่งมาถึงญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 1920 ที่ชาวต่างชาติเริ่มมาตั้งถิ่นฐานกันในญี่ปุ่นมากขึ้น
ด้วยความที่คนญี่ปุ่นเห็นอะไรก็จับมาดัดแปลงได้หมด ชุดสาวใช้ในยุควิกตอเรียจึงถูกนำมาดัดแปลง โดยผนวกเข้ากับชุดแม่บ้านของญี่ปุ่น จนได้ออกมาเป็นชุดกระโปรงยาวและเสื้อปกกะลาสี หนังสือเล่มนี้ยังระบุว่า ในกิจการร้านอาหารแบบธุรกิจครอบครัว ก็ยังมีการแต่งกายด้วยชุดเมดวิคตอเรียนด้วยเช่นกัน
จนกระทั่งทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา การแต่งกายด้วยชุดเมดปรากฏมากขึ้นในร้านอาหารต่างๆ รวมถึงมีให้พบเห็นได้ในการ์ตูนและเกมคอมพิวเตอร์
เมื่อวัฒนธรรมการ์ตูนญี่ปุ่นและเกมแพร่หลายอย่างมาก จนเกิดวัฒนธรรมการคอสเพลย์หรือการแต่งตัวและสวมบทบาทเลียนแบบตัวละครในการ์ตูนหรือเกมเหล่านั้น ปรากฎการณ์ “เมดคอสเพลย์บูม” จึงเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1999 ตามด้วยคอสเพลย์คาเฟ่ และเมดคาเฟ่
เมดคาเฟ่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 2001 เมื่อบริษัทผลิตเสื้อผ้าคอสเพลย์ชื่อ Cospa ซึ่งต้องการจะทำร้านคอสเพลย์คาเฟ่ ทำแบบสำรวจพบว่าตัวละครเมดได้รับความนิยมสูงที่สุด จึงตั้งเมดคาเฟ่แห่งแรกชื่อ Cure Maid Cafe ที่ย่านอากิฮาบาระ กรุงโตเกียว โดยมีพนักงานบริการแต่งกายด้วยชุดเมดวิคตอเรียน ร้านนี้ยังคงเปิดให้บริการมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อลูกค้าก้าวเท้าเข้ามาในร้าน ก็จะได้รับการจุดเทียนเพื่อเปลี่ยนจาก ‘ลูกค้า’ เป็น ‘นายท่าน’ หรือ ‘คุณหนู’ และเมื่อนายท่านจะกลับ ก็จะมีการดับเทียนเพื่อกลับสู่โลกแห่งความจริง
อิมพอร์ตสู่เมืองไทย
เมื่อเมดคาเฟ่ได้รับความนิยมจนเป็นที่รู้จักด้วยลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น การทำร้านอาหารแนวนี้จึงแพร่หลายไปยังประเทศอื่นๆ ไม่เว้นแม้แต่เมืองไทย
เมดคาเฟ่เข้ามาในไทยได้ประมาณ 5-6 ปีแล้ว โดยขณะนี้มีเพียงร้านเดียว คือ เมดรีมมิน (Maidreamin) ซึ่งมีแนวคิดการตกแต่งร้านให้เป็น ‘ดินแดนแห่งความฝัน’ ตามที่สาขาแม่ที่ญี่ปุ่นกำหนดไว้
บรรยากาศภายในร้านเมดรีมมิน แต่ไม่สามารถถ่ายภาพพนักงานเมดคาเฟ่ได้ตามกฎของร้าน
ขวัญดารา ทรายมูล กรรมการบริหาร บริษัทเมดรีมมิน (ประเทศไทย) กล่าวว่า องค์ประกอบที่ทำให้ลูกค้าเหมือนอยู่ในดินแดนแห่งความฝัน เริ่มตั้งแต่ชื่อร้าน จากนั้นเมื่อลูกค้าก้าวเท้าเข้ามาในร้าน ก็จะได้รับการจุดเทียนเพื่อเปลี่ยนจาก ‘ลูกค้า’ เป็น ‘นายท่าน’ หรือ ‘คุณหนู’ และเมื่อนายท่านจะกลับ ก็จะมีการดับเทียนเพื่อกลับสู่โลกแห่งความจริง
ฝ่าย ‘น้องเมด’ และคนครัวในร้านก็จะมีชื่อสมมติของตัวเอง รวมถึงสวมบุคลิกสัตว์เลี้ยงต่างๆ ด้วย เช่น บุคลิกแบบกระต่ายซึ่งมีความขี้อ้อน ร้านมีกฎเหล็กคือบรรดาน้องเมดไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวใดๆ ได้ เนื่องจากคอนเซปต์ของร้านคือการทำให้ทุกอย่างอยู่เหนือความจริง อีกทั้งยังเป็นเหตุผลด้านความปลอดภัยของพนักงาน
เมื่อถามถึงจุดประสงค์ของการนำแนวคิดของร้านเมดคาเฟ่มาสู่ไทย กรรมการบริหาร บริษัทเมดรีมมิน (ประเทศไทย) บอกว่า ร้านอาหารในไทยไม่ค่อยมีร้านแนวบันเทิงที่เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนมากจะเป็นผับ บาร์ ดิสโก้เธค ที่เด็กและเยาวชนเข้าไม่ได้ จึงคิดว่าอยากจะทำร้านอาหารแนวนี้
“ผับ บาร์เปิดเฉพาะกลางคืน และเจาะจงว่าลูกค้าต้องอายุ 20 ขึ้นไป ถ้าแบบนี้ เด็กและนักเรียนนักศึกษาก็เข้าไม่ได้” ขวัญดารากล่าว
อาหารสร้างสุข
คำว่า “เข้าได้ทุกเพศทุกวัย” นั้นไม่ไกลจากความจริงเลย แม้แต่อาหารต่างๆ ในร้านก็ยังรองรับลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพราะมีทั้งเมนูหน้าตาน่ารักเหมาะกับเด็กๆ เช่น พาร์เฟต์ ซึ่งเป็นไอศครีมบนแก้วทรงสูงตกแต่งด้วยรูปสัตว์น่ารักต่างๆ กระทั่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สำหรับผู้ใหญ่
“ส่วนมากลูกค้าที่สั่งแอลกอฮอล์จะเป็นต่างชาติ” ขวัญดารากล่าว “แต่ว่าร้านเราไม่ได้เน้น (เครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ขนาดนั้น เราเน้นความสดใสมากกว่า”
ความสดใสที่ว่ามีอยู่ในหลายๆ เมนู แม้อาหารในร้านไม่ได้ต่างจากร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วไป อาทิ ชุดข้าวไก่เทริยากิ สลัด หรือเกี๊ยวซ่า แต่ความพิเศษอยู่ที่การตั้งชื่อและตกแต่ง อย่าง ‘คุมะดรีมมิน’ หรือข้าวผัดออมเล็ตที่ตกแต่งเป็นรูปหมีนอนห่มผ้า หรือข้าวแกงกะหรี่คุณหมีที่ปั้นข้าวให้เป็นรูปหมี
ข้าวแกงกะหรี่คุณหมี พาร์เฟต์ยูนิคอร์น และเลิฟดรีมมินโซดา
ขวัญดาราบอกว่า การแต่งจานอาหารเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ก็เป็นแนวคิดจากบริษัทแม่ในญี่ปุ่น “ทางญี่ปุ่นเขาอาจจะคิดไว้แล้วว่า รูปหมี แมว หรือกระต่าย ดูน่ารักสำหรับคาแรคเตอร์ของร้าน” ขณะที่ ตัวนาก (นามสมมุติ) ลูกค้าผู้แวะเวียนมาบ่อยครั้งคนหนึ่ง เสริมว่า “อาหารในเมนูส่วนใหญ่ก็เจอได้ในอนิเมะ แล้วมันดูน่ารักค่ะ”
นอกจากการตกแต่งแล้ว ร้านยังต้องปรับสูตรอาหารให้เข้ากับรสชาติที่คนไทยคุ้นชิน อย่างเช่นแกงกะหรี่ที่เป็นอาหารญี่ปุ่นก็นำมาปรับให้ถูกปากลูกค้า บางครั้งก็เพิ่มเมนูอาหารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทยด้วย เช่น ออมเล็ตต้มยำ หรือผัดกะเพรา หมุนเวียนไปตามโอกาส
อีกทั้งยังมีเมนูประจำเทศกาลทุกเทศกาล ซึ่งจะส่งมาจากบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น เช่น เมนูประจำเทศกาลคริสต์มาสในเดือนธันวาคม โดยจะตกแต่งด้วยสีสันสื่อถึงเทศกาล ได้แก่ แดง เขียว และขาว
ที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็ คือเมนูประจำตัวของน้องเมดแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นเมนูเครื่องดื่มและเมนูวันเกิดของน้องเมด ที่จะคิดสูตรใหม่ๆ ออกมาเองหรือเลือกอาหารที่ตนเองชอบเพื่อสื่อถึงบุคลิกของตน ลูกค้าประทับใจเมดคนไหน ก็สั่งเมนูของน้องคนนั้น
“บรรยากาศทำให้ผ่อนคลาย มีความสุขไปกับมัน พลังบวกพวกนี้เลยเป็นเสน่ห์ของร้านไปเลยค่ะ”
ตัวนาก (นามสมมติ) ลูกค้าประจำของเมดคาเฟ่
กิจกรรมประกอบการกิน
นอกจากจะตกแต่งจานอย่างน่ารักน่ารับประทานและมีสีสันสวยงามแล้ว ยังมีกิจกรรมประกอบการสั่งและเสิร์ฟอาหาร เช่น เมื่อลูกค้าจะสั่งอาหาร ตามธรรมเนียมต้องเรียกน้องเมดด้วยท่ากวักมือแบบแมว พร้อมกับร้อง “เนี้ยนๆ” (เสียงแมวร้องในภาษาญี่ปุ่น)
ส่วนกิจกรรมที่น้องเมดมาสร้างความบันเทิงให้ลูกค้าพ่วงมาด้วยเสมอ เช่น การร่ายเวทมนตร์ให้อาหารอร่อยขึ้นด้วยคาถา “โออิชิคุนาเระ (จงอร่อยขึ้น) โมเอะ โมเอะ บีม!” พร้อมมีท่าทางประกอบ หรือเมื่อสั่งเมนูไลฟ์เซ็ต น้องเมดก็จะออกมาเต้นให้ชม หรือหากลูกค้าสั่งเมนู ‘โมเอะ โปเตโต้’ หรือเฟรนช์ฟรายผสมผงปาปริก้า น้องเมดก็จะออกมาโรยผงปากริก้าพร้อมกับร้องเพลงไปด้วย
และเมื่อลูกค้าขอต่อเวลานั่งในร้านเพิ่มจากหนึ่งชั่วโมง น้องเมดก็จะร้องเพลงให้ “นายท่านและคุณหนูทุกๆ ท่านคะ มีนายท่านขอต่อเวลาด้วยค่ะ! เย้! เซ โนะ! ดรีมไทม์ ดรีมไทม์ อิตเตะรัชไช!”
กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจแก่ลูกค้า ขวัญดารากล่าวว่า ร้านส่วนมากไม่มีการให้บริการแบบนี้ เมื่อลูกค้ามาเห็นก็จะรู้สึกว่าแตกต่าง เช่น เมื่อมีการร่ายเวทมนตร์ให้อาหาร ลูกค้าก็จะมีความสุขขึ้น
“ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นส่วนประกอบร่วมกันทั้งในส่วนของน้องเมดที่บริการอย่างดี อาหารทุกเมนูเราตั้งใจทำ พอมาประกอบกันก็จะทำให้ลูกค้ามีความสุข” กรรมการบริหาร บริษัท เมดรีมมิน (ประเทศไทย) บอก
ตัวนาก (นามสมมุติ) ลูกค้าผู้แวะเวียนมาบ่อยครั้งกล่าวว่า “พอเห็นบริการ บรรยากาศร้าน และการตกแต่งอาหาร รู้สึกว่าทำให้เหมือนฝันมากขึ้น และมีพลังใจขึ้นเยอะมากๆ ค่ะ รู้สึกว่าบรรยากาศทำให้ผ่อนคลาย มีความสุขไปกับมัน พลังบวกพวกนี้เลยเป็นเสน่ห์ของร้านไปเลยค่ะ”
บางเมนูยังมีเกมให้เล่น เช่น เมนู ‘ทาโกยากิ บอมบ์’ ซึ่งในจำนวนทาโกยากิห้าลูกที่นำมาเสิร์ฟ จะมีหนึ่งลูกที่มีไส้พริก ลูกค้าต้องวัดดวงเอาเอง ตัวนากเล่าว่า “ส่วนใหญ่สั่งกินกับเพื่อนค่ะ คอนเซปต์มันออกมาให้แกล้งคน หนูก็เลยสั่งมาแกล้งกัน ค่อนข้างเอนจอยเลยนะคะ”
อีกกิจกรรมที่น่าสนใจคือเมนู ‘ไจแอนท์’ อาหารจานใหญ่ยักษ์ที่สามารถทานได้ 3-4 คน ซึ่งลูกค้าที่มาเป็นกลุ่มมักจะสั่งกัน แต่ถ้าลูกค้าคนไหนอยากรับประทานคนเดียวก็ไม่มีใครว่า เมื่อลูกค้าสั่งเมนูนี้ จะมีน้องเมดทำหน้าที่เป็นพิธีกร เชิญชวนให้ลูกค้าทุกคนในร้านช่วยกันร่ายเวทมนตร์
เหตุที่ทุกคนต้องช่วยกันร่ายมนต์ก็เพราะพลังของน้องเมดไม่เพียงพอสำหรับเป่าเสกอาหารจานใหญ่นี้ นอกจากนั้นลูกค้าที่สั่งยังจะได้ต่อเวลาเพิ่มอีก 30 นาที และถ่ายรูปกับน้องเมดทุกคนที่ประจำการอยู่ในร้านวันนั้น ซึ่งการถ่ายรูปหมู่กับน้องเมดก็เป็นแรงจูงใจหนึ่งที่ทำให้คนสั่งเมนูไจแอนท์
สูตรสำเร็จของความเป็นญี่ปุ่น
กฤตินี พงษ์ธนเลิศ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเจ้าของนามปากกา เกตุวดี Marumura ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและวัฒนธรรมญี่ปุ่น อธิบายว่า ปัจจัยที่ทำให้การใช้ความเป็นญี่ปุ่นประสบความสำเร็จนั้นมีสองถึงสามข้อ
หนึ่ง คนไทยมีฐานะดีขึ้นและมีกำลังซื้อมากขึ้น “ในสมัยก่อนเราคงนึกไม่ออกว่า เราจะกินบะหมี่ถ้วยละ 200 หรือกาแฟถ้วยละ 100 กว่าบาทได้ แต่เหมือนตอนนี้เราเริ่มทำงาน มีชนชั้นกลางมากขึ้น มีกำลังซื้อมากขึ้น” เกตุวดีกล่าว
ข้อที่สองคือ คนไทยเดินทางไปญี่ปุ่นมากขึ้น จึงเริ่มชินกับอาหารและวัฒนธรรมญี่ปุ่น รู้ว่าข้าวหน้าเนื้อเป็นอย่างไร หรือเทริยากิเป็นอย่างไร และข้อสุดท้ายคือการมีเครือข่ายสังคมออนไลน์ “ปัจจุบันข้อมูลมันเผยแพร่ได้เร็วมากขึ้น ใครทำอะไร เช็กอินที่ไหนคนอื่นก็รับรู้ได้ มันทำให้คนเรากล้าลองอะไรใหม่ๆ มากขึ้น” อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์ฯ กล่าว
“สามอย่างนี้ทำให้วงการอาหาร ไม่ใช่แค่ญี่ปุ่น แต่เป็นวงการอาหารโดยรวมคึกคักมากขึ้น คนเราแสวงหาอะไรใหม่ๆ มากขึ้น ซึ่งอาหารญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในนั้น” เกตุวดีสรุป
สำหรับประสบการณ์ชวนฝันในร้านเมดคาเฟ่ อาหารเป็นหนึ่งในกลไกการสร้างความสุขให้กับลูกค้า แต่นอกจากรสชาติแล้ว ยังมีหลายสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับเพิ่มเติม ทั้งการตกแต่งร้านและอาหารที่ดูน่ารัก จนทำให้รู้สึกได้รับพลังทางบวก การบริการที่ชวนประทับใจ รวมถึงเกมและปฏิสัมพันธ์กับเมดและลูกค้าท่านอื่น
ผู้มาเยือนจึงรู้สึกผ่อนคลาย ได้ประสบการณ์รับประทานอาหารที่อร่อยขึ้น มื้ออาหารจึงเป็นห้วงเวลาที่แสนพิเศษที่ปลดเปลื้องความอ่อนล้าจากโลกภายนอกอันแสนวุ่นวาย
Like this:
Like Loading...
เรื่องและภาพ: ภูมิ์ชล เตชะดี
“มีคุณลูกค้ามาเยือนค่ะ โยโคโซะ เมดรีมมิน เอ!”
“โออิชิคุนาเระ โมเอะ โมเอะ บีม!”
“คุณลูกค้าเดินทางกลับแล้วค่ะ อาริกาโต โกไซมาชิตะ!”
ลูกค้าทุกคนจะต้องได้ยินประโยคข้างต้นเมื่อย่างเท้าเข้าสู่ร้าน “เมดคาเฟ่” นอกจากนี้ ทุกการให้บริการตั้งแต่เสิร์ฟอาหาร จนถึงเดินทางกลับ พนักงานก็จะต้องพูดกับลูกค้าเสมอ
ต้นตำรับของเมดคาเฟ่
“เมดคาเฟ่” (Maid Cafe) หรือคาเฟ่สาวใช้ เป็นร้านอาหารที่ภายในร้านมีพนักงานแต่งกายด้วยเครื่องแบบสาวใช้ คอยปรนนิบัติ และให้ความบันเทิงแก่ลูกค้าเสมือนเป็นเจ้านาย ร้านเมดคาเฟ่มีต้นกำเนิดที่ญี่ปุ่น จึงไม่น่าแปลกใจถ้าจะได้ยินพนักงานในร้านพูดคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นกัน
แม้ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศต้นตำรับของเมดคาเฟ่ แต่เครื่องแบบสาวใช้ที่ใส่กัน กลับไม่ได้เกิดขึ้นที่ประเทศนี้ หากแต่รับมาจากประเทศอื่นอีกที
หนังสือทำมือ (โดจินชิ) ชื่อ จากเมดอังกฤษสู่เมดญี่ปุ่น – ประวัติศาสตร์ร้อยปีของชุดเมด (Eikoku Maid Kara Japanese Maid E ~ Maid Fuku Hyakunen Shi) โดย อินุอิ ทัตสึมิ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น อธิบายว่า ชุดเมดถูกนำมาใช้ครั้งแรกในประเทศอังกฤษในยุควิกตอเรีย (กลางคริสตศตวรรษที่ 19) จากนั้นจึงแพร่กระจายออกไปยังประเทศต่างๆ เช่น ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา จนกระทั่งมาถึงญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 1920 ที่ชาวต่างชาติเริ่มมาตั้งถิ่นฐานกันในญี่ปุ่นมากขึ้น
ด้วยความที่คนญี่ปุ่นเห็นอะไรก็จับมาดัดแปลงได้หมด ชุดสาวใช้ในยุควิกตอเรียจึงถูกนำมาดัดแปลง โดยผนวกเข้ากับชุดแม่บ้านของญี่ปุ่น จนได้ออกมาเป็นชุดกระโปรงยาวและเสื้อปกกะลาสี หนังสือเล่มนี้ยังระบุว่า ในกิจการร้านอาหารแบบธุรกิจครอบครัว ก็ยังมีการแต่งกายด้วยชุดเมดวิคตอเรียนด้วยเช่นกัน
จนกระทั่งทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา การแต่งกายด้วยชุดเมดปรากฏมากขึ้นในร้านอาหารต่างๆ รวมถึงมีให้พบเห็นได้ในการ์ตูนและเกมคอมพิวเตอร์
เมื่อวัฒนธรรมการ์ตูนญี่ปุ่นและเกมแพร่หลายอย่างมาก จนเกิดวัฒนธรรมการคอสเพลย์หรือการแต่งตัวและสวมบทบาทเลียนแบบตัวละครในการ์ตูนหรือเกมเหล่านั้น ปรากฎการณ์ “เมดคอสเพลย์บูม” จึงเกิดขึ้นในปีค.ศ. 1999 ตามด้วยคอสเพลย์คาเฟ่ และเมดคาเฟ่
เมดคาเฟ่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 2001 เมื่อบริษัทผลิตเสื้อผ้าคอสเพลย์ชื่อ Cospa ซึ่งต้องการจะทำร้านคอสเพลย์คาเฟ่ ทำแบบสำรวจพบว่าตัวละครเมดได้รับความนิยมสูงที่สุด จึงตั้งเมดคาเฟ่แห่งแรกชื่อ Cure Maid Cafe ที่ย่านอากิฮาบาระ กรุงโตเกียว โดยมีพนักงานบริการแต่งกายด้วยชุดเมดวิคตอเรียน ร้านนี้ยังคงเปิดให้บริการมาจนถึงปัจจุบัน
อิมพอร์ตสู่เมืองไทย
เมื่อเมดคาเฟ่ได้รับความนิยมจนเป็นที่รู้จักด้วยลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น การทำร้านอาหารแนวนี้จึงแพร่หลายไปยังประเทศอื่นๆ ไม่เว้นแม้แต่เมืองไทย
เมดคาเฟ่เข้ามาในไทยได้ประมาณ 5-6 ปีแล้ว โดยขณะนี้มีเพียงร้านเดียว คือ เมดรีมมิน (Maidreamin) ซึ่งมีแนวคิดการตกแต่งร้านให้เป็น ‘ดินแดนแห่งความฝัน’ ตามที่สาขาแม่ที่ญี่ปุ่นกำหนดไว้
ขวัญดารา ทรายมูล กรรมการบริหาร บริษัทเมดรีมมิน (ประเทศไทย) กล่าวว่า องค์ประกอบที่ทำให้ลูกค้าเหมือนอยู่ในดินแดนแห่งความฝัน เริ่มตั้งแต่ชื่อร้าน จากนั้นเมื่อลูกค้าก้าวเท้าเข้ามาในร้าน ก็จะได้รับการจุดเทียนเพื่อเปลี่ยนจาก ‘ลูกค้า’ เป็น ‘นายท่าน’ หรือ ‘คุณหนู’ และเมื่อนายท่านจะกลับ ก็จะมีการดับเทียนเพื่อกลับสู่โลกแห่งความจริง
ฝ่าย ‘น้องเมด’ และคนครัวในร้านก็จะมีชื่อสมมติของตัวเอง รวมถึงสวมบุคลิกสัตว์เลี้ยงต่างๆ ด้วย เช่น บุคลิกแบบกระต่ายซึ่งมีความขี้อ้อน ร้านมีกฎเหล็กคือบรรดาน้องเมดไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวใดๆ ได้ เนื่องจากคอนเซปต์ของร้านคือการทำให้ทุกอย่างอยู่เหนือความจริง อีกทั้งยังเป็นเหตุผลด้านความปลอดภัยของพนักงาน
เมื่อถามถึงจุดประสงค์ของการนำแนวคิดของร้านเมดคาเฟ่มาสู่ไทย กรรมการบริหาร บริษัทเมดรีมมิน (ประเทศไทย) บอกว่า ร้านอาหารในไทยไม่ค่อยมีร้านแนวบันเทิงที่เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนมากจะเป็นผับ บาร์ ดิสโก้เธค ที่เด็กและเยาวชนเข้าไม่ได้ จึงคิดว่าอยากจะทำร้านอาหารแนวนี้
“ผับ บาร์เปิดเฉพาะกลางคืน และเจาะจงว่าลูกค้าต้องอายุ 20 ขึ้นไป ถ้าแบบนี้ เด็กและนักเรียนนักศึกษาก็เข้าไม่ได้” ขวัญดารากล่าว
อาหารสร้างสุข
คำว่า “เข้าได้ทุกเพศทุกวัย” นั้นไม่ไกลจากความจริงเลย แม้แต่อาหารต่างๆ ในร้านก็ยังรองรับลูกค้าหลากหลายกลุ่ม เพราะมีทั้งเมนูหน้าตาน่ารักเหมาะกับเด็กๆ เช่น พาร์เฟต์ ซึ่งเป็นไอศครีมบนแก้วทรงสูงตกแต่งด้วยรูปสัตว์น่ารักต่างๆ กระทั่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สำหรับผู้ใหญ่
“ส่วนมากลูกค้าที่สั่งแอลกอฮอล์จะเป็นต่างชาติ” ขวัญดารากล่าว “แต่ว่าร้านเราไม่ได้เน้น (เครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ขนาดนั้น เราเน้นความสดใสมากกว่า”
ความสดใสที่ว่ามีอยู่ในหลายๆ เมนู แม้อาหารในร้านไม่ได้ต่างจากร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วไป อาทิ ชุดข้าวไก่เทริยากิ สลัด หรือเกี๊ยวซ่า แต่ความพิเศษอยู่ที่การตั้งชื่อและตกแต่ง อย่าง ‘คุมะดรีมมิน’ หรือข้าวผัดออมเล็ตที่ตกแต่งเป็นรูปหมีนอนห่มผ้า หรือข้าวแกงกะหรี่คุณหมีที่ปั้นข้าวให้เป็นรูปหมี
ขวัญดาราบอกว่า การแต่งจานอาหารเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ก็เป็นแนวคิดจากบริษัทแม่ในญี่ปุ่น “ทางญี่ปุ่นเขาอาจจะคิดไว้แล้วว่า รูปหมี แมว หรือกระต่าย ดูน่ารักสำหรับคาแรคเตอร์ของร้าน” ขณะที่ ตัวนาก (นามสมมุติ) ลูกค้าผู้แวะเวียนมาบ่อยครั้งคนหนึ่ง เสริมว่า “อาหารในเมนูส่วนใหญ่ก็เจอได้ในอนิเมะ แล้วมันดูน่ารักค่ะ”
นอกจากการตกแต่งแล้ว ร้านยังต้องปรับสูตรอาหารให้เข้ากับรสชาติที่คนไทยคุ้นชิน อย่างเช่นแกงกะหรี่ที่เป็นอาหารญี่ปุ่นก็นำมาปรับให้ถูกปากลูกค้า บางครั้งก็เพิ่มเมนูอาหารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทยด้วย เช่น ออมเล็ตต้มยำ หรือผัดกะเพรา หมุนเวียนไปตามโอกาส
อีกทั้งยังมีเมนูประจำเทศกาลทุกเทศกาล ซึ่งจะส่งมาจากบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น เช่น เมนูประจำเทศกาลคริสต์มาสในเดือนธันวาคม โดยจะตกแต่งด้วยสีสันสื่อถึงเทศกาล ได้แก่ แดง เขียว และขาว
ที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็ คือเมนูประจำตัวของน้องเมดแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นเมนูเครื่องดื่มและเมนูวันเกิดของน้องเมด ที่จะคิดสูตรใหม่ๆ ออกมาเองหรือเลือกอาหารที่ตนเองชอบเพื่อสื่อถึงบุคลิกของตน ลูกค้าประทับใจเมดคนไหน ก็สั่งเมนูของน้องคนนั้น
กิจกรรมประกอบการกิน
นอกจากจะตกแต่งจานอย่างน่ารักน่ารับประทานและมีสีสันสวยงามแล้ว ยังมีกิจกรรมประกอบการสั่งและเสิร์ฟอาหาร เช่น เมื่อลูกค้าจะสั่งอาหาร ตามธรรมเนียมต้องเรียกน้องเมดด้วยท่ากวักมือแบบแมว พร้อมกับร้อง “เนี้ยนๆ” (เสียงแมวร้องในภาษาญี่ปุ่น)
ส่วนกิจกรรมที่น้องเมดมาสร้างความบันเทิงให้ลูกค้าพ่วงมาด้วยเสมอ เช่น การร่ายเวทมนตร์ให้อาหารอร่อยขึ้นด้วยคาถา “โออิชิคุนาเระ (จงอร่อยขึ้น) โมเอะ โมเอะ บีม!” พร้อมมีท่าทางประกอบ หรือเมื่อสั่งเมนูไลฟ์เซ็ต น้องเมดก็จะออกมาเต้นให้ชม หรือหากลูกค้าสั่งเมนู ‘โมเอะ โปเตโต้’ หรือเฟรนช์ฟรายผสมผงปาปริก้า น้องเมดก็จะออกมาโรยผงปากริก้าพร้อมกับร้องเพลงไปด้วย
และเมื่อลูกค้าขอต่อเวลานั่งในร้านเพิ่มจากหนึ่งชั่วโมง น้องเมดก็จะร้องเพลงให้ “นายท่านและคุณหนูทุกๆ ท่านคะ มีนายท่านขอต่อเวลาด้วยค่ะ! เย้! เซ โนะ! ดรีมไทม์ ดรีมไทม์ อิตเตะรัชไช!”
กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจแก่ลูกค้า ขวัญดารากล่าวว่า ร้านส่วนมากไม่มีการให้บริการแบบนี้ เมื่อลูกค้ามาเห็นก็จะรู้สึกว่าแตกต่าง เช่น เมื่อมีการร่ายเวทมนตร์ให้อาหาร ลูกค้าก็จะมีความสุขขึ้น
“ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นส่วนประกอบร่วมกันทั้งในส่วนของน้องเมดที่บริการอย่างดี อาหารทุกเมนูเราตั้งใจทำ พอมาประกอบกันก็จะทำให้ลูกค้ามีความสุข” กรรมการบริหาร บริษัท เมดรีมมิน (ประเทศไทย) บอก
ตัวนาก (นามสมมุติ) ลูกค้าผู้แวะเวียนมาบ่อยครั้งกล่าวว่า “พอเห็นบริการ บรรยากาศร้าน และการตกแต่งอาหาร รู้สึกว่าทำให้เหมือนฝันมากขึ้น และมีพลังใจขึ้นเยอะมากๆ ค่ะ รู้สึกว่าบรรยากาศทำให้ผ่อนคลาย มีความสุขไปกับมัน พลังบวกพวกนี้เลยเป็นเสน่ห์ของร้านไปเลยค่ะ”
บางเมนูยังมีเกมให้เล่น เช่น เมนู ‘ทาโกยากิ บอมบ์’ ซึ่งในจำนวนทาโกยากิห้าลูกที่นำมาเสิร์ฟ จะมีหนึ่งลูกที่มีไส้พริก ลูกค้าต้องวัดดวงเอาเอง ตัวนากเล่าว่า “ส่วนใหญ่สั่งกินกับเพื่อนค่ะ คอนเซปต์มันออกมาให้แกล้งคน หนูก็เลยสั่งมาแกล้งกัน ค่อนข้างเอนจอยเลยนะคะ”
อีกกิจกรรมที่น่าสนใจคือเมนู ‘ไจแอนท์’ อาหารจานใหญ่ยักษ์ที่สามารถทานได้ 3-4 คน ซึ่งลูกค้าที่มาเป็นกลุ่มมักจะสั่งกัน แต่ถ้าลูกค้าคนไหนอยากรับประทานคนเดียวก็ไม่มีใครว่า เมื่อลูกค้าสั่งเมนูนี้ จะมีน้องเมดทำหน้าที่เป็นพิธีกร เชิญชวนให้ลูกค้าทุกคนในร้านช่วยกันร่ายเวทมนตร์
เหตุที่ทุกคนต้องช่วยกันร่ายมนต์ก็เพราะพลังของน้องเมดไม่เพียงพอสำหรับเป่าเสกอาหารจานใหญ่นี้ นอกจากนั้นลูกค้าที่สั่งยังจะได้ต่อเวลาเพิ่มอีก 30 นาที และถ่ายรูปกับน้องเมดทุกคนที่ประจำการอยู่ในร้านวันนั้น ซึ่งการถ่ายรูปหมู่กับน้องเมดก็เป็นแรงจูงใจหนึ่งที่ทำให้คนสั่งเมนูไจแอนท์
สูตรสำเร็จของความเป็นญี่ปุ่น
กฤตินี พงษ์ธนเลิศ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเจ้าของนามปากกา เกตุวดี Marumura ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและวัฒนธรรมญี่ปุ่น อธิบายว่า ปัจจัยที่ทำให้การใช้ความเป็นญี่ปุ่นประสบความสำเร็จนั้นมีสองถึงสามข้อ
หนึ่ง คนไทยมีฐานะดีขึ้นและมีกำลังซื้อมากขึ้น “ในสมัยก่อนเราคงนึกไม่ออกว่า เราจะกินบะหมี่ถ้วยละ 200 หรือกาแฟถ้วยละ 100 กว่าบาทได้ แต่เหมือนตอนนี้เราเริ่มทำงาน มีชนชั้นกลางมากขึ้น มีกำลังซื้อมากขึ้น” เกตุวดีกล่าว
ข้อที่สองคือ คนไทยเดินทางไปญี่ปุ่นมากขึ้น จึงเริ่มชินกับอาหารและวัฒนธรรมญี่ปุ่น รู้ว่าข้าวหน้าเนื้อเป็นอย่างไร หรือเทริยากิเป็นอย่างไร และข้อสุดท้ายคือการมีเครือข่ายสังคมออนไลน์ “ปัจจุบันข้อมูลมันเผยแพร่ได้เร็วมากขึ้น ใครทำอะไร เช็กอินที่ไหนคนอื่นก็รับรู้ได้ มันทำให้คนเรากล้าลองอะไรใหม่ๆ มากขึ้น” อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์ฯ กล่าว
“สามอย่างนี้ทำให้วงการอาหาร ไม่ใช่แค่ญี่ปุ่น แต่เป็นวงการอาหารโดยรวมคึกคักมากขึ้น คนเราแสวงหาอะไรใหม่ๆ มากขึ้น ซึ่งอาหารญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในนั้น” เกตุวดีสรุป
สำหรับประสบการณ์ชวนฝันในร้านเมดคาเฟ่ อาหารเป็นหนึ่งในกลไกการสร้างความสุขให้กับลูกค้า แต่นอกจากรสชาติแล้ว ยังมีหลายสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับเพิ่มเติม ทั้งการตกแต่งร้านและอาหารที่ดูน่ารัก จนทำให้รู้สึกได้รับพลังทางบวก การบริการที่ชวนประทับใจ รวมถึงเกมและปฏิสัมพันธ์กับเมดและลูกค้าท่านอื่น
ผู้มาเยือนจึงรู้สึกผ่อนคลาย ได้ประสบการณ์รับประทานอาหารที่อร่อยขึ้น มื้ออาหารจึงเป็นห้วงเวลาที่แสนพิเศษที่ปลดเปลื้องความอ่อนล้าจากโลกภายนอกอันแสนวุ่นวาย
Share this:
Like this: