เรื่อง-ภาพ : จิตรสินี กิจปกครอง
เด็กชายอายุราว 18 ปี ค่อยปั้นค่อยบรรจงนวดก้อนดิน แล้วพิถีพิถันกับมันจนเป็นแผ่น คือภาพของน้องภูริผู้กำลังใจจดใจจ่อกับการปั้นภาชนะดินเผาของเขา พลางหยิบไม้แกะสลักมาเติมแต่งลวดลายบนแผ่นดินเหนียว เขามองดูภาพตัวอย่างอยู่สักระยะ ก่อนจะเริ่มวาดลวดลายผลไม้แต่ละชนิดลงบนพื้นผิวภาชนะนั้น
“ภูริ เรากำลังวาดผลไม้อะไรอยู่ครับ” คุณครูถามเขา
“ผม…ผม…ผมกำลังวาดแครอท…อยู่ครับ” ภูริพยายามตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำ
“ภูริ เรากำลังวาดผลไม้อะไรอยู่ครับ” คุณครูถามเขาซ้ำอีกเป็นครั้งที่สอง
เขานิ่งคิด ก่อนจะตอบกลับไปว่า “ผม…ผมกำลังวาดแครอท…อยู่ครับ”
น้องภูริ เด็กพิเศษผู้เป็นบุคคลออทิสติกกำลังใจจดใจจ่อกับการปั้นภาชนะดินเผา
ในวิชา ศิลปะบูรณาการ โรงเรียนรุ่งอรุณ
คุณครูทวนคำถามเดิมต่อเป็นครั้งที่สาม และครั้งที่สี่ บทสนทนาของพวกเขาดูเหมือนเต็มไปด้วยความอึดอัด แต่ใบหน้าของคุณครูกลับเต็มไปด้วยรอยยิ้ม ผู้ถามตั้งตารอคำตอบโดยปราศจากการคาดคั้น เพราะรู้ว่าคำตอบในแต่ละครั้งที่ภูริให้ยังคงเป็นคำพูดเดิม แต่สิ่งที่คุณครูตั้งตารอจะได้ยิน คือความคาดหวังว่าจะเห็นเด็กออทิสติกคนหนึ่งมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้น และนี่คือส่วนหนึ่งของวิชา ศิลปะบูรณาการ
ครู คือ ผู้เรียนรู้
“ศิลปะบูรณาการ คือ การเรียนศิลปะที่เปิดให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ อะไรที่นำไปสู่การเรียนรู้ที่มีมิติลึกซึ้งมากเพียงพอ มันจะมีการเยียวยาและการบำบัดอยู่ในตัวของมัน เราพยายามทำให้เขาทำได้ด้วยตัวเอง เริ่มจากเรื่องเล็กๆ ที่ไม่ต้องใหญ่โต เพียงเรารับฟัง และค่อยเป็นค่อยไปพร้อมกับเขา” สุริศรา บัวนิล หรือ ครูอ้อม หัวหน้าฝ่ายศิลปะและครูประจำชั้นพิเศษ (คละมัธยม) โรงเรียนรุ่งอรุณบอกเล่า
ครูอ้อมอธิบายอย่างเปิดใจถึงกระบวนการถ่ายทอดทักษะความรู้แก่เด็กพิเศษว่า การที่เราต้องอยู่กับมนุษย์คนหนึ่งนั้นไม่ได้ใช้ทักษะอะไรเกินเลยไปกว่าการใช้ชีวิตตามปกติ แต่สิ่งที่เราต้องเพิ่มเติมให้แก่เด็กพิเศษคือ การใช้ความลึกซึ้งผ่านมิติด้านความรัก ความเอาใจใส่ และการอยู่ร่วมกัน
เด็กพิเศษหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีความต้องการการดูแลช่วยเหลือ บำบัดฟื้นฟู และให้การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะความจำเป็นและความต้องการของเด็กแต่ละคน
ในประเทศไทยมีการแบ่งประเภทของเด็กพิเศษออกเป็น 9 ประเภท ตาม “ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552” ได้แก่
- บุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
- บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
- บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
- บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย การเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ
- บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
- บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรม หรืออารมณ์
- บุคคลออทิสติก
- บุคคลพิการซ้ำซ้อน
“เวลาเด็กพิเศษพูดอะไรออกมา เขามักจะพูดตามความเคยชินที่เขาจำได้” ครูอ้อมขยายความ “สิ่งที่ครูทำได้เมื่อพวกเขาอยู่ในมือเราคือ พยายามค้นหาศักยภาพในตัวเด็ก เพื่อนำพาพวกเขาไปสู่เป้าหมายในอนาคต”
สายตาของครูอ้อมหันกลับไปมองที่ภูริ เขายังคงตั้งหน้าตั้งตาแกะสลักผลไม้รูปถัดไป เวลาล่วงเลยไปถึงสองชั่วโมง แต่สายตาอันแน่วแน่ของเขายังคงจดจ่ออยู่กับปลายแหลมของไม้แกะสลัก
“หลายครั้งเด็กไม่เข้าใจคำถามที่ครูถาม เราจึงต้องพาเขาลงมือทำ ชี้ให้เห็นภาพไปทีละเล็กละน้อย เพราะเขาจะจดจำมันได้ และเมื่อเราอยู่กับเขา การจัดการเรียนการสอนต้องเปิดโอกาสให้เขาได้อธิบายความคิด ความเข้าใจ และความรู้สึกของเขาควบคู่ไปด้วย เริ่มต้นจากคำตอบสั้นๆ เช่น ชอบ หรือ ไม่ชอบ แล้วอะไรคือสิ่งที่พวกเขาทำแล้วมีความสุข” ครูอ้อมเอ่ยต่อ
ผลงานแกะสลักเครื่องปั้นดินเผาของน้องภูริ ในวิชา ศิลปะบูรณาการ
การเรียนการสอนวิชา ศิลปะบูรณาการ ดำเนินต่อไปอย่างเรียบง่าย คุณครูยังคงถามซ้ำและรอคอยคำตอบ เพราะการที่จะรับรู้ว่าเขาคิดอย่างนั้นจริงหรือไม่ จำเป็นต้องใช้เวลาคลุกคลีกับเขา
เมื่อพูดถึงการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กพิเศษ ครูอ้อมเล่าในฐานะครูศิลปะผู้มีประสบการณ์สอนกว่า 17 ปีว่า การศึกษาที่แท้จริงคือการเปิดให้เด็กเข้าไปเรียนรู้ ขณะที่ตัวครูทุกคนก็ต้องเป็นผู้เรียนรู้อยู่เสมอ ไม่ใช่แค่เฉพาะครูการศึกษาพิเศษ ซึ่งครูการศึกษาพิเศษในที่นี้ หมายถึงครูที่ดูแลและสอนบทเรียน รวมไปถึงทักษะการใช้ชีวิตให้แก่เด็กพิเศษ
“ครูจำเป็นต้องเข้าใจและเรียนรู้ว่า เด็กแต่ละคนเป็นอย่างไร จึงจะสามารถเป็นกัลยาณมิตรที่ดีแก่เด็กได้ เป็นแบบอย่าง เป็นผู้สอน และแจกแจงเรื่องที่ยากให้เด็กเข้าใจได้โดยง่าย มันควรเป็นหน้าที่ของครูทุกคนที่สามารถแนะแนวเด็กได้ ไม่ว่าเด็กปกติหรือเด็กพิเศษ ”
ทั้งนี้ครูอ้อมยังเชื่อว่า วุฒิการศึกษาของครูไม่สำคัญเท่ากับความสนใจที่ครูคนหนึ่งอยากจะเข้ามาขับเคลื่อนให้การศึกษาเดินหน้าต่อ
ครูอ้อมเสริมว่า การที่จะนำพาเด็กไปสู่เป้าหมายอาชีพได้ เพื่อให้เขาอยู่ได้อย่างภาคภูมิใจ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะจุดเริ่มต้นที่พ่อแม่ผู้ปกครอง
“ผู้ปกครองต้องเปิดมุมมองในการสร้างอาชีพให้กับลูกที่เป็นเด็กพิเศษว่า งานที่เขาจะทำในอนาคคตต้องเป็นงานที่เปิดให้เขาพึ่งพาตนเองได้ ครอบครัวที่มีฐานะหรือมีศักยภาพเพียงพอไม่จำเป็นต้องรอ แต่ต้องปรับเปลี่ยนมุมมอง พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกพึ่งพาตนเองได้ ไม่ใช่พึ่งพาคนอื่น”
ครอบครัว คือ จุดเริ่มต้น
“แทนที่จะคิดว่าลูกเราโชคร้ายที่เป็นออทิสติก เราต้องคิดว่า เขาโชคดีที่เกิดมาเป็นลูกเรา เพราะเราจะช่วยเขาได้มากที่สุด” คุณแม่น้องฟาง (นามสมมติ) ผู้มีลูกเป็นเด็กออทิสติก พูดคุยอย่างเป็นมิตร
คุณแม่เล่าว่า แม้ตนจะมีลูกเป็นเด็กพิเศษ แต่เธอเชื่อว่าฟางเป็นเด็กที่น่ารักไม่ต่างจากเด็กปกติ และเธอทำให้พ่อแม่หัวเราะ มีความสุขด้วยวิธีการคิดหรือจินตนาการที่พิเศษกว่าเด็กทั่วไป
คุณแม่ยืนหยัดเสมอมาว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การมีความหวัง ความเข้าใจ และการยอมรับความจริง
“เขาเป็นลูกของเรา เป็นเด็กน่ารักที่พร้อมจะทำให้เรายิ้มตลอดเวลา แต่พ่อแม่จะต้องเปิดใจยอมรับ ชื่นชมในสิ่งที่เขาเป็น และไม่กดดันหรือบังคับให้เขาเป็นในสิ่งที่เขาเป็นไม่ได้ ทุกทางตันยังมีทางออก ขอแค่อย่าหมดหวัง ถ้าเราช่วยเขาเต็มที่ เขาก็จะพัฒนาตัวเองได้เต็มศักยภาพเท่าที่จะเป็นไปได้”
สิ่งที่ผู้ปกครองของเด็กพิเศษคาดหวังต่อไปในอนาคตคือ ความต้องการให้พวกเขาอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข และค้นพบพรสวรรค์หรือความถนัดในตัวพวกเขาที่จะสามารถสร้างอาชีพระยะยาวให้พวกเขาได้
“ความรัก ความอดทน และความตั้งใจไม่เกินความสามารถที่พ่อแม่จะมีให้แก่ลูก การได้เห็นลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แม้ต้องใช้เวลา แต่มันก็คุ้มค่าที่เราได้มอบความสุขในฐานะพ่อแม่ที่อยากเป็นผู้ให้” คุณแม่น้องแฟง (นามสมมติ) ผู้มีลูกเป็นเด็กดาวน์ซินโดรม พูดเสริม
การให้เวลาดูแลเอาใจใส่และแสดงออกให้เขารับรู้ว่า พวกเขายังคงเป็นที่รักในสายตาของพ่อแม่ผู้อยู่เคียงข้างเขาอย่างสม่ำเสมอ นับเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่คุณแม่น้องแฟงฝากความตั้งใจถึงพ่อแม่ทุกคนที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ
สื่อ คือ ผู้ขยายต่อ
“เด็กวัยรุ่นชายคนหนึ่งเข้ามาจับเส้นผมผู้หญิงบนรถเมล์ เธอตกใจกลัวว่าเด็กคนนั้นจะมาทำอะไรเธอ แต่เมื่อเห็นว่าเขาสวมเสื้อมูลนิธิออทิสติกไทย เธอเข้าใจ เขาเพียงแค่ชอบผู้หญิงผมยาว แต่เธอเป็นกังวลว่า หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นที่ไม่เข้าใจสิ่งที่เขาเป็น เด็กพิเศษจะถูกตีตรา หรือถูกทำร้ายและมองว่า พวกเขาเป็นคนผิดปกติ” อาจารย์ชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทยเปิดใจคุยถึงสถานการณ์การใช้ชีวิตของเด็กพิเศษในสังคม
“หากมีลูกเป็นเด็กพิเศษ เราอย่าได้ปล่อยให้เขาไปไหนมาไหนเพียงลำพัง แต่เราต้องพยายามสอนทักษะชีวิตให้เขาพร้อมที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม หากเราปล่อยเขาไป เท่ากับเรากำลังพยายามทำร้ายสังคม และทำร้ายลูกของเราเอง”
อาจารย์บอกเล่าต่อว่า มูลนิธิพยายามสร้างการรับรู้ในเรื่องนี้มาหลายปี โดยในปี 2562 นี้ นับเป็นปีที่ 9 แต่ทางมูลนิธีก็ประสบความสำเร็จเพียงระดับเดียว
“สิ่งที่เราทำให้สังคมรับรู้ได้ คือการสร้างเวทีให้เด็กพิเศษออกมาแสดงศักยภาพ ขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากฝีมือเด็ก ซึ่งเราพบว่าผู้ปกครองเปลี่ยนความคิดมากขึ้น แต่ในเชิงปริมาณ เราเข้าถึงเขาได้แค่หลักพันคน จำนวนคนที่ปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อพวกเขายังน้อยนัก เรายังขาดแคลนสื่อที่จะช่วยขยายผล”
อาจารย์ชูศักดิ์กล่าวเสริมว่า ละครเพียงไม่กี่ตอนก็สามารถปรับเปลี่ยนวิธีคิดของคนในสังคมได้ เฉกเช่นละครเรื่อง วัยแสบสาแหรกขาด ที่สะท้อนวิถีชีวิต ความเป็นอยู่และลักษณะอาการของเด็กออทิสติก ซึ่งเปิดมุมมองให้คนในสังคมรับรู้และเข้าใจพวกเขามากขึ้น
“หากมีสื่อสร้างสรรค์เข้ามาช่วยในส่วนนี้ มันจะเป็นกลไกที่ช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในสังคมว่า It’s ok to be different”
การแก้ปัญหาที่ถูกจุดจึงควรเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนความคิด และทัศนคติที่มีต่อเด็กพิเศษของคนใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครอบครัว ครู หรือเพื่อนร่วมชั้น รวมไปถึงการเลือกที่จะมองพวกเขาด้วยความเข้าใจในความแตกต่าง การรับรู้ของคนในสังคมจึงสำคัญไม่แพ้กัน ประเด็นนี้ยังคงเป็นคำถามที่ต้องอาศัยแรงผลักดันต่อไปว่า จะทำอย่างไรให้สังคมเข้าใจและยอมรับพวกเขามากขึ้น เพื่อส่งต่อไปถึงการแก้ปัญหาในภาพกว้าง ทั้งในแง่ของระบบการจัดการ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดขึ้นจริง
Like this:
Like Loading...
เรื่อง-ภาพ : จิตรสินี กิจปกครอง
เด็กชายอายุราว 18 ปี ค่อยปั้นค่อยบรรจงนวดก้อนดิน แล้วพิถีพิถันกับมันจนเป็นแผ่น คือภาพของน้องภูริผู้กำลังใจจดใจจ่อกับการปั้นภาชนะดินเผาของเขา พลางหยิบไม้แกะสลักมาเติมแต่งลวดลายบนแผ่นดินเหนียว เขามองดูภาพตัวอย่างอยู่สักระยะ ก่อนจะเริ่มวาดลวดลายผลไม้แต่ละชนิดลงบนพื้นผิวภาชนะนั้น
“ภูริ เรากำลังวาดผลไม้อะไรอยู่ครับ” คุณครูถามเขา
“ผม…ผม…ผมกำลังวาดแครอท…อยู่ครับ” ภูริพยายามตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำ
“ภูริ เรากำลังวาดผลไม้อะไรอยู่ครับ” คุณครูถามเขาซ้ำอีกเป็นครั้งที่สอง
เขานิ่งคิด ก่อนจะตอบกลับไปว่า “ผม…ผมกำลังวาดแครอท…อยู่ครับ”
ในวิชา ศิลปะบูรณาการ โรงเรียนรุ่งอรุณ
คุณครูทวนคำถามเดิมต่อเป็นครั้งที่สาม และครั้งที่สี่ บทสนทนาของพวกเขาดูเหมือนเต็มไปด้วยความอึดอัด แต่ใบหน้าของคุณครูกลับเต็มไปด้วยรอยยิ้ม ผู้ถามตั้งตารอคำตอบโดยปราศจากการคาดคั้น เพราะรู้ว่าคำตอบในแต่ละครั้งที่ภูริให้ยังคงเป็นคำพูดเดิม แต่สิ่งที่คุณครูตั้งตารอจะได้ยิน คือความคาดหวังว่าจะเห็นเด็กออทิสติกคนหนึ่งมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้น และนี่คือส่วนหนึ่งของวิชา ศิลปะบูรณาการ
ครู คือ ผู้เรียนรู้
“ศิลปะบูรณาการ คือ การเรียนศิลปะที่เปิดให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ อะไรที่นำไปสู่การเรียนรู้ที่มีมิติลึกซึ้งมากเพียงพอ มันจะมีการเยียวยาและการบำบัดอยู่ในตัวของมัน เราพยายามทำให้เขาทำได้ด้วยตัวเอง เริ่มจากเรื่องเล็กๆ ที่ไม่ต้องใหญ่โต เพียงเรารับฟัง และค่อยเป็นค่อยไปพร้อมกับเขา” สุริศรา บัวนิล หรือ ครูอ้อม หัวหน้าฝ่ายศิลปะและครูประจำชั้นพิเศษ (คละมัธยม) โรงเรียนรุ่งอรุณบอกเล่า
ครูอ้อมอธิบายอย่างเปิดใจถึงกระบวนการถ่ายทอดทักษะความรู้แก่เด็กพิเศษว่า การที่เราต้องอยู่กับมนุษย์คนหนึ่งนั้นไม่ได้ใช้ทักษะอะไรเกินเลยไปกว่าการใช้ชีวิตตามปกติ แต่สิ่งที่เราต้องเพิ่มเติมให้แก่เด็กพิเศษคือ การใช้ความลึกซึ้งผ่านมิติด้านความรัก ความเอาใจใส่ และการอยู่ร่วมกัน
เด็กพิเศษหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีความต้องการการดูแลช่วยเหลือ บำบัดฟื้นฟู และให้การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะความจำเป็นและความต้องการของเด็กแต่ละคน
ในประเทศไทยมีการแบ่งประเภทของเด็กพิเศษออกเป็น 9 ประเภท ตาม “ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552” ได้แก่
“เวลาเด็กพิเศษพูดอะไรออกมา เขามักจะพูดตามความเคยชินที่เขาจำได้” ครูอ้อมขยายความ “สิ่งที่ครูทำได้เมื่อพวกเขาอยู่ในมือเราคือ พยายามค้นหาศักยภาพในตัวเด็ก เพื่อนำพาพวกเขาไปสู่เป้าหมายในอนาคต”
สายตาของครูอ้อมหันกลับไปมองที่ภูริ เขายังคงตั้งหน้าตั้งตาแกะสลักผลไม้รูปถัดไป เวลาล่วงเลยไปถึงสองชั่วโมง แต่สายตาอันแน่วแน่ของเขายังคงจดจ่ออยู่กับปลายแหลมของไม้แกะสลัก
“หลายครั้งเด็กไม่เข้าใจคำถามที่ครูถาม เราจึงต้องพาเขาลงมือทำ ชี้ให้เห็นภาพไปทีละเล็กละน้อย เพราะเขาจะจดจำมันได้ และเมื่อเราอยู่กับเขา การจัดการเรียนการสอนต้องเปิดโอกาสให้เขาได้อธิบายความคิด ความเข้าใจ และความรู้สึกของเขาควบคู่ไปด้วย เริ่มต้นจากคำตอบสั้นๆ เช่น ชอบ หรือ ไม่ชอบ แล้วอะไรคือสิ่งที่พวกเขาทำแล้วมีความสุข” ครูอ้อมเอ่ยต่อ
การเรียนการสอนวิชา ศิลปะบูรณาการ ดำเนินต่อไปอย่างเรียบง่าย คุณครูยังคงถามซ้ำและรอคอยคำตอบ เพราะการที่จะรับรู้ว่าเขาคิดอย่างนั้นจริงหรือไม่ จำเป็นต้องใช้เวลาคลุกคลีกับเขา
เมื่อพูดถึงการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กพิเศษ ครูอ้อมเล่าในฐานะครูศิลปะผู้มีประสบการณ์สอนกว่า 17 ปีว่า การศึกษาที่แท้จริงคือการเปิดให้เด็กเข้าไปเรียนรู้ ขณะที่ตัวครูทุกคนก็ต้องเป็นผู้เรียนรู้อยู่เสมอ ไม่ใช่แค่เฉพาะครูการศึกษาพิเศษ ซึ่งครูการศึกษาพิเศษในที่นี้ หมายถึงครูที่ดูแลและสอนบทเรียน รวมไปถึงทักษะการใช้ชีวิตให้แก่เด็กพิเศษ
“ครูจำเป็นต้องเข้าใจและเรียนรู้ว่า เด็กแต่ละคนเป็นอย่างไร จึงจะสามารถเป็นกัลยาณมิตรที่ดีแก่เด็กได้ เป็นแบบอย่าง เป็นผู้สอน และแจกแจงเรื่องที่ยากให้เด็กเข้าใจได้โดยง่าย มันควรเป็นหน้าที่ของครูทุกคนที่สามารถแนะแนวเด็กได้ ไม่ว่าเด็กปกติหรือเด็กพิเศษ ”
ทั้งนี้ครูอ้อมยังเชื่อว่า วุฒิการศึกษาของครูไม่สำคัญเท่ากับความสนใจที่ครูคนหนึ่งอยากจะเข้ามาขับเคลื่อนให้การศึกษาเดินหน้าต่อ
ครูอ้อมเสริมว่า การที่จะนำพาเด็กไปสู่เป้าหมายอาชีพได้ เพื่อให้เขาอยู่ได้อย่างภาคภูมิใจ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะจุดเริ่มต้นที่พ่อแม่ผู้ปกครอง
“ผู้ปกครองต้องเปิดมุมมองในการสร้างอาชีพให้กับลูกที่เป็นเด็กพิเศษว่า งานที่เขาจะทำในอนาคคตต้องเป็นงานที่เปิดให้เขาพึ่งพาตนเองได้ ครอบครัวที่มีฐานะหรือมีศักยภาพเพียงพอไม่จำเป็นต้องรอ แต่ต้องปรับเปลี่ยนมุมมอง พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกพึ่งพาตนเองได้ ไม่ใช่พึ่งพาคนอื่น”
ครอบครัว คือ จุดเริ่มต้น
“แทนที่จะคิดว่าลูกเราโชคร้ายที่เป็นออทิสติก เราต้องคิดว่า เขาโชคดีที่เกิดมาเป็นลูกเรา เพราะเราจะช่วยเขาได้มากที่สุด” คุณแม่น้องฟาง (นามสมมติ) ผู้มีลูกเป็นเด็กออทิสติก พูดคุยอย่างเป็นมิตร
คุณแม่เล่าว่า แม้ตนจะมีลูกเป็นเด็กพิเศษ แต่เธอเชื่อว่าฟางเป็นเด็กที่น่ารักไม่ต่างจากเด็กปกติ และเธอทำให้พ่อแม่หัวเราะ มีความสุขด้วยวิธีการคิดหรือจินตนาการที่พิเศษกว่าเด็กทั่วไป
คุณแม่ยืนหยัดเสมอมาว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การมีความหวัง ความเข้าใจ และการยอมรับความจริง
“เขาเป็นลูกของเรา เป็นเด็กน่ารักที่พร้อมจะทำให้เรายิ้มตลอดเวลา แต่พ่อแม่จะต้องเปิดใจยอมรับ ชื่นชมในสิ่งที่เขาเป็น และไม่กดดันหรือบังคับให้เขาเป็นในสิ่งที่เขาเป็นไม่ได้ ทุกทางตันยังมีทางออก ขอแค่อย่าหมดหวัง ถ้าเราช่วยเขาเต็มที่ เขาก็จะพัฒนาตัวเองได้เต็มศักยภาพเท่าที่จะเป็นไปได้”
สิ่งที่ผู้ปกครองของเด็กพิเศษคาดหวังต่อไปในอนาคตคือ ความต้องการให้พวกเขาอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข และค้นพบพรสวรรค์หรือความถนัดในตัวพวกเขาที่จะสามารถสร้างอาชีพระยะยาวให้พวกเขาได้
“ความรัก ความอดทน และความตั้งใจไม่เกินความสามารถที่พ่อแม่จะมีให้แก่ลูก การได้เห็นลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แม้ต้องใช้เวลา แต่มันก็คุ้มค่าที่เราได้มอบความสุขในฐานะพ่อแม่ที่อยากเป็นผู้ให้” คุณแม่น้องแฟง (นามสมมติ) ผู้มีลูกเป็นเด็กดาวน์ซินโดรม พูดเสริม
การให้เวลาดูแลเอาใจใส่และแสดงออกให้เขารับรู้ว่า พวกเขายังคงเป็นที่รักในสายตาของพ่อแม่ผู้อยู่เคียงข้างเขาอย่างสม่ำเสมอ นับเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่คุณแม่น้องแฟงฝากความตั้งใจถึงพ่อแม่ทุกคนที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ
สื่อ คือ ผู้ขยายต่อ
“เด็กวัยรุ่นชายคนหนึ่งเข้ามาจับเส้นผมผู้หญิงบนรถเมล์ เธอตกใจกลัวว่าเด็กคนนั้นจะมาทำอะไรเธอ แต่เมื่อเห็นว่าเขาสวมเสื้อมูลนิธิออทิสติกไทย เธอเข้าใจ เขาเพียงแค่ชอบผู้หญิงผมยาว แต่เธอเป็นกังวลว่า หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นที่ไม่เข้าใจสิ่งที่เขาเป็น เด็กพิเศษจะถูกตีตรา หรือถูกทำร้ายและมองว่า พวกเขาเป็นคนผิดปกติ” อาจารย์ชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทยเปิดใจคุยถึงสถานการณ์การใช้ชีวิตของเด็กพิเศษในสังคม
“หากมีลูกเป็นเด็กพิเศษ เราอย่าได้ปล่อยให้เขาไปไหนมาไหนเพียงลำพัง แต่เราต้องพยายามสอนทักษะชีวิตให้เขาพร้อมที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม หากเราปล่อยเขาไป เท่ากับเรากำลังพยายามทำร้ายสังคม และทำร้ายลูกของเราเอง”
อาจารย์บอกเล่าต่อว่า มูลนิธิพยายามสร้างการรับรู้ในเรื่องนี้มาหลายปี โดยในปี 2562 นี้ นับเป็นปีที่ 9 แต่ทางมูลนิธีก็ประสบความสำเร็จเพียงระดับเดียว
“สิ่งที่เราทำให้สังคมรับรู้ได้ คือการสร้างเวทีให้เด็กพิเศษออกมาแสดงศักยภาพ ขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากฝีมือเด็ก ซึ่งเราพบว่าผู้ปกครองเปลี่ยนความคิดมากขึ้น แต่ในเชิงปริมาณ เราเข้าถึงเขาได้แค่หลักพันคน จำนวนคนที่ปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อพวกเขายังน้อยนัก เรายังขาดแคลนสื่อที่จะช่วยขยายผล”
อาจารย์ชูศักดิ์กล่าวเสริมว่า ละครเพียงไม่กี่ตอนก็สามารถปรับเปลี่ยนวิธีคิดของคนในสังคมได้ เฉกเช่นละครเรื่อง วัยแสบสาแหรกขาด ที่สะท้อนวิถีชีวิต ความเป็นอยู่และลักษณะอาการของเด็กออทิสติก ซึ่งเปิดมุมมองให้คนในสังคมรับรู้และเข้าใจพวกเขามากขึ้น
“หากมีสื่อสร้างสรรค์เข้ามาช่วยในส่วนนี้ มันจะเป็นกลไกที่ช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในสังคมว่า It’s ok to be different”
การแก้ปัญหาที่ถูกจุดจึงควรเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนความคิด และทัศนคติที่มีต่อเด็กพิเศษของคนใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครอบครัว ครู หรือเพื่อนร่วมชั้น รวมไปถึงการเลือกที่จะมองพวกเขาด้วยความเข้าใจในความแตกต่าง การรับรู้ของคนในสังคมจึงสำคัญไม่แพ้กัน ประเด็นนี้ยังคงเป็นคำถามที่ต้องอาศัยแรงผลักดันต่อไปว่า จะทำอย่างไรให้สังคมเข้าใจและยอมรับพวกเขามากขึ้น เพื่อส่งต่อไปถึงการแก้ปัญหาในภาพกว้าง ทั้งในแง่ของระบบการจัดการ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดขึ้นจริง
Share this:
Like this: